ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานสภาผู้แทนราษฎร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
----
----


'''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''' คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง[[รัฐธรรมนูญ]]และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้า[[ฝ่ายนิติบัญญัติ]]ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  
'''ประธานสภาผู้แทนราษฎร''' คือ สมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]]ซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่ง[[รัฐธรรมนูญ]]และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้า[[ฝ่ายนิติบัญญัติ]]ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  


==ความหมายและประวัติความเป็นมา==
==ความหมายและประวัติความเป็นมา==
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
     -ส่งเรื่องในกรณีที่[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง|คณะกรรมการเลือกตั้ง]]เห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (มาตรา 91 วรรคสาม)
     -ส่งเรื่องในกรณีที่[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง|คณะกรรมการเลือกตั้ง]]เห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (มาตรา 91 วรรคสาม)


     -ส่งร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติที่[[คณะรัฐมนตรี]] หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอหรือส่งให้พิจารณาใหม่นั้น เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ (มาตรา 149)
     -ส่งร่างพระราชบัญญัติที่[[สภาผู้แทนราษฎร]]เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติที่[[คณะรัฐมนตรี]] หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอหรือส่งให้พิจารณาใหม่นั้น เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ (มาตรา 149)


     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] มีข้อความขัดหรือแย้งหรือถูกตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 154 (1))
     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] มีข้อความขัดหรือแย้งหรือถูกตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 154 (1))

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:45, 15 ตุลาคม 2552

ผู้เรียบเรียง อารีรัตน์ วิชาช่าง

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง



ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ ถือเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา และเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ความหมายและประวัติความเป็นมา

คำว่า “ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Speaker)” มีผู้ให้ความหมายไว้หลายแบบ อาทิเช่น หมายถึง ผู้ที่เป็นประธานของที่ประชุมสภา เดิมทีเดียวคำนี้ใช้เรียกประธานสภาสามัญของอังกฤษ เนื่องจากมีอำนาจหน้าที่ “พูด” แทนสามัญชนในรัฐสภา[1] หรือ หมายถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนอกจากจะเป็นประมุขของสภาผู้แทนราษฎรแล้วยังเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาด้วย[2] รวมทั้งหมายถึง ผู้ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งมวล (ทุกพรรคการเมือง) ได้เลือกขึ้นมาให้เป็นประธานของพวกตน เพื่อให้ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการประชุมให้มีประสิทธิภาพ ประธานสภาจะต้องเป็นกลางในทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ของตน[3]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ที่ใช้ในการปกครองประเทศขณะนั้น ได้บัญญัติ มาตรา 18 ให้สมาชิกเลือกกันขึ้นเป็นประธานของสภา 1 นาย มีหน้าที่ดำเนินการของสภา และมีรองประธาน 1 นายเป็นผู้ทำการแทน เมื่อประธานมีเหตุขัดข้องชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ได้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายพลตรี พระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงถือได้ว่าประเทศไทยได้มีผู้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นนับแต่นั้นมา

การดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 124 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร มีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ตามมติของสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้มีบทบัญญัติแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น คือ ในระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหารคือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองขณะเดียวกันมิได้ สำหรับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ เมื่อเลือกประธานและรองประธานได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ[4] นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภาหรือมีการยุบสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรสามารถพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระได้แล้วแต่กรณี ดังนี้ เมื่อขาดจากสมาชิกภาพ ลาออกจากตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือข้าราชการการเมืองอื่น ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

สำหรับการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 24 (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551 ณ ตึกรัฐสภา การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.43 นาฬิกา เมื่อครบองค์ประชุมแล้วนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้เสนอให้ที่ประชุมเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง[5] ในการนี้พรรคพลังประชาชนเสนอ นายชัย ชิดชอบ ส่วนพรรคฝ่ายค้านเสนอนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ด้วยคะแนน 283 ต่อ 158 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง[6] ส่งผลให้นายชัย ชิดชอบ ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 24 ของประเทศไทย

อำนาจหน้าที่และภารกิจของประธานสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งแล้วประธานสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่หลายประการสรุปได้ ดังนี้

1.อำนาจหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

เป็นประธานรัฐสภา

เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการดังต่อไปนี้

     -นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (มาตรา 171, 172 และ 173)

     -นำชื่อกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (มาตรา 158 วรรคท้าย)

     -ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 110 )

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้น เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง (มาตรา 109 (2) )

เป็นผู้ส่งเรื่อง ส่งความเห็น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นและส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ดังนี้

     -ส่งคำร้องในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลง (มาตรา 91 วรรคหนึ่ง)

     -ส่งเรื่องในกรณีที่คณะกรรมการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (มาตรา 91 วรรคสาม)

     -ส่งร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอหรือส่งให้พิจารณาใหม่นั้น เป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ (มาตรา 149)

     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว แต่นายกรัฐมนตรียังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย มีข้อความขัดหรือแย้งหรือถูกตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 154 (1))

     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ เห็นว่าร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่สภาผู้แทนราษฎรนั้นเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งหรือถูกตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 155)

     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนใดหนึ่งสิ้นสุดลง (มาตรา 182 วรรคท้าย)

     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอความเห็นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะได้อนุมัติพระราชกำหนด ว่าพระราชกำหนดไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือกรณ๊ไม่เป็นกรณ๊ฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ (มาตรา 185)

     -ส่งความเห็นในกรณีที่สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนในกรณีที่หนังสือสัญญามีปัญหาตามมาตรา 190 วรรคสอง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย (มาตรา 190 วรรคท้าย)

