ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตุลาการรัฐธรรมนูญ (ศาลรัฐธรรมนูญ)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 5 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
==ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญ==
==ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญ==


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย ไม่มีบทบัญญัติอย่างชัดเจนว่าในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแล้วจะให้องค์กรใดทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่บัญญัติไว้ในมาตรา 62 ว่า “ท่านว่าสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เท่านั้น<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 1.</ref>
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย ไม่มีบทบัญญัติอย่างชัดเจนว่าในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแล้วจะให้องค์กรใดทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่บัญญัติไว้ในมาตรา 62 ว่า “ท่านว่า[[สภาผู้แทนราษฎร]]เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เท่านั้น<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 1.</ref>


ความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นผลมาจาก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้มีการตรา[[พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488]] ขึ้นเพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำการตามที่กฎหมายนี้ถือว่าเป็น[[อาชญากรสงคราม]] ไม่ว่าการกระทำนั้นจะได้กระทำไปก่อนหรือหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับก็ตาม
ความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นผลมาจาก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้มีการตรา[[พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488]] ขึ้นเพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำการตามที่กฎหมายนี้ถือว่าเป็น[[อาชญากรสงคราม]] ไม่ว่าการกระทำนั้นจะได้กระทำไปก่อนหรือหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับก็ตาม


ต่อมาเมื่อมีการจับกุมบุคคลดำเนินการฟ้องคดี และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ศาลฎีกาได้ตัดสินตามคำพิพากษาที่ 1/2489ว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 เฉพาะที่ลงโทษการกระทำก่อนวันใช้กฎหมายนี้เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังจึงขัดกับรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ ศาลฎีกาได้ยืนยันถึงอำนาจของศาลในการพิพากษาว่ากฎหมายของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าศาลเป็นองค์กรที่ใช้กฎหมายจึงต้องรู้ว่ากฎหมายนั้นใช้บังคับได้หรือไม่ อีกทั้งการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ อำนาจทั้งสามอำนาจคือนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ ย่อมมีอำนาจยับยั้งและควบคุมกัน ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคง เมื่อสภาผู้แทนราษฎรออกกฎหมายมาไม่ถูกต้องหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็มีอำนาจแสดงความไม่ถูกต้องนั้นได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าจำเป็นต้องมีผู้มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่และศาลเป็นผู้มีอำนาจนั้น เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถที่จะตีความได้ว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ตรากฎหมายขึ้นเอง ส่วนฝ่ายบริหารนั้นก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ตีความว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เช่นเดียวกัน<ref>เรื่องเดียวกัน, 2-3.</ref>
ต่อมาเมื่อมีการจับกุมบุคคลดำเนินการฟ้องคดี และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ศาลฎีกาได้ตัดสินตามคำพิพากษาที่ 1/2489ว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 เฉพาะที่ลงโทษการกระทำก่อนวันใช้กฎหมายนี้เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังจึงขัดกับรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ ศาลฎีกาได้ยืนยันถึงอำนาจของศาลในการพิพากษาว่ากฎหมายของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าศาลเป็นองค์กรที่ใช้กฎหมายจึงต้องรู้ว่ากฎหมายนั้นใช้บังคับได้หรือไม่ อีกทั้งการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ อำนาจทั้งสามอำนาจคือนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ ย่อมมีอำนาจยับยั้งและควบคุมกัน ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคง เมื่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]]ออกกฎหมายมาไม่ถูกต้องหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็มีอำนาจแสดงความไม่ถูกต้องนั้นได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าจำเป็นต้องมีผู้มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่และศาลเป็นผู้มีอำนาจนั้น เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถที่จะตีความได้ว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ตรากฎหมายขึ้นเอง ส่วนฝ่ายบริหารนั้นก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ตีความว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เช่นเดียวกัน<ref>เรื่องเดียวกัน, 2-3.</ref>


จากผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยนั้นไม่พอใจที่ศาลได้ล่วงล้ำเข้ามาในหน้าที่ของสภาในการตีความรัฐธรรมนูญ มีการเสนอ[[ญัตติ]]ให้สภาตีความ มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 7 คน และคณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2475 เป็นอำนาจของเด็ดขาดของสภาผู้แทนราษฎร
จากผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยนั้นไม่พอใจที่ศาลได้ล่วงล้ำเข้ามาในหน้าที่ของสภาในการตีความรัฐธรรมนูญ มีการเสนอ[[ญัตติ]]ให้สภาตีความ มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 7 คน และคณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2475 เป็นอำนาจของเด็ดขาดของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]


เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างศาลและสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2489 จึงกำหนดให้มีองค์กรพิเศษทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรพิเศษนี้เรียกว่า “[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]”<ref>สมคิด เลิศไพฑูรย์, '''ตุลาการรัฐธรรมนูญ''' (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), หน้า 10-12.</ref> รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีจำนวน 8 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (ซึ่งมีข้อสังเกตคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทุกฉบับจะกำหนดให้[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]ทำหน้าที่วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ยกเว้นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ)<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรนูญ ''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), 3.</ref>
เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างศาลและสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2489 จึงกำหนดให้มีองค์กรพิเศษทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรพิเศษนี้เรียกว่า “[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]”<ref>สมคิด เลิศไพฑูรย์, '''ตุลาการรัฐธรรมนูญ''' (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), หน้า 10-12.</ref> รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีจำนวน 8 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (ซึ่งมีข้อสังเกตคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทุกฉบับจะกำหนดให้[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]ทำหน้าที่วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ยกเว้นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ)<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรนูญ ''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), 3.</ref>
บรรทัดที่ 25: บรรทัดที่ 25:
องค์ประกอบของ[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]] ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 องค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยส่วนใหญ่เป็นโดยตำแหน่งและอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการกำหนดจำนวนและองค์ประกอบของตุลาการรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน เช่นการกำหนดตำแหน่งให้[[ประธานศาลฎีกา]] [[อธิบดีศาลอุทธรณ์]] [[อธิบดีกรมอัยการ]] [[อัยการสูงสุด]]เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีตำแหน่งประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้การกำหนดให้[[ประธานรัฐสภา]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] [[ประธานวุฒิสภา]] ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มาดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การแสดงบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อความเป็นกลางในการวินิจฉัยข้อขัดแย้งที่เกิดจากรัฐธรรมนูญได้ สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีเพียงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่กำหนดให้ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นผู้แต่งตั้ง โดยที่บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งส่วนใหญ่จะเป็นนักกฎหมาย อย่างไรก็ดี หน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้มีแต่เฉพาะวินิจฉัยการขัดกันของกฎหมายเท่านั้น แต่มีหน้าที่อื่นเช่น ปัญหาระหว่างอำนาจศาล การวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติของสมาชิกสภา เป็นต้น<ref>สวัสดิการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 พร้อมด้วยการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''' (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, 2531, 350, อ้างถึงใน สมคิด เลิศไพฑูรย์, '''ตุลาการรัฐธรรมนูญ ''' (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), 38.</ref>
องค์ประกอบของ[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]] ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 องค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยส่วนใหญ่เป็นโดยตำแหน่งและอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการกำหนดจำนวนและองค์ประกอบของตุลาการรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน เช่นการกำหนดตำแหน่งให้[[ประธานศาลฎีกา]] [[อธิบดีศาลอุทธรณ์]] [[อธิบดีกรมอัยการ]] [[อัยการสูงสุด]]เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีตำแหน่งประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้การกำหนดให้[[ประธานรัฐสภา]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] [[ประธานวุฒิสภา]] ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มาดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การแสดงบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อความเป็นกลางในการวินิจฉัยข้อขัดแย้งที่เกิดจากรัฐธรรมนูญได้ สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีเพียงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่กำหนดให้ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นผู้แต่งตั้ง โดยที่บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งส่วนใหญ่จะเป็นนักกฎหมาย อย่างไรก็ดี หน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้มีแต่เฉพาะวินิจฉัยการขัดกันของกฎหมายเท่านั้น แต่มีหน้าที่อื่นเช่น ปัญหาระหว่างอำนาจศาล การวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติของสมาชิกสภา เป็นต้น<ref>สวัสดิการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 พร้อมด้วยการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ''' (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, 2531, 350, อ้างถึงใน สมคิด เลิศไพฑูรย์, '''ตุลาการรัฐธรรมนูญ ''' (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), 38.</ref>


