ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทัย พิมพ์ใจชน"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ ผู้ทรงคุณว..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ | ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''อุทัย พิมพ์ใจชน''' | '''อุทัย พิมพ์ใจชน''' | ||
<br/> นายอุทัย พิมพ์ใจชน | <br/> นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีต[[ประธานรัฐสภา]]และ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] อดีตประธาน[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8 สมัย เป็นผู้ฟ้องจอมพล[[ถนอม_กิตติขจร]] ต่อศาลอาญาในข้อหา[[กบฎ]]จากการทำ[[รัฐประหาร]]ตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และถูกคำสั่งคณะปฏิวัติสั่งจำคุกในข้อหากบฎ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
'''ประวัติส่วนบุคคล''' | '''ประวัติส่วนบุคคล''' | ||
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่บ้านตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนโตจากพี่น้องจำนวน 9 คนของนายไพโรจน์และนางสมบูรณ์ พิมพ์ใจชน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ.2501 | นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่บ้านตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนโตจากพี่น้องจำนวน 9 คนของนายไพโรจน์และนางสมบูรณ์ พิมพ์ใจชน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ.2501 รุ่นเดียวกับนาย[[ชวน_หลีกภัย]] นาย[[สมัคร_สุนทรเวช]] นาย[[มีชัย_ฤชุพันธ์]] จากนั้นสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยจากสำนักอบรมศึกษาวิชากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[[#_ftn1|[1]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
'''เหตุการณ์สำคัญ''' | '''เหตุการณ์สำคัญ''' | ||
นายอุทัย | นายอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นนักการเมืองที่ยึดแนวทาง[[ประชาธิปไตย]]ในระบบ[[รัฐสภา]] มีภาพลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการทหาร | ||
| เมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2511|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511]] ประกาศใช้ และจัดให้มี[[การเลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 นายอุทัย พิมพ์ใจชนซึ่งขณะนั้นอายุ 30 ปี ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี สังกัด[[พรรคประชาธิปัตย์]] โดยเป็นผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดและได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก โดยนายอุทัยได้เคยกล่าวไว้ว่า “''ชีวิตในวัยเด็กอยากเป็นนายกฯ และคิดไว้เลยว่าถ้าเป็นเราทำอะไรได้บ้าง ถ้าน้ำท่วมมีคนเดินขบวนไปหารัฐมนตรีเราจะแก้อย่างไร นั่นคือความคิดว่าสนใจการเมือง และนายกฯควรมาจากการเลือกตั้ง”[[#_ftn2|'''[2]''']]'' | ||
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ยกเลิกรัฐสภา | วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ยกเลิกรัฐสภา ยกเลิก[[พรรคการเมือง]] และประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลได้ และเพื่อเป็นการตัดอำนาจต่อรองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปจากการบริหารงานของรัฐบาล ดังปรากฏให้เห็นในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 6 คณะปฏิวัติได้ชี้แจงเหตุถึงความจำเป็นในการยึดอำนาจไว้ว่า “ได้มีบุคคลบางจำพวกอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญยุยงบ่อนทำลายใช้อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกสภานิติบัญญัติ ก่อกวนการบริหารราชการของรัฐบาลให้ดำเนินไปด้วยความยากลำบากและล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์”[[#_ftn3|[3]]] วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2515 นายอุทัย พิมพ์ใจชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี นาย[[อนันต์_ภักดิ์ประไพ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกและนาย[[บุญเกิด_หิรัญคำ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในข้อหาเป็น[[กบฏ]] โดยเขียนบรรยายในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย”แต่ทั้ง 3 กลับถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหากบฏแทนโดยคณะปฏิวัติได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ให้จำคุกนายอุทัย พิมพ์ใจชน 10 ปี และให้จำคุกนายอนันต์ ภักดิ์ประไพกับนายบุญเกิด หิรัญคำ คนละ 7 ปี[[#_ftn4|[4]]] | ||
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 | ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 นาย[[สัญญา_ธรรมศักดิ์]] นายกรัฐมนตรีดำริจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบุคคลทั้งสาม แต่นายอุทัยเห็นว่าการออก[[กฎหมายนิรโทษกรรม]]แสดงว่าบุคคลทั้งสามมีความผิดจริงจึงไม่ยอมรับเพราะทั้งสามมิได้กระทำความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฎิวัติ[[#_ftn5|[5]]] สมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติให้ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 โดยในพระราชบัญญัติได้ระบุว่า บุคคลทั้งสามนั้นมิได้กระทำความผิดและมิเคยต้องโทษตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ[[#_ftn6|[6]]] รวมระยะเวลาที่โดนจำคุกจำนวน 22 เดือน | ||
