ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยภักดี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
<span style="font-size:x-large;">'''การก่อตั้งกลุ่มไทยภักดี'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''การก่อตั้งกลุ่มไทยภักดี'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีได้แถลงเปิดตัวเมื่อ วันที่ 19 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ โดยมี นพ.วรงค์เป็นประธาน มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 27 คน ซึ่งมีภูมิหลังจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ ศิลปิน อดีตข้าราชการ ไปจนถึงเกษตรกร เช่น วิชัย ล้ำสุทธิ และ อิสระพงศ์ สงวนวงศ์ชัย&nbsp;อัครกฤษ นุ่นจันทร์&nbsp;หฤทัย ม่วงบุญศรี&nbsp;ศิลปิน ปฏิยุทธ ทองประจง ผู้ประสานงานเครือข่ายสถาบันทิศทางไทย ดลฤดี จูฑะศรี ฯลฯ[[#_ftn4|[4]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีได้แถลงเปิดตัว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ โดยมี นพ.วรงค์เป็นประธาน มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 27 คน ซึ่งมีภูมิหลังจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ ศิลปิน อดีตข้าราชการ ไปจนถึงเกษตรกร เช่น วิชัย ล้ำสุทธิ และ อิสระพงศ์ สงวนวงศ์ชัย&nbsp;อัครกฤษ นุ่นจันทร์&nbsp;หฤทัย ม่วงบุญศรี&nbsp;ศิลปิน ปฏิยุทธ ทองประจง ผู้ประสานงานเครือข่ายสถาบันทิศทางไทย ดลฤดี จูฑะศรี ฯลฯ[[#_ftn4|[4]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นพ.วรงค์กล่าวถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ของกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]]ในการชุมนุมเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม ว่าเป็นสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ต้องก่อตั้งกลุ่มไทยภักดีขึ้น[[#_ftn5|[5]]]โดยภารกิจสำคัญของกลุ่มไทยภักดีคือการปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการ '''“รังแก”''' โดยผู้ไม่หวังดี[[#_ftn6|[6]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นพ.วรงค์กล่าวถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ของกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]]ในการชุมนุมเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม ว่าเป็นสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ต้องก่อตั้งกลุ่มไทยภักดีขึ้น[[#_ftn5|[5]]]โดยภารกิจสำคัญของกลุ่มไทยภักดีคือการปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการ '''“รังแก”''' โดยผู้ไม่หวังดี[[#_ftn6|[6]]]
บรรทัดที่ 60: บรรทัดที่ 60:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จุดยืนของพรรคไทยภักดีประเทศไทยคือการต่อสู้กับขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประกอบด้วยพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และม็อบสามนิ้ว[[#_ftn15|[15]]] ภายหลังได้มีการรับรองการจดทะเบียนในชื่อพรรคไทยภักดี[[#_ftn16|[16]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จุดยืนของพรรคไทยภักดีประเทศไทยคือการต่อสู้กับขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประกอบด้วยพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และม็อบสามนิ้ว[[#_ftn15|[15]]] ภายหลังได้มีการรับรองการจดทะเบียนในชื่อพรรคไทยภักดี[[#_ftn16|[16]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคไทยภักดีแถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม 2564 โดย นพ.วรงค์เป็นหัวหน้าพรรค โดยมีการประกาศนโยบายและรับสมัครสมาชิกพรรค ได้ประกาศพร้อมสืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพลเอกประยุทธ์และจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศและส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ตัวอย่างนโยบายและแนวคิดด้านต่าง ๆ ของพรรคไทยภักดี ได้แก่ การไม่เป็นพรรคการเมืองที่ผูกขาดโดยนายทุนใหญ่ การปราบปรามทุจริต ปฏิรูปการศึกษา ระบบราชการ และราคาสินค้าเกษตรกรรม[[#_ftn17|[17]]]รวมไปถึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้าน[[#_ftn18|[18]]]ในงานเปิดตัวพรรคนี้มีบุคคลและกลุ่มทางการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้าร่วม เช่น เหรียญทอง แน่นหนา, สาธิต เซกัล, อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, สุวินัย ภรณวลัย,&nbsp;ถาวร เสนเนียม รวมถึงกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)[[#_ftn19|[19]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคไทยภักดีแถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 โดย นพ.วรงค์เป็นหัวหน้าพรรค โดยมีการประกาศนโยบายและรับสมัครสมาชิกพรรค ได้ประกาศพร้อมสืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพลเอกประยุทธ์และจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศและส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ตัวอย่างนโยบายและแนวคิดด้านต่าง ๆ ของพรรคไทยภักดี ได้แก่ การไม่เป็นพรรคการเมืองที่ผูกขาดโดยนายทุนใหญ่ การปราบปรามทุจริต ปฏิรูปการศึกษา ระบบราชการ และราคาสินค้าเกษตรกรรม[[#_ftn17|[17]]]รวมไปถึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้าน[[#_ftn18|[18]]]ในงานเปิดตัวพรรคนี้มีบุคคลและกลุ่มทางการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้าร่วม เช่น เหรียญทอง แน่นหนา, สาธิต เซกัล, อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, สุวินัย ภรณวลัย,&nbsp;ถาวร เสนเนียม รวมถึงกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)[[#_ftn19|[19]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมามีแกนนำของ ศปปส. ที่ยุติการเคลื่อนไหวและเข้าร่วมกับพรรคไทยภักดี คือ จักรพงศ์&nbsp;กลิ่นแกล้ว และ นพคุณ ทองถิ่น[[#_ftn20|[20]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมามีแกนนำของ ศปปส. ที่ยุติการเคลื่อนไหวและเข้าร่วมกับพรรคไทยภักดี คือ จักรพงศ์&nbsp;กลิ่นแกล้ว และ นพคุณ ทองถิ่น[[#_ftn20|[20]]]