จากการที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ก่อน ปีพ.ศ. 2540 ถูกมองว่ามีลักษณะเป็นองค์กรทางการเมืองมากกว่าศาลและอาจถูกครอบงำได้ง่าย ในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]จึงวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนวิธีการพิจารณาของ[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]ให้อยู่ในรูปของศาล เรียกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มิได้มาจากผู้ดำรงตำแหน่งประจำ เช่น ประธานวุฒิสภา [[ประธานรัฐสภา]] เหมือนอย่างในอดีต ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการขัดกันในตำแหน่งหน้าที่ และเพื่อประกันความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาและวินิจฉัยคดี โดยกำหนดให้มีกระบวนการสรรหาและเลือกโดยเฉพาะ<ref>สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, '''พัฒนาการองค์กรอิสระในประเทศไทย กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ''' (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2550), หน้า 29.</ref> อย่างไรก็ตามมีการพิจารณาว่า กระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดยังมีความบกพร่อง เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมีความไม่เหมาะสม มีความไม่เที่ยงธรรม แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติว่าด้วยองค์ประกอบของกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันฝ่ายการเมืองเข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการสรรหามากเกินไป ทำให้ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร<ref>เรื่องเดียวกัน, 30.</ref>
จากการที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ก่อน ปีพ.ศ. 2540 ถูกมองว่ามีลักษณะเป็นองค์กรทางการเมืองมากกว่าศาลและอาจถูกครอบงำได้ง่าย ในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]จึงวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนวิธีการพิจารณาของ[[คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ]]ให้อยู่ในรูปของศาล เรียกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มิได้มาจากผู้ดำรงตำแหน่งประจำ เช่น [[ประธานวุฒิสภา]] [[ประธานรัฐสภา]] เหมือนอย่างในอดีต ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการขัดกันในตำแหน่งหน้าที่ และเพื่อประกันความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาและวินิจฉัยคดี โดยกำหนดให้มีกระบวนการสรรหาและเลือกโดยเฉพาะ<ref>สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, '''พัฒนาการองค์กรอิสระในประเทศไทย กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ''' (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2550), หน้า 29.</ref> อย่างไรก็ตามมีการพิจารณาว่า กระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดยังมีความบกพร่อง เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมีความไม่เหมาะสม มีความไม่เที่ยงธรรม แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติว่าด้วยองค์ประกอบของกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันฝ่ายการเมืองเข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการสรรหามากเกินไป ทำให้ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร<ref>เรื่องเดียวกัน, 30.</ref>


เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร [[นายกรัฐมนตรี]] โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตรย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง คือ[[ประธานศาลฎีกา]]และ[[ประธานศาลปกครองสูงสุด]] ส่วน[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]อีก 7 คนเป็นบุคคลที่มาจากองค์กรศาลทั้งหมดเข้าทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล[[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร]] [[นายกรัฐมนตรี]] โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตรย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง คือ[[ประธานศาลฎีกา]]และ[[ประธานศาลปกครองสูงสุด]] ส่วน[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]อีก 7 คนเป็นบุคคลที่มาจากองค์กรศาลทั้งหมดเข้าทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ


และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง องค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะแตกต่างที่จำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ,'''(กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี. เพรส จำกัด), 2551. 143-150.</ref>
และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง องค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะแตกต่างที่จำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ,'''(กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี. เพรส จำกัด), 2551. 143-150.</ref>
บรรทัดที่ 38: บรรทัดที่ 38:
'''อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อนปี พ.ศ. 2540 และพ.ศ. 2549'''
'''อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อนปี พ.ศ. 2540 และพ.ศ. 2549'''


อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คือการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 นอกจากจะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีอำนาจในการวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก[[วุฒิสภา]] ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประการคือ วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานั้นมีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างการยับยั้งของ[[วุฒิสภา]]หรือไม่ วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีที่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลอื่นหรือระหว่างศาลอื่นด้วยกัน และวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย[[พระมหากษัตริย์]]เพื่อ[[ลงพระปรมาภิไธย]] มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คือการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 นอกจากจะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีอำนาจในการวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก[[วุฒิสภา]] ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประการคือ วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานั้นมีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างการยับยั้งของ[[วุฒิสภา]]หรือไม่ วินิจฉัยความเป็น[[รัฐมนตรี]]ที่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลอื่นหรือระหว่างศาลอื่นด้วยกัน และวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย[[พระมหากษัตริย์]]เพื่อ[[ลงพระปรมาภิไธย]] มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นคือ วินิจฉัยว่าข้อบังคับของวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยว่า[[พระราชกำหนด]]เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และการตีความรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ตัดอำนาจการตีความรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่มีมาแต่เดิมมาให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แทน  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นคือ วินิจฉัยว่าข้อบังคับของวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยว่า[[พระราชกำหนด]]เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และการตีความรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ตัดอำนาจการตีความรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่มีมาแต่เดิมมาให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แทน  
บรรทัดที่ 60: บรรทัดที่ 60:
3. การควบคุมเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดของฝ่ายบริหาร
3. การควบคุมเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดของฝ่ายบริหาร


4. การวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาสิ้นสุดลงหรือไม่ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ หรือกรรมการการเลือกตั้งต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่
4. การวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาสิ้นสุดลงหรือไม่ ความเป็น[[รัฐมนตรี]]สิ้นสุดลงหรือไม่ หรือกรรมการการเลือกตั้งต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่


5. การตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยมาตรการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
5. การตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยมาตรการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
บรรทัดที่ 94: บรรทัดที่ 94:
6. การวินิจฉัยเกี่ยวกับเกี่ยวกับการคุ้มครองหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองและการปกป้องคุ้มครองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. การวินิจฉัยเกี่ยวกับเกี่ยวกับการคุ้มครองหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองและการปกป้องคุ้มครองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


7. การวินิจฉัย[[สมาชิกภาพ]]หรือ[[คุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา]] รัฐมนตรีและกรรมการการเลือกตั้ง
7. การวินิจฉัย[[สมาชิกภาพ]]หรือ[[คุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา]] [[รัฐมนตรี]]และกรรมการการเลือกตั้ง


8. การวินิจฉัยหนังสือ[[สนธิสัญญา]]ใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่
8. การวินิจฉัยหนังสือ[[สนธิสัญญา]]ใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่
บรรทัดที่ 127: บรรทัดที่ 127:
ปี พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก รวมทั้งกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระคือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้มีอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ปี พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก รวมทั้งกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระคือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้มีอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ


ในระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการประชุมคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1/2541 วันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เรื่องการกำหนดหน่วยธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมเห็นสมควรให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจนกว่าการจัดตั้ง[[สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ]]จะแล้วเสร็จ<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์''' (กรุงเทพฯ : บริษัท สไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด, 2551), หน้า 78.</ref>
ในระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการประชุมคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1/2541 วันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เรื่องการกำหนดหน่วยธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมเห็นสมควรให้[[สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา]]ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจนกว่าการจัดตั้ง[[สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ]]จะแล้วเสร็จ<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์''' (กรุงเทพฯ : บริษัท สไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด, 2551), หน้า 78.</ref>


ต่อมาขณะที่ร่างพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการพิจารณาตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 1/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 จัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้เป็นหน่วนงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและรองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ<ref>เรื่องเดียวกัน, 92.</ref>และได้เปิดสำนักงานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''10ปี ศาลรัฐธรรมนูญไทย : สู่ทศวรรษใหม่ของนิติรัฐไทย''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 87.</ref>
ต่อมาขณะที่ร่างพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการพิจารณาตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 1/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 จัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้เป็นหน่วนงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและรองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ<ref>เรื่องเดียวกัน, 92.</ref>และได้เปิดสำนักงานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200<ref>สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, '''10ปี ศาลรัฐธรรมนูญไทย : สู่ทศวรรษใหม่ของนิติรัฐไทย''' (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 87.</ref>
บรรทัดที่ 184: บรรทัดที่ 184:
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. '''จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์.''' (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด), 2551.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. '''จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์.''' (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด), 2551.


