ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)''' | '''หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)''' | ||
| “[[การปฏิวัติสยาม_พ.ศ._2475|การปฏิวัติสยาม_พ.ศ._2475]]” มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศครั้งใหญ่ และก่อกำเนิดระบอบการปกครองที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ระบอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ให้สิทธิและเสรีภาพกับราษฎร ตามชื่อกลุ่มผู้ก่อการที่เรียกตัวเองว่า “[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]” อันประกอบด้วยบุคคลสำคัญหลายท่าน แต่บุคคลที่มีความสำคัญ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “มันสมอง” ของคณะราษฎร นั่นคือ “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม” หรือ[[ปรีดี_พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] อาจารย์ประจำโรงเรียนสอนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ผ่านพ้นไป [[หลักการ_6_ประการของคณะราษฎร|หลักการ_6_ประการของคณะราษฎร]]ได้นำมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการผลักดันของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) อาทิ การจัดทำร่าง[[เค้าโครงเศรษฐกิจ|เค้าโครงเศรษฐกิจ]] การก่อตั้ง[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง|มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] (มธก.) นอกจากนี้บทบาทของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] นั่นคือ ภารกิจของกลุ่ม “[[เสรีไทย|เสรีไทย]]” ในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติภายหลังสงคราม แต่ภายหลังการยึดอำนาจเมื่อวันที่ [[8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490|8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490]] ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ต้องหนีออกนอกประเทศ และไม่มีโอกาสได้กลับมาเยือนประเทศอีกเลย | ||
| | ||
<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u> | ''' <u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>''' | ||
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนบุตรทั้งหมด 6 คน ของนายเสียง พนมยงค์ และนางลูกจันทร์ พนมยงค์[[#_ftn2|[2]]] แม้ว่าเชื้อสายตระกูลของท่านเป็นคหบดี แต่เนื่องจากบิดาของท่านรักการผจญภัย และการทำนา จึงประกอบอาชีพเป็นชาวนา ฐานะในวัยเด็กจึงไม่ได้ร่ำรวยมากนัก[[#_ftn3|[3]]] | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนบุตรทั้งหมด 6 คน ของนายเสียง พนมยงค์ และนางลูกจันทร์ พนมยงค์[[#_ftn2|[2]]] แม้ว่าเชื้อสายตระกูลของท่านเป็นคหบดี แต่เนื่องจากบิดาของท่านรักการผจญภัย และการทำนา จึงประกอบอาชีพเป็นชาวนา ฐานะในวัยเด็กจึงไม่ได้ร่ำรวยมากนัก[[#_ftn3|[3]]] | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
| | ||
<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u> | '''<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>''' | ||
ในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รวมกลุ่มนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ภายใต้ชื่อ | ในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รวมกลุ่มนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ภายใต้ชื่อ “[[สามัคยานุเคราะห์สมาคม|สามัคยานุเคราะห์สมาคม]]” โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสมาคมคนแรก[[#_ftn9|[9]]] ต่อมาเมื่อเริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2470 ในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม และผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ขณะเดียวกันได้เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ในโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมด้วย โดยได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และต่อมาได้รับการเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี[[#_ftn10|[10]]] | ||
ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย “คณะราษฎร” ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็น “มันสมอง” ของคณะราษฎร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการประสานงาน และวางโครงสร้างของสถาบันการเมืองภายหลังการปฏิวัติ[[#_ftn11|[11]]] | ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม วันที่ [[27_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] โดย “คณะราษฎร” ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็น “มันสมอง” ของคณะราษฎร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการประสานงาน และวางโครงสร้างของสถาบันการเมืองภายหลังการปฏิวัติ[[#_ftn11|[11]]] หลังจากมีการประกาศ[[รัฐธรรมนูญฉบับแรก|รัฐธรรมนูญฉบับแรก]] เมื่อวันที่ [[27_มิถุนายน_พ.ศ._2475|27_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] ก่อให้เกิดโครงสร้างสถาบันการเมืองใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ใน[[สภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประเทศไทย|สภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประเทศไทย]] ซึ่งมีการแต่งตั้ง วันที่ [[28_มิถุนายน_พ.ศ._2475|28_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] และเป็น[[เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร|เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]คนแรกของประเทศไทยด้วย[[#_ftn12|[12]]] เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการราษฎร เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่งกรรมการราษฎรอีกหนึ่งตำแหน่งด้วย[[#_ftn13|[13]]] | ||
เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ประกาศใช้ในวันที่ | เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ประกาศใช้ในวันที่ [[10_ธันวาคม_พ.ศ._2475|10_ธันวาคม_พ.ศ._2475]] “[[คณะกรรมการราษฎร|คณะกรรมการราษฎร]]” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]” ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ในช่วงนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่ง[[รัฐมนตรีลอย|รัฐมนตรีลอย]] ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ด้วย ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเค้าโครงเศรษฐกิจ [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา|พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] [[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]ได้ออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ขึ้นมา และได้บีบบังคับให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางออกนอกประเทศ ในวันที่ [[12_เมษายน_พ.ศ._2476|12_เมษายน_พ.ศ._2476]][[#_ftn14|[14]]] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา แกนนำคณะราษฎร สายทหารบก ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน หลังจากนั้นได้เรียกตัวหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกลับมา และได้แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ใน พ.ศ. 2476 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในช่วง พ.ศ. 2477 – 2478[[#_ftn15|[15]]] และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วง พ.ศ. 2479 – 2481 เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2481 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2484 มี[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]]กับนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์|ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]][[#_ftn16|[16]]] | ||
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ช่วยให้ประเทศรอดพ้นสภาวะประเทศที่แพ้สงคราม ส่งผลให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2489 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ช่วยให้ประเทศรอดพ้นสภาวะประเทศที่แพ้สงคราม ส่งผลให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2489 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จนกระทั่งเกิด[[กรณีสวรรคตรัชกาลที่_8|กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8]] ทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แต่ก็ยังคงบทบาททางการเมืองอยู่ จนกระทั่งเกิดการยึดอำนาจของคณะทหารนำโดย[[ผิน_ชุณหะวัณ|พลโท ผิน ชุณหะวัณ]] ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหมดบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง[[#_ftn17|[17]]] | ||
| | ||
<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u> | '''<u>ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง</u>''' | ||
ผลงานที่สำคัญในทางการเมืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีอยู่หลายด้าน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในคณะราษฎร ผลงานในด้านนิติบัญญัติ ผลงานในด้านการคลัง ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ ผลงานด้านการศึกษา และผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 | ผลงานที่สำคัญในทางการเมืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีอยู่หลายด้าน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในคณะราษฎร ผลงานในด้านนิติบัญญัติ ผลงานในด้านการคลัง ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ ผลงานด้านการศึกษา และผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 | ||
“ผลงานในคณะราษฎร” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็น 1 ใน 7 คณะผู้ก่อการเริ่มต้นของคณะราษฎร ที่มีการประชุมกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ประกอบด้วย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) หลวงพิบูลสงคราม (ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ) หลวงทัศนัยนิยมศึก (ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี) หลวงสิริราชไมตรี (นายจรูญ สิงหเสนี) ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายตั้ว ลพานุกรม | “ผลงานในคณะราษฎร” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็น 1 ใน 7 คณะผู้ก่อการเริ่มต้นของคณะราษฎร ที่มีการประชุมกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ประกอบด้วย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) [[แปลก_พิบูลสงคราม|หลวงพิบูลสงคราม]] ([[แปลก_ขีตตะสังคะ|ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ]]) [[หลวงทัศนัยนิยมศึก|หลวงทัศนัยนิยมศึก]] ([[ทัศนัย_มิตรภักดี|ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี]]) [[หลวงสิริราชไมตรี|หลวงสิริราชไมตรี]] ([[จรูญ_สิงหเสนี|นายจรูญ สิงหเสนี]]) [[ประยูร_ภมรมนตรี|ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี]] [[ตั้ว_ลพานุกรม|นายตั้ว ลพานุกรม]] และ[[แนบ_พหลโยธิน|นายแนบ พหลโยธิน]][[#_ftn18|[18]]] จนกระทั่งมีการขยายวงไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือการปฏิวัติสยาม ใน พ.ศ. 2475 โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้คิดชื่อ “คณะราษฎร” เพื่อบ่งบอกว่าอำนาจการปกครองจะเป็นของราษฎร โดยราษฎร และเพื่อราษฎร[[#_ftn19|[19]]] นอกจากนี้ยังได้กำหนด หลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ได้แก่ เอกราช ความปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา[[#_ftn20|[20]]] จึงได้รับการขนานนามว่า “[[มันสมองของคณะราษฎร|มันสมองของคณะราษฎร]]” | ||
