ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบุคคล"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
==ความหมาย==
==ความหมาย==


รัฐบุคคล (Man of the State) คือ กลุ่มบุคคลที่ประกอบไปด้วยอดีตผู้นำกองทัพ อดีตข้าราชการระดับสูง ปัญญาชน และนักวิชาการ ซึ่งรวมตัวกันประชุมถกเถียงหาทางออกให้ประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่ม[[คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ([[กปปส.]]) ซึ่งออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลที่มี น.ส.[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[28 มกราคม พ.ศ. 2557]] ณ ร้านอาหาร ภายในราชกรีฑาสโมสร โปโลคลับ โดยมี พล.อ.[[สายหยุด เกิดผล]]และ ศ.ดร.[[ปราโมทย์ นาครทรรรพ]] เป็นแกนหลัก  มีบทบาทต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม พ.ศ.2557]] โดย[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) อันมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้าคณะ [[ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ]] นาย[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]]
รัฐบุคคล (Man of the State) คือ กลุ่มบุคคลที่ประกอบไปด้วยอดีตผู้นำกองทัพ อดีตข้าราชการระดับสูง ปัญญาชน และนักวิชาการ ซึ่งรวมตัวกันประชุมถกเถียงหาทางออกให้ประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่ม[[คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ([[กปปส.]]) ซึ่งออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลที่มี น.ส.[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ [[28 มกราคม พ.ศ. 2557]] ณ ร้านอาหาร ภายในราชกรีฑาสโมสร โปโลคลับ โดยมี พล.อ.[[สายหยุด เกิดผล]]และ ศ.ดร.[[ปราโมทย์ นาครทรรรพ]] เป็นแกนหลัก<ref>"ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557) เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.</ref> มีบทบาทต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม พ.ศ.2557]] โดย[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) อันมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] เป็นหัวหน้าคณะ [[ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ]] นาย[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]]


==สถานภาพของกลุ่มรัฐบุคคล==
==สถานภาพของกลุ่มรัฐบุคคล==


วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “รัฐบุคคล” ก็คือการร่วมกันปรึกษาหารือและแสวงหาทางออกให้ประเทศในสภาวะที่ใกล้ถึง “ทางตัน” ทั้งนี้การจัดตั้งกลุ่มรัฐบุคคลเกิดขึ้นภายหลัง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]วินิจฉัยว่า [[พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556]] ที่กำหนดให้มี[[การเลือกตั้ง]][[สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร]]เป็นการทั่วไปในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557]] [[ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ]]มาตรา 108 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้   
วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “รัฐบุคคล” ก็คือการร่วมกันปรึกษาหารือและแสวงหาทางออกให้ประเทศในสภาวะที่ใกล้ถึง “ทางตัน” ทั้งนี้การจัดตั้งกลุ่มรัฐบุคคลเกิดขึ้นภายหลัง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]วินิจฉัยว่า [[พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556]] ที่กำหนดให้มี[[การเลือกตั้ง]][[สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร]]เป็นการทั่วไปในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557]] [[ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ]]มาตรา 108 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้ <ref>"เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ," มติชนออนไลน์ (21 มีนาคม  2557), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395382033&grpid=&catid=01&subcatid=0100>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558. </ref>
   


