ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคก้าวล่วง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
 
 


          '''พรรคก้าวล่วง''' (ชื่อภาษาอังกฤษ: '''Advance Forward Party''') เป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมืองจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล [[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ก่อตั้งขึ้นในช่วงต้น ปี 2564 โดยมีที่มาจาก อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจากขอนแก่น อรรถพลร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มขอนแก่นพอกันที และ กลุ่มราษฎรโขง ชี มูล โดยในภายหลังอรรถพลได้เป็นตัวแทนกล่าวปราศรัยในการชุมนุมที่กรุงเทพฯ และร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม “[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]]”
          '''พรรคก้าวล่วง''' (ชื่อภาษาอังกฤษ: '''Advance Forward Party''') เป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมืองจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล [[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ก่อตั้งขึ้นในช่วงต้น ปี 2564 โดยมีที่มาจาก อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจากขอนแก่น อรรถพลร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มขอนแก่นพอกันที และ กลุ่มราษฎรโขง ชี มูล โดยในภายหลังอรรถพลได้เป็นตัวแทนกล่าวปราศรัยในการชุมนุมที่กรุงเทพฯ และร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม “[[คณะราษฎร_2563|คณะราษฎร]]”


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อรรถพลเป็นที่รู้จักจากการปราศรัยที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อหาเสียดสี ตลกขบขัน รวมถึงการปราศรัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] ซึ่งการสื่อสารด้วยอารมณ์ขัน หรือ '''“ปั่น”''' นี้เองที่ถูกนำมาใช้เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวและการสื่อสารของพรรคก้าวล่วง พรรคก้าวล่วงไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ&nbsp;ซึ่งอรรถพลได้ระบุไว้ในแถลงการณ์พรรคฯ ฉบับแรกในเดือนเมษายน 2564 ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ใช่พรรคการเมือง หากแต่เป็นกลุ่มทางการเมืองที่เป็น '''“พรรคพวก”''' ของผู้ที่ต้องการให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า รวมถึงมุ่งสร้างและขยายฐานแนวคิดประชาธิปไตยสากลให้แพร่หลายกว้างขวาง<br/> ในสังคมไทย[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อรรถพลเป็นที่รู้จักจากการปราศรัยที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อหาเสียดสี ตลกขบขัน รวมถึงการปราศรัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] ซึ่งการสื่อสารด้วยอารมณ์ขัน หรือ '''“ปั่น”''' นี้เองที่ถูกนำมาใช้เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวและการสื่อสารของพรรคก้าวล่วง พรรคก้าวล่วงไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ&nbsp;ซึ่งอรรถพลได้ระบุไว้ในแถลงการณ์พรรคฯ ฉบับแรกในเดือนเมษายน 2564 ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ใช่พรรคการเมือง หากแต่เป็นกลุ่มทางการเมืองที่เป็น '''“พรรคพวก”''' ของผู้ที่ต้องการให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า รวมถึงมุ่งสร้างและขยายฐานแนวคิดประชาธิปไตยสากลให้แพร่หลายกว้างขวางในสังคมไทย[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวล่วงนำเสนอนโยบายและแนวคิดทางการเมือง พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ ทั้งนี้การใช้ชื่อ '''“ก้าวล่วง”''' เป็นชื่อของกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงบริบททางการเมืองไทยที่สถาบันกษัตริย์ถูกกล่าวถึงและนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองในเชิงต่อต้านอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยเฉพาะหลังจากการเกิดปรากฏการณ์ '''“ทะลุเพดาน”''' ในช่วงปลาย ปี 2563 ซึ่งทำให้ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวล่วงนำเสนอนโยบายและแนวคิดทางการเมือง พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ ทั้งนี้การใช้ชื่อ '''“ก้าวล่วง”''' เป็นชื่อของกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงบริบททางการเมืองไทยที่สถาบันกษัตริย์ถูกกล่าวถึงและนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองในเชิงต่อต้านอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยเฉพาะหลังจากการเกิดปรากฏการณ์ '''“ทะลุเพดาน”''' ในช่วงปลาย ปี 2563 ซึ่งทำให้ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ต่อมาได้มีการประกาศนโยบายหลักของพรรคก้าวล่วง 8 ข้อ ได้แก่</u>
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ต่อมาได้มีการประกาศนโยบายหลักของพรรคก้าวล่วง 8 ข้อ ได้แก่</u>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ''1. การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยการปรับลดและตรวจสอบงบประมาณสถาบันฯ ยุบเลิกกองกำลังส่วนพระองค์ จัดสรรทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แยกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์&nbsp;ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้กฎหมายคุ้มครองประมุขตามหลักสากล และทำให้สถาบันฯ อยู่เหนือการเมืองโดยแท้จริงโดยป้องกันไม่ให้สถาบันฯ และเครือข่ายแทรกแซงการเมืองและระบบราชการ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยการปรับลดและตรวจสอบงบประมาณสถาบันฯ ยุบเลิกกองกำลังส่วนพระองค์ จัดสรรทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แยกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์&nbsp;ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้กฎหมายคุ้มครองประมุขตามหลักสากล และทำให้สถาบันฯ อยู่เหนือการเมืองโดยแท้จริงโดยป้องกันไม่ให้สถาบันฯ และเครือข่ายแทรกแซงการเมืองและระบบราชการ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การปฏิรูปกองทัพ ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควบคุมกองทัพ ลดงบประมาณให้เหมาะสมและให้ตรวจสอบได้ ลดจำนวนนายพล และยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การปฏิรูปกองทัพ ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควบคุมกองทัพ ลดงบประมาณให้เหมาะสมและให้ตรวจสอบได้ ลดจำนวนนายพล และยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ดำเนินคดีและลงโทษผู้นำคณะรัฐประหารและคณะรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในอดีตและปัจจุบันและให้คดีการทำรัฐประหาร-กบฏ ไม่มีอายุความ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ดำเนินคดีและลงโทษผู้นำคณะรัฐประหารและคณะรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในอดีตและปัจจุบันและให้คดีการทำรัฐประหาร-กบฏ ไม่มีอายุความ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและมีที่มาจากประชาชน''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและมีที่มาจากประชาชน