เป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ

     -เป็นกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 206)

     -เป็นกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 231(1))

     -เป็นกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา 243)

     -เป็นกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 146 วรรคสาม)

อำนาจหน้าที่อื่น

     -ดำเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้ แทนราษฎร (มาตรา 125)

     -จัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชนอาจเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ(มาตรา 126 วรรคสี่)

     -สั่งให้ปล่อยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ถูกจับขณะกระทำความผิดในระหว่างสมัยประชุม (มาตรา 131 วรรคสอง)

     -ร้องขอให้ปล่อยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ซึ่งถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม (มาตรา 131 วรรคห้า)

     -กำหนดสัดส่วนของกรรมาธิการสามัญซึ่งแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรณีที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภา (มาตรา 135 วรรคท้าย)

     -จัดให้มีการประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการ สามัญทุกคณะ ในกรณีที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว (มาตรา 143)

     -สั่งให้ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขเพิ่มเติมจนมีผลทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้ก่อน แล้วจัดให้มีการประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร เพื่อวินิจฉัย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีกรณีดังกล่าว และส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นให้นายกรัฐมนตรีรับรอง หากการประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้ร่างพระราชบัญญัติมีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน (มาตรา 144)

     -แจ้งไปยังวุฒิสภาว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอไปนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน (มาตรา 146)

     -วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่จะให้สภาพิจารณามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ (มาตรา 152)

     -บรรจุระเบียบวารกระทู้ถามทั่วไปและกระทู้ถามสดที่สมาชิกตั้งถามรัฐมนตรีในวันที่มีการประชุมนั้นเข้าวาระการประชุม (มาตรา 156, 157)

     -ร่วมปรึกษากับนายกรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน (มาตรา 165 (1))

     -รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและข้อหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนำเอาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่มาหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร แล้วพิจารณาให้ความช่วยเหลือหรือส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป (มาตรา 59)

2.อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551

2.1 เป็นประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ข้อ 8 (1))

2.2 ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาผู้แทนราษฎร (ข้อ 8 (2))

2.3 รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดถึงบริเวณสภา(ข้อ8 (3))

2.4 เป็นผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรในกิจการภายนอก(ข้อ 8 (4))

2.5แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภาผู้แทนราษฎร (ข้อ 8 (5))

2.6 อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ (ข้อ 8 (6))

3.อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518

4.อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2552 (อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่จะตราขึ้นตามมาตรา 134 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550)

5.อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541

ประธานสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย

ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศมาแล้วถึง 18 ฉบับ แต่ละฉบับจะมีหลักการใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน และมีความแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับประธานสภาผู้แทนราษฎรก็เช่นกัน ในช่วงแรกรัฐสภามีเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย แต่ต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญกำหนดให้ รัฐสภาประกอบด้วย พฤฒสภาและสภาผู้แทน และให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญหลายฉบับจากนั้นมา กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้ประธานวุฒิสภา เป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น คือ กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา ตราบจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้ในปัจจุบัน ก็ยังกำหนดเช่นกัน จากวันที่ประเทศไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2475 ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมจำนวน 24 คน มีรายนามตามลำดับ ดังนี้


1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 13. นายอุทัย พิมพ์ใจชน
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ 14. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน) 15. นายชวน หลีกภัย
4. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา) 16. นายปัญจะ เกสรทอง
5. พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา) 17. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์
6. นายเกษม บุญศรี 18. นายมารุต บุนนาค
7. นายพึ่ง ศรีจันทร์ 19. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
8. พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ) 20. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
9. พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) 21. นายพิชัย รัตตกุล
10. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร) 22. นายโภคิน พลกุล
11. พลตรีศิริ สิริโยธิน 23. นายยงยุทธ ติยะไพรัช
12. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ 24. นายชัย ชิดชอบ

อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 564.
  2. คณิน บุญสุวรรณ. ศัพท์รัฐสภา. กรุงเทพฯ บพิธการพิมพ์, หน้า 246-247.
  3. เดโช สวนานนท์. พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2547, หน้า 150.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550. หน้า 66-67.
  5. บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 24 (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2551 ณ ตึกรัฐสภา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_meetings_count.php?doc_id=473 (วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
  6. “ชัย นั่งปธ. สภาพลิกโผ” เดลินิวส์ (Th) (ออนไลน์) สืบค้นจาก NEWSCenter. (วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552)

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

กิตติ เจริญยงค์. บทบาทอำนาจหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยของประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร, 2544.

ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ. ชีวประวัติและผลงาน พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร รองนายกรัฐมนตรี. ม.ป.ท., ม.ป.พ. 2540.

ประธานรัฐสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา 2539 – 2543. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2543.

ประวัติประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 1-19. กรุงเทพฯ : หอสมุดรัฐสภาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2539.

ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ คิด พูด เขียน. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2540.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. พึ่ง ศรีจันทร์ : นักประชาธิปไตยผู้ทรหด อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2490. นนทบุรี : สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม (ประเทศไทย), 2536.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 : การศึกษาการบังคับใช้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

สัมภาษณ์อดีตประธานสภาฯ. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.

บรรณานุกรม

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (พ.ศ. 2475 – 2517). กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง 2517.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550

รายชื่อประธาน รองประธาน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ 2475-2519. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, ม.ป.ป.

สาระสำคัญเกี่ยวกับภารกิจและสิทธิประโยชน์ของประธานรัฐสภา ประธานและรองประธาน สภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานประธานสภา ผู้แทนราษฎร, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาไทย : จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2539.