พล.อ.สายหยุด เกิดผล อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งว่า โดยทั่วไปแล้วการเมืองมี 2 ประเภท กล่าวคือ การเมืองที่เป็นเรื่องของ[[นักการเมือง]] (politician) และการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายต่างๆ แต่ดำรงอยู่เพื่อคุณประโยชน์ของประเทศชาติ หรือ[[รัฐบุรุษ]] (statesman) ซึ่งอย่างหลังต้องมาจากการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้นคณะของตนจึงเลี่ยงมาใช้คำว่า "รัฐบุคคล" (man of the state) ซึ่งเป็นการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-partisan politics) แต่เมื่อถึงสภาวการณ์คับขันปราศจากผู้ชี้นำ จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกโดยมีนักวิชาการ อดีตข้าราชการ และอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มีแนวคิดในทางเดียวกัน คือ มีความซื่อตรงและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หรือเป็นพลังเงียบที่จะตัดสินได้ว่าประเทศชาติจะดำเนินไปในทิศทางใด รัฐบุคคลจึงเรียกร้องให้ประชาชนที่เป็นพลังเงียบต้องเลือกข้างทางการเมือง เพราะประเทศชาติกำลังเดินลงสู่เหว   
พล.อ.สายหยุด เกิดผล อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งว่า โดยทั่วไปแล้วการเมืองมี 2 ประเภท กล่าวคือ การเมืองที่เป็นเรื่องของ[[นักการเมือง]] (politician) และการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายต่างๆ แต่ดำรงอยู่เพื่อคุณประโยชน์ของประเทศชาติ หรือ[[รัฐบุรุษ]] (statesman) ซึ่งอย่างหลังต้องมาจากการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้นคณะของตนจึงเลี่ยงมาใช้คำว่า "รัฐบุคคล" (man of the state) ซึ่งเป็นการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-partisan politics) แต่เมื่อถึงสภาวการณ์คับขันปราศจากผู้ชี้นำ จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกโดยมีนักวิชาการ อดีตข้าราชการ และอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มีแนวคิดในทางเดียวกัน คือ มีความซื่อตรงและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หรือเป็นพลังเงียบที่จะตัดสินได้ว่าประเทศชาติจะดำเนินไปในทิศทางใด รัฐบุคคลจึงเรียกร้องให้ประชาชนที่เป็นพลังเงียบต้องเลือกข้างทางการเมือง เพราะประเทศชาติกำลังเดินลงสู่เหว<ref>"โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐบุคคลขอให้กองทัพเลือกข้าง แต่ห้ามปฏิวัติ," ไทยรัฐออนไลน์, (6 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/401858>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558. </ref>  


'''สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้'''  
'''สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้'''<ref>ดูประวัติและภูมิหลังของสมาชิกกลุ่มรัฐบุคคลใน "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558. </ref>


[[ไฟล์:รัฐบุคคล.jpg]]
[[ไฟล์:รัฐบุคคล.jpg]]
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 23:
รัฐบุคคลเห็นว่าการเมืองไทยนับตั้งแต่ปลายปี 2556 ตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนและกลุ่ม กปปส. ซึ่งออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก ทั้งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกว่าจ้าง หรือถูกเกณฑ์มา เพราะคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะหน้าที่การงานดี รวมกับคนชนบทที่เข้าร่วมด้วย พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประเมินสถานภาพของรัฐบาลและผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นว่า
รัฐบุคคลเห็นว่าการเมืองไทยนับตั้งแต่ปลายปี 2556 ตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนและกลุ่ม กปปส. ซึ่งออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก ทั้งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกว่าจ้าง หรือถูกเกณฑ์มา เพราะคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะหน้าที่การงานดี รวมกับคนชนบทที่เข้าร่วมด้วย พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประเมินสถานภาพของรัฐบาลและผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นว่า


''“รัฐบาลชุดนี้ (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร—ผู้เรียบเรียง) ทำผิดพลาดหลายอย่าง หากเป็นประเทศอื่นตามมาตรฐานสากล คงแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกไปนานแล้ว ผมอยากเน้นย้ำว่า ความรับผิดชอบ ความรู้ผิดรู้ชอบเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายมาสอบสวน เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก บ้านเมืองก็ไม่แพ้ ชนะ หากปล่อยไปเช่นนี้ รัฐบาลอยู่ได้ กลุ่ม กปปส.ที่มีกินมีใช้ก็อยู่ได้ แต่ความเสียหายคือ บ้านเมืองประเทศชาติและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่”''  
''“รัฐบาลชุดนี้ (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร—ผู้เรียบเรียง) ทำผิดพลาดหลายอย่าง หากเป็นประเทศอื่นตามมาตรฐานสากล คงแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกไปนานแล้ว ผมอยากเน้นย้ำว่า ความรับผิดชอบ ความรู้ผิดรู้ชอบเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายมาสอบสวน เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก บ้านเมืองก็ไม่แพ้ ชนะ หากปล่อยไปเช่นนี้ รัฐบาลอยู่ได้ กลุ่ม กปปส.ที่มีกินมีใช้ก็อยู่ได้ แต่ความเสียหายคือ บ้านเมืองประเทศชาติและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่”''<ref>เรื่องเดียวกัน</ref>


