ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สถิตย์ ส่งศรีบุญสิทธิ์)"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นายจเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้เรียบเรียง''' : สถิตย์ ส่งศรีบุญสิทธิ์ | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : นายจเร พันธุ์เปรื่อง | |||
---- | ---- | ||
==ความหมาย== | == ความหมาย == | ||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสภาระดับชาติที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทน[[รัฐสภา|รัฐสภา]] [[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]]ตาม[[การปกครองในระบอบประชาธิปไตย|การปกครองในระบอบประชาธิปไตย]] โดย[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายหลังเมื่อมี[[การปฏิวัติ|การปฏิวัติ]] [[รัฐประหาร|รัฐประหาร]] ลักษณะเป็น[[สภาเดียว|สภาเดียว]] มีสมาชิกมาจากการแต่งตั้งตาม[[ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย|ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย]] หรือตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว]] โดยให้มีอำนาจ หน้าที่ ตามที่ธรรมนูญการปกครอง หรือรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา | |||
== ที่มาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ == | |||
นับตั้งแต่ประเทศไทยดำเนิน[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557) ประเทศไทยได้ปกครองด้วยระบบ[[รัฐสภา|รัฐสภา]]มาแล้ว เป็นเวลากว่า 82 ปี ซึ่งจะมีเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ประเทศไทยได้ว่างเว้นจากการปกครองด้วยระบบรัฐสภา เนื่องจากมีการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือ[[ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน|ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน]] และ[[หัวหน้าคณะปฏิวัติ|หัวหน้าคณะปฏิวัติ]]หรือ[[หัวหน้าคณะรัฐประหาร|หัวหน้าคณะรัฐประหาร]] ได้ใช้[[อำนาจเบ็ดเสร็จ|อำนาจเบ็ดเสร็จ]]เด็ดขาดในการปกครองประเทศ ในรูปของ[[คำสั่งคณะปฏิวัติบริหารประเทศ|คำสั่งคณะปฏิวัติบริหารประเทศ]] ในช่วงระยะเวลานั้น ๆ | |||
โดยการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจการบริหารประเทศ ด้วยการใช้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) มีจำนวนทั้งสิ้น 14 ครั้ง ซึ่งผลจากการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจบริหารประเทศดังกล่าว ได้ส่งผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็น[[กฎหมาย|กฎหมาย]]สูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และกลไกของรัฐสภา อันได้แก่[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] ต้องถูกยุบเลิกไป ทั้งนี้ คณะปฏิวัติ รัฐประหาร จะทำการตั้ง[[องค์กรสภานิติบัญญัติ|องค์กรสภานิติบัญญัติ]]ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ และทำหน้าที่ด้านกระบวนการนิติบัญญัติแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมา ได้มีการตั้งองค์กรสภานิติบัญญัติขึ้นมาทำหน้าที่ในด้าน[[กระบวนการนิติบัญญัติ|กระบวนการนิติบัญญัติ]] ภายหลังที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นจำนวน 5 ชุดแล้ว ดังนี้ | |||
'''1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 1 (ระหว่าง พ.ศ. 2515-2516)''' | |||
แต่งตั้งขึ้นใน[[รัฐบาล|รัฐบาล]][[ถนอม_กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ภายหลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ปฏิวัติรัฐบาลของตนเองแล้ว ได้มีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร_พุทธศักราช_2515|ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515]] โดยตามมาตรา 6 แห่งธรรมนูญดังกล่าว ได้กำหนดให้มี[[สภานิติบัญญัติ|สภานิติบัญญัติ]] โดยให้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติรวมจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 โดยมี [[ศิริ_สิริโยธิน|พลตรีศิริ สิริโยธิน]] ดำรงตำแหน่งเป็น[[ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ|ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (ระหว่าง วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516) สภานิติบัญญัติชุดนี้ สิ้นสุดลงโดยจึงได้มี[[พระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ|พระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 มีสาเหตุมาจากการเกิดเหตุการณ์มีนักศึกษาและกับประชาชนจำนวนมาก ได้ร่วมกันเรียกร้อง[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]และขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจร ให้ออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] และเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยค [[14_ตุลาคม_พ.ศ._2516|14 ตุลาคม 2516]] มีนักศึกษาและประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอลาออกจำนวน 288 คน เป็นเหตุให้มีองค์ประชุมไม่เพียงพอที่จะเรียกประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ | |||
'''2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2 (ระหว่าง พ.ศ. 2516-2518)''' | |||
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 [[สัญญา_ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และโดยที่ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ยังมีผลใช้บังคับ ซึ่งขณะนั้นเหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็น[[องค์ประชุม|องค์ประชุม]]ได้ จึงมี[[การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ|การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง[[สมัชชาแห่งชาติ|สมัชชาแห่งชาติ]]ขึ้น จำนวน 2,347 คน ตาม[[พระบรมราชโองการ|พระบรมราชโองการ]]แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2516 เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเอง ให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่พิจาณาและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้บังคับแทนธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 สมัชชาแห่งชาติชุดนี้เรียกกันทั่วไปว่า [[สภาสนามม้า|สภาสนามม้า]] ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติได้เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดย[[ข้าราชการพลเรือน|ข้าราชการพลเรือน]]เป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และ[[พระมหากษัตริย์|พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516 | |||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 และสิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517]] สาเหตุที่สภานี้มีชื่อเรียกกันอย่าง ไม่เป็นทางการว่า “สภาสนามม้า” เนื่องจากสมัชชาแห่งชาติได้ทำการเลือกกันที่สนามม้าราชตฤณมัยสมาคม ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน ตามลำดับ คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น[[ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ|ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]คนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อมา[[คึกฤทธิ์_ปราโมช|หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ขอลาออก