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 5. แยกอำนาจของรัฐออกจากศาสนา โดยให้รัฐเป็นรัฐฆราวาส (secular state) ที่เป็นกลางทางศาสนา ให้เสรีภาพและความเสมอภาคไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือไม่ก็ตาม ยกเลิกองค์กรศาสนาของรัฐ ให้ดำเนินการโดยเอกชนและยกเลิกกฎหมายศาสนาทุกศาสนาและทุกฉบับ&nbsp;โดยรัฐให้ความคุ้มครองโดยเสมอภาคตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 5. แยกอำนาจของรัฐออกจากศาสนา โดยให้รัฐเป็นรัฐฆราวาส (secular state) ที่เป็นกลางทางศาสนา ให้เสรีภาพและความเสมอภาคไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือไม่ก็ตาม ยกเลิกองค์กรศาสนาของรัฐ ให้ดำเนินการโดยเอกชนและยกเลิกกฎหมายศาสนาทุกศาสนาและทุกฉบับ&nbsp;โดยรัฐให้ความคุ้มครองโดยเสมอภาคตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 6. ทลายทุนผูกขาด โดยการส่งเสริมกิจการ-ธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนและเปิดโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 6. ทลายทุนผูกขาด โดยการส่งเสริมกิจการ-ธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนและเปิดโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 7. รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 7. รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 8. ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง จัดสรรภาษีให้ท้องถิ่นและลดอำนาจส่วนกลางเพื่อให้ท้องถิ่นได้กำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]]''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 8. ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง จัดสรรภาษีให้ท้องถิ่นและลดอำนาจส่วนกลางเพื่อให้ท้องถิ่นได้กำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อกลุ่มเฟสบุ๊ค '''“ครูใหญ่ อรรถพล FC”''' ซึ่งแต่เดิมเป็นกลุ่มสำหรับให้กำลังใจและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของอรรถพลและแนวร่วม เป็นกลุ่มพรรคก้าวล่วง[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] พร้อมทั้งได้ประกาศเชิญชวนให้ “สมาชิกพรรค” ทุกคนได้เชิญชวนเพื่อนเข้ามาในกลุ่มเพื่อร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วง[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อกลุ่มเฟสบุ๊ค '''“ครูใหญ่ อรรถพล FC”''' ซึ่งแต่เดิมเป็นกลุ่มสำหรับให้กำลังใจและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของอรรถพลและแนวร่วม เป็นกลุ่มพรรคก้าวล่วง[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] พร้อมทั้งได้ประกาศเชิญชวนให้ “สมาชิกพรรค” ทุกคนได้เชิญชวนเพื่อนเข้ามาในกลุ่มเพื่อร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วง[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกลุ่มเฟสบุ๊คนี้ได้อธิบายถึงที่มาและความหมายของตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วงว่ามีที่มาจากสัญลักษณ์[[พรรคอนาคตใหม่]] สัญลักษณ์[[พรรคพลังประชารัฐ]] และหมุด[[คณะราษฎร]] โดยหมุดคณะราษฎรสื่อถึงการสืบสานอุดมการณ์ของคณะราษฎร ในขณะที่ลักษณะที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ถูกอธิบายว่า “‘อนาคตใหม่’ คือผู้คนและการเดินทาง ส่วน ‘พรรคก้าวล่วง’ คือผู้คนที่ล่วงหน้าไปรออยู่ปลายทาง”&nbsp;และรูปร่าง-การจัดวางองค์ประกอบที่คล้ายกับสัญลักษณ์พรรคพลังประชารัฐ ถูกระบุว่ามาจากแผนการซื้อพรรคพลังประชารัฐ[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]]&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกลุ่มเฟสบุ๊คนี้ได้อธิบายถึงที่มาและความหมายของตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วงว่ามีที่มาจากสัญลักษณ์[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]] สัญลักษณ์[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]] และหมุด[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]] โดยหมุดคณะราษฎรสื่อถึงการสืบสานอุดมการณ์ของคณะราษฎร ในขณะที่ลักษณะที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ถูกอธิบายว่า “‘อนาคตใหม่’ คือผู้คนและการเดินทาง ส่วน ‘พรรคก้าวล่วง’ คือผู้คนที่ล่วงหน้าไปรออยู่ปลายทาง”&nbsp;และรูปร่าง-การจัดวางองค์ประกอบที่คล้ายกับสัญลักษณ์พรรคพลังประชารัฐ ถูกระบุว่ามาจากแผนการซื้อพรรคพลังประชารัฐ[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]]&nbsp;