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 โดยได้จำนวนที่นั่ง 72 ที่นั่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 โดยได้จำนวนที่นั่ง 72 ที่นั่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ ทำให้ต้องจัดตั้ง[[รัฐบาลเสียงข้างน้อย]] นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ผลปรากฎว่าได้รับเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง หม่อมราชวงศ์[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช|เสนีย์ ปราโมช]]จึงต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี | ||
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2519 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 อีกครั้ง โดยได้จำนวนที่นั่ง 114 ที่นั่ง นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2519 ทำให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519[[#_ftn7|[7]]] | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2519 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 อีกครั้ง โดยได้จำนวนที่นั่ง 114 ที่นั่ง นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2519 ทำให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519[[#_ftn7|[7]]] | ||
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเรือเอก | วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเรือเอก [[สงัด_ชลออยู่]] หัวหน้า[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙)|คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และได้มีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ให้ยกเลิก[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2517|พระราชบัญญัติพรรคการเมือง]] พ.ศ. 2517 และห้ามตั้งพรรคการเมือง[[#_ftn8|[8]]] พรรคประชาธิปัตย์จึงถูก[[ยุบเลิก]] และมีการจัดตั้งพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ.2522 ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นการแข่งขันระหว่างนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายชวน หลีกภัย และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นาย[[ธรรมนูญ_เทียนเงิน]] อดีต[[เลขาธิการพรรค]] ปรากฏว่าที่ประชุมพรรคได้เลือกพันเอก(พิเศษ) ถนัด เป็นหัวหน้าพรรค[[#_ftn9|[9]]] | ||
นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และตั้งพรรคก้าวหน้าในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2526 โดยมีนายอุทัยเป็นหัวหน้าพรรคและนายบุญเกิด หิรัญคำเป็นเลขาธิการพรรค[[#_ftn10|[10]]]เพื่อลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2526 ที่มีขึ้นในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2526 | นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และตั้งพรรคก้าวหน้าในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2526 โดยมีนายอุทัยเป็นหัวหน้าพรรคและนายบุญเกิด หิรัญคำเป็นเลขาธิการพรรค[[#_ftn10|[10]]]เพื่อลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2526 ที่มีขึ้นในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2526 ผลการเลือกตั้งได้จำนวน[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] 3 ที่นั่ง วันที่ 18 เมษายน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือกนายอุทัยให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[[#_ftn11|[11]]] | ||
การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2529 | การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2529 [[พรรคก้าวหน้า]]ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 9 ที่นั่ง และการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2531 พรรคก้าวหน้าได้รับการเลือกตั้งจำนวน 8 ที่นั่ง ทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน | ||
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2532 พรรคก้าวหน้ากับพรรคการเมืองอีก 2 | วันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2532 พรรคก้าวหน้ากับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือ[[พรรคกิจประชาคม]]ที่มีนายบุญชู โรจนเสถียรเป็นหัวหน้าพรรคและ[[พรรคประชาชน]]ที่มีนาย[[เฉลิมพันธ์_ศรีวิกรม์]]เป็น[[หัวหน้าพรรค]]ได้ยุบรวมกับพรรครวมไทยที่มีนาย[[ณรงค์_วงศ์วรรณ]]เป็นหัวหน้าพรรค ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น[[พรรคเอกภาพ]][[#_ftn12|[12]]] เมื่อพลเอก[[ชาติชาย_ชุณหะวัณ]]ลาออกจากตำแหน่งเพื่อจัดตั้งคณะ[[รัฐมนตรี]]ใหม่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2533 พรรคเอกภาพได้เข้าร่วมรัฐบาลโดยนายอุทัยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[[#_ftn13|[13]]]แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกพลเอก[[สุจินดา_คราประยูร]]ยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2534 | ||
