ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามโลกครั้งที่ 2"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทคว..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์
ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">:&nbsp; </span>รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">:&nbsp; </span>รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
----
----


'''สงครามโลกครั้งที่ ''''''2 (ค.ศ. 1939-1945)'''
'''สงครามโลกครั้งที่2 (ค.ศ. 1939-1945)'''


'''ความเป็นมาของสงคราม[[#_ftn1|'''[1]''']]'''
'''ความเป็นมาของสงคราม[[#_ftn1|'''[1]''']]'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” (การทำสงครามที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีการใช้ทรัพยากรและอาวุธที่ตนเองมีทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อทำลายรัฐศัตรู)[[#_ftn2|[2]]] ครั้งสำคัญครั้งที่ 2 ของโลกถัดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นราว 20 ปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1914-1918) โดยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการรบระหว่างกลุ่มประเทศอักษะ (เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น) กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรนำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปยึดครองประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทำให้ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี ต่อมาในปี 1940 กองทัพเยอรมันรุกรานประเทศนอร์เวย์และประเทศเดนมาร์ก ก่อนที่จะโจมตีฝรั่งเศสผ่านทางประเทศเนเธอร์แลนด์เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ในปีเดียวกันนี้เอง อิตาลีได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ถัดมาในปี 1941 เยอรมนียึดครองยูโกสลาเวียและเริ่มส่งทหารเข้าไปรุกรานสหภาพโซเวียต ขณะที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกาแล้วประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลก
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น “[[สงครามเบ็ดเสร็จ|สงครามเบ็ดเสร็จ]]” (การทำสงครามที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีการใช้ทรัพยากรและอาวุธที่ตนเองมีทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อทำลายรัฐศัตรู)[[#_ftn2|[2]]] ครั้งสำคัญครั้งที่ 2 ของโลกถัดจาก[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่ 1]] ที่เกิดขึ้นราว 20 ปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1914-1918) โดยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการรบระหว่าง[[กลุ่มประเทศอักษะ|กลุ่มประเทศอักษะ]] (เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น) กับ[[กลุ่มประเทศสัมพันธมิตร|กลุ่มประเทศสัมพันธมิตร]]นำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปยึดครองประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทำให้ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี ต่อมาในปี 1940 กองทัพเยอรมันรุกรานประเทศนอร์เวย์และประเทศเดนมาร์ก ก่อนที่จะโจมตีฝรั่งเศสผ่านทางประเทศเนเธอร์แลนด์เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ในปีเดียวกันนี้เอง อิตาลีได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ถัดมาในปี 1941 เยอรมนียึดครองยูโกสลาเวียและเริ่มส่งทหารเข้าไปรุกรานสหภาพโซเวียต ขณะที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกาแล้วประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตลอดช่วง ค.ศ. 1939-1945 เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น พยายามขยายดินแดนของตนดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า กองทัพเยอรมนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย นอกจากนี้เยอรมนียังเข้ายึดครองออสเตรียและบางส่วนของเชโกสโลวะเกีย&nbsp; ขณะที่อิตาลีบุกเข้าไปในอียิปต์และเอธิโอเปียเพื่อขยายอาณานิคมเข้าไปในทวีปแอฟริกา&nbsp; ส่วนญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย, บางส่วนของประเทศจีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตลอดช่วง ค.