ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยุบสภาผู้แทนราษฎร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' วิริยะ คล้ายแดง | '''ผู้เรียบเรียง''' วิริยะ คล้ายแดง | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | ||
---- | ---- | ||
“การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]เป็นผู้เสนอและสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจทำได้เสมอ นอกเสียจากว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ยอม[[ลงพระปรมาภิไธย|ลงพระปรมาภิไธย]]… แต่ก็ไม่เคยปรากฏลักษณะเช่นนี้มาก่อน”<ref>กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง, 2530. '''“การยุบสภาในประเทศไทย,”''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า 38.</ref> วลีดังกล่าว คือคำให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เมื่อปีพ.ศ. 2529 ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารและมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ทั้งคณะเพียง 2 วัน เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล | |||
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และใช้รูปแบบระบบรัฐสภา แบ่งแยกผู้ใช้อำนาจออกเป็นสามฝ่าย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ แต่ระบบรัฐสภานี้ มิได้ยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาด หมายถึงยินยอมให้ฝ่ายบริหารเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลหรือ[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วยการเข้ารับหน้าที่บริหารงานโดยความไว้วางใจของรัฐสภา และรัฐสภาอาจถูกควบคุมได้โดยฝ่ายบริหาร ซึ่งการควบคุมเช่นนี้แท้จริงแล้วเป็นการควบคุมโดยผ่านทางประมุขของรัฐนั่นเอง โดยนายกรัฐมนตรีอาจเสนอให้ประมุขของรัฐยุบสภานิติบัญญัติได้ในกรณีเกิดความขัดแย้งกัน<ref>วิษณุ เครืองาม, 2523. '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ,''' พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : แสงสุทธิการพิมพ์, หน้า 194 – 195.</ref> | |||
สัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเช่นนี้ เกี่ยวเนื่องกันด้วยอำนาจ ที่มีลักษณะของการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างไม่เด็ดขาดเพื่อการควบคุมและถ่วงดุลย์อำนาจต่อกัน มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีน้ำหนักมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง<ref>กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง อ้างถึง โอภาส ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร”, '''รัฐสภาสาร''' 4 (ธันวาคม 2499) : 10.</ref> ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติโดยผ่านทางประมุขของรัฐ และเป็นวิธีการหนึ่งของหลักการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารอาจจำเป็นต้องใช้กลไกการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออุทธรณ์ต่อประชาชน หรือหมายถึงการให้ประชาชนตัดสินปัญหาข้อขัดแย้ง โดยใช้[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]]เป็นเครื่องมือชี้ขาดว่า ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติการตรงต่อเจตจำนงของประชาชน | |||
==ความหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎร== | == ความหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎร == | ||
คำว่า “การยุบสภาผู้แทนราษฎร” อาจกล่าวหรือระบุแค่เพียง “การยุบสภา” ซึ่งมีความหมาย เช่นเดียวกันกับคำว่า การยุบสภาผู้แทนราษฎร | |||
ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม<ref>วิษณุ เครืองาม, 2523. อ้างแล้ว, หน้า 284.</ref> ให้ความหมายคำว่า “การยุบสภา” ที่ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การที่ประมุขของรัฐโดยคำแนะนำของฝ่ายบริหารประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบวาระ | |||
สำหรับปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย โดย คณิน บุญสุวรรณ<ref>คนิณ บุญสุวรรณ, 2548. '''ปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์,''' กรุงเทพ : สุภาพใจ, หน้า 724.</ref> ให้ความหมายของการยุบสภา หมายถึง การดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับ[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] เพราะไม่มีการยุบวุฒิสภา การยุบสภาผู้แทนราษฏร เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ | |||
==บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎร== | == บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎร == | ||
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (2552) บทบัญญัติเรื่องการยุบสภาได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ ยกเว้น พระราชบัญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักร พุทธศักราช 2519 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. พุทธศักราช 2534<ref>ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2546. '''ปัญหาทางกฎหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย,''' หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หน้า 39.</ref> ซึ่งบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาของรัฐธรรมนูญจะมีหลักการคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ว่า | |||
“มาตรา 108 [[พระมหากษัตริย์|พระมหากษัตริย์]]ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ | |||
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดย[[พระราชกฤษฎีกา|พระราชกฤษฎีกา]] ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร | |||
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน" | |||
ในช่วงเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ<ref>สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2550. '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 108.</ref> ได้บันทึกเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ มาตรา 108 ไว้ว่า | |||