พ.ศ.2535 เมื่อนายณรงค์ | พ.ศ.2535 เมื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณพร้อมด้วยสมาชิกได้ออกจากพรรคเอกภาพเพื่อไปจัดตั้ง[[พรรคสามัคคีธรรม]] นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคเอกภาพได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 6 ที่นั่ง โดยเป็นพรรคฝ่ายค้าน และการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535พรรคเอกภาพได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 8 ที่นั่ง นายอุทัยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | ||
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอุทัยได้สั่งพักราชการนาย[[พชร_อิศรเสนา_ณ_อยุธยา]] ปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยอ้างเหตุผลว่าถูกบริษัทฮาร์ท ออนส์ สยามอิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ต ยื่นฟ้องข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีมติให้นายอุทัยยกเลิกคำสั่งพักราชการแต่นายอุทัยไม่ปฏิบัติตาม นายพชรจึงยื่นฟ้องศาลในข้อหาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2537 แต่ในวันที่ 7 กันยายน นายอุทัยได้ยกเลิกคำสั่งพักราชการนายพชร ระหว่างที่นายอุทัยกำลังแถลงข่าวชี้แจงเรื่องการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายอุทัยได้ถูกนายธนิต สุวรรณเมนะหยิบถุงพลาสติกที่บรรจุอุจจาระขว้างใส่หน้า โดยนายธนิตได้ให้เหตุผลว่า ทนไม่ได้ที่เห็นคนดีถูกรังแก [[#_ftn14|[14]]] | ||
ปี พ.ศ.2538 นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ออกจากหัวหน้าพรรคขึ้นเป็นที่ปรึกษาพรรค จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2539 นายอุทัยได้ลาออกจากพรรคเอกภาพ เพราะนายไชยยศ สะสมทรัพย์หัวหน้าพรรคได้รับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบเข้าร่วมพรรค โดยนายอุทัยได้กล่าวว่า " | ปี พ.ศ.2538 นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ออกจากหัวหน้าพรรคขึ้นเป็นที่ปรึกษาพรรค จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2539 นายอุทัยได้ลาออกจากพรรคเอกภาพ เพราะนายไชยยศ สะสมทรัพย์หัวหน้าพรรคได้รับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบเข้าร่วมพรรค โดยนายอุทัยได้กล่าวว่า "ผมก็ได้แนะนำคุณ[[ไชยยศ_สะสมทรัพย์]] ว่าไม่ควรรับคุณเนวิน ชิดชอบ แต่เมื่อมีความชัดเจนว่าพรรครับคุณเนวินเข้าเป็นสมาชิก ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาของพรรค ผมจึงต้องพิจารณาตัวเอง” [[#_ftn15|[15]]] | ||
พ.ศ.2539 | พ.ศ.2539 เมื่อมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2534]] แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน ในการประชุมสภาฯครั้งที่หนึ่ง ที่ประชุมมีมติเลือกนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาฯได้ดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นทั้งฉบับ ผ่านการ[[การลงมติ|ลงมติ]]ให้ความเห็นชอบและส่งมอบให้ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 จากนั้นมีการประกาศและบังคับใช้เป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540]] เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540[[#_ftn16|[16]]] | ||
| [[การเลือกตั้งทั่วไป]]เมื่อวันที่ [[6_มกราคม_พ.ศ._2544|6 มกราคม พ.ศ.2544]] นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับการชักชวนจาก ดร.[[ทักษิณ_ชินวัตร]] หัวหน้า[[พรรคไทยรักไทย]]ให้เข้าร่วมพรรคเนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองสูง และมีภาพลักษณ์ด้านอุดมการณ์ทางการเมืองที่ดี[[#_ftn17|[17]]] นายอุทัยได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรทำให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3และเป็นประธานรัฐสภาครั้งที่ 2 โดยดำรงตำแหน่งระหว่าง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 ถึง 5 มกราคม พ.ศ.2548[[#_ftn18|[18]]] | ||
หลังจากนั้นนายอุทัยได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยและต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549 โดยลงสมัครในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้ 18 คน ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายอุทัยได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 11[[#_ftn19|[19]]] | หลังจากนั้นนายอุทัยได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยและต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549 โดยลงสมัครในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้ 18 คน ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายอุทัยได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 11[[#_ftn19|[19]]] โดยสมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวได้พ้นสภาพภายหลังการทำ[[รัฐประหาร|รัฐประหาร ]][[19_กันยายน_พ.ศ._2549|19 กันยายน พ.ศ.2549]] โดย[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 62: | บรรทัดที่ 62: | ||
