ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาผัวเมีย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
== ความหมาย == | == ความหมาย == | ||
สภาผัวเมีย คือลักษณะ[[สถาบันรัฐสภา|สถาบันรัฐสภา]] อันประกอบด้วยสมาชิกที่มาจาก[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]ทั้ง[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] แต่ถูกครอบงำโดย[[ตระกูลการเมือง|ตระกูลการเมือง]] (political dynasty) ในด้านหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรอาจมีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นบุคคลในตระกูลการเมือง ขณะที่วุฒิสภาก็มีบุคคลภายในตระกูลเดียวกันที่ได้รับเลือกตั้งด้วยเช่นกัน (อาจเป็นสามี ภรรยา หรือเครือญาติ) ปรากฏครั้งแรกหลังประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่ [[4_มีนาคม_2543|4 มีนาคม 2543]] <ref /> ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยตั้งข้อสังเกตว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกวุฒิสภา|สมาชิกวุฒิสภา]]จำนวนหนึ่งเคยสังกัด[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]] และ/หรือ มีภูมิหลังเป็นเครือญาติกับนักการเมืองจำนวนมาก<ref>รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, </ref> ภายหลัง “สภาผัวเมีย” ยังถูกนำมาใช้โจมตีอิทธิพลของพรรคการเมืองและนักการเมืองในการเสนอร่างแก้ไข[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] ซึ่งเสนอให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]]เมื่อวันที่ [[22_พฤษภาคม_2557|22 พฤษภาคม 2557]] โดยกำหนดให้มี[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (สนช.) และ[[สภาปฏิรูปแห่งชาติ|สภาปฏิรูปแห่งชาติ]]ขึ้น (สปช.) คำว่า “สภาผัวเมีย” ก็ถูกนำมาขยายความโจมตีการแต่งตั้งคนในครอบครัวและเครือญาติเป็นที่ปรึกษาอีกครั้ง | สภาผัวเมีย คือลักษณะ[[สถาบันรัฐสภา|สถาบันรัฐสภา]] อันประกอบด้วยสมาชิกที่มาจาก[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]ทั้ง[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] แต่ถูกครอบงำโดย[[ตระกูลการเมือง|ตระกูลการเมือง]] (political dynasty) ในด้านหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรอาจมีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นบุคคลในตระกูลการเมือง ขณะที่วุฒิสภาก็มีบุคคลภายในตระกูลเดียวกันที่ได้รับเลือกตั้งด้วยเช่นกัน (อาจเป็นสามี ภรรยา หรือเครือญาติ) ปรากฏครั้งแรกหลังประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่ [[4_มีนาคม_2543|4 มีนาคม 2543]] <ref>"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 127 ก, 15 ธันวาคม 2552, หน้า 5-6.</ref> ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยตั้งข้อสังเกตว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกวุฒิสภา|สมาชิกวุฒิสภา]]จำนวนหนึ่งเคยสังกัด[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]] และ/หรือ มีภูมิหลังเป็นเครือญาติกับนักการเมืองจำนวนมาก<ref>รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, </ref> ภายหลัง “สภาผัวเมีย” ยังถูกนำมาใช้โจมตีอิทธิพลของพรรคการเมืองและนักการเมืองในการเสนอร่างแก้ไข[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] ซึ่งเสนอให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]]เมื่อวันที่ [[22_พฤษภาคม_2557|22 พฤษภาคม 2557]] โดยกำหนดให้มี[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (สนช.) และ[[สภาปฏิรูปแห่งชาติ|สภาปฏิรูปแห่งชาติ]]ขึ้น (สปช.) คำว่า “สภาผัวเมีย” ก็ถูกนำมาขยายความโจมตีการแต่งตั้งคนในครอบครัวและเครือญาติเป็นที่ปรึกษาอีกครั้ง | ||
== สาระสำคัญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ == | == สาระสำคัญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ == | ||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
== รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : การจัดวางตำแหน่งรัฐสภาปฏิรูป == | == รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : การจัดวางตำแหน่งรัฐสภาปฏิรูป == | ||
หนึ่งในมาตรการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือการออกแบบโครงสร้าง[[สถาบันนิติบัญญัติ|สถาบันนิติบัญญัติ]] ที่กำหนดให้รัฐสภาเป็น[[ระบบสภาคู่|ระบบสภาคู่]] (bicameral system) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง 3 ประเภทได้แก่ ส.ส.จากระบบแบ่งเขต และส.ส. จาก[[ระบบบัญชีรายชื่อ|ระบบบัญชีรายชื่อ]][[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]] และ[[วุฒิสมาชิก|วุฒิสมาชิก]] ตามบทบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] <ref /> กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คนที่มาจากการเลือกตั้งแบบผสมระหว่าง[[ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง|ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง]] (single-member constituency system) จำนวน 400 ที่นั่ง และ[[ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง|ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง]] (party-list system) จำนวน 100 รายชื่อ โดยให้[[ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง|ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง]] ซึ่งแต่ละพรรคต้องได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ 5 (มาตรา 98, 99, 100, 102) เพื่อสามารถจัดตั้ง[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]]น้อยพรรคที่มีเสถียรภาพ การเลือกตั้งยังถูกกำหนดให้เป็น “หน้าที่” ของประชาชนคนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (มาตรา 68, 105) | หนึ่งในมาตรการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือการออกแบบโครงสร้าง[[สถาบันนิติบัญญัติ|สถาบันนิติบัญญัติ]] ที่กำหนดให้รัฐสภาเป็น[[ระบบสภาคู่|ระบบสภาคู่]] (bicameral system) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง 3 ประเภทได้แก่ ส.ส.จากระบบแบ่งเขต และส.ส. จาก[[ระบบบัญชีรายชื่อ|ระบบบัญชีรายชื่อ]][[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]] และ[[วุฒิสมาชิก|วุฒิสมาชิก]] ตามบทบัญญัติ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2540|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540]] <ref>_</ref> กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คนที่มาจากการเลือกตั้งแบบผสมระหว่าง[[ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง|ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง]] (single-member constituency system) จำนวน 400 ที่นั่ง และ[[ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง|ระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง]] (party-list system) จำนวน 100 รายชื่อ โดยให้[[ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง|ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง]] ซึ่งแต่ละพรรคต้องได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ 5 (มาตรา 98, 99, 100, 102) เพื่อสามารถจัดตั้ง[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]]น้อยพรรคที่มีเสถียรภาพ การเลือกตั้งยังถูกกำหนดให้เป็น “หน้าที่” ของประชาชนคนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (มาตรา 68, 105) | ||