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]
[[category:องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:18, 20 กรกฎาคม 2553

ผู้เรียบเรียง ธนินทร พูนศรีสวัสดิ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ(ศาลรัฐธรรมนูญ) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นกฎหมายสูงสุดก็คือ หลักการที่เรียกว่า “หลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย” โดยมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับว่า “ บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้”[1] คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบขององค์กรใหม่จาก คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรในรูปศาลที่ใช้อำนาจตุลาการ เรียกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย ไม่มีบทบัญญัติอย่างชัดเจนว่าในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแล้วจะให้องค์กรใดทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เพียงแต่บัญญัติไว้ในมาตรา 62 ว่า “ท่านว่าสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เท่านั้น[2]

ความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นผลมาจาก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ได้มีการตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 ขึ้นเพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำการตามที่กฎหมายนี้ถือว่าเป็นอาชญากรสงคราม ไม่ว่าการกระทำนั้นจะได้กระทำไปก่อนหรือหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับก็ตาม

ต่อมาเมื่อมีการจับกุมบุคคลดำเนินการฟ้องคดี และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ศาลฎีกาได้ตัดสินตามคำพิพากษาที่ 1/2489ว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 เฉพาะที่ลงโทษการกระทำก่อนวันใช้กฎหมายนี้เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังจึงขัดกับรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ ศาลฎีกาได้ยืนยันถึงอำนาจของศาลในการพิพากษาว่ากฎหมายของรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าศาลเป็นองค์กรที่ใช้กฎหมายจึงต้องรู้ว่ากฎหมายนั้นใช้บังคับได้หรือไม่ อีกทั้งการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ อำนาจทั้งสามอำนาจคือนิติบัญญัติ บริหารและ ตุลาการ ย่อมมีอำนาจยับยั้งและควบคุมกัน ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคง เมื่อสภาผู้แทนราษฎรออกกฎหมายมาไม่ถูกต้องหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็มีอำนาจแสดงความไม่ถูกต้องนั้นได้ นอกจากนี้ยังเห็นว่าจำเป็นต้องมีผู้มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่และศาลเป็นผู้มีอำนาจนั้น เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถที่จะตีความได้ว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ตรากฎหมายขึ้นเอง ส่วนฝ่ายบริหารนั้นก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ตีความว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เช่นเดียวกัน[3]

จากผลแห่งคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยนั้นไม่พอใจที่ศาลได้ล่วงล้ำเข้ามาในหน้าที่ของสภาในการตีความรัฐธรรมนูญ มีการเสนอญัตติให้สภาตีความ มาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 7 คน และคณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2475 เป็นอำนาจของเด็ดขาดของสภาผู้แทนราษฎร

เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างศาลและสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2489 จึงกำหนดให้มีองค์กรพิเศษทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรพิเศษนี้เรียกว่า “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ[4] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีจำนวน 8 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (ซึ่งมีข้อสังเกตคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทุกฉบับจะกำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่วินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ยกเว้นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ)[5]

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปฏิรูปการเมืองโดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการกำหนดให้จัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายขึ้นโดยเฉพาะ คือ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ขึ้นเป็นครั้งแรก และได้สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 3 เมื่อมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นต้นมา ก็ได้บัญญัติให้มีศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ

องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 องค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยส่วนใหญ่เป็นโดยตำแหน่งและอีกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการกำหนดจำนวนและองค์ประกอบของตุลาการรัฐธรรมนูญแตกต่างกัน เช่นการกำหนดตำแหน่งให้ประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีกรมอัยการ อัยการสูงสุดเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งมีตำแหน่งประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้การกำหนดให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มาดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การแสดงบทบาทหน้าที่ของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อความเป็นกลางในการวินิจฉัยข้อขัดแย้งที่เกิดจากรัฐธรรมนูญได้ สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีเพียงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ที่กำหนดให้ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นผู้แต่งตั้ง โดยที่บุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งส่วนใหญ่จะเป็นนักกฎหมาย อย่างไรก็ดี หน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้มีแต่เฉพาะวินิจฉัยการขัดกันของกฎหมายเท่านั้น แต่มีหน้าที่อื่นเช่น ปัญหาระหว่างอำนาจศาล การวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติของสมาชิกสภา เป็นต้น[6]

จากการที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ก่อน ปีพ.ศ. 2540 ถูกมองว่ามีลักษณะเป็นองค์กรทางการเมืองมากกว่าศาลและอาจถูกครอบงำได้ง่าย ในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนวิธีการพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้อยู่ในรูปของศาล เรียกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มิได้มาจากผู้ดำรงตำแหน่งประจำ เช่น ประธานวุฒิสภา ประธานรัฐสภา เหมือนอย่างในอดีต ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการขัดกันในตำแหน่งหน้าที่ และเพื่อประกันความเป็นอิสระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาและวินิจฉัยคดี โดยกำหนดให้มีกระบวนการสรรหาและเลือกโดยเฉพาะ[7] อย่างไรก็ตามมีการพิจารณาว่า กระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดยังมีความบกพร่อง เนื่องจากองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาตามรัฐธรรมนูญมีความไม่เหมาะสม มีความไม่เที่ยงธรรม แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติว่าด้วยองค์ประกอบของกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันฝ่ายการเมืองเข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการสรรหามากเกินไป ทำให้ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์พอสมควร[8]

เมื่อมีการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหาษัตรย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการออกประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และศาลรัฐธรรมนูญ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง คือประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด ส่วนตุลาการรัฐธรรมนูญอีก 7 คนเป็นบุคคลที่มาจากองค์กรศาลทั้งหมดเข้าทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ

และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง องค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคล้ายคลึงกับองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จะแตกต่างที่จำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและกระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น[9]

อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

ตั้งแต่มีการกำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2489 อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยก่อนหน้าปี พ.ศ. 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นพร้อมกับอำนาจหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ และต่อมาอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ


อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อนปี พ.ศ. 2540 และพ.ศ. 2549

อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คือการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 นอกจากจะให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีอำนาจในการวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประการคือ วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานั้นมีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างการยับยั้งของวุฒิสภาหรือไม่ วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีที่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลอื่นหรือระหว่างศาลอื่นด้วยกัน และวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธย มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นคือ วินิจฉัยว่าข้อบังคับของวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยว่าพระราชกำหนดเป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และการตีความรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ตัดอำนาจการตีความรัฐธรรมนูญของรัฐสภาที่มีมาแต่เดิมมาให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แทน

สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจน โดยมาตรา 35 ได้บัญญัติไว้ว่า “บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ....” ซึ่งสามารถแยกอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ 3 ด้าน[10] คือ

- อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องค้างซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสามารถใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกแล้วในการพิจารณาวินิจฉัย

- อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ

- อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 3 ฉบับ

อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่

1. การควบคุมร่างกฎหมายก่อนประกาศใช้บังคับมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

2. การควบคุมร่างกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว มิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

3. การควบคุมเงื่อนไขการตราพระราชกำหนดของฝ่ายบริหาร

4. การวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาสิ้นสุดลงหรือไม่ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ หรือกรรมการการเลือกตั้งต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่

5. การตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยมาตรการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

6. การวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ

7. การปกป้องคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

8. การคุ้มครองหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง

9. การวินิจฉัยอุทธรณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

10. การวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภามีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในระหว่างการยับยั้งของวุฒิสภาหรือไม่

11. การควบคุมตรวจสอบมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือกรรมาธิการมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่าย

12. การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติ

13. อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่สำคัญๆ ได้แก่

1. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อบังคับการประชุมของฝ่ายนิติบัญญัติก่อนที่จะประกาศใช้บังคับ

2. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว

3. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด

4. การวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการ กระทำการใดเพื่อให้ตนมีส่วนโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่

5. การวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

6. การวินิจฉัยเกี่ยวกับเกี่ยวกับการคุ้มครองหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองและการปกป้องคุ้มครองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

7. การวินิจฉัยสมาชิกภาพหรือคุณสมบัติของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรีและกรรมการการเลือกตั้ง

8. การวินิจฉัยหนังสือสนธิสัญญาใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่

9. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550

10. อำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภา

อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีความแตกต่างกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในบางประการที่สำคัญ[11] คือ

1. การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเฉพาะบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้นที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนอกจากนั้นยังให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องมีผู้ร้องเรียน

2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจในการเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

3. ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพื่อให้วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจาณาของศาลรัฐธรรมนูญ

4. การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบเงื่อนไขเพิ่มขึ้นคือ การตราพระราชกำหนดเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

5. การวินิจฉัยกรณีปัญหาว่าหนังสือใดที่ฝ่ายบริหารทำความตกลงกับนานาประเทศหรือกับองค์กรระหว่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่

6. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้น


หน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ

หน่วยธุรการของงานตุลาการรัฐธรรมนูญปรากฏเป็นหลักฐานในปี พ.ศ. 2494 โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พ.ศ. 2494 ประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2494 ซึ่งมี “แผนกตุลาการรัฐธรรมนูญ” ในกองกลาง เพื่อรองรับภารกิจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ต่อมามีการประกาศใช้ คำสั่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ 11/2517 เรื่องการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2517 โดยกำหนดให้ “งานตุลาการรัฐธรรมนูญ” เป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านธุรการและการประชุมของคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ สังกัดในกองการประชุม ฝ่ายระเบียบงานรัฐสภา

ปี พ.ศ. 2535 ในประกาศรัฐสภาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2535 กำหนดให้งานการประชุมคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร และต่อมาปี พ.ศ. 2538 มีประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาเรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 กำหนดให้ “ฝ่ายงานตุลาการรัฐธรรมนูญ” สังกัดสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ความรับผิดชอบในงานด้านธุรการและเลขานุการ ในการประชุมของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตามกระบวนการของกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และธรรมเนียมปฏิบัติ และเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นต้นในการดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญและปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

ปี พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรก รวมทั้งกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระคือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้มีอิสระในการบริหารงานบุคคล งบประมาณและการดำเนินงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ในระหว่างการเตรียมการเพื่อดำเนินงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในการประชุมคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1/2541 วันที่ 12 พฤษภาคม 2541 เรื่องการกำหนดหน่วยธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ประชุมเห็นสมควรให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจนกว่าการจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จ[12]

ต่อมาขณะที่ร่างพระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการพิจารณาตามกระบวนการตราพระราชบัญญัติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 1/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 จัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้เป็นหน่วนงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2541 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2541 แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและรองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ[13]และได้เปิดสำนักงานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 สำนักงานตั้งอยู่ที่ 49/1 อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200[14]

จนเมื่อ พ.ศ. 2543 ได้ใช้อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรพงษ์ แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร เป็นที่ทำการของศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2543 เป็นต้นมา

สรุป

จากจุดเริ่มต้นของการมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2489 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เพียงวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากนั้นแม้ว่ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ การเกิดขึ้นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่พัฒนาการและบทบาทหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็น “ศาลรัฐธรรมนูญ” ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติตามพันธกิจตามรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของการคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ยังคงมีพันธกิจดังกล่าวและเพิ่มขึ้นในบางประการ ศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการปฏิบัติตามพันธกิจดังกล่าวเพื่อรักษาหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ เพื่อทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนบังเกิดผลเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ และเพื่อควบคุมการใช้อำนาจรัฐให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี องค์กรศาล และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายคำวินิจฉัยได้สร้างคุณูปการต่อบ้านเมือง นำไปสู่การยุติข้อขัดแย้งต่างๆ แก้ไขปัญหาทางตันของบ้านเมือง และแก้ไขปัญหาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต่างๆ อันมีผลต่อการปฏิรูปการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย

อ้างอิง

  1. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2550), หน้า 2-3.
  2. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 1.
  3. เรื่องเดียวกัน, 2-3.
  4. สมคิด เลิศไพฑูรย์, ตุลาการรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), หน้า 10-12.
  5. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรนูญ (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), 3.
  6. สวัสดิการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 พร้อมด้วยการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, 2531, 350, อ้างถึงใน สมคิด เลิศไพฑูรย์, ตุลาการรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2536), 38.
  7. สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, พัฒนาการองค์กรอิสระในประเทศไทย กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2550), หน้า 29.
  8. เรื่องเดียวกัน, 30.
  9. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ,(กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี. เพรส จำกัด), 2551. 143-150.
  10. สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, พัฒนาการองค์กรอิสระในประเทศไทย กรณี ศาลรัฐธรรมนูญ , (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา), 2550. 46.
  11. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ,(กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), 153-173.
  12. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์ (กรุงเทพฯ : บริษัท สไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด, 2551), หน้า 78.
  13. เรื่องเดียวกัน, 92.
  14. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 10ปี ศาลรัฐธรรมนูญไทย : สู่ทศวรรษใหม่ของนิติรัฐไทย (กรุงเทพฯ : บริษัท พี. เพรส จำกัด, 2551), หน้า 87.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

สมคิด เลิศไพฑูรย์. ตุลาการรัฐธรรมนูญ . (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม), 2536.

กมลชัย รัตนสภาววงศ์. ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ. (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)), 2538.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ : บทวิเคราะห์.” ใน รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบ 80 ปี ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประกายพรึก), 2535.

นนทวัฒน์ บรมานันท์. รายงานการวิจัยเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ. เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.), 2548.

โภคิน พลกุล. ปัญหาแนวความคิดและข้อคิดบางเรื่องในรัฐธรรมนูญไทย (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การพิมพ์พลชัย), 2529.

รชต พนมวัน. แนวทางพัฒนาความเป็นอิสระของตุลาการรัฐธรรมนูญของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2538.

อมร จันทรสมบูรณ์. “ศาลรัฐธรรมนูญ” วารสารกฎหมายปกครอง2 (ธันวาคม 2536).


บรรณานุกรม

“ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการให้สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอน 46 ง หน้า 102. 9 มิถุนายน 2541

“ประกาศรัฐสภา เรื่องแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอน 93 ก หน้า 43. 11 กันยายน 2535.

นนทวัฒน์ บรมานันท์. รายงานการวิจัยเรื่องศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบเสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร : มปท.), 2548.

“พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พ.ศ. 2494,” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 68 ตอน 10 ก หน้า 145. 6 กุมภาพันธ์ 2494.

ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์. ศาลรัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมืองไทย, หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 14 ( พ.ศ. 2544–2545)

ศาลรัฐธรรมนูญ. ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ, [Online]. Accessed 25 May 2009. Available from http://www.concourt.or.th/location.html.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. ตุลาการรัฐธรรมนูญ . (กรุงเทพมหานคร : นิติธรรม), 2536.

สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. พัฒนาการองค์กรอิสระในประเทศไทย กรณีศึกษา ศาลรัฐธรรมนูญ. (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา), 2550.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เอกสารสำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายงานตุลาการรัฐธรรมนูญ รัฐสภา 1.1.9/116 “คำสั่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ 11/2517 เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา พ.ศ. 2517.” 12 พฤศจิกายน 2517.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ. (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี. เพรส จำกัด), 2550.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ. (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี. เพรส จำกัด), 2551.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. จดหมายเหตุศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับปฐมฤกษ์. (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสไตล์ ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด), 2551.