ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนศรีศรากร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''ขุนศรีศรากร : ผู้ก่อการฯ ทหารหนุ่ม'''
'''ขุนศรีศรากร : ผู้ก่อการฯ ทหารหนุ่ม'''


เดือนมิถุนายน มาคุยเรื่องผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองกันบ้าง ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นเป็นการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง แต่ก็แทบจะไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อเลยทีเดียว มียกเว้นอยู่กรณีเดียวที่มีเลือดตกยางออกเกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการฯท่านหนึ่ง คือ ร.ท.ขุนศรีศรากร ผู้ก่อการหนุ่มสายทหารบก ในวันก่อการฯท่านรับหน้าที่สำคัญมากที่ต้องไปควบคุมตัวนายทหารคนสำคัญของฝ่ายรัฐบาลที่บ้านพัก เพื่อเอามากักไว้ที่กองบัญชาการของคณะผู้ก่อการฯ และเกิดการยิงกันขึ้น
เดือนมิถุนายน มาคุยเรื่องผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองกันบ้าง ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|24 มิถุนายน พ.ศ.2475]] นั้นเป็นการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง แต่ก็แทบจะไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อเลยทีเดียว มียกเว้นอยู่กรณีเดียวที่มีเลือดตกยางออกเกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการฯท่านหนึ่ง คือ ร.ท.ขุนศรีศรากร ผู้ก่อการหนุ่มสายทหารบก ในวันก่อการฯท่านรับหน้าที่สำคัญมากที่ต้องไปควบคุมตัวนายทหารคนสำคัญของฝ่ายรัฐบาลที่บ้านพัก เพื่อเอามากักไว้ที่กองบัญชาการของคณะผู้ก่อการฯ และเกิดการยิงกันขึ้น


ขุนศรีศรากร นั้นมีชื่อเดิมว่า ชลอ นามสกุล ศรีธนากร เป็นนามสกุลที่สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ทรงประทาน ท่านเกิดในเรือบรรทุกข้าวที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2444 พ่อชื่อ กัน แม่ชื่อ สวาท ความที่เป็นคนขยันและหัวดีจึงสอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยได้ เรียนจบโรงเรียนออกมารับราชการเป็นนายร้อยตั้งแต่ พ.ศ.2466 โดยเป็นทหารอยู่ทางทหารปืนใหญ่ ทำให้มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมด้านทหารปืนใหญ่ กับนายทหารนักเรียนนอกที่ชื่อ หลวงพิบูลสงคราม และด้วยความสัมพันธ์อย่างนี้เองที่ ขุนศรีศรากร ได้รับการชักชวนให้ร่วมงานใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ร.อ.หลวงพิบูลสงคราม
ขุนศรีศรากร นั้นมีชื่อเดิมว่า ชลอ นามสกุล ศรีธนากร เป็นนามสกุลที่สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ทรงประทาน ท่านเกิดในเรือบรรทุกข้าวที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2444 พ่อชื่อ กัน แม่ชื่อ สวาท ความที่เป็นคนขยันและหัวดีจึงสอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยได้ เรียนจบโรงเรียนออกมารับราชการเป็นนายร้อยตั้งแต่ พ.ศ.2466 โดยเป็นทหารอยู่ทางทหารปืนใหญ่ ทำให้มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมด้านทหารปืนใหญ่ กับนายทหารนักเรียนนอกที่ชื่อ [[หลวงพิบูลสงคราม|หลวงพิบูลสงคราม]] และด้วยความสัมพันธ์อย่างนี้เองที่ ขุนศรีศรากร ได้รับการชักชวนให้ร่วมงานใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ร.อ.หลวงพิบูลสงคราม


ในภาพถ่ายสำคัญของคณะผู้ก่อการฯสายทหารบกที่แพร่หลายกันมากนั้น ได้ปรากฏรูปขุนศรีศรากร นั่งอยู่บนพื้นเบื้องหน้าพระยาทรงสุรเดช ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างหลัง ขณะนั้นขุนศรีศรากรมียศร้อยโททหารบก และในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ท่านได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการฯให้นำกำลังไม่กี่คนไปปฏิบัติการควบคุมตัว นายพลตรี พระยาเสนาสงคราม ผู้บัญชาการกองพล 1 ที่บ้านพักถนนนครไชยศรี งานนี้เป็นงานยาก เพราะพระยาเสนาสงครามนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญ คุมทหารในกรุงเทพถ้าไม่ได้ตัว ปล่อยหลุดไปสั่งการทหารในพระนครออกมาต้านการยึดอำนาจ ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งพระยาเสนาสงครามนั้นขึ้นชื่อว่าไม่กลัวใคร ใช้ปืนได้เก่งด้วย เหตุการณ์การจับตัวพระยาเสนาสงครามเมื่อวันนั้นมีการเล่าขานผ่านผู้คนหลายฝ่าย ครั้งนี้ขอเอาคำบอกเล่าของทางด้านขุนศรีศรากรตามที่ปรากฏในหนังสืองานศพของขุนศรีศรากร มาให้อ่านกัน
ในภาพถ่ายสำคัญของคณะผู้ก่อการฯสายทหารบกที่แพร่หลายกันมากนั้น ได้ปรากฏรูปขุนศรีศรากร นั่งอยู่บนพื้นเบื้องหน้า[[พระยาทรงสุรเดช|พระยาทรงสุรเดช]] ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างหลัง ขณะนั้นขุนศรีศรากรมียศร้อยโททหารบก และในวัน[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475]] ท่านได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการฯให้นำกำลังไม่กี่คนไปปฏิบัติการควบคุมตัว [[พระยาเสนาสงคราม|นายพลตรี พระยาเสนาสงคราม]] ผู้บัญชาการกองพล 1 ที่บ้านพักถนนนครไชยศรี งานนี้เป็นงานยาก เพราะพระยาเสนาสงครามนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญ คุมทหารในกรุงเทพถ้าไม่ได้ตัว ปล่อยหลุดไปสั่งการทหารในพระนครออกมาต้านการ[[ยึดอำนาจ|ยึดอำนาจ]] ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งพระยาเสนาสงครามนั้นขึ้นชื่อว่าไม่กลัวใคร ใช้ปืนได้เก่งด้วย เหตุการณ์การจับตัวพระยาเสนาสงครามเมื่อวันนั้นมีการเล่าขานผ่านผู้คนหลายฝ่าย ครั้งนี้ขอเอาคำบอกเล่าของทางด้านขุนศรีศรากรตามที่ปรากฏในหนังสืองานศพของขุนศรีศรากร มาให้อ่านกัน