&nbsp;
&nbsp;


[[File:Advance Forward Party.jpg|center|300x300px]]
[[File:Advance Forward Party.jpg|center|300x300px|Advance Forward Party.jpg]]
<p style="text-align: center;">ตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วง จากแฟนเพจเฟสบุ๊คของพรรค</p>  
<p style="text-align: center;">ตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วง จากแฟนเพจเฟสบุ๊คของพรรค</p>  
&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 54: บรรทัดที่ 54:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคก้าวล่วงได้มีการเคลื่อนไหวหรือกล่าวถึงโดยอรรถพลทั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์มาก่อนหน้าที่จะมีแถลงการณ์ตั้งพรรคก้าวล่วงแล้ว โดยสามารถย้อนได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งในครั้งนั้น อรรถพลได้ปราศรัยเชิญชวนให้ผู้คนเข้าร่วมกับพรรค '''“ก้าวล่วง”'''&nbsp;ซึ่งมีนโยบาย 3 ข้อ ได้แก่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคก้าวล่วงได้มีการเคลื่อนไหวหรือกล่าวถึงโดยอรรถพลทั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์มาก่อนหน้าที่จะมีแถลงการณ์ตั้งพรรคก้าวล่วงแล้ว โดยสามารถย้อนได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งในครั้งนั้น อรรถพลได้ปราศรัยเชิญชวนให้ผู้คนเข้าร่วมกับพรรค '''“ก้าวล่วง”'''&nbsp;ซึ่งมีนโยบาย 3 ข้อ ได้แก่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ''1. .ประยุทธ์ จันทร์โอชาและเครือข่ายบุคคลที่เกี่ยวข้องยุติบทบาททางการเมือง''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ประยุทธ์ จันทร์โอชาและเครือข่ายบุคคลที่เกี่ยวข้องยุติบทบาททางการเมือง


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ร่างรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชน และ''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ร่างรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชน และ