ขณะเดียวกันก็จำกัดประเภทบุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วยเกณฑ์ด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี (มาตรา 107 (3)) เพื่อให้ ส.ส. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอาศัยภูมิความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล หรือกล่าวได้ว่าเป็นการทำให้รัฐสภาสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศบนพื้นฐานของเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อ[[ผลประโยชน์ส่วนรวม|ผลประโยชน์ส่วนรวม]] นอกจากนั้น[[สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จะสิ้นสุดลงเมื่อดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]และ[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]] (มาตรา 118 (7)) เพื่อตัดช่องทางสานสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่งด้วย[[การซื้อเสียง|การซื้อเสียง]]กับตำแหน่งรัฐมนตรีที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ และ[[ระบบบัญชีราย|ระบบบัญชีราย]]ชื่อก็มีเป้าหมายให้[[ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง|ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]]ลงคะแนนบนฐานของพรรคการเมืองและการแข่งขันด้านนโยบาย | ขณะเดียวกันก็จำกัดประเภทบุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วยเกณฑ์ด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี (มาตรา 107 (3)) เพื่อให้ ส.ส. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอาศัยภูมิความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล หรือกล่าวได้ว่าเป็นการทำให้รัฐสภาสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศบนพื้นฐานของเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อ[[ผลประโยชน์ส่วนรวม|ผลประโยชน์ส่วนรวม]] นอกจากนั้น[[สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]จะสิ้นสุดลงเมื่อดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]และ[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]] (มาตรา 118 (7)) เพื่อตัดช่องทางสานสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่งด้วย[[การซื้อเสียง|การซื้อเสียง]]กับตำแหน่งรัฐมนตรีที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ และ[[ระบบบัญชีราย|ระบบบัญชีราย]]ชื่อก็มีเป้าหมายให้[[ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง|ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง]]ลงคะแนนบนฐานของพรรคการเมืองและการแข่งขันด้านนโยบาย | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
== รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 : การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสถาบันรัฐสภา == | == รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 : การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสถาบันรัฐสภา == | ||
การรัฐประหาร [[19_กันยายน_2549|19 กันยายน 2549]] และตามมาด้วยการจัดทำ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] <ref /> ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน แบ่งเป็น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบ “[[รวมเขตเบอร์เดียว|รวมเขตเบอร์เดียว]]” (multi-member constituency and single vote system) จำนวน 400 คน และ ส.ส. จาก[[ระบบสัดส่วนแบบ_8_บัญชีรายชื่อตามภูมิภาค|ระบบสัดส่วนแบบ 8 บัญชีรายชื่อตามภูมิภาค]] (eight regional slates) (มาตรา 93-98) อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_แก้ไขเพิ่มเติม_(ฉบับที่_1)_พ.ศ._2554|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554]]<ref> </ref> จึงเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และเปลี่ยนไปใช้ระบบ “[[เขตเดียวคนเดียว|เขตเดียวคนเดียว]]” (single-member constituency and first-past-the-post system) ขณะที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวน 125 คน และไปใช้[[ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีเดียวทั้งประเทศ|ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีเดียวทั้งประเทศ]] (a national slate) เหมือนข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 (มาตรา 3) | การรัฐประหาร [[19_กันยายน_2549|19 กันยายน 2549]] และตามมาด้วยการจัดทำ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2550|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]] <ref>_</ref> ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน แบ่งเป็น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบ “[[รวมเขตเบอร์เดียว|รวมเขตเบอร์เดียว]]” (multi-member constituency and single vote system) จำนวน 400 คน และ ส.ส. จาก[[ระบบสัดส่วนแบบ_8_บัญชีรายชื่อตามภูมิภาค|ระบบสัดส่วนแบบ 8 บัญชีรายชื่อตามภูมิภาค]] (eight regional slates) (มาตรา 93-98) อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_แก้ไขเพิ่มเติม_(ฉบับที่_1)_พ.ศ._2554|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554]]<ref> </ref> จึงเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และเปลี่ยนไปใช้ระบบ “[[เขตเดียวคนเดียว|เขตเดียวคนเดียว]]” (single-member constituency and first-past-the-post system) ขณะที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวน 125 คน และไปใช้[[ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีเดียวทั้งประเทศ|ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีเดียวทั้งประเทศ]] (a national slate) เหมือนข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 (มาตรา 3) | ||