บรรทัดที่ 78: บรรทัดที่ 78:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีชุมนุมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม ณ อาคารกีฬา ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มไทยภักดีได้ประกาศเป็นแกนกลางประสานงานเครือข่ายปกป้องสถาบันกษัตริย์[[#_ftn25|[25]]]มีการปราศรัยโจมตีการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พร้อมโจมตีกลุ่มคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มีการประกาศเปิดตัวเครือข่ายร่วมเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มประชาพิทักษ์หัวหิน&nbsp;และได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มไทยภักดี[[#_ftn26|[26]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีชุมนุมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม ณ อาคารกีฬา ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มไทยภักดีได้ประกาศเป็นแกนกลางประสานงานเครือข่ายปกป้องสถาบันกษัตริย์[[#_ftn25|[25]]]มีการปราศรัยโจมตีการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พร้อมโจมตีกลุ่มคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มีการประกาศเปิดตัวเครือข่ายร่วมเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มประชาพิทักษ์หัวหิน&nbsp;และได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มไทยภักดี[[#_ftn26|[26]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมา กลุ่มไทยภักดีจัดการชุมนุม เช่น การชุมนุมที่สวนลุมพินีเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 เพื่อแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันกษัตริย์ พร้อมทั้งได้ปราศรัยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[[#_ftn27|[27]]]หรือการชุมนุมที่รัฐสภาเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 มีการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[[#_ftn28|[28]]]มีการปะทะกันระหว่างมวลชนที่เดินทางมาร่วมกับกลุ่มไทยภักดีและมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่จัดการชุมนุมในพื้นที่เดียวกัน[[#_ftn29|[29]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมา กลุ่มไทยภักดีจัดการชุมนุม เช่น การชุมนุมที่สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เพื่อแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันกษัตริย์ พร้อมทั้งได้ปราศรัยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[[#_ftn27|[27]]]หรือการชุมนุมที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 มีการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[[#_ftn28|[28]]]มีการปะทะกันระหว่างมวลชนที่เดินทางมาร่วมกับกลุ่มไทยภักดีและมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่จัดการชุมนุมในพื้นที่เดียวกัน[[#_ftn29|[29]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีมีการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มมวลชนอื่น ๆ เช่น การรวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดพื้นที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ถูกผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสาดสี ร่วมกับกลุ่มภาคีประชาชนเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ เพจเชียร์ลุง และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน[[#_ftn30|[30]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีมีการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มมวลชนอื่น ๆ เช่น การรวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดพื้นที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ถูกผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสาดสี ร่วมกับกลุ่มภาคีประชาชนเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ เพจเชียร์ลุง และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน[[#_ftn30|[30]]]
บรรทัดที่ 86: บรรทัดที่ 86:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดียังเคลื่อนไหวโดยการยื่นหนังสือ ข้อเรียกร้องของกลุ่มต่อหน่วยงานรัฐ นอกจากการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เช่น การยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเสนอมาตรการป้องกันไม่ให้ครูและนักเรียนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์&nbsp;เช่น การป้องกันไม่ให้กลุ่มการเมืองเข้ามาปลุกระดมในสถานศึกษา การเพิ่มหลักสูตรหรือกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของสถาบันหลัก[[#_ftn32|[32]]]หรือการยื่นหนังสือต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินการปฏิรูปโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและเผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์[[#_ftn33|[33]]]นอกจากนั้นยังได้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนและเข้ายื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยทั้งสองครั้งกลุ่มไทยภักดีอ้างว่าสามารถรวบรวมได้มากกว่า 100,000 รายชื่อ[[#_ftn34|[34]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดียังเคลื่อนไหวโดยการยื่นหนังสือ ข้อเรียกร้องของกลุ่มต่อหน่วยงานรัฐ นอกจากการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เช่น การยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเสนอมาตรการป้องกันไม่ให้ครูและนักเรียนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์&nbsp;เช่น การป้องกันไม่ให้กลุ่มการเมืองเข้ามาปลุกระดมในสถานศึกษา การเพิ่มหลักสูตรหรือกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของสถาบันหลัก[[#_ftn32|[32]]]หรือการยื่นหนังสือต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินการปฏิรูปโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและเผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์[[#_ftn33|[33]]]นอกจากนั้นยังได้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนและเข้ายื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยทั้งสองครั้งกลุ่มไทยภักดีอ้างว่าสามารถรวบรวมได้มากกว่า 100,000 รายชื่อ[[#_ftn34|[34]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีได้แถลงการณ์กลุ่มในหลายครั้ง เช่น การสนับสนุน ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยกล่าวว่านายกฯ มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งและเพื่อดำรงไว้ซึ่งสามสถาบันหลัก[[#_ftn35|[35]]]การแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.