ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายวิลาศ โอสถานนท์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''วิลาศ โอสถานนท์'''
'''วิลาศ โอสถานนท์'''


          วิลาศ โอสถานนท์ อดีตประธาน[[พฤฒสภา]]และ[[ประธานรัฐสภา]]คนแรก อดีต[[รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรก [[คณะราษฎร]]สายพลเรือนใน[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] พ.ศ. 2475 และสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย]]
          วิลาศ โอสถานนท์ อดีตประธาน[[พฤฒสภา|พฤฒสภา]]และ[[ประธานรัฐสภา|ประธานรัฐสภา]]คนแรก อดีต[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรก [[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]สายพลเรือนใน[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] พ.ศ. 2475 และสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย|ขบวนการเสรีไทย]]


 
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
'''ประวัติส่วนบุคคล'''
'''ประวัติส่วนบุคคล'''


          นายวิลาศ โอสถานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร์ (ชุบ โอสถานนท์) และคุณหญิงนิล โดยที่บิดาได้รับทุนการศึกษาจากเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ [[สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]จึงได้ประทานนามชื่อบุตรของพระยาประชากิจกรจักร์ว่า “วิลาศ” ซึ่งเป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนใช้เรียกชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ ส่วนนามสกุลพระยาประชากิจกรจักร์ได้รับพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ครั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชพินิจจัย [[#_ftn1|[1]]]
          นายวิลาศ โอสถานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร์ (ชุบ โอสถานนท์) และคุณหญิงนิล โดยที่บิดาได้รับทุนการศึกษาจากเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ [[สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]จึงได้ประทานนามชื่อบุตรของพระยาประชากิจกรจักร์ว่า “วิลาศ” ซึ่งเป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนใช้เรียกชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ ส่วนนามสกุลพระยาประชากิจกรจักร์ได้รับพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ครั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชพินิจจัย [[#_ftn1|[1]]]


          นายวิลาศเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อ พ.ศ. 2453 จนจบชั้นมัธยมปลาย ในระหว่างที่เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงได้มีโอกาสตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบ[[มณฑลปักษ์ใต้]]เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยที่ขณะนั้นบิดานายวิลาสเป็นเจ้าเมืองภูเก็ต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จเพราะเป็นพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะให้ลูกไปเห็นพ่อที่เป็นเจ้าเมืองอยู่ตามรายทางที่เสด็จพระราชดำเนิน[[#_ftn2|[2]]]
          นายวิลาศเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อ พ.ศ. 2453 จนจบชั้นมัธยมปลาย ในระหว่างที่เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงได้มีโอกาสตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบ[[มณฑลปักษ์ใต้|มณฑลปักษ์ใต้]]เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยที่ขณะนั้นบิดานายวิลาสเป็นเจ้าเมืองภูเก็ต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จเพราะเป็นพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะให้ลูกไปเห็นพ่อที่เป็นเจ้าเมืองอยู่ตามรายทางที่เสด็จพระราชดำเนิน[[#_ftn2|[2]]]


          หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยได้รับพระราชทานทุนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกใช้ทุนพระราชทานสำหรับกรมชลประทานและภายหลังได้เปลี่ยนเป็นทุนพระราชทานสำหรับกระทรวงเกษตราธิการ จนสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี (B.D.F.A.) จาก City & Guild Engineering College School of University of London สาขาวิศวกรรมและสาขาเกษตรกรรมจาก Sylhale Agricultural College, Devenshire [[#_ftn3|[3]]]
          หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยได้รับพระราชทานทุนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกใช้ทุนพระราชทานสำหรับกรมชลประทานและภายหลังได้เปลี่ยนเป็นทุนพระราชทานสำหรับกระทรวงเกษตราธิการ จนสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี (B.D.F.A.) จาก City & Guild Engineering College School of University of London สาขาวิศวกรรมและสาขาเกษตรกรรมจาก Sylhale Agricultural College, Devenshire [[#_ftn3|[3]]]
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 26:
'''เหตุกาณ์สำคัญ'''
'''เหตุกาณ์สำคัญ'''


          นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการชักชวนจากนาย[[ทวี_บุณยเกตุ]] เพื่อนนักเรียนอังกฤษและเป็นเพื่อนร่วมงานที่กระทรวงเกษตราธิการให้เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ภายหลังจากที่เดินทางกลับมาจากประเทศอังกฤษได้ไม่นาน[[#_ftn4|[4]]]  โดยในวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] นายวิลาศได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมปฏิบัติการกับนายควง อภัยวงค์ ในการตัดสายโทรศัพท์ที่ศูนย์วัดเลียบเพื่อตัดการติดต่อสื่อสาร ดังที่นายควง อภัยวงศ์ได้บันทึกว่า ''"...ต่อมาคุณประยูรกลับมาบอกว่าต้องเอารถลื้อละ ผมจึงว่าจะเอายังไง น้ำมันจะมีหรือไม่ก็ไม่รู้ เขาบอกว่า เถอะน่าไปเถอะ และเขาเอาคุณวิลาศมาด้วย คุณวิลาศแต่งตัวเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กปลอม เพราะแกไม่ได้เป็นทหาร แล้วก็พากันขึ้นขับรถผม เรานั่งรถไปบ้านคุณประจวบ... เราไปถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นเวลาตีสี่กว่าแล้ว เขาบอกว่าเวลาตีห้าต้องเสร็จหมด”''[[#_ftn5|[5]]] ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวได้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี
          นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการชักชวนจากนาย[[ทวี_บุณยเกตุ|ทวี_บุณยเกตุ]] เพื่อนนักเรียนอังกฤษและเป็นเพื่อนร่วมงานที่กระทรวงเกษตราธิการให้เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ภายหลังจากที่เดินทางกลับมาจากประเทศอังกฤษได้ไม่นาน[[#_ftn4|[4]]]  โดยในวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] นายวิลาศได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมปฏิบัติการกับนายควง อภัยวงค์ ในการตัดสายโทรศัพท์ที่ศูนย์วัดเลียบเพื่อตัดการติดต่อสื่อสาร ดังที่นายควง อภัยวงศ์ได้บันทึกว่า ''"...ต่อมาคุณประยูรกลับมาบอกว่าต้องเอารถลื้อละ ผมจึงว่าจะเอายังไง น้ำมันจะมีหรือไม่ก็ไม่รู้ เขาบอกว่า เถอะน่าไปเถอะ และเขาเอาคุณวิลาศมาด้วย คุณวิลาศแต่งตัวเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กปลอม เพราะแกไม่ได้เป็นทหาร แล้วก็พากันขึ้นขับรถผม เรานั่งรถไปบ้านคุณประจวบ... เราไปถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นเวลาตีสี่กว่าแล้ว เขาบอกว่าเวลาตีห้าต้องเสร็จหมด”''[[#_ftn5|[5]]] ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวได้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี


          ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้แทนราษฎรชั่วคราว]]จาก[[คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร]]ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว มีจำนวน 70 นาย [[#_ftn6|[6]]] 
          ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[ผู้แทนราษฎรชั่วคราว|ผู้แทนราษฎรชั่วคราว]]จาก[[คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร|คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร]]ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว มีจำนวน 70 นาย [[#_ftn6|[6]]] 


          1 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ 16 มีนาคม พ.ศ.2478 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึง 1 มิถุนายน พ.ศ.2478 ได้เป็นข้าหลวงพาณิชย์ต่างประเทศคนแรกของกระทรวงเศรษฐการประจำประเทศจีน โดยมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง
          1 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ 16 มีนาคม พ.ศ.2478 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึง 1 มิถุนายน พ.ศ.2478 ได้เป็นข้าหลวงพาณิชย์ต่างประเทศคนแรกของกระทรวงเศรษฐการประจำประเทศจีน โดยมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง


          1 มกราคม พ.ศ.2482 นายวิลาศ ได้เป็นหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการ เมื่อสำนักงานปรับโครงสร้างเป็นกรมโฆษณาการ นายวิลาศได้เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ในระหว่างที่เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[รัฐมนตรีลอย]]ใน[[รัฐบาล]]ของ[[จอมพล_ป.พิบูลสงคราม]]เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ต่อมาได้ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 แต่เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกและขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 อีกไม่กี่วันถัดมาในวันที่ 17 ธันวาคม นายวิลาศได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีพร้อมกับนาย[[ปรีดี_พนมยงค์]] เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นไม่ชอบบุคคลทั้งสอง[[#_ftn7|[7]]]โดยคุณหญิงอมร สีบุญเรืองภรรยาของนายวิลาศเป็นธิดาของนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเจ้าของหนังสือพิมพ์จีโนสยามวารศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ[[จีนคณะชาติ]][[#_ftn8|[8]]] นายวิลาสจึงเข้าร่วมปฏิบัติงานในขบวนการเสรีไทยกับนายปรีดี
          1 มกราคม พ.ศ.2482 นายวิลาศ ได้เป็นหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการ เมื่อสำนักงานปรับโครงสร้างเป็นกรมโฆษณาการ นายวิลาศได้เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ในระหว่างที่เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[รัฐมนตรีลอย|รัฐมนตรีลอย]]ใน[[รัฐบาล|รัฐบาล]]ของ[[จอมพล_ป.พิบูลสงคราม|จอมพล_ป.พิบูลสงคราม]]เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ต่อมาได้ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 แต่เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกและขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในวันที่ [[8_ธันวาคม_พ.ศ._2484]] อีกไม่กี่วันถัดมาในวันที่ 17 ธันวาคม นายวิลาศได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีพร้อมกับนาย[[ปรีดี_พนมยงค์|ปรีดี พนมยงค์]] เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นไม่ชอบบุคคลทั้งสอง[[#_ftn7|[7]]]โดยคุณหญิงอมร สีบุญเรืองภรรยาของนายวิลาศเป็นธิดาของนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเจ้าของหนังสือพิมพ์จีโนสยามวารศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ[[จีนคณะชาติ|จีนคณะชาติ]][[#_ftn8|[8]]] นายวิลาสจึงเข้าร่วมปฏิบัติงานในขบวนการเสรีไทยกับนายปรีดี


          หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2]] ยุติลง หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์_ปราโมช]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศ[[การยุบสภา|ยุบสภา]]ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ [[18_ตุลาคม_พ.ศ._2488]] โดยกำหนดให้มีการ[[เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้ลงสมัครแข่งขันกับนายควง อภัยวงศ์ ในจังหวัดพระนคร โดยทั้งคู่เป็น[[คณะราษฎร]]สายพลเรือน ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 มาด้วยกัน และได้รับยศพันตรีเหล่าทหารสื่อสารในช่วง[[สงครามอินโดจีน]]มาพร้อมกัน นายควงใช้คำขวัญที่ว่า "[[เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง]]" ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง เป็นผู้ชนะ[[การเลือกตั้ง]][[#_ftn9|[9]]]
          หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] ยุติลง หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์_ปราโมช|เสนีย์ ปราโมช]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศ[[การยุบสภา|ยุบสภา]]ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ [[18_ตุลาคม_พ.ศ._2488|18 ตุลาคม_พ.ศ. 2488]] โดยกำหนดให้มีการ[[เลือกตั้งทั่วไป|เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ [[6_มกราคม_พ.ศ._2489]] นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้ลงสมัครแข่งขันกับนายควง อภัยวงศ์ ในจังหวัดพระนคร โดยทั้งคู่เป็น[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]สายพลเรือน ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 มาด้วยกัน และได้รับยศพันตรีเหล่าทหารสื่อสารในช่วง[[สงครามอินโดจีน|สงครามอินโดจีน]]มาพร้อมกัน นายควงใช้คำขวัญที่ว่า "[[เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง|เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง]]" ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง เป็นผู้ชนะ[[การเลือกตั้ง|การเลือกตั้ง]][[#_ftn9|[9]]]


          วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2489]] ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของประเทศ กำหนดให้มี[[รัฐสภา]] ประกอบด้วยสภา 2 สภาคือ[[สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[พฤฒสภา]] โดยพฤฒสภาทำหน้าที่เสมือนสภาสูงเป็นครั้งแรก สมาชิกพฤตสภามาจาก[[การเลือกตั้งทางอ้อม]]ของประชาชน มีการกำหนดให้สมาชิกต้องมีคุณสมบัติที่แสดงถึงความอาวุโส และวุฒิที่แตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เช่น ต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบปีขึ้นไป และจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]]มีการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 นายวิลาศได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกพฤฒสภาและวันที่ 4 มิถุนายน ที่ประชุมสมาชิกพฤฒสภามีมติเลือกนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นประธานพฤฒสภาคนแรก ทำให้ได้เป็นประธานรัฐสภาคนแรก[[#_ftn11|[11]]] แต่นายวิลาศดำรงตำแหน่งประมุข[[ฝ่ายนิติบัญญัติ]]ได้ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]]เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในวันที่ [[9_มิถุนายน_พ.ศ._2489]] ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา และ[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน นายวิลาศได้ลาออกจากการเป็นประธานพฤฒสภาและเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อพลโท[[ผิน_ชุณหะวัณ]]ทำการ[[รัฐประหาร]]ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
          วันที่ [[9_พฤษภาคม_พ.ศ._2489]] ได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2489|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2489]] ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของประเทศ กำหนดให้มี[[รัฐสภา|รัฐสภา]] ประกอบด้วยสภา 2 สภาคือ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[พฤฒสภา|พฤฒสภา]] โดยพฤฒสภาทำหน้าที่เสมือนสภาสูงเป็นครั้งแรก สมาชิกพฤตสภามาจาก[[การเลือกตั้งทางอ้อม|การเลือกตั้งทางอ้อม]]ของประชาชน มีการกำหนดให้สมาชิกต้องมีคุณสมบัติที่แสดงถึงความอาวุโส และวุฒิที่แตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เช่น ต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบปีขึ้นไป และจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เป็นต้น[[#_ftn10|[10]]]มีการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 นายวิลาศได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกพฤฒสภาและวันที่ 4 มิถุนายน ที่ประชุมสมาชิกพฤฒสภามีมติเลือกนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นประธานพฤฒสภาคนแรก ทำให้ได้เป็นประธานรัฐสภาคนแรก[[#_ftn11|[11]]] แต่นายวิลาศดำรงตำแหน่งประมุข[[ฝ่ายนิติบัญญัติ|ฝ่ายนิติบัญญัติ]]ได้ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]]เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในวันที่ [[9_มิถุนายน_พ.ศ._2489|9 มิถุนายน พ.ศ. 2489]] ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา และ[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์|หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน นายวิลาศได้ลาออกจากการเป็นประธานพฤฒสภาและเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อพลโท[[ผิน_ชุณหะวัณ|ผิน ชุณหะวัณ]]ทำการ[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]]ในวันที่ [[8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490]]


 
 
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
'''          '''ภายหลังสงครามอินโดจีน นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้รับพระราชทานยศ พันตรีเหล่าทหารสื่อสารในคราวที่เป็นผู้เดินทางไปร่วมรับมอบดินแดนคืนจากรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสพร้อมกับพันตรี ควง อภัยวงศ์ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพิจารณากักควบคุมกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กรรมการอำนวยการบริษัท ไทยนิยมพาณิชย์ จำกัดและเป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ธนาคารเกษตร จำกัด [[#_ftn12|''''''[12]'''''']]
'''          '''ภายหลังสงครามอินโดจีน นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้รับพระราชทานยศ พันตรีเหล่าทหารสื่อสารในคราวที่เป็นผู้เดินทางไปร่วมรับมอบดินแดนคืนจากรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสพร้อมกับพันตรี ควง อภัยวงศ์ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพิจารณากักควบคุมกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กรรมการอำนวยการบริษัท ไทยนิยมพาณิชย์ จำกัดและเป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ธนาคารเกษตร จำกัด [[#_ftn12|''''''[12]'''''']]


          นายวิลาศ โอสถานนท์ ยังเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์) โดยดำริว่ากรมโฆษณาการควรจะมีวงดนตรีเป็นของตนเอง จึงได้ได้ดำเนินการร่วมกับ[[หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์]]และเป็นผู้ชักชวนครูเอื้อ สุนทรสนานมาเป็นหัวหน้าวงในปี พ.ศ.2482[[#_ftn13|[13]]]
          นายวิลาศ โอสถานนท์ ยังเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์) โดยดำริว่ากรมโฆษณาการควรจะมีวงดนตรีเป็นของตนเอง จึงได้ได้ดำเนินการร่วมกับ[[หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์|หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์]]และเป็นผู้ชักชวนครูเอื้อ สุนทรสนานมาเป็นหัวหน้าวงในปี พ.ศ.2482[[#_ftn13|[13]]]