ในกรณีวุฒิสภานั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ได้แก่ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน โดยอนุญาตให้ผู้สมัครสามารถหาเสียงได้ในประเด็นการทำหน้าที่วุฒิสภาเท่านั้น และ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจำนวนที่เหลือจากทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย [[ประธานศาลรัฐธรรมนูญ|ประธานศาลรัฐธรรมนูญ]] [[ประธานกรรมการการเลือกตั้ง|ประธานกรรมการการเลือกตั้ง]] [[ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน|ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน]] [[ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] [[ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน|ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน]] [[ผู้พิพากษาในศาลฎีกา|ผู้พิพากษาในศาลฎีกา]] และ[[ตุลาการศาลปกครองสูงสุด|ตุลาการศาลปกครองสูงสุด]] (มาตรา 111-113) | ในกรณีวุฒิสภานั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ได้แก่ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน โดยอนุญาตให้ผู้สมัครสามารถหาเสียงได้ในประเด็นการทำหน้าที่วุฒิสภาเท่านั้น และ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจำนวนที่เหลือจากทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย [[ประธานศาลรัฐธรรมนูญ|ประธานศาลรัฐธรรมนูญ]] [[ประธานกรรมการการเลือกตั้ง|ประธานกรรมการการเลือกตั้ง]] [[ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน|ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน]] [[ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] [[ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน|ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน]] [[ผู้พิพากษาในศาลฎีกา|ผู้พิพากษาในศาลฎีกา]] และ[[ตุลาการศาลปกครองสูงสุด|ตุลาการศาลปกครองสูงสุด]] (มาตรา 111-113) | ||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 46: | ||
[[พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2543|พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543]] ซึ่งกำหนดให้มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป]] ในวันที่ [[6_มกราคม_2544|6 มกราคม พ.ศ. 2544]] และการเลือกตั้งซ่อมหลังจากนั้น<ref> </ref> ผลปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยซึ่งได้เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร (248) จัดตั้ง[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]]ประกอบด้วยพรรคชาติไทย (41) และพรรคความหวังใหม่ (36) ด้วยเสียงข้างมาก 325 ที่นั่ง โดยมีพันตำรวจโท [[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ ชินวัตร]] ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]<ref> พรรณพร สินสวัสดิ์ (รวบรวม), ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทย (กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548), หน้า 67.</ref> ข้อวิจารณ์เรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางสายตระกูลของสมาชิกรัฐสภาทั้ง 3 ประเภทที่มาจากการเลือกตั้ง (.ส.ส แบ่งเขต, ส.ส. บัญชีรายชื่อ,และ ส.ว.) ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2544)<ref>อ้างถึงใน Duncan McCargo, “Thailand’s January 2001 General Elections: Vindicating Reform?.” In Duncan McCargo (ed.), Reforming Thai Politics, p. 249.</ref> ได้ชี้ให้เห็นว่าตระกูลการเมืองสำคัญทั่วประเทศต่างแสวงหาที่ทางให้คนในครอบครัวตนเองในระบบการเมืองผ่านการเลือกตั้ง[[สมาชิกรัฐสภา|สมาชิกรัฐสภา]]ทั้ง 3 ประเภท เครือญาตินามสกุลเดียวกันผู้มีความสัมพันธ์แนบชิดกับ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 50 คน เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่เว้นแม้แต่พี่ชายและหลานชายของ[[ประธานวุฒิสภา|ประธานวุฒิสภา]] (นาย[[สนิท_วรปัญญา|สนิท วรปัญญา]]) ในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งถึง 28 คน และเป็น ส.ส. [[พรรคร่วมรัฐบาล|พรรคร่วมรัฐบาล]]ถึง 22 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะมี ส.ส. หน้าใหม่เข้าสู่ระบบการเมืองจำนวนหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่ารัฐสภาในปี พ.ศ. 2544 จะมีสภาพไม่ต่างไปจาก “สมาคมภรรยานักการเมือง หรือ สภาเผ่าพงศ์วงศ์ตระกูล” เท่าใดนัก <ref>Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” p. 218.</ref> | [[พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร_พ.ศ._2543|พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543]] ซึ่งกำหนดให้มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป|การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป]] ในวันที่ [[6_มกราคม_2544|6 มกราคม พ.ศ. 2544]] และการเลือกตั้งซ่อมหลังจากนั้น<ref> </ref> ผลปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยซึ่งได้เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร (248) จัดตั้ง[[รัฐบาลผสม|รัฐบาลผสม]]ประกอบด้วยพรรคชาติไทย (41) และพรรคความหวังใหม่ (36) ด้วยเสียงข้างมาก 325 ที่นั่ง โดยมีพันตำรวจโท [[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ ชินวัตร]] ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]<ref> พรรณพร สินสวัสดิ์ (รวบรวม), ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทย (กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548), หน้า 67.</ref> ข้อวิจารณ์เรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางสายตระกูลของสมาชิกรัฐสภาทั้ง 3 ประเภทที่มาจากการเลือกตั้ง (.ส.ส แบ่งเขต, ส.ส. บัญชีรายชื่อ,และ ส.ว.) ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2544)<ref>อ้างถึงใน Duncan McCargo, “Thailand’s January 2001 General Elections: Vindicating Reform?.” In Duncan McCargo (ed.), Reforming Thai Politics, p. 249.</ref> ได้ชี้ให้เห็นว่าตระกูลการเมืองสำคัญทั่วประเทศต่างแสวงหาที่ทางให้คนในครอบครัวตนเองในระบบการเมืองผ่านการเลือกตั้ง[[สมาชิกรัฐสภา|สมาชิกรัฐสภา]]ทั้ง 3 ประเภท เครือญาตินามสกุลเดียวกันผู้มีความสัมพันธ์แนบชิดกับ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 50 คน เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่เว้นแม้แต่พี่ชายและหลานชายของ[[ประธานวุฒิสภา|ประธานวุฒิสภา]] (นาย[[สนิท_วรปัญญา|สนิท วรปัญญา]]) ในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งถึง 28 คน และเป็น ส.ส. [[พรรคร่วมรัฐบาล|พรรคร่วมรัฐบาล]]ถึง 22 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะมี ส.ส. หน้าใหม่เข้าสู่ระบบการเมืองจำนวนหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่ารัฐสภาในปี พ.ศ. 2544 จะมีสภาพไม่ต่างไปจาก “สมาคมภรรยานักการเมือง หรือ สภาเผ่าพงศ์วงศ์ตระกูล” เท่าใดนัก <ref>Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” p. 218.</ref> | ||