''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 11''2[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเดือนมีนาคม อรรถพลได้ใช้คำว่า '''“พรรคก้าวล่วง”''' ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การประกาศรับสมัคร “สมาชิก” รุ่นแรกของพรรคฯ จำนวน 1,112 คน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] ในวันเดียวกับการนัดชุมนุมที่สนามหลวงโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก นอกจากนั้นยังได้มีการผลิตและแจกจ่ายสติกเกอร์ของพรรคก้าวล่วงที่มีลักษณะเป็นข้อความตัวอักษร ชื่อพรรค และตราสัญลักษณ์ของพรรค และปรากฏว่ามีการนำสติกเกอร์พรรคก้าวล่วงไปติดในสถานที่หรือตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น โล่ตำรวจควบคุมฝูงชน[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] รถตำรวจ[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] หรือในสถานที่ราชการ[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] รวมถึงรถยนต์ของสำนักข่าว[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคก้าวล่วงในภายหลัง ยังได้มีการแจกขันน้ำพลาสติกสีส้มที่มีตราสัญลักษณ์ของพรรคก้าวล่วงและชื่อ พร้อมลายเซ็นของ อรรถพล บัวพัฒน์ ในการชุมนุม '''“24 มิถุนา ตื่นเช้ามาสานต่อภารกิจคณะราษฎร”''' เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ในลักษณะที่คล้ายกับการแจกขันแดงของพรรคเพื่อไทยที่มีคำอวยพรและลายเซ็นของ [[ทักษิณ_ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี 2559 และขันน้ำพลาสติกจากพรรคพลังประชารัฐ ที่มีชื่อประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มีการแจกในช่วงเดือนเมษายน 2564
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในเดือนมีนาคม อรรถพลได้ใช้คำว่า '''“พรรคก้าวล่วง”''' ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การประกาศรับสมัคร “สมาชิก” รุ่นแรกของพรรคฯ จำนวน 1,112 คน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] ในวันเดียวกับการนัดชุมนุมที่สนามหลวงโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก นอกจากนั้นยังได้มีการผลิตและแจกจ่ายสติกเกอร์ของพรรคก้าวล่วงที่มีลักษณะเป็นข้อความตัวอักษร ชื่อพรรค และตราสัญลักษณ์ของพรรค และปรากฏว่ามีการนำสติกเกอร์พรรคก้าวล่วงไปติดในสถานที่หรือตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น โล่ตำรวจควบคุมฝูงชน[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] รถตำรวจ[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] หรือในสถานที่ราชการ[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] รวมถึงรถยนต์ของสำนักข่าว[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคก้าวล่วงในภายหลัง ยังได้มีการแจกขันน้ำพลาสติกสีส้มที่มีตราสัญลักษณ์ของพรรคก้าวล่วงและชื่อ พร้อมลายเซ็นของ อรรถพล บัวพัฒน์ ในการชุมนุม '''“24 มิถุนา ตื่นเช้ามาสานต่อภารกิจคณะราษฎร”''' เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] ในลักษณะที่คล้ายกับการแจกขันแดงของพรรคเพื่อไทยที่มีคำอวยพรและลายเซ็นของ [[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ_ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี 2559 และขันน้ำพลาสติกจากพรรคพลังประชารัฐ ที่มีชื่อประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มีการแจกในช่วงเดือนเมษายน 2564