          นายวิลาศได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ตาม[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร_พ.ศ._2502]]
          นายวิลาศได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ|สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ตาม[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร_พ.ศ._2502|ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502]]


          ชีวิตครอบครัวนายวิลาศ โอสถานนท์ สมรสกับคุณหญิงอมร สีบุญเรือง ต่อมาได้สมรสใหม่กับ นางบุญเรือน โอสถานนท์ นายวิลาศถึงแก่อนิจกรรมด้วยระบบหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 สิริอายุได้ 96 ปี 2 เดือน 5 วัน
          ชีวิตครอบครัวนายวิลาศ โอสถานนท์ สมรสกับคุณหญิงอมร สีบุญเรือง ต่อมาได้สมรสใหม่กับ นางบุญเรือน โอสถานนท์ นายวิลาศถึงแก่อนิจกรรมด้วยระบบหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 สิริอายุได้ 96 ปี 2 เดือน 5 วัน

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 20:59, 6 พฤษภาคม 2563

ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
 


วิลาศ โอสถานนท์

          วิลาศ โอสถานนท์ อดีตประธานพฤฒสภาและประธานรัฐสภาคนแรก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรก คณะราษฎรสายพลเรือนในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และสมาชิกขบวนการเสรีไทย

 

ประวัติส่วนบุคคล

          นายวิลาศ โอสถานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร์ (ชุบ โอสถานนท์) และคุณหญิงนิล โดยที่บิดาได้รับทุนการศึกษาจากเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงได้ประทานนามชื่อบุตรของพระยาประชากิจกรจักร์ว่า “วิลาศ” ซึ่งเป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนใช้เรียกชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ ส่วนนามสกุลพระยาประชากิจกรจักร์ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชพินิจจัย [1]

          นายวิลาศเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเมื่อ พ.ศ. 2453 จนจบชั้นมัธยมปลาย ในระหว่างที่เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงได้มีโอกาสตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยที่ขณะนั้นบิดานายวิลาสเป็นเจ้าเมืองภูเก็ต จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จเพราะเป็นพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะให้ลูกไปเห็นพ่อที่เป็นเจ้าเมืองอยู่ตามรายทางที่เสด็จพระราชดำเนิน[2]

          หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปลายได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยได้รับพระราชทานทุนจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกใช้ทุนพระราชทานสำหรับกรมชลประทานและภายหลังได้เปลี่ยนเป็นทุนพระราชทานสำหรับกระทรวงเกษตราธิการ จนสำเร็จการศึกษาเทียบเท่าปริญญาตรี (B.D.F.A.) จาก City & Guild Engineering College School of University of London สาขาวิศวกรรมและสาขาเกษตรกรรมจาก Sylhale Agricultural College, Devenshire [3]

          นายวิลาศ โอสถานนท์ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2472 ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าพนักงานนา กรมเกษตรจากนั้นเป็นผู้จัดการนาทดลองคลองรังสิต และย้ายไปรับราชการที่กรมสหกรณ์

 

เหตุกาณ์สำคัญ

          นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการชักชวนจากนายทวี_บุณยเกตุ เพื่อนนักเรียนอังกฤษและเป็นเพื่อนร่วมงานที่กระทรวงเกษตราธิการให้เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ภายหลังจากที่เดินทางกลับมาจากประเทศอังกฤษได้ไม่นาน[4]  โดยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นายวิลาศได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมปฏิบัติการกับนายควง อภัยวงค์ ในการตัดสายโทรศัพท์ที่ศูนย์วัดเลียบเพื่อตัดการติดต่อสื่อสาร ดังที่นายควง อภัยวงศ์ได้บันทึกว่า "...ต่อมาคุณประยูรกลับมาบอกว่าต้องเอารถลื้อละ ผมจึงว่าจะเอายังไง น้ำมันจะมีหรือไม่ก็ไม่รู้ เขาบอกว่า เถอะน่าไปเถอะ และเขาเอาคุณวิลาศมาด้วย คุณวิลาศแต่งตัวเป็นร้อยตรีทหารมหาดเล็กปลอม เพราะแกไม่ได้เป็นทหาร แล้วก็พากันขึ้นขับรถผม เรานั่งรถไปบ้านคุณประจวบ... เราไปถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นเวลาตีสี่กว่าแล้ว เขาบอกว่าเวลาตีห้าต้องเสร็จหมด”[5] ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวได้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

          ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นายวิลาศ โอสถานนท์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนราษฎรชั่วคราวจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจประกาศตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว มีจำนวน 70 นาย [6] 

          1 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ 16 มีนาคม พ.ศ.2478 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ จนถึง 1 มิถุนายน พ.ศ.2478 ได้เป็นข้าหลวงพาณิชย์ต่างประเทศคนแรกของกระทรวงเศรษฐการประจำประเทศจีน โดยมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง

          1 มกราคม พ.ศ.2482 นายวิลาศ ได้เป็นหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการ เมื่อสำนักงานปรับโครงสร้างเป็นกรมโฆษณาการ นายวิลาศได้เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการคนแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ในระหว่างที่เป็นอธิบดีกรมโฆษณาการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีลอยในรัฐบาลของจอมพล_ป.พิบูลสงครามเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ต่อมาได้ถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 แต่เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกและขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในวันที่ 8_ธันวาคม_พ.ศ._2484 อีกไม่กี่วันถัดมาในวันที่ 17 ธันวาคม นายวิลาศได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีพร้อมกับนายปรีดี พนมยงค์ เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นไม่ชอบบุคคลทั้งสอง[7]โดยคุณหญิงอมร สีบุญเรืองภรรยาของนายวิลาศเป็นธิดาของนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเจ้าของหนังสือพิมพ์จีโนสยามวารศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับจีนคณะชาติ[8] นายวิลาสจึงเข้าร่วมปฏิบัติงานในขบวนการเสรีไทยกับนายปรีดี

          หลังสงครามโลกครั้งที่_2 ยุติลง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม_พ.ศ. 2488 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6_มกราคม_พ.ศ._2489 นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้ลงสมัครแข่งขันกับนายควง อภัยวงศ์ ในจังหวัดพระนคร โดยทั้งคู่เป็นคณะราษฎรสายพลเรือน ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 มาด้วยกัน และได้รับยศพันตรีเหล่าทหารสื่อสารในช่วงสงครามอินโดจีนมาพร้อมกัน นายควงใช้คำขวัญที่ว่า "เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง" ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง[9]

          วันที่ 9_พฤษภาคม_พ.ศ._2489 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของประเทศ กำหนดให้มีรัฐสภา ประกอบด้วยสภา 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒสภา โดยพฤฒสภาทำหน้าที่เสมือนสภาสูงเป็นครั้งแรก สมาชิกพฤตสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อมของประชาชน มีการกำหนดให้สมาชิกต้องมีคุณสมบัติที่แสดงถึงความอาวุโส และวุฒิที่แตกต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เช่น ต้องมีอายุตั้งแต่สี่สิบปีขึ้นไป และจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เป็นต้น[10]มีการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 นายวิลาศได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกพฤฒสภาและวันที่ 4 มิถุนายน ที่ประชุมสมาชิกพฤฒสภามีมติเลือกนายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นประธานพฤฒสภาคนแรก ทำให้ได้เป็นประธานรัฐสภาคนแรก[11] แต่นายวิลาศดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติได้ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน นายวิลาศได้ลาออกจากการเป็นประธานพฤฒสภาและเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อพลโทผิน ชุณหะวัณทำการรัฐประหารในวันที่ 8_พฤศจิกายน_พ.ศ._2490

 

ผลงานอื่นๆ

          ภายหลังสงครามอินโดจีน นายวิลาศ โอสถานนท์ ได้รับพระราชทานยศ พันตรีเหล่าทหารสื่อสารในคราวที่เป็นผู้เดินทางไปร่วมรับมอบดินแดนคืนจากรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสพร้อมกับพันตรี ควง อภัยวงศ์ นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพิจารณากักควบคุมกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด กรรมการอำนวยการบริษัท ไทยนิยมพาณิชย์ จำกัดและเป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ธนาคารเกษตร จำกัด '[12]'