“ผลงานในด้านนิติบัญญัติ” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเป็นสมาชิกสมาผู้แทนราษฎรในชุดแรก และชุดต่อ ๆ มา ส่งผลให้มีส่วนสำคัญในการร่างกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ | “ผลงานในด้านนิติบัญญัติ” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเป็นสมาชิกสมาผู้แทนราษฎรในชุดแรก และชุดต่อ ๆ มา ส่งผลให้มีส่วนสำคัญในการร่างกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ [[กฎหมายปรับปรุงกระทรวง_ทบวง_กรม_พ.ศ._2476|กฎหมายปรับปรุงกระทรวง_ทบวง_กรม_พ.ศ._2476]] [[กฎหมายเทศบาล_พ.ศ._2476|กฎหมายเทศบาล_พ.ศ._2476]][[#_ftn21|[21]]] นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3 ฉบับ คือ [[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475|พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475]] [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม_พ.ศ._๒๔๗๕|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475]] และ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2489|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2489]][[#_ftn22|[22]]] ซึ่งมีส่วนสร้าง “[[ประชาธิปไตย|ประชาธิปไตย]]” ให้กับสังคมไทย | ||
“ผลงานในด้านการคลัง” ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ริเริ่มครั้งแรกโดยเสนอเป็น “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือที่เรียกว่า | “ผลงานในด้านการคลัง” ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ริเริ่มครั้งแรกโดยเสนอเป็น “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือที่เรียกว่า “[[สมุดปกเหลือง|สมุดปกเหลือง]]” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญสอดรับกับหลักเรื่องเศรษฐกิจ ในหลัก 6 ประการ แต่ได้รับการกล่าวหาว่าเข้าข่ายพฤติกรรมอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งข้อเสนอในเค้าโครงเศรษฐกิจ ได้เกิดขึ้นจริงภายหลังหลายประการ เช่น ธนาคารแห่งชาติ สวัสดิการสังคม เป็นต้น[[#_ftn23|[23]]] นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ปรับปรุงระบบภาษี โดยยกเลิกภาษีรัชชูปการ และใช้ระบบ “[[ประมวลรัษฎากร|ประมวลรัษฎากร]]” ขึ้นเป็นครั้งแรก[[#_ftn24|[24]]] | ||
“ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ” ในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการเจรจาแก้ไข “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ส่งผลให้ประเทศไทยมีเอกราช และอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ ซึ่งสอดรับกับหลักเรื่องเอกราช ในหลัก 6 ประการ นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติ ให้มีความเสมอภาคมากขึ้น และยังเจรจาเรื่องดินแดนที่เคยสูญเสียให้ประเทศอังกฤษ กลับมาเป็นของประเทศไทยอีกด้วย[[#_ftn25|[25]]] | “ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ” ในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการเจรจาแก้ไข “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ส่งผลให้ประเทศไทยมีเอกราช และอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ ซึ่งสอดรับกับหลักเรื่องเอกราช ในหลัก 6 ประการ นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติ ให้มีความเสมอภาคมากขึ้น และยังเจรจาเรื่องดินแดนที่เคยสูญเสียให้ประเทศอังกฤษ กลับมาเป็นของประเทศไทยอีกด้วย[[#_ftn25|[25]]] | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
“ผลงานในด้านการศึกษา” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นใน พ.ศ. 2477 โดยมีลักษณะเป็นตลาดวิชา เพื่อให้สอดรับกับหลักเรื่องการศึกษา เสมอภาค และเสรีภาพ ตามหลัก 6 ประการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ประศาสน์การ” จนกระทั่ง พ.ศ. 2490 โดยเจตจำนงของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้กล่าวว่า ''“มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร”''[[#_ftn26|[26]]] | “ผลงานในด้านการศึกษา” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นใน พ.ศ. 2477 โดยมีลักษณะเป็นตลาดวิชา เพื่อให้สอดรับกับหลักเรื่องการศึกษา เสมอภาค และเสรีภาพ ตามหลัก 6 ประการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ประศาสน์การ” จนกระทั่ง พ.ศ. 2490 โดยเจตจำนงของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้กล่าวว่า ''“มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร”''[[#_ftn26|[26]]] | ||
“ผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” ในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นที่เรียกว่า | “ผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” ในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นที่เรียกว่า “[[ขบวนการเสรีไทย|ขบวนการเสรีไทย]]” โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งฝ่ายขวา กลุ่มเชื้อพระวงศ์ และฝ่ายซ้าย กลุ่ม ส.ส. อีสาน[[#_ftn27|[27]]] โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมใช้นามแฝงว่า “รูธ”[[#_ftn28|[28]]] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เข้าร่วมในต่างประเทศอีกมากมาย จนสามารถจัดตั้งเป็นเสรีไทยในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาขึ้นมาได้ โดยได้รับการสนับสนุนให้ร่วมฝึกในหน่วย OSS ของอังกฤษ[[#_ftn29|[29]]] จนกระทั่งหลังสิ้นสุดสงคราม ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ แต่ด้วยบทบาทของขบวนการเสรีไทย ส่งผลให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” ให้คำประกาศสงครามเป็นโมฆะ ในวันที่ [[16_สิงหาคม_พ.ศ._2488|16_สิงหาคม_พ.ศ._2488]] ส่งผลให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวัน “สันติภาพไทย” | ||
ภายหลังจากการยึดอำนาจใน พ.ศ. 2490 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศจีน 21 ปี โดยใช้เวลาไปกับการอ่านงานของนักคิดต่าง ๆ และเขียนหนังสือ นอกจากนี้ยามว่างจะใช้เวลาไปกับการปรุงอาหารรับประทานกับมิตรสหาย[[#_ftn30|[30]]] ต่อมาได้ย้ายไปพำนัก ณ ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2513 และอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม | ภายหลังจากการยึดอำนาจใน พ.ศ. 2490 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศจีน 21 ปี โดยใช้เวลาไปกับการอ่านงานของนักคิดต่าง ๆ และเขียนหนังสือ นอกจากนี้ยามว่างจะใช้เวลาไปกับการปรุงอาหารรับประทานกับมิตรสหาย[[#_ftn30|[30]]] ต่อมาได้ย้ายไปพำนัก ณ ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2513 และอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม | ||
