ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาตินิยม (คนรักชาติ / คนชังชาติ)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
''' “ชาติ” ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม''' โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นนักคิดคนสำคัญที่สร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยของยุคสมัยนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นชาติค่อนข้างมาก โดยมองว่าชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศดำรงอยู่ได้โดยไม่ตกเป็นข้าของใคร ทั้งนี้มาจากปัจจัยสำคัญ คือ หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่กล่าวถึงเรื่องเอกราช นั่นคือ ประเทศจะต้องมีเอกราชโดยสมบูรณ์ จะต้องไม่ถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชาติใด[[#_ftn5|[5]]] ฉะนั้นเมื่อประเทศมีเอกราชสมบูรณ์แล้ว [[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] จึงให้ความสำคัญกับความเป็นชาติ โดยชาติของจอมพล ป. จะเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนว่าความเป็นไทยมีลักษณะเช่นใด ซึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างชาติของจอมพล ป. นั้น คือ การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็น '''“ไทย”''' เพื่อให้ประเทศมีชื่อเรียกเช่นเดียวกับความเป็นชาติ และเป้าหมายของจอมพล ป. คือทำให้ประเทศไทยมีความเป็นอารยะเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกประกาศ '''“รัฐนิยม”''' ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การใส่หมวก การห้ามกินหมาก การกล่าวทักทายด้วยคำว่า '''“สวัสดี”''' เป็นต้น นอกจากนี้ ในสมัยจอมพล ป. ยังมีการประดิษฐ์เพลงชาติไทยใหม่ ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงความเป็นชาติไทยในหลายประเด็น เช่น ความรักสงบ ความรุกรบ และการรักษาชาติ เป็นต้น และยังมีสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นชาติไทยที่ชัดเจนผ่านการสร้างชาติในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมแห่งชาติ เศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะหลอมรวมทุกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย และสร้างความเป็นชาติไทยให้โดดเด่นแตกต่างจากความเป็นอื่น ทำให้ความเป็นชาติไทยในสมัยจอมพล ป. โดดเด่นที่สุดในแง่ของการทำให้ '''“ชาติ”''' เป็นของคนทุกคนภายใต้ดินแดนของประเทศไทย[[#_ftn6|[6]]] | ''' “ชาติ” ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม''' โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นนักคิดคนสำคัญที่สร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยของยุคสมัยนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นชาติค่อนข้างมาก โดยมองว่าชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศดำรงอยู่ได้โดยไม่ตกเป็นข้าของใคร ทั้งนี้มาจากปัจจัยสำคัญ คือ หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่กล่าวถึงเรื่องเอกราช นั่นคือ ประเทศจะต้องมีเอกราชโดยสมบูรณ์ จะต้องไม่ถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชาติใด[[#_ftn5|[5]]] ฉะนั้นเมื่อประเทศมีเอกราชสมบูรณ์แล้ว [[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] จึงให้ความสำคัญกับความเป็นชาติ โดยชาติของจอมพล ป. จะเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนว่าความเป็นไทยมีลักษณะเช่นใด ซึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างชาติของจอมพล ป. นั้น คือ การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็น '''“ไทย”''' เพื่อให้ประเทศมีชื่อเรียกเช่นเดียวกับความเป็นชาติ และเป้าหมายของจอมพล ป. คือทำให้ประเทศไทยมีความเป็นอารยะเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกประกาศ '''“รัฐนิยม”''' ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การใส่หมวก การห้ามกินหมาก การกล่าวทักทายด้วยคำว่า '''“สวัสดี”''' เป็นต้น นอกจากนี้ ในสมัยจอมพล ป. ยังมีการประดิษฐ์เพลงชาติไทยใหม่ ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงความเป็นชาติไทยในหลายประเด็น เช่น ความรักสงบ ความรุกรบ และการรักษาชาติ เป็นต้น และยังมีสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นชาติไทยที่ชัดเจนผ่านการสร้างชาติในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมแห่งชาติ เศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะหลอมรวมทุกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย และสร้างความเป็นชาติไทยให้โดดเด่นแตกต่างจากความเป็นอื่น ทำให้ความเป็นชาติไทยในสมัยจอมพล ป. โดดเด่นที่สุดในแง่ของการทำให้ '''“ชาติ”''' เป็นของคนทุกคนภายใต้ดินแดนของประเทศไทย[[#_ftn6|[6]]] | ||