&nbsp;2560[[#_ftn36|[36]]]ซึ่งภายหลังที่มีมติรัฐสภารับหลักการแก้ไข ก็ได้มีการแถลงยอมรับและให้ประชาชนช่วยกันติดตามไม่ให้แก้ไขสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ[[#_ftn37|[37]]]ทั้งยังได้มีการแถลงตอบโต้ฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลให้เคารพผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง หยุดยั่วยุสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงและให้ยึดถือแนวทางสันติวิธีอย่างแท้จริง[[#_ftn38|[38]]]ภายหลังการปะทะกันระหว่างมวลชนสองฝ่ายบริเวณรัฐสภาและแยกเกียกกายเมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งภายหลังที่จัดตั้งพรรคไทยภักดี ยังได้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 112 ที่รวมถึงการแถลงตอบโต้กับพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล ซึ่งได้มีแถลงการณ์ถึงการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น มาตรา 116 ซึ่งพรรคไทยภักดีสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราโดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดถือหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างแท้จริง[[#_ftn39|[39]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีได้แถลงการณ์กลุ่มในหลายครั้ง เช่น การสนับสนุน ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยกล่าวว่านายกฯ มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งและเพื่อดำรงไว้ซึ่งสามสถาบันหลัก[[#_ftn35|[35]]]การแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.&nbsp;2560[[#_ftn36|[36]]]ซึ่งภายหลังที่มีมติรัฐสภารับหลักการแก้ไข ก็ได้มีการแถลงยอมรับและให้ประชาชนช่วยกันติดตามไม่ให้แก้ไขสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ[[#_ftn37|[37]]]ทั้งยังได้มีการแถลงตอบโต้ฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลให้เคารพผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง หยุดยั่วยุสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงและให้ยึดถือแนวทางสันติวิธีอย่างแท้จริง[[#_ftn38|[38]]]ภายหลังการปะทะกันระหว่างมวลชนสองฝ่ายบริเวณรัฐสภาและแยกเกียกกาย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งภายหลังที่จัดตั้งพรรคไทยภักดี ยังได้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 112 ที่รวมถึงการแถลงตอบโต้กับพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล ซึ่งได้มีแถลงการณ์ถึงการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น มาตรา 116 ซึ่งพรรคไทยภักดีสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราโดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดถือหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างแท้จริง[[#_ftn39|[39]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีเน้นการเคลื่อนไหวโดยแจ้งความเอาผิดต่อบุคคลทางการเมืองหรือหน่วยงานที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น การแจ้งความใน มาตรา 112 ต่อสถานีโทรทัศน์ Voice TV ที่เผยแพร่การถ่ายทอดสดการชุมนุมและปราศรัย ณ ท้องสนามหลวงเมื่อ วันที่ 19-20 กันยายน 2563[[#_ftn40|[40]]]หรือแจ้งความแกนนำคณะก้าวหน้า ได้แก่ พรรณิการ์ วาณิช ที่เข้าร่วมการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในเดือนตุลาคม 2563 ด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ[[#_ftn41|[41]]] และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากกรณีการไลฟ์วิจารณ์การนำเข้าวัคซีนโควิด-19&nbsp;โดยรัฐบาล ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและยุยงปลุกปั่น[[#_ftn42|[42]]]รวมไปถึงการแจ้งความต่อการปราศรัยของแกนนำ[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]] ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และอรรถพล บัวพัฒน์ ตามมาตรา 112[[#_ftn43|[43]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดีเน้นการเคลื่อนไหวโดยแจ้งความเอาผิดต่อบุคคลทางการเมืองหรือหน่วยงานที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น การแจ้งความใน มาตรา 112 ต่อสถานีโทรทัศน์ Voice TV ที่เผยแพร่การถ่ายทอดสดการชุมนุมและปราศรัย ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563[[#_ftn40|[40]]]หรือแจ้งความแกนนำคณะก้าวหน้า ได้แก่ พรรณิการ์ วาณิช ที่เข้าร่วมการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในเดือนตุลาคม 2563 ด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ[[#_ftn41|[41]]] และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากกรณีการไลฟ์วิจารณ์การนำเข้าวัคซีนโควิด-19&nbsp;โดยรัฐบาล ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและยุยงปลุกปั่น[[#_ftn42|[42]]]รวมไปถึงการแจ้งความต่อการปราศรัยของแกนนำ[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]] ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และอรรถพล บัวพัฒน์ ตามมาตรา 112[[#_ftn43|[43]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดียังรณรงค์ตอบโต้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม เช่น การรณรงค์ '''“1 สิทธิ์ 1 เสียง สนับสนุน ม.112”''' ในเดือนธันวาคม 2563 โดยส่วนหนึ่งเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าแจ้งความการทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือส่งหลักฐานให้กลุ่มไทยภักดีช่วยเขียนสำนวนแจ้งความเพื่อส่งคืนให้ผู้ส่งหลักฐานนำไปแจ้งความต่อไป[[#_ftn44|[44]]]หรือแคมเปญร่วมลงชื่อ '''“หยุดเชื้อ อยู่บ้าน ขอล้านชื่อ ต้านระบอบสามกีบ หยุดรื้อรัฐธรรมนูญ”''' ในเดือนเมษายน 2564[[#_ftn45|[45]]]&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กลุ่มไทยภักดียังรณรงค์ตอบโต้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม เช่น การรณรงค์ '''“1 สิทธิ์ 1 เสียง สนับสนุน ม.112”''' ในเดือนธันวาคม 2563 โดยส่วนหนึ่งเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าแจ้งความการทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือส่งหลักฐานให้กลุ่มไทยภักดีช่วยเขียนสำนวนแจ้งความเพื่อส่งคืนให้ผู้ส่งหลักฐานนำไปแจ้งความต่อไป[[#_ftn44|[44]]]หรือแคมเปญร่วมลงชื่อ '''“หยุดเชื้อ อยู่บ้าน ขอล้านชื่อ ต้านระบอบสามกีบ หยุดรื้อรัฐธรรมนูญ”''' ในเดือนเมษายน 2564[[#_ftn45|[45]]]&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:26, 19 กรกฎาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          ไทยภักดี เป็นกลุ่มการเมืองที่มีแนวคิด-อุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมและชาตินิยม ก่อตั้งขึ้นและมีบทบาททางการเมืองในช่วงของความขัดแย้งทางการเมืองแบบแบ่งขั้วระหว่างฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล พลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา นับแต่ครึ่งหลังของ ปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดกระแสการชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่พัฒนาไปสู่ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และกระแสวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา

          กลุ่มไทยภักดี นำโดย นพ.วรงค์_เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารพรรครวมพลังประชาชาติไทย ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2563 โดยมีบทบาทในการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ สนับสนุนรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา และตอบโต้ ตลอดจนวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เช่น พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ซึ่งกลุ่มไทยภักดีในภายหลังได้จัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อเดียวกัน พร้อมประกาศลงแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และพร้อมรับตำแหน่งรัฐบาลต่อจากรัฐบาลประยุทธ์ด้วยเช่นเดียวกัน

 

ความเป็นมา

          กลุ่มไทยภักดีเริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ซึ่งมีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงท่าทีตอบโต้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่มพรรคอนาคตใหม่ (และต่อมาคือพรรคก้าวไกล) รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษาหรือเยาวชน นับแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

          นพ.วรงค์ใช้วาทกรรม “ชังชาติ” ซึ่งเป็นการตอบโต้ของฝ่ายอนุรักษนิยมต่อการวิจารณ์หรือแสดงความเห็นต่อปัญหาสังคมหรือการเมืองไทยมาใช้ในการแสดงความเห็นทางการเมืองในหลายโอกาส นพ.วรงค์เป็นผู้ใช้วาทกรรมชังชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่อง และพยายามสร้างกรอบคิดอย่างเป็นระบบมากที่สุด[1]โดยภายหลังลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ก็ได้ร่วมกับพรรครวมพลังประชาชาติไทยในการเผยแพร่ความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับ “ลัทธิชังชาติ” เช่น การอธิบายความหมายหรือการยกตัวอย่างเชื่อมโยง[2] อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายน 2563 นพ.วรงค์ได้ลาออกจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย โดยให้เหตุผลว่าการสังกัดพรรคทำให้การเคลื่อนไหวในลักษณะเผยแพร่ความรู้ทำได้ไม่สะดวก พร้อมได้กล่าวถึงแผนการจัดตั้งกลุ่มการเมืองเพื่อเคลื่อนไหวในแนวทางของตนต่อไป[3]

 

การก่อตั้งกลุ่มไทยภักดี

          กลุ่มไทยภักดีได้แถลงเปิดตัว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ โดยมี นพ.วรงค์เป็นประธาน มีสมาชิกร่วมก่อตั้ง 27 คน ซึ่งมีภูมิหลังจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ ศิลปิน อดีตข้าราชการ ไปจนถึงเกษตรกร เช่น วิชัย ล้ำสุทธิ และ อิสระพงศ์ สงวนวงศ์ชัย อัครกฤษ นุ่นจันทร์ หฤทัย ม่วงบุญศรี ศิลปิน ปฏิยุทธ ทองประจง ผู้ประสานงานเครือข่ายสถาบันทิศทางไทย ดลฤดี จูฑะศรี ฯลฯ[4]

          นพ.วรงค์กล่าวถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมในการชุมนุมเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม ว่าเป็นสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ต้องก่อตั้งกลุ่มไทยภักดีขึ้น[5]โดยภารกิจสำคัญของกลุ่มไทยภักดีคือการปกป้องสถาบันกษัตริย์จากการ “รังแก” โดยผู้ไม่หวังดี[6]

          กลุ่มไทยภักดีประกาศจุดยืน 6 ข้อ ได้แก่

                    1. ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกับวิถีความเป็นไทยซึ่งมีรากเหง้ามาอย่างยาวนาน

                    2. ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต่อต้านระบอบประธานาธิบดี ระบอบสมาพันธรัฐ การแบ่งแยกประเทศ แต่ไม่ปฏิเสธการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

                    3. พัฒนาประเทศบนพื้นฐานหลักวิถีไทย และสืบสานความเป็นไทย

                    4. ทุนผูกขาดเป็นปัญหาสำคัญต่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน

                    5. สนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีทันสมัยของคนทุกกลุ่ม รวมถึงเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพ และ

                    6. ไม่ปฏิเสธการลงทุนจากต่างชาติหรือทุนใหญ่ แต่ต้องวากรากฐานชาติด้วยการพึ่งพาตนเองและการใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกลุ่มไทยภักดีเชื่อว่าหลักการนี้ช่วยให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจได้[7]

          นอกจากนี้ กลุ่มไทยภักดียังได้ประกาศข้อเรียกร้อง 3 ประการ ในลักษณะตรงกันข้ามกับข้อเรียกร้องหลักของฝ่ายผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ได้แก่

                    1. ไม่ยุบสภา เนื่องจากต้องการความต่อเนื่องในการบริหารราชการในภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 และเชื่อมั่นในนโยบายและผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา

                    2. ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด ต่อกลุ่มบุคคลที่เสนอเรียกร้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งไม่ชอบด้วยหลักการคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ทั้งแกนนำ ผู้ปราศรัย อาจารย์ นักวิชาการ กลุ่มการเมือง เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์และการใช้เสรีภาพอย่างมีขอบเขต และ

                    3. ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งผ่านการประชามติมาแล้ว และยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยและแก้ปัญหาในการเมืองไทย เช่น การสืบทอดอำนาจ การครอบงำพรรคโดยนายทุน รวมถึงช่วยให้พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ขนาดเล็กสามารถมีบทบาทได้[8] 

          โดยแนวคิดหรือมุมมองทางการเมืองของกลุ่มไทยภักดียังปรากฏผ่านการปราศรัยหรือการสัมภาษณ์ของ นพ.วรงค์และสมาชิกกลุ่มไทยภักดีรายอื่น เช่น การมองว่ากลุ่มไทยภักดีเป็นเหยื่อของวาทกรรมโหนเจ้า พร้อมกล่าวว่าหากไม่มีการคุกคามสถาบันกษัตริย์ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มไทยภักดี[9]หรือแนวคิดของฝ่ายอนุรักษนิยมอื่น ๆ เช่น การมองการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาการเมืองที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน[10]