'''บรรณานุกรม''' | '''บรรณานุกรม''' | ||
กองบรรณาธิการมติชน.'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.'''(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168. | กองบรรณาธิการมติชน.'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.'''(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168. | ||
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'''พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ ''''''36/2515 ลงวันที่ 22''' '''มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517 '''เข้าถึงจาก [http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665%20เมื่อ%201%20กันยายน%202559 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665 เมื่อ 1 กันยายน 2559]. | คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'''พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ ''''''36/2515 ลงวันที่ 22''' '''มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517 '''เข้าถึงจาก [http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665%20เมื่อ%201%20กันยายน%202559 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665 เมื่อ 1 กันยายน 2559]. | ||
บรรทัดที่ 72: | บรรทัดที่ 72: | ||
โชคสุข กรกิตติชัย,'''คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (พ.ศ. 2519),''' เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙) http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙)] เมื่อ 3 สิงหาคม 2559 | โชคสุข กรกิตติชัย,'''คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (พ.ศ. 2519),''' เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙) http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙)] เมื่อ 3 สิงหาคม 2559 | ||
นรนิติ เศรษฐบุตร, '''9 มีนาคม พ.ศ. 2515''' เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559. | นรนิติ เศรษฐบุตร, '''9 มีนาคม พ.ศ. 2515''' เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=] 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
โรงเรียนเทพศิรินทร์,'''นายอุทัย พิมพ์ใจชน''' เข้าถึงจาก [https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641 https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | โรงเรียนเทพศิรินทร์,'''นายอุทัย พิมพ์ใจชน''' เข้าถึงจาก [https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641 https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
บรรทัดที่ 104: | บรรทัดที่ 104: | ||
[[#_ftnref3|[3]]]ชาติชาย มุกสง,'''รัฐประหาร ''''''2514 '''เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514%20เมื่อ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514 ]เมื่อ 1 กันยายน 2559. | [[#_ftnref3|[3]]]ชาติชาย มุกสง,'''รัฐประหาร ''''''2514 '''เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514%20เมื่อ http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514 ]เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] นรนิติ เศรษฐบุตร, '''9 มีนาคม พ.ศ. 2515''' เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559. | [[#_ftnref4|[4]]] นรนิติ เศรษฐบุตร, '''9 มีนาคม พ.ศ. 2515''' เข้าถึงจาก [http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=] 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] วิรัตน์ โตอารีย์มิตร,'''พิมพ์ไว้ในใจชน มุมมอง ความคิดและชีวิตการเมืองของ ''''''‘อุทัย พิมพ์ใจชน’''', (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเยศ, 2545) หน้า 57. | [[#_ftnref5|[5]]] วิรัตน์ โตอารีย์มิตร,'''พิมพ์ไว้ในใจชน มุมมอง ความคิดและชีวิตการเมืองของ ''''''‘อุทัย พิมพ์ใจชน’''', (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเยศ, 2545) หน้า 57. | ||
บรรทัดที่ 122: | บรรทัดที่ 122: | ||
[[#_ftnref12|[12]]] คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'''รับทราบการยุบพรรคการเมือง จำนวน ''''''3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และพรรคประชาชน และพรรครวมไทยเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ/ '''เข้าถึงจาก [http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | [[#_ftnref12|[12]]] คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'''รับทราบการยุบพรรคการเมือง จำนวน ''''''3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และพรรคประชาชน และพรรครวมไทยเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ/ '''เข้าถึงจาก [http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157 http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] กองบรรณาธิการมติชน.'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.'''(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168. | [[#_ftnref13|[13]]] กองบรรณาธิการมติชน.'''289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.'''(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] กองบรรณาธิการมติชน, หน้า 223-224. | [[#_ftnref14|[14]]] กองบรรณาธิการมติชน, หน้า 223-224. | ||
