ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พิษณุ สุ่มประดิษฐ์)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 31: บรรทัดที่ 31:
แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาล[[สัญญา ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มี[[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] การปฏิวัติของประชาชนในครั้งนี้ไม่มีการยกเลิกธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 แต่ที่มีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นใหม่ก็เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกชุดใหม่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเด็ดขาดลงไป ทำให้เหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง[[สมัชชาแห่งชาติ]]ขึ้น จำนวน 2,347 คน ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2516 เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเองให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจาณาและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้บังคับแทนธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 สมัชชาแห่งชาติชุดนี้เรียกกันทั่วไปว่า สภาสนามม้า ทั้งนี้ สภาสมัชชาแห่งชาติได้เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดยข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และ[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516
แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาล[[สัญญา ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มี[[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] การปฏิวัติของประชาชนในครั้งนี้ไม่มีการยกเลิกธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 แต่ที่มีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นใหม่ก็เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกชุดใหม่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเด็ดขาดลงไป ทำให้เหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง[[สมัชชาแห่งชาติ]]ขึ้น จำนวน 2,347 คน ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2516 เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเองให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจาณาและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้บังคับแทนธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 สมัชชาแห่งชาติชุดนี้เรียกกันทั่วไปว่า สภาสนามม้า ทั้งนี้ สภาสมัชชาแห่งชาติได้เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดยข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และ[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 สาเหตุที่สภานี้มีชื่อเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า '''“สภาสนามม้า”''' เนื่องจากเลือกกันที่สนามม้าราชตฤนมัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน คือ [[คึกฤทธ์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช]] เป็นประธานสภาคนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อจากนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช ลาออกและเลือกประธานกันใหม่มี [[ประภาศน์ อวยชัย|นายประภาศน์ อวยชัย]] เป็นประธานสภา ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 สาเหตุที่สภานี้มีชื่อเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า '''“[[สภาสนามม้า]]”''' เนื่องจากเลือกกันที่สนามม้าราชตฤนมัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน คือ [[คึกฤทธ์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช]] เป็นประธานสภาคนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อจากนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช ลาออกและเลือกประธานกันใหม่มี [[ประภาศน์ อวยชัย|นายประภาศน์ อวยชัย]] เป็นประธานสภา ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518


'''ผลงานด้านนิติบัญญัติ'''  
'''ผลงานด้านนิติบัญญัติ'''  
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2518 และมีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 120 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น  
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2518 และมีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 120 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น  


- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]]


- พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517]]


- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516  
- [[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516]]


'''พ.ศ. 2517'''  
'''พ.ศ. 2517'''  


- พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517]]


- พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2517]]


- พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517]]


- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517  
- [[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517]]


==สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520–2522==
==สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520–2522==


เกิดขึ้นภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย [[สงัด ชลออยู่|พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่]] ยึดอำนาจรัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจว่าเป็นเพราะมีความแตกแยกของข้าราชการและประชาชน ประกอบกับการจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ขั้นตอน ๆ ละ 4 ปีนั้นนานเกินไป คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 เป็นการชั่วคราวแทน ในธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ได้ปรากฏเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการที่จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีพุทธศักราช 2521  
เกิดขึ้นภายหลัง[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] นำโดย [[สงัด ชลออยู่|พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่]] ยึดอำนาจรัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจว่าเป็นเพราะมีความแตกแยกของข้าราชการและประชาชน ประกอบกับการจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ขั้นตอน ๆ ละ 4 ปีนั้นนานเกินไป คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 เป็นการชั่วคราวแทน ในธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ได้ปรากฏเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการที่จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีพุทธศักราช 2521  


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 มีสมาชิกจำนวน 360 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 300 คน แต่ไม่เกิน 400 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2522 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 สำหรับประธานสภาคือ [[หะริน หงสกุล|พลอากาศเอกหะริน หงสกุล]] ดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 มีสมาชิกจำนวน 360 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 300 คน แต่ไม่เกิน 400 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2522 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 สำหรับประธานสภาคือ [[หะริน หงสกุล|พลอากาศเอกหะริน หงสกุล]] ดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
บรรทัดที่ 114: บรรทัดที่ 114:
==สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549–2550==
==สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549–2550==