ถึงแม้จะมีความพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่รัฐบุคคลเห็นว่าเป็นเพียง “เกมการเมือง ไม่ใช่เป็นไปตามอุดมการณ์ของรัฐธรรมนูญ” ดังนั้นจึงเสนอให้[[สถาบันทหาร]]และ[[สถาบันศาล]]รับผิดชอบต่อภาวะวิกฤติทางการเมืองขณะนั้น เมื่อสามารถได้อำนาจรัฐไว้ในครอบครองจึงดำเนินการเป็นองคณะมนตรี มีหน้าที่คัดเลือกคนดีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงคืนอำนาจให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิผ่านการเลือกตั้ง
ถึงแม้จะมีความพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่รัฐบุคคลเห็นว่าเป็นเพียง “เกมการเมือง ไม่ใช่เป็นไปตามอุดมการณ์ของรัฐธรรมนูญ” ดังนั้นจึงเสนอให้[[สถาบันทหาร]]และ[[สถาบันศาล]]รับผิดชอบต่อภาวะวิกฤติทางการเมืองขณะนั้น เมื่อสามารถได้อำนาจรัฐไว้ในครอบครองจึงดำเนินการเป็นองคณะมนตรี มีหน้าที่คัดเลือกคนดีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงคืนอำนาจให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิผ่านการเลือกตั้ง
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 29:
'''บทบาทก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557'''
'''บทบาทก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557'''


ก่อนการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลแสดงบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนโดยอาศัยข้อเรียกร้องให้คณะบุคคล เช่น [[องคมนตรี]]และกองทัพ ดำเนินการแสวงหาทางออกให้ประเทศโดยการ “ขอพึ่งพระบารมี” ของ[[สถาบันพระมหากษัตริย์]] ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุดมองว่าปัญหาการเมืองไทยนับจาก [[14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] "ประเทศเราผ่านวิกฤติมาได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ ก็เห็นว่า ด้วยพระบารมีจะทำให้ประเทศไทยผ่านไปได้.."  วันที่ 14 เมษายน 2557 รัฐบุคคลจึงจัดแถลงเรื่องเสนอให้[[ประธานองคมนตรี]]และ[[รัฐบุรุษ]] เรียกผู้นำกองทัพ ผู้นำฝ่ายตุลาการและผู้นำภาคสังคมทุกส่วนร่วมแสวงหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองของประเทศแล้วร่างพระบรมราชโองการนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] โดยประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ  ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นคณะผู้ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการในการหาทางออกประเทศ  
ก่อนการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลแสดงบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนโดยอาศัยข้อเรียกร้องให้คณะบุคคล เช่น [[องคมนตรี]]และกองทัพ ดำเนินการแสวงหาทางออกให้ประเทศโดยการ “ขอพึ่งพระบารมี” ของ[[สถาบันพระมหากษัตริย์]] ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุดมองว่าปัญหาการเมืองไทยนับจาก [[14 ตุลาคม พ.ศ. 2516]] "ประเทศเราผ่านวิกฤติมาได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ ก็เห็นว่า ด้วยพระบารมีจะทำให้ประเทศไทยผ่านไปได้.."<ref>"ปูมหลัง'คณะรัฐบุคคล'," คมชัดลึกออนไลน์, (28 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.komchadluek.net/detail/20140428/183635.html>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558. </ref> วันที่ 14 เมษายน 2557 รัฐบุคคลจึงจัดแถลงเรื่องเสนอให้[[ประธานองคมนตรี]]และ[[รัฐบุรุษ]] เรียกผู้นำกองทัพ ผู้นำฝ่ายตุลาการและผู้นำภาคสังคมทุกส่วนร่วมแสวงหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองของประเทศแล้วร่างพระบรมราชโองการนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] โดยประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ<ref> "จับตาแนวคิดคณะรัฐบบุคคล ทางออกผ่านทางตันวิกฤติชาติ?," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/creative/99481>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558. </ref> ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นคณะผู้ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการในการหาทางออกประเทศ<ref>"'ประยุทธ์' เผย รับทราบข้อเสนอคณะรัฐบุคคล," เดลินิวส์, (13 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก  <http://www.dailynews.co.th/Content/politics/237089>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558. </ref>


ข้อเสนอของรัฐบุคคลตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากจากสมาชิก[[พรรคเพื่อไทย]] นาย[[พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์]] โฆษกพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ว่าการเสนอให้ พล.อ.[[เปรม ติณสูลานนท์]]ซึ่งเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษทำเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องผิดโดยแท้ เพราะประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ จึงแนะนำให้รัฐบุคคลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและฟังเสียงประชาชน  สำหรับนาย[[อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด]] รองโฆษกพรรคเพื่อไทย มองว่า "พล.อ.เปรมเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ ดุจภูผาสูงตระหง่าน อยู่เหนือการเมือง สงบนิ่งท่ามกลางพวกฝนตกขี้หมูไหล ที่ไปวุ่นวายท่าน ที่สำคัญ ท่านเคยบอกว่า ผมพอแล้ว คงไม่รับข้อเสนอของพวกรัฐบุคคลที่ตั้งเองอวยกันเอง ไม่รู้จักพอ"  
ข้อเสนอของรัฐบุคคลตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากจากสมาชิก[[พรรคเพื่อไทย]] นาย[[พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์]] โฆษกพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ว่าการเสนอให้ พล.อ.[[เปรม ติณสูลานนท์]]ซึ่งเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษทำเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องผิดโดยแท้ เพราะประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ จึงแนะนำให้รัฐบุคคลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและฟังเสียงประชาชน<ref> "ซัด 'คณะรัฐบุคคล' อย่าดึง 'ป๋าเปรม' 'เด็จพี่' จวก 'องคมนตรี' แค่คิดก็ผิดแล้ว!," แนวหน้า, (15 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99485>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558. </ref> สำหรับนาย[[อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด]] รองโฆษกพรรคเพื่อไทย มองว่า "พล.อ.เปรมเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ ดุจภูผาสูงตระหง่าน อยู่เหนือการเมือง สงบนิ่งท่ามกลางพวกฝนตกขี้หมูไหล ที่ไปวุ่นวายท่าน ที่สำคัญ ท่านเคยบอกว่า ผมพอแล้ว คงไม่รับข้อเสนอของพวกรัฐบุคคลที่ตั้งเองอวยกันเอง ไม่รู้จักพอ" <ref>"พท.อัดรัฐบุคคลจ้องปล้นอำนาจ เชื่อ 'ป๋าเปรม' ปัดข้อเสนอแน่นอน," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99568>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558. </ref>


'''บทบาทหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557'''
'''บทบาทหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557'''
บรรทัดที่ 36: บรรทัดที่ 37:
ภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนคณะรัฐบุคคลได้เดินทางไปขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และให้กำลังใจทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ ณ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก โดยมอบดอกกุหลาบและเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับเจ้าหน้าที่ โดยนายเกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า ผู้ประสานงานคณะรัฐบุคคล กล่าวว่า  
ภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนคณะรัฐบุคคลได้เดินทางไปขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และให้กำลังใจทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ ณ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก โดยมอบดอกกุหลาบและเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับเจ้าหน้าที่ โดยนายเกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า ผู้ประสานงานคณะรัฐบุคคล กล่าวว่า  


''"แม้นว่าในทางหลักการพวกเราจะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกหนทางนี้ พวกเราจึงออกมาให้กำลังใจกับทหารที่เลือกหนทางนี้เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพื่อต้องการอำนาจ อย่างไรก็ตาม ขอร้องว่าเมื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็รีบคืนประชาธิปไตยให้โดยเร็ว เมื่อทางการเมืองแก้ปัญหาทำการเลือกตั้งได้ประชาธิปไตยจากประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน"''  
''"แม้นว่าในทางหลักการพวกเราจะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกหนทางนี้ พวกเราจึงออกมาให้กำลังใจกับทหารที่เลือกหนทางนี้เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพื่อต้องการอำนาจ อย่างไรก็ตาม ขอร้องว่าเมื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็รีบคืนประชาธิปไตยให้โดยเร็ว เมื่อทางการเมืองแก้ปัญหาทำการเลือกตั้งได้ประชาธิปไตยจากประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน"''<ref>"ตัวแทนคณะรัฐบุคคล-ชมรมสตรีฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารหน้า ทบ.คึกคัก," ผู้จัดการออนไลน์, (27 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059144>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558. </ref>