บรรทัดที่ 134: | บรรทัดที่ 134: | ||
18 สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร,'''ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร''' เข้าถึงจาก [http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63 http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | 18 สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร,'''ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร''' เข้าถึงจาก [http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63 http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
[19] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,'''การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2549''' เข้าถึงจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_elect/senate_set2.pdf เมื่อ 1 กันยายน 2559. | [19] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,'''การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2549''' เข้าถึงจาก [http://library2.parliament.go.th/giventake/content_elect/senate_set2.pdf http://library2.parliament.go.th/giventake/content_elect/senate_set2.pdf] เมื่อ 1 กันยายน 2559. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]] | [[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:43, 3 สิงหาคม 2561
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
อุทัย พิมพ์ใจชน
นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8 สมัย เป็นผู้ฟ้องจอมพลถนอม_กิตติขจร ต่อศาลอาญาในข้อหากบฎจากการทำรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และถูกคำสั่งคณะปฏิวัติสั่งจำคุกในข้อหากบฎ
ประวัติส่วนบุคคล
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่บ้านตำบลเกาะลอย อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนโตจากพี่น้องจำนวน 9 คนของนายไพโรจน์และนางสมบูรณ์ พิมพ์ใจชน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ.2501 รุ่นเดียวกับนายชวน_หลีกภัย นายสมัคร_สุนทรเวช นายมีชัย_ฤชุพันธ์ จากนั้นสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยจากสำนักอบรมศึกษาวิชากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[1]
เหตุการณ์สำคัญ
นายอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นนักการเมืองที่ยึดแนวทางประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีภาพลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการทหาร
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511 ประกาศใช้ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 นายอุทัย พิมพ์ใจชนซึ่งขณะนั้นอายุ 30 ปี ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเป็นผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดและได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก โดยนายอุทัยได้เคยกล่าวไว้ว่า “ชีวิตในวัยเด็กอยากเป็นนายกฯ และคิดไว้เลยว่าถ้าเป็นเราทำอะไรได้บ้าง ถ้าน้ำท่วมมีคนเดินขบวนไปหารัฐมนตรีเราจะแก้อย่างไร นั่นคือความคิดว่าสนใจการเมือง และนายกฯควรมาจากการเลือกตั้ง”[2]
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ยกเลิกรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมือง และประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลได้ และเพื่อเป็นการตัดอำนาจต่อรองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปจากการบริหารงานของรัฐบาล ดังปรากฏให้เห็นในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 6 คณะปฏิวัติได้ชี้แจงเหตุถึงความจำเป็นในการยึดอำนาจไว้ว่า “ได้มีบุคคลบางจำพวกอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญยุยงบ่อนทำลายใช้อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกสภานิติบัญญัติ ก่อกวนการบริหารราชการของรัฐบาลให้ดำเนินไปด้วยความยากลำบากและล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์”[3] วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2515 นายอุทัย พิมพ์ใจชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี นายอนันต์_ภักดิ์ประไพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกและนายบุญเกิด_หิรัญคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมกันเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในข้อหาเป็นกบฏ โดยเขียนบรรยายในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย”แต่ทั้ง 3 กลับถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหากบฏแทนโดยคณะปฏิวัติได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ให้จำคุกนายอุทัย พิมพ์ใจชน 10 ปี และให้จำคุกนายอนันต์ ภักดิ์ประไพกับนายบุญเกิด หิรัญคำ คนละ 7 ปี[4]