บรรทัดที่ 56: | บรรทัดที่ 56: | ||
| | ||
<u>ข้อครหาและคำยกย่องเชิดชูเกียรติ</u> | '''<u>ข้อครหาและคำยกย่องเชิดชูเกียรติ</u>''' | ||
แม้ว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โดนข้อครหาต่าง ๆ นานา อาทิ การเป็นคอมมิวนิสต์ รวมถึงการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ หลังจากกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่ข้อครหาดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมา พบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[[#_ftn31|[31]]] แม้ว่ามีความพยายามของกลุ่มเครือข่ายของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม รวมถึงนายทหารเรือที่จะนำหลวงประดิษฐ์มนูธรรมหวนคืนสู่การเมืองไทยอีกครั้ง ในเหตุการณ์ | แม้ว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โดนข้อครหาต่าง ๆ นานา อาทิ การเป็นคอมมิวนิสต์ รวมถึงการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ หลังจากกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่ข้อครหาดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมา พบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[[#_ftn31|[31]]] แม้ว่ามีความพยายามของกลุ่มเครือข่ายของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม รวมถึงนายทหารเรือที่จะนำหลวงประดิษฐ์มนูธรรมหวนคืนสู่การเมืองไทยอีกครั้ง ในเหตุการณ์ “[[กบฏวังหลวง|กบฏวังหลวง]]” และ “[[กบฎเสนาธิการ|กบฏเสนาธิการ]]” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ | ||
กระนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นที่ยกย่องในวงกว้าง ช่วง พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น | กระนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นที่ยกย่องในวงกว้าง ช่วง พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น “[[รัฐบุรุษอาวุโส|รัฐบุรุษอาวุโส]]” มีหน้าที่ให้คำปรึกษาใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน|การบริหารราชการแผ่นดิน]][[#_ftn32|[32]]] ก่อนที่ภาพลักษณ์ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะเปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับอำนาจทางการเมืองที่เลือนหาย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 หลังจากหลวงประดิษฐ์มนูธรรมถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว 17 ปี UNESCO ได้ยกย่องให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2543 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล หลวงประดิษฐ์มนูธรรม | ||
นอกจากนี้ ชื่อของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้นำมาใช้ตั้งเป็นชื่อสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดใหม่ ๆ ที่มีการค้นพบ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ “นกปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2471 ที่จังหวัดเชียงใหม่[[#_ftn33|[33]]] และ “ปลาทองปล้องปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยทั้ง 2 สายพันธุ์ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ “รัฐบุรุษอาวุโส” ผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย | นอกจากนี้ ชื่อของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้นำมาใช้ตั้งเป็นชื่อสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดใหม่ ๆ ที่มีการค้นพบ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ “นกปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2471 ที่จังหวัดเชียงใหม่[[#_ftn33|[33]]] และ “ปลาทองปล้องปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยทั้ง 2 สายพันธุ์ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ “รัฐบุรุษอาวุโส” ผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย | ||
บรรทัดที่ 66: | บรรทัดที่ 66: | ||
| | ||
<u>บรรณานุกรม</u> | '''<u>บรรณานุกรม</u>''' | ||
คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, '''อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539). | คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, '''อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539). | ||
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, '''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500''', (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544). | ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, '''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500''', (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544). | ||
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, '''บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549). | วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, '''บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549). | ||
นรนิติ เศรษฐบุตร, '''การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย''', (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554). | นรนิติ เศรษฐบุตร, '''การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย''', (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554). | ||
สุพจน์ ด่านตระกูล, '''ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514). | สุพจน์ ด่านตระกูล, '''ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514). | ||
อนุสรณ์ ธรรมใจ, '''ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์''', (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552). | อนุสรณ์ ธรรมใจ, '''ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์''', (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552). | ||
