ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมมหาดเล็ก"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย :  นายสุรเชษ์ฐ  สุขลาภกิจ ผู้ทรงคุณวุ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


เรียบเรียงโดย :  นายสุรเชษ์ฐ  สุขลาภกิจ
เรียบเรียงโดย :  นายสุรเชษ์ฐ  สุขลาภกิจ


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
== กรมมหาดเล็ก ==
== กรมมหาดเล็ก ==


<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมมหาดเล็กมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาดังปรากฏใน ''พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน'' เป็นกรมขึ้นตรงต่อกษัตริย์ ทำหน้าที่ประจำเวรยามและรับใช้การต่างๆ ในพระราชสำนัก มาในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) การถวายตัวเป็นมหาดเล็กของกษัตริย์ที่เป็นจารีตเดิมของระบบอุปถัมภ์ถูกใช้เป็นกลไกในการสถาปนาและธำรงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เอาไว้ โดยมีการจัดตั้งทหารมหาดเล็กขึ้นมาเป็นกำลังในพระองค์ ส่วนกรมมหาดเล็กที่มีมาแต่เดิมก็ได้ปรับปรุงใหม่ให้ทำหน้าที่ทั้งรับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์และเตรียมคนให้พร้อมสำหรับออกไปรับราชการตามหน่วยงานต่างๆ กระทั่งหลัง พ.ศ. 2475 กรมมหาดเล็กได้ลดฐานะลงเป็นกอง ส่วนทหารมหาดเล็กได้พัฒนามาเป็นกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ในปัจจุบัน
<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมมหาดเล็กมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาดังปรากฏใน ''พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน'' เป็นกรมขึ้นตรงต่อกษัตริย์ ทำหน้าที่ประจำเวรยามและรับใช้การต่างๆ ในพระราชสำนัก มาในช่วงรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ([[รัชกาลที่_5|รัชกาลที่ 5]]) การถวายตัวเป็นมหาดเล็กของกษัตริย์ที่เป็นจารีตเดิมของ[[ระบบอุปถัมภ์|ระบบอุปถัมภ์]]ถูกใช้เป็นกลไกในการสถาปนาและธำรง[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์|ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]เอาไว้ โดยมีการจัดตั้งทหารมหาดเล็กขึ้นมาเป็นกำลังในพระองค์ ส่วนกรมมหาดเล็กที่มีมาแต่เดิมก็ได้ปรับปรุงใหม่ให้ทำหน้าที่ทั้งรับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์และเตรียมคนให้พร้อมสำหรับออกไปรับราชการตามหน่วยงานต่างๆ กระทั่งหลัง พ.ศ. 2475 กรมมหาดเล็กได้ลดฐานะลงเป็นกอง ส่วนทหารมหาดเล็กได้พัฒนามาเป็นกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ในปัจจุบัน


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
== มหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 ==
== มหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 ==


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครองราชย์ใหม่ๆ มีพระราชสถานะที่ไม่มั่นคงนัก ทรงเป็นเพียงมูลนายใหญ่ท่ามกลางมูลนายอื่นที่พร้อมจะท้าทายได้เสมอ จำเป็นที่จะต้องทรงสร้างคนไว้ให้พร้อมใช้เป็นกำลังในราชการร่วมกับการปฏิรูปวิธีจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เพื่อสร้างความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ขึ้นมาในที่สุด จึงทรงอาศัยกลไกราชการแบบเก่าอย่างการถวายตัวเป็นมหาดเล็กร่วมกับการฝึกทหารประจำการแบบตะวันตก เพื่อจัดให้มีทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2413 ซึ่งถือเป็นขั้นแรกของการหากำลังคนมาทำราชการ ระบบมหาดเล็กจึงเป็นทั้งกลไกสร้างกำลังในพระองค์และเครื่องสานความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการที่นำบุตรหลานมาถวายตัวด้วย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครองราชย์ใหม่ๆ มีพระราชสถานะที่ไม่มั่นคงนัก ทรงเป็นเพียงมูลนายใหญ่ท่ามกลางมูลนายอื่นที่พร้อมจะท้าทายได้เสมอ จำเป็นที่จะต้องทรงสร้างคนไว้ให้พร้อมใช้เป็นกำลังในราชการร่วมกับการปฏิรูปวิธีจัดเก็บรายได้ของ[[รัฐบาล|รัฐบาล]] เพื่อสร้างความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ขึ้นมาในที่สุด จึงทรงอาศัยกลไกราชการแบบเก่าอย่างการถวายตัวเป็นมหาดเล็กร่วมกับการฝึกทหารประจำการแบบตะวันตก เพื่อจัดให้มีทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2413 ซึ่งถือเป็นขั้นแรกของการหากำลังคนมาทำราชการ ระบบมหาดเล็กจึงเป็นทั้งกลไกสร้างกำลังในพระองค์และเครื่องสานความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการที่นำบุตรหลานมาถวายตัวด้วย