ศ. 1939-1945 เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น พยายามขยายดินแดนของตนดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า กองทัพเยอรมนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย นอกจากนี้เยอรมนียังเข้ายึดครองออสเตรียและบางส่วนของเชโกสโลวะเกีย&nbsp; ขณะที่อิตาลีบุกเข้าไปในอียิปต์และเอธิโอเปียเพื่อขยายอาณานิคมเข้าไปในทวีปแอฟริกา&nbsp; ส่วนญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย&nbsp;บางส่วนของประเทศจีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
3) ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ
3) ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้มีการตั้งองค์การ “สันนิบาตชาติ” เพื่อทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ สร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตามองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถระงับข้อพิพาทกรณีที่เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ขยายอำนาจเข้าไปยึดครองดินแดนอื่นๆในช่วงทศวรรษ 1930 ถึงกลางทศวรรษ 1940 ส่งผลให้ข้อพิพาทดังกล่าวขยายตัวขึ้นมาเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้มีการตั้งองค์การ “สันนิบาตชาติ” เพื่อทำหน้าที่ระงับ[[ข้อพิพาท|ข้อพิพาท]]ระหว่างประเทศ สร้าง[[สันติภาพ|สันติภาพ]] อย่างไรก็ตามองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถระงับข้อพิพาทกรณีที่เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ขยายอำนาจเข้าไปยึดครองดินแดนอื่นๆในช่วงทศวรรษ 1930 ถึงกลางทศวรรษ 1940 ส่งผลให้ข้อพิพาทดังกล่าวขยายตัวขึ้นมาเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความสูญเสียให้แก่ผู้คนจำนานมาก มีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้ประมาณ 15 ล้านคน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความสูญเสียให้แก่ผู้คนจำนานมาก มีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้ประมาณ 15 ล้านคน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากความสูญเสียของผู้คนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้านหนึ่งคือ ในสงครามครั้งนี้มีการพัฒนาอาวุธใหม่ทางการทหาร เช่น จรวด เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ต ระเบิดปรมาณู รวมทั้งเกิดการกำหนดหลักนิยมทางทหาร (Military Doctrine) เพื่อการใช้อาวุธในสงครามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แนวคิดและหลักการทางยุทธวิธีในการใช้กำลังรถถังและยานเกราะพร้อมกับการสนับสนุนทางอากาศ หลักการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ หลักการยกพลขึ้นบก
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากความสูญเสียของผู้คนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้านหนึ่งคือ ในสงครามครั้งนี้มีการพัฒนาอาวุธใหม่ทางการทหาร เช่น จรวด เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ต ระเบิดปรมาณู รวมทั้งเกิดการกำหนด[[หลักนิยมทางทหาร|หลักนิยมทางทหาร]] (Military Doctrine) เพื่อการใช้อาวุธในสงครามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แนวคิดและหลักการทางยุทธวิธีในการใช้กำลังรถถังและยานเกราะพร้อมกับการสนับสนุนทางอากาศ หลักการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ หลักการยกพลขึ้นบก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะเดียวกันเทคโนโลยีบางอย่างที่คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการรบ ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น พลังงานปรมาณู ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ประโยชน์ทางการแพทย์
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ขณะเดียวกันเทคโนโลยีบางอย่างที่คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการรบ ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น พลังงานปรมาณู ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ประโยชน์ทางการแพทย์