การเคลื่อนไหวของกล่มรัฐบุคลยังคงสืบเนื่องต่อมาภายหลังเกิดการยึดอำนาจการปกครองแล้ว ทั้งนี้ วันที่ 6 มกราคม 2558 พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานกลุ่มคณะรัฐบุคคล แถลงข่าวถึงข้อเสนอให้ 4 องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศภายหลังการรัฐประหาร ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] และ[[กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ]] นำบทเรียนและประสบการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาเป็นรากฐานพิจารณามากตรการต่างๆ ดังนั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรตราให้ชัดเจนถึงบทบาทพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญมิได้กำหนดพระราชอำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อให้อำนาจองค์ประมุขเข้าแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดวิกฤติ[[ความขัดแย้ง]]รุนแรงสูงสุดจนไม่สามารถแสวงหาหนทางอื่นได้  
การเคลื่อนไหวของกล่มรัฐบุคลยังคงสืบเนื่องต่อมาภายหลังเกิดการยึดอำนาจการปกครองแล้ว ทั้งนี้ วันที่ 6 มกราคม 2558 พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานกลุ่มคณะรัฐบุคคล แถลงข่าวถึงข้อเสนอให้ 4 องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศภายหลังการรัฐประหาร ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] และ[[กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ]] นำบทเรียนและประสบการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาเป็นรากฐานพิจารณามากตรการต่างๆ ดังนั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรตราให้ชัดเจนถึงบทบาทพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญมิได้กำหนดพระราชอำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อให้อำนาจองค์ประมุขเข้าแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดวิกฤติ[[ความขัดแย้ง]]รุนแรงสูงสุดจนไม่สามารถแสวงหาหนทางอื่นได้  


ทั้งนี้ตามปกติแล้วพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจโดยตรง แต่อาศัยพระราชปรารภ พระราชดำริ [[พระบรมราชโองการ]] หรือพระราชอำนาจทางสังคมโดยธรรม โดยให้สถาบันกองทัพและรัฐบุรุษสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง หรืออาจมีหมายเรียกสั่งให้เข้าเฝ้าแทนทั้งคณะเพื่อรับพระบรมราชโองการฯ ตามหน้าที่ขององค์ประมุขชาติ  นอกจากนั้นยังเสนอว่าควรให้มีการนิยามความหมายของคำว่า "[[กบฎ]]" และ "[[รัฐประหาร]]" ให้เกิดความชัดเจนเพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรารถนาดีอยากช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดหลุดจาก "ทางตัน" กลับถูกกล่าวหาว่าเป็น "กบฏ" ทั้งการรัฐประหาร ก็ยังเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน จึง "ไม่ทราบว่าจะเรียกว่ารัฐประหารได้หรือไม่"  
ทั้งนี้ตามปกติแล้วพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจโดยตรง แต่อาศัยพระราชปรารภ พระราชดำริ [[พระบรมราชโองการ]] หรือพระราชอำนาจทางสังคมโดยธรรม โดยให้สถาบันกองทัพและรัฐบุรุษสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง หรืออาจมีหมายเรียกสั่งให้เข้าเฝ้าแทนทั้งคณะเพื่อรับพระบรมราชโองการฯ ตามหน้าที่ขององค์ประมุขชาติ<ref> "เสนอเปิดทางกองทัพ-รัฐบุรุษรับสนองพระบรมราชโองการฯ," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/627004>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558. </ref> นอกจากนั้นยังเสนอว่าควรให้มีการนิยามความหมายของคำว่า "[[กบฎ]]" และ "[[รัฐประหาร]]" ให้เกิดความชัดเจนเพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรารถนาดีอยากช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดหลุดจาก "ทางตัน" กลับถูกกล่าวหาว่าเป็น "กบฏ" ทั้งการรัฐประหาร ก็ยังเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน จึง "ไม่ทราบว่าจะเรียกว่ารัฐประหารได้หรือไม่"<ref>"รัฐบุคคล เสนอ"รัฐบุรุษ-ทหาร"เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ-ชี้ รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่ใช่ "กบฏ"," มติชนออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420533227
>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558. </ref>
 