ความไม่ไว้วางใจต่อสภาบันรัฐสภาเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดสมาชิกภาพในวันที่ 21 มีนาคม 2556 จึงมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป วันที่ [[19_เมษายน_2549|19 เมษายน 2549]]<ref /> ซึ่งคาดหวังให้เป็นสภาที่กลั่นกรองกฎหมายและมี[[ความเป็นกลางทางการเมือง|ความเป็นกลางทางการเมือง]] แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนมากเป็นอดีตนักการเมืองและมีความใกล้ชิดกับพรรคการเมือง มิพักต้องกล่าวถึงมีผู้สมัครอ้างว่าตนเองถูก[[ล็อบบี้|ล็อบบี้]]เพื่อเข้ากลุ่ม ส.ว. [[ฝ่ายรัฐบาล|ฝ่ายรัฐบาล]] <ref /> จึงอาจปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะหาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวกและเพื่อถอนทุน ดังที่สื่อมวลชนแสดงข้อห่วงกังวลก่อนการเลือกตั้งจะมาถึงว่า “19 เมษายน 2549 ช่วยกัน หยุด ไม่ให้เกิด "รัฐสภาผัวเมียและญาติ" ทีเถอะ!" <ref>เฉวียน โพธิ์ศรีอุ่น, </ref> อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 มากนัก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2549) รายงานว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งประมาณ 140 คน จากทั้งหมด 200 คน เกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ใน "สังกัด" ของพรรคการเมือง และ "ผัวเมีย ส.ส. ผัวเมียอดีต ส.ว. อดีต ส.ส. ญาติพี่น้องนักการเมือง แห่เข้ามาเต็มวุฒิสภาไปหมด"<ref> </ref> | ความไม่ไว้วางใจต่อสภาบันรัฐสภาเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดสมาชิกภาพในวันที่ 21 มีนาคม 2556 จึงมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป วันที่ [[19_เมษายน_2549|19 เมษายน 2549]]<ref>_</ref> ซึ่งคาดหวังให้เป็นสภาที่กลั่นกรองกฎหมายและมี[[ความเป็นกลางทางการเมือง|ความเป็นกลางทางการเมือง]] แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนมากเป็นอดีตนักการเมืองและมีความใกล้ชิดกับพรรคการเมือง มิพักต้องกล่าวถึงมีผู้สมัครอ้างว่าตนเองถูก[[ล็อบบี้|ล็อบบี้]]เพื่อเข้ากลุ่ม ส.ว. [[ฝ่ายรัฐบาล|ฝ่ายรัฐบาล]] <ref>_</ref> จึงอาจปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะหาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวกและเพื่อถอนทุน ดังที่สื่อมวลชนแสดงข้อห่วงกังวลก่อนการเลือกตั้งจะมาถึงว่า “19 เมษายน 2549 ช่วยกัน หยุด ไม่ให้เกิด "รัฐสภาผัวเมียและญาติ" ทีเถอะ!" <ref>เฉวียน โพธิ์ศรีอุ่น, </ref> อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 มากนัก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2549) รายงานว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งประมาณ 140 คน จากทั้งหมด 200 คน เกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ใน "สังกัด" ของพรรคการเมือง และ "ผัวเมีย ส.ส. ผัวเมียอดีต ส.ว. อดีต ส.ส. ญาติพี่น้องนักการเมือง แห่เข้ามาเต็มวุฒิสภาไปหมด"<ref> </ref> | ||
== การกลับมาของ “สภาผัวเมีย” ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 == | == การกลับมาของ “สภาผัวเมีย” ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:30, 20 มีนาคม 2560
ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
สภาผัวเมีย คือลักษณะสถาบันรัฐสภา อันประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่ถูกครอบงำโดยตระกูลการเมือง (political dynasty) ในด้านหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรอาจมีสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นบุคคลในตระกูลการเมือง ขณะที่วุฒิสภาก็มีบุคคลภายในตระกูลเดียวกันที่ได้รับเลือกตั้งด้วยเช่นกัน (อาจเป็นสามี ภรรยา หรือเครือญาติ) ปรากฏครั้งแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543 [1] ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้สังเกตการณ์การเมืองไทยตั้งข้อสังเกตว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งเคยสังกัดพรรคการเมือง และ/หรือ มีภูมิหลังเป็นเครือญาติกับนักการเมืองจำนวนมาก[2] ภายหลัง “สภาผัวเมีย” ยังถูกนำมาใช้โจมตีอิทธิพลของพรรคการเมืองและนักการเมืองในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งเสนอให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้น (สปช.) คำว่า “สภาผัวเมีย” ก็ถูกนำมาขยายความโจมตีการแต่งตั้งคนในครอบครัวและเครือญาติเป็นที่ปรึกษาอีกครั้ง
สาระสำคัญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวทางภูมิปัญญาเพื่อปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นระบบ ด้วยการมุ่งเป้าไปที่การกำจัดควบคุมพฤติกรรมของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การปฏิรูปการเมืองจึงคาดหวังให้วางอยู่บนหลักการ “รัฐธรรมนูญนิยม” (Constitutionalism) ซึ่งอาศัยหลักการแบ่งแยกอำนาจบริหาร และนิติบัญญัติออกจากกัน (separation of powers) โดยให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง (executive supremacy) ทั้งยังเปลี่ยนแปลงกระบวนการขึ้นสู่อำนาจของนักการเมืองเพื่อขจัดการซื้อเสียงเพื่อสร้างเสถียรภาพและความชอบธรรมให้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ความโปร่งใสของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การตรวจสอบความรับผิด/รับชอบของนักการเมือง การสร้างพรรคการเมืองให้เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีอุดมการณ์ และเสนอนโยบายแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : การจัดวางตำแหน่งรัฐสภาปฏิรูป
หนึ่งในมาตรการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือการออกแบบโครงสร้างสถาบันนิติบัญญัติ ที่กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาคู่ (bicameral system) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง 3 ประเภทได้แก่ ส.ส.จากระบบแบ่งเขต และส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง และวุฒิสมาชิก ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 [3] กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คนที่มาจากการเลือกตั้งแบบผสมระหว่างระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (single-member constituency system) จำนวน 400 ที่นั่ง และระบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง (party-list system) จำนวน 100 รายชื่อ โดยให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งแต่ละพรรคต้องได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ 5 (มาตรา 98, 99, 100, 102) เพื่อสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมน้อยพรรคที่มีเสถียรภาพ การเลือกตั้งยังถูกกำหนดให้เป็น “หน้าที่” ของประชาชนคนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (มาตรา 68, 105)
ขณะเดียวกันก็จำกัดประเภทบุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วยเกณฑ์ด้านการศึกษาระดับปริญญาตรี (มาตรา 107 (3)) เพื่อให้ ส.ส. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอาศัยภูมิความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล หรือกล่าวได้ว่าเป็นการทำให้รัฐสภาสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศบนพื้นฐานของเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนั้นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลงเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี (มาตรา 118 (7)) เพื่อตัดช่องทางสานสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่งด้วยการซื้อเสียงกับตำแหน่งรัฐมนตรีที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ และระบบบัญชีรายชื่อก็มีเป้าหมายให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนบนฐานของพรรคการเมืองและการแข่งขันด้านนโยบาย