''' “ชาติ” ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''' เกิดขึ้นท่ามกลางปัจจัยสำคัญ นั่นคือ ภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้ความเป็นชาติในช่วงสมัยนี้ถูกนำกลับไปผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์ และนำแนวคิดเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 กลับมาใช้อีกครั้ง และคำว่า '''“ชาติ”''' ในยุคนี้เน้นไปที่การทหารและการสงครามที่ปกป้องอธิปไตยของไทยให้รอดพ้นจากภัยคุกคามต่าง ๆ บทบาทของกองทัพจึงเข้ามามีมากขึ้นในนามของความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเรียกกันว่า '''“ราชาชาตินิยม”''' ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา โดยนักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยม[[#_ftn7|[7]]] โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็น '''“หัวใจของชาติ”''' เป็นผู้นำทางด้านศีลธรรม คุณธรรม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีลำดับชั้นสูงสุดในสังคมไทย พระมหากษัตริย์จะสร้างดุลยภาพให้ชาติและควบคุมผู้นำทางการเมือง ฉะนั้นประชาชนจึงไม่ต้องคอยตรวจสอบถ่วงดุลผู้นำ เพราะผู้นำมีคุณธรรมและศีลธรรมอยู่แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้แนวคิดความเป็นชาติในรูปแบบนี้ตอบสนองต่อการปกครองแบบเผด็จการของจอมพล[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์]] นอกจากนี้ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ยังได้สนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสยังต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นชาติไทยในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ[[#_ftn8|[8]]] รวมทั้งสนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้คนในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงศูนย์กลางของชาติและรู้สึกได้ถึงความเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างแท้จริง | ''' “ชาติ” ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์''' เกิดขึ้นท่ามกลางปัจจัยสำคัญ นั่นคือ ภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้ความเป็นชาติในช่วงสมัยนี้ถูกนำกลับไปผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์ และนำแนวคิดเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 กลับมาใช้อีกครั้ง และคำว่า '''“ชาติ”''' ในยุคนี้เน้นไปที่การทหารและการสงครามที่ปกป้องอธิปไตยของไทยให้รอดพ้นจากภัยคุกคามต่าง ๆ บทบาทของกองทัพจึงเข้ามามีมากขึ้นในนามของความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเรียกกันว่า '''“ราชาชาตินิยม”''' ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา โดยนักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยม[[#_ftn7|[7]]] โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็น '''“หัวใจของชาติ”''' เป็นผู้นำทางด้านศีลธรรม คุณธรรม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีลำดับชั้นสูงสุดในสังคมไทย พระมหากษัตริย์จะสร้างดุลยภาพให้ชาติและควบคุมผู้นำทางการเมือง ฉะนั้นประชาชนจึงไม่ต้องคอยตรวจสอบถ่วงดุลผู้นำ เพราะผู้นำมีคุณธรรมและศีลธรรมอยู่แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้แนวคิดความเป็นชาติในรูปแบบนี้ตอบสนองต่อการปกครองแบบเผด็จการของจอมพล[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์|สฤษดิ์_ธนะรัชต์]] นอกจากนี้ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ยังได้สนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสยังต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นชาติไทยในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ[[#_ftn8|[8]]] รวมทั้งสนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้คนในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงศูนย์กลางของชาติและรู้สึกได้ถึงความเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างแท้จริง | ||
| | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
ในสมัยปัจจุบันนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สังคมไทยเข้าสู่ยุคของการเมืองที่แบ่งประชาชนออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อท่าทีในการนิยามคำว่าชาติของประชาชนแต่ละฝ่าย โดยในช่วงแรกของการต่อสู้โดยภาคประชาชนนั้น มักจะมีการใช้ข้อความว่า '''“รักชาติ”''' เพื่อต่อสู้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น เกิดจากความรักชาติไม่ต้องการให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจนั้นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ '''“คนรักชาติ”''' ที่เกิดขึ้นมาในอดีตและมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน | ในสมัยปัจจุบันนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สังคมไทยเข้าสู่ยุคของการเมืองที่แบ่งประชาชนออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อท่าทีในการนิยามคำว่าชาติของประชาชนแต่ละฝ่าย โดยในช่วงแรกของการต่อสู้โดยภาคประชาชนนั้น มักจะมีการใช้ข้อความว่า '''“รักชาติ”''' เพื่อต่อสู้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น เกิดจากความรักชาติไม่ต้องการให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจนั้นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ '''“คนรักชาติ”''' ที่เกิดขึ้นมาในอดีตและมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน | ||