==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:42, 23 มิถุนายน 2558

ผู้เรียบเรียง : ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


ความหมาย

รัฐบุคคล (Man of the State) คือ กลุ่มบุคคลที่ประกอบไปด้วยอดีตผู้นำกองทัพ อดีตข้าราชการระดับสูง ปัญญาชน และนักวิชาการ ซึ่งรวมตัวกันประชุมถกเถียงหาทางออกให้ประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่ม[[คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (กปปส.) ซึ่งออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ณ ร้านอาหาร ภายในราชกรีฑาสโมสร โปโลคลับ โดยมี พล.อ.สายหยุด เกิดผลและ ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรรพ เป็นแกนหลัก[1] มีบทบาทต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล

สถานภาพของกลุ่มรัฐบุคคล

วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “รัฐบุคคล” ก็คือการร่วมกันปรึกษาหารือและแสวงหาทางออกให้ประเทศในสภาวะที่ใกล้ถึง “ทางตัน” ทั้งนี้การจัดตั้งกลุ่มรัฐบุคคลเกิดขึ้นภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้ [2]


พล.อ.สายหยุด เกิดผล อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งว่า โดยทั่วไปแล้วการเมืองมี 2 ประเภท กล่าวคือ การเมืองที่เป็นเรื่องของนักการเมือง (politician) และการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายต่างๆ แต่ดำรงอยู่เพื่อคุณประโยชน์ของประเทศชาติ หรือรัฐบุรุษ (statesman) ซึ่งอย่างหลังต้องมาจากการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้นคณะของตนจึงเลี่ยงมาใช้คำว่า "รัฐบุคคล" (man of the state) ซึ่งเป็นการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-partisan politics) แต่เมื่อถึงสภาวการณ์คับขันปราศจากผู้ชี้นำ จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกโดยมีนักวิชาการ อดีตข้าราชการ และอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มีแนวคิดในทางเดียวกัน คือ มีความซื่อตรงและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หรือเป็นพลังเงียบที่จะตัดสินได้ว่าประเทศชาติจะดำเนินไปในทิศทางใด รัฐบุคคลจึงเรียกร้องให้ประชาชนที่เป็นพลังเงียบต้องเลือกข้างทางการเมือง เพราะประเทศชาติกำลังเดินลงสู่เหว[3]

สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้[4]

ไฟล์:รัฐบุคคล.jpg

รายละเอียด : บทบาททางการเมือง

รัฐบุคคลเห็นว่าการเมืองไทยนับตั้งแต่ปลายปี 2556 ตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนและกลุ่ม กปปส. ซึ่งออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก ทั้งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกว่าจ้าง หรือถูกเกณฑ์มา เพราะคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะหน้าที่การงานดี รวมกับคนชนบทที่เข้าร่วมด้วย พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประเมินสถานภาพของรัฐบาลและผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นว่า

“รัฐบาลชุดนี้ (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร—ผู้เรียบเรียง) ทำผิดพลาดหลายอย่าง หากเป็นประเทศอื่นตามมาตรฐานสากล คงแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกไปนานแล้ว ผมอยากเน้นย้ำว่า ความรับผิดชอบ ความรู้ผิดรู้ชอบเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายมาสอบสวน เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก บ้านเมืองก็ไม่แพ้ ชนะ หากปล่อยไปเช่นนี้ รัฐบาลอยู่ได้ กลุ่ม กปปส.ที่มีกินมีใช้ก็อยู่ได้ แต่ความเสียหายคือ บ้านเมืองประเทศชาติและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่”[5]

ถึงแม้จะมีความพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่รัฐบุคคลเห็นว่าเป็นเพียง “เกมการเมือง ไม่ใช่เป็นไปตามอุดมการณ์ของรัฐธรรมนูญ” ดังนั้นจึงเสนอให้สถาบันทหารและสถาบันศาลรับผิดชอบต่อภาวะวิกฤติทางการเมืองขณะนั้น เมื่อสามารถได้อำนาจรัฐไว้ในครอบครองจึงดำเนินการเป็นองคณะมนตรี มีหน้าที่คัดเลือกคนดีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงคืนอำนาจให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิผ่านการเลือกตั้ง