เมื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 มองว่าปัญหาใหญ่ของการไร้เสถียรภาพทางการเมืองมาจากพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง วุฒิสภาจึงถูกคาดหวังให้เป็นสถาบันที่ปลอดจากอิทธิพลทางการเมืองใดๆ (apolitical body) และอยู่เหนือความขัดกันแห่งผลประโยชน์ทางการเมืองเพื่อที่จะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลการทำหน้าที่ของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร[4] วุฒิสภาจึงประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือก ส.ว. ได้เพียง 1 คน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (มาตรา 121-123)
ขณะที่คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง หรือพ้นจากการเป็น ส.ส. ไปแล้วเกินกว่า 1 ปี ห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งอื่นใดทางการเมืองภายในเวลา 1 ปีหลังพ้นตำแหน่งวุฒิสมาชิก รัฐธรรมนูญยังกำหนดห้ามไม่ให้ผู้สมัครรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง แต่รัฐมีหน้าที่แนะนำตัวผู้สมัครรายบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน (มาตรา 125-129) นอกจากหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายแล้ว ส.ว. มีอำนาจเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ ส.ส. ยิ่งกว่านั้นยังมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนองค์กรอิสระ รวมทั้งทำให้แน่ใจว่านักการเมืองและองค์กรทางการเมืองจะพร้อมรับผิดต่อสาธารณะ ด้วยข้อกำหนดนี้จึงหมายความว่าวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540 มีอำนาจมากกว่า/หรือเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 : การปรับเปลี่ยนโครงสร้างสถาบันรัฐสภา
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และตามมาด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 [5] ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน แบ่งเป็น ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบ “รวมเขตเบอร์เดียว” (multi-member constituency and single vote system) จำนวน 400 คน และ ส.ส. จากระบบสัดส่วนแบบ 8 บัญชีรายชื่อตามภูมิภาค (eight regional slates) (มาตรา 93-98) อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2554อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา จึงเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น 500 คน ประกอบด้วย ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 375 คน และเปลี่ยนไปใช้ระบบ “เขตเดียวคนเดียว” (single-member constituency and first-past-the-post system) ขณะที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวน 125 คน และไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบบัญชีเดียวทั้งประเทศ (a national slate) เหมือนข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 (มาตรา 3)
ในกรณีวุฒิสภานั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ได้แก่ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน โดยอนุญาตให้ผู้สมัครสามารถหาเสียงได้ในประเด็นการทำหน้าที่วุฒิสภาเท่านั้น และ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจำนวนที่เหลือจากทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา และตุลาการศาลปกครองสูงสุด (มาตรา 111-113)
คุณสมบัติของผู้จะสามารถดำรงตำแหน่ง ส.ว. ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 คล้ายคลึงกับข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 ในส่วนที่กำหนดให้ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงไม่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตลอด 5 ปีก่อนวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ แต่สิ่งที่เป็นตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ก็คือ ผู้สมัครหรือผู้ถูกเสนอชื่อ ส.ว. ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี ไม่เกินหนึ่งวาระ (มาตรา 115-117) ในแง่นี้จึงเป็นการจำกัดควบคุมไม่ให้ “ตระกูลการเมือง” มีอิทธิพลต่อวุฒิสภาอันถือเป็นสถาบันตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร
การปรากฏตัวของ “สภาผัวเมีย” ในสังคมการเมืองไทย (2540-2556)
การปฏิรูปการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2530 วางอยู่บนรากฐานการจำกัดพฤติกรรมของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง อมร จันทรสมบูรณ์ อธิบายรากปมของปัญหาการซื้อเสียง การใช้อำนาจโดยมิชอบ การทุจริตคอร์รัปชั่น และความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล ซึ่งทำให้เกิดความล้มเหลวทางการเมือง ไว้ว่า “การวิเคราะห์พฤติกรรมของ “นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง” ตามหลักสังคมวิทยาการเมือง (political sociology) ควรเป็นสิ่งแรกที่ “คนไทย” จะต้องให้ความสำคัญก่อนสิ่งอื่น เพราะการทำความเข้าใจในพฤติกรรมของนักการเมือง เป็นจุดเริ่มต้นของการมองปัญหา ที่ “สาเหตุ” ของปัญหา” (เน้นตามต้นฉบับ) [6] ดังนั้น กรอบใหญ่ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ซึ่งกลายมาเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก็คือ “เอื้ออำนวยแก่การนำคนดีเข้าสู่ระบบการเมือง และลดหรือขจัดการบิดเบือนการใช้อำนาจของนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ” [7] อันเข้าสู่อำนาจด้วยการการซื้อเสียงและเบี่ยงเบนการเลือกตั้ง เมื่ออยู่ในตำแหน่งการเมืองก็มักใช้อำนาจโดยมิชอบและทุจริตคอร์รัปชั่นนำมาซึ่งความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
การก่อกำเนิด “สภาผัวเมีย” กับเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540
ถึงแม้อุดมคติรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในเรื่องการจำกัดอิทธิพลการเมืองใช้เงินเป็นเงินทางเข้าสู่อำนาจและคาดหวังให้ ส.ว. ดำรงอยู่เหนือการเมืองแบบดังกล่าวเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลและมีอำนาจเหนือในการเสนอชื่อแต่งตั้ง/ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กระนั้นก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม 2543 กลับปรากฏข้อกังวลและคำวิจารณ์จากสังคมในวงกว้างถึงโอกาสที่พรรคการเมืองและนักการเมืองจะครอบงำการทำหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ผู้สมัครจำนวนหนึ่งเป็นอดีตนักการเมือง คู่สมรสของนักการเมือง ลูกหลาน และเครือญาติ เช่น นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ ภรรยาพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และนางมลิวัลย์ เงินหมื่น ภรรยานายนายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นต้น