''' ที่มาของ “คนรักชาติ”''' ในปัจจุบันเกิดจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วง ปี พ.ศ. 2548 - 2549 ที่ต่อต้านรัฐบาล ดร.[[ทักษิณ_ชินวัตร]] โดยการนำเสนอว่ารัฐบาลมีพฤติกรรม '''“ขายชาติ”''' เนื่องจากมีการขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปให้ บริษัท เทมาเส็ก ของสิงคโปร์โดยไม่มีการเสียภาษี[[#_ftn9|[9]]] ในจุดนี้ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าประเทศชาติสูญเสียรายได้ไปจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่งคือกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความตื่นตัวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยเหตุการณ์ [[14_ตุลาคม_พ.ศ._2516]] และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ซึ่งในช่วงเหตุการณ์เหล่านี้เคยมีการกล่าวถึงความรักชาติอยู่บ้างเช่นกัน รวมทั้งยังมีกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่ออกมาร่วมในการชุมนุมครั้งดังกล่าวเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นถ้อยคำว่า '''“ลูกจีนรักชาติ”'''[[#_ftn10|[10]]] และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เรียกการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเองในช่วงเวลานี้ว่า '''“กู้ชาติ”''' ซึ่งเป็นการกู้คืนมาจากรัฐบาลที่มีพฤติกรรมขายชาติ ยึดอำนาจกินรวบประเทศไทย เหิมเกริมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย สถาปนารัฐไทยใหม่ตามแนวทางการเมืองที่ชั่วร้ายของตน[[#_ftn11|[11]]] ซึ่งทุกครั้งที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ก็ยังคงเรียกการเคลื่อนไหวของตนเองนี้ว่า '''“กู้ชาติ”''' เช่นเดียวกัน และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า '''“ระบอบทักษิณ”''' ทั้งนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า '''“ชาติ”''' ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นต้นธารความคิดของ '''“คนรักชาติ”''' จะกล่าวได้ว่า ชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยที่ชาติคือประเทศไทยทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชาติ ฉะนั้นหากมีรัฐบาลใดที่ก่อความเสียหายให้ประเทศก็จะถือเป็นการทำลายชาติ และหากมีการสั่นคลอนเสถียรภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยิ่งถือเป็นการทำลายชาติ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางของชาติ | ''' ที่มาของ “คนรักชาติ”''' ในปัจจุบันเกิดจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วง ปี พ.ศ. 2548 - 2549 ที่ต่อต้านรัฐบาล ดร.[[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ_ชินวัตร]] โดยการนำเสนอว่ารัฐบาลมีพฤติกรรม '''“ขายชาติ”''' เนื่องจากมีการขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปให้ บริษัท เทมาเส็ก ของสิงคโปร์โดยไม่มีการเสียภาษี[[#_ftn9|[9]]] ในจุดนี้ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าประเทศชาติสูญเสียรายได้ไปจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่งคือกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความตื่นตัวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยเหตุการณ์ [[14_ตุลาคม_พ.ศ._2516|14_ตุลาคม_พ.ศ._2516]] และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ซึ่งในช่วงเหตุการณ์เหล่านี้เคยมีการกล่าวถึงความรักชาติอยู่บ้างเช่นกัน รวมทั้งยังมีกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่ออกมาร่วมในการชุมนุมครั้งดังกล่าวเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นถ้อยคำว่า '''“ลูกจีนรักชาติ”'''[[#_ftn10|[10]]] และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เรียกการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเองในช่วงเวลานี้ว่า '''“กู้ชาติ”''' ซึ่งเป็นการกู้คืนมาจากรัฐบาลที่มีพฤติกรรมขายชาติ ยึดอำนาจกินรวบประเทศไทย เหิมเกริมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย สถาปนารัฐไทยใหม่ตามแนวทางการเมืองที่ชั่วร้ายของตน[[#_ftn11|[11]]] ซึ่งทุกครั้งที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ก็ยังคงเรียกการเคลื่อนไหวของตนเองนี้ว่า '''“กู้ชาติ”''' เช่นเดียวกัน และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า '''“ระบอบทักษิณ”''' ทั้งนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า '''“ชาติ”''' ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นต้นธารความคิดของ '''“คนรักชาติ”''' จะกล่าวได้ว่า ชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยที่ชาติคือประเทศไทยทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชาติ ฉะนั้นหากมีรัฐบาลใดที่ก่อความเสียหายให้ประเทศก็จะถือเป็นการทำลายชาติ และหากมีการสั่นคลอนเสถียรภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยิ่งถือเป็นการทำลายชาติ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางของชาติ | ||
''' '''คนรักชาติในเหตุการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศยุติบทบาทไปใน ปี พ.ศ. 2556 แต่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมและเชื่อมั่นในความเป็นชาติไทยตามที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยนำเสนอไว้ยังคงมีอยู่ และปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม [[กปปส.]] ที่ใช้สัญลักษณ์ '''“ธงไตรรงค์”''' ในการต่อสู้กับรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ที่ยังคงเป็นระบอบทักษิณเช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่กลุ่ม กปปส. ไม่ได้ชูประเด็นเรื่องการขายชาติของรัฐบาลและการกู้ชาติของประชาชนเป็นข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวดังเช่นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หากกลุ่ม กปปส. เน้นบทบาทของพลังภาคประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น[[#_ftn12|[12]]] แต่กระนั้นด้วยการใช้สัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์ซึ่งเป็นธงชาติไทยนั้น ก็สะท้อนให้เห็นว่าชาติในความหมายของกลุ่ม กปปส. ก็มีความใกล้เคียงกับของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั่นคือ กลุ่ม กปปส. มีการกล่าวถึงความรักชาติเช่นกัน โดยชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ | ''' '''คนรักชาติในเหตุการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศยุติบทบาทไปใน ปี พ.ศ. 2556 แต่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมและเชื่อมั่นในความเป็นชาติไทยตามที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยนำเสนอไว้ยังคงมีอยู่ และปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม [[กปปส.|กปปส.]] ที่ใช้สัญลักษณ์ '''“ธงไตรรงค์”''' ในการต่อสู้กับรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ที่ยังคงเป็นระบอบทักษิณเช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่กลุ่ม กปปส. ไม่ได้ชูประเด็นเรื่องการขายชาติของรัฐบาลและการกู้ชาติของประชาชนเป็นข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวดังเช่นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หากกลุ่ม กปปส. เน้นบทบาทของพลังภาคประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น[[#_ftn12|[12]]] แต่กระนั้นด้วยการใช้สัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์ซึ่งเป็นธงชาติไทยนั้น ก็สะท้อนให้เห็นว่าชาติในความหมายของกลุ่ม กปปส. ก็มีความใกล้เคียงกับของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั่นคือ กลุ่ม กปปส. มีการกล่าวถึงความรักชาติเช่นกัน โดยชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ | ||
อย่างไรก็ตาม นิยามของความเป็นชาตินี้ปรากฏชัดเจนขึ้นใน ปี พ.ศ. 2562 - 2563 เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ต่อต้านรัฐบาล พลเอก[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] รวมทั้งมีการกล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้หลายกลุ่มที่เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ดังเช่นกรณีของนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ก่อตั้ง '''“[[ไทยภักดี|กลุ่มไทยภักดี]]”''' ที่ชูจุดยืนหลัก คือ การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องประเทศชาติ รวมทั้งสืบสานรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติอย่างมั่นคงด้วยระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง[[#_ftn13|[13]]] ซึ่งต่อมากลุ่มไทยภักดีได้พัฒนาเป็นพรรคการเมืองในชื่อเดียวกัน โดยมีจุดยืนหลักในการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ | อย่างไรก็ตาม นิยามของความเป็นชาตินี้ปรากฏชัดเจนขึ้นใน ปี พ.ศ. 2562 - 2563 เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ต่อต้านรัฐบาล พลเอก[[ประยุทธ์_จันทร์โอชา|ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] รวมทั้งมีการกล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้หลายกลุ่มที่เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ดังเช่นกรณีของนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ก่อตั้ง '''“[[ไทยภักดี|กลุ่มไทยภักดี]]”''' ที่ชูจุดยืนหลัก คือ การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องประเทศชาติ รวมทั้งสืบสานรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติอย่างมั่นคงด้วยระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง[[#_ftn13|[13]]] ซึ่งต่อมากลุ่มไทยภักดีได้พัฒนาเป็นพรรคการเมืองในชื่อเดียวกัน โดยมีจุดยืนหลักในการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