1) เจตนารมณ์เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร | |||
2) หลักการเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นครั้งแรก | |||
3) หลักการคงเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่แก้ไขเรื่องกำหนดระยะเวลา โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมการเลือกตั้งให้พร้อม เนื่องจากการเลือกตั้งหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นโดยกะทันหันไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้า | |||
ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ<ref>คัดลอกและย่อความจาก ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, อ้างแล้ว, หน้า 15-23.</ref> ได้วิเคราะห์เรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไว้ดังต่อไปนี้ | |||
'''1. ผู้มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร''' [[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่….” ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาหัวหน้าของฝ่ายบริหารได้แก่ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ถวายคำแนะนำและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง แต่พระมหากษัตริย์อาจปฏิเสธการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้โดยการไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติถึงพระราชอำนาจดังกล่าว ไว้ก็ตาม ถือว่าเป็นพระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัยอย่างหนึ่งตามประเพณีการปกครองแผ่นดิน เมื่อทั้งประมุขของรัฐได้แก่พระมหากษัตริย์ และหัวหน้าของฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกรัฐมนตรีต่างใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยลำพังเองมิได้ต้องร่วมกันใช้อำนาจดังกล่าว หากฝ่ายใดปฏิเสธไม่ใช้อำนาจดังกล่าว การยุบสภาผู้แทนราษฎรก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงถือเป็นอำนาจร่วมระหว่างประมุขของรัฐกับหัวหน้าของฝ่ายบริหาร | |||
'''2. รูปแบบของการยุบสภาผู้แทนราษฎร''' รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ บัญญัติให้รูปแบบของการยุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 108 ว่า “…การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา…” | |||
'''3. ผลทางกฎหมายที่เกิดจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร''' | |||
3.1 ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทันที เนื่องจากเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกัน และต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มี[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]แล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ ส่วนสมาชิกวุฒิสภายังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะครบวาระ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่บัญญัติให้สมาชิกภาพของวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลงเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร | |||
3.2 ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรไว้ควบคุม[[การบริหารราชการแผ่นดิน|การบริหารราชการแผ่นดิน]]ต่อไปแล้ว คณะรัฐมนตรีก็อยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ แต่คณะรัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังต่อไปนี้ | |||
1) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ก่อน | |||
2) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน | |||
3) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป | |||
4) ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการเลือกตั้งกำหนด | |||
3.3 ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร หรือค้างการพิจารณาในวุฒิสภาเป็นอันตกไป โดยที่ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา รัฐสภา ได้แก่ [[วุฒิสภา|วุฒิสภา]] และ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]] เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียแล้วก็ไม่มีรัฐสภาที่จะให้คำแนะนำและยินยอม ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาที่มาจากการริเริ่มเสนอของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ก็ต้องตกไปด้วย เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่มีอันตกไป อาจนำกลับเข้ามาพิจารณาต่อเนื่องในสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ได้อีกตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 153 บัญญัติว่า “ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป” | |||
'''4. ระยะเวลาที่มีผลทางกฎหมาย''' โดยทั่วไป วันที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรกับวันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมักเป็นวันเดียวกัน แต่หากเป็นคนละวันกันตามกฎหมายจะถือว่ามีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามวันที่ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะมีผลทางกฎหมายต้องนับแต่วันที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรใน[[ราชกิจจานุเบกษา|ราชกิจจานุเบกษา]] | |||