กรณีอื้อฉาวเรื่องการทุจริตเลือกตั้ง ด้วยวิธีการจ่ายเงินซื้อเสียง การอาศัยหัวคะแนนและเครือข่ายการเมืองของพรรคการเมืองช่วยหาเสียง การจัดเลี้ยงแจกอาหารผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์และเที่ยงธรรมไม่รับรองผลการเลือกตั้งผู้สมัคร 78 คน จาก 36 จังหวัด และต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งซ่อมขึ้นอีกถึง 4 ครั้ง [8] หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน (ฉบับวันที่ 8 มีนาคม 2543)[9] รายงานว่าในจำนวน ส.ว. 200 คน มีถึง 117 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.8 ที่มีสายสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองไม่ทางใดทางหนึ่ง กล่าวคือ ส.ว. ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์มากถึง 41 คน พรรคไทยรักไทย 29 คน พรรคความหวังใหม่ 17 คน พรรคชาติไทย 12 คนและพรรคชาติพัฒนา 10 คน ขณะที่ สมบัติ จันทรวงศ์ ประเมินว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งทั้งหมดมีสามี ภรรยา ลูกหลาน และลูกหลานนักการเมืองไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ขณะที่ส่วนที่เหลือล้วนเคยเป็นอดีตข้าราชการหรือข้าราชการเกษียณแทบทั้งสิ้น [10]
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งซ่อมหลังจากนั้นอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา ผลปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยซึ่งได้เสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร (248) จัดตั้งรัฐบาลผสมประกอบด้วยพรรคชาติไทย (41) และพรรคความหวังใหม่ (36) ด้วยเสียงข้างมาก 325 ที่นั่ง โดยมีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[11] ข้อวิจารณ์เรื่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางสายตระกูลของสมาชิกรัฐสภาทั้ง 3 ประเภทที่มาจากการเลือกตั้ง (.ส.ส แบ่งเขต, ส.ส. บัญชีรายชื่อ,และ ส.ว.) ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2544)[12] ได้ชี้ให้เห็นว่าตระกูลการเมืองสำคัญทั่วประเทศต่างแสวงหาที่ทางให้คนในครอบครัวตนเองในระบบการเมืองผ่านการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทั้ง 3 ประเภท เครือญาตินามสกุลเดียวกันผู้มีความสัมพันธ์แนบชิดกับ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 50 คน เป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่เว้นแม้แต่พี่ชายและหลานชายของประธานวุฒิสภา (นายสนิท วรปัญญา) ในจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้งถึง 28 คน และเป็น ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลถึง 22 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้แม้จะมี ส.ส. หน้าใหม่เข้าสู่ระบบการเมืองจำนวนหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่ารัฐสภาในปี พ.ศ. 2544 จะมีสภาพไม่ต่างไปจาก “สมาคมภรรยานักการเมือง หรือ สภาเผ่าพงศ์วงศ์ตระกูล” เท่าใดนัก [13]
ความไม่ไว้วางใจต่อสภาบันรัฐสภาเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดสมาชิกภาพในวันที่ 21 มีนาคม 2556 จึงมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป วันที่ 19 เมษายน 2549[14] ซึ่งคาดหวังให้เป็นสภาที่กลั่นกรองกฎหมายและมีความเป็นกลางทางการเมือง แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนมากเป็นอดีตนักการเมืองและมีความใกล้ชิดกับพรรคการเมือง มิพักต้องกล่าวถึงมีผู้สมัครอ้างว่าตนเองถูกล็อบบี้เพื่อเข้ากลุ่ม ส.ว. ฝ่ายรัฐบาล [15] จึงอาจปฏิบัติหน้าที่ไม่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะหาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวกและเพื่อถอนทุน ดังที่สื่อมวลชนแสดงข้อห่วงกังวลก่อนการเลือกตั้งจะมาถึงว่า “19 เมษายน 2549 ช่วยกัน หยุด ไม่ให้เกิด "รัฐสภาผัวเมียและญาติ" ทีเถอะ!" [16] อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งก็ไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 มากนัก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2549) รายงานว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งประมาณ 140 คน จากทั้งหมด 200 คน เกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่ใน "สังกัด" ของพรรคการเมือง และ "ผัวเมีย ส.ส. ผัวเมียอดีต ส.ว. อดีต ส.ส. ญาติพี่น้องนักการเมือง แห่เข้ามาเต็มวุฒิสภาไปหมด"อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา
การกลับมาของ “สภาผัวเมีย” ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550
รัฐธรรมนูญ 2540 มุ่งออกแบบเพื่อเพิ่มอำนาจแก่พรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรีซึ่งเท่ากับลดทอนอำนาจต่อรองของ ส.ส. ภายในพรรค ตลอดจนให้อำนาจแก่ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งตรวจสอบควบคุมการทำงานขององค์กรอื่นๆ ที่มาจากการเลือกตั้ง และยังมีอำนาจแต่งตั้ง-ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พยายามอย่างยิ่งที่จะลดทอนข้อบกพร่องและแก้ไขความผิดพลาดของรัฐธรรมนูญ 2540 โดยจำกัดบทบาทการเมืองอันวางอยู่บนฐานของครอบครัว (family-base politics) และเครือข่ายอำนาจ จึงออกแบบสถาบันรัฐสภาให้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และสมาชิกที่มาจากการสรรหาในส่วนที่เหลือ แต่การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น 2 ครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่าสัดส่วน ส.ส. ที่มีความสัมพันธ์แบบตระกูลการเมืองเดียวกันกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.4 ในการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี 2548 เป็นร้อยละ 17.9 และร้อยละ 18 ในการเลือกตั้งสองครั้งหลังในปี 2550 และ 2554 ตามลำดับ หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองชุด อย่างไรก็ตามเมื่อคิดคำนวณ ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งมีบุคคลในตระกูลเดียวกันเคยเป็น ส.ส. มาก่อนมีจำนวนมากถึง 210 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 500 คน[17]
ในขณะเดียวกันการเลือกตั้ง ส.ว. ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 สองครั้งในปี 2551 และ 2557 สัดส่วนผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีภูมิหลัง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงเวลาก่อนหน้าและในขณะเดียวกันกับการดำรงตำแหน่ง ส.ว. ก็มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 15.79 และ 23.38 ตามลำดับ แต่พิจารณาในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่า ส.ว. เกือบ 50 คน เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางการเมืองในจังหวัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความคาดหวังที่จะให้ ส.ว. ปลอดจากอิทธิพลทางการเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งหลังสุดจะมีเพียงร้อยละ 42.78 เท่านั้น อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา
ทั้งนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งข้อสังเกตว่าการเข้ายึดกุมตำแหน่งสำคัญทางการเมืองและเครือข่ายอำนาจของครอบครัวไม่เพียงมาจากเหตุจูงใจส่วนบุคคลในการเถลิงอำนาจของนักการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นการตอบสนองต่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมไทยที่ดำรงอยู่ ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรเพียงอย่างเดียว เพราะการเมืองเมืองไทยในทุกระดับนับแต่อดีตถึงปัจจุบันล้วนวางอยู่บนฐานครอบครัวทั้งสิ้น ส่วนการดำรงอยู่ของ “ตระกูลการเมือง” ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาจำนวนมากเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในยุคการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอย่างก้าวกระโดดสมัยสฤษดิ์ ธระรัชต์ ก่อให้เกิดการแตกตัว (diversification) ชนชั้นนำทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น จึงเกิดชนชั้นนำใหม่ในท้องถิ่นซึ่งตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพเงื่อนไขเศรษฐกิจและสังคมไทย [18]
สอดคล้องกับความเห็นของ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ซึ่งมองว่าตระกูลการเมืองเป็นเรื่องที่ดำรงอยู่ในสังคมการเมืองไทยมาอย่างช้านานแล้ว สาเหตุที่น่าสนใจก็คือเกิดจาก “ผลที่ไม่ได้ตั้งใจ” ในการออกแบบสถาบันการเมืองเพื่อป้องกันในบางเรื่องแต่ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ซับซ้อนของพฤติกรรมการเมืองที่แท้จริง ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดหมายเอาไว้ เช่น การออกข้อบังคับให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 2 สมัย (ปี 8 หากคบวาระ) ทำให้เกิดพฤติกรรมไปในทางที่ส่งพี่น้อง สามี ภรรยา หรือคนในครอบครัวคนอื่นๆ ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ยิ่งไปกว้านั้นการมีตำแหน่งทางการเมืองมากขึ้นทั้งในสภาผู้แทนราษฎร (ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งตามระบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อ) วุฒิสภา และองค์กรอิสระอื่นๆ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ตระกูลการเมืองสามารถลงสมาชิกลงเล่นในสนามการเมืองได้มากขึ้นตามไปด้วย [19]
การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ความขัดแย้งในเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภายิ่งรุ่นแรงแหลมคมขึ้น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2556 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 308 คน อาศัยความในมาตรา 291 รัฐธรรมนูญ 2550 เข้าชื่อเสนอญัตติให้รัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา[20] ที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติผ่านวาระ 3 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2556 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111)
2) ยกเลิกข้อห้ามบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้บุคคลที่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ (ยกเลิกมาตรา 115 (5))
3) ให้บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ทันทีโดยไม่ต้องเว้นวรรคทางการเมือง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 115 (6)(7)(9))
4) บุคคลผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสิ้นสภาพลงแล้วไม่เกิน 2 ปีจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือตำแหน่งทางการเมืองอื่นใดมิใด นอกจากสมาชิกวุฒิสภา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 116)
5) ให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งวาระได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 117)
ด้วยเหตุนี้ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์และ กลุ่ม 49 ส.ว. อันประกอบด้วยอันประกอบด้วย พลเอก สมเจตน์ บุญถนอมกับคณะ (ผู้ร้องที่ 1) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ (ผู้ร้องที่ 2) นายสาย กังกเวคินกับคณะ (ผู้ร้องที่ 3) และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคกับคณะ (ผู้ร้องที่ 4) ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว. เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่ ผู้ร้องยังขอให้ศาลวินิจฉัยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป และขอให้ศาลสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรค รวมถึงตัดสิทธิทางการเมือง ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งสิ้น 312 คน ที่โหวตลงมติเห็นชอบแก้ไขด้วย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารหลักฐานประกอบของผู้ร้อง เรียกผู้ถูกร้องชี้แจงข้อกล่าวหาและไต่สวนพยานหลักฐาน อีกทั้งสั่งให้คู่กรณียื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นหนังสือแล้ว วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 ว่ากระบวนการของการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารประกอบการพิจารณา ระยะเวลาในการเสนอคำแปรญัตติ การลงคะแนนเสียงแทนกัน ก็ล้วนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น และมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่าเนื้อหาการแก้ไขเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่เข้าเงื่อนไขที่จะยุบพรรคจึงให้ยกคำร้องในส่วนของการยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิทางการเมืองผู้บริหารพรรคการเมือง โดยตุลาการศาลวินิจฉัยเนื้อหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาว่า อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา
-
-
-
- สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ เป็นการแก้กลับไปสู่จุดบกพร่องที่เคยปรากฏแล้วในอดีต...เป็นความพยายามนำประเทศให้ถอยหลังเข้าคลอง ทำให้วุฒิสภากลับไปเป็นสภาญาติพี่น้อง สภาของครอบครัวหรือสภาผัวเมีย สูญเสียสถานะและศักยภาพแห่งการเป็นสติปัญญาให้สภาผู้แทนราษฎร กลายเป็นเพียงเสียงสะท้อนของปวงชนเพื่อที่จะทำลายสาระสำคัญของการมีสองสภา นำไปสู่การผูกขาดอำนาจและขาดการมีส่วนร่วมของปวงประชาหลากสาขาอาชีพ เป็นการกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเปิดช่องให้ผู้ร่วมกระทำการครั้งนี้กลับมีโอกาสได้อำนาจที่ไมได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ (เน้นโดยผู้เรียบเรียง)
-
-
กล่าวโดยสรุป “สภาผัวเมีย” หรือ “สภาครอบครัว” หรือ “สภาเครือญาติ” ยังคงเป็นวาระแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการทำหน้าที่ของรัฐสภาอันถูกยึดกุมโดย “ตระกูลการเมือง” ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันตามหลักการของระบบสภาคู่ (bicameral system) ไม่เฉพาะแต่ในยุคที่บรรยากาศปกคลุมไปด้วยประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้งเท่านั้น หากในยุคที่คณะรัฐประหารปกครองประเทศ ประเด็น “สภาผัวเมีย” อันวางอยู่บนการเมืองที่มีฐานมาจากครอบครัวก็ยังถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเป้าโจมตีอยู่เสมอ การแต่งตั้งเครือญาติดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ผู้ชำนาญการ ผู้ช่วยดำเนินงาน ที่ปรึกษาและเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา จึงเป็นอีกผลสะท้อนว่าสายสัมพันธ์แบบเครือญาติดำรงอยู่ควบคู่กับสังคมการเมืองไทยทุกยุคสมัย
บรรณานุกรม
"คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-19/2556 เรื่อง คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68." วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556.