          กลุ่มไทยภักดีมองว่าการทุจริตเป็นสาเหตุของการรัฐประหาร สถาบันกษัตริย์ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและประเทศชาติหากแต่เป็นนักการเมืองที่มีส่วนทำเช่นนั้น รวมถึงการมองว่าสถาบันกษัตริย์ถูกคุกคามอยู่ฝ่ายเดียวโดยที่ไม่สามารถโต้ตอบได้ นอกจากนั้นยังมีการกล่าวว่าการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์นั้นมาจากการปลุกระดมมวลชนที่ไม่มีวุฒิภาวะ รวมถึงมองว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนั้นทำลายโครงสร้างทางสังคมไทยและสถาบันหลักอย่างครอบครัวด้วยเช่นกัน[11]

 

การก่อตั้งพรรคไทยภักดี

          ในเดือนมกราคม 2564 กลุ่มไทยภักดีได้แถลงจัดตั้งพรรคไทยภักดีประเทศไทย โดยมี นพ.วรงค์เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค[12] ซึ่งได้ดำเนินการแจ้งจดทะเบียนพรรคกับคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563[13]นพ.วรงค์กล่าวว่าการเคลื่อนไหวในระดับกลุ่มนั้นยังมีข้อจำกัดและไม่เพียงพอ มีความจำเป็นต้องเคลื่อนไหวในลักษณะเชิงรุกเพื่อปกป้องสถาบันหลัก พร้อมกล่าวว่าเป้าหมายของพรรคนั้นยังคงเหมือนกับเป้าหมายของกลุ่มไทยภักดีในการบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 112 และต่อสู้ด้วยความจริง[14]

          จุดยืนของพรรคไทยภักดีประเทศไทยคือการต่อสู้กับขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประกอบด้วยพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และม็อบสามนิ้ว[15] ภายหลังได้มีการรับรองการจดทะเบียนในชื่อพรรคไทยภักดี[16]

          พรรคไทยภักดีแถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 โดย นพ.วรงค์เป็นหัวหน้าพรรค โดยมีการประกาศนโยบายและรับสมัครสมาชิกพรรค ได้ประกาศพร้อมสืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพลเอกประยุทธ์และจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศและส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ตัวอย่างนโยบายและแนวคิดด้านต่าง ๆ ของพรรคไทยภักดี ได้แก่ การไม่เป็นพรรคการเมืองที่ผูกขาดโดยนายทุนใหญ่ การปราบปรามทุจริต ปฏิรูปการศึกษา ระบบราชการ และราคาสินค้าเกษตรกรรม[17]รวมไปถึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้าน[18]ในงานเปิดตัวพรรคนี้มีบุคคลและกลุ่มทางการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้าร่วม เช่น เหรียญทอง แน่นหนา, สาธิต เซกัล, อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, สุวินัย ภรณวลัย, ถาวร เสนเนียม รวมถึงกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)[19]

          ต่อมามีแกนนำของ ศปปส. ที่ยุติการเคลื่อนไหวและเข้าร่วมกับพรรคไทยภักดี คือ จักรพงศ์ กลิ่นแกล้ว และ นพคุณ ทองถิ่น[20]

          คณะกรรมการบริหารพรรคไทยภักดีประกอบด้วย วิชัย ล้ำสุทธิ เลขาธิการพรรค พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ เหรัญญิก ปฏิยุทธ ทองประจง นายทะเบียนพรรค พุฒิพงศ์ สงวนวงศ์ชัย กรรมการบริหารพรรค และ วสันต์ มีวงษ์ กรรมการบริหารพรรค[21]

          ทั้งนี้ กลุ่มและพรรคไทยภักดีมีความสัมพันธ์กับสถาบันทิศทางไทยซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่นำโดย สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม สมาชิกคณะกรรมการบริหารของสถาบันทิศทางไทยที่ร่วมก่อตั้งกลุ่มไทยภักดีและคณะกรรมการบริหารพรรคไทยภักดี ได้แก่ ปฏิยุทธ ทองประจง และ ธนุ สุขบำเพิง[22]

          นพ.วรงค์ยังได้ทำหน้าที่วิทยากรในการเสวนาทางการเมืองของสถาบันทิศทางไทยในประเด็นต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวถึงความตั้งใจในการร่วมมือกับสถาบันทิศทางไทยเมื่อครั้งลาออกจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย[23]สำนักงานพรรคไทยภักดียังตั้งอยู่ ณ อาคารชื่นฤทัยในธรรม[24]ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานสถาบันทิศทางไทย

 

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคไทยภักดี

          ภายหลังจากที่ได้ประกาศจัดตั้งในเดือนสิงหาคม 2563 กลุ่มไทยภักดีได้มีบทบาทเคลื่อนไหวแสดงออกในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ สนับสนุนรัฐบาลและตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองในหลายโอกาส และในหลายรูปแบบ ทั้งการระดมมวลชนชุมนุม การยื่นหนังสือข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานรัฐและการรวบรวมและยื่นรายชื่อประชาชน การรณรงค์ทางการเมืองต่าง ๆ ไปจนถึงการออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนและการแจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

          กลุ่มไทยภักดีชุมนุมครั้งแรกเมื่อ วันที่ 30 สิงหาคม ณ อาคารกีฬา ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มไทยภักดีได้ประกาศเป็นแกนกลางประสานงานเครือข่ายปกป้องสถาบันกษัตริย์[25]มีการปราศรัยโจมตีการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ พร้อมโจมตีกลุ่มคณะก้าวหน้า-พรรคก้าวไกล มีการประกาศเปิดตัวเครือข่ายร่วมเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มประชาพิทักษ์หัวหิน และได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มไทยภักดี[26]

          ต่อมา กลุ่มไทยภักดีจัดการชุมนุม เช่น การชุมนุมที่สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เพื่อแสดงจุดยืนปกป้องสถาบันกษัตริย์ พร้อมทั้งได้ปราศรัยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[27]หรือการชุมนุมที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 มีการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[28]มีการปะทะกันระหว่างมวลชนที่เดินทางมาร่วมกับกลุ่มไทยภักดีและมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่จัดการชุมนุมในพื้นที่เดียวกัน[29]