อรุณ เวชสุวรรณ, '''รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550). | อรุณ เวชสุวรรณ, '''รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์''', (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550). | ||
<u>เว็บไซต์</u> | <u>เว็บไซต์</u> | ||
ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก <http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104> เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2559. | ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก <[http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104 http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104]> เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2559. | ||
<u>'''อ้างอิง'''</u> | <u>'''อ้างอิง'''</u> | ||
บรรทัดที่ 90: | บรรทัดที่ 90: | ||
[[#_ftnref1|[1]]] คำกราบบังคมทูลของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477. | [[#_ftnref1|[1]]] คำกราบบังคมทูลของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]]อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์, (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552), น. 39. | [[#_ftnref2|[2]]]อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์, (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552), น. 39. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549), น. 15. | [[#_ftnref3|[3]]] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549), น. 15. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] อรุณ เวชสุวรรณ, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550), น. 85. | [[#_ftnref4|[4]]] อรุณ เวชสุวรรณ, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550), น. 85. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] เพิ่งอ้าง, น. 86. | [[#_ftnref5|[5]]] เพิ่งอ้าง, น. 86. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539), น. 3. | [[#_ftnref6|[6]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539), น. 3. | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] เพิ่งอ้าง, น. 4. | [[#_ftnref7|[7]]] เพิ่งอ้าง, น. 4. | ||
บรรทัดที่ 108: | บรรทัดที่ 108: | ||
[[#_ftnref10|[10]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 3. | [[#_ftnref10|[10]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 3. | ||
</div> <div id="ftn11"> | </div> <div id="ftn11"> | ||
[[#_ftnref11|[11]]] สุพจน์ ด่านตระกูล, ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514), น. 26. | [[#_ftnref11|[11]]] สุพจน์ ด่านตระกูล, ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514), น. 26. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก [http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104%20เมื่อ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104 เมื่อ]วันที่ 8 พ.ค. 2559. | [[#_ftnref12|[12]]] ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก [http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104%20เมื่อ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104 เมื่อ]วันที่ 8 พ.ค. 2559. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] นรนิติ เศรษฐบุตร, การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554), น. 11-15. | [[#_ftnref13|[13]]] นรนิติ เศรษฐบุตร, การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554), น. 11-15. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 106-107. | [[#_ftnref14|[14]]] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 106-107. | ||
บรรทัดที่ 140: | บรรทัดที่ 140: | ||
[[#_ftnref26|[26]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 14. | [[#_ftnref26|[26]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 14. | ||
</div> <div id="ftn27"> | </div> <div id="ftn27"> | ||
[[#_ftnref27|[27]]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), น. 327-335. | [[#_ftnref27|[27]]] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), น. 327-335. | ||
</div> <div id="ftn28"> | </div> <div id="ftn28"> | ||
[[#_ftnref28|[28]]] อนุสรณ์ ธรรมใจ, อ้างแล้ว, น. 115-143. | [[#_ftnref28|[28]]] อนุสรณ์ ธรรมใจ, อ้างแล้ว, น. 115-143. | ||
บรรทัดที่ 153: | บรรทัดที่ 153: | ||
</div> <div id="ftn33"> | </div> <div id="ftn33"> | ||
[[#_ftnref33|[33]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. (5). | [[#_ftnref33|[33]]] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. (5). | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:สมาชิกคณะราษฎร]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 27 พฤศจิกายน 2562
ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
“ในสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการตามระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้ว
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมหาวิทยาลัยสำหรับพลเมือง
ที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป”
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)[1]
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