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 นายสัญญา_ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีดำริจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบุคคลทั้งสาม แต่นายอุทัยเห็นว่าการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแสดงว่าบุคคลทั้งสามมีความผิดจริงจึงไม่ยอมรับเพราะทั้งสามมิได้กระทำความผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฎิวัติ[5] สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติให้ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2517 โดยในพระราชบัญญัติได้ระบุว่า บุคคลทั้งสามนั้นมิได้กระทำความผิดและมิเคยต้องโทษตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ[6] รวมระยะเวลาที่โดนจำคุกจำนวน 22 เดือน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 โดยได้จำนวนที่นั่ง 72 ที่นั่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ ทำให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ผลปรากฎว่าได้รับเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชจึงต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ.2519 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 นายอุทัยได้รับการเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ที่จังหวัดชลบุรี ผลการเลือกตั้งทั้งประเทศปรากฎว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 อีกครั้ง โดยได้จำนวนที่นั่ง 114 ที่นั่ง นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2519 ทำให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519[7]
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเรือเอก สงัด_ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และได้มีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 และห้ามตั้งพรรคการเมือง[8] พรรคประชาธิปัตย์จึงถูกยุบเลิก และมีการจัดตั้งพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ.2522 ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นการแข่งขันระหว่างนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายชวน หลีกภัย และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ_เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค ปรากฏว่าที่ประชุมพรรคได้เลือกพันเอก(พิเศษ) ถนัด เป็นหัวหน้าพรรค[9]
นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และตั้งพรรคก้าวหน้าในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2526 โดยมีนายอุทัยเป็นหัวหน้าพรรคและนายบุญเกิด หิรัญคำเป็นเลขาธิการพรรค[10]เพื่อลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2526 ที่มีขึ้นในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2526 ผลการเลือกตั้งได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 ที่นั่ง วันที่ 18 เมษายน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือกนายอุทัยให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[11]
การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2529 พรรคก้าวหน้าได้รับการเลือกตั้งจำนวน 9 ที่นั่ง และการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ.2531 พรรคก้าวหน้าได้รับการเลือกตั้งจำนวน 8 ที่นั่ง ทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2532 พรรคก้าวหน้ากับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือพรรคกิจประชาคมที่มีนายบุญชู โรจนเสถียรเป็นหัวหน้าพรรคและพรรคประชาชนที่มีนายเฉลิมพันธ์_ศรีวิกรม์เป็นหัวหน้าพรรคได้ยุบรวมกับพรรครวมไทยที่มีนายณรงค์_วงศ์วรรณเป็นหัวหน้าพรรค ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นพรรคเอกภาพ[12] เมื่อพลเอกชาติชาย_ชุณหะวัณลาออกจากตำแหน่งเพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2533 พรรคเอกภาพได้เข้าร่วมรัฐบาลโดยนายอุทัยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[13]แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกพลเอกสุจินดา_คราประยูรยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2534