'''''"วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมทำการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้จับเป็นพลตรี พระยาเสนาสงคราม ซึ่งได้ทำการผิดพลาดทำให้เกิดเลือดตกยางออกเพียงจุดเดียวในวันก่อการฯ(ทั้งนี้ เพราะเมื่อพลตรีพระยาเสนาสงครามเปิดประตูบ้านออกมา ร.ท.ขุนศรีศรากร ได้ยกมือขึ้นทำ'''''วันทยาหัตถ์' แต่นายจ้อย ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไปด้วยเข้าใจผิดคิดว่าให้สัญญาณ จึงใช้พานท้ายปืนพาบาเบลั่ม ตีศีรษะพระยาเสนาสงคราม และได้เกิดการยิงกันขึ้น กระสุนถูกหน้าท้องพลตรีพระยาเสนาสงคราม แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต ) ส่วนจุดอื่นๆ ไม่มีการเลือดตกยางออกเลย"
'''''"วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมทำการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้จับเป็นพลตรี พระยาเสนาสงคราม ซึ่งได้ทำการผิดพลาดทำให้เกิดเลือดตกยางออกเพียงจุดเดียวในวันก่อการฯ(ทั้งนี้ เพราะเมื่อพลตรีพระยาเสนาสงครามเปิดประตูบ้านออกมา ร.ท.ขุนศรีศรากร ได้ยกมือขึ้นทำ'''''วันทยาหัตถ์' แต่นายจ้อย ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไปด้วยเข้าใจผิดคิดว่าให้สัญญาณ จึงใช้พานท้ายปืนพาบาเบลั่ม ตีศีรษะพระยาเสนาสงคราม และได้เกิดการยิงกันขึ้น กระสุนถูกหน้าท้องพลตรีพระยาเสนาสงคราม แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต ) ส่วนจุดอื่นๆ ไม่มีการเลือดตกยางออกเลย"
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
'''''"วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับคำสั่งให้ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ ร.ท.ม.ร.ว.ลาภ หัสดิน เพื่อเชิญเสด็จพระองค์เจ้าบวรเดชมาประทับที่พระนคร แต่ได้ถูกจับเข้าเรือนจำทหารและถูกสั่งให้ประหารชีวิตเพื่อนำเลือดไปเจิมธงไชยเฉลิมพล"'''''
'''''"วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับคำสั่งให้ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ ร.ท.ม.ร.ว.ลาภ หัสดิน เพื่อเชิญเสด็จพระองค์เจ้าบวรเดชมาประทับที่พระนคร แต่ได้ถูกจับเข้าเรือนจำทหารและถูกสั่งให้ประหารชีวิตเพื่อนำเลือดไปเจิมธงไชยเฉลิมพล"'''''


