|
|
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) |
บรรทัดที่ 1: |
บรรทัดที่ 1: |
| '''ผู้เรียบเรียง''' อารีรัตน์ วิชาช่าง
| | <!-- สารบัญ --> |
| | | {| style="border-spacing:3px;margin:0px -3px;width:100%" |
| '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
| | |class="MainPageBG" style="width: 100%; border: 1px solid #ddcef2; background-color: #faf5ff; vertical-align: top; -moz-border-radius:7px" | |
|
| |
|
| | {|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#faf5ff;color:#000;width:100%" |
| | ! style="background-color:#ddcef2; font-size: 125%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" | <div style="float:right;">[[ภาพ:Wbar_purple2.jpg]]</div>นายกรัฐมนตรี |
| | |- |
| | |style="color:#000"| |
| | #[[ที่มาของนายกรัฐมนตรี]] |
| | #[[การดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี]] |
| | #[[อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี]] |
| | |- |
| | |} |
| | |} |
| ---- | | ---- |
| | | {|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%" |
| นายกรัฐมนตรี คือ ตำแหน่งหัวหน้าของฝ่ายบริหารในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เป็นผู้นำ[[คณะรัฐมนตรี]] มีหน้าที่รับผิดชอบใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ที่สำคัญเป็นตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นตำแหน่งที่ทรงคุณค่าและมีเกียรติยศอย่างยิ่ง
| | ! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left; padding-left: 7px; -moz-border-radius:7px" |[[หน้าหลัก]] |
| | | |} |
| ==ความหมายและประวัติความเป็นมา== | |
| | |
| คำว่า “นายก” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายว่าหมายถึง ผู้นำ ผู้เป็นหัวหน้า นายกรัฐมนตรี หมายถึง ตําแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี และ[[คณะรัฐมนตรี]] หมายถึง คณะบุคคลซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และ[[รัฐมนตรี]]อื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]] เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน หรือ หมายถึง บุคคลที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] และเป็นประธานของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี<ref>'''พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.''' กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546. หน้า 578.</ref> สำหรับประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบอบรัฐสภา ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
| |
| | |
| ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]]อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศไทย ยังมิได้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะ[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]] ได้บัญญัติให้คณะบุคคลที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินไว้ ดังนี้
| |
| | |
| “มาตรา 28 คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจและหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของสภา“ “มาตรา 32 คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วย [[ประธานคณะกรรมการราษฎร]] 1 นาย และ[[กรรมการราษฎร]] 14 นาย รวมเป็น 15 นาย”<ref>'''รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475–2502 เล่ม 1.''' กรุงเทพฯ :
| |
| ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป. หน้า 11.</ref>
| |
| | |
| ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2475 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่ประชุมได้เลือก มหาอำมาตย์โท [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อกรรมการราษฎร จำนวน 14 คน ต่อสภาและสภาได้อนุมัติ<ref>'''รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2475 วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป. หน้า 10-11</ref> ซึ่งมิได้มีการ[[แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน]]ต่อสภา โดยถือว่าหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลคณะนี้<ref>ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์. '''รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517).''' กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517. หน้า 22.</ref>
| |
| | |
| เมื่อมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 31/2475 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 ได้มีคำแถลงของประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ได้มีข้อความในช่วงสุดท้ายว่า ”มีคำอยู่คำหนึ่งในร่างที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทัก คือ คำว่า [[คณะกรรมการราษฎร]] กับ[[กรรมการราษฎร]] ทรงรับสั่งว่า คำไม่เพราะ และไม่ค่อยจะถูกเรื่องตามแบบ[[ราชาธิปไตย]]ตามรัฐธรรมนูญ และทรงติเช่นนี้จึงขอนำเสนอให้ทราบด้วย” <ref>'''รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 34/2475 วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475.'''
| |
| กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป. หน้า 367.</ref>
| |
| | |
| ต่อมาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 41/2475 วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2475 ในที่ประชุมสภามีการพิจารณาเลือกคำให้เหมาะสมแทนคำว่า คณะกรรมการราษฎร ประธานคณะ กรรมการราษฎร และกรรมการราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นกันไปต่าง ๆ นานา ในที่สุด[[เจ้าพระยาพิชัยญาติ]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ขณะนั้น ได้กล่าวก่อนการปิดประชุมสรุปได้ว่า ที่ประชุมได้แก้ไขคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” เป็น “[[รัฐมนตรีสภา]]” คำว่า “ประธานคณะกรรมการราษฎร” เป็น “[[นายกรัฐมนตรีสภา]]” และคำว่า “กรรมการราษฎร” เป็น “[[รัฐมนตรี]]” และได้มีข้อตกลงใหม่ให้แก้คำเหล่านี้อีก คือ คำว่า “รัฐมนตรีสภา” แก้เป็น “[[คณะรัฐมนตรี]]” และคำว่า “นายกรัฐมนตรีสภา” แก้เป็น “[[นายกรัฐมนตรี]]”<ref>'''รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 41/2475 วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป. หน้า 575.</ref> ดังนั้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 คำว่า “นายกรัฐมนตรี” จึงมีปรากฏครั้งแรกในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และมีปรากฏต่อเนื่องมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
| |
| | |
| ==นายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ== | |
| | |
| รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ตลอดมาของประเทศไทยได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีที่กำหนดไว้เสมอมาคล้ายกัน ในเรื่อง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงตั้งหรือแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะบัญญัติให้[[ประธานรัฐสภา]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] หรือประธานสภาในขณะนั้นทำหน้าที่นี้ และมีเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ได้บัญญัติว่า ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทน เป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]] ส่วนในเรื่องสถานภาพของบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น แต่เดิมรัฐธรรมนูญมิได้กล่าวถึง แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 177 บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]] และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติไว้ว่านายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในอายุของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]ชุดเดียวกัน รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 171 ได้บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และยังมีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีที่ไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นมาก่อน คือ นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้<ref>'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550. หน้า 148.</ref>