“การปฏิวัติสยาม_พ.ศ._2475” มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศครั้งใหญ่ และก่อกำเนิดระบอบการปกครองที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ระบอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ให้สิทธิและเสรีภาพกับราษฎร ตามชื่อกลุ่มผู้ก่อการที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” อันประกอบด้วยบุคคลสำคัญหลายท่าน แต่บุคคลที่มีความสำคัญ และได้รับการยกย่องว่าเป็น “มันสมอง” ของคณะราษฎร นั่นคือ “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม” หรือนายปรีดี พนมยงค์ อาจารย์ประจำโรงเรียนสอนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ผ่านพ้นไป หลักการ_6_ประการของคณะราษฎรได้นำมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการผลักดันของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) อาทิ การจัดทำร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) นอกจากนี้บทบาทของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่_2 นั่นคือ ภารกิจของกลุ่ม “เสรีไทย” ในการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติภายหลังสงคราม แต่ภายหลังการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490 ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ต้องหนีออกนอกประเทศ และไม่มีโอกาสได้กลับมาเยือนประเทศอีกเลย
ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนบุตรทั้งหมด 6 คน ของนายเสียง พนมยงค์ และนางลูกจันทร์ พนมยงค์[2] แม้ว่าเชื้อสายตระกูลของท่านเป็นคหบดี แต่เนื่องจากบิดาของท่านรักการผจญภัย และการทำนา จึงประกอบอาชีพเป็นชาวนา ฐานะในวัยเด็กจึงไม่ได้ร่ำรวยมากนัก[3]
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเริ่มเข้ารับการศึกษาที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี ในระดับปฐมวัย ก่อนจะย้ายไปศึกษาต่อที่บ้านหลวงปราณี (เปี่ยม) อำเภอท่าเรือ ก่อนจะเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนวัดรวก อำเภอท่าเรือ ก่อนจะย้ายไปศึกษาหลักสูตรใหม่ที่โรงเรียนศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4] ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายมาศึกษาต่อ ณ โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใน พ.ศ. 2457 หลังจากนั้นได้เข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แต่ศึกษาได้เพียง 6 เดือน ได้ลาออกเพื่อไปช่วยบิดาทำนาที่บ้านเกิด[5] ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2460 ได้เข้าศึกษาต่อ ณ โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม จนสามารถสอบไล่ได้ในระดับเนติบัณฑิต เมื่อ ปี พ.ศ. 2462 และได้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยสอบไล่ได้เป็นดุษฎีบัณฑิตวิชานิติศาสตร์ และประกาศนียบัตรเศรษฐศาสตร์ชั้นสูงของมหาวิทยาลัยปารีส ใน ปี พ.ศ. 2469 นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางด้านกฎหมาย (Docteur en droit)[6]
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม สมรสกับนางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ธิดาของพระยาชัยวิชิตวิศิษฐ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) กับคุณหญิงเพ็ง ณ ป้อมเพชร์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน ประกอบด้วย นางสาวลลิตา พนมยงค์ นายปาล พนมยงค์ นางสาวสุดา พนมยงค์ นายศุขปรีดา พนมยงค์ นางดุษฎี พนมยงค์ และนางวาณี พนมยงค์[7]
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถึงแก่อสัญกรรม ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ บ้านพักอองโตนี ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สิริอายุ 83 ปี[8]
หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
ในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รวมกลุ่มนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ภายใต้ชื่อ “สามัคยานุเคราะห์สมาคม” โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสมาคมคนแรก[9] ต่อมาเมื่อเริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2470 ในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม และผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ขณะเดียวกันได้เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย ในโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมด้วย โดยได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และต่อมาได้รับการเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี[10]
ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย “คณะราษฎร” ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็น “มันสมอง” ของคณะราษฎร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการประสานงาน และวางโครงสร้างของสถาบันการเมืองภายหลังการปฏิวัติ[11] หลังจากมีการประกาศรัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27_มิถุนายน_พ.ศ._2475 ก่อให้เกิดโครงสร้างสถาบันการเมืองใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งมีการแต่งตั้ง วันที่ 28_มิถุนายน_พ.ศ._2475 และเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศไทยด้วย[12] เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการราษฎร เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่งกรรมการราษฎรอีกหนึ่งตำแหน่งด้วย[13]
เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ประกาศใช้ในวันที่ 10_ธันวาคม_พ.ศ._2475 “คณะกรรมการราษฎร” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะรัฐมนตรี” ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ในช่วงนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีลอย ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ด้วย ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเค้าโครงเศรษฐกิจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีได้ออกกฎหมายว่าด้วยคอมมิวนิสต์ขึ้นมา และได้บีบบังคับให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางออกนอกประเทศ ในวันที่ 12_เมษายน_พ.ศ._2476[14] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา แกนนำคณะราษฎร สายทหารบก ได้ยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน หลังจากนั้นได้เรียกตัวหลวงประดิษฐ์มนูธรรมกลับมา และได้แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ใน พ.ศ. 2476 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในช่วง พ.ศ. 2477 – 2478[15] และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วง พ.