ขุนศรีศรากรนั้นเป็นทหารบกมาก่อนดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ภายหลังผู้คนจะรู้จักท่านในบทบาทและงานทางด้านตำรวจ เพราะท่านได้ย้ายมารับราชการเป็นตำรวจเพื่อช่วยงานของคณะผู้ก่อการฯ เนื่องจากตอนต้นปี 2477 คณะผู้ก่อการฯให้พันเอก หลวงอดุลเดชจรัส ผู้ก่อการฯคนสำคัญมาช่วยดูงานด้านตำรวจในตำแหน่งรองอธิบดี และทางหลวงอดุลฯต้องการเพื่อนผู้ก่อการฯระดับรองๆมาด้วย โดยเลือก ร.อ.ขุนศรีศรากร จากทหารปืนใหญ่มาเป็น ''"สารวัตรตำรวจสันติบาล"'' ถึงจะไม่ใช่ผู้บังคับการสันติบาล แต่ก็มีอำนาจมากเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของรองอธิบดีกรมตำรวจ  ปีถัดมาได้เลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี และได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ด้วย
ขุนศรีศรากรนั้นเป็นทหารบกมาก่อนดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ภายหลังผู้คนจะรู้จักท่านในบทบาทและงานทางด้านตำรวจ เพราะท่านได้ย้ายมารับราชการเป็นตำรวจเพื่อช่วยงานของคณะผู้ก่อการฯ เนื่องจากตอนต้นปี 2477 คณะผู้ก่อการฯให้[[หลวงอดุลเดชจรัส|พันเอก หลวงอดุลเดชจรัส]] ผู้ก่อการฯคนสำคัญมาช่วยดูงานด้านตำรวจในตำแหน่งรองอธิบดี และทางหลวงอดุลฯต้องการเพื่อนผู้ก่อการฯระดับรองๆมาด้วย โดยเลือก ร.อ.ขุนศรีศรากร จากทหารปืนใหญ่มาเป็น ''"สารวัตรตำรวจสันติบาล"'' ถึงจะไม่ใช่ผู้บังคับการสันติบาล แต่ก็มีอำนาจมากเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของรองอธิบดีกรมตำรวจ  ปีถัดมาได้เลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี และได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ประเภทที่ 2 ด้วย


ตำแหน่งที่ดูจะมีความสำคัญน้อย แต่เมื่อขุนศรีศรากรไปดำรงตำแหน่งแล้วมีคนเอามาเล่ากันมากก็คือตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษ บางขวาง ที่ท่านไปเป็นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2480 สมัยนั้นนายกรัฐมนตรียังเป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา คุกบางขวางในตอนนั้นมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอยู่ นักโทษการเมืองรุ่นแรกที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ คือ นักโทษกรณีกบฏบวรเดช ที่ตอนแรกทางรัฐบาลคงจะเข้มงวดกวดขันมาก และผู้ควบคุมบางรายก็ร้ายไปด้วย ทั้งๆที่นักโทษการเมืองนั้นคือผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล ไม่ใช่โจรปล้นชิงทรัพย์ ที่ชั่วร้ายแต่อย่างใด พวกนี้แม้จะอยู่ข้างในคุกก็ถูกตีตรวนตลอดเวลา ขุนศรีศรากรไปเป็นผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้หาทางผ่อนปรน ยอมถอดโซ่ตรวนนักโทษ เพราะว่าอยู่ในเรือนจำ ที่ในวันนั้นถือว่าเป็นที่คุมขังที่ปลอดภัยและมั่นคง  แต่ที่เอามาเล่าขานกันมากก็คือท่านผู้บัญชาการท่านนี้ ปล่อยนักโทษการเมืองให้ออกมานอกคุกได้ในเวลากลางวัน ตอนแรกๆนักโทษก็อาจชิมลางออกมาเดินเล่นใกล้คุก แต่ต่อมาก็ถึงกับเดินทางไปเยี่ยมบ้านได้ ในเวลานั้นถนนรถยนต์ยังไปไม่ถึงคุก ต้องเดินทางจากท่าเรือที่บางกระบือไปที่ท่าเรือทางเมืองนนทบุรี จนมีเรื่องเล่ากันว่านักโทษการเมืองบางรายเดินไปเดินมาไม่ระวังตนหลบหน้าหลบตาให้ดี ไปพบขุนศรีศรากรเอาซึ่งๆหน้า ท่านยังกระซิบให้กลับเข้าคุกให้ทันเวลาเท่านั้นเอง
ตำแหน่งที่ดูจะมีความสำคัญน้อย แต่เมื่อขุนศรีศรากรไปดำรงตำแหน่งแล้วมีคนเอามาเล่ากันมากก็คือตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษ บางขวาง ที่ท่านไปเป็นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2480 สมัยนั้น[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]ยังเป็น[[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] คุกบางขวางในตอนนั้นมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอยู่ นักโทษการเมืองรุ่นแรกที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ คือ นักโทษกรณี[[กบฏบวรเดช|กบฏบวรเดช]] ที่ตอนแรกทางรัฐบาลคงจะเข้มงวดกวดขันมาก และผู้ควบคุมบางรายก็ร้ายไปด้วย ทั้งๆที่นักโทษการเมืองนั้นคือผู้ที่เห็นต่างจาก[[รัฐบาล|รัฐบาล]] ไม่ใช่โจรปล้นชิงทรัพย์ ที่ชั่วร้ายแต่อย่างใด พวกนี้แม้จะอยู่ข้างในคุกก็ถูกตีตรวนตลอดเวลา ขุนศรีศรากรไปเป็นผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้หาทางผ่อนปรน ยอมถอดโซ่ตรวนนักโทษ เพราะว่าอยู่ในเรือนจำ ที่ในวันนั้นถือว่าเป็นที่คุมขังที่ปลอดภัยและมั่นคง  แต่ที่เอามาเล่าขานกันมากก็คือท่านผู้บัญชาการท่านนี้ ปล่อยนักโทษการเมืองให้ออกมานอกคุกได้ในเวลากลางวัน ตอนแรกๆนักโทษก็อาจชิมลางออกมาเดินเล่นใกล้คุก แต่ต่อมาก็ถึงกับเดินทางไปเยี่ยมบ้านได้ ในเวลานั้นถนนรถยนต์ยังไปไม่ถึงคุก ต้องเดินทางจากท่าเรือที่บางกระบือไปที่ท่าเรือทางเมืองนนทบุรี จนมีเรื่องเล่ากันว่านักโทษการเมืองบางรายเดินไปเดินมาไม่ระวังตนหลบหน้าหลบตาให้ดี ไปพบขุนศรีศรากรเอาซึ่งๆหน้า ท่านยังกระซิบให้กลับเข้าคุกให้ทันเวลาเท่านั้นเอง


ขณะดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำนั่นเอง ตำแหน่งทางสันติบาลก็ก้าวหน้าขึ้น เพราะได้เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการสันติบาล เป็นนายตำรวจคู่ใจหลวงอดุลเดชจรัสผู้เป็นอธิบดี อีก 6 เดือนต่อมาก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และเป็นอธิบดีกรมนี้ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2482 สมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี แสดงว่าท่านเป็นผู้ที่นายกรัฐมนตรีคนเก่าคือพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายกรัฐมนตรีคนใหม่คือหลวงพิบูลสงครามไว้วางใจทั้งคู่ อีกสองปีต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ขุนศรีศรากรถูกย้ายตำแหน่งจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไปเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตซึ่งก็เป็นกรมสำคัญ แต่ตามประวัติของท่านเล่ากันไว้ว่าเป็นการถูกย้ายโดยไม่รู้เรื่องมาก่อน
ขณะดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำนั่นเอง ตำแหน่งทางสันติบาลก็ก้าวหน้าขึ้น เพราะได้เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการสันติบาล เป็นนายตำรวจคู่ใจหลวงอดุลเดชจรัสผู้เป็นอธิบดี อีก 6 เดือนต่อมาก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และเป็นอธิบดีกรมนี้ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2482 สมัยที่[[แปลก_พิบูลสงคราม|หลวงพิบูลสงคราม]]เป็นนายกรัฐมนตรี แสดงว่าท่านเป็นผู้ที่นายกรัฐมนตรีคนเก่าคือพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายกรัฐมนตรีคนใหม่คือหลวงพิบูลสงครามไว้วางใจทั้งคู่ อีกสองปีต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ขุนศรีศรากรถูกย้ายตำแหน่งจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไปเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตซึ่งก็เป็นกรมสำคัญ แต่ตามประวัติของท่านเล่ากันไว้ว่าเป็นการถูกย้ายโดยไม่รู้เรื่องมาก่อน


'''''"โดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า เนื่องจากผู้บังคับบัญชาไม่พอใจที่ปกครองเรือนจำอ่อนไป สั่งถอดตรวนหมดทุกเรือนจำ และให้ทำงานอาชีพเบาๆ บริหารงานหนักไปในทางให้ความสุขแก่ผู้ต้องขัง เฉพาะอย่างยิ่งผู้ต้องขังการเมือง มีเสรีภาพมากเกินไป ปล่อยออกทำงานนอกเรือนจำมาก จึงย้ายไปอยู่กรมสรรพสามิต”'''''
'''''"โดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า เนื่องจากผู้บังคับบัญชาไม่พอใจที่ปกครองเรือนจำอ่อนไป สั่งถอดตรวนหมดทุกเรือนจำ และให้ทำงานอาชีพเบาๆ บริหารงานหนักไปในทางให้ความสุขแก่ผู้ต้องขัง เฉพาะอย่างยิ่งผู้ต้องขังการเมือง มีเสรีภาพมากเกินไป ปล่อยออกทำงานนอกเรือนจำมาก จึงย้ายไปอยู่กรมสรรพสามิต”'''''


แต่การถูกย้ายตำแหน่งของท่านนั้นน่าจะไม่ใช่การถูกลงโทษ เพราะต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงครามเช่นเดียวกัน ท่านก็ถูกย้ายตำแหน่งอีก ครั้งนี้ท่านได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นอธิบดีกรมรถไฟแทน พ.อ.หลวงเสรีเริงฤทธ์ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2485 โดยการเสนอของหลวงอดุลเดชจรัส ท่านได้ทำงานในสมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยดีตลอดมา ในเดือนมีนาคมปี 2487 ท่านยังได้รับยศเลื่อนเป็นพันตำรวจเอก
แต่การถูกย้ายตำแหน่งของท่านนั้นน่าจะไม่ใช่การถูกลงโทษ เพราะต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงครามเช่นเดียวกัน ท่านก็ถูกย้ายตำแหน่งอีก ครั้งนี้ท่านได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นอธิบดีกรมรถไฟแทน [[หลวงเสรีเริงฤทธิ์|พ.อ.หลวงเสรีเริงฤทธ์]]ิ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2485 โดยการเสนอของหลวงอดุลเดชจรัส ท่านได้ทำงานในสมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยดีตลอดมา ในเดือนมีนาคมปี 2487 ท่านยังได้รับยศเลื่อนเป็นพันตำรวจเอก