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้งมหาดเล็กและทหารมหาดเล็กต่างเป็นกำลังสำคัญและมีความใกล้ชิดกับกษัตริย์ จะได้รับการศึกษาแผนใหม่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถทำราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้ที่ศึกษาแบบเก่าและไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษ[[#_ftn1|[1]]] สำหรับทหารมหาดเล็กนั้น ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตามลำดับ และมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2424[[#_ftn2|[2]]] อีกทั้งใน พ.ศ. 2431 ยังมีการตรา “พระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบก” วางกฎการลำดับยศนายทหารบกโดยให้หลั่นลำดับนายทหารมหาดเล็กก่อนทหารหน่วยอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นยศเดียวกันด้วย[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ทั้งมหาดเล็กและทหารมหาดเล็กต่างเป็นกำลังสำคัญและมีความใกล้ชิดกับกษัตริย์ จะได้รับการศึกษาแผนใหม่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถทำราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้ที่ศึกษาแบบเก่าและไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษ[[#_ftn1|[1]]] สำหรับทหารมหาดเล็กนั้น ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตามลำดับ และมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2424[[#_ftn2|[2]]] อีกทั้งใน พ.ศ. 2431 ยังมีการตรา “พระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบก” วางกฎการลำดับยศนายทหารบกโดยให้หลั่นลำดับนายทหารมหาดเล็กก่อนทหารหน่วยอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นยศเดียวกันด้วย[[#_ftn3|[3]]]
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนกรมมหาดเล็กแต่เดิมนั้น ใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรา “พระราชบัญญัติกรมมหาดเล็ก” ขึ้น เป็นการจัดระเบียบและให้มหาดเล็กได้เรียนรู้ราชการ เพื่อเตรียมตัวรับราชการ พร้อมกับกำหนดเวรยามและหน้าที่ราชการของมหาดเล็กด้วย โดยมีการแบ่งมหาดเล็กออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่ (1) มหาดเล็กบรรดาศักดิ์ คือมหาดเล็กที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแล้ว (2) มหาดเล็กวิเศษ คือบุตรหลานข้าราชการที่ถวายตัว (3) มหาดเล็กคงกรม คือมหาดเล็กที่เป็นหม่อมราชวงศ์ หรือประจำหน้าที่ต่างๆ เช่น ยามค่ำเดินหมาย ห้องเครื่อง และหอศาสตราคม เป็นต้น รวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถวายตัวด้วย และ (4) มหาดเล็กยาม คือมหาดเล็กที่มีคุณวุฒิรับราชการได้ ประจำการแล้ว และมีเงินเดือนพระราชทาน[[#_ftn4|[4]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนกรมมหาดเล็กแต่เดิมนั้น ใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรา “พระราชบัญญัติกรมมหาดเล็ก” ขึ้น เป็นการจัดระเบียบและให้มหาดเล็กได้เรียนรู้ราชการ เพื่อเตรียมตัวรับราชการ พร้อมกับกำหนดเวรยามและหน้าที่ราชการของมหาดเล็กด้วย โดยมีการแบ่งมหาดเล็กออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่ (1) มหาดเล็กบรรดาศักดิ์ คือมหาดเล็กที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแล้ว (2) มหาดเล็กวิเศษ คือบุตรหลานข้าราชการที่ถวายตัว (3) มหาดเล็กคงกรม คือมหาดเล็กที่เป็นหม่อมราชวงศ์ หรือประจำหน้าที่ต่างๆ เช่น ยามค่ำเดินหมาย ห้องเครื่อง และหอศาสตราคม เป็นต้น รวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถวายตัวด้วย และ (4) มหาดเล็กยาม คือมหาดเล็กที่มีคุณวุฒิรับราชการได้ ประจำการแล้ว และมีเงินเดือนพระราชทาน[[#_ftn4|[4]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อระบบราชการสมัยใหม่ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้และจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ธรรมเนียมการถวายตัวเป็นมหาดเล็กก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนผลิตข้าราชการพลเรือนโดยเฉพาะสำหรับกระทรวงมหาดไทยที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2442 ด้วย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กใน พ.ศ. 2445[[#_ftn5|[5]]] สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชี้ว่าการโรงเรียนมหาดเล็กนอกจากจะทำให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาประเพณีในราชสำนักแล้ว จะทำให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับกษัตริย์ก่อนออกไปรับราชการด้วย[[#_ftn6|[6]]] เป็นการลดช่องว่างความห่างเหินระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ซึ่งในระยะนั้นมักไต่เต้าขึ้นมาจากเสมียนตามกระทรวง ไม่ใช่มาจากมหาดเล็กในการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ เนื่องจากระบบราชการได้ให้กำเนิดข้าราชการชนชั้นกลางที่ยึดโยงกับระบบคุณวุฒิมากกว่าระบบอุปถัมภ์ขึ้นมา
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ต่อมาเมื่อระบบราชการสมัยใหม่ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้และจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ธรรมเนียมการถวายตัวเป็นมหาดเล็กก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนผลิตข้าราชการพลเรือนโดยเฉพาะสำหรับกระทรวงมหาดไทยที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2442 ด้วย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กใน พ.ศ. 2445[[#_ftn5|[5]]] [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงชี้ว่าการโรงเรียนมหาดเล็กนอกจากจะทำให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาประเพณีในราชสำนักแล้ว จะทำให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับกษัตริย์ก่อนออกไปรับราชการด้วย[[#_ftn6|[6]]] เป็นการลดช่องว่างความห่างเหินระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ซึ่งในระยะนั้นมักไต่เต้าขึ้นมาจากเสมียนตามกระทรวง ไม่ใช่มาจากมหาดเล็กในการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ เนื่องจากระบบราชการได้ให้กำเนิดข้าราชการชนชั้นกลางที่ยึดโยงกับระบบคุณวุฒิมากกว่าระบบอุปถัมภ์ขึ้นมา


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ดี ถึงแม้ระบบมหาดเล็กจะช่วยให้กษัตริย์มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับขุนนางข้าราชการมากขึ้น เป็นกลไกซ้อนลงไปในระบบราชการสมัยใหม่และทำหน้าที่ประกันความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ที่เป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาดเล็ก[[#_ftn7|[7]]] แต่หลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เกิดกรณี ร.ศ. 130 ที่มีเป้าหมายปฏิวัติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จำนวนหนึ่งร่วมก่อการด้วย ทำให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องทรงจัดให้ทหารรักษาวังมาทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยแทนที่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์[[#_ftn8|[8]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ดี ถึงแม้ระบบมหาดเล็กจะช่วยให้กษัตริย์มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับขุนนางข้าราชการมากขึ้น เป็นกลไกซ้อนลงไปในระบบราชการสมัยใหม่และทำหน้าที่ประกันความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ที่เป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาดเล็ก[[#_ftn7|[7]]] แต่หลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เกิดกรณี ร.ศ. 130 ที่มีเป้าหมายปฏิวัติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จำนวนหนึ่งร่วมก่อการด้วย ทำให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องทรงจัดให้ทหารรักษาวังมาทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยแทนที่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์[[#_ftn8|[8]]]
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
== กรมมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ==
== กรมมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 6-7 ==


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ความสัมพันธ์ในหมู่พระราชวงศ์ที่เป็นฐานให้กับการสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยขึ้นมาในรัชกาลก่อนคลี่คลายไปในทางที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่ได้มีพระราชจริยวัตรและความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหมู่เจ้านายเหมือนที่เป็นมาในรัชกาลก่อน อีกทั้งกว่าที่จะทรงมีพระมเหสีก็ล่วงเข้าสู่ตอนท้ายรัชกาล ในส่วนกรมมหาดเล็กก็จะมีหน้าที่ในราชการส่วนพระองค์เป็นหลักมากกว่าจะใช้เป็นกลไกยึดโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเหล่าข้าราชการ แต่ทว่าขอบเขตงานนั้นกลับขยายออกไป จำนวนคนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องปฏิบัติทั้งในงานฝ่ายหน้าและงานฝ่ายใน เช่น ถวายการรับใช้ใกล้ชิด ประกอบเครื่องเสวย งานพระราชพิธีงานรักษาพระองค์อื่นๆ ตามแต่ที่จะมีพระราชประสงค์
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อขึ้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ([[รัชกาลที่_6|รัชกาลที่ 6]]) ความสัมพันธ์ในหมู่พระราชวงศ์ที่เป็นฐานให้กับการสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยขึ้นมาในรัชกาลก่อนคลี่คลายไปในทางที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่ได้มีพระราชจริยวัตรและความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหมู่เจ้านายเหมือนที่เป็นมาในรัชกาลก่อน อีกทั้งกว่าที่จะทรงมีพระมเหสีก็ล่วงเข้าสู่ตอนท้ายรัชกาล ในส่วนกรมมหาดเล็กก็จะมีหน้าที่ในราชการส่วนพระองค์เป็นหลักมากกว่าจะใช้เป็นกลไกยึดโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเหล่าข้าราชการ แต่ทว่าขอบเขตงานนั้นกลับขยายออกไป จำนวนคนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องปฏิบัติทั้งในงานฝ่ายหน้าและงานฝ่ายใน เช่น ถวายการรับใช้ใกล้ชิด ประกอบเครื่องเสวย งานพระราชพิธีงานรักษาพระองค์อื่นๆ ตามแต่ที่จะมีพระราชประสงค์