'''ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ''''''2'''
'''ไทยกับสงครามโลกครั้งที่&nbsp;'''''&nbsp;'''''2'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อค.ศ. 1941 โดยรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินทัพไปประเทศมาเลเซียและพม่า ต่อมารัฐบาลไทยได้ลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ” &nbsp;อันนำไปสู่การที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942[[#_ftn5|[5]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ประเทศไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อค.ศ. 1941 โดยรัฐบาลภายใต้การนำของ[[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินทัพไปประเทศมาเลเซียและพม่า ต่อมารัฐบาลไทยได้ลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ” &nbsp;อันนำไปสู่การที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942[[#_ftn5|[5]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีโดยถอด นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีนโยบายคัดค้านการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แล้วแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากจุดนี้เองในเวลาต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยในประเทศขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นและรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มข้าราชการและชนชั้นนำของไทยที่อยู่ในต่างประเทศและไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกโดยอยู่ฝ่ายญี่ปุ่น ดังนั้นหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จึงได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้นในประเทศอังกฤษ ทั้งกลุ่มเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาและในอังกฤษได้มีนักเรียนไทยเข้าร่วมด้วยเพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย[[#_ftn6|[6]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งใน[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]โดยถอด [[ปรีดี_พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] ซึ่งมีนโยบายคัดค้านการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แล้วแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหนึ่งในคณะ[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์|ผู้สำเร็จราชการ]]แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากจุดนี้เองในเวลาต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยในประเทศขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นและ[[รัฐบาล|รัฐบาล]]จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มข้าราชการและชนชั้นนำของไทยที่อยู่ในต่างประเทศและไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกโดยอยู่ฝ่ายญี่ปุ่น ดังนั้น[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช|หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] จึงได้ก่อตั้ง[[กลุ่มเสรีไทย|กลุ่มเสรีไทย]]ขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และ[[ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท_สวัสดิวัฒน์|หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์]] ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้นในประเทศอังกฤษ ทั้งกลุ่มเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาและในอังกฤษได้มีนักเรียนไทยเข้าร่วมด้วยเพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย[[#_ftn6|[6]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากกระแสต่อต้านจากขบวนการเสรีไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่กลุ่มผู้ใกล้ชิดของนายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมมือกับกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหัวก้าวหน้า เช่น นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาเรือง ฯลฯ เคลื่อนไหวต่อต้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม&nbsp; อีกทั้งนายปรีดี พนมยงค์ ยังสร้างเครือข่ายสนับสนุนจากกองทัพเรือ ฝ่ายตำรวจ และบางส่วนของกองทัพบก จนสามารถคัดค้านร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดตั้งเมืองเพ็ชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง ที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เสนอเพื่อพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อรัฐบาลพ่ายแพ้ในการลงมติร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ ตามด้วยการพ่ายแพ้ในการลงมติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดพุทธบุรีมณฑล ที่รัฐบาลเสนอขอตั้งเขตมณฑลทางพุทธศาสนา ดังนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอชื่อ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายควง อภัยวงศ์ จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ได้ออกคำสั่งปลด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด&nbsp; การที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำให้การดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่นของกลุ่มเสรีไทยดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม[[#_ftn7|[7]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากกระแสต่อต้านจากขบวนการเสรีไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่กลุ่มผู้ใกล้ชิดของนายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมมือกับกลุ่ม[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หัวก้าวหน้า เช่น [[เตียง_ศิริขันธ์|นายเตียง ศิริขันธ์]] [[ถวิล_อุดล|นายถวิล อุดล]] [[จำลอง_ดาวเรือง|นายจำลอง ดาวเรือง]] ฯลฯ เคลื่อนไหวต่อต้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม&nbsp; อีกทั้งนายปรีดี พนมยงค์ ยังสร้างเครือข่ายสนับสนุนจากกองทัพเรือ ฝ่ายตำรวจ และบางส่วนของกองทัพบก จนสามารถคัดค้านร่าง[[พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดตั้งเมืองเพ็ชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง|พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดตั้งเมืองเพ็ชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง]] ที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เสนอเพื่อพิจารณาในที่[[ประชุมสภาผู้แทนราษฎร|ประชุมสภาผู้แทนราษฎร]] เมื่อรัฐบาลพ่ายแพ้ในการ[[ลงมติ|ลงมติ]]ร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ ตามด้วยการพ่ายแพ้ในการลงมติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดพุทธบุรีมณฑล ที่รัฐบาลเสนอขอตั้งเขตมณฑลทางพุทธศาสนา ดังนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอชื่อ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายควง อภัยวงศ์ จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น