          กลุ่มไทยภักดีมีการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มมวลชนอื่น ๆ เช่น การรวมตัวกันเพื่อทำความสะอาดพื้นที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ถูกผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสาดสี ร่วมกับกลุ่มภาคีประชาชนเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ เพจเชียร์ลุง และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน[30]

          ในต่างจังหวัด กลุ่มไทยภักดีเดินทางไปขยายเครือข่ายกลุ่ม การชุมนุมปราศรัยหรือจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา เชียงใหม่ นครศรีธรรมราชนอกจากนี้ กลุ่มไทยภักดียังมีบทบาทในการรวมตัวรับเสด็จฯ ในการเสด็จพระราชดำเนินตามวโรกาสต่าง ๆ[31]

          กลุ่มไทยภักดียังเคลื่อนไหวโดยการยื่นหนังสือ ข้อเรียกร้องของกลุ่มต่อหน่วยงานรัฐ นอกจากการยื่นหนังสือต่อประธานวุฒิสภาที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ เช่น การยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเสนอมาตรการป้องกันไม่ให้ครูและนักเรียนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เช่น การป้องกันไม่ให้กลุ่มการเมืองเข้ามาปลุกระดมในสถานศึกษา การเพิ่มหลักสูตรหรือกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของสถาบันหลัก[32]หรือการยื่นหนังสือต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินการปฏิรูปโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและเผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์[33]นอกจากนั้นยังได้มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนและเข้ายื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยทั้งสองครั้งกลุ่มไทยภักดีอ้างว่าสามารถรวบรวมได้มากกว่า 100,000 รายชื่อ[34]

          กลุ่มไทยภักดีได้แถลงการณ์กลุ่มในหลายครั้ง เช่น การสนับสนุน ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยกล่าวว่านายกฯ มีความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งและเพื่อดำรงไว้ซึ่งสามสถาบันหลัก[35]การแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560[36]ซึ่งภายหลังที่มีมติรัฐสภารับหลักการแก้ไข ก็ได้มีการแถลงยอมรับและให้ประชาชนช่วยกันติดตามไม่ให้แก้ไขสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ[37]ทั้งยังได้มีการแถลงตอบโต้ฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลให้เคารพผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง หยุดยั่วยุสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงและให้ยึดถือแนวทางสันติวิธีอย่างแท้จริง[38]ภายหลังการปะทะกันระหว่างมวลชนสองฝ่ายบริเวณรัฐสภาและแยกเกียกกาย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งภายหลังที่จัดตั้งพรรคไทยภักดี ยังได้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 112 ที่รวมถึงการแถลงตอบโต้กับพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล ซึ่งได้มีแถลงการณ์ถึงการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการยุยงปลุกปั่น มาตรา 116 ซึ่งพรรคไทยภักดีสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองมาตราโดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดถือหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างแท้จริง[39]

          กลุ่มไทยภักดีเน้นการเคลื่อนไหวโดยแจ้งความเอาผิดต่อบุคคลทางการเมืองหรือหน่วยงานที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น การแจ้งความใน มาตรา 112 ต่อสถานีโทรทัศน์ Voice TV ที่เผยแพร่การถ่ายทอดสดการชุมนุมและปราศรัย ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน 2563[40]หรือแจ้งความแกนนำคณะก้าวหน้า ได้แก่ พรรณิการ์ วาณิช ที่เข้าร่วมการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในเดือนตุลาคม 2563 ด้วยข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ[41] และธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากกรณีการไลฟ์วิจารณ์การนำเข้าวัคซีนโควิด-19 โดยรัฐบาล ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและยุยงปลุกปั่น[42]รวมไปถึงการแจ้งความต่อการปราศรัยของแกนนำคณะราษฎร ได้แก่ พริษฐ์ ชิวารักษ์ และอรรถพล บัวพัฒน์ ตามมาตรา 112[43]

          กลุ่มไทยภักดียังรณรงค์ตอบโต้กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม เช่น การรณรงค์ “1 สิทธิ์ 1 เสียง สนับสนุน ม.112” ในเดือนธันวาคม 2563 โดยส่วนหนึ่งเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าแจ้งความการทำความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือส่งหลักฐานให้กลุ่มไทยภักดีช่วยเขียนสำนวนแจ้งความเพื่อส่งคืนให้ผู้ส่งหลักฐานนำไปแจ้งความต่อไป[44]หรือแคมเปญร่วมลงชื่อ “หยุดเชื้อ อยู่บ้าน ขอล้านชื่อ ต้านระบอบสามกีบ หยุดรื้อรัฐธรรมนูญ” ในเดือนเมษายน 2564[45]        

          แม้ว่าแนวทางและการเคลื่อนไหวของกลุ่มไทยภักดีจะเป็นการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ แต่กลุ่มไทยภักดีก็มีการเคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยตรง ได้แก่ การเรียกร้องให้รัฐบาลยุติและตรวจสอบโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและอีสานที่มีความไม่โปร่งใสในการประมูล[46]การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการออกใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมไทยคม โดย กสทช. ซึ่งกลุ่มไทยภักดีมองว่าไม่ได้ทำเพื่อสาธารณประโยชน์และขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กิจการดาวเทียมกลับมาเป็นของส่วนรวม[47]

 

อ้างอิง

[1] “วิเคราะห์ | ประกาศสงครามปราบ ‘ลัทธิชังชาติ’ ‘นพ.วรงค์’ หัวหอก-ระวังบานปลาย อย่าให้หลุดจากโลกของการใช้เหตุผล,” มติชนสุดสัปดาห์ 3พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม 2562, ใน มติชนสุดสัปดาห์, (2 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_251979. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[2] “หมอวรงค์-เอนก เดินสายปลุกระดม ขอคนพิษณุโลก สู้ลัทธิชังชาติ จ่อไปทั่วประเทศ,” มติชนออนไลน์, (13 ธันวาคม 2562). เข้าถึงจาก  https://www.matichon.co.th/politics/news_1811319. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[3] “หมอวรงค์ ลาออกจาก รปช. เตรียมตั้งกลุ่มการเมือง เป็นวิทยากรให้สถาบันทิศทางไทย,” The Standard, (24 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/warong-dechgitvigrom-resign-from-act-party/. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564.