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมมหาดเล็กในรัชสมัยนี้เป็นหน่วยงานใหญ่และสำคัญที่สุดของพระราชสำนักที่มีลักษณะเน้นความเป็นบุรุษสมาคม สัมพันธ์ใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งของโลกส่วนพระองค์ กับทั้งเป็นพื้นที่ในการกำหนดนิยามวัฒนธรรมใหม่ตามพระราชนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษด้วย โดยเฉพาะเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีที่ทรงพยายามสร้างความเป็นชายแบบใหม่ขึ้นมา[[#_ftn9|[9]]] ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่บุคคลสามารถเข้าถึงกษัตริย์ได้มากที่สุด มักได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ มหาดเล็กจึงเป็นช่องทางของการเลื่อนสถานะทางสังคม เฉพาะที่เป็นคนโปรดก็จะยิ่งมีบารมีมาก มีอิทธิพลต่อการบริหารงานราชการ รวมถึงเรื่องส่วนพระองค์ด้วย อยู่ในฐานะที่จะอนุญาตให้ใครเข้าเฝ้ากษัตริย์หรือไม่ก็ได้ บางคนถึงกับได้รับฉายาอย่างเย้ยหยันว่ารัสปูติน[[#_ftn10|[10]]] กลายเป็นชนวนหนึ่งให้กับความไม่พอใจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยที่ปรากฏแนวโน้มชัดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมมหาดเล็กในรัชสมัยนี้เป็นหน่วยงานใหญ่และสำคัญที่สุดของพระราชสำนักที่มีลักษณะเน้นความเป็นบุรุษสมาคม สัมพันธ์ใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งของโลกส่วนพระองค์ กับทั้งเป็นพื้นที่ในการกำหนดนิยามวัฒนธรรมใหม่ตามพระราชนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษด้วย โดยเฉพาะเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีที่ทรงพยายามสร้างความเป็นชายแบบใหม่ขึ้นมา[[#_ftn9|[9]]] ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่บุคคลสามารถเข้าถึงกษัตริย์ได้มากที่สุด มักได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ มหาดเล็กจึงเป็นช่องทางของการเลื่อนสถานะทางสังคม เฉพาะที่เป็นคนโปรดก็จะยิ่งมีบารมีมาก มีอิทธิพลต่อการบริหารงานราชการ รวมถึงเรื่องส่วนพระองค์ด้วย อยู่ในฐานะที่จะอนุญาตให้ใครเข้าเฝ้ากษัตริย์หรือไม่ก็ได้ บางคนถึงกับได้รับฉายาอย่างเย้ยหยันว่ารัสปูติน[[#_ftn10|[10]]] กลายเป็นชนวนหนึ่งให้กับความไม่พอใจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยที่ปรากฏแนวโน้มชัดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับการปรับปรุงกรมมหาดเล็กนั้น มีการตั้งสภาจางวางมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2455 &nbsp;โดยเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) และพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบหนังสือราชการ เบิกจ่าย และควบคุมกรมมหาดเล็ก กรมชาวที่ กรมอัศวราช กรมมหรสพ และกรมตรวจ ในบรรดากรมต่างๆ เหล่านี้ กรมมหาดเล็กซึ่งประกอบด้วยกองห้องพระบรรทมและกองตั้งเครื่องถือเป็นกรมใหญ่และสำคัญที่สุด มีพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) เป็นอธิบดี ต่อมาใน พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุบสภาจางวางมหาดเล็กและตั้งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กขึ้นแทน เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ล่าช้า ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือเจ้าพระยารามราฆพ[[#_ftn11|[11]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับการปรับปรุงกรมมหาดเล็กนั้น มีการตั้งสภาจางวางมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2455 &nbsp;โดย[[เจ้าพระยารามราฆพ|เจ้าพระยารามราฆพ]] ([[ม.ล.เฟื้อ_พึ่งบุญ|ม.ล.เฟื้อ_พึ่งบุญ]]) [[เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์|เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์]] ([[ม.ร.ว.เย็น_อิศรเสนา|ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา]]) และ[[พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ|พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ]] ([[นพ_ไกรฤกษ์|นพ_ไกรฤกษ์]]) เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบหนังสือราชการ เบิกจ่าย และควบคุมกรมมหาดเล็ก กรมชาวที่ กรมอัศวราช กรมมหรสพ และกรมตรวจ ในบรรดากรมต่างๆ เหล่านี้ กรมมหาดเล็กซึ่งประกอบด้วยกองห้องพระบรรทมและกองตั้งเครื่องถือเป็นกรมใหญ่และสำคัญที่สุด มี[[พระยาอนิรุทธเทวา|พระยาอนิรุทธเทวา]] ([[ม.ล.ฟื้น_พึ่งบุญ|ม.ล.ฟื้น_พึ่งบุญ]]) เป็นอธิบดี ต่อมาใน พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง[[ยุบสภา|ยุบสภา]]จางวางมหาดเล็กและตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์|ผู้สำเร็จราชการ]]มหาดเล็กขึ้นแทน เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ล่าช้า ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือเจ้าพระยารามราฆพ[[#_ftn11|[11]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยศมหาดเล็กที่ประกาศใช้ในรัชสมัยนี้ก็กำหนดให้แตกต่างจากข้าราชการในพระราชสำนัก ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารด้วย เพื่อทำให้ศักดิ์ศรีมหาดเล็กเทียบได้กับข้าราชการอื่นๆ เช่น ให้ใช้ยศจางวางเอกเทียบได้กับมหาเสวกเอกของข้าราชการในพระราชสำนัก มหาอำมาตย์เอกของข้าราชการพลเรือน และนายพลเอกของกองทัพบก[[#_ftn12|[12]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ยศมหาดเล็กที่ประกาศใช้ในรัชสมัยนี้ก็กำหนดให้แตกต่างจากข้าราชการในพระราชสำนัก ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารด้วย เพื่อทำให้ศักดิ์ศรีมหาดเล็กเทียบได้กับข้าราชการอื่นๆ เช่น ให้ใช้ยศจางวางเอกเทียบได้กับมหาเสวกเอกของข้าราชการในพระราชสำนัก มหาอำมาตย์เอกของข้าราชการพลเรือน และนายพลเอกของกองทัพบก[[#_ftn12|[12]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นนับแต่ปีแรกที่ครองราชย์แทนวัดประจำรัชกาลด้วย เป็นโรงเรียนกินนอนชายล้วน สังกัดกรมมหาดเล็ก อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นแหล่งฝึกคนตามพระราชนิยมแบบอังกฤษ แตกต่างจากโรงเรียนมหาดเล็กในรัชกาลก่อนที่มีเป้าหมายฝึกหัดนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการ ซึ่งเมื่อขึ้นรัชกาลใหม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ สำหรับนักเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้บางคนจะได้รับการคัดเลือกจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยพระองค์เองให้เป็นมหาดเล็กรับใช้ทั้งชั้นใหญ่และชั้นเล็กด้วย[[#_ftn13|[13]]] ภายหลังยังได้ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่และโอนโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นนับแต่ปีแรกที่ครองราชย์แทนวัดประจำรัชกาลด้วย เป็นโรงเรียนกินนอนชายล้วน สังกัดกรมมหาดเล็ก อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นแหล่งฝึกคนตามพระราชนิยมแบบอังกฤษ แตกต่างจากโรงเรียนมหาดเล็กในรัชกาลก่อนที่มีเป้าหมายฝึกหัดนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการ ซึ่งเมื่อขึ้นรัชกาลใหม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ตามลำดับ สำหรับนักเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้บางคนจะได้รับการคัดเลือกจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยพระองค์เองให้เป็นมหาดเล็กรับใช้ทั้งชั้นใหญ่และชั้นเล็กด้วย[[#_ftn13|[13]]] ภายหลังยังได้ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่และโอน[[โรงเรียนราชวิทยาลัย|โรงเรียนราชวิทยาลัย]]เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในรัชกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงเห็นว่าราชสำนักของรัชกาลก่อนเป็นเหตุให้สถานะของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยเสื่อมลงกว่าที่ควร[[#_ftn14|[14]]] ผนวกกับปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้มีการตัดทอนเงินปีของกษัตริย์กับรายจ่ายในพระราชสำนักลงและปรับปรุงราชการในพระราชสำนัก เช่น ยุบหรือรวมกรมต่างๆ และปลดข้าราชการออก ในส่วนกรมมหาดเล็กได้รับการจัดระเบียบราชการใหม่ เปลี่ยนการใช้ยศมหาดเล็กให้เหมือนกับข้าราชการในพระราชสำนัก และต่อมาได้รวมกรมนี้เข้ากับกระทรวงวัง ตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้และกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ต้นสังกัดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงถูกยกเลิกไป ส่วนโรงเรียนได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวชิราวุธวิทยาลัย[[#_ftn15|[15]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในรัชกาลต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ([[รัชกาลที่_7|รัชกาลที่_7]]) ทรงเห็นว่าราชสำนักของรัชกาลก่อนเป็นเหตุให้สถานะของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยเสื่อมลงกว่าที่ควร[[#_ftn14|[14]]] ผนวกกับปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้มีการตัดทอนเงินปีของกษัตริย์กับรายจ่ายในพระราชสำนักลงและปรับปรุงราชการในพระราชสำนัก เช่น ยุบหรือรวมกรมต่างๆ และปลดข้าราชการออก ในส่วนกรมมหาดเล็กได้รับการจัดระเบียบราชการใหม่ เปลี่ยนการใช้ยศมหาดเล็กให้เหมือนกับข้าราชการในพระราชสำนัก และต่อมาได้รวมกรมนี้เข้ากับกระทรวงวัง ตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้และกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ต้นสังกัดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงถูกยกเลิกไป ส่วนโรงเรียนได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวชิราวุธวิทยาลัย[[#_ftn15|[15]]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
== กรมมหาดเล็กหลัง พ.ศ. 2475 ==
== กรมมหาดเล็กหลัง พ.ศ. 2475 ==