รัฐบาล[[ควง_อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] ได้ออกคำสั่งปลด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด&nbsp; การที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำให้การดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่นของกลุ่มเสรีไทยดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม[[#_ftn7|[7]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; น่าสนใจที่ว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยซึ่งประกาศเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ฝ่ายผู้นำไทยมีความพยายามที่จะทำให้ประเทศพ้นจากสถานะฝ่ายแพ้สงคราม เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ดังที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวว่าเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ตน (นายปรีดี) ในฐานะหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ใช้วิธีประกาศพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าการประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ถือเป็นโมฆะ[[#_ftn8|[8]]] โดยความพยายามของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ที่จะให้การประกาศสงครามในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ ได้ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงที่นายปรีดีและกลุ่มเสรีไทยเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่น โดยนายปรีดีได้มอบหมายให้นายจำกัด พลางกูร เป็นผู้แทนของคณะเสรีไทยเดินทางไปติดต่อกับสัมพันธมิตร เพื่อแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่ามีคณะเสรีไทยภายในประเทศและให้สัมพันธมิตรรับรองและช่วยเหลือคณะเสรีไทย[[#_ftn9|[9]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; น่าสนใจที่ว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยซึ่งประกาศเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ฝ่ายผู้นำไทยมีความพยายามที่จะทำให้ประเทศพ้นจากสถานะฝ่ายแพ้สงคราม เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ดังที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวว่าเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ตน (นายปรีดี) ในฐานะหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ใช้วิธีประกาศ[[พระบรมราชโองการ|พระบรมราชโองการ]]ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าการประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ถือเป็นโมฆะ[[#_ftn8|[8]]] โดยความพยายามของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ที่จะให้การประกาศสงครามในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ ได้ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงที่นายปรีดีและกลุ่มเสรีไทยเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่น โดยนายปรีดีได้มอบหมายให้[[จำกัด_พลางกูร|นายจำกัด พลางกูร]] เป็นผู้แทนของคณะเสรีไทยเดินทางไปติดต่อกับสัมพันธมิตร เพื่อแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่ามีคณะเสรีไทยภายในประเทศและให้สัมพันธมิตรรับรองและช่วยเหลือคณะเสรีไทย[[#_ftn9|[9]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรมีท่าทีที่แตกต่างกันต่อความพยายามของไทยในการทำให้การเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายอักษะของรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ โดยอังกฤษกดดันให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความสูญเสียทรัพย์สินของอังกฤษทั้งหมด การได้สิทธิพิเศษในการจัดตั้งฐานทัพของกองกำลังอังกฤษในประเทศไทยอย่างไม่มีกำหนดและได้ข้าวฟรีจากไทยจำนวน 1.5 ล้านตัน ส่วนฝรั่งเศสนั้นประเทศไทยต้องคืนดินแดนไซยะบุรีและจำปาสักในลาว ดินแดนเสียมราฐและพระตะบอง ที่ญี่ปุ่นคืนกลับมาให้ไทยกลับคืนไปให้ฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อแลกกับคำมั่นสัญญาของฝรั่งเศสที่จะไม่ลงคะแนนยับยั้งการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของไทย ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ให้ความสำคัญกับการที่ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเห็นว่า การประกาศสงครามของไทยมีลักษณะหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องคือ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทุกคนไม่ได้ลงนามในคำประกาศสงคราม เพราะนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนาม เนื่องจากไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการ อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังช่วยกดดันอังกฤษทำให้ข้อเรียกร้องของอังกฤษเหลือเพียงให้รัฐบาลไทยขายข้าวให้อังกฤษ[[#_ftn10|[10]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรมีท่าทีที่แตกต่างกันต่อความพยายามของไทยในการทำให้การเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายอักษะของรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น[[โมฆะ|โมฆะ]] โดยอังกฤษกดดันให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความสูญเสียทรัพย์สินของอังกฤษทั้งหมด การได้สิทธิพิเศษในการจัดตั้งฐานทัพของกองกำลังอังกฤษในประเทศไทยอย่างไม่มีกำหนดและได้ข้าวฟรีจากไทยจำนวน 1.5 ล้านตัน ส่วนฝรั่งเศสนั้นประเทศไทยต้องคืนดินแดนไซยะบุรีและจำปาสักในลาว ดินแดนเสียมราฐและพระตะบอง ที่ญี่ปุ่นคืนกลับมาให้ไทยกลับคืนไปให้ฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อแลกกับคำมั่นสัญญาของฝรั่งเศสที่จะไม่ลงคะแนนยับยั้งการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของไทย ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ให้ความสำคัญกับการที่ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเห็นว่า การประกาศสงครามของไทยมีลักษณะหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องคือ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทุกคนไม่ได้ลงนามในคำประกาศสงคราม เพราะนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนาม เนื่องจากไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการ อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังช่วยกดดันอังกฤษทำให้ข้อเรียกร้องของอังกฤษเหลือเพียงให้รัฐบาลไทยขายข้าวให้อังกฤษ[[#_ftn10|[10]]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. <u>เพื่อชาติ เพื่อ </u><u>humanity </u><u>ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัด พลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร</u>. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2549.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. <u>เพื่อชาติ เพื่อ </u><u>humanity </u><u>ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัด พลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร</u>. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2549.