'''5. การห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ''' รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเสนอ[[ญัตติ|ญัตติ]]ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ในมาตรา 158 ว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี... และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ … ” การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีนั้น เพื่อจำกัดตัดทอนอำนาจของนายกรัฐมนตรีลงไปว่าระหว่างที่ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ในสภา นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาไม่ได้จนกว่าญัตตินั้นจะลงมติแล้ว เพราะไม่เช่นนั้นพอมีการยื่นญัตติดังกล่าวนายกรัฐมนตรีอาจจะเห็นว่าชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่รวมทั้งเสียงข้างมากในสภาอาจทำให้ตนแพ้ญัตติไม่ไว้วางใจและชิงยุบสภาเสียก่อน ถ้าอย่างนั้นมันก็เกิดการเสียดุลขึ้นในระบบรัฐสภา คือฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีทางไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้เลย ไม่มีทางอภิปรายได้ เพราะนายกรัฐมนตรียุบสภาได้ตลอดเวลา ซึ่งบทบัญญัติในประเด็นนี้เริ่มมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่เดิมมิได้กำหนดไว้ และในประวัติศาสตร์การยุบสภาผู้แทนราษฎร เคยมีกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น คือในสมัย รัฐบาลของ [[คึกฤทธิ์_ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] พรรคกิจสังคมเป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาลที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพียง 18 คน ประกอบด้วย[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]]หลายพรรค มีความขัดแย้งกันตลอดแม้จะได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีก็ตาม ประกอบกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2519 จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ก่อนวันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 วัน | |||
==การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย== | == การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย == | ||
ในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา จนถึงปัจจุบัน (2552) ปรากฏว่ามีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วรวม 11 ครั้ง อาจจะจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา<ref>กาญจนา เกิดโพธิ์รอด, อ้างแล้ว, หน้า 137-138.</ref> ได้ดังต่อไปนี้ | |||
1) เพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้เป็นเครื่องมือถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ | |||
2) เพื่ออุทธรณ์ข้อขัดแย้งต่อประชาชน | |||
3) เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล | |||
4) เพื่อหาทางออกหรือทางตันเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองการปกครอง | |||
เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็พบว่าแต่ละครั้งของการยุบสภาผู้แทนราษฎรล้วนมีเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุแตกต่างกันไป ซึ่งพอสรุปถึงสาเหตุใหญ่ 3 ประการ<ref>ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, อ้างแล้ว, หน้า 23.</ref> ได้แก่ 1) ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ 2) ความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และ 3) ปัญหาทางการเมืองหรือวิกฤตการณ์ทางการเมือง | |||
ลำดับเหตุการณ์การยุบสภาผู้แทนราษฎรของผู้นำฝ่ายบริหารทั้ง 11 ครั้ง มีดังต่อไปนี้ | |||
{| | {| | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 2 | | ครั้งที่ 1 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_11_กันยายน_2481|วันที่ 11 กันยายน 2481]] | ||
|[[ | | [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา]]เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |||
| ครั้งที่ 2 | |||
| [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_15_ตุลาคม_2488|วันที่ 15 ตุลาคม 2488]] | |||
| [[เสนีย์_ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]] เป็นนายกรัฐมนตรี | |||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 3 | | ครั้งที่ 3 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_12_มกราคม_2519|วันที่ 12 มกราคม 2519]] | ||
|[[ | | [[คึกฤทธิ์_ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 4 | | ครั้งที่ 4 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_19_มีนาคม_2526|วันที่ 19 มีนาคม 2526]] | ||
|[[ | | [[เปรม_ติณสูลานนท์|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 5 | | ครั้งที่ 5 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_1_พฤษภาคม_2529|วันที่ 1 พฤษภาคม 2529]] | ||
|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี | | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 6 | | ครั้งที่ 6 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_29_เมษายน_2531|วันที่ 29 เมษายน 2531]] | ||
|พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี | | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 7 | | ครั้งที่ 7 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_30_มิถุนายน_2535|วันที่ 30 มิถุนายน 2535]] | ||
|นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] เป็นนายกรัฐมนตรี | | นาย[[อานันท์_ปันยารชุน|อานันท์ ปันยารชุน]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 8 | | ครั้งที่ 8 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_19_พฤษภาคม_2538|วันที่ 19 พฤษภาคม 2538]] | ||
|นาย[[ชวน หลีกภัย]] เป็นนายกรัฐมนตรี | | นาย[[ชวน_หลีกภัย|ชวน หลีกภัย]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 9 | | ครั้งที่ 9 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_28_กันยายน_2539|วันที่ 28 กันยายน 2539]] | ||
|นาย[[บรรหาร ศิลปอาชา]] เป็นนายกรัฐมนตรี | | นาย[[บรรหาร_ศิลปอาชา|บรรหาร ศิลปอาชา]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 10 | | ครั้งที่ 10 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_9_พฤศจิกายน_2543|วันที่ 9 พศจิกายน 2543]] | ||
|นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี | | นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|- | |- | ||
|ครั้งที่ 11 | | ครั้งที่ 11 | ||
|[[ | | [[การยุบสภาผู้แทนราษฎร_วันที่_24_กุมภาพันธ์_2549|วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549]] | ||
|[[ | | [[ทักษิณ_ชินวัตร|พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] เป็นนายกรัฐมนตรี | ||