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติแล้ว คณะราษฎรโดยความร่วมมือกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ทรงเป็นประธานได้พยายามอย่างยิ่งที่จะวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เช่น กำหนดให้การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องเป็นไปโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี และแถลงการณ์เกี่ยวกับกษัตริย์โดยกระทรวงวังต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีก่อน เป็นต้น มีการตัดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ จัดระเบียบทรัพย์สินกษัตริย์ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาล[[#_ftn16|[16]]] รวมถึงวางระเบียบและปรับปรุงกระทรวงวัง ซึ่งรวมถึงกรมมหาดเล็กหลวงด้วยผ่านการออก “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พ.ศ. 2476” ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินใหม่)
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [[หลังการปฏิวัติ_พ.ศ._2475|หลังการปฏิวัติ_พ.ศ._2475]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ[[ทรงสละราชสมบัติ|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ]]แล้ว [[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]โดยความร่วมมือกับ[[คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์|คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ที่มี[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์|พระเจ้าวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์]]ทรงเป็นประธานได้พยายามอย่างยิ่งที่จะวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เช่น กำหนดให้การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องเป็นไปโดยคำแนะนำของ[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]] และแถลงการณ์เกี่ยวกับกษัตริย์โดยกระทรวงวังต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีก่อน เป็นต้น มีการตัดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ จัดระเบียบทรัพย์สินกษัตริย์ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาล[[#_ftn16|[16]]] รวมถึงวางระเบียบและปรับปรุงกระทรวงวัง ซึ่งรวมถึงกรมมหาดเล็กหลวงด้วยผ่านการออก “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พ.ศ. 2476” ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินใหม่)


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบราชการในกระทรวงวังใหม่ และกำหนดให้กรมมหาดเล็กหลวงแบ่งส่วนราชการออกเป็น (1) สำนักงานเลขานุการ มี 4 แผนก ได้แก่ แผนกสารบรรณ แผนกคลัง แผนกเบ็ดเตล็ด และแผนกของพระราชทานและเงินท้ายที่นั่ง (2) กองมหาดเล็กรับใช้ มี 5 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกห้องพระบรรทม แผนกรับใช้ แผนกคลังวรภาชน์ และแผนกพระเครื่องต้น และ (3) กองมหาดเล็กชาวที่ มี 6 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรักษาพระราชวังดุสิต แผนกรักษาพระบรมมหาราชวัง แผนกรักษาพระราชวังบางปอิน (สะกดตามต้นฉบับ) แผนกรักษาวังสุโขทัย และแผนกรักษาวังไกลกังวล[[#_ftn17|[17]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบราชการในกระทรวงวังใหม่ และกำหนดให้กรมมหาดเล็กหลวงแบ่งส่วนราชการออกเป็น (1) สำนักงานเลขานุการ มี 4 แผนก ได้แก่ แผนกสารบรรณ แผนกคลัง แผนกเบ็ดเตล็ด และแผนกของพระราชทานและเงินท้ายที่นั่ง (2) กองมหาดเล็กรับใช้ มี 5 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกห้องพระบรรทม แผนกรับใช้ แผนกคลังวรภาชน์ และแผนกพระเครื่องต้น และ (3) กองมหาดเล็กชาวที่ มี 6 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรักษาพระราชวังดุสิต แผนกรักษาพระบรมมหาราชวัง แผนกรักษา[[พระราชวังบางปอิน|พระราชวังบางปอิน]] (สะกดตามต้นฉบับ) แผนกรักษา[[วังสุโขทัย|วังสุโขทัย]] และแผนกรักษา[[วังไกลกังวล|วังไกลกังวล]][[#_ftn17|[17]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ใน พ.ศ. 2478 มีการออก “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2478” และ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ พ.ศ. 2478” กระทรวงวังถูกยุบลง และตั้งสำนักพระราชวังกับสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ขึ้นแทน การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี กรมมหาดเล็กหลวงลดฐานะลงเป็นกองมหาดเล็กสังกัดสำนักพระราชวัง แบ่งออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรับใช้ และแผนกชาวที่[[#_ftn18|[18]]] ภายหลังยังได้มีการจัดระเบียบราชการในกองมหาดเล็กอีกตามความเหมาะสม เช่น ใน พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2496 เป็นต้น[[#_ftn19|[19]]] แต่ยังคงมีสถานะเป็นกองจนปัจจุบัน ระบบมหาดเล็กและกรมมหาดเล็กจึงหมดบทบาทในทางการปกครองไปอย่างสิ้นเชิง
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ใน พ.ศ. 2478 มีการออก “[[พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง_ทะบวง_กรม_แก้ไขเพิ่มเติม_พ.ศ._2478|พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2478]]” และ “[[พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์_พ.ศ._2478|พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์_พ.ศ._2478]]” กระทรวงวังถูกยุบลง และตั้งสำนักพระราชวังกับสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ขึ้นแทน การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี กรมมหาดเล็กหลวงลดฐานะลงเป็นกองมหาดเล็กสังกัดสำนักพระราชวัง แบ่งออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรับใช้ และแผนกชาวที่[[#_ftn18|[18]]] ภายหลังยังได้มีการจัดระเบียบราชการในกองมหาดเล็กอีกตามความเหมาะสม เช่น ใน พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2496 เป็นต้น[[#_ftn19|[19]]] แต่ยังคงมีสถานะเป็นกองจนปัจจุบัน ระบบมหาดเล็กและกรมมหาดเล็กจึงหมดบทบาทในทางการปกครองไปอย่างสิ้นเชิง


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 58: บรรทัดที่ 58:
จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์.&nbsp; “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6.”&nbsp; วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.
จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์.&nbsp; “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6.”&nbsp; วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.