เดเนียลส์, แพทรีเชีย เอส. และ ไฮสลอป, สตีเวน จี.&nbsp; <u>พลิกประวัติศาสตร์โลก</u>. คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ : เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549.
เดเนียลส์, แพทรีเชีย เอส. และ ไฮสลอป, สตีเวน จี.&nbsp; <u>พลิกประวัติศาสตร์โลก</u>. คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ&nbsp;: เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549.


เทพ บุญตานนท์, “การเคลื่อนไหวของสายลับในนครปฐมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, หน้า 3-27 . นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
เทพ บุญตานนท์, “การเคลื่อนไหวของสายลับในนครปฐมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, หน้า 3-27 . นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
บรรทัดที่ 80: บรรทัดที่ 80:
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. <u>สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย</u>. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. <u>สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย</u>. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551.


สุรชาติ บำรุงสุข. <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541.
สุรชาติ บำรุงสุข. <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>. กรุงเทพฯ&nbsp;: โครงการวิถีทรรศน์, 2541.


สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. <u>ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่</u>. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551.
สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. <u>ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่</u>. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551.
บรรทัดที่ 86: บรรทัดที่ 86:
&nbsp;
&nbsp;
<div>'''อ้างอิง''' <div id="ftn1">
<div>'''อ้างอิง''' <div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] เรียบเรียงจาก แพทรีเชีย เอส. เดเนียลส์ และ สตีเวน จี. ไฮสลอป, <u>พลิกประวัติศาสตร์โลก</u>, คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ : เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549, หน้า 298-301; สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 147-156; ; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, <u>ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 </u>, กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2555.; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), <u>ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา</u>, นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559, หน้า 30-36.
[[#_ftnref1|[1]]] เรียบเรียงจาก แพทรีเชีย เอส. เดเนียลส์ และ สตีเวน จี. ไฮสลอป, <u>พลิกประวัติศาสตร์โลก</u>, คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ&nbsp;: เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549, หน้า 298-301; สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, กรุงเทพฯ&nbsp;: โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 147-156;&nbsp;; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, <u>ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 </u>, กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2555.; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), <u>ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา</u>, นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559, หน้า 30-36.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] ความหมายของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” ในที่นี้สรุปจาก สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, &nbsp;กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 119.
[[#_ftnref2|[2]]] ความหมายของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” ในที่นี้สรุปจาก สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, &nbsp;กรุงเทพฯ&nbsp;: โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 119.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]]สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ <u>,</u><u>เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15</u>, ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 156-158; &nbsp;&nbsp;สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, &nbsp;กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 1142-146; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, <u>ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20</u>, หน้า 168-172; สุรางค์ศรี ตันเสียงสม, <u>ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่</u>, กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551, หน้า 71-88.
[[#_ftnref3|[3]]]สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ <u>,</u><u>เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15</u>, ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 156-158; &nbsp;&nbsp;สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, &nbsp;กรุงเทพฯ&nbsp;: โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 1142-146; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, <u>ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20</u>, หน้า 168-172; สุรางค์ศรี ตันเสียงสม, <u>ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่</u>, กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551, หน้า 71-88.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ , <u>เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15</u>, หน้า 169-176; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” หน้า 39-40; สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, หน้า 159-164.
[[#_ftnref4|[4]]] สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ , <u>เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15</u>, หน้า 169-176; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” หน้า 39-40; สุรชาติ บำรุงสุข, <u>สงคราม </u>: <u>จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ </u><u>21</u>, หน้า 159-164.
บรรทัดที่ 106: บรรทัดที่ 106:
[[#_ftnref10|[10]]] เดวิด เค. วัยอาจ, <u>ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป</u>, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556, หน้า 473-475.
[[#_ftnref10|[10]]] เดวิด เค. วัยอาจ, <u>ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป</u>, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556, หน้า 473-475.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]]
&nbsp;
 
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:32, 19 ธันวาคม 2560

ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


สงครามโลกครั้งที่2 (ค.ศ. 1939-1945)

ความเป็นมาของสงคราม[1]

          สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” (การทำสงครามที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีการใช้ทรัพยากรและอาวุธที่ตนเองมีทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อทำลายรัฐศัตรู)[2] ครั้งสำคัญครั้งที่ 2 ของโลกถัดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นราว 20 ปีก่อนหน้า (ค.ศ. 1914-1918) โดยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการรบระหว่างกลุ่มประเทศอักษะ (เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น) กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรนำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สงครามครั้งนี้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปยึดครองประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทำให้ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอีก 4 แห่งคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บริติชอินเดีย แอฟริกาใต้ ประกาศสงครามกับเยอรมนี ต่อมาในปี 1940 กองทัพเยอรมันรุกรานประเทศนอร์เวย์และประเทศเดนมาร์ก ก่อนที่จะโจมตีฝรั่งเศสผ่านทางประเทศเนเธอร์แลนด์เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ในปีเดียวกันนี้เอง อิตาลีได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ถัดมาในปี 1941 เยอรมนียึดครองยูโกสลาเวียและเริ่มส่งทหารเข้าไปรุกรานสหภาพโซเวียต ขณะที่ญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbour) บนเกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกาแล้วประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นครั้งนี้ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าสู่สงครามโลก