|} | |} | ||
==อ้างอิง== | == อ้างอิง == | ||
<references/> | <references /> | ||
==บรรณานุกรม== | == บรรณานุกรม == | ||
กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง, '''“การยุบสภาในประเทศไทย,”''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2530. | กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง, '''“การยุบสภาในประเทศไทย,”''' (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2530. | ||
คนิณ บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์,''' กรุงเทพ : สุภาพใจ, 2548. | คนิณ บุญสุวรรณ, '''ปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์,''' กรุงเทพ : สุภาพใจ, 2548. | ||
ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, '''ปัญหาทางกฎหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย,''' หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546. | ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, '''ปัญหาทางกฎหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย,''' หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546. | ||
วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ,''' พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : แสงสุทธิการพิมพ์, 2523. | วิษณุ เครืองาม, '''กฎหมายรัฐธรรมนูญ,''' พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : แสงสุทธิการพิมพ์, 2523. | ||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ, '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550. | สภาร่างรัฐธรรมนูญ, '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550,''' สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550. | ||
โอภาส ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร”, '''รัฐสภาสาร 4''' (ธันวาคม 2499) : 10. | โอภาส ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร”, '''รัฐสภาสาร 4''' (ธันวาคม 2499) : 10. | ||
[[ | [[Category:การยุบสภา]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:01, 17 มีนาคม 2560
ผู้เรียบเรียง วิริยะ คล้ายแดง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
“การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจทำได้เสมอ นอกเสียจากว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมลงพระปรมาภิไธย… แต่ก็ไม่เคยปรากฏลักษณะเช่นนี้มาก่อน”[1] วลีดังกล่าว คือคำให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เมื่อปีพ.ศ. 2529 ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารและมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ก่อนที่จะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะเพียง 2 วัน เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และใช้รูปแบบระบบรัฐสภา แบ่งแยกผู้ใช้อำนาจออกเป็นสามฝ่าย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ แต่ระบบรัฐสภานี้ มิได้ยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจเด็ดขาด หมายถึงยินยอมให้ฝ่ายบริหารเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วยการเข้ารับหน้าที่บริหารงานโดยความไว้วางใจของรัฐสภา และรัฐสภาอาจถูกควบคุมได้โดยฝ่ายบริหาร ซึ่งการควบคุมเช่นนี้แท้จริงแล้วเป็นการควบคุมโดยผ่านทางประมุขของรัฐนั่นเอง โดยนายกรัฐมนตรีอาจเสนอให้ประมุขของรัฐยุบสภานิติบัญญัติได้ในกรณีเกิดความขัดแย้งกัน[2]
สัมพันธภาพระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเช่นนี้ เกี่ยวเนื่องกันด้วยอำนาจ ที่มีลักษณะของการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างไม่เด็ดขาดเพื่อการควบคุมและถ่วงดุลย์อำนาจต่อกัน มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีน้ำหนักมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง[3] ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติโดยผ่านทางประมุขของรัฐ และเป็นวิธีการหนึ่งของหลักการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารอาจจำเป็นต้องใช้กลไกการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออุทธรณ์ต่อประชาชน หรือหมายถึงการให้ประชาชนตัดสินปัญหาข้อขัดแย้ง โดยใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือชี้ขาดว่า ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติการตรงต่อเจตจำนงของประชาชน
ความหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คำว่า “การยุบสภาผู้แทนราษฎร” อาจกล่าวหรือระบุแค่เพียง “การยุบสภา” ซึ่งมีความหมาย เช่นเดียวกันกับคำว่า การยุบสภาผู้แทนราษฎร
ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม[4] ให้ความหมายคำว่า “การยุบสภา” ที่ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การที่ประมุขของรัฐโดยคำแนะนำของฝ่ายบริหารประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบวาระ
สำหรับปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย โดย คณิน บุญสุวรรณ[5] ให้ความหมายของการยุบสภา หมายถึง การดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งต้องพ้นจากสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรไปพร้อมกัน และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาที่ว่านี้ใช้กับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับวุฒิสภา เพราะไม่มีการยุบวุฒิสภา การยุบสภาผู้แทนราษฏร เป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎร
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (2552) บทบัญญัติเรื่องการยุบสภาได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับ ยกเว้น พระราชบัญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักร พุทธศักราช 2519 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. พุทธศักราช 2534[6] ซึ่งบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาของรัฐธรรมนูญจะมีหลักการคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ว่า