ชานันท์ ยอดหงษ์.&nbsp; ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6''.&nbsp; กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.
ชานันท์ ยอดหงษ์.&nbsp; ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6'''''<b>.&nbsp; กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.</b>


ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.&nbsp; “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน ''นิทานโบราณคดี''.&nbsp; หน้า 200-211.&nbsp; กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.&nbsp; “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน ''นิทานโบราณคดี''.&nbsp; หน้า 200-211.&nbsp; กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543.
บรรทัดที่ 66: บรรทัดที่ 66:
ธงทอง จันทรางศุ.&nbsp; ''นายทองมหาดเล็ก''.&nbsp; กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.
ธงทอง จันทรางศุ.&nbsp; ''นายทองมหาดเล็ก''.&nbsp; กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.


''ประวัติกองทัพไทยในรอบ ''''200 ปี พ.ศ. 2325-2525''.&nbsp; กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2525.
''ประวัติกองทัพไทยในรอบ ''''200 ปี พ.ศ. 2325-2525'''''<b>.&nbsp; กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2525.</b>


''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 5 แผ่นที่ 22 (วันพุธ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. 1250), หน้า 177-178; เล่ม 10 แผ่นที่ 17 (23 กรกฎาคม ร.ศ. 112), หน้า 201-205; เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16; เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; เล่ม 43 (4 เมษายน 2469), หน้า 38-40; เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 240-241; เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 902-907; เล่ม 52 (11 สิงหาคม 2478), หน้า 1229-1233; เล่ม 52 (14 สิงหาคม 2478), หน้า 1244-1246; เล่ม 59 ตอนที่ 13 (24 กุมภาพันธ์ 2485), หน้า 555-558; เล่ม 70 ตอนที่ 26 (21 เมษายน 2496), หน้า 528-531.
''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 5 แผ่นที่ 22 (วันพุธ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. 1250), หน้า 177-178; เล่ม 10 แผ่นที่ 17 (23 กรกฎาคม ร.ศ. 112), หน้า 201-205; เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16; เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; เล่ม 43 (4 เมษายน 2469), หน้า 38-40; เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 240-241; เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 902-907; เล่ม 52 (11 สิงหาคม 2478), หน้า 1229-1233; เล่ม 52 (14 สิงหาคม 2478), หน้า 1244-1246; เล่ม 59 ตอนที่ 13 (24 กุมภาพันธ์ 2485), หน้า 555-558; เล่ม 70 ตอนที่ 26 (21 เมษายน 2496), หน้า 528-531.
บรรทัดที่ 72: บรรทัดที่ 72:
เรย์โนลด์ส, เครก เจ.&nbsp; “สังคมชายล้วนในวัฒนธรรมการเมืองไทยสมัยใหม่.”&nbsp; แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น.&nbsp; ''รัฐศาสตร์สาร'' ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558), หน้า 30-62.
เรย์โนลด์ส, เครก เจ.&nbsp; “สังคมชายล้วนในวัฒนธรรมการเมืองไทยสมัยใหม่.”&nbsp; แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น.&nbsp; ''รัฐศาสตร์สาร'' ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558), หน้า 30-62.


ศรัญญู เทพสงเคราะห์.&nbsp; “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ.”&nbsp; ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), ''จาก ''''100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย''.&nbsp; หน้า 106-154.&nbsp; กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557.
ศรัญญู เทพสงเคราะห์.&nbsp; “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ.”&nbsp; ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), ''จาก ''''100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย'''''<b>.&nbsp; หน้า 106-154.&nbsp; กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557.</b>


สุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), หลวง.&nbsp; ''มหาดเล็กรายงาน'''': เส้นทางชีวิตหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท)''.&nbsp; นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553.
สุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), หลวง.&nbsp; ''มหาดเล็กรายงาน'''': เส้นทางชีวิตหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท)'''''<b>.&nbsp; นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553.</b>


อาวุธ ธีระเอก.&nbsp; “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.”&nbsp; วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
อาวุธ ธีระเอก.&nbsp; “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.”&nbsp; วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
บรรทัดที่ 94: บรรทัดที่ 94:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [5] “ประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [5] “ประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [6] ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน ''นิทานโบราณคดี'' (กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543), หน้า 200-211. และดูตัวอย่างประวัตินักเรียนมหาดเล็กที่มีความโดดเด่นได้ที่ ธงทอง จันทรางศุ, ''นายทองมหาดเล็ก'' (กรุงเทพฯ: มติชน, 2558). นอกจากนี้ ดู หลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), ''มหาดเล็กรายงาน'''': เส้นทางชีวิตของหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท)'' (นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553). เป็นต้น ส่วนหน้าที่ในพระราชสำนักของมหาดเล็ก ดู ''ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก'' (พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2500).
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [6] ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน ''นิทานโบราณคดี'' (กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543), หน้า 200-211. และดูตัวอย่างประวัตินักเรียนมหาดเล็กที่มีความโดดเด่นได้ที่ ธงทอง จันทรางศุ, ''นายทองมหาดเล็ก'' (กรุงเทพฯ: มติชน, 2558). นอกจากนี้ ดู หลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), ''มหาดเล็กรายงาน'''': เส้นทางชีวิตของหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท)'''''<b>(นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553). เป็นต้น ส่วนหน้าที่ในพระราชสำนักของมหาดเล็ก ดู ''ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก'' (พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2500).</b>
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [7] Kullada Kesboonchoo Mead, ''The Rise and Decline of Thai Absolutism'' (London and New York, NY: RoutledgeCurzon, 2004), pp. 81-85.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [7] Kullada Kesboonchoo Mead, ''The Rise and Decline of Thai Absolutism'' (London and New York, NY: RoutledgeCurzon, 2004), pp. 81-85.
บรรทัดที่ 100: บรรทัดที่ 100:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [8] เทพ บุญตานนท์, “‘กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’: พลเรือนในเครื่องแบบทหาร,” ''ศิลปวัฒนธรรม'' ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 (มีนาคม 2559), หน้า 122.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [8] เทพ บุญตานนท์, “‘กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’: พลเรือนในเครื่องแบบทหาร,” ''ศิลปวัฒนธรรม'' ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 (มีนาคม 2559), หน้า 122.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [9] ชานันท์ ยอดหงษ์, ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6'' (กรุงเทพฯ: มติชน, 2556), บทที่ 5-7.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [9] ชานันท์ ยอดหงษ์, ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6'''''<b>(กรุงเทพฯ: มติชน, 2556), บทที่ 5-7.</b>
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [10] เรื่องเดียวกัน, หน้า 236.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [10] เรื่องเดียวกัน, หน้า 236.
บรรทัดที่ 108: บรรทัดที่ 108:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [12] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521), หน้า 149-151.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [12] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521), หน้า 149-151.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [13] ชานันท์ ยอดหงษ์, ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6'', หน้า 109-117; และวรชาติ มีชูบท, ''เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ ''''6'' (กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553), หน้า 81-89
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [13] ชานันท์ ยอดหงษ์, ''“นายใน” สมัยรัชกาลที่ ''''6'''''<b>, หน้า 109-117; และวรชาติ มีชูบท,</b>'''''เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่''''''''6'' (กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553), หน้า 81-89
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [14] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 213-214.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [14] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 213-214.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [15] “ประกาศจัดการปกครองกรมมหาดเล็กหลวง,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; “ประกาศเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงวังและรวมกรมมหาดเล็กเข้าในกระทรวงวัง,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 241; จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 217; และวรชาติ มีชูบท, ''เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ ''''6'', หน้า 89.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [15] “ประกาศจัดการปกครองกรมมหาดเล็กหลวง,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; “ประกาศเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงวังและรวมกรมมหาดเล็กเข้าในกระทรวงวัง,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 241; จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 217; และวรชาติ มีชูบท, ''เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ ''''6'''''<b>, หน้า 89.</b>
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [16] ศรัญญู เทพสงเคราะห์, “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ,” ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), ''จาก ''''100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย'' (กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557), หน้า 115-117.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [16] ศรัญญู เทพสงเคราะห์, “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ,” ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), ''จาก ''''100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย'''''<b>(กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557), หน้า 115-117.</b>
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [17] “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พุทธศักราช 2476,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 905-906.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; [17] “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พุทธศักราช 2476,” ''ราชกิจจานุเบกษา'' เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 905-906.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:39, 15 มกราคม 2561