เกิดขึ้นเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย [[สนธิ บุณยรัตกลิน|พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน]] เป็นหัวหน้าคณะฯ, [[ชลิต พุกผาสุก|พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก]] เป็นรอง หัวหน้าคณะฯ, [[สถิรพันธุ์ เกยานนท์|พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์]], [[บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์|พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์]], [[โกวิท วัฒนะ|พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ]] เป็นสมาชิกฯ, [[วินัย ภัททิยกุล|พลเอก วินัย ภัททิยกุล]] เป็นเลขาธิการฯ, [[สพรั่ง กัลยาณมิตร|พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร]] เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ, [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา|พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งมีบทบัญญัติกำหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ ทำหน้าที่ของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[วุฒิสภา]] และ[[รัฐสภา]]  
เกิดขึ้นเมื่อ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) นำโดย [[สนธิ บุณยรัตกลิน|พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน]] เป็นหัวหน้าคณะฯ, [[ชลิต พุกผาสุก|พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก]] เป็นรอง หัวหน้าคณะฯ, [[สถิรพันธุ์ เกยานนท์|พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์]], [[บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์|พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์]], [[โกวิท วัฒนะ|พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ]] เป็นสมาชิกฯ, [[วินัย ภัททิยกุล|พลเอก วินัย ภัททิยกุล]] เป็นเลขาธิการฯ, [[สพรั่ง กัลยาณมิตร|พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร]] เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ, [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา|พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งมีบทบัญญัติกำหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ ทำหน้าที่ของ[[สภาผู้แทนราษฎร]] [[วุฒิสภา]] และ[[รัฐสภา]]  


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน 250 คน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน  
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน 250 คน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน  
บรรทัดที่ 124: บรรทัดที่ 124:
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมีการตราพระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น  
สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมีการตราพระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น  


- พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติระเบียบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติระเบียบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทบริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน พ.ศ. 2549  
- [[พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทบริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน พ.ศ. 2549]]


- พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนสินค้า ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549  
- [[พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนสินค้า ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549]]


'''พ.ศ. 2550'''  
'''พ.ศ. 2550'''  


- พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารทรัพย์สิน พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารทรัพย์สิน พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550  
- [[พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550]]


- พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  
- [[พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551]]


==อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ==
==อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:04, 17 ธันวาคม 2552

ผู้เรียบเรียง พิษณุ สุ่มประดิษฐ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมายถึง สภานิติบัญญัติระดับชาติซึ่งทำหน้าที่รัฐสภา เป็นสภาเดียว โดยมีสมาชิกซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว สภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งหมดมีที่มาหลังการปฏิวัติรัฐประหาร เท่าที่ผ่านมามีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาดังกล่าว รวม 5 ชุด (คณิน บุญสุวรรณ, 2548 : 519)

ที่มาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นับตั้งแต่ประเทศไทยดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) ประเทศไทยได้ปกครองด้วยระบบรัฐสภามาแล้วเป็นเวลา 77 ปี ซึ่งจะมีเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นที่ประเทศไทยได้ว่างเว้นจากการปกครอง โดยปราศจากสถาบันรัฐสภา เนื่องจากมีการปฏิวัติรัฐประหาร หรือยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือรัฐประหาร ได้ใช้อำนาจเด็ดขาดในรูปของคำสั่งคณะปฏิวัติในการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงเวลานั้น ๆ

โดยการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจการบริหารประเทศ ด้วยการใช้กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 13 ครั้ง ซึ่งผลจากการปฏิวัติรัฐประหารหรือการยึดอำนาจบริหารประเทศดังกล่าว ได้ส่งผลให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นกฎหมายปกครองประเทศและกลไกของรัฐสภา ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องถูกยุบเลิกไป ทั้งนี้ คณะปฏิวัติจะทำการแต่งตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมทั้งแต่งตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ในด้านกระบวนการนิติบัญญัติแทนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งนี้ จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมา การได้มีองค์กรที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ในด้านกระบวนการนิติบัญญัติ ภายหลังที่มีการปฏิวัติรัฐประหารนั่นคือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2550 ได้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมา 5 ชุด คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดที่ 1 พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2516 สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดที่ 2 พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3 พ.ศ. 2520 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 4 พ.ศ. 2534 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดที่ 5 พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515-2516

แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จากการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามมาตรา 6 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 มีสมาชิกจำนวน 299 คน ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สิ้นสุดลงโดยพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 อันมีสาเหตุมาจากการเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ทำให้มีสมาชิกฯ ขอลาออกเป็นจำนวน 288 คน จนไม่เพียงพอจะเป็นองค์ประชุมได้ สำหรับประธานสภาคือ พลตรีศิริ สิริโยธิน ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516

ผลงานด้านนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 46 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น

- พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2515

- พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516-2518

แต่งตั้งขึ้นในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจและขับไล่รัฐบาลชุดที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การปฏิวัติของประชาชนในครั้งนี้ไม่มีการยกเลิกธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 แต่ที่มีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นใหม่ก็เพราะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกชุดใหม่ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเด็ดขาดลงไป ทำให้เหลือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพียง 11 คน ไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้น จำนวน 2,347 คน ตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2516 เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกตั้งกันเองให้เหลือ 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจาณาและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้บังคับแทนธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 สมัชชาแห่งชาติชุดนี้เรียกกันทั่วไปว่า สภาสนามม้า ทั้งนี้ สภาสมัชชาแห่งชาติได้เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 โดยข้าราชการพลเรือนเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากที่สุด และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมติสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 สาเหตุที่สภานี้มีชื่อเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า สภาสนามม้า เนื่องจากเลือกกันที่สนามม้าราชตฤนมัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มี 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช เป็นประธานสภาคนแรก ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ต่อจากนั้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธ์ ปราโมช ลาออกและเลือกประธานกันใหม่มี นายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธานสภา ดำรงตำแหน่ง ระหว่าง วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2518