นอกจากจะมีกลุ่มคนที่แสดงตัวว่าเป็นคนรักชาติแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาร่วมสมัย นั่นคือกลุ่มที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม กปปส. และกลุ่มไทยภักดี ก็จะถูกนิยามเกี่ยวกับความเป็นชาติด้วยถ้อยคำที่แตกต่างออกไป อาทิ ขายชาติ ไม่รักชาติ และชังชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ '''“คนชังชาติ”''' ซึ่งเป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก แต่สะท้อนสายธารทางความคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่อาจมีความหมายในอีกรูปแบบหนึ่ง | นอกจากจะมีกลุ่มคนที่แสดงตัวว่าเป็นคนรักชาติแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาร่วมสมัย นั่นคือกลุ่มที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม กปปส. และกลุ่มไทยภักดี ก็จะถูกนิยามเกี่ยวกับความเป็นชาติด้วยถ้อยคำที่แตกต่างออกไป อาทิ ขายชาติ ไม่รักชาติ และชังชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ '''“คนชังชาติ”''' ซึ่งเป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก แต่สะท้อนสายธารทางความคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่อาจมีความหมายในอีกรูปแบบหนึ่ง | ||
''' '''ที่มาของ'''“คนชังชาติ” '''เกิดจากลัทธิชังชาติ (Anti-patriotism) เกิดขึ้นในยุโรปก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นแนวคิดที่ต่อต้านความรักชาติ (Patriotism) เนื่องจากเห็นว่าการแสดงความรักชาตินั้น จะนำมาซึ่งการทำสงคราม การสร้างกำลังกองทัพ การเกณฑ์ประชาชนให้ไปเป็นทหาร และการปกครองที่นำโดยนายทหารหรือคณะนายทหาร และต่อมาภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แนวคิดนี้ได้นำมาสู่การเดินขบวนต่อต้านสงคราม และต่อต้านการปกครองโดยระบอบทหาร รวมถึงระบอบเผด็จการและผู้ปกครองที่คิดสืบทอดครอบงำอำนาจ[[#_ftn14|[14]]] และในประเทศไทยนั้นคำว่า '''“[[ชังชาติ_(Anti-Patriotism)|ชังชาติ]]”''' ปรากฏขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2561 โดยเริ่มมาจากปัญญาชนที่แสดงความรักชาติ แสดงความจงรักภักดีจำนวนหนึ่ง ที่แสดงออกในเชิงปฏิกิริยาเมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล ต่อสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือปัญญาชนที่เห็นอกเห็นใจรัฐบาล โดยพวกเขาอธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นี้คือ '''“การทำร้ายประเทศ”''' ทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศและตั้งคำต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เป็นลัทธิชังชาติหรือไม่[[#_ftn15|[15]]] และใน ปี พ.ศ. 2562 นายแพทย์[[วรงค์_เดชกิจวิกรม]] อดีต ส.ส. [[พรรคประชาธิปัตย์]] โดยระบุว่า ''“แต่ก่อนเราสู้กับระบอบทักษิณ อย่างมากก็แค่ได้อำนาจรัฐมาเพื่อทุจริตเชิงนโยบาย ใช้อำนาจไม่ชอบ ออกกฎหมายล้างผิด แต่วันนี้การเมืองเปลี่ยนไปมาก เป็นการปลูกฝังความเชื่อที่เรียกว่าชังชาติ แก่คนรุ่นใหม่ที่มีพลัง แต่ขาดประสบการณ์ โดยเฉพาะการเอาฮ่องกงมาเป็นแรงบันดาลใจ แต่มาอ้างว่าต้องการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่ว่า ตนเองทำผิดกฎหมายแต่แก้ต่างไม่ได้ จึงเอามวลชนมาต่อรอง”''[[#_ftn16|[16]]] | ''' '''ที่มาของ'''“คนชังชาติ” '''เกิดจากลัทธิชังชาติ (Anti-patriotism) เกิดขึ้นในยุโรปก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นแนวคิดที่ต่อต้านความรักชาติ (Patriotism) เนื่องจากเห็นว่าการแสดงความรักชาตินั้น จะนำมาซึ่งการทำสงคราม การสร้างกำลังกองทัพ การเกณฑ์ประชาชนให้ไปเป็นทหาร และการปกครองที่นำโดยนายทหารหรือคณะนายทหาร และต่อมาภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แนวคิดนี้ได้นำมาสู่การเดินขบวนต่อต้านสงคราม และต่อต้านการปกครองโดยระบอบทหาร รวมถึงระบอบเผด็จการและผู้ปกครองที่คิดสืบทอดครอบงำอำนาจ[[#_ftn14|[14]]] และในประเทศไทยนั้นคำว่า '''“[[ชังชาติ_(Anti-Patriotism)|ชังชาติ]]”''' ปรากฏขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2561 โดยเริ่มมาจากปัญญาชนที่แสดงความรักชาติ แสดงความจงรักภักดีจำนวนหนึ่ง ที่แสดงออกในเชิงปฏิกิริยาเมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล ต่อสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือปัญญาชนที่เห็นอกเห็นใจรัฐบาล โดยพวกเขาอธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นี้คือ '''“การทำร้ายประเทศ”''' ทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศและตั้งคำต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เป็นลัทธิชังชาติหรือไม่[[#_ftn15|[15]]] และใน ปี พ.ศ. 2562 นายแพทย์[[วรงค์_เดชกิจวิกรม|วรงค์_เดชกิจวิกรม]] อดีต ส.ส. [[พรรคประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]] โดยระบุว่า ''“แต่ก่อนเราสู้กับระบอบทักษิณ อย่างมากก็แค่ได้อำนาจรัฐมาเพื่อทุจริตเชิงนโยบาย ใช้อำนาจไม่ชอบ ออกกฎหมายล้างผิด แต่วันนี้การเมืองเปลี่ยนไปมาก เป็นการปลูกฝังความเชื่อที่เรียกว่าชังชาติ แก่คนรุ่นใหม่ที่มีพลัง แต่ขาดประสบการณ์ โดยเฉพาะการเอาฮ่องกงมาเป็นแรงบันดาลใจ แต่มาอ้างว่าต้องการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่ว่า ตนเองทำผิดกฎหมายแต่แก้ต่างไม่ได้ จึงเอามวลชนมาต่อรอง”''[[#_ftn16|[16]]] | ||
ต่อมานายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้มีการระบุลักษณะของลัทธิชังชาติว่าเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติ ซึ่งมีอยู่หลายกรณี ได้แก่ | ต่อมานายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้มีการระบุลักษณะของลัทธิชังชาติว่าเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติ ซึ่งมีอยู่หลายกรณี ได้แก่ | ||