บทบาทก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

ก่อนการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลแสดงบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนโดยอาศัยข้อเรียกร้องให้คณะบุคคล เช่น องคมนตรีและกองทัพ ดำเนินการแสวงหาทางออกให้ประเทศโดยการ “ขอพึ่งพระบารมี” ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุดมองว่าปัญหาการเมืองไทยนับจาก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "ประเทศเราผ่านวิกฤติมาได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ ก็เห็นว่า ด้วยพระบารมีจะทำให้ประเทศไทยผ่านไปได้.."[6] วันที่ 14 เมษายน 2557 รัฐบุคคลจึงจัดแถลงเรื่องเสนอให้ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เรียกผู้นำกองทัพ ผู้นำฝ่ายตุลาการและผู้นำภาคสังคมทุกส่วนร่วมแสวงหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองของประเทศแล้วร่างพระบรมราชโองการนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ[7] ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นคณะผู้ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการในการหาทางออกประเทศ[8]

ข้อเสนอของรัฐบุคคลตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ว่าการเสนอให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษทำเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องผิดโดยแท้ เพราะประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ จึงแนะนำให้รัฐบุคคลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและฟังเสียงประชาชน[9] สำหรับนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย มองว่า "พล.อ.เปรมเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ ดุจภูผาสูงตระหง่าน อยู่เหนือการเมือง สงบนิ่งท่ามกลางพวกฝนตกขี้หมูไหล ที่ไปวุ่นวายท่าน ที่สำคัญ ท่านเคยบอกว่า ผมพอแล้ว คงไม่รับข้อเสนอของพวกรัฐบุคคลที่ตั้งเองอวยกันเอง ไม่รู้จักพอ" [10]

บทบาทหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

ภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนคณะรัฐบุคคลได้เดินทางไปขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และให้กำลังใจทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ ณ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก โดยมอบดอกกุหลาบและเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับเจ้าหน้าที่ โดยนายเกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า ผู้ประสานงานคณะรัฐบุคคล กล่าวว่า

"แม้นว่าในทางหลักการพวกเราจะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกหนทางนี้ พวกเราจึงออกมาให้กำลังใจกับทหารที่เลือกหนทางนี้เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพื่อต้องการอำนาจ อย่างไรก็ตาม ขอร้องว่าเมื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็รีบคืนประชาธิปไตยให้โดยเร็ว เมื่อทางการเมืองแก้ปัญหาทำการเลือกตั้งได้ประชาธิปไตยจากประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน"[11]

การเคลื่อนไหวของกล่มรัฐบุคลยังคงสืบเนื่องต่อมาภายหลังเกิดการยึดอำนาจการปกครองแล้ว ทั้งนี้ วันที่ 6 มกราคม 2558 พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานกลุ่มคณะรัฐบุคคล แถลงข่าวถึงข้อเสนอให้ 4 องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศภายหลังการรัฐประหาร ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำบทเรียนและประสบการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาเป็นรากฐานพิจารณามากตรการต่างๆ ดังนั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรตราให้ชัดเจนถึงบทบาทพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญมิได้กำหนดพระราชอำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อให้อำนาจองค์ประมุขเข้าแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดวิกฤติความขัดแย้งรุนแรงสูงสุดจนไม่สามารถแสวงหาหนทางอื่นได้

ทั้งนี้ตามปกติแล้วพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจโดยตรง แต่อาศัยพระราชปรารภ พระราชดำริ พระบรมราชโองการ หรือพระราชอำนาจทางสังคมโดยธรรม โดยให้สถาบันกองทัพและรัฐบุรุษสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง หรืออาจมีหมายเรียกสั่งให้เข้าเฝ้าแทนทั้งคณะเพื่อรับพระบรมราชโองการฯ ตามหน้าที่ขององค์ประมุขชาติ[12] นอกจากนั้นยังเสนอว่าควรให้มีการนิยามความหมายของคำว่า "กบฎ" และ "รัฐประหาร" ให้เกิดความชัดเจนเพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรารถนาดีอยากช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดหลุดจาก "ทางตัน" กลับถูกกล่าวหาว่าเป็น "กบฏ" ทั้งการรัฐประหาร ก็ยังเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน จึง "ไม่ทราบว่าจะเรียกว่ารัฐประหารได้หรือไม่"[13]


บรรณานุกรม

“ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557) เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.