พ.ศ.2535 เมื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณพร้อมด้วยสมาชิกได้ออกจากพรรคเอกภาพเพื่อไปจัดตั้งพรรคสามัคคีธรรม นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคเอกภาพได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 6 ที่นั่ง โดยเป็นพรรคฝ่ายค้าน และการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535พรรคเอกภาพได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 8 ที่นั่ง นายอุทัยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอุทัยได้สั่งพักราชการนายพชร_อิศรเสนา_ณ_อยุธยา ปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยอ้างเหตุผลว่าถูกบริษัทฮาร์ท ออนส์ สยามอิมปอร์ตเอ็กซ์ปอร์ต ยื่นฟ้องข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีมติให้นายอุทัยยกเลิกคำสั่งพักราชการแต่นายอุทัยไม่ปฏิบัติตาม นายพชรจึงยื่นฟ้องศาลในข้อหาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2537 แต่ในวันที่ 7 กันยายน นายอุทัยได้ยกเลิกคำสั่งพักราชการนายพชร ระหว่างที่นายอุทัยกำลังแถลงข่าวชี้แจงเรื่องการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายอุทัยได้ถูกนายธนิต สุวรรณเมนะหยิบถุงพลาสติกที่บรรจุอุจจาระขว้างใส่หน้า โดยนายธนิตได้ให้เหตุผลว่า ทนไม่ได้ที่เห็นคนดีถูกรังแก [14]
ปี พ.ศ.2538 นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้ออกจากหัวหน้าพรรคขึ้นเป็นที่ปรึกษาพรรค จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2539 นายอุทัยได้ลาออกจากพรรคเอกภาพ เพราะนายไชยยศ สะสมทรัพย์หัวหน้าพรรคได้รับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบเข้าร่วมพรรค โดยนายอุทัยได้กล่าวว่า "ผมก็ได้แนะนำคุณไชยยศ_สะสมทรัพย์ ว่าไม่ควรรับคุณเนวิน ชิดชอบ แต่เมื่อมีความชัดเจนว่าพรรครับคุณเนวินเข้าเป็นสมาชิก ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาของพรรค ผมจึงต้องพิจารณาตัวเอง” [15]
พ.ศ.2539 เมื่อมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละหนึ่งคน ในการประชุมสภาฯครั้งที่หนึ่ง ที่ประชุมมีมติเลือกนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาฯได้ดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นทั้งฉบับ ผ่านการลงมติให้ความเห็นชอบและส่งมอบให้ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 จากนั้นมีการประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540[16]
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 นายอุทัย พิมพ์ใจชนได้รับการชักชวนจาก ดร.ทักษิณ_ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยให้เข้าร่วมพรรคเนื่องจากเห็นว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองสูง และมีภาพลักษณ์ด้านอุดมการณ์ทางการเมืองที่ดี[17] นายอุทัยได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรทำให้ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ นับเป็นการดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3และเป็นประธานรัฐสภาครั้งที่ 2 โดยดำรงตำแหน่งระหว่าง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 ถึง 5 มกราคม พ.ศ.2548[18]
หลังจากนั้นนายอุทัยได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยและต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2549 โดยลงสมัครในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาได้ 18 คน ผลการเลือกตั้งปรากฎว่านายอุทัยได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 11[19] โดยสมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวได้พ้นสภาพภายหลังการทำรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หนังสือแนะนำ
วิรัตน์ โตอารีย์มิตร.(2545). พิมพ์ไว้ในใจชน มุมมอง ความคิดและชีวิตการเมืองของ ‘อุทัย พิมพ์ใจชน’.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเยศ.
บรรณานุกรม
กองบรรณาธิการมติชน.289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168.
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ '36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517 เข้าถึงจาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'รับทราบการยุบพรรคการเมือง จำนวน '3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และพรรคประชาชน และพรรครวมไทยเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ/ เข้าถึงจาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
ชาติชาย มุกสง,'รัฐประหาร '2514 เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
โชคสุข กรกิตติชัย,คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (พ.ศ. 2519), เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙) เมื่อ 3 สิงหาคม 2559
นรนิติ เศรษฐบุตร, 9 มีนาคม พ.ศ. 2515 เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
โรงเรียนเทพศิรินทร์,นายอุทัย พิมพ์ใจชน เข้าถึงจาก https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 51 ฉบับพิเศษ หน้า 10 ลงวันที่ 1 เมษายน 2526
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 67 ฉบับพิเศษ หน้า 27 ลงวันที่ 28 เมษายน 2526
รัฐสภา,ทำเนียบประธานรัฐสภา, เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=2374&filename=index เมื่อ 3 สิงหาคม 2559
ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย,อุทัย พิมพ์ใจชน เข้าถึงจาก http://politicalbase.in.th/index.php?title=อุทัย_พิมพ์ใจชน&redirect=no เมื่อ 1 กันยายน 2559.