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคก้าวล่วงได้ใช้แฟนเพจของพรรคฯ ในการสื่อสารทางการเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น สถาบันกษัตริย์ แนวคิดรัฐฆราวาส การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือการพูดถึงเรื่องการเมืองในเชิงตลกขบขัน รวมถึงประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีต่อแนวร่วมการชุมนุม หรือการเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยร่วมกับกลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอื่น ๆ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคก้าวล่วงได้ใช้แฟนเพจของพรรคฯ ในการสื่อสารทางการเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น สถาบันกษัตริย์ แนวคิดรัฐฆราวาส การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือการพูดถึงเรื่องการเมืองในเชิงตลกขบขัน รวมถึงประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีต่อแนวร่วมการชุมนุม หรือการเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยร่วมกับกลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอื่น ๆ
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 68:
<span style="font-size:x-large;">'''พรรคก้าวล่วงในฐานะการเคลื่อนไหวทางการเมือง'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''พรรคก้าวล่วงในฐานะการเคลื่อนไหวทางการเมือง'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จะเห็นได้ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ สื่อความหมายว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากกว่าจะนำไปสู่การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ชวนตั้งคำถามถึงกรอบกฎหมายที่กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนจัดตั้งตามเงื่อนไขและข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งในด้านหนึ่งการรวมตัวทางการเมืองก็มองได้ว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์&nbsp;การเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วงจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แยกไม่ออกจากการรับรู้และแรงกดดันของสังคมว่า พรรคการเมืองคืออะไร ควรมีหน้าที่อย่างไร และที่สำคัญที่สุดพรรคการเมือง<br/> ควรจะถูกควบคุมโดยรัฐหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นคำถามทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จะเห็นได้ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ สื่อความหมายว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากกว่าจะนำไปสู่การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ชวนตั้งคำถามถึงกรอบกฎหมายที่กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนจัดตั้งตามเงื่อนไขและข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งในด้านหนึ่งการรวมตัวทางการเมืองก็มองได้ว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์&nbsp;การเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วงจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แยกไม่ออกจากการรับรู้และแรงกดดันของสังคมว่า พรรคการเมืองคืออะไร ควรมีหน้าที่อย่างไร และที่สำคัญที่สุดพรรคการเมืองควรจะถูกควบคุมโดยรัฐหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นคำถามทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง
<div>
<div>
&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 76:
[[#_ftnref1|[1]]] อรรถพล บัวพัฒน์, ใน ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, “‘อาวุธที่ทรงพลังที่สุดของประชาชนคือความจริง’ – ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์,” ''The 101'', (23 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.the101.world/attapon-buapat-interview/ https://www.the101.world/attapon-buapat-interview/].&nbsp;เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref1|[1]]] อรรถพล บัวพัฒน์, ใน ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, “‘อาวุธที่ทรงพลังที่สุดของประชาชนคือความจริง’ – ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์,” ''The 101'', (23 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.the101.world/attapon-buapat-interview/ https://www.the101.world/attapon-buapat-interview/].&nbsp;เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,” ''Facebook'', (7 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=106677641532757&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=106677641532757&id=106672294866625].&nbsp;เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564; ทั้งนี้ อรรถพลได้ใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวโพสต์แถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ลงในกลุ่มเฟสบุ๊คของพรรคก้าวล่วง ซึ่งเป็นกลุ่มปิด ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน.
[[#_ftnref2|[2]]] พรรคก้าวล่วง&nbsp;: Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,” ''Facebook'', (7 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=106677641532757&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=106677641532757&id=106672294866625].&nbsp;เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564; ทั้งนี้ อรรถพลได้ใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวโพสต์แถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ลงในกลุ่มเฟสบุ๊คของพรรคก้าวล่วง ซึ่งเป็นกลุ่มปิด ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] อ้างแล้ว.
[[#_ftnref3|[3]]] อ้างแล้ว.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “นโยบายหลักพรรคก้าวล่วง,” ''Facebook'', (10 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก&nbsp; [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109576934576161&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109576934576161&id=106672294866625]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref4|[4]]] พรรคก้าวล่วง&nbsp;: Advance Forward Party, “นโยบายหลักพรรคก้าวล่วง,” ''Facebook'', (10 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก&nbsp; [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109576934576161&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109576934576161&id=106672294866625]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] พรรคก้าวล่วง, ''Facebook'', เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/384785895983884/about https://www.facebook.com/groups/384785895983884/about]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref5|[5]]] พรรคก้าวล่วง, ''Facebook'', เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/384785895983884/about https://www.facebook.com/groups/384785895983884/about]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,”.
[[#_ftnref6|[6]]] พรรคก้าวล่วง&nbsp;: Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,”.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “เผยที่มาและความหมายของโลโกพรรคก้าวล่วง,” ''Facebook'', (11 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109824094551445&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109824094551445&id=106672294866625]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref7|[7]]] พรรคก้าวล่วง&nbsp;: Advance Forward Party, “เผยที่มาและความหมายของโลโกพรรคก้าวล่วง,” ''Facebook'', (11 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109824094551445&id=106672294866625 https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109824094551445&id=106672294866625]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “‘ครูใหญ่’ อภิปรายหน้าสภา ปล่อยมุขชวนเข้า ‘พรรคก้าวล่วง’ นโยบาย 3 ข้อ แซวปารีณาพรรค ‘พลังประชาขัด’,” ''มติชนออนไลน์'', (20 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/politics/news_2588553 https://www.matichon.co.th/politics/news_2588553]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
[[#_ftnref8|[8]]] “‘ครูใหญ่’ อภิปรายหน้าสภา ปล่อยมุขชวนเข้า ‘พรรคก้าวล่วง’ นโยบาย 3 ข้อ แซวปารีณาพรรค ‘พลังประชาขัด’,” ''มติชนออนไลน์'', (20 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/politics/news_2588553 https://www.matichon.co.th/politics/news_2588553]. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.
บรรทัดที่ 104: บรรทัดที่ 104:
&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:57, 18 กรกฎาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          พรรคก้าวล่วง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Advance Forward Party) เป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวทางการเมืองจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ประยุทธ์_จันทร์โอชา ก่อตั้งขึ้นในช่วงต้น ปี 2564 โดยมีที่มาจาก อรรถพล บัวพัฒน์ หรือ ครูใหญ่ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจากขอนแก่น อรรถพลร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มขอนแก่นพอกันที และ กลุ่มราษฎรโขง ชี มูล โดยในภายหลังอรรถพลได้เป็นตัวแทนกล่าวปราศรัยในการชุมนุมที่กรุงเทพฯ และร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม “คณะราษฎร