ที่ประชุมจึงได้เลือก[[นายประภาศน์_อวยชัย|นายประภาศน์ อวยชัย]] เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนใหม่ ดำรงตำแหน่งระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 | |||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | '''3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2520–2522)''' | ||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3 เกิดขึ้นภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย [[สงัด_ชลออยู่|พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่]] ทำการ[[ยึดอำนาจ|ยึดอำนาจ]]จากรัฐบาลของ[[ธานินทร์_กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจว่า เนื่องจากขณะนั้นมีความแตกแยกของข้าราชการและประชาชน ประกอบกับการจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ขั้นตอน ๆ ละ 4 ปีตามที่รัฐบาลกำหนดไว้นั้น นานเกินไป คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และได้ยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2519|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519]] จากนั้นได้ประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2520|ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520]] เป็นการชั่วคราวแทน และมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นตามมาตรา 7 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มีสมาชิกจำนวน 360 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 300 คน แต่ไม่เกิน 400 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยมี [[หะริน_หงสกุล|พลอากาศเอกหะริน หงสกุล]] เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522) สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป_เมื่อวันที่_22_เมษายน_พ.ศ._2522|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522]] | |||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ | '''4. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 4 (ระหว่าง พ.ศ. 2534-2535)''' | ||
เกิดขึ้นเมื่อ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ|คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] (รสช.) นำโดย [[สุนทร_คงสมพงษ์|พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์]] [[สุจินดา_คราประยูร|พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] [[ประพัฒน์_กฤณจันทร์|พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤณจันทร์]] [[พลอากาศเอก_เกษตร_โรจนนิล|พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล]] [[พลตำรวจเอก_สวัสดิ์_อมรวิวัฒน์|พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์]] และ[[อิสระพงษ์_หนุนภักดี|พลเอก อิสระพงษ์ หนุนภักดี]] ยึดอำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาล [[ชาติชาย_ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] เมื่อวันที่ [[23_กุมภาพันธ์_พ.ศ._2534|23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534]] โดยมีเหตุผลหลายประการในการเข้ายึดอำนาจ ที่สำคัญ คือ มีการกล่าวอ้างว่า เกิด[[การทุจริต|การทุจริต]]อย่างมากมาย จนมีการตั้งฉายา[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ในสมัยนั้นว่า เป็น[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]] [[บุฟเฟ่ต์คาบิเนต|บุฟเฟ่ต์คาบิเนต]] เมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2521|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้ประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534|ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534]] แทน ซึ่งได้กำหนดให้มีสภาเดียว คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 7 แห่ง[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534|ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534]] และแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวน 292 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 300 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมี[[อุกฤษ_มงคลนาวิน|นายอุกฤษ มงคลนาวิน]] ดำรงตำแหน่ง[[ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ|ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (ระหว่างวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535) | |||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2534|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534]] | |||
'''5. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 5 (ระหว่าง พ.ศ. 2549–2550)''' | |||
เกิดขึ้นเมื่อ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข|คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) นำโดย [[สนธิ_บุณยรัตกลิน|พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน]] เป็นหัวหน้าคณะฯ [[เรืองโรจน์_มหาศรานนท์|พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์]] ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานที่ปรึกษา [[ชลิต_พุกผาสุก|พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก]] [[สถิรพันธุ์_เกยานนท์|พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์]] และ [[โกวิท_วัฒนะ|พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ]] เป็นรองหัวหน้าคณะฯ [[วินัย_ภัททิยกุล|พลเอก วินัย ภัททิยกุล]] เป็นเลขาธิการฯ (ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11) [[สพรั่ง_กัลยาณมิตร|พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร]] และ[[อนุพงษ์_เผ่าจินดา|พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล [[ทักษิณ_ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]] จากนั้นได้ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_(ฉบับชั่วคราว)_พุทธศักราช_2549|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549]] ซึ่งได้บัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา | |||
ทั้งนี้ เหตุผลที่ใช้ในการเข้ายึดอำนาจคือ มีการกล่าวอ้างว่า [[การบริหารราชการแผ่นดิน|การบริหารราชการแผ่นดิน]]โดย[[รัฐบาลรักษาการ|รัฐบาลรักษาการ]]ในขณะนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหา[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]] แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และนับวันมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน [[องค์กรอิสระ|องค์กรอิสระ]] ถูกครอบงำ ทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ทำให้การดำเนิน[[กิจกรรมทางการเมือง|กิจกรรมทางการเมือง]]เกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอมคลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]]ยุติลงได้ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล | |||