| |
| | |
| นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญด้วย การบัญญัติเกี่ยวกับว่ารัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 161 โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดอายุว่าต้องมีอายุไม่ต่ำว่าสามสิบปีบริบูรณ์ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องวุฒิการศึกษาของรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก ในมาตรา 260 รัฐมนตรีต้องสำเร็จการ ศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ยังคงบทบัญญัตินี้ไว้เช่นกัน
| |
| | |
| ==นายกรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎร==
| |
| | |
| สำหรับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติว่าก่อนที่[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ซึ่งเป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]]แต่งตั้งนายนายกรัฐมนตรี จะนำชื่อบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รัฐธรรมนูญได้กำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้[[สภาผู้แทนราษฎร]]พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127 (ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก) การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรองมติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย
| |
| | |
| ในกรณีที่พ้นกำหนดสามสิบวันแล้วไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ คือ ในกรณีที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้วไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี(คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร) ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลภายในสิบห้า วันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้คะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี<ref>อ้างแล้ว หน้า. 149.</ref>
| |
| | |
| สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ) วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 ณ ตึกรัฐสภา เริ่มประชุมเวลา 09.32 นาฬิกาเมื่อครบองค์ประชุมแล้ว [[ชัย ชิดชอบ|นายชัย ชิดชอบ]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร [[สามารถ แก้วมีชัย|นายสามารถ แก้วมีชัย]] รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และพันเอกอภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2551 เพื่อให้ที่ประชุมรับทราบต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องพิจารณา ต่อมาประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ 6 เรื่องที่เสนอใหม่ คือ พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แทน[[สมชาย วงศ์สวัสดิ์|นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์]] ที่พ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน หลังจากนั้นนายบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้รับรอง 214 เสียง เกิน 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดในสภา ต่อมา[[เสนาะ เทียนทอง|นายเสนาะ เทียนทอง]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบสัดส่วน [[พรรคประชาราช]] เสนอชื่อ [[ประชา พรหมนอก|พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก]] หัวหน้า[[พรรคเพื่อแผ่นดิน]] เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้รับรอง 195 เสียง เกิน 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ประชุมได้ลงมติออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยให้ความเห็นชอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียง 235 เสียงและเห็นชอบให้พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียง 198 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ซึ่งคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จำนวน 437 คน) จึงถือว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 172 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย<ref>'''บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยวิสามัญ)''' วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2551, หน้า 2.</ref>
| |
| | |
| ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยนั้นรัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 นับจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีรวม 27 คน มีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ และมีเหตุที่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง รวมถึงการพ้นจากตำแหน่งที่แตกต่างและหลากหลาย แต่นายกรัฐมนตรีทุกคนก็คือบุคคลที่ประชาชนคาดหวังว่า จะทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยและสร้างประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทย
| |
| | |
| ==อ้างอิง==
| |
| | |
| <references/>
| |
| | |
| ==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
| |
| | |
| ธนากิต. '''ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย.''' กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545.
| |
| | |
| นรนิติ เศรษฐบุตร และสุรชัย ศิริไกร. '''ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475-2529.''' กรุงเทพฯ :ศูนย์วิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2529.
| |
| | |
| บุญทรง สราวุธ. '''15 นายกรัฐมนตรีไทยในระบอบการปกครองประชาธิปไตย.''' กรุงเทพฯ : เสริมวิทย์บรรณาคาร, 2521,
| |
| | |
| '''รวมประวัตินายกรัฐมนตรีและประวัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย 2531.''' กรุงเทพฯ : เมจิก โปรดักชั่นส์ , ม.ป.ป.,
| |
| | |
| วีรชาติ ชุ่มสนิท. ''' 24 นายกรัฐมนตรีไทย.''' กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง, 2549.
| |
| | |
| สายฝน ดีงาม. '''24 นายกรัฐมนตรีไทย : ประวัติและดรรชนี.''' กรุงเทพฯ : กลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
| |
| | |
| เสลา เรขรุจิ. '''12 นายกรัฐมนตรีไทย.''' กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2517
| |
| | |
| ==บรรณานุกรม==
| |
| | |
| คณิน บุญสุวรรณ. '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทยฉบับสมบูรณ์.''' กรุงเทพฯ :สุขภาพใจ, 2548.
| |
| | |
| เดโช สวนานนท์. '''พจนานุกรมศัพท์การเมือง.''' กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง, 2545.
| |
| | |
| ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์. '''รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475- 2517).''' กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517.
| |
| | |
| มนูญ บริสุทธิ์. '''คณะรัฐมนตรี.''' กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา, 2527.
| |
| | |
| '''รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475–2502 เล่ม 1.''' กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.
| |
| | |
| '''รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511–2534 เล่ม 2.''' กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการทางวิชาการและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.
| |
| | |
| [[category:นักการเมือง]] | |