          ตลอดช่วง ค.ศ. 1939-1945 เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น พยายามขยายดินแดนของตนดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า กองทัพเยอรมนีได้เข้ายึดครองโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย นอกจากนี้เยอรมนียังเข้ายึดครองออสเตรียและบางส่วนของเชโกสโลวะเกีย  ขณะที่อิตาลีบุกเข้าไปในอียิปต์และเอธิโอเปียเพื่อขยายอาณานิคมเข้าไปในทวีปแอฟริกา  ส่วนญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย บางส่วนของประเทศจีน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย

 

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2[3]

สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดจากสาเหตุต่างๆที่สรุปได้ดังนี้

1) ความไม่เป็นธรรมที่เยอรมนีได้รับหลังเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยฝ่ายไตรภาคี (เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี) เป็นฝ่ายแพ้ ได้มีการทำสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ในปี 1918  สนธิสัญญาดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับฝ่ายผู้แพ้ โดยเยอรมนีถูกถือว่าเป็นผู้ก่อสงครามจึงต้องเป็นผู้ชดใช้หนี้สงครามถึง 269000  ล้านเหรียญสหรัฐ และถูกควบคุมทางการทหารอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้เยอรมนีฟื้นตัวทางทหารได้  ขณะที่เยอรมีในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นช่วงที่ อดอฟ ฮิตเลอร์  ผู้นำพรรคนาซีหรือพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน ได้ขึ้นเป็นผู้นำประเทศและดำเนินโยบายปลูกฝังเรื่องชาตินิยมและเผ่าพันธุ์นิยม  ต่อต้านสนธิสัญญาแวร์ซายส์  ต่อต้านลัทธมาร์กซ์  ต่อต้านชาวยิว  รวมทั้งต้องการผนวกดินแดนที่มีชนชาติเยอรมนีอาศัยอยู่ เช่น ออสเตรีย  เชโกสโลวะเกีย  โปแลนด์ เข้ากับเยอรมนี

2) ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์

          การเกิดขึ้นของลัทธินาซีในเยอรมนีและลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) หรือลัทธิเผด็จการทหารที่ยึดแนวทางชาตินิยมของอิตาลีภายใต้การนำของ เบนิโต มุสโสลินี นำไปสู่ความขัดแย้งกับระบบเศรษฐกิจและการเมืองของบรรดารัฐต่างๆในยุโรป ขณะเดียวกันญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับเยอรมนีและอิตาลี คือ ทหารเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลโดยดำเนินนโยบายชาตินิยม มุ่งเน้นการขยายอำนาจให้ญี่ปุ่นยิ่งใหญ่ทัดเทียมประเทศมหาอำนาจตะวันตก และหาดินแดนสำหรับเป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น รวมทั้งใช้เป็นตลาดระบายสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น

 

3) ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ

          หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงได้มีการตั้งองค์การ “สันนิบาตชาติ” เพื่อทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ สร้างสันติภาพ อย่างไรก็ตามองค์การสันนิบาตชาติไม่สามารถระงับข้อพิพาทกรณีที่เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ขยายอำนาจเข้าไปยึดครองดินแดนอื่นๆในช่วงทศวรรษ 1930 ถึงกลางทศวรรษ 1940 ส่งผลให้ข้อพิพาทดังกล่าวขยายตัวขึ้นมาเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 2”

 

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2[4]

          ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะเหนือประเทศฝ่ายอักษะอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1942 เริ่มจากการที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยกพลขึ้นบกที่เกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี แล้วต่อมาได้คืบหน้าสู่คาบสมุทรอิตาลีทำให้อิตาลีต้องยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร  ในช่วงกลางปี 1944-ต้นปี 1945 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้รุกคืบหน้าจากหาดนอร์มังดีในประเทศฝรั่งเศสขยับเข้าใกล้กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี มากขึ้นๆจนสามารถบุกเข้าสู่กรุงเบอร์ลินได้ ฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีเห็นว่ากองทัพของเยอรมนีจะแพ้ต่อกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้นฮิตเลอร์จึงตัดสินใจยิงตัวตาย หลังจากนั้นเยอรมนีได้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข

          อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงอย่างแท้จริงหลังจากกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และที่เมืองนางาซากิ ในวันที่ 9 สิงหาคม ศกเดียวกัน นำไปสู่การประกาศยอมแพ้สงครามของญี่ปุ่น

          สงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างความสูญเสียให้แก่ผู้คนจำนานมาก มีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้ประมาณ 15 ล้านคน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