บรรทัดที่ 88: | บรรทัดที่ 88: | ||
กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384. | กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384. | ||
กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์'''40, ฉ.2 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552): 91-134. | กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์'''40, ฉ.2 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552): 91-134.''' | ||
สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22. | สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22. | ||
บรรทัดที่ 126: | บรรทัดที่ 126: | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> = | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์ | [[#_ftnref1|[1]]] กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์ 40, ฉ.2 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552): 91-134. | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22. | [[#_ftnref2|[2]]] สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22. | ||
บรรทัดที่ 132: | บรรทัดที่ 132: | ||
[[#_ftnref3|[3]]] กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384. | [[#_ftnref3|[3]]] กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] กีรติ กล่อมดี, | [[#_ftnref4|[4]]] กีรติ กล่อมดี, อ้างแล้ว, 91-134. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] สายชล สัตยานุรักษ์, ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2545), หน้า 29-38. | [[#_ftnref5|[5]]] สายชล สัตยานุรักษ์, ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2545), หน้า 29-38. | ||
บรรทัดที่ 172: | บรรทัดที่ 172: | ||
| | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:34, 9 สิงหาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ความหมาย
“ชาตินิยม” เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องของการมีสำนึกของความเป็นชุมชนทางการเมือง และวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มคนในสังคม การมีสำนึกของความเป็นชาติร่วมกันนั้น จะต้องมีองค์ประกอบทั้งทางด้านวัฒนธรรม การเมือง และจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบทางด้านวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความตระหนักถึงความเป็นชาติของกลุ่มต่างๆ ในสังคม ให้เกิดเป็นความผูกพันและความเป็นพวกเดียวกัน สำหรับองค์ประกอบทางด้านการเมือง เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้คนเกิดสำนึกของความเป็นพวกพ้องเดียวกันภายใต้ดินแดนของรัฐที่ถูกกำหนดด้วยแผนที่สมัยใหม่ และองค์ประกอบทางด้านจิตวิทยา เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความรู้สึกรักพวกพ้องเดียวกัน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ ตลอดจนสร้างสำนึกของความเป็นพวกเดียวกันและความเป็นอื่น และเมื่อความเป็นชาตินิยมถูกนำมาใช้ในทางการเมืองแล้วก็ส่งผลต่อการช่วงชิงการนิยามความเป็นชาติของกลุ่มต่าง ๆ และกำหนดรูปแบบของความเป็นชาติที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มและแต่ละยุคสมัย
พัฒนาการของความเป็น “ชาติ” ในประวัติศาสตร์ “ไทย”
หากจะกล่าวถึงความเป็นชาตินิยมจะต้องเริ่มต้นที่กลไกของการสร้างชาติ (nation building) ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังหรือไล่เลี่ยกับช่วงเวลาที่มีการสร้างรัฐ (state building) หากพิจารณาในบริบทของประวัติศาสตร์ไทย จะพบว่ามีช่วงจังหวะของการสร้างสำนึกความเป็นชาติที่สำคัญอยู่ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ สมัยรัชกาลที่ 6 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
“ชาติ” ในสมัยรัชกาลที่ 6 ถือเป็นยุคสมัยที่สำคัญของการสร้างชาติ โดยมีรัชกาลที่ 6 เป็นผู้นำทางความคิดที่สำคัญ โดยปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสร้างชาติในช่วงเวลานี้มีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) เป็นช่วงเวลาที่กระบวนการสร้างรัฐ (state building) ที่ดำเนินมาตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 มีเสถียรภาพพอสมควรแล้ว และ (2) ความหวาดกลัวคนจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศสยามขณะนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นจีนเพิ่งมีการปฏิวัติใน ปี ค.