“มาตรา 108 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน"
ในช่วงเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ[7] ได้บันทึกเจตนารมณ์ของบทบัญญัติ มาตรา 108 ไว้ว่า
1) เจตนารมณ์เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร
2) หลักการเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นครั้งแรก
3) หลักการคงเดิมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่แก้ไขเรื่องกำหนดระยะเวลา โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันยุบสภา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีระยะเวลาพอสมควรในการเตรียมการเลือกตั้งให้พร้อม เนื่องจากการเลือกตั้งหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นโดยกะทันหันไม่มีผู้ใดทราบล่วงหน้า
ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ[8] ได้วิเคราะห์เรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไว้ดังต่อไปนี้
1. ผู้มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ บัญญัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่….” ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาหัวหน้าของฝ่ายบริหารได้แก่ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ถวายคำแนะนำและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง แต่พระมหากษัตริย์อาจปฏิเสธการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้โดยการไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แม้รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติถึงพระราชอำนาจดังกล่าว ไว้ก็ตาม ถือว่าเป็นพระราชอำนาจตามพระราชอัธยาศัยอย่างหนึ่งตามประเพณีการปกครองแผ่นดิน เมื่อทั้งประมุขของรัฐได้แก่พระมหากษัตริย์ และหัวหน้าของฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกรัฐมนตรีต่างใช้อำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยลำพังเองมิได้ต้องร่วมกันใช้อำนาจดังกล่าว หากฝ่ายใดปฏิเสธไม่ใช้อำนาจดังกล่าว การยุบสภาผู้แทนราษฎรก็เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงถือเป็นอำนาจร่วมระหว่างประมุขของรัฐกับหัวหน้าของฝ่ายบริหาร
2. รูปแบบของการยุบสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรทุกฉบับ บัญญัติให้รูปแบบของการยุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 108 ว่า “…การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา…”
3. ผลทางกฎหมายที่เกิดจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3.1 ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่งทันที เนื่องจากเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกัน และต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะเมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ ส่วนสมาชิกวุฒิสภายังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะครบวาระ เพราะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่บัญญัติให้สมาชิกภาพของวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลงเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3.2 ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะไม่มีสภาผู้แทนราษฎรไว้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปแล้ว คณะรัฐมนตรีก็อยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ แต่คณะรัฐมนตรียังคงปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังต่อไปนี้
1) ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
2) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
3) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
4) ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการเลือกตั้งกำหนด
3.3 ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร หรือค้างการพิจารณาในวุฒิสภาเป็นอันตกไป โดยที่ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา รัฐสภา ได้แก่ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียแล้วก็ไม่มีรัฐสภาที่จะให้คำแนะนำและยินยอม ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาที่มาจากการริเริ่มเสนอของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ก็ต้องตกไปด้วย เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่มีอันตกไป อาจนำกลับเข้ามาพิจารณาต่อเนื่องในสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ได้อีกตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 153 บัญญัติว่า “ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบต่อไปได้ ถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอภายในหกสิบวัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป และรัฐสภามีมติเห็นชอบด้วย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีมิได้ร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป”
4. ระยะเวลาที่มีผลทางกฎหมาย โดยทั่วไป วันที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรกับวันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมักเป็นวันเดียวกัน แต่หากเป็นคนละวันกันตามกฎหมายจะถือว่ามีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามวันที่ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา เพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะมีผลทางกฎหมายต้องนับแต่วันที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในราชกิจจานุเบกษา
5. การห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ในมาตรา 158 ว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี... และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ … ” การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการเสนอญัตติขอเปิดอภิปราย ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีนั้น เพื่อจำกัดตัดทอนอำนาจของนายกรัฐมนตรีลงไปว่าระหว่างที่ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ในสภา นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาไม่ได้จนกว่าญัตตินั้นจะลงมติแล้ว เพราะไม่เช่นนั้นพอมีการยื่นญัตติดังกล่าวนายกรัฐมนตรีอาจจะเห็นว่าชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่รวมทั้งเสียงข้างมากในสภาอาจทำให้ตนแพ้ญัตติไม่ไว้วางใจและชิงยุบสภาเสียก่อน ถ้าอย่างนั้นมันก็เกิดการเสียดุลขึ้นในระบบรัฐสภา คือฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีทางไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้เลย ไม่มีทางอภิปรายได้ เพราะนายกรัฐมนตรียุบสภาได้ตลอดเวลา ซึ่งบทบัญญัติในประเด็นนี้เริ่มมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่เดิมมิได้กำหนดไว้ และในประวัติศาสตร์การยุบสภาผู้แทนราษฎร เคยมีกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างที่มีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น คือในสมัย รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคกิจสังคมเป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาลที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพียง 18 คน ประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค มีความขัดแย้งกันตลอดแม้จะได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีก็ตาม ประกอบกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2519 จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 ก่อนวันเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 วัน
การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย
ในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา จนถึงปัจจุบัน (2552) ปรากฏว่ามีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วรวม 11 ครั้ง อาจจะจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา[9] ได้ดังต่อไปนี้
1) เพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้เป็นเครื่องมือถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ
2) เพื่ออุทธรณ์ข้อขัดแย้งต่อประชาชน
3) เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล
4) เพื่อหาทางออกหรือทางตันเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองการปกครอง
เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็พบว่าแต่ละครั้งของการยุบสภาผู้แทนราษฎรล้วนมีเหตุการณ์และเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุแตกต่างกันไป ซึ่งพอสรุปถึงสาเหตุใหญ่ 3 ประการ[10] ได้แก่ 1) ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ 2) ความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล และ 3) ปัญหาทางการเมืองหรือวิกฤตการณ์ทางการเมือง
ลำดับเหตุการณ์การยุบสภาผู้แทนราษฎรของผู้นำฝ่ายบริหารทั้ง 11 ครั้ง มีดังต่อไปนี้
ครั้งที่ 1 | วันที่ 11 กันยายน 2481 | พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 2 | วันที่ 15 ตุลาคม 2488 | ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 3 | วันที่ 12 มกราคม 2519 | ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 4 | วันที่ 19 มีนาคม 2526 | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 5 | วันที่ 1 พฤษภาคม 2529 | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 6 | วันที่ 29 เมษายน 2531 | พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 7 | วันที่ 30 มิถุนายน 2535 | นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 8 | วันที่ 19 พฤษภาคม 2538 | นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 9 | วันที่ 28 กันยายน 2539 | นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 10 | วันที่ 9 พศจิกายน 2543 | นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี |
ครั้งที่ 11 | วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี |
อ้างอิง
- ↑ กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง, 2530. “การยุบสภาในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า 38.
- ↑ วิษณุ เครืองาม, 2523. กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : แสงสุทธิการพิมพ์, หน้า 194 – 195.
- ↑ กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง อ้างถึง โอภาส ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร”, รัฐสภาสาร 4 (ธันวาคม 2499) : 10.
- ↑ วิษณุ เครืองาม, 2523. อ้างแล้ว, หน้า 284.
- ↑ คนิณ บุญสุวรรณ, 2548. ปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพ : สุภาพใจ, หน้า 724.
- ↑ ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2546. ปัญหาทางกฎหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย, หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หน้า 39.
- ↑ สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2550. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 108.
- ↑ คัดลอกและย่อความจาก ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, อ้างแล้ว, หน้า 15-23.
- ↑ กาญจนา เกิดโพธิ์รอด, อ้างแล้ว, หน้า 137-138.
- ↑ ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, อ้างแล้ว, หน้า 23.
บรรณานุกรม
กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง, “การยุบสภาในประเทศไทย,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2530.
คนิณ บุญสุวรรณ, ปทานุกรมคำศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์, กรุงเทพ : สุภาพใจ, 2548.
ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, ปัญหาทางกฎหมายของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย, หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546.
วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : แสงสุทธิการพิมพ์, 2523.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ, เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
โอภาส ชัยนาม, “ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร”, รัฐสภาสาร 4 (ธันวาคม 2499) : 10.