เรียบเรียงโดย :  นายสุรเชษ์ฐ  สุขลาภกิจ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


กรมมหาดเล็ก


          กรมมหาดเล็กมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาดังปรากฏใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน เป็นกรมขึ้นตรงต่อกษัตริย์ ทำหน้าที่ประจำเวรยามและรับใช้การต่างๆ ในพระราชสำนัก มาในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) การถวายตัวเป็นมหาดเล็กของกษัตริย์ที่เป็นจารีตเดิมของระบบอุปถัมภ์ถูกใช้เป็นกลไกในการสถาปนาและธำรงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เอาไว้ โดยมีการจัดตั้งทหารมหาดเล็กขึ้นมาเป็นกำลังในพระองค์ ส่วนกรมมหาดเล็กที่มีมาแต่เดิมก็ได้ปรับปรุงใหม่ให้ทำหน้าที่ทั้งรับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์และเตรียมคนให้พร้อมสำหรับออกไปรับราชการตามหน่วยงานต่างๆ กระทั่งหลัง พ.ศ. 2475 กรมมหาดเล็กได้ลดฐานะลงเป็นกอง ส่วนทหารมหาดเล็กได้พัฒนามาเป็นกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ในปัจจุบัน

 

มหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5

          ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครองราชย์ใหม่ๆ มีพระราชสถานะที่ไม่มั่นคงนัก ทรงเป็นเพียงมูลนายใหญ่ท่ามกลางมูลนายอื่นที่พร้อมจะท้าทายได้เสมอ จำเป็นที่จะต้องทรงสร้างคนไว้ให้พร้อมใช้เป็นกำลังในราชการร่วมกับการปฏิรูปวิธีจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เพื่อสร้างความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์ขึ้นมาในที่สุด จึงทรงอาศัยกลไกราชการแบบเก่าอย่างการถวายตัวเป็นมหาดเล็กร่วมกับการฝึกทหารประจำการแบบตะวันตก เพื่อจัดให้มีทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2413 ซึ่งถือเป็นขั้นแรกของการหากำลังคนมาทำราชการ ระบบมหาดเล็กจึงเป็นทั้งกลไกสร้างกำลังในพระองค์และเครื่องสานความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการที่นำบุตรหลานมาถวายตัวด้วย

          ทั้งมหาดเล็กและทหารมหาดเล็กต่างเป็นกำลังสำคัญและมีความใกล้ชิดกับกษัตริย์ จะได้รับการศึกษาแผนใหม่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถทำราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าผู้ที่ศึกษาแบบเก่าและไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษ[1] สำหรับทหารมหาดเล็กนั้น ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตามลำดับ และมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2424[2] อีกทั้งใน พ.ศ. 2431 ยังมีการตรา “พระราชบัญญัติสำหรับลำดับยศนายทหารบก” วางกฎการลำดับยศนายทหารบกโดยให้หลั่นลำดับนายทหารมหาดเล็กก่อนทหารหน่วยอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นยศเดียวกันด้วย[3]

          ส่วนกรมมหาดเล็กแต่เดิมนั้น ใน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตรา “พระราชบัญญัติกรมมหาดเล็ก” ขึ้น เป็นการจัดระเบียบและให้มหาดเล็กได้เรียนรู้ราชการ เพื่อเตรียมตัวรับราชการ พร้อมกับกำหนดเวรยามและหน้าที่ราชการของมหาดเล็กด้วย โดยมีการแบ่งมหาดเล็กออกเป็น 4 จำพวก ได้แก่ (1) มหาดเล็กบรรดาศักดิ์ คือมหาดเล็กที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแล้ว (2) มหาดเล็กวิเศษ คือบุตรหลานข้าราชการที่ถวายตัว (3) มหาดเล็กคงกรม คือมหาดเล็กที่เป็นหม่อมราชวงศ์ หรือประจำหน้าที่ต่างๆ เช่น ยามค่ำเดินหมาย ห้องเครื่อง และหอศาสตราคม เป็นต้น รวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถวายตัวด้วย และ (4) มหาดเล็กยาม คือมหาดเล็กที่มีคุณวุฒิรับราชการได้ ประจำการแล้ว และมีเงินเดือนพระราชทาน[4]

          ต่อมาเมื่อระบบราชการสมัยใหม่ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้และจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ธรรมเนียมการถวายตัวเป็นมหาดเล็กก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนผลิตข้าราชการพลเรือนโดยเฉพาะสำหรับกระทรวงมหาดไทยที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2442 ด้วย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กใน พ.ศ. 2445[5] สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงชี้ว่าการโรงเรียนมหาดเล็กนอกจากจะทำให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาประเพณีในราชสำนักแล้ว จะทำให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับกษัตริย์ก่อนออกไปรับราชการด้วย[6] เป็นการลดช่องว่างความห่างเหินระหว่างกษัตริย์กับข้าราชการตามกระทรวงต่างๆ ซึ่งในระยะนั้นมักไต่เต้าขึ้นมาจากเสมียนตามกระทรวง ไม่ใช่มาจากมหาดเล็กในการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ เนื่องจากระบบราชการได้ให้กำเนิดข้าราชการชนชั้นกลางที่ยึดโยงกับระบบคุณวุฒิมากกว่าระบบอุปถัมภ์ขึ้นมา