ทั้งนี้ | สำหรับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มี[[พระบรมราชโองการ|พระบรมราชโองการ]] โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน (ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน 250 คน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน [[ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ|ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน | ||
ทั้งนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมี[[มีชัย_ฤชุพันธุ์|นายมีชัย ฤชุพันธุ์]] ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ระหว่าง วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551) และสิ้นสุดลงเนื่องจากมี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป_เมื่อวันที่_23_ธันวาคม_พ.ศ._2550|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550]] ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] | |||
== อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ == | |||
อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็เหมือนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภานั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ได้แก่ | |||
1. อำนาจหน้าที่ใน[[การตรากฎหมาย|การตรากฎหมาย]] | |||
2. อำนาจหน้าที่ใน[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน|การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] | |||
2. อำนาจหน้าที่ใน[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] | |||
3. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติไว้หรือตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามกฎหมายและตามข้อบังคับการประชุมสภา | 3. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติไว้หรือตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามกฎหมายและตามข้อบังคับการประชุมสภา | ||
นอกจากอำนาจหน้าที่ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บางชุดยังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้ | นอกจากอำนาจหน้าที่ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บางชุดยังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้ | ||
1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 - 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 - 2518 | 1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 - 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 - 2518 มีหน้าที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ (มาตรา 10 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515) | ||
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 – 2522 | 2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 – 2522 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520) | ||
3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534) | 3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534) | ||
==อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับถาวร)== | == อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับถาวร) == | ||
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากจะมีอำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละชุดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ภายหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังต้องทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ดังนี้ | สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากจะมีอำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละชุดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ภายหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังต้องทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ดังนี้ | ||
'''1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517''' | '''1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517''' | ||
'''2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521''' | มาตรา 234 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้ รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 233 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 101 และมาตรา 103 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 234</ref> ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 – 2518 | ||
'''2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521''' | |||
มาตรา 195 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 202 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 | มาตรา 195 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 202 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 125 [[ตั้งกระทู้|ตั้งกระทู้]]ถามตามมาตรา 136 หรือ[[เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป|เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป]]ตามมาตรา 137 มิได้และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 86 และมาตรา 97 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้” <ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 195</ref> ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 – 2522 | ||
'''3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534''' | '''3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534''' | ||
มาตรา 212 บัญญัติว่า “นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 218 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ทำหน้าที่รัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 137 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 211 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา 149 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 มิได้มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 108 มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 212</ref> ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535 | มาตรา 212 บัญญัติว่า “นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 218 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ทำหน้าที่รัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 137 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 211 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา 149 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 มิได้มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 108 มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 212</ref> ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535 | ||
'''4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550''' | '''4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550''' | ||