          นายวิลาศ โอสถานนท์ ยังเป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรีกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์) โดยดำริว่ากรมโฆษณาการควรจะมีวงดนตรีเป็นของตนเอง จึงได้ได้ดำเนินการร่วมกับหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์และเป็นผู้ชักชวนครูเอื้อ สุนทรสนานมาเป็นหัวหน้าวงในปี พ.ศ.2482[13]

          นายวิลาศได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502

          ชีวิตครอบครัวนายวิลาศ โอสถานนท์ สมรสกับคุณหญิงอมร สีบุญเรือง ต่อมาได้สมรสใหม่กับ นางบุญเรือน โอสถานนท์ นายวิลาศถึงแก่อนิจกรรมด้วยระบบหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 สิริอายุได้ 96 ปี 2 เดือน 5 วัน

 

หนังสือแนะนำ

วิลาศ โอสถานนท์. (2540).'อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ป.ม.', ท.ช., ต.จ., กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2542). 2475 การปฏิวัติสยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2)

 

บรรณานุกรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 การปฏิวัติสยาม. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2542 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 164.

นรนิติ เศรษฐบุตร, 9 พฤษภาคม 2489, เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=9_พฤษภาคม_พ.ศ._2489  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

นรนิติ เศรษฐบุตร, วิลาศ โอสถานนท์ ': ประธานพฤฒสภาคนแรก', เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/article/357385 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

นรนิติ เศรษฐบุตร, วิลาศ โอสถานนท์ ': ประธานพฤฒสภาคนแรก', เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/article/357385 เมื่อวันที่ 5 สิงวหาคม 2559.

บ้านคนรักสุนทราภรณ์,'ครบรอบ '10 ปี แห่งการจากไป ของ ท่านอดีตอธิบดี "วิลาศ โอสถานนท์", เข้าถึง http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/board/posting.asp?GID=2584 เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559

วรชาติ มีชูบท,รับ-ส่งเสด็จ (2), เข้าถึงจาก http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_10.htm  เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร,ตำนานเสรีไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว, 2546), หน้า 109.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,'การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. '2489, เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_มกราคม_พ.ศ._2489 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

วิลาศ โอสถานนท์, อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ป.ม., ท.ช., ต.จ., (กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์, 2540), หน้า 21.

สกุลโอสถานนท์,ประวัติสกุลโอสถานนท์,เข้าถึงจาก http://osathananda.com/history.php เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559

 

อ้างอิง

[1] สกุลโอสถานนท์,ประวัติสกุลโอสถานนท์,เข้าถึงจาก http://osathananda.com/history.php เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559

[2] วรชาติ มีชูบท,รับ-ส่งเสด็จ (2), เข้าถึงจาก http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_10.htm  เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559

[3] วิลาศ โอสถานนท์, อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ป.ม., ท.ช., ต.จ., (กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์, 2540), หน้า 21.

[4] วิลาศ โอสถานนท์, หน้า 72.

[5] นรนิติ เศรษฐบุตร, วิลาศ โอสถานนท์ ': ประธานพฤฒสภาคนแรก', เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/article/357385 เมื่อวันที่ 5 สิงวหาคม 2559.

[6] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2475 การปฏิวัติสยาม. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2542 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 164.

[7] นรนิติ เศรษฐบุตร, วิลาศ โอสถานนท์ ': ประธานพฤฒสภาคนแรก', เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/article/357385 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

[8] วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร,ตำนานเสรีไทย, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว, 2546), หน้า 109.

[9] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,'การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. '2489, เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_มกราคม_พ.ศ._2489 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

[10] นรนิติ เศรษฐบุตร, 9 พฤษภาคม 2489, เข้าถึงจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=9_พฤษภาคม_พ.ศ._2489  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

[11] นรนิติ เศรษฐบุตร, วิลาศ โอสถานนท์ ': ประธานพฤฒสภาคนแรก', เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/article/357385 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559.

[12] วิลาศ โอสถานนท์, อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันตรี วิลาศ โอสถานนท์ ป.ม., ท.ช., ต.จ., (กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์, 2540), หน้า 21-22.

[13] บ้านคนรักสุนทราภรณ์,'ครบรอบ '10 ปี แห่งการจากไป ของ ท่านอดีตอธิบดี "วิลาศ โอสถานนท์", เข้าถึง http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/board/posting.asp?GID=2584 เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ.2559