          อย่างไรก็ดี ถึงแม้ระบบมหาดเล็กจะช่วยให้กษัตริย์มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับขุนนางข้าราชการมากขึ้น เป็นกลไกซ้อนลงไปในระบบราชการสมัยใหม่และทำหน้าที่ประกันความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ที่เป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาดเล็ก[7] แต่หลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เกิดกรณี ร.ศ. 130 ที่มีเป้าหมายปฏิวัติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จำนวนหนึ่งร่วมก่อการด้วย ทำให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ต้องทรงจัดให้ทหารรักษาวังมาทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยแทนที่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์[8]

 

กรมมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 6-7

          เมื่อขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ความสัมพันธ์ในหมู่พระราชวงศ์ที่เป็นฐานให้กับการสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยขึ้นมาในรัชกาลก่อนคลี่คลายไปในทางที่กษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่ได้มีพระราชจริยวัตรและความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหมู่เจ้านายเหมือนที่เป็นมาในรัชกาลก่อน อีกทั้งกว่าที่จะทรงมีพระมเหสีก็ล่วงเข้าสู่ตอนท้ายรัชกาล ในส่วนกรมมหาดเล็กก็จะมีหน้าที่ในราชการส่วนพระองค์เป็นหลักมากกว่าจะใช้เป็นกลไกยึดโยงและขยายความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับเหล่าข้าราชการ แต่ทว่าขอบเขตงานนั้นกลับขยายออกไป จำนวนคนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องปฏิบัติทั้งในงานฝ่ายหน้าและงานฝ่ายใน เช่น ถวายการรับใช้ใกล้ชิด ประกอบเครื่องเสวย งานพระราชพิธีงานรักษาพระองค์อื่นๆ ตามแต่ที่จะมีพระราชประสงค์

          กรมมหาดเล็กในรัชสมัยนี้เป็นหน่วยงานใหญ่และสำคัญที่สุดของพระราชสำนักที่มีลักษณะเน้นความเป็นบุรุษสมาคม สัมพันธ์ใกล้ชิดและเป็นส่วนหนึ่งของโลกส่วนพระองค์ กับทั้งเป็นพื้นที่ในการกำหนดนิยามวัฒนธรรมใหม่ตามพระราชนิยมที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษด้วย โดยเฉพาะเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีที่ทรงพยายามสร้างความเป็นชายแบบใหม่ขึ้นมา[9] ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่บุคคลสามารถเข้าถึงกษัตริย์ได้มากที่สุด มักได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ มหาดเล็กจึงเป็นช่องทางของการเลื่อนสถานะทางสังคม เฉพาะที่เป็นคนโปรดก็จะยิ่งมีบารมีมาก มีอิทธิพลต่อการบริหารงานราชการ รวมถึงเรื่องส่วนพระองค์ด้วย อยู่ในฐานะที่จะอนุญาตให้ใครเข้าเฝ้ากษัตริย์หรือไม่ก็ได้ บางคนถึงกับได้รับฉายาอย่างเย้ยหยันว่ารัสปูติน[10] กลายเป็นชนวนหนึ่งให้กับความไม่พอใจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยที่ปรากฏแนวโน้มชัดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล

          สำหรับการปรับปรุงกรมมหาดเล็กนั้น มีการตั้งสภาจางวางมหาดเล็กขึ้นใน พ.ศ. 2455  โดยเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ_พึ่งบุญ) เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) และพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ_ไกรฤกษ์) เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบหนังสือราชการ เบิกจ่าย และควบคุมกรมมหาดเล็ก กรมชาวที่ กรมอัศวราช กรมมหรสพ และกรมตรวจ ในบรรดากรมต่างๆ เหล่านี้ กรมมหาดเล็กซึ่งประกอบด้วยกองห้องพระบรรทมและกองตั้งเครื่องถือเป็นกรมใหญ่และสำคัญที่สุด มีพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น_พึ่งบุญ) เป็นอธิบดี ต่อมาใน พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยุบสภาจางวางมหาดเล็กและตั้งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กขึ้นแทน เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ล่าช้า ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือเจ้าพระยารามราฆพ[11]

          ยศมหาดเล็กที่ประกาศใช้ในรัชสมัยนี้ก็กำหนดให้แตกต่างจากข้าราชการในพระราชสำนัก ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารด้วย เพื่อทำให้ศักดิ์ศรีมหาดเล็กเทียบได้กับข้าราชการอื่นๆ เช่น ให้ใช้ยศจางวางเอกเทียบได้กับมหาเสวกเอกของข้าราชการในพระราชสำนัก มหาอำมาตย์เอกของข้าราชการพลเรือน และนายพลเอกของกองทัพบก[12]

          นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นนับแต่ปีแรกที่ครองราชย์แทนวัดประจำรัชกาลด้วย เป็นโรงเรียนกินนอนชายล้วน สังกัดกรมมหาดเล็ก อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นแหล่งฝึกคนตามพระราชนิยมแบบอังกฤษ แตกต่างจากโรงเรียนมหาดเล็กในรัชกาลก่อนที่มีเป้าหมายฝึกหัดนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการ ซึ่งเมื่อขึ้นรัชกาลใหม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ สำหรับนักเรียนของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้บางคนจะได้รับการคัดเลือกจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยพระองค์เองให้เป็นมหาดเล็กรับใช้ทั้งชั้นใหญ่และชั้นเล็กด้วย[13] ภายหลังยังได้ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่เชียงใหม่และโอนโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย

          ในรัชกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่_7) ทรงเห็นว่าราชสำนักของรัชกาลก่อนเป็นเหตุให้สถานะของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยเสื่อมลงกว่าที่ควร[14] ผนวกกับปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้มีการตัดทอนเงินปีของกษัตริย์กับรายจ่ายในพระราชสำนักลงและปรับปรุงราชการในพระราชสำนัก เช่น ยุบหรือรวมกรมต่างๆ และปลดข้าราชการออก ในส่วนกรมมหาดเล็กได้รับการจัดระเบียบราชการใหม่ เปลี่ยนการใช้ยศมหาดเล็กให้เหมือนกับข้าราชการในพระราชสำนัก และต่อมาได้รวมกรมนี้เข้ากับกระทรวงวัง ตำแหน่งมหาดเล็กรับใช้และกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ต้นสังกัดของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงถูกยกเลิกไป ส่วนโรงเรียนได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวชิราวุธวิทยาลัย[15]

 

กรมมหาดเล็กหลัง พ.ศ. 2475

          หลังการปฏิวัติ_พ.ศ._2475 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติแล้ว คณะราษฎรโดยความร่วมมือกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ_กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ทรงเป็นประธานได้พยายามอย่างยิ่งที่จะวางบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เช่น กำหนดให้การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องเป็นไปโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี และแถลงการณ์เกี่ยวกับกษัตริย์โดยกระทรวงวังต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีก่อน เป็นต้น มีการตัดเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ จัดระเบียบทรัพย์สินกษัตริย์ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาล[16] รวมถึงวางระเบียบและปรับปรุงกระทรวงวัง ซึ่งรวมถึงกรมมหาดเล็กหลวงด้วยผ่านการออก “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พ.ศ. 2476” ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินใหม่)

          พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการจัดระเบียบราชการในกระทรวงวังใหม่ และกำหนดให้กรมมหาดเล็กหลวงแบ่งส่วนราชการออกเป็น (1) สำนักงานเลขานุการ มี 4 แผนก ได้แก่ แผนกสารบรรณ แผนกคลัง แผนกเบ็ดเตล็ด และแผนกของพระราชทานและเงินท้ายที่นั่ง (2) กองมหาดเล็กรับใช้ มี 5 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกห้องพระบรรทม แผนกรับใช้ แผนกคลังวรภาชน์ และแผนกพระเครื่องต้น และ (3) กองมหาดเล็กชาวที่ มี 6 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรักษาพระราชวังดุสิต แผนกรักษาพระบรมมหาราชวัง แผนกรักษาพระราชวังบางปอิน (สะกดตามต้นฉบับ) แผนกรักษาวังสุโขทัย และแผนกรักษาวังไกลกังวล[17]

          ใน พ.ศ. 2478 มีการออก “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2478” และ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์_พ.ศ._2478” กระทรวงวังถูกยุบลง และตั้งสำนักพระราชวังกับสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ขึ้นแทน การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี กรมมหาดเล็กหลวงลดฐานะลงเป็นกองมหาดเล็กสังกัดสำนักพระราชวัง แบ่งออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกกลาง แผนกรับใช้ และแผนกชาวที่[18] ภายหลังยังได้มีการจัดระเบียบราชการในกองมหาดเล็กอีกตามความเหมาะสม เช่น ใน พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2496 เป็นต้น[19] แต่ยังคงมีสถานะเป็นกองจนปัจจุบัน ระบบมหาดเล็กและกรมมหาดเล็กจึงหมดบทบาทในทางการปกครองไปอย่างสิ้นเชิง

 

บรรณานุกรม

ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก.  พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2500.  (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน (ม.ล.วราห์ กุญชร) ณ วัดเทพศิรินทราวาส 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2500)

จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์.  “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6.”  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521.

ชานันท์ ยอดหงษ์.  “นายใน” สมัยรัชกาลที่ '6.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน นิทานโบราณคดี.  หน้า 200-211.  กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543.

เทพ บุญตานนท์.  “‘กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’: พลเรือนในเครื่องแบบทหาร.”  ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 (มีนาคม 2559), หน้า 120-136.

ธงทอง จันทรางศุ.  นายทองมหาดเล็ก.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2558.

ประวัติกองทัพไทยในรอบ '200 ปี พ.ศ. 2325-2525.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2525.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 5 แผ่นที่ 22 (วันพุธ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. 1250), หน้า 177-178; เล่ม 10 แผ่นที่ 17 (23 กรกฎาคม ร.ศ. 112), หน้า 201-205; เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16; เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; เล่ม 43 (4 เมษายน 2469), หน้า 38-40; เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 240-241; เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 902-907; เล่ม 52 (11 สิงหาคม 2478), หน้า 1229-1233; เล่ม 52 (14 สิงหาคม 2478), หน้า 1244-1246; เล่ม 59 ตอนที่ 13 (24 กุมภาพันธ์ 2485), หน้า 555-558; เล่ม 70 ตอนที่ 26 (21 เมษายน 2496), หน้า 528-531.

เรย์โนลด์ส, เครก เจ.  “สังคมชายล้วนในวัฒนธรรมการเมืองไทยสมัยใหม่.”  แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น.  รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558), หน้า 30-62.

ศรัญญู เทพสงเคราะห์.  “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ.”  ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), จาก '100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย.  หน้า 106-154.  กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557.

สุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), หลวง.  มหาดเล็กรายงาน': เส้นทางชีวิตหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท).  นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553.

อาวุธ ธีระเอก.  “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.”  วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

Kullada Kesboonchoo Mead.  The Rise and Decline of Thai Absolutism.  London and New York, NY: RoutledgeCurzon, 2004.

 

อ้างอิง

          [1] อาวุธ ธีระเอก, “การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษของรัฐสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557), หน้า 85-87.

          [2] ประวัติกองทัพไทยในรอบ 200 ปี พ.ศ. 2325-2525 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2525), หน้า 103-107, 121.

          [3] “พระราชบัญญัติสำหรับลำดับลำดับยศนายทหารบก,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 5 แผนที่ 22 (วันพุธ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. 1250), หน้า 177.

          [4] “พระราชบัญญัติกรมมหาดเล็ก,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 แผ่นที่ 17 (23 กรกฎาคม ร.ศ. 112), หน้า 202-205.

          [5] “ประกาศตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 แผ่นที่ 1 (6 เมษายน ร.ศ. 121), หน้า 16.

          [6] ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกนักเรียนมหาดเล็กออกรับราชการที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “นิทานที่ 14 โรงเรียนมหาดเล็กหลวง,” ใน นิทานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2543), หน้า 200-211. และดูตัวอย่างประวัตินักเรียนมหาดเล็กที่มีความโดดเด่นได้ที่ ธงทอง จันทรางศุ, นายทองมหาดเล็ก (กรุงเทพฯ: มติชน, 2558). นอกจากนี้ ดู หลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท), มหาดเล็กรายงาน': เส้นทางชีวิตของหลวงสุนทรนุรักษ์ (กระจ่าง วรรณโกวิท)(นนทบุรี: ต้นฉบับ, 2553). เป็นต้น ส่วนหน้าที่ในพระราชสำนักของมหาดเล็ก ดู ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก (พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, 2500).

          [7] Kullada Kesboonchoo Mead, The Rise and Decline of Thai Absolutism (London and New York, NY: RoutledgeCurzon, 2004), pp. 81-85.

          [8] เทพ บุญตานนท์, “‘กรมทหารรักษาวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’: พลเรือนในเครื่องแบบทหาร,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 (มีนาคม 2559), หน้า 122.

          [9] ชานันท์ ยอดหงษ์, “นายใน” สมัยรัชกาลที่ '6(กรุงเทพฯ: มติชน, 2556), บทที่ 5-7.

          [10] เรื่องเดียวกัน, หน้า 236.

          [11] เรื่องเดียวกัน, หน้า 24-25.

          [12] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521), หน้า 149-151.

          [13] ชานันท์ ยอดหงษ์, “นายใน” สมัยรัชกาลที่ '6, หน้า 109-117; และวรชาติ มีชูบท,เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่'''6 (กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553), หน้า 81-89

          [14] จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 213-214.

          [15] “ประกาศจัดการปกครองกรมมหาดเล็กหลวง,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 (7 มีนาคม 2468), หน้า 359-361; “ประกาศเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงวังและรวมกรมมหาดเล็กเข้าในกระทรวงวัง,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 43 (25 กรกฎาคม 2469), หน้า 241; จันทรรัตน์ ประวาลปัทม์, “การศึกษาเปรียบเทียบราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6,” หน้า 217; และวรชาติ มีชูบท, เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ '6, หน้า 89.

          [16] ศรัญญู เทพสงเคราะห์, “คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. 2478-2494: ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ,” ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และทิพย์พาพร ตันติสุนทร (บก.), จาก '100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย(กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, 2557), หน้า 115-117.

          [17] “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงวัง พุทธศักราช 2476,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 (30 มกราคม 2476), หน้า 905-906.

          [18] “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทะบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 (11 สิงหาคม 2478), หน้า 1232-1233; “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวังและสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ พุทธศักราช 2478,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 (14 สิงหาคม 2478), หน้า 1246.

          [19] “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวัง พุทธศักราช 2485,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 13 (24 กุมภาพันธ์ 2485), หน้า 555-558; และ “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวัง พุทธศักราช 2496,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 26 (21 เมษายน 2496), หน้า 528-531.