ศ. 2479 – 2481 เมื่อหลวงพิบูลสงคราม ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2481 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ร่วมคณะรัฐมนตรีด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จนกระทั่ง พ.ศ. 2484 มีความขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกปรับออกจากคณะรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[16]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ช่วยให้ประเทศรอดพ้นสภาวะประเทศที่แพ้สงคราม ส่งผลให้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2489 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จนกระทั่งเกิดกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ทำให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แต่ก็ยังคงบทบาททางการเมืองอยู่ จนกระทั่งเกิดการยึดอำนาจของคณะทหารนำโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ ส่งผลให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหมดบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง[17]
ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
ผลงานที่สำคัญในทางการเมืองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีอยู่หลายด้าน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในคณะราษฎร ผลงานในด้านนิติบัญญัติ ผลงานในด้านการคลัง ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ ผลงานด้านการศึกษา และผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
“ผลงานในคณะราษฎร” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็น 1 ใน 7 คณะผู้ก่อการเริ่มต้นของคณะราษฎร ที่มีการประชุมกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ประกอบด้วย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) หลวงพิบูลสงคราม (ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ) หลวงทัศนัยนิยมศึก (ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี) หลวงสิริราชไมตรี (นายจรูญ สิงหเสนี) ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายตั้ว ลพานุกรม และนายแนบ พหลโยธิน[18] จนกระทั่งมีการขยายวงไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือการปฏิวัติสยาม ใน พ.ศ. 2475 โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้คิดชื่อ “คณะราษฎร” เพื่อบ่งบอกว่าอำนาจการปกครองจะเป็นของราษฎร โดยราษฎร และเพื่อราษฎร[19] นอกจากนี้ยังได้กำหนด หลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ได้แก่ เอกราช ความปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษา[20] จึงได้รับการขนานนามว่า “มันสมองของคณะราษฎร”
“ผลงานในด้านนิติบัญญัติ” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเป็นสมาชิกสมาผู้แทนราษฎรในชุดแรก และชุดต่อ ๆ มา ส่งผลให้มีส่วนสำคัญในการร่างกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ กฎหมายปรับปรุงกระทรวง_ทบวง_กรม_พ.ศ._2476 กฎหมายเทศบาล_พ.ศ._2476[21] นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พ.ศ._2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2489[22] ซึ่งมีส่วนสร้าง “ประชาธิปไตย” ให้กับสังคมไทย
“ผลงานในด้านการคลัง” ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ริเริ่มครั้งแรกโดยเสนอเป็น “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือที่เรียกว่า “สมุดปกเหลือง” ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญสอดรับกับหลักเรื่องเศรษฐกิจ ในหลัก 6 ประการ แต่ได้รับการกล่าวหาว่าเข้าข่ายพฤติกรรมอันเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งข้อเสนอในเค้าโครงเศรษฐกิจ ได้เกิดขึ้นจริงภายหลังหลายประการ เช่น ธนาคารแห่งชาติ สวัสดิการสังคม เป็นต้น[23] นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ปรับปรุงระบบภาษี โดยยกเลิกภาษีรัชชูปการ และใช้ระบบ “ประมวลรัษฎากร” ขึ้นเป็นครั้งแรก[24]
“ผลงานในด้านการระหว่างประเทศ” ในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการเจรจาแก้ไข “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ส่งผลให้ประเทศไทยมีเอกราช และอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ ซึ่งสอดรับกับหลักเรื่องเอกราช ในหลัก 6 ประการ นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีส่วนสำคัญในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติ ให้มีความเสมอภาคมากขึ้น และยังเจรจาเรื่องดินแดนที่เคยสูญเสียให้ประเทศอังกฤษ กลับมาเป็นของประเทศไทยอีกด้วย[25]
“ผลงานในด้านการศึกษา” หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ขึ้นใน พ.ศ. 2477 โดยมีลักษณะเป็นตลาดวิชา เพื่อให้สอดรับกับหลักเรื่องการศึกษา เสมอภาค และเสรีภาพ ตามหลัก 6 ประการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ดำรงตำแหน่ง “ผู้ประศาสน์การ” จนกระทั่ง พ.ศ. 2490 โดยเจตจำนงของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนั้น หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร”[26]
“ผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” ในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น รัฐบาลไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ขบวนการเสรีไทย” โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งฝ่ายขวา กลุ่มเชื้อพระวงศ์ และฝ่ายซ้าย กลุ่ม ส.ส. อีสาน[27] โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมใช้นามแฝงว่า “รูธ”[28] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เข้าร่วมในต่างประเทศอีกมากมาย จนสามารถจัดตั้งเป็นเสรีไทยในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาขึ้นมาได้ โดยได้รับการสนับสนุนให้ร่วมฝึกในหน่วย OSS ของอังกฤษ[29] จนกระทั่งหลังสิ้นสุดสงคราม ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ แต่ด้วยบทบาทของขบวนการเสรีไทย ส่งผลให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” ให้คำประกาศสงครามเป็นโมฆะ ในวันที่ 16_สิงหาคม_พ.ศ._2488 ส่งผลให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวัน “สันติภาพไทย”