เฉวียน โพธิ์ศรีอุ่น, "รัฐสภาผัวเมีย." มติชนรายวัน. (ฉบับวันที่ 17 เมษายน 2549), 6.
"ชัด ๆ ครบทุกชื่อ สนช.-สปช.ตั้งเครือญาติช่วยงานก่อนมติวิปขอให้เชิญออก." สำนักข่าวอิศรา. (19 มีนาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/37313-sapa_916.html>. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2558.
"ดัน “สภาผัวเมีย” สำเร็จ “ขี้ข้าแม้ว” ลากผ่าน 358 ต่อ 2 ปชป.วอล์กเอาต์." ผู้จัดการออนไลน์. (28 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122288>. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. "วงศาคณาญาติ," มติชนรายวัน, (ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม 2554), 6.
"ปอกเปลือกสภาสูงอำนาจถ่วงดุลที่ต้องเปลี่ยนกติกา?." คม ชัด ลึก. (ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2557), 2.
พรรณพร สินสวัสดิ์, รวบรวม. (2548). ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548.
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 127 ก, 15 ธันวาคม 2552, หน้า 5-6.
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 123 ตอนที่ 24 ก, 9 มีนาคม 2549, หน้า 1-3.
"พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 117 ตอนที่ 102 ก, วันที่ 9 พฤศจิกายน 2543, หน้า 1-2.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. "ว่าด้วยเรื่องราชวงศ์ทางการเมือง." คม ชัด ลึก. (ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2555): 4.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. "การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรก." ผู้จัดการรายวัน. (9 มีนาคม 2543): 6.
"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 128 ตอนที่ 13 ก, วันที่ 4 มีนาคม 2554, หน้า 1-6.
"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540, หน้า 1-99.
"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550." ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก, วันที่ 24 สิงหาคม 2550, หน้า 1-127.
“ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114).”
"รายงานพิเศษ: ตรวจสเป็ก ส.ว. ภายใต้อิทธิพลพรรคการเมือง." กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (14 เมษายน 2549). เข้าถึงจาก <https://archive.is/cGVeo#selection-1891.0-1891.14>. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2558.
“วังน้ำยม” พ้อเสียงวิจารณ์ ส.ว.“สภาผัวเมีย” วอนให้โอกาสก่อนตำหนิ." ผู้จัดการออนไลน์. (21 เมษายน 2549). เข้าถึงจาก < http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000052926 >. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558.
สติธร ธนานิธิโชติ. "วาระ “สภาผัว-เมีย”." TPD เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย. เข้าถึงจาก <http://www.tpd.in.th/content/details_1.php?ID=000192&type=000004>. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558.
_________. "สามทศวรรษตระกูลนักการเมืองไทย," TPD เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย. เข้าถึงจาก <http://www.tpd.in.th/content/details_1.php?ID=000196&type=000004>. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558.
"สภาทาสผงาดปฏิรูปพินาศ," ไทยรัฐ. (ฉบับวันที่ 23 เมษายน 2549), 3.
อมร จันทรสมบูรณ์. (2537). คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ (Constitutionalism): ทางออกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา โดยความสนับสนุนของ มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์, 2537.
McCargo, Duncan (2002). “Thailand’s January 2001 General Elections: Vindicating Reform?.” In Duncan McCargo (ed.), Reforming Thai Politics. Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies, pp. 247-259.
Sombat Chantornvong. (2002). “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform.” In Duncan McCargo. (ed.). Reforming Thai Politics. Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies, pp. 203-222.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
สติธร ธนานิธิโชติ (2556). "ตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย." วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 11(2), 5-23.
Callahan, William A. (2005). “The Discourse of Vote Buying and Political Reform in Thailand.” Pacific Affairs. 78(1), 95-113.
Nelson, Michael H. (2011). "Political Representation in Thailand: Problems of Institutional Development." Samaggi Sara. Annual Issue 82, 24-28.
Ockey, James (2003). "Change and Continuity in the Thai Political Party System." Asian Survey. 43(4), 663-680.
_________. (2008). "The Struggle to Control Democracy." Asian Survey. 48(1), 20-28.
อ้างอิง
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 127 ก, 15 ธันวาคม 2552, หน้า 5-6.
- ↑ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์,
- ↑ _
- ↑ Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” In Duncan McCargo. (ed.), Reforming Thai Politics (Copenhagen: Nordic Institute of Asian Studies, 2002), p. 204.
- ↑ _
- ↑ อมร จันทรสมบูรณ์, คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ (Constitutionalism): ทางออกของประเทศไทย (กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา โดยความสนับสนุนของ มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์, 2537), หน้า 8
- ↑ อมร จันทรสมบูรณ์, คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ (Constitutionalism): ทางออกของประเทศไทย, หน้า 15.
- ↑ Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” p. 207.
- ↑ อ้างถึงใน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์,
- ↑ Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” p. 208.
- ↑ พรรณพร สินสวัสดิ์ (รวบรวม), ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทย (กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548), หน้า 67.
- ↑ อ้างถึงใน Duncan McCargo, “Thailand’s January 2001 General Elections: Vindicating Reform?.” In Duncan McCargo (ed.), Reforming Thai Politics, p. 249.
- ↑ Sombat Chantornvong. “The 1997 Constitution and the Politics of Electoral Reform,” p. 218.
- ↑ _
- ↑ _
- ↑ เฉวียน โพธิ์ศรีอุ่น,
- ↑ โปรดดู สติธร ธนานิธิโชติ,
- ↑ นิธิ เอียวศรีวงศ์,
- ↑ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์,
- ↑ “ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และมาตรา 114)”