“จับตาแนวคิดคณะรัฐบบุคคล ทางออกผ่านทางตันวิกฤติชาติ?," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/creative/99481>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.

“ซัด 'คณะรัฐบุคคล' อย่าดึง 'ป๋าเปรม' 'เด็จพี่' จวก 'องคมนตรี' แค่คิดก็ผิดแล้ว!," แนวหน้า, (15 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99485>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.

“ตัวแทนคณะรัฐบุคคล-ชมรมสตรีฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารหน้า ทบ.คึกคัก," ผู้จัดการออนไลน์, (27 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx? NewsID=9570000059144>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.

“'ประยุทธ์' เผย รับทราบข้อเสนอคณะรัฐบุคคล," เดลินิวส์, (13 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/Content/politics/237089>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.

“ปูมหลัง'คณะรัฐบุคคล'," คมชัดลึกออนไลน์, (28 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.komchadluek.net/detail/20140428/183635.html>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.

“เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ," มติชนออนไลน์ (21 มีนาคม 2557), เข้าถึงจาก<http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395382033 &grpid=&catid=01&subcatid=0100>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.

“โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐบุคคลขอให้กองทัพเลือกข้าง แต่ห้ามปฏิวัติ," ไทยรัฐออนไลน์, (6 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/401858>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.

“พท.อัดรัฐบุคคลจ้องปล้นอำนาจ เชื่อ 'ป๋าเปรม' ปัดข้อเสนอแน่นอน," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99568>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.

“รัฐบุคคล เสนอ"รัฐบุรุษ-ทหาร"เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ-ชี้ รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่ใช่ "กบฏ"," มติชนออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_ detail.php?newsid=1420533227>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.

“เสนอเปิดทางกองทัพ-รัฐบุรุษรับสนองพระบรมราชโองการฯ," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/627004>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.

  1. "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557) เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
  2. "เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ," มติชนออนไลน์ (21 มีนาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395382033&grpid=&catid=01&subcatid=0100>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
  3. "โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐบุคคลขอให้กองทัพเลือกข้าง แต่ห้ามปฏิวัติ," ไทยรัฐออนไลน์, (6 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/401858>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
  4. ดูประวัติและภูมิหลังของสมาชิกกลุ่มรัฐบุคคลใน "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
  5. เรื่องเดียวกัน
  6. "ปูมหลัง'คณะรัฐบุคคล'," คมชัดลึกออนไลน์, (28 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.komchadluek.net/detail/20140428/183635.html>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
  7. "จับตาแนวคิดคณะรัฐบบุคคล ทางออกผ่านทางตันวิกฤติชาติ?," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/creative/99481>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
  8. "'ประยุทธ์' เผย รับทราบข้อเสนอคณะรัฐบุคคล," เดลินิวส์, (13 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/Content/politics/237089>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
  9. "ซัด 'คณะรัฐบุคคล' อย่าดึง 'ป๋าเปรม' 'เด็จพี่' จวก 'องคมนตรี' แค่คิดก็ผิดแล้ว!," แนวหน้า, (15 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99485>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
  10. "พท.อัดรัฐบุคคลจ้องปล้นอำนาจ เชื่อ 'ป๋าเปรม' ปัดข้อเสนอแน่นอน," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99568>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
  11. "ตัวแทนคณะรัฐบุคคล-ชมรมสตรีฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารหน้า ทบ.คึกคัก," ผู้จัดการออนไลน์, (27 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059144>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.
  12. "เสนอเปิดทางกองทัพ-รัฐบุรุษรับสนองพระบรมราชโองการฯ," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/627004>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
  13. "รัฐบุคคล เสนอ"รัฐบุรุษ-ทหาร"เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ-ชี้ รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่ใช่ "กบฏ"," มติชนออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420533227 >. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.