มาตรา 293 บัญญัติว่า “ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 293</ref> | มาตรา 293 บัญญัติว่า “ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 293</ref> ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 – 2550 | ||
==อ้างอิง== | == อ้างอิง == | ||
<references/> | <references /> | ||
==บรรณานุกรม== | == บรรณานุกรม == | ||
1. วิกิพีเดีย | 1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี | ||
2. คณิน บุญสุวรรณ, '''“ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”''', กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548 | 2. คณิน บุญสุวรรณ, '''“ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”''', กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548 | ||
3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย, '''“รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2475 –2549)”''', กรุงเทพฯ : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ, 2549 | 3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย, '''“รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2475 –2549)”''', กรุงเทพฯ : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ, 2549 | ||
[[ | [[Category:สมาชิกรัฐสภา]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:07, 26 กรกฎาคม 2560
ผู้เรียบเรียง : สถิตย์ ส่งศรีบุญสิทธิ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
ความหมาย
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสภาระดับชาติที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายหลังเมื่อมีการปฏิวัติ รัฐประหาร ลักษณะเป็นสภาเดียว มีสมาชิกมาจากการแต่งตั้งตามธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว โดยให้มีอำนาจ หน้าที่ ตามที่ธรรมนูญการปกครอง หรือรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ที่มาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นับตั้งแต่ประเทศไทยดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557) ประเทศไทยได้ปกครองด้วยระบบรัฐสภามาแล้ว เป็นเวลากว่า 82 ปี ซึ่งจะมีเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ประเทศไทยได้ว่างเว้นจากการปกครองด้วยระบบรัฐสภา เนื่องจากมีการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการปกครองประเทศ ในรูปของคำสั่งคณะปฏิวัติบริหารประเทศ ในช่วงระยะเวลานั้น ๆ
โดยการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจการบริหารประเทศ ด้วยการใช้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) มีจำนวนทั้งสิ้น 14 ครั้ง ซึ่งผลจากการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจบริหารประเทศดังกล่าว ได้ส่งผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และกลไกของรัฐสภา อันได้แก่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องถูกยุบเลิกไป ทั้งนี้ คณะปฏิวัติ รัฐประหาร จะทำการตั้งองค์กรสภานิติบัญญัติขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ และทำหน้าที่ด้านกระบวนการนิติบัญญัติแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมา ได้มีการตั้งองค์กรสภานิติบัญญัติขึ้นมาทำหน้าที่ในด้านกระบวนการนิติบัญญัติ ภายหลังที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นจำนวน 5 ชุดแล้ว ดังนี้
1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 1 (ระหว่าง พ.ศ. 2515-2516)
แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ภายหลังจากที่จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ปฏิวัติรัฐบาลของตนเองแล้ว ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 โดยตามมาตรา 6 แห่งธรรมนูญดังกล่าว ได้กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติ โดยให้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติรวมจำนวนทั้งสิ้น 299 คน ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 โดยมี พลตรีศิริ สิริโยธิน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ระหว่าง วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516) สภานิติบัญญัติชุดนี้ สิ้นสุดลงโดยจึงได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 มีสาเหตุมาจากการเกิดเหตุการณ์มีนักศึกษาและกับประชาชนจำนวนมาก ได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจร ให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 มีนักศึกษาและประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอลาออกจำนวน 288 คน เป็นเหตุให้มีองค์ประชุมไม่เพียงพอที่จะเรียกประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2 (ระหว่าง พ.ศ. 2516-2518)
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และโดยที่ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ยังมีผลใช้บังคับ ซึ่งขณะนั้นเหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมได้ จึงมีการยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้น จำนวน 2,347 คน ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2516 เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเอง ให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่พิจาณาและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้บังคับแทนธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 สมัชชาแห่งชาติชุดนี้เรียกกันทั่วไปว่า สภาสนามม้า ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติได้เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดยข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 และสิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 สาเหตุที่สภานี้มีชื่อเรียกกันอย่าง ไม่เป็นทางการว่า “สภาสนามม้า” เนื่องจากสมัชชาแห่งชาติได้ทำการเลือกกันที่สนามม้าราชตฤณมัยสมาคม ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน ตามลำดับ คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อมาหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ขอลาออก ที่ประชุมจึงได้เลือกนายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนใหม่ ดำรงตำแหน่งระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518
3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2520–2522)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3 เกิดขึ้นภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจว่า เนื่องจากขณะนั้นมีความแตกแยกของข้าราชการและประชาชน ประกอบกับการจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ขั้นตอน ๆ ละ 4 ปีตามที่รัฐบาลกำหนดไว้นั้น นานเกินไป คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จึงได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 เป็นการชั่วคราวแทน และมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นตามมาตรา 7 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 มีสมาชิกจำนวน 360 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 300 คน แต่ไม่เกิน 400 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยมี พลอากาศเอกหะริน หงสกุล เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522) สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
4. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 4 (ระหว่าง พ.ศ. 2534-2535)
เกิดขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.สุจินดา คราประยูร พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤณจันทร์ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ และพลเอก อิสระพงษ์ หนุนภักดี ยึดอำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยมีเหตุผลหลายประการในการเข้ายึดอำนาจ ที่สำคัญ คือ มีการกล่าวอ้างว่า เกิดการทุจริตอย่างมากมาย จนมีการตั้งฉายาคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นว่า เป็นคณะรัฐมนตรี บุฟเฟ่ต์คาบิเนต เมื่อมีการยึดอำนาจแล้ว คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แทน ซึ่งได้กำหนดให้มีสภาเดียว คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 7 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติจำนวน 292 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 300 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมีนายอุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ระหว่างวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
5. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 5 (ระหว่าง พ.ศ. 2549–2550)
เกิดขึ้นเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะฯ พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานที่ปรึกษา พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นรองหัวหน้าคณะฯ พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการฯ (ประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11) พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร และพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งได้บัญญัติให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
ทั้งนี้ เหตุผลที่ใช้ในการเข้ายึดอำนาจคือ มีการกล่าวอ้างว่า การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลรักษาการในขณะนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และนับวันมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนส่วนใหญ่ เคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดิน อันส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หน่วยงาน องค์กรอิสระ ถูกครอบงำ ทางการเมือง ไม่สามารถสนองตอบเจตนารมณ์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ตลอดจนหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง แม้หลายภาคส่วนของสังคม จะได้พยายามประนีประนอมคลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล
สำหรับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งขึ้นตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน (ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน 250 คน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน
ทั้งนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ระหว่าง วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551) และสิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็เหมือนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภานั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ได้แก่
1. อำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย
2. อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
3. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติไว้หรือตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามกฎหมายและตามข้อบังคับการประชุมสภา
นอกจากอำนาจหน้าที่ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บางชุดยังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515 - 2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 - 2518 มีหน้าที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ (มาตรา 10 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515)
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 – 2522 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520)
3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534)
อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังมีรัฐธรรมนูญ (ฉบับถาวร)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากจะมีอำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละชุดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ภายหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังต้องทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517
มาตรา 234 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้ รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 233 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 101 และมาตรา 103 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้”[1] ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516 – 2518
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521
มาตรา 195 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 202 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 125 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา 136 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 137 มิได้และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 86 และมาตรา 97 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้” [2] ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 – 2522
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534
มาตรา 212 บัญญัติว่า “นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 218 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ทำหน้าที่รัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 137 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 211 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา 149 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 มิได้มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 108 มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง”[3] ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 – 2535
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
มาตรา 293 บัญญัติว่า “ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127”[4] ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 – 2550
อ้างอิง
บรรณานุกรม
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2. คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548
3. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย, “รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2475 –2549)”, กรุงเทพฯ : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ, 2549