          นอกจากความสูญเสียของผู้คนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้านหนึ่งคือ ในสงครามครั้งนี้มีการพัฒนาอาวุธใหม่ทางการทหาร เช่น จรวด เครื่องบินขับไล่ที่ใช้เครื่องยนต์เจ็ต ระเบิดปรมาณู รวมทั้งเกิดการกำหนดหลักนิยมทางทหาร (Military Doctrine) เพื่อการใช้อาวุธในสงครามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แนวคิดและหลักการทางยุทธวิธีในการใช้กำลังรถถังและยานเกราะพร้อมกับการสนับสนุนทางอากาศ หลักการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ หลักการยกพลขึ้นบก

          ขณะเดียวกันเทคโนโลยีบางอย่างที่คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการรบ ต่อมาได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น พลังงานปรมาณู ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ประโยชน์ทางการแพทย์

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่  2

          ประเทศไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อค.ศ. 1941 โดยรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินทัพไปประเทศมาเลเซียและพม่า ต่อมารัฐบาลไทยได้ลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ”  อันนำไปสู่การที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942[5]

          หลังจากประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีโดยถอด นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีนโยบายคัดค้านการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แล้วแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากจุดนี้เองในเวลาต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยในประเทศขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นและรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มข้าราชการและชนชั้นนำของไทยที่อยู่ในต่างประเทศและไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกโดยอยู่ฝ่ายญี่ปุ่น ดังนั้นหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จึงได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้นในประเทศอังกฤษ ทั้งกลุ่มเสรีไทยในสหรัฐอเมริกาและในอังกฤษได้มีนักเรียนไทยเข้าร่วมด้วยเพื่อดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย[6]

          นอกจากกระแสต่อต้านจากขบวนการเสรีไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่กลุ่มผู้ใกล้ชิดของนายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมมือกับกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหัวก้าวหน้า เช่น นายเตียง ศิริขันธ์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง ฯลฯ เคลื่อนไหวต่อต้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม  อีกทั้งนายปรีดี พนมยงค์ ยังสร้างเครือข่ายสนับสนุนจากกองทัพเรือ ฝ่ายตำรวจ และบางส่วนของกองทัพบก จนสามารถคัดค้านร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดจัดตั้งเมืองเพ็ชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง ที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เสนอเพื่อพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อรัฐบาลพ่ายแพ้ในการลงมติร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ ตามด้วยการพ่ายแพ้ในการลงมติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดพุทธบุรีมณฑล ที่รัฐบาลเสนอขอตั้งเขตมณฑลทางพุทธศาสนา ดังนั้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอชื่อ นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายควง อภัยวงศ์ จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ได้ออกคำสั่งปลด จอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด  การที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำให้การดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่นของกลุ่มเสรีไทยดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม[7]

          น่าสนใจที่ว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยซึ่งประกาศเข้าร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ฝ่ายผู้นำไทยมีความพยายามที่จะทำให้ประเทศพ้นจากสถานะฝ่ายแพ้สงคราม เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ดังที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวว่าเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม ตน (นายปรีดี) ในฐานะหนึ่งในผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ใช้วิธีประกาศพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าการประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ถือเป็นโมฆะ[8] โดยความพยายามของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ ที่จะให้การประกาศสงครามในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ ได้ดำเนินมาตั้งแต่ช่วงที่นายปรีดีและกลุ่มเสรีไทยเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกองทัพญี่ปุ่น โดยนายปรีดีได้มอบหมายให้นายจำกัด พลางกูร เป็นผู้แทนของคณะเสรีไทยเดินทางไปติดต่อกับสัมพันธมิตร เพื่อแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่ามีคณะเสรีไทยภายในประเทศและให้สัมพันธมิตรรับรองและช่วยเหลือคณะเสรีไทย[9]

          มหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรมีท่าทีที่แตกต่างกันต่อความพยายามของไทยในการทำให้การเข้าร่วมสงครามโลกกับฝ่ายอักษะของรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นโมฆะ โดยอังกฤษกดดันให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความสูญเสียทรัพย์สินของอังกฤษทั้งหมด การได้สิทธิพิเศษในการจัดตั้งฐานทัพของกองกำลังอังกฤษในประเทศไทยอย่างไม่มีกำหนดและได้ข้าวฟรีจากไทยจำนวน 1.5 ล้านตัน ส่วนฝรั่งเศสนั้นประเทศไทยต้องคืนดินแดนไซยะบุรีและจำปาสักในลาว ดินแดนเสียมราฐและพระตะบอง ที่ญี่ปุ่นคืนกลับมาให้ไทยกลับคืนไปให้ฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อแลกกับคำมั่นสัญญาของฝรั่งเศสที่จะไม่ลงคะแนนยับยั้งการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของไทย ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ให้ความสำคัญกับการที่ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเห็นว่า การประกาศสงครามของไทยมีลักษณะหลายอย่างที่ไม่ถูกต้องคือ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทุกคนไม่ได้ลงนามในคำประกาศสงคราม เพราะนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้ลงนาม เนื่องจากไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการ อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังช่วยกดดันอังกฤษทำให้ข้อเรียกร้องของอังกฤษเหลือเพียงให้รัฐบาลไทยขายข้าวให้อังกฤษ[10]

 

บรรณานุกรม

จิราธร ชาติศิริ. “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2”.  ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ). ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, หน้า 29-43 . นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. เพื่อชาติ เพื่อ humanity ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัด พลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2549.

เดเนียลส์, แพทรีเชีย เอส. และ ไฮสลอป, สตีเวน จี.  พลิกประวัติศาสตร์โลก. คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ : เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549.

เทพ บุญตานนท์, “การเคลื่อนไหวของสายลับในนครปฐมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, หน้า 3-27 . นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559

ปรีดี พนมยงค์. โมฆสงคราม บันทึกสัจจะประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เปิดเผยของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิปรีดี พนมยงค์, 2558.

พลับพลึง คงชนะ. “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ”.  ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปะศาสตร์.,เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15, หน้า 129-182 .ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551

สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ. ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 . กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2555.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551.

สุรชาติ บำรุงสุข. สงคราม : จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541.

สุรางค์ศรี ตันเสียงสม. ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551.

 

อ้างอิง

[1] เรียบเรียงจาก แพทรีเชีย เอส. เดเนียลส์ และ สตีเวน จี. ไฮสลอป, พลิกประวัติศาสตร์โลก, คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ (แปล), กรุงเทพฯ : เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก, 2549, หน้า 298-301; สุรชาติ บำรุงสุข, สงคราม : จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 147-156; ; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 , กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2555.; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, นครปฐม: คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559, หน้า 30-36.

[2] ความหมายของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” ในที่นี้สรุปจาก สุรชาติ บำรุงสุข, สงคราม : จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ 21,  กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 119.

[3]สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ ,เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15, ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 156-158;   สุรชาติ บำรุงสุข, สงคราม : จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ 21,  กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2541, หน้า 1142-146; สัญชัย สุวังบุตร และอนันต์ชัย เลาหะพันธุ, ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20, หน้า 168-172; สุรางค์ศรี ตันเสียงสม, ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่, กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2551, หน้า 71-88.

[4] สรุปจาก พลับพลึง คงชนะ, “สงครามโลก: บทเรียนสำหรับมนุษยชาติ,” ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศิลปศาสตร์ , เอกสารการสอนชุดวิชาอารยธรรมมนุษย์ หน่วยที่ 8-15, หน้า 169-176; จิราธร ชาติศิริ, “70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2,” หน้า 39-40; สุรชาติ บำรุงสุข, สงคราม : จากยุคบุพกาลสู่ศตวรรษที่ 21, หน้า 159-164.

[5] แถมสุข นุ่มนนท์, เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพน: สายธาร, 2548, หน้า 23-24.

[6] เทพ บุญตานนท์, “การเคลื่อนไหวของสายลับในนครปฐมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2,” ใน จิราธร ชาติศิริ (บรรณาธิการ), ร.ศ. 160 ไขรหัสลับเสรีไทยที่ศาลายา, หน้า 7-10.

[7] สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551, หน้า 49-53.

[8] ปรีดี พนมยงค์, โมฆสงคราม บันทึกสัจจะประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เปิดเผยของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์, กรุงเทพฯ: มูลนิธิปรีดี พนมยงค์, 2558, หน้า 289.

[9] ดู ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, เพื่อชาติ เพื่อ humanity ภารกิจของวีรบุรุษเสรีไทย จำกัด พลางกูร ในการเจรจากับสัมพันธมิตร, กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2549.

[10] เดวิด เค. วัยอาจ, ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556, หน้า 473-475.