          อรรถพลเป็นที่รู้จักจากการปราศรัยที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อหาเสียดสี ตลกขบขัน รวมถึงการปราศรัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์[1] ซึ่งการสื่อสารด้วยอารมณ์ขัน หรือ “ปั่น” นี้เองที่ถูกนำมาใช้เป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวและการสื่อสารของพรรคก้าวล่วง พรรคก้าวล่วงไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งอรรถพลได้ระบุไว้ในแถลงการณ์พรรคฯ ฉบับแรกในเดือนเมษายน 2564 ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ใช่พรรคการเมือง หากแต่เป็นกลุ่มทางการเมืองที่เป็น “พรรคพวก” ของผู้ที่ต้องการให้สังคมและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า รวมถึงมุ่งสร้างและขยายฐานแนวคิดประชาธิปไตยสากลให้แพร่หลายกว้างขวางในสังคมไทย[2]

          อย่างไรก็ตาม พรรคก้าวล่วงนำเสนอนโยบายและแนวคิดทางการเมือง พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ ทั้งนี้การใช้ชื่อ “ก้าวล่วง” เป็นชื่อของกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงบริบททางการเมืองไทยที่สถาบันกษัตริย์ถูกกล่าวถึงและนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองในเชิงต่อต้านอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยเฉพาะหลังจากการเกิดปรากฏการณ์ “ทะลุเพดาน” ในช่วงปลาย ปี 2563 ซึ่งทำให้ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล

 

การก่อตั้ง

          เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 อรรถพล บัวพัฒน์ ได้เผยแพร่แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564 ผ่านแฟนเพจของพรรคก้าวล่วง โดยมีเนื้อหาอธิบายถึงที่มาและหลักการของพรรคก้าวล่วง เช่น การระบุว่าพรรคก้าวล่วงไม่ใช่พรรคการเมืองรวมถึงจุดมุ่งหมายของพรรคดังที่กล่าวไว้ในบทนำ แนวทาง “ไม่ว่าใครจะเดินเร็วหรือเดินช้า เราจะเดินล่วงหน้าไปปักธงประชาธิปไตยไว้รอ” และคำขวัญของพรรคที่ว่า “ก้าวให้ลุล่วงเพื่อปวงประชา ก้าวให้ล่วงหน้า เพื่อประชาธิปไตย”[3]

 

          ต่อมาได้มีการประกาศนโยบายหลักของพรรคก้าวล่วง 8 ข้อ ได้แก่

          1. การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยการปรับลดและตรวจสอบงบประมาณสถาบันฯ ยุบเลิกกองกำลังส่วนพระองค์ จัดสรรทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แยกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้กฎหมายคุ้มครองประมุขตามหลักสากล และทำให้สถาบันฯ อยู่เหนือการเมืองโดยแท้จริงโดยป้องกันไม่ให้สถาบันฯ และเครือข่ายแทรกแซงการเมืองและระบบราชการ

          2. การปฏิรูปกองทัพ ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควบคุมกองทัพ ลดงบประมาณให้เหมาะสมและให้ตรวจสอบได้ ลดจำนวนนายพล และยกเลิกระบบเกณฑ์ทหาร

          3. ดำเนินคดีและลงโทษผู้นำคณะรัฐประหารและคณะรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในอดีตและปัจจุบันและให้คดีการทำรัฐประหาร-กบฏ ไม่มีอายุความ