[4] The Reporter, Facebook, (19 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/2814114022217751. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564, นาทีที่ 6.15-28.40.

[5] “ไทยภักดี: หมอวรงค์ปลุก ‘คนไทยเลิกทน’ หลัง ‘พ่อของแผ่นดินถูกรังแก’,” บีบีซีไทย, (19 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53830479. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564.

[6] อ้างแล้ว.

[7] “‘หมอวรงค์’ เปิดตัวกลุ่ม ‘ไทยภักดี’ ชู 6 จุดยืน 3 ข้อเรียกร้อง,” มติชนออนไลน์, (19 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2314784. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564.

[8] อ้างแล้ว.

[9] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, “เปิดสนทนาของนักศึกษากลุ่ม ‘ไทยภักดี’ กับ ‘ประชาชนปลดแอก’ ว่าด้วยท่อน้ำเลี้ยง-เพดาน-สิ่งศักดิ์สิทธิ์,” บีบีซีไทย, (28 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53944094. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

[10] “‘วรงค์’ ตั้งกลุ่ม ‘ไทยภักดี’ ย้ำจุดยืนต้าน ‘ประชาชนปลดแอก’,” Voice Online, (19 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.voicetv.co.th/read/8ksVrubs6. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564.

[11] “ไทยภักดี: หมอวรงค์ปลุก ‘คนไทยเลิกทน’ หลัง ‘พ่อของแผ่นดินถูกรังแก’,” บีบีซีไทย.

[12] “‘กลุ่มไทยภักดี’ ยื่นตั้งพรรคการเมืองแล้ว จองชื่อ ‘ไทยภักดีประเทศไทย’,” มติชนออนไลน์, (14 มกราคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2529313. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[13] อ้างแล้ว.

[14] “ไทยภักดี: นพ. วรงค์เปิดตัว ‘พรรคไทยภักดี’ ประกาศจุดยืนสู้พรรคก้าวไกล-คณะก้าวหน้า-ม็อบสามนิ้ว,” บีบีซีไทย, (20 มกราคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-55728825. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[15] อ้างแล้ว.

[16] Warong Dechgitvigrom, Facebook, (19 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/therealwarong/posts/2871140736490292. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.

[17] “เปิดตัว ‘พรรคไทยภักดี’ ยิ่งใหญ่ ‘หมอวรงค์’ ลั่นพร้อมเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’,” มติชนออนไลน์, (9 ตุลาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2983003. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564

[18] “ตั้งฐานยิงจรวดบุกอวกาศ ไทยภักดี ผุด นโยบาย 2575 ‘วรงค์’ พร้อมเป็นนายกฯ,” กรุงเทพธุรกิจ, (9 ตุลาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/964931. เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564

[19] “เปิดตัว ‘พรรคไทยภักดี’ ยิ่งใหญ่ ‘หมอวรงค์’ ลั่นพร้อมเป็น ‘นายกรัฐมนตรี’,” มติชนออนไลน์.

[20] “2 แกนนำ ศปปส. ประกาศยุติบทบาท! ลุยลง สส.พรรคไทยภักดี จับตาจักรพงศ์ รับภารกิจสำคัญ?,” The Truth, (30 ตุลาคม 2564). เข้าถึงจาก https://truthforyou.co/73061/. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

[21] “ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยภักดี,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 81ง น. 115, 4 พฤศจิกายน 2564, เข้าถึงจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/D/081/T_0066.PDF. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564.

[22] “เปิดตัว ‘สถาบันทิศทางไทย’ ขับเคลื่อนไทยไร้ขัดแย้ง,” กรุงเทพธุรกิจ, (4 พฤศจิกายน 2562). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/853219. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564.

[23] “หมอวรงค์ ลาออกจาก รปช. เตรียมตั้งกลุ่มการเมือง เป็นวิทยากรให้สถาบันทิศทางไทย,” The Standard, (24 มิถุนายน 2563), เข้าถึงจาก https://thestandard.co/warong-dechgitvigrom-resign-from-act-party/. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564.

[24] Warong Dechgitvigrom, Facebook, (13 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/therealwarong/posts/2932655033672195. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

[25] “‘คนดีไม่มีวันตาย’ กึกก้อง กลุ่มไทยภักดีอาสาเป็นแกนกลาง เชื่อมเครือข่ายปกป้องสถาบัน,” มติชนออนไลน์, (30 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2328287. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564

[26] “ไทยภักดี ประกาศสู้ขบวนการ ‘ประชาธิปไตยอำพรางต้องการล้มล้าง’ โต้ข้อเสนอปฏิรูปสถาบัน,” บีบีซีไทย, (30 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจากhttps://www.bbc.com/thai/thailand-53964009. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564.

