ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' สุมาลี พันธุ์ยุรา ---- '''ผู้ทรงคุณว...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
==ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ.2519-ปัจจุบัน)==
==ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ.2519-ปัจจุบัน)==


ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ.2519 – ปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้ คือ ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองไม่มีการใช้รูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีเนื้อหาและมีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมีการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่มีเนื้อหา สาระ เป้าหมาย หรือใช้รูปแบบวิธีการในระดับหนึ่งแต่ยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นแต่เนื้อหาโดยไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการ หรือในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นวิธีการโดยไม่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และในบางช่วงเวลามีเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบให้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง
ระบอบ[[ประชาธิปไตย]]ครึ่งใบที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ.2519 – ปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้ คือ ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองไม่มีการใช้รูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีเนื้อหาและมีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมีการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่มีเนื้อหา สาระ เป้าหมาย หรือใช้รูปแบบวิธีการในระดับหนึ่งแต่ยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นแต่เนื้อหาโดยไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการ หรือในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นวิธีการโดยไม่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และในบางช่วงเวลามีเหตุการณ์ทาง[[การเมือง]]ที่ส่งผลกระทบให้[[การพัฒนาประชาธิปไตย]]ต้องหยุดชะงักลง


เมื่อพิจารณาหลักกว้าง ๆ ที่ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยรูปแบบวิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน ก็จะพบว่าแนวความคิดของรัฐบาล ชนชั้นนำ คณะนายทหาร และฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ในแต่ละสมัยของไทย มีลักษณะและระดับของความเป็นประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบแตกต่างกัน ดังนี้
เมื่อพิจารณาหลักกว้าง ๆ ที่ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยรูปแบบวิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน ก็จะพบว่าแนวความคิดของ[[รัฐบาล]] ชนชั้นนำ [[คณะนายทหาร]] และฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ในแต่ละสมัยของไทย มีลักษณะและระดับของความเป็นประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบแตกต่างกัน ดังนี้


ในช่วงสมัยสั้น ๆ ของรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรกับคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในพ.ศ.2519 นั้น ปราศจากรูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีเนื้อหาเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน แม้จะมีการกล่าวถึงความประสงค์ที่จะสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทำให้ยุคนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นระบบเผด็จการ รวมไปถึงการเป็นรัฐบาลขวาจัด รัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ได้เชิญนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2517 ยกเลิกรัฐสภาและการเลือกตั้ง ยุบพรรคการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมิได้มีโครงการที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว เพราะในรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 มีการระบุในบทเฉพาะกาลถึงแผนการที่จะให้ประเทศไทยใช้เวลาผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนานถึง 12 ปี ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย จึงวางขั้นตอนไปสู่ประชาธิปไตยเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในขั้นตอน 4 ปีแรก เป็นระยะที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมาจากการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในระยะ 4 ปีที่สองจะเปิดให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง โดยให้ทั้ง 2 สภามีอำนาจควบคุมการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน ในระย 4 ปีสุดท้ายจึงจะให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและลดอำนาจวุฒิสภาลง ต่อจากนั้นเมื่อราษฎรตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีส่วนร่วมในการเมืองระบอบประชาธิปไตยดีแล้ว ก็อาจยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ระบุถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงของรัฐหรือกำหนดวาระอำนาจบริหารที่ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลนายธานินทร์สามารถบริหารประเทศได้ต่อไปเรื่อย ๆ  
ในช่วงสมัยสั้น ๆ ของรัฐบาล[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]]กับ[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในพ.ศ. 2519]] นั้น ปราศจากรูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีเนื้อหาเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน แม้จะมีการกล่าวถึงความประสงค์ที่จะสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทำให้ยุคนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น[[ระบบเผด็จการ]] รวมไปถึงการเป็น[[รัฐบาลขวาจัด]] [[รัฐประหาร]]ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของ[[สงัด ชลอ|พล.ร.อ.สงัด ชลอ]]อยู่ได้เชิญนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมาดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] คณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2517 ยกเลิก[[รัฐสภา]]และ[[การเลือกตั้ง]] [[ยุบพรรคการเมือง]] และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมิได้มีโครงการที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว เพราะในรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 มีการระบุในบทเฉพาะกาลถึงแผนการที่จะให้ประเทศไทยใช้เวลาผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนานถึง 12 ปี ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย จึงวางขั้นตอนไปสู่ประชาธิปไตยเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในขั้นตอน 4 ปีแรก เป็นระยะที่[[สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]]ซึ่งมาจากการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุม[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ในระยะ 4 ปีที่สองจะเปิดให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง โดยให้ทั้ง 2 สภามีอำนาจควบคุมการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน ในระย 4 ปีสุดท้ายจึงจะให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและลดอำนาจ[[วุฒิสภา]]ลง ต่อจากนั้นเมื่อราษฎรตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีส่วนร่วมในการเมืองระบอบประชาธิปไตยดีแล้ว ก็อาจยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือแต่[[สภาผู้แทนราษฎร]] ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ระบุถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงของรัฐหรือกำหนดวาระอำนาจบริหารที่ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลนายธานินทร์สามารถบริหารประเทศได้ต่อไปเรื่อย ๆ  


ในสมัยของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2521 ได้ปรากฎรูแบบวิธีการตามระบอบประชาธิปไตย คือ มีรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา และการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เป็นต้น และมีเนื้อหาของการสร้างสรรค์ความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ในขณะที่คณะนายทหารหนุ่มเล็งผลปฏิบัติในเนื้อหาโดยมีเป้าหมายเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ไห้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการใด กลุ่มทหารประชาธิปไตยกลับหวังจะสร้างสรรค์ทางด้านรูปแบบวิธีการและเนื้อหาเป้าหมายซึ่งเน้นในด้านการพัฒนาทางการเมืองเป็นหลัก นับตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 เป็นต้นมา รัฐบาลมีข้ออ้างสำหรับความชอบธรรมในระดับหนึ่งว่า การปกครองในระบอบนี้เป็นของประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ อีกทั้งได้ดำเนินการปกครองเพื่อประชาชน เช่น ข้ออ้างที่ว่า “เพื่อความเป็นประชาธิปไตย” ตั้งแต่สมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร และเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลถูกวิจารณ์เสมอ คือ ระบอบการปกครองนี้ยังมิได้เป็นไปโดยประชาชนอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมอยู่ภายใต้หลักการรัฐนิยมเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ความมั่นคงแห่งชาติ บนพื้นฐานที่มีกองทัพเป็นสถาบันหลัก ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งประชาชนมิได้ทำการปกครองด้วยตนเองอย่างแท้จริง<ref>เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ, 2535), หน้า 145-146.</ref>  
ในสมัยของรัฐบาล[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]]และรัฐบาล[[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอกเปรม ติณสูลานนท์]]ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2521 ได้ปรากฎรูแบบวิธีการตามระบอบประชาธิปไตย คือ มีรัฐธรรมนูญ [[กฎหมายเลือกตั้ง]] [[พรรคการเมือง]] [[ระบบรัฐสภา]] และการถือ[[เสียงข้างมาก]]เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เป็นต้น และมีเนื้อหาของการสร้างสรรค์ความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ในขณะที่คณะนายทหารหนุ่มเล็งผลปฏิบัติในเนื้อหาโดยมีเป้าหมายเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ไห้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการใด กลุ่มทหารประชาธิปไตยกลับหวังจะสร้างสรรค์ทางด้านรูปแบบวิธีการและเนื้อหาเป้าหมายซึ่งเน้นในด้านการพัฒนาทางการเมืองเป็นหลัก นับตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 เป็นต้นมา รัฐบาลมีข้ออ้างสำหรับ[[ความชอบธรรม]]ในระดับหนึ่งว่า การปกครองในระบอบนี้เป็นของประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาทำหน้าที่ด้าน[[นิติบัญญัติ]] อีกทั้งได้ดำเนินการปกครองเพื่อประชาชน เช่น ข้ออ้างที่ว่า “เพื่อความเป็นประชาธิปไตย” ตั้งแต่สมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร และเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลถูกวิจารณ์เสมอ คือ ระบอบการปกครองนี้ยังมิได้เป็นไปโดยประชาชนอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมอยู่ภายใต้หลักการรัฐนิยมเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ [[ความมั่นคงแห่งชาติ]] บนพื้นฐานที่มีกองทัพเป็นสถาบันหลัก ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งประชาชนมิได้ทำการปกครองด้วยตนเองอย่างแท้จริง<ref>เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ, 2535), หน้า 145-146.</ref>  


ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกลายเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมาก ดังนั้นจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลผสม ซึ่งในสมัยนี้ทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเกือบทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง จึงสอดคล้องกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนอย่างน้อยก็ในแง่รูปแบบ แต่สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับการวิพากษ์วิจารณ์คือ รัฐบาลชุดนี้เกิดสภาวะการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้กลุ่มธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจกอบโกยผลประโยชน์ในทางธุรกิจอย่างเร่งรีบและกว้างขวาง รัฐบาลชุดนี้คงความเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยได้ไม่นาน เนื่องจากความขัดแย้งที่สั่งสมมาระหว่างคณะรัฐบาลและฝ่ายกองทัพ รวมไปถึงการขยายบทบาทของนายทหารรุ่นที่ 5 สถานการร์ดังกล่าวโน้มนำไปสู่การคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ เกิดการรัฐประหาร โดยที่คณะนายทหารที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ในสมัยรัฐบาล[[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] ถือว่าเป็น[[ประชาธิปไตย]]มากกว่ารัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกลายเป็นหัวหน้า[[พรรคเสียงข้างมาก]] ดังนั้นจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีใน[[รัฐบาลผสม]] ซึ่งในสมัยนี้ทั้งนายกรัฐมนตรีและ[[คณะรัฐมนตรี]]เกือบทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง จึงสอดคล้องกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนอย่างน้อยก็ในแง่รูปแบบ แต่สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับการวิพากษ์วิจารณ์คือ รัฐบาลชุดนี้เกิดสภาวะการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้กลุ่มธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจกอบโกยผลประโยชน์ในทางธุรกิจอย่างเร่งรีบและกว้างขวาง รัฐบาลชุดนี้คงความเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยได้ไม่นาน เนื่องจากความขัดแย้งที่สั่งสมมาระหว่างคณะรัฐบาลและฝ่ายกองทัพ รวมไปถึงการขยายบทบาทของนายทหารรุ่นที่ 5 สถานการณ์ดังกล่าวโน้มนำไปสู่การคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ เกิดการ[[รัฐประหาร]] โดยที่คณะนายทหารที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ


ในสมัยของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ภายหลังการยึดอำนาจ รสช.ได้แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในประกาศของคณะรสช.ฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2521 สิ้นสุดลง พร้อมกับสถาบันรัฐสภา จากนั้นได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว 23 มาตราขึ้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดที่กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และมีมาตรา 18 ที่กำหนดให้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก็คือ คณะนายทหารที่ยึดอำนาจทำหน้าที่ดูแลการบริหารบ้านเมือง และมาตรา 27 ที่ให้อำนาจอย่างไม่จำกัดแก่นายกรัฐมนตรีและประธานสภารสช. เพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงแห่งชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ยังให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นซึ่งต่อมาได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ และกลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คณะทหาร เช่น การเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือให้ประธานคณะรสช.เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้รับฉายาว่าเป็นฉบับร่างทรงรสช.ต่อมาภายหลังการเลือกตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูรได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านของประชาชน จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในพ.ศ.2535 ในช่วงเวลานี้จึงถือว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง
ในสมัยของ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]]และรัฐบาล[[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] ภายหลัง[[การยึดอำนาจ]] รสช.ได้แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็น[[นายกรัฐมนตรีรักษาการ]] ในประกาศของคณะรสช.ฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2521 สิ้นสุดลง พร้อมกับสถาบันรัฐสภา จากนั้นได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว 23 มาตราขึ้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดที่กล่าวถึง[[สิทธิและเสรีภาพ]]ของประชาชน และมีมาตรา 18 ที่กำหนดให้[[สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] ซึ่งก็คือ คณะนายทหารที่ยึดอำนาจทำหน้าที่ดูแลการบริหารบ้านเมือง และมาตรา 27 ที่ให้อำนาจอย่างไม่จำกัดแก่นายกรัฐมนตรีและประธานสภารสช. เพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงแห่งชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ยังให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นซึ่งต่อมาได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ[[สภานิติบัญญัติ]] และกลายเป็น[[ร่างรัฐธรรมนูญ]]ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คณะทหาร เช่น การเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือให้ประธานคณะรสช.เป็นผู้รับสนอง[[พระบรมราชโองการ]]ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้รับฉายาว่าเป็นฉบับร่างทรงรสช.ต่อมาภายหลังการเลือกตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูรได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านของประชาชน จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า [[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]]ในพ.ศ.2535 ในช่วงเวลานี้จึงถือว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง


รัฐบาลนายชวน หลีกภัยในสมัยที่ 1 และในสมัยที่ 2 เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับล่าง (แม้ว่ารัฐบาลจะมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองก็ตาม) โดยรัฐบาลมักใช้วิธีการปราบปรามประชาชนผู้มาชุมนุมประท้วงในเรื่องความเดือดร้อนต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนโดยเฉพาะประชาชนระดับล่าง ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “วัวลืมตืน” จากการปฏิบัติต่อชาวนา และถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “อุ้มคนรวยไม่ช่วยคนจน”  เพราะจับกุมและฟ้องร้องผู้นำภาคประชาชน และการใช้นโยบายที่แล้งน้ำใจต่อคนจน แต่ในขณะเดียวกันกลับทุ่มเงินค้ำจุนกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ตัวอย่างการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 1 เช่น เหตุการณ์ในพ.ศ.2536 เกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก จึงเกิดการประท้วงของชาวนาภาคกลางในหลายจังหวัด รัฐบาลได้สั่งปราบปรามชาวนาที่กำแพงเพชรเพราะชาวนามาล้อมศาลากลางและปิดถนน รัฐบาลส่งกำลังตำรวจเข้าสลายจนชาวนาเสียชีวิต 1 คน และการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 2 เช่น เหตุการณ์ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2541 ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบาลเพียง 2 เดือน ก็เกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลส่งตำรวจเข้าปราบปรามและทุบตีคนงานของโรงงานไทยซัมมิทออโตพาทที่ถนนบางนา-ตราด ในข้ออ้างที่ว่าคนงานประท้วงปิดถนนขวางเส้นทางการจราจร ส่วนการปราบปรามผู้ประท้วงของรัฐบาลที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากคือ เหตุการณ์ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2542 ฝ่ายรัฐบาลปล่อยให้ตำรวจปล่อยสุนัขมากัดชาวไร่มันสำปะหลังจากจังหวัดนครราชสีมาที่มาประท้วงอยู่หน้าทำเนียบ ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน และกลายเป็นที่มาของกรณี “หมากัดม็อบ” นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้กำลังเข้าจัดการกับกลุ่มชาวบ้านที่ต่อต้านโครงการเขื่อนปากมูลซึ่งบุกปืนเข้ามาในทำเนียบในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2543 โดยการกวาดต้อนกลุ่มผู้ชุมนุม รื้อเต้นท์ ทำลายเครื่องกระจายเสียง และจับกุมชาวบ้านปากมูลจำนวน 202 คน ในวันอาสาฬบูชา จนหนังสือพิมพ์ข่าวสดพาดหัวข่าวว่า “ชวนทมิฬปราบคนจนวันพระ”
รัฐบาล[[ชวน หลีกภัย|นายชวน หลีกภัย]]ในสมัยที่ 1 และในสมัยที่ 2 เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับล่าง (แม้ว่ารัฐบาลจะมีบทบาทในการผลักดันให้เกิด[[การปฏิรูปทางการเมือง]]ก็ตาม) โดยรัฐบาลมักใช้วิธีการปราบปรามประชาชนผู้มาชุมนุม[[ประท้วง]]ในเรื่องความเดือดร้อนต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนโดยเฉพาะประชาชนระดับล่าง ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “วัวลืมตืน” จากการปฏิบัติต่อชาวนา และถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “อุ้มคนรวยไม่ช่วยคนจน”  เพราะจับกุมและฟ้องร้องผู้นำภาคประชาชน และการใช้นโยบายที่แล้งน้ำใจต่อคนจน แต่ในขณะเดียวกันกลับทุ่มเงินค้ำจุนกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ตัวอย่างการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 1 เช่น เหตุการณ์ในพ.ศ.2536 เกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก จึงเกิดการประท้วงของชาวนาภาคกลางในหลายจังหวัด รัฐบาลได้สั่งปราบปรามชาวนาที่กำแพงเพชรเพราะชาวนามาล้อมศาลากลางและปิดถนน รัฐบาลส่งกำลังตำรวจเข้าสลายจนชาวนาเสียชีวิต 1 คน และการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 2 เช่น เหตุการณ์ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2541 ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบาลเพียง 2 เดือน ก็เกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลส่งตำรวจเข้าปราบปรามและทุบตีคนงานของโรงงานไทยซัมมิทออโตพาทที่ถนนบางนา-ตราด ในข้ออ้างที่ว่าคนงานประท้วงปิดถนนขวางเส้นทางการจราจร ส่วนการปราบปรามผู้ประท้วงของรัฐบาลที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากคือ เหตุการณ์ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2542 ฝ่ายรัฐบาลปล่อยให้ตำรวจปล่อยสุนัขมากัดชาวไร่มันสำปะหลังจากจังหวัดนครราชสีมาที่มาประท้วงอยู่หน้าทำเนียบ ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน และกลายเป็นที่มาของกรณี “หมากัดม็อบ” นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้กำลังเข้าจัดการกับกลุ่มชาวบ้านที่ต่อต้าน[[โครงการเขื่อนปากมูล]]ซึ่งบุกปืนเข้ามาในทำเนียบในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2543 โดยการกวาดต้อนกลุ่มผู้ชุมนุม รื้อเต้นท์ ทำลายเครื่องกระจายเสียง และจับกุมชาวบ้านปากมูลจำนวน 202 คน ในวันอาสาฬบูชา จน[[หนังสือพิมพ์ข่าวสด]]พาดหัวข่าวว่า “ชวนทมิฬปราบคนจนวันพระ”


รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมากมาย พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลถึง 2 ครั้ง ติดต่อกันด้วยยคะแนนเสียงท่วมท้น เพราะการยอมรับของประชาชนในระดับล่างที่มีต่อพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลายเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย เมื่อเข้าสู่ช่วงรัฐบาลทักษิณ 2 ได้เริ่มเข้าสู่วิกฤตการณ์ทักษิณ อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการรวมกัน ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณถูกโจมตีนอกเหนือไปจากเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารราชแผ่นดินและการขาดจริยธรรมทางการเมืองแล้ว ก็คือประเด็นเรื่องการแทรกสื่อและองค์กรอิสระ แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับเรื่องการปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าปราบปรามประชาชนครั้งใหญ่ในภาคใต้ในสมัยที่ประชาธิปไตยของไทยมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นมากแล้ว คือ ในเหตุการณ์กรือเซอะ รัฐบาลปล่อยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตำรวจสังหารประชาชนผู้ต้องสงสัยถึง 105 คน โดยเฉพาะการสังหารที่มัสยิดกรือเซอะ จังหวัดปัตตานี และที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นก็คือ กรณีตากใบ ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมกันที่หน้าอำเภอตากใบ และจับกุมประชาชนจำนวน 1,298 คนไปสอบสวน แต่ภาวะการขนส่งที่ขาดความระมัดระวังทำให้ประชาชนเสียชีวิตถึง 85 คน จึงทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการก่อความรุนแรงในภาคใต้ โดยใช้วิธีทางการทหารปราบปรามประชาชนโดยไม่จำแนก อันทำให้สถานการณ์ร้ายแรงขยายตัวออกไป ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสมัยประชาธิปไตยมาก โดยเฉพาะในเรื่องการละเมิด สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน และท้ายที่สุดจากวิกฤตการณ์ทักษิณที่เกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ ได้นำไปสู่กระแสการต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยเรียกร้องให้ “ทักษิณออกไป” และต่อมาประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลงอีกครั้ง เมื่อกลุ่มทหารที่ไม่พอใจรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่เรียกตนเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้ก่อการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล  
รัฐบาล[[ทักษิณ ชินวัตร|พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร]]เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมากมาย [[พรรคไทยรักไทย]]ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลถึง 2 ครั้ง ติดต่อกันด้วยยคะแนนเสียงท่วมท้น เพราะการยอมรับของประชาชนในระดับล่างที่มีต่อพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลายเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย เมื่อเข้าสู่ช่วงรัฐบาลทักษิณ 2 ได้เริ่มเข้าสู่วิกฤตการณ์ทักษิณ อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการรวมกัน ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณถูกโจมตีนอกเหนือไปจากเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารราชแผ่นดินและการขาดจริยธรรมทางการเมืองแล้ว ก็คือประเด็นเรื่องการแทรกสื่อและองค์กรอิสระ แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับเรื่องการปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าปราบปรามประชาชนครั้งใหญ่ในภาคใต้ในสมัยที่ประชาธิปไตยของไทยมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นมากแล้ว คือ ในเหตุการณ์กรือเซอะ รัฐบาลปล่อยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตำรวจสังหารประชาชนผู้ต้องสงสัยถึง 105 คน โดยเฉพาะการสังหารที่มัสยิดกรือเซอะ จังหวัดปัตตานี และที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นก็คือ กรณีตากใบ ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมกันที่หน้าอำเภอตากใบ และจับกุมประชาชนจำนวน 1,298 คนไปสอบสวน แต่ภาวะการขนส่งที่ขาดความระมัดระวังทำให้ประชาชนเสียชีวิตถึง 85 คน จึงทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการก่อความรุนแรงในภาคใต้ โดยใช้วิธีทางการทหารปราบปรามประชาชนโดยไม่จำแนก อันทำให้สถานการณ์ร้ายแรงขยายตัวออกไป ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสมัยประชาธิปไตยมาก โดยเฉพาะในเรื่องการละเมิด สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน และท้ายที่สุดจากวิกฤตการณ์ทักษิณที่เกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ ได้นำไปสู่กระแสการต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยเรียกร้องให้ “ทักษิณออกไป” และต่อมาประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลงอีกครั้ง เมื่อกลุ่มทหารที่ไม่พอใจรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่เรียกตนเองว่า [[คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย|คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.)]] ได้ก่อการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล  


ในสมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คณะทหารภายใต้การนำของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นเพราะสังคมแตกแยก เกิดกรณีทุจริต และสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ภายหลังการยึดอำนาจคมช.ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่กล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา เพราะผ่านการทำประชาพิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของประชาชน จนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งจะเน้นความเป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใสทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติวิธี ต่อมาคมช.แต่งตั้งให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงทหาร อีกทั้งเป็นองคมนตรีและมีบุคลิกที่ประนีประนอม ทั้งนี้เพื่อจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปี<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย (กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551), หน้า 160-283. </ref>  และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมานี้ คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงเป็นที่โต้เถียง วิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องจากหลายฝ่ายจนมาถึงในปัจจุบันให้มีการแก้ไขเนื้อหาในบางมาตราของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การยึดอำนาจของคมช.ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง ทั้งที่ ๆ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยอุตส่าห์ผ่านกระบวนการปฏิรูปการเมือง
ในสมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาล[[สุรยุทธ์ จุลานนท์|พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์]] คณะทหารภายใต้การนำของ[[สนธิ บุญยรัตกลิน|พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน]] ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นเพราะสังคมแตกแยก เกิดกรณีทุจริต และสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ภายหลังการยึดอำนาจคมช.ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่กล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา เพราะผ่านการทำประชาพิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของประชาชน จนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งจะเน้นความเป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใสทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติวิธี ต่อมาคมช.แต่งตั้งให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงทหาร อีกทั้งเป็นองคมนตรีและมีบุคลิกที่ประนีประนอม ทั้งนี้เพื่อจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปี<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย (กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551), หน้า 160-283. </ref>  และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมานี้ คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงเป็นที่โต้เถียง วิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องจากหลายฝ่ายจนมาถึงในปัจจุบันให้มีการแก้ไขเนื้อหาในบางมาตราของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การยึดอำนาจของคมช.ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง ทั้งที่ ๆ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยอุตส่าห์ผ่านกระบวนการปฏิรูปการเมือง


ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่างอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล            พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และก่อนที่พรรคประชาธิปปัตย์จะจัดตั้งรัฐบาลนั้น ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงเวล าที่นักวิชาการเรียกกันว่ายุคตุลาการภิวัตน์ ซึ่งตุลาการมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองไทยกล่าวได้ว่า ภาวะทางการเมืองในช่วงสามรัฐบาลที่ผ่านมานี้ มีการเผชิญหน้าและต่อสู้กันในรูปแบบต่าง ๆ และแต่ละฝ่ายต่างก็ละเมิดกติกาประชาธิปไตยจนนำไปสู่การบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตของประชาชน  
ในรัฐบาล[[สมัคร สุนทรเวช|นายสมัคร สุนทรเวช]] รัฐบาล[[สมชาย วงศ์สวัสดิ์|นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์]] และรัฐบาล[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ต่างอยู่ท่ามกลาง[[ความขัดแย้งทางการเมือง]]อันสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล  พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และก่อนที่[[ประชาธิปปัตย์|พรรคประชาธิปปัตย์]]จะจัดตั้งรัฐบาลนั้น ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงเวลาที่นักวิชาการเรียกกันว่า[[ยุคตุลาการภิวัตน์]] ซึ่งตุลาการมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองไทยกล่าวได้ว่า ภาวะทางการเมืองในช่วงสามรัฐบาลที่ผ่านมานี้ มีการเผชิญหน้าและต่อสู้กันในรูปแบบต่าง ๆ และแต่ละฝ่ายต่างก็ละเมิดกติกาประชาธิปไตยจนนำไปสู่การบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตของประชาชน  


เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยในช่วงเวลา 76 ปี เต็มไปด้วยอุปสรรคความยากลำบากต่าง ๆ แม้ว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น แต่ประชาชนจำนวนมากก็ยังไม่เข้าใจหรือตระหนักถึงความเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจของตนอย่างแท้จริง  นอกจากนี้บทเรียนในอดีตยังชี้เห็นว่าปัญหาหลักของการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในด้านหนึ่งมาจากชนชั้นนำของไทยที่ยังไม่ตื่นตัวและตามไม่ทันกระบวนการประชาธิปไตย อีกทั้งยังยึดมั่นในอำมาตยาธิปไตย ส่งผลทำให้การรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในอีกด้านหนึ่งชนชั้นนำของไทยที่เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมุ่งเน้นแต่วิธีการตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายปลายทางที่แท้จริงของประชาธิปไตย จึงทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องชะงักลงในบางขณะ
เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยในช่วงเวลา 76 ปี เต็มไปด้วยอุปสรรคความยากลำบากต่าง ๆ แม้ว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น แต่ประชาชนจำนวนมากก็ยังไม่เข้าใจหรือตระหนักถึงความเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจของตนอย่างแท้จริง  นอกจากนี้บทเรียนในอดีตยังชี้เห็นว่าปัญหาหลักของการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในด้านหนึ่งมาจากชนชั้นนำของไทยที่ยังไม่ตื่นตัวและตามไม่ทันกระบวนการประชาธิปไตย อีกทั้งยังยึดมั่นใน[[อำมาตยาธิปไตย]] ส่งผลทำให้การรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในอีกด้านหนึ่งชนชั้นนำของไทยที่เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมุ่งเน้นแต่วิธีการตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายปลายทางที่แท้จริงของประชาธิปไตย จึงทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องชะงักลงในบางขณะ


==ที่มา==
==ที่มา==
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
<references/>
<references/>
[[หมวดหมู่: เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[หมวดหมู่: เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[หมวดหมู่:สุมาลี พันธุ์ยุรา]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:22, 4 ตุลาคม 2554

ผู้เรียบเรียง สุมาลี พันธุ์ยุรา


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ.2519-ปัจจุบัน)

ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ.2519 – ปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้ คือ ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองไม่มีการใช้รูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีเนื้อหาและมีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมีการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่มีเนื้อหา สาระ เป้าหมาย หรือใช้รูปแบบวิธีการในระดับหนึ่งแต่ยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นแต่เนื้อหาโดยไม่ให้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการ หรือในบางช่วงเวลาผู้ปกครองมุ่งเน้นวิธีการโดยไม่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และในบางช่วงเวลามีเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบให้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง

เมื่อพิจารณาหลักกว้าง ๆ ที่ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยรูปแบบวิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน ก็จะพบว่าแนวความคิดของรัฐบาล ชนชั้นนำ คณะนายทหาร และฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ในแต่ละสมัยของไทย มีลักษณะและระดับของความเป็นประชาธิปไตย โดยเปรียบเทียบแตกต่างกัน ดังนี้

ในช่วงสมัยสั้น ๆ ของรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรกับคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในพ.ศ. 2519 นั้น ปราศจากรูปแบบวิธีการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีเนื้อหาเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน แม้จะมีการกล่าวถึงความประสงค์ที่จะสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทำให้ยุคนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นระบบเผด็จการ รวมไปถึงการเป็นรัฐบาลขวาจัด รัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้การนำของพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ได้เชิญนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะปฏิรูปได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2517 ยกเลิกรัฐสภาและการเลือกตั้ง ยุบพรรคการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรมิได้มีโครงการที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่โดยเร็ว เพราะในรัฐธรรมนูญชั่วคราวพ.ศ.2519 มีการระบุในบทเฉพาะกาลถึงแผนการที่จะให้ประเทศไทยใช้เวลาผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนานถึง 12 ปี ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย จึงวางขั้นตอนไปสู่ประชาธิปไตยเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในขั้นตอน 4 ปีแรก เป็นระยะที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมาจากการแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในระยะ 4 ปีที่สองจะเปิดให้มีประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง โดยให้ทั้ง 2 สภามีอำนาจควบคุมการบริหารอย่างเท่าเทียมกัน ในระย 4 ปีสุดท้ายจึงจะให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและลดอำนาจวุฒิสภาลง ต่อจากนั้นเมื่อราษฎรตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีส่วนร่วมในการเมืองระบอบประชาธิปไตยดีแล้ว ก็อาจยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ระบุถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงของรัฐหรือกำหนดวาระอำนาจบริหารที่ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลนายธานินทร์สามารถบริหารประเทศได้ต่อไปเรื่อย ๆ

ในสมัยของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ภายใต้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2521 ได้ปรากฎรูแบบวิธีการตามระบอบประชาธิปไตย คือ มีรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา และการถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เป็นต้น และมีเนื้อหาของการสร้างสรรค์ความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ในขณะที่คณะนายทหารหนุ่มเล็งผลปฏิบัติในเนื้อหาโดยมีเป้าหมายเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ไห้ความสำคัญกับรูปแบบวิธีการใด กลุ่มทหารประชาธิปไตยกลับหวังจะสร้างสรรค์ทางด้านรูปแบบวิธีการและเนื้อหาเป้าหมายซึ่งเน้นในด้านการพัฒนาทางการเมืองเป็นหลัก นับตั้งแต่ยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2521 เป็นต้นมา รัฐบาลมีข้ออ้างสำหรับความชอบธรรมในระดับหนึ่งว่า การปกครองในระบอบนี้เป็นของประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและมีรัฐสภาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ อีกทั้งได้ดำเนินการปกครองเพื่อประชาชน เช่น ข้ออ้างที่ว่า “เพื่อความเป็นประชาธิปไตย” ตั้งแต่สมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร และเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์และรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งไม่บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย แต่ปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลถูกวิจารณ์เสมอ คือ ระบอบการปกครองนี้ยังมิได้เป็นไปโดยประชาชนอย่างแท้จริง เพราะถูกควบคุมอยู่ภายใต้หลักการรัฐนิยมเพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ ความมั่นคงแห่งชาติ บนพื้นฐานที่มีกองทัพเป็นสถาบันหลัก ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งประชาชนมิได้ทำการปกครองด้วยตนเองอย่างแท้จริง[1]

ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกลายเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมาก ดังนั้นจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลผสม ซึ่งในสมัยนี้ทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเกือบทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง จึงสอดคล้องกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนอย่างน้อยก็ในแง่รูปแบบ แต่สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณได้รับการวิพากษ์วิจารณ์คือ รัฐบาลชุดนี้เกิดสภาวะการเล่นพรรคเล่นพวก ทำให้กลุ่มธุรกิจซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจกอบโกยผลประโยชน์ในทางธุรกิจอย่างเร่งรีบและกว้างขวาง รัฐบาลชุดนี้คงความเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยได้ไม่นาน เนื่องจากความขัดแย้งที่สั่งสมมาระหว่างคณะรัฐบาลและฝ่ายกองทัพ รวมไปถึงการขยายบทบาทของนายทหารรุ่นที่ 5 สถานการณ์ดังกล่าวโน้มนำไปสู่การคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ เกิดการรัฐประหาร โดยที่คณะนายทหารที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจโค่นล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

ในสมัยของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ภายหลังการยึดอำนาจ รสช.ได้แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ในประกาศของคณะรสช.ฉบับที่ 3 กำหนดให้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2521 สิ้นสุดลง พร้อมกับสถาบันรัฐสภา จากนั้นได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว 23 มาตราขึ้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดที่กล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และมีมาตรา 18 ที่กำหนดให้สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก็คือ คณะนายทหารที่ยึดอำนาจทำหน้าที่ดูแลการบริหารบ้านเมือง และมาตรา 27 ที่ให้อำนาจอย่างไม่จำกัดแก่นายกรัฐมนตรีและประธานสภารสช. เพื่อป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงแห่งชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน นอกจากนี้ยังให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นซึ่งต่อมาได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ และกลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คณะทหาร เช่น การเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือให้ประธานคณะรสช.เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงได้รับฉายาว่าเป็นฉบับร่างทรงรสช.ต่อมาภายหลังการเลือกตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูรได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และได้กลายเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านของประชาชน จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในพ.ศ.2535 ในช่วงเวลานี้จึงถือว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง

รัฐบาลนายชวน หลีกภัยในสมัยที่ 1 และในสมัยที่ 2 เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับล่าง (แม้ว่ารัฐบาลจะมีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองก็ตาม) โดยรัฐบาลมักใช้วิธีการปราบปรามประชาชนผู้มาชุมนุมประท้วงในเรื่องความเดือดร้อนต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนโดยเฉพาะประชาชนระดับล่าง ซึ่งถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “วัวลืมตืน” จากการปฏิบัติต่อชาวนา และถูกโจมตีว่าเป็นรัฐบาล “อุ้มคนรวยไม่ช่วยคนจน” เพราะจับกุมและฟ้องร้องผู้นำภาคประชาชน และการใช้นโยบายที่แล้งน้ำใจต่อคนจน แต่ในขณะเดียวกันกลับทุ่มเงินค้ำจุนกองทุนฟื้นฟูสถาบันการเงิน ตัวอย่างการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 1 เช่น เหตุการณ์ในพ.ศ.2536 เกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก จึงเกิดการประท้วงของชาวนาภาคกลางในหลายจังหวัด รัฐบาลได้สั่งปราบปรามชาวนาที่กำแพงเพชรเพราะชาวนามาล้อมศาลากลางและปิดถนน รัฐบาลส่งกำลังตำรวจเข้าสลายจนชาวนาเสียชีวิต 1 คน และการคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสมัยรัฐบาลชวน 2 เช่น เหตุการณ์ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2541 ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐบาลเพียง 2 เดือน ก็เกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลส่งตำรวจเข้าปราบปรามและทุบตีคนงานของโรงงานไทยซัมมิทออโตพาทที่ถนนบางนา-ตราด ในข้ออ้างที่ว่าคนงานประท้วงปิดถนนขวางเส้นทางการจราจร ส่วนการปราบปรามผู้ประท้วงของรัฐบาลที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากคือ เหตุการณ์ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2542 ฝ่ายรัฐบาลปล่อยให้ตำรวจปล่อยสุนัขมากัดชาวไร่มันสำปะหลังจากจังหวัดนครราชสีมาที่มาประท้วงอยู่หน้าทำเนียบ ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน และกลายเป็นที่มาของกรณี “หมากัดม็อบ” นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ใช้กำลังเข้าจัดการกับกลุ่มชาวบ้านที่ต่อต้านโครงการเขื่อนปากมูลซึ่งบุกปืนเข้ามาในทำเนียบในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2543 โดยการกวาดต้อนกลุ่มผู้ชุมนุม รื้อเต้นท์ ทำลายเครื่องกระจายเสียง และจับกุมชาวบ้านปากมูลจำนวน 202 คน ในวันอาสาฬบูชา จนหนังสือพิมพ์ข่าวสดพาดหัวข่าวว่า “ชวนทมิฬปราบคนจนวันพระ”

รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมากมาย พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลถึง 2 ครั้ง ติดต่อกันด้วยยคะแนนเสียงท่วมท้น เพราะการยอมรับของประชาชนในระดับล่างที่มีต่อพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และกลายเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย เมื่อเข้าสู่ช่วงรัฐบาลทักษิณ 2 ได้เริ่มเข้าสู่วิกฤตการณ์ทักษิณ อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการรวมกัน ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณถูกโจมตีนอกเหนือไปจากเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารราชแผ่นดินและการขาดจริยธรรมทางการเมืองแล้ว ก็คือประเด็นเรื่องการแทรกสื่อและองค์กรอิสระ แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับเรื่องการปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าปราบปรามประชาชนครั้งใหญ่ในภาคใต้ในสมัยที่ประชาธิปไตยของไทยมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นมากแล้ว คือ ในเหตุการณ์กรือเซอะ รัฐบาลปล่อยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตำรวจสังหารประชาชนผู้ต้องสงสัยถึง 105 คน โดยเฉพาะการสังหารที่มัสยิดกรือเซอะ จังหวัดปัตตานี และที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นก็คือ กรณีตากใบ ที่ใช้กำลังปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมกันที่หน้าอำเภอตากใบ และจับกุมประชาชนจำนวน 1,298 คนไปสอบสวน แต่ภาวะการขนส่งที่ขาดความระมัดระวังทำให้ประชาชนเสียชีวิตถึง 85 คน จึงทำให้รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องการก่อความรุนแรงในภาคใต้ โดยใช้วิธีทางการทหารปราบปรามประชาชนโดยไม่จำแนก อันทำให้สถานการณ์ร้ายแรงขยายตัวออกไป ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลในสมัยประชาธิปไตยมาก โดยเฉพาะในเรื่องการละเมิด สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน และท้ายที่สุดจากวิกฤตการณ์ทักษิณที่เกิดขึ้นในกรณีต่าง ๆ ได้นำไปสู่กระแสการต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยเรียกร้องให้ “ทักษิณออกไป” และต่อมาประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลงอีกครั้ง เมื่อกลุ่มทหารที่ไม่พอใจรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่เรียกตนเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ได้ก่อการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล

ในสมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คณะทหารภายใต้การนำของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นเพราะสังคมแตกแยก เกิดกรณีทุจริต และสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ภายหลังการยึดอำนาจคมช.ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่กล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา เพราะผ่านการทำประชาพิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของประชาชน จนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ซึ่งจะเน้นความเป็นประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชน ความโปร่งใสทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสันติวิธี ต่อมาคมช.แต่งตั้งให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงทหาร อีกทั้งเป็นองคมนตรีและมีบุคลิกที่ประนีประนอม ทั้งนี้เพื่อจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 1 ปี[2] และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมานี้ คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงเป็นที่โต้เถียง วิพากษ์วิจารณ์และเรียกร้องจากหลายฝ่ายจนมาถึงในปัจจุบันให้มีการแก้ไขเนื้อหาในบางมาตราของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้การยึดอำนาจของคมช.ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยหยุดชะงักลง ทั้งที่ ๆ ก่อนหน้านี้ประเทศไทยอุตส่าห์ผ่านกระบวนการปฏิรูปการเมือง

ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่างอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และก่อนที่พรรคประชาธิปปัตย์จะจัดตั้งรัฐบาลนั้น ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงเวลาที่นักวิชาการเรียกกันว่ายุคตุลาการภิวัตน์ ซึ่งตุลาการมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองไทยกล่าวได้ว่า ภาวะทางการเมืองในช่วงสามรัฐบาลที่ผ่านมานี้ มีการเผชิญหน้าและต่อสู้กันในรูปแบบต่าง ๆ และแต่ละฝ่ายต่างก็ละเมิดกติกาประชาธิปไตยจนนำไปสู่การบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตของประชาชน

เส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยในช่วงเวลา 76 ปี เต็มไปด้วยอุปสรรคความยากลำบากต่าง ๆ แม้ว่าประชาชนจะมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น แต่ประชาชนจำนวนมากก็ยังไม่เข้าใจหรือตระหนักถึงความเป็นเจ้าของประเทศและอำนาจของตนอย่างแท้จริง นอกจากนี้บทเรียนในอดีตยังชี้เห็นว่าปัญหาหลักของการพัฒนาประชาธิปไตยไทยในด้านหนึ่งมาจากชนชั้นนำของไทยที่ยังไม่ตื่นตัวและตามไม่ทันกระบวนการประชาธิปไตย อีกทั้งยังยึดมั่นในอำมาตยาธิปไตย ส่งผลทำให้การรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในอีกด้านหนึ่งชนชั้นนำของไทยที่เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมุ่งเน้นแต่วิธีการตามระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายปลายทางที่แท้จริงของประชาธิปไตย จึงทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยต้องชะงักลงในบางขณะ

ที่มา

เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ, 2535.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551.

อ้างอิง

  1. เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, ความคิดทางการเมืองของทหารไทย 2519-2535 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้จัดการ, 2535), หน้า 145-146.
  2. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย (กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551), หน้า 160-283.