ครั้นหลวงพิบูลสงครามเจอมรสุมการเมืองต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสายพลเรือนได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ขุนศรีศรากรก็ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำงานสำคัญต่อมา เพราะท่านเป็นคนที่หลวงอดุลเดชจรัสไว้วางใจ และหลวงอดุลเดชจรัสผู้ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจนั้นเป็นผู้ที่มีอำนาจแท้จริงคนหนึ่งในรัฐบาลขณะนั้น หลวงพิบูลฯ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นั้นแม้จะออกจากนายกรัฐมนตรี แต่ยังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด คุมทั้ง 3 เหล่าทัพ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไปปักหลักอยู่ที่จังหวัดลพบุรีที่ค่ายทหาร ในสถานการณ์ตึงเครียดอย่างนั้นนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ต้องเดินทางไปพบเพื่อเจรจากับหลวงพิบูลฯที่ลพบุรี โดยนายกรัฐมนตรีได้เอาขุนศรีศรากร ผู้บังคับการสันติบาลไปด้วย ไปเจรจากันสองครั้งห่างกัน 7 วัน คือ ในวันที่ 13 และ19 สิงหาคม พ.ศ.2487 จนทำให้หลวงพิบูลสงครามยอมรับที่จะไม่ใช้กำลังกลับมายึดอำนาจ หลังจากงานนี้นายกฯควง อภัยวงศ์ จึงได้ขอยศให้ขุนศรีศรากรเป็นนายพลตำรวจตรี
ครั้นหลวงพิบูลสงครามเจอมรสุมการเมืองต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี [[ควง_อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสายพลเรือนได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ขุนศรีศรากรก็ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำงานสำคัญต่อมา เพราะท่านเป็นคนที่หลวงอดุลเดชจรัสไว้วางใจ และหลวงอดุลเดชจรัสผู้ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจนั้นเป็นผู้ที่มีอำนาจแท้จริงคนหนึ่งในรัฐบาลขณะนั้น หลวงพิบูลฯ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นั้นแม้จะออกจากนายกรัฐมนตรี แต่ยังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด คุมทั้ง 3 เหล่าทัพ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไปปักหลักอยู่ที่จังหวัดลพบุรีที่ค่ายทหาร ในสถานการณ์ตึงเครียดอย่างนั้นนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ต้องเดินทางไปพบเพื่อเจรจากับหลวงพิบูลฯที่ลพบุรี โดยนายกรัฐมนตรีได้เอาขุนศรีศรากร ผู้บังคับการสันติบาลไปด้วย ไปเจรจากันสองครั้งห่างกัน 7 วัน คือ ในวันที่ 13 และ19 สิงหาคม พ.ศ.2487 จนทำให้หลวงพิบูลสงครามยอมรับที่จะไม่ใช้กำลังกลับมายึดอำนาจ หลังจากงานนี้นายกฯควง อภัยวงศ์ จึงได้ขอยศให้ขุนศรีศรากรเป็นนายพลตำรวจตรี


งานสำคัญของชาติที่ขุนศรีศรากรได้ร่วมทำตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านเองเสียดายที่ได้ร่วมงานช้าไปก็คืองานเสรีไทย ดังที่มีบันทึกเล่าไว้
งานสำคัญของชาติที่ขุนศรีศรากรได้ร่วมทำตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านเองเสียดายที่ได้ร่วมงานช้าไปก็คืองานเสรีไทย ดังที่มีบันทึกเล่าไว้
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:


หลังจากมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่บัญญัติห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะผู้ก่อการฯได้ประชุมหารือกันและให้สมาชิกเลือกที่จะเป็นข้าราชการประจำหรือจะเป็นฝ่ายการเมือง ขุนศรีศรากรเลือกจะเป็นข้าราชการประจำต่อไป แต่ท่านก็เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตต่อมาไม่นาน ''"เกิดกรณีขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องซื้อฝิ่นจากเปอร์เซีย"'' จึงถูกสั่งให้ออกจากราชการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2490 ตอนนั้นอายุเพียง 46 ปี และท่านก็ไม่ได้เข้ารับราชการหรือเล่นการเมืองอีกเลย จนอีก 20 ปีต่อมาท่านก็ตัดสินใจออกบวชตลอดชีวิต จนมรณภาพเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2530
หลังจากมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่บัญญัติห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะผู้ก่อการฯได้ประชุมหารือกันและให้สมาชิกเลือกที่จะเป็นข้าราชการประจำหรือจะเป็นฝ่ายการเมือง ขุนศรีศรากรเลือกจะเป็นข้าราชการประจำต่อไป แต่ท่านก็เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตต่อมาไม่นาน ''"เกิดกรณีขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องซื้อฝิ่นจากเปอร์เซีย"'' จึงถูกสั่งให้ออกจากราชการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2490 ตอนนั้นอายุเพียง 46 ปี และท่านก็ไม่ได้เข้ารับราชการหรือเล่นการเมืองอีกเลย จนอีก 20 ปีต่อมาท่านก็ตัดสินใจออกบวชตลอดชีวิต จนมรณภาพเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2530
[[Category:บุคคลสำคัญด้านอื่นๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 00:15, 2 ธันวาคม 2562

ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


ขุนศรีศรากร : ผู้ก่อการฯ ทหารหนุ่ม

เดือนมิถุนายน มาคุยเรื่องผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองกันบ้าง ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นเป็นการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง แต่ก็แทบจะไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อเลยทีเดียว มียกเว้นอยู่กรณีเดียวที่มีเลือดตกยางออกเกิดขึ้นในวันนั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการฯท่านหนึ่ง คือ ร.ท.ขุนศรีศรากร ผู้ก่อการหนุ่มสายทหารบก ในวันก่อการฯท่านรับหน้าที่สำคัญมากที่ต้องไปควบคุมตัวนายทหารคนสำคัญของฝ่ายรัฐบาลที่บ้านพัก เพื่อเอามากักไว้ที่กองบัญชาการของคณะผู้ก่อการฯ และเกิดการยิงกันขึ้น

ขุนศรีศรากร นั้นมีชื่อเดิมว่า ชลอ นามสกุล ศรีธนากร เป็นนามสกุลที่สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ทรงประทาน ท่านเกิดในเรือบรรทุกข้าวที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2444 พ่อชื่อ กัน แม่ชื่อ สวาท ความที่เป็นคนขยันและหัวดีจึงสอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยได้ เรียนจบโรงเรียนออกมารับราชการเป็นนายร้อยตั้งแต่ พ.ศ.2466 โดยเป็นทหารอยู่ทางทหารปืนใหญ่ ทำให้มีโอกาสได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมด้านทหารปืนใหญ่ กับนายทหารนักเรียนนอกที่ชื่อ หลวงพิบูลสงคราม และด้วยความสัมพันธ์อย่างนี้เองที่ ขุนศรีศรากร ได้รับการชักชวนให้ร่วมงานใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ร.อ.หลวงพิบูลสงคราม

ในภาพถ่ายสำคัญของคณะผู้ก่อการฯสายทหารบกที่แพร่หลายกันมากนั้น ได้ปรากฏรูปขุนศรีศรากร นั่งอยู่บนพื้นเบื้องหน้าพระยาทรงสุรเดช ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ข้างหลัง ขณะนั้นขุนศรีศรากรมียศร้อยโททหารบก และในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ท่านได้รับมอบหมายจากคณะผู้ก่อการฯให้นำกำลังไม่กี่คนไปปฏิบัติการควบคุมตัว นายพลตรี พระยาเสนาสงคราม ผู้บัญชาการกองพล 1 ที่บ้านพักถนนนครไชยศรี งานนี้เป็นงานยาก เพราะพระยาเสนาสงครามนั้นเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญ คุมทหารในกรุงเทพถ้าไม่ได้ตัว ปล่อยหลุดไปสั่งการทหารในพระนครออกมาต้านการยึดอำนาจ ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งพระยาเสนาสงครามนั้นขึ้นชื่อว่าไม่กลัวใคร ใช้ปืนได้เก่งด้วย เหตุการณ์การจับตัวพระยาเสนาสงครามเมื่อวันนั้นมีการเล่าขานผ่านผู้คนหลายฝ่าย ครั้งนี้ขอเอาคำบอกเล่าของทางด้านขุนศรีศรากรตามที่ปรากฏในหนังสืองานศพของขุนศรีศรากร มาให้อ่านกัน

"วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมทำการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน โดยได้รับมอบหมายให้จับเป็นพลตรี พระยาเสนาสงคราม ซึ่งได้ทำการผิดพลาดทำให้เกิดเลือดตกยางออกเพียงจุดเดียวในวันก่อการฯ(ทั้งนี้ เพราะเมื่อพลตรีพระยาเสนาสงครามเปิดประตูบ้านออกมา ร.ท.ขุนศรีศรากร ได้ยกมือขึ้นทำวันทยาหัตถ์' แต่นายจ้อย ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไปด้วยเข้าใจผิดคิดว่าให้สัญญาณ จึงใช้พานท้ายปืนพาบาเบลั่ม ตีศีรษะพระยาเสนาสงคราม และได้เกิดการยิงกันขึ้น กระสุนถูกหน้าท้องพลตรีพระยาเสนาสงคราม แต่ไม่ถึงแก่ชีวิต ) ส่วนจุดอื่นๆ ไม่มีการเลือดตกยางออกเลย"