ผลงานด้านนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2518 และมีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 120 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น

- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517

- พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517

- [[พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516]]

พ.ศ. 2517

- พระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517

- พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2517

- พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517

- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520–2522

เกิดขึ้นภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจว่าเป็นเพราะมีความแตกแยกของข้าราชการและประชาชน ประกอบกับการจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3 ขั้นตอน ๆ ละ 4 ปีนั้นนานเกินไป คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 เป็นการชั่วคราวแทน ในธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ได้ปรากฏเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการที่จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในปีพุทธศักราช 2521

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 มีสมาชิกจำนวน 360 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 300 คน แต่ไม่เกิน 400 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2522 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 สำหรับประธานสภาคือ พลอากาศเอกหะริน หงสกุล ดำรงตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522

ผลงานด้านนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และมีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 163 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น

- พระราชบัญญัติประถมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติครู (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติการเนรเทศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2521

- พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534-2535

เกิดขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์, สุจินดา คราประยูร, พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤณจันทร์, พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล, พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ และพลเอก อิสระพงษ์ หนุนภักดี ยึดอำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 เหตุผลที่สำคัญในการเข้ายึดอำนาจ คือ การรักษาไว้ซึ่งสถาบันที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐให้ดำรงอยู่ตลอดไป คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พุทธศักราช 2534 แทน ซึ่งได้กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่ง ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มีสมาชิกจำนวน 292 คน (ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ให้แต่งตั้งได้ไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 300 คน) ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 โดยมี นายอุกฤษ มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่งประธานสภา ระหว่างวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535

ผลงานด้านนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 และมีการตราพระราชบัญญัติประมาณ 247 ฉบับ พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น

- พระราชบัญญัติพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549–2550

เกิดขึ้นเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะฯ, พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก เป็นรอง หัวหน้าคณะฯ, พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์, พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์, พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ เป็นสมาชิกฯ, พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการฯ, พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ, พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้ช่วยเลขาธิการฯ ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ซึ่งมีบทบัญญัติกำหนดให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ ทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ แต่งตั้งตามมาตรา 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ให้แต่งตั้งได้ไม่เกิน 250 คน) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน

ทั้งนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมี มีชัย ฤชุพันธุ์นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานสภา ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

ผลงานด้านนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ มีการตรารัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้ จำนวน 1 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมีการตราพระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น

- พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติระเบียบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทบริหารทรัพย์สินสถาบันการเงิน พ.ศ. 2549

- [[พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 8 เรื่อง ห้ามกักตุนสินค้า ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549]]

พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารทรัพย์สิน พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550

- พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็เหมือนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภานั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ได้แก่

1. อำนาจหน้าที่ในการตรากฎหมาย

2. อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

3. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติไว้หรือตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามกฎหมายและตามข้อบังคับการประชุมสภา

นอกจากอำนาจหน้าที่ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บางชุดยังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้

1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515–2516 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516–2518 มีหน้าที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ (มาตรา 10 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515)

2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520–2522 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520)

3. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534–2535 มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญ (มาตรา 6 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534)

อำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังมีรัฐธรรมนูญ(ฉบับถาวร)

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นอกจากจะมีอำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละชุดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ภายหลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังต้องทำหน้าที่รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ดังนี้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517

มาตรา 234 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้ รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 233 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 102 และมาตรา 103 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้” ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516–2518

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521

มาตรา 195 บัญญัติว่า “นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 202 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ทำหน้าที่รัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 125 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา136 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 137 มิได้และมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 86 และมาตรา 97 มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรานี้” ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520–2522

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534

มาตรา 212 บัญญัติว่า “นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้จนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 218 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ทำหน้าที่รัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเสนอร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา 137 ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 211 ตั้งกระทู้ถามตามมาตรา 149 หรือเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 มิได้มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 96 และมาตรา 108 มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง” ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534-2535

4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 293 บัญญัติว่า “ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา 127” ซึ่งในที่นี้คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549–2550

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย, “รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2475-2549)”, กรุงเทพฯ : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ, 2549.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ, “ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย”, กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักกฎหมาย, “รวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2475-2549)”, กรุงเทพฯ : สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กรุงเทพฯ, 2549.