          4. สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและมีที่มาจากประชาชน

          5. แยกอำนาจของรัฐออกจากศาสนา โดยให้รัฐเป็นรัฐฆราวาส (secular state) ที่เป็นกลางทางศาสนา ให้เสรีภาพและความเสมอภาคไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือไม่ก็ตาม ยกเลิกองค์กรศาสนาของรัฐ ให้ดำเนินการโดยเอกชนและยกเลิกกฎหมายศาสนาทุกศาสนาและทุกฉบับ โดยรัฐให้ความคุ้มครองโดยเสมอภาคตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

          6. ทลายทุนผูกขาด โดยการส่งเสริมกิจการ-ธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนและเปิดโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

          7. รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

          8. ยุติรัฐราชการรวมศูนย์ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง จัดสรรภาษีให้ท้องถิ่นและลดอำนาจส่วนกลางเพื่อให้ท้องถิ่นได้กำหนดนโยบายเพื่อท้องถิ่นมากขึ้น[4]

 

          ทั้งนี้ ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อกลุ่มเฟสบุ๊ค “ครูใหญ่ อรรถพล FC” ซึ่งแต่เดิมเป็นกลุ่มสำหรับให้กำลังใจและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของอรรถพลและแนวร่วม เป็นกลุ่มพรรคก้าวล่วง[5] พร้อมทั้งได้ประกาศเชิญชวนให้ “สมาชิกพรรค” ทุกคนได้เชิญชวนเพื่อนเข้ามาในกลุ่มเพื่อร่วมสนับสนุนและขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วง[6]

          ในกลุ่มเฟสบุ๊คนี้ได้อธิบายถึงที่มาและความหมายของตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วงว่ามีที่มาจากสัญลักษณ์พรรคอนาคตใหม่ สัญลักษณ์พรรคพลังประชารัฐ และหมุดคณะราษฎร โดยหมุดคณะราษฎรสื่อถึงการสืบสานอุดมการณ์ของคณะราษฎร ในขณะที่ลักษณะที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ถูกอธิบายว่า “‘อนาคตใหม่’ คือผู้คนและการเดินทาง ส่วน ‘พรรคก้าวล่วง’ คือผู้คนที่ล่วงหน้าไปรออยู่ปลายทาง” และรูปร่าง-การจัดวางองค์ประกอบที่คล้ายกับสัญลักษณ์พรรคพลังประชารัฐ ถูกระบุว่ามาจากแผนการซื้อพรรคพลังประชารัฐ[7] 

 

Advance Forward Party.jpg
Advance Forward Party.jpg

ตราสัญลักษณ์พรรคก้าวล่วง จากแฟนเพจเฟสบุ๊คของพรรค

 

การเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วง

          พรรคก้าวล่วงได้มีการเคลื่อนไหวหรือกล่าวถึงโดยอรรถพลทั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์มาก่อนหน้าที่จะมีแถลงการณ์ตั้งพรรคก้าวล่วงแล้ว โดยสามารถย้อนได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งในครั้งนั้น อรรถพลได้ปราศรัยเชิญชวนให้ผู้คนเข้าร่วมกับพรรค “ก้าวล่วง” ซึ่งมีนโยบาย 3 ข้อ ได้แก่

          1. ประยุทธ์ จันทร์โอชาและเครือข่ายบุคคลที่เกี่ยวข้องยุติบทบาททางการเมือง

          2. ร่างรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชน และ

          3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112[8]

          ในเดือนมีนาคม อรรถพลได้ใช้คำว่า “พรรคก้าวล่วง” ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การประกาศรับสมัคร “สมาชิก” รุ่นแรกของพรรคฯ จำนวน 1,112 คน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม[9] ในวันเดียวกับการนัดชุมนุมที่สนามหลวงโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก นอกจากนั้นยังได้มีการผลิตและแจกจ่ายสติกเกอร์ของพรรคก้าวล่วงที่มีลักษณะเป็นข้อความตัวอักษร ชื่อพรรค และตราสัญลักษณ์ของพรรค และปรากฏว่ามีการนำสติกเกอร์พรรคก้าวล่วงไปติดในสถานที่หรือตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น โล่ตำรวจควบคุมฝูงชน[10] รถตำรวจ[11] หรือในสถานที่ราชการ[12] รวมถึงรถยนต์ของสำนักข่าว[13] การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคก้าวล่วงในภายหลัง ยังได้มีการแจกขันน้ำพลาสติกสีส้มที่มีตราสัญลักษณ์ของพรรคก้าวล่วงและชื่อ พร้อมลายเซ็นของ อรรถพล บัวพัฒน์ ในการชุมนุม “24 มิถุนา ตื่นเช้ามาสานต่อภารกิจคณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564[14] ในลักษณะที่คล้ายกับการแจกขันแดงของพรรคเพื่อไทยที่มีคำอวยพรและลายเซ็นของ ทักษิณ_ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในปี 2559 และขันน้ำพลาสติกจากพรรคพลังประชารัฐ ที่มีชื่อประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่มีการแจกในช่วงเดือนเมษายน 2564