ที่จริงการไปจับกุมตัวบุคคลสำคัญของรัฐบาลในวันยึดอำนาจ เพื่อเอามากักไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ตอนเช้าของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นเป็นงานสำคัญที่พระยาทรงสุรเดชมอบหมายให้พระประศาสน์พิทยายุทธ ซึ่งเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งนำพลพรรคหลายคนไปดำเนินการ แต่กรณีพระยาเสนาสงครามนั้นถ้าล่าช้าจะเสียการได้ จึงได้มอบหมายให้ขุนศรีศรากรเป็นผู้รับผิดชอบไปกับทหารและพลเรือนอาสาที่เข้าร่วมงานเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงไม่กี่คน นายจ้อยที่กล่าวถึงนั้นก็คือราษฎรอาสาจากแปดริ้วที่เข้ามาช่วยงานทางสายพลเรือน หลังการยึดอำนาจครั้งนั้น ขุนศรีศรากร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกองร้อยทหารปืนใหญ่ ที่ 2 ที่หน่วยงานอยู่ที่บางซื่อ ต่อมาได้ยศเป็นนายร้อยเอก เรื่องราวชีวิตงานที่ผู้คนอาจทราบไม่มาก แต่เป็นเรื่องที่ขุนศรีศรากรเกือบตายนั้นเกิดขึ้นภายหลังจากวันเปลี่ยนแปลงการปกครองประมาณปีกว่าๆ คือก่อนวันปฏิบัติการยกกำลังบุกพระนครของฝ่ายกบฏบวรเดชเพียง 3 วัน ขุนศรีศรากรกับนายทหารอีกท่านหนึ่งถูกสั่งให้ขึ้นไปที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อ "เชิญเสด็จ" พระองค์เจ้าบวรเดช เสด็จลงมาประทับที่พระนคร ตอนนั้นฝ่ายกบฏเตรียมการพร้อม รอแต่เวลานัดหมายที่จะยกกำลังบุกลงมาล้อมเมืองหลวง ขุนศรีศรากรและนายทหารที่ไปด้วยกันจึงถูกฝ่ายกบฏจับตัวและถูกพิจารณาสั่งประหารชีวิต ดีแต่ว่ามีนายทหารคนสำคัญของฝ่ายกบฏคัดค้าน ท่านจึงรอดตายมาได้ ดังคำบอกเล่าที่ว่า

"วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้รับคำสั่งให้ไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ ร.ท.ม.ร.ว.ลาภ หัสดิน เพื่อเชิญเสด็จพระองค์เจ้าบวรเดชมาประทับที่พระนคร แต่ได้ถูกจับเข้าเรือนจำทหารและถูกสั่งให้ประหารชีวิตเพื่อนำเลือดไปเจิมธงไชยเฉลิมพล"

ขุนศรีศรากรนั้นเป็นทหารบกมาก่อนดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ภายหลังผู้คนจะรู้จักท่านในบทบาทและงานทางด้านตำรวจ เพราะท่านได้ย้ายมารับราชการเป็นตำรวจเพื่อช่วยงานของคณะผู้ก่อการฯ เนื่องจากตอนต้นปี 2477 คณะผู้ก่อการฯให้พันเอก หลวงอดุลเดชจรัส ผู้ก่อการฯคนสำคัญมาช่วยดูงานด้านตำรวจในตำแหน่งรองอธิบดี และทางหลวงอดุลฯต้องการเพื่อนผู้ก่อการฯระดับรองๆมาด้วย โดยเลือก ร.อ.ขุนศรีศรากร จากทหารปืนใหญ่มาเป็น "สารวัตรตำรวจสันติบาล" ถึงจะไม่ใช่ผู้บังคับการสันติบาล แต่ก็มีอำนาจมากเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของรองอธิบดีกรมตำรวจ  ปีถัดมาได้เลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี และได้รับตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ด้วย

ตำแหน่งที่ดูจะมีความสำคัญน้อย แต่เมื่อขุนศรีศรากรไปดำรงตำแหน่งแล้วมีคนเอามาเล่ากันมากก็คือตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษ บางขวาง ที่ท่านไปเป็นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2480 สมัยนั้นนายกรัฐมนตรียังเป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา คุกบางขวางในตอนนั้นมีนักโทษการเมืองถูกคุมขังอยู่ นักโทษการเมืองรุ่นแรกที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็ คือ นักโทษกรณีกบฏบวรเดช ที่ตอนแรกทางรัฐบาลคงจะเข้มงวดกวดขันมาก และผู้ควบคุมบางรายก็ร้ายไปด้วย ทั้งๆที่นักโทษการเมืองนั้นคือผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล ไม่ใช่โจรปล้นชิงทรัพย์ ที่ชั่วร้ายแต่อย่างใด พวกนี้แม้จะอยู่ข้างในคุกก็ถูกตีตรวนตลอดเวลา ขุนศรีศรากรไปเป็นผู้บัญชาการเรือนจำก็ได้หาทางผ่อนปรน ยอมถอดโซ่ตรวนนักโทษ เพราะว่าอยู่ในเรือนจำ ที่ในวันนั้นถือว่าเป็นที่คุมขังที่ปลอดภัยและมั่นคง  แต่ที่เอามาเล่าขานกันมากก็คือท่านผู้บัญชาการท่านนี้ ปล่อยนักโทษการเมืองให้ออกมานอกคุกได้ในเวลากลางวัน ตอนแรกๆนักโทษก็อาจชิมลางออกมาเดินเล่นใกล้คุก แต่ต่อมาก็ถึงกับเดินทางไปเยี่ยมบ้านได้ ในเวลานั้นถนนรถยนต์ยังไปไม่ถึงคุก ต้องเดินทางจากท่าเรือที่บางกระบือไปที่ท่าเรือทางเมืองนนทบุรี จนมีเรื่องเล่ากันว่านักโทษการเมืองบางรายเดินไปเดินมาไม่ระวังตนหลบหน้าหลบตาให้ดี ไปพบขุนศรีศรากรเอาซึ่งๆหน้า ท่านยังกระซิบให้กลับเข้าคุกให้ทันเวลาเท่านั้นเอง