[27] “‘ไทยภักดี’ ชุมนุมปกป้องสถาบันฯ แจง 14 เหตุผล ค้านแก้รัฐธรรมนูญ 2560,” ไทยรัฐออนไลน์, (31 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1966231. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[28] “‘กลุ่มไทยภักดี’ ถึงรัฐสภา ยื่นหนังสือ ปธ.วุฒิสภา ค้านแก้ไข รธน. ทั้งหมด,” Nation Online, (17 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.nationtv.tv/news/378806418. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[29] “โดนยั่วยุก่อน! กลุ่มไทยภักดีแถลงการณ์ ปมปะทะม็อบราษฎร ชี้พี่น้องเสื้อเหลืองได้อดกลั้น,” ข่าวสดออนไลน์, (17 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_5346311. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[30] “ไทยภักดี-ภาคีเครือข่ายคนรักสถาบันฯ ทำความสะอาด สตช. หลังม็อบ ‘ราษฎร’ สาดสี,” มติชนออนไลน์, (20 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2450381. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[31] “‘หมอวรงค์’ เผย ‘ในหลวง’ ทรงมีรับสั่ง ‘ต้องช่วยกันนำความจริงออกมา’,” สยามรัฐออนไลน์, (1 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/194090. เมื่อวันที่ , “ในหลวงตรัส ‘เราต้องต่อต้านในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง’ กับนพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม,” ไทยรัฐออนไลน์, (26 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1983715. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[32] “‘ณัฏฐพล’ เปิดกระทรวงรับ กลุ่มไทยภักดี เข้ายื่น 5 ข้อ ป้องสถาบัน,” ประชาชาติธุรกิจ, (23 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/education/news-580758. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[33] “ไทยภักดียื่นหนังสือถึงดีอีเอส เร่งเสนอสภาตั้ง กมธ. ปฏิรูปโซเชียลมีเดีย เตรียมยกระดับการเรียกร้องหากไม่ทำภายใน 30 วัน,” The Standard, (17 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/thaipakdee-submit-documents-to-des. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[34] “‘หมอวรงค์’ นำทีมไทยภักดี ยื่น 1.3 แสนรายชื่อ ค้านแก้รัฐธรรมนูญ,” ข่าวไทยพีบีเอส, (23 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/296749. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564, “ไทยภักดี ยื่น 1 แสนกว่ารายชื่อ คัดค้านแก้มาตรา 112 ต่อประธานวุฒิสภา แสดงเจตนารมณ์ปกป้องสถาบัน,” The Standard, (10 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/thai-phakdee-submits-100000-over-names-of-objections-to-amend-section-112/. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[35] “‘ไทยภักดี’ ออกแถลงการณ์หนุน ‘บิ๊กตู่’ อยู่ต่อ ยกเหตุผล 5 ข้อ,” สยามรัฐออนไลน์, (22 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/191617. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[36] “‘หมอวรงค์’ ยก 14 เหตุผลค้านแก้ รธน. เพื่อร่างใหม่โดยตั้ง สสร.,” สยามรัฐออนไลน์, (1 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/193969. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[37] “‘ไทยภักดี’ แถลงการณ์ยอมรับผลสภาลงมติ 2 ร่างแก้ รธน.,” เดลินิวส์, (19 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://d.dailynews.co.th/politics/807814/. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[38] “กลุ่มไทยภักดี ออกแถลง เรียกร้องม็อบคณะราษฎร เคารพผู้เห็นต่าง,” Spring News, (18 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.springnews.co.th/news/802477. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[39] “‘ไทยภักดี’ แถลงค้านแก้ 112 เหลือแค่โทษปรับ ชี้เกิดเหลื่อมล้ำ คนรวยจะไม่กลัวหมิ่นสถาบัน,” มติชนออนไลน์, (4 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก 1 ธันวาคม 2564.https://www.matichon.co.th/politics/news_3025982. เมื่อวันที่ , “พรรคไทยภักดีแถลงหนุนบังคับใช้ ‘ม.112’ อย่างเคร่งครัด,” โพสต์ทูเดย์, (2 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.posttoday.com/politic/news/667088. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[40] “กลุ่มไทยภักดี แจ้งความ ‘วอยซ์ ทีวี’ เอาผิดมาตรา 112,” ประชาชาติธุรกิจ, (25 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/general/news-527491. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564. และ “‘ไทยภักดี’ แจ้งจับ ‘ปวิน’ โพสต์หมิ่นสถาบัน,” ข่าวไทยพีบีเอส, (6 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/298116. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[41] “‘กลุ่มไทยภักดี’ แจ้งความ ‘ช่อ พรรณิการ์’ ผิด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ร่วมม็อบ,” กรุงเทพธุรกิจ, (17 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/903105. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[42] “หมอวรงค์ แจ้งความ ‘ธนาธร’ ผิด ม.112-ม.116 ปมไลฟ์วัคซีน,” ข่าวไทยพีบีเอส, (4 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/301076. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[43] “‘ไทยภักดี’ ลุยฟ้อง ม.112 แกนนำราษฎร ‘หมอวรงค์’ จ่อถวายคืนพระราชอำนาจ,” Voice Online, (6 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/9S0-k_6E8. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[44] “‘ไทยภักดี’ จับมือเครือข่ายป้องสถาบัน ออกแคมเปญ 1 สิทธิ์ 1 เสียง หนุน ม.112 ผุด 3 กิจกรรม,” มติชนออนไลน์, (16 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก  https://www.matichon.co.th/politics/news_2487348. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[45] “‘ไทยภักดี’ ผุดแคมเปญ ‘หยุดเชื้อ อยู่บ้าน ขอล้านชื่อ ไล่ระบอบสามกีบ หยุดรื้อรธน.’,” สยามรัฐออนไลน์, (21 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/237309. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.

[46] “‘หมอวรงค์’ บุกยื่นนายกฯ ยกเลิกประมูลรถไฟรางคู่สายเหนือ-อีสาน ส่อไม่โปร่งใส,” ไทยโพสต์, (10 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก  https://www.thaipost.net/main/detail/105898. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564.

[47] “ไทยภักดี ยื่นศาล รธน. วินิจฉัย กสทช. ออกใบอนุญาตดาวเทียมไทยคม ดวง 7-8 ขัด รธน. หรือไม่,” ผู้จัดการออนไลน์, (1 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/politics/detail/9640000108210. เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564.