          พรรคก้าวล่วงได้ใช้แฟนเพจของพรรคฯ ในการสื่อสารทางการเมือง เช่น การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น สถาบันกษัตริย์ แนวคิดรัฐฆราวาส การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือการพูดถึงเรื่องการเมืองในเชิงตลกขบขัน รวมถึงประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่าง ๆ เช่น การเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือค่าใช้จ่ายจากการดำเนินคดีต่อแนวร่วมการชุมนุม หรือการเปิดรับบริจาคค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยร่วมกับกลุ่มการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอื่น ๆ

 

พรรคก้าวล่วงในฐานะการเคลื่อนไหวทางการเมือง

          จะเห็นได้ว่าพรรคก้าวล่วงไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ สื่อความหมายว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการมากกว่าจะนำไปสู่การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ชวนตั้งคำถามถึงกรอบกฎหมายที่กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนจัดตั้งตามเงื่อนไขและข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งในด้านหนึ่งการรวมตัวทางการเมืองก็มองได้ว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ การเคลื่อนไหวของพรรคก้าวล่วงจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แยกไม่ออกจากการรับรู้และแรงกดดันของสังคมว่า พรรคการเมืองคืออะไร ควรมีหน้าที่อย่างไร และที่สำคัญที่สุดพรรคการเมืองควรจะถูกควบคุมโดยรัฐหรือไม่อย่างไร ซึ่งเป็นคำถามทางรัฐศาสตร์ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

 

อ้างอิง

[1] อรรถพล บัวพัฒน์, ใน ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์, “‘อาวุธที่ทรงพลังที่สุดของประชาชนคือความจริง’ – ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์,” The 101, (23 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.the101.world/attapon-buapat-interview/. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[2] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,” Facebook, (7 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=106677641532757&id=106672294866625. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564; ทั้งนี้ อรรถพลได้ใช้เฟสบุ๊คส่วนตัวโพสต์แถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ลงในกลุ่มเฟสบุ๊คของพรรคก้าวล่วง ซึ่งเป็นกลุ่มปิด ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน.

[3] อ้างแล้ว.

[4] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “นโยบายหลักพรรคก้าวล่วง,” Facebook, (10 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก  https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109576934576161&id=106672294866625. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[5] พรรคก้าวล่วง, Facebook, เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/384785895983884/about. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[6] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “แถลงการณ์พรรคก้าวล่วง ฉบับที่ 1/2564,”.

[7] พรรคก้าวล่วง : Advance Forward Party, “เผยที่มาและความหมายของโลโกพรรคก้าวล่วง,” Facebook, (11 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=109824094551445&id=106672294866625. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[8] “‘ครูใหญ่’ อภิปรายหน้าสภา ปล่อยมุขชวนเข้า ‘พรรคก้าวล่วง’ นโยบาย 3 ข้อ แซวปารีณาพรรค ‘พลังประชาขัด’,” มติชนออนไลน์, (20 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2588553. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[9] ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์ – Attapon Buapat, Facebook, (17 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1053918111762717&id=423082394846295. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[10] ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์ – Attapon Buapat, Facebook, (22 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1056898701464658&id=423082394846295. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[11] ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์ – Attapon Buapat, Facebook, (21 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1056429941511534&id=423082394846295. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[12] ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์ – Attapon Buapat, Facebook, (22 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1056798818141313&id=423082394846295. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[13] ครูใหญ่ อรรถพล บัวพัฒน์ – Attapon Buapat, Facebook, (27 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1060039781150550&id=423082394846295. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.

[14] สำนักข่าวราษฎร – Ratsadorn News, Facebook, (24 มิถุนายน 2564) เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/RatsadonNews/photos/a.106955498064842/175633431197048/. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564.