ขณะดำรงตำแหน่งตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำนั่นเอง ตำแหน่งทางสันติบาลก็ก้าวหน้าขึ้น เพราะได้เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการสันติบาล เป็นนายตำรวจคู่ใจหลวงอดุลเดชจรัสผู้เป็นอธิบดี อีก 6 เดือนต่อมาก็ได้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และเป็นอธิบดีกรมนี้ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2482 สมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี แสดงว่าท่านเป็นผู้ที่นายกรัฐมนตรีคนเก่าคือพระยาพหลพลพยุหเสนา และนายกรัฐมนตรีคนใหม่คือหลวงพิบูลสงครามไว้วางใจทั้งคู่ อีกสองปีต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ขุนศรีศรากรถูกย้ายตำแหน่งจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไปเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตซึ่งก็เป็นกรมสำคัญ แต่ตามประวัติของท่านเล่ากันไว้ว่าเป็นการถูกย้ายโดยไม่รู้เรื่องมาก่อน

"โดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า เนื่องจากผู้บังคับบัญชาไม่พอใจที่ปกครองเรือนจำอ่อนไป สั่งถอดตรวนหมดทุกเรือนจำ และให้ทำงานอาชีพเบาๆ บริหารงานหนักไปในทางให้ความสุขแก่ผู้ต้องขัง เฉพาะอย่างยิ่งผู้ต้องขังการเมือง มีเสรีภาพมากเกินไป ปล่อยออกทำงานนอกเรือนจำมาก จึงย้ายไปอยู่กรมสรรพสามิต”

แต่การถูกย้ายตำแหน่งของท่านนั้นน่าจะไม่ใช่การถูกลงโทษ เพราะต่อมาในสมัยนายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงครามเช่นเดียวกัน ท่านก็ถูกย้ายตำแหน่งอีก ครั้งนี้ท่านได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นอธิบดีกรมรถไฟแทน พ.อ.หลวงเสรีเริงฤทธ์ิ ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2485 โดยการเสนอของหลวงอดุลเดชจรัส ท่านได้ทำงานในสมัยที่หลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยดีตลอดมา ในเดือนมีนาคมปี 2487 ท่านยังได้รับยศเลื่อนเป็นพันตำรวจเอก

ครั้นหลวงพิบูลสงครามเจอมรสุมการเมืองต้องออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสายพลเรือนได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ขุนศรีศรากรก็ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำงานสำคัญต่อมา เพราะท่านเป็นคนที่หลวงอดุลเดชจรัสไว้วางใจ และหลวงอดุลเดชจรัสผู้ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจนั้นเป็นผู้ที่มีอำนาจแท้จริงคนหนึ่งในรัฐบาลขณะนั้น หลวงพิบูลฯ หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นั้นแม้จะออกจากนายกรัฐมนตรี แต่ยังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด คุมทั้ง 3 เหล่าทัพ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ไปปักหลักอยู่ที่จังหวัดลพบุรีที่ค่ายทหาร ในสถานการณ์ตึงเครียดอย่างนั้นนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ต้องเดินทางไปพบเพื่อเจรจากับหลวงพิบูลฯที่ลพบุรี โดยนายกรัฐมนตรีได้เอาขุนศรีศรากร ผู้บังคับการสันติบาลไปด้วย ไปเจรจากันสองครั้งห่างกัน 7 วัน คือ ในวันที่ 13 และ19 สิงหาคม พ.ศ.2487 จนทำให้หลวงพิบูลสงครามยอมรับที่จะไม่ใช้กำลังกลับมายึดอำนาจ หลังจากงานนี้นายกฯควง อภัยวงศ์ จึงได้ขอยศให้ขุนศรีศรากรเป็นนายพลตำรวจตรี

งานสำคัญของชาติที่ขุนศรีศรากรได้ร่วมทำตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท่านเองเสียดายที่ได้ร่วมงานช้าไปก็คืองานเสรีไทย ดังที่มีบันทึกเล่าไว้

"พล.ต.อ.อดุลเดชจรัส จึงได้เปิดเผยความลับที่ได้ปกปิดมานานและได้ชักชวนให้เข้าร่วมด้วยในวันนี้ ซึ่งก็ได้ตอบตกลงเข้าร่วมขบวนเสรีไทยทันที แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้รับความไว้วางใจให้เข้าร่วมขบวนเสรีไทยช้าเกินไป โดยได้ร่วมเป็นเสรีไทยนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2488 จนถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2488 ซึ่งเป็นวันที่ญี่ปุ่นยอมจำนน"

หลังจากมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่บัญญัติห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะผู้ก่อการฯได้ประชุมหารือกันและให้สมาชิกเลือกที่จะเป็นข้าราชการประจำหรือจะเป็นฝ่ายการเมือง ขุนศรีศรากรเลือกจะเป็นข้าราชการประจำต่อไป แต่ท่านก็เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิตต่อมาไม่นาน "เกิดกรณีขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องซื้อฝิ่นจากเปอร์เซีย" จึงถูกสั่งให้ออกจากราชการเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ.2490 ตอนนั้นอายุเพียง 46 ปี และท่านก็ไม่ได้เข้ารับราชการหรือเล่นการเมืองอีกเลย จนอีก 20 ปีต่อมาท่านก็ตัดสินใจออกบวชตลอดชีวิต จนมรณภาพเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2530