ภายหลังจากการยึดอำนาจใน พ.ศ. 2490 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศจีน 21 ปี โดยใช้เวลาไปกับการอ่านงานของนักคิดต่าง ๆ และเขียนหนังสือ นอกจากนี้ยามว่างจะใช้เวลาไปกับการปรุงอาหารรับประทานกับมิตรสหาย[30] ต่อมาได้ย้ายไปพำนัก ณ ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2513 และอาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม
ข้อครหาและคำยกย่องเชิดชูเกียรติ
แม้ว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โดนข้อครหาต่าง ๆ นานา อาทิ การเป็นคอมมิวนิสต์ รวมถึงการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ หลังจากกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่ข้อครหาดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมา พบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[31] แม้ว่ามีความพยายามของกลุ่มเครือข่ายของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม รวมถึงนายทหารเรือที่จะนำหลวงประดิษฐ์มนูธรรมหวนคืนสู่การเมืองไทยอีกครั้ง ในเหตุการณ์ “กบฏวังหลวง” และ “กบฏเสนาธิการ” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
กระนั้นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นที่ยกย่องในวงกว้าง ช่วง พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น “รัฐบุรุษอาวุโส” มีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน[32] ก่อนที่ภาพลักษณ์ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะเปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับอำนาจทางการเมืองที่เลือนหาย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 หลังจากหลวงประดิษฐ์มนูธรรมถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว 17 ปี UNESCO ได้ยกย่องให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี พ.ศ. 2543 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
นอกจากนี้ ชื่อของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้นำมาใช้ตั้งเป็นชื่อสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดใหม่ ๆ ที่มีการค้นพบ โดยมีอยู่ 2 ชนิด คือ “นกปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2471 ที่จังหวัดเชียงใหม่[33] และ “ปลาทองปล้องปรีดี” ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยทั้ง 2 สายพันธุ์ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ “รัฐบุรุษอาวุโส” ผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย
บรรณานุกรม
คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539).
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544).
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549).
นรนิติ เศรษฐบุตร, การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554).
สุพจน์ ด่านตระกูล, ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514).
อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์, (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552).
อรุณ เวชสุวรรณ, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550).
เว็บไซต์
ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก <http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104> เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2559.
อ้างอิง
[1] คำกราบบังคมทูลของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ในฐานะผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477.
[2]อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษผู้อภิวัฒน์, (กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค, 2552), น. 39.
[3] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, 2549), น. 15.
[4] อรุณ เวชสุวรรณ, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา, 2550), น. 85.
[5] เพิ่งอ้าง, น. 86.
[6] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อนุสรณสถาน ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539), น. 3.
[7] เพิ่งอ้าง, น. 4.
[8] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 469.
[9] อรุณ เวชสุวรรณ, อ้างแล้ว, น. 87.
[10] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 3.
[11] สุพจน์ ด่านตระกูล, ชีวิตและงานของดร.ปรีดี พนมยงค์, (กรุงเทพฯ : ประจักษ์การพิมพ์, 2514), น. 26.
[12] ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เข้าถึงจาก http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/more_news.php?cid=2104 เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2559.
[13] นรนิติ เศรษฐบุตร, การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2554), น. 11-15.
[14] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 106-107.
[15] นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 47-49.
[16] สุพจน์ ด่านตระกูล, อ้างแล้ว, น. 311-324.
[17] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 417-426.
[18] เพิ่งอ้าง, น. 48-49.
[19] นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 4-5.
[20] อนุสรณ์ ธรรมใจ, อ้างแล้ว, น. 70.
[21] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 22.
[22] เพิ่งอ้าง.
[23] สุพจน์ ด่านตระกูล, อ้างแล้ว, น. 65.
[24] อรุณ เวชสุวรรณ, อ้างแล้ว, น. 105-108.
[25] เพิ่งอ้าง, น. 101-103.
[26] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. 14.
[27] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544), น. 327-335.
[28] อนุสรณ์ ธรรมใจ, อ้างแล้ว, น. 115-143.
[29] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อ้างแล้ว, น. 331-339.
[30] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, อ้างแล้ว, น. 453.
[31] สุพจน์ ด่านตระกูล, อ้างแล้ว, น. 467-490.
[32] เพิ่งอ้าง, น. 374-375.
[33] คณะกรรมการจัดทำคู่มือนำชมห้องอนุสรณสถาน, อ้างแล้ว, น. (5).