วิรัตน์ โตอารีย์มิตร,'พิมพ์ไว้ในใจชน มุมมอง ความคิดและชีวิตการเมืองของ '‘อุทัย พิมพ์ใจชน’, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเยศ, 2545) หน้า 57.
สะถิระ เผือกประพันธุ์, การสื่อสารทางการเมืองของนายอุทัย พิมพใจชน ศึกษาในห้วงระหว่างปี 2512-2519.ดุษฎีนิพนธ์วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก,พ.ศ.2554,หน้า 85.
สิฐสร กระแสร์สุนทร,สภาร่างรัฐธรรมนูญ เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 1 กันยายน 2559.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2549 เข้าถึงจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_elect/senate_set2.pdf เมื่อ 1 กันยายน 2559.
สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร,ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[1] โรงเรียนเทพศิรินทร์,นายอุทัย พิมพ์ใจชน เข้าถึงจาก https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[2]สะถิระ เผือกประพันธุ์, การสื่อสารทางการเมืองของนายอุทัย พิมพใจชน ศึกษาในห้วงระหว่างปี 2512-2519.ดุษฎีนิพนธ์วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก,พ.ศ.2554,หน้า 95.
[3]ชาติชาย มุกสง,'รัฐประหาร '2514 เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐประหาร_พ.ศ._2514 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[4] นรนิติ เศรษฐบุตร, 9 มีนาคม พ.ศ. 2515 เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title= 9_มีนาคม_พ.ศ._2515 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[5] วิรัตน์ โตอารีย์มิตร,'พิมพ์ไว้ในใจชน มุมมอง ความคิดและชีวิตการเมืองของ '‘อุทัย พิมพ์ใจชน’, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บีเยศ, 2545) หน้า 57.
[6] คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ '36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517 เข้าถึงจาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/14665 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[7] รัฐสภา,ทำเนียบประธานรัฐสภา, เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_news.php?nid=2374&filename=index เมื่อ 3 สิงหาคม 2559
[8] โชคสุข กรกิตติชัย,คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (พ.ศ. 2519), เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน_(พ.ศ._๒๕๑๙) เมื่อ 3 สิงหาคม 2559
[9] ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย,อุทัย พิมพ์ใจชน เข้าถึงจาก http://politicalbase.in.th/index.php?title=อุทัย_พิมพ์ใจชน&redirect=no เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[10] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 51 ฉบับพิเศษ หน้า 10 ลงวันที่ 1 เมษายน 2526
[11] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 67 ฉบับพิเศษ หน้า 27 ลงวันที่ 28 เมษายน 2526
[12] คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ,'รับทราบการยุบพรรคการเมือง จำนวน '3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และพรรคประชาชน และพรรครวมไทยเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ/ เข้าถึงจาก http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/50157 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[13] กองบรรณาธิการมติชน.289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน.(กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.2550.พิมพ์ครั้งที่ 2) หน้า 168.
[14] กองบรรณาธิการมติชน, หน้า 223-224.
[15] โรงเรียนเทพศิรินทร์,นายอุทัย พิมพ์ใจชน เข้าถึงจาก https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=641 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[16] สิฐสร กระแสร์สุนทร,สภาร่างรัฐธรรมนูญ เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 1 กันยายน 2559.
17 สะถิระ เผือกประพันธุ์,หน้า 85.
18 สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร,ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliamen__parcy/more_news.php?cid=63 เมื่อ 1 กันยายน 2559.
[19] สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2549 เข้าถึงจาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_elect/senate_set2.pdf เมื่อ 1 กันยายน 2559.