ศ. 1911 ที่เปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ[1] ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ ถือเป็นเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างชาติของรัชกาลที่ 6 โดยมีการดำเนินการผ่านทั้งในทางกฎหมาย วรรณกรรม และสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสะท้อนถึงความเป็นชาติ โดยในส่วนของกฎหมายนั้น มีการกำหนดเรื่อง “สัญชาติ” ขึ้นมาเพื่อระบุว่าคนในดินแดนของสยามนั้น เป็นคนชาติใด ซึ่งชาติในที่นี้ไม่ได้หมายถึงจุดกำเนิดตามความหมายดั้งเดิม หากแต่หมายถึงความเป็นชาติ (nationality) ที่ทุกคนในดินแดนสยามมีร่วมกัน[2] นอกจากนี้ รัชกาลที่ 6 ยังได้พระราชนิพนธ์บทละครและบทความต่างๆ เพื่อสร้างสำนึกและปลุกใจให้เกิดความรักชาติ ดังเช่นบทพระราชนิพนธ์สยามานุสสติที่มีการระบุถึง 3 สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์นั้น มีความสำคัญในฐานะศูนย์รวมของความเป็นชาติ แนวคิดนี้นอกจากปรากฏผ่านงานพระราชนิพนธ์แล้ว ยังปรากฏผ่านงานต่าง ๆ ในเชิงสัญลักษณ์ตามมา ทั้งในส่วนของสถาปัตยกรรม[3] รวมทั้งที่ชัดเจนที่สุดคือการประดิษฐ์ธงชาติไทยที่เป็น “ธงไตรรงค์” สะท้อนถึงความเป็นชาติไทยที่มี 3 สิ่งที่สำคัญ คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ สัญลักษณ์อื่น ๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การกำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงที่ใช้ในงานต่าง ๆ ของชาติ[4] ฉะนั้น ชาติในช่วงรัชกาลที่ 6 จึงมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ค่อนข้างมาก
“ชาติ” ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นนักคิดคนสำคัญที่สร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยของยุคสมัยนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นชาติค่อนข้างมาก โดยมองว่าชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศดำรงอยู่ได้โดยไม่ตกเป็นข้าของใคร ทั้งนี้มาจากปัจจัยสำคัญ คือ หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ที่กล่าวถึงเรื่องเอกราช นั่นคือ ประเทศจะต้องมีเอกราชโดยสมบูรณ์ จะต้องไม่ถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชาติใด[5] ฉะนั้นเมื่อประเทศมีเอกราชสมบูรณ์แล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงให้ความสำคัญกับความเป็นชาติ โดยชาติของจอมพล ป. จะเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนว่าความเป็นไทยมีลักษณะเช่นใด ซึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างชาติของจอมพล ป. นั้น คือ การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็น “ไทย” เพื่อให้ประเทศมีชื่อเรียกเช่นเดียวกับความเป็นชาติ และเป้าหมายของจอมพล ป. คือทำให้ประเทศไทยมีความเป็นอารยะเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกประกาศ “รัฐนิยม” ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การใส่หมวก การห้ามกินหมาก การกล่าวทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” เป็นต้น นอกจากนี้ ในสมัยจอมพล ป. ยังมีการประดิษฐ์เพลงชาติไทยใหม่ ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงความเป็นชาติไทยในหลายประเด็น เช่น ความรักสงบ ความรุกรบ และการรักษาชาติ เป็นต้น และยังมีสิ่งที่สะท้อนถึงความเป็นชาติไทยที่ชัดเจนผ่านการสร้างชาติในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมแห่งชาติ เศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะหลอมรวมทุกคนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติไทย และสร้างความเป็นชาติไทยให้โดดเด่นแตกต่างจากความเป็นอื่น ทำให้ความเป็นชาติไทยในสมัยจอมพล ป. โดดเด่นที่สุดในแง่ของการทำให้ “ชาติ” เป็นของคนทุกคนภายใต้ดินแดนของประเทศไทย[6]
“ชาติ” ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดขึ้นท่ามกลางปัจจัยสำคัญ นั่นคือ ภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้ความเป็นชาติในช่วงสมัยนี้ถูกนำกลับไปผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์ และนำแนวคิดเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 กลับมาใช้อีกครั้ง และคำว่า “ชาติ” ในยุคนี้เน้นไปที่การทหารและการสงครามที่ปกป้องอธิปไตยของไทยให้รอดพ้นจากภัยคุกคามต่าง ๆ บทบาทของกองทัพจึงเข้ามามีมากขึ้นในนามของความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเรียกกันว่า “ราชาชาตินิยม” ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา โดยนักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยม[7] โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็น “หัวใจของชาติ” เป็นผู้นำทางด้านศีลธรรม คุณธรรม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีลำดับชั้นสูงสุดในสังคมไทย พระมหากษัตริย์จะสร้างดุลยภาพให้ชาติและควบคุมผู้นำทางการเมือง ฉะนั้นประชาชนจึงไม่ต้องคอยตรวจสอบถ่วงดุลผู้นำ เพราะผู้นำมีคุณธรรมและศีลธรรมอยู่แล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้แนวคิดความเป็นชาติในรูปแบบนี้ตอบสนองต่อการปกครองแบบเผด็จการของจอมพลสฤษดิ์_ธนะรัชต์ นอกจากนี้ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ยังได้สนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จประพาสยังต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนความเป็นชาติไทยในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ[8] รวมทั้งสนับสนุนให้พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้คนในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงศูนย์กลางของชาติและรู้สึกได้ถึงความเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างแท้จริง
“คนรักชาติ” ความเป็นชาตินิยมร่วมสมัย
ในสมัยปัจจุบันนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สังคมไทยเข้าสู่ยุคของการเมืองที่แบ่งประชาชนออกเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อท่าทีในการนิยามคำว่าชาติของประชาชนแต่ละฝ่าย โดยในช่วงแรกของการต่อสู้โดยภาคประชาชนนั้น มักจะมีการใช้ข้อความว่า “รักชาติ” เพื่อต่อสู้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น เกิดจากความรักชาติไม่ต้องการให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจนั้นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ “คนรักชาติ” ที่เกิดขึ้นมาในอดีตและมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มาของ “คนรักชาติ” ในปัจจุบันเกิดจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วง ปี พ.ศ. 2548 - 2549 ที่ต่อต้านรัฐบาล ดร.ทักษิณ_ชินวัตร โดยการนำเสนอว่ารัฐบาลมีพฤติกรรม “ขายชาติ” เนื่องจากมีการขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปให้ บริษัท เทมาเส็ก ของสิงคโปร์โดยไม่มีการเสียภาษี[9] ในจุดนี้ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมองว่าประเทศชาติสูญเสียรายได้ไปจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนหนึ่งคือกลุ่มชนชั้นกลางที่มีความตื่นตัวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยเหตุการณ์ 14_ตุลาคม_พ.ศ._2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ซึ่งในช่วงเหตุการณ์เหล่านี้เคยมีการกล่าวถึงความรักชาติอยู่บ้างเช่นกัน รวมทั้งยังมีกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนที่ออกมาร่วมในการชุมนุมครั้งดังกล่าวเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นถ้อยคำว่า “ลูกจีนรักชาติ”[10] และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เรียกการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเองในช่วงเวลานี้ว่า “กู้ชาติ” ซึ่งเป็นการกู้คืนมาจากรัฐบาลที่มีพฤติกรรมขายชาติ ยึดอำนาจกินรวบประเทศไทย เหิมเกริมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย สถาปนารัฐไทยใหม่ตามแนวทางการเมืองที่ชั่วร้ายของตน[11] ซึ่งทุกครั้งที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ก็ยังคงเรียกการเคลื่อนไหวของตนเองนี้ว่า “กู้ชาติ” เช่นเดียวกัน และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า “ระบอบทักษิณ” ทั้งนี้หากพิจารณาความหมายของคำว่า “ชาติ” ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นต้นธารความคิดของ “คนรักชาติ” จะกล่าวได้ว่า ชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยที่ชาติคือประเทศไทยทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชาติ ฉะนั้นหากมีรัฐบาลใดที่ก่อความเสียหายให้ประเทศก็จะถือเป็นการทำลายชาติ และหากมีการสั่นคลอนเสถียรภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยิ่งถือเป็นการทำลายชาติ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางของชาติ
คนรักชาติในเหตุการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศยุติบทบาทไปใน ปี พ.ศ. 2556 แต่ประชาชนที่ร่วมชุมนุมและเชื่อมั่นในความเป็นชาติไทยตามที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยนำเสนอไว้ยังคงมีอยู่ และปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ที่ใช้สัญลักษณ์ “ธงไตรรงค์” ในการต่อสู้กับรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ที่ยังคงเป็นระบอบทักษิณเช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่กลุ่ม กปปส. ไม่ได้ชูประเด็นเรื่องการขายชาติของรัฐบาลและการกู้ชาติของประชาชนเป็นข้อเรียกร้องในการเคลื่อนไหวดังเช่นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หากกลุ่ม กปปส. เน้นบทบาทของพลังภาคประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น[12] แต่กระนั้นด้วยการใช้สัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์ซึ่งเป็นธงชาติไทยนั้น ก็สะท้อนให้เห็นว่าชาติในความหมายของกลุ่ม กปปส. ก็มีความใกล้เคียงกับของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั่นคือ กลุ่ม กปปส. มีการกล่าวถึงความรักชาติเช่นกัน โดยชาติไทยนั้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม นิยามของความเป็นชาตินี้ปรากฏชัดเจนขึ้นใน ปี พ.ศ. 2562 - 2563 เมื่อมีการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่ต่อต้านรัฐบาล พลเอกประยุทธ์_จันทร์โอชา รวมทั้งมีการกล่าวถึงข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้หลายกลุ่มที่เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ดังเช่นกรณีของนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ก่อตั้ง “กลุ่มไทยภักดี” ที่ชูจุดยืนหลัก คือ การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องประเทศชาติ รวมทั้งสืบสานรักษาอัตลักษณ์ความเป็นไทย และสร้างรากฐานความมั่งคั่งของชาติอย่างมั่นคงด้วยระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง[13] ซึ่งต่อมากลุ่มไทยภักดีได้พัฒนาเป็นพรรคการเมืองในชื่อเดียวกัน โดยมีจุดยืนหลักในการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
“คนชังชาติ” หรืออีกความหมายหนึ่งของชาตินิยม ?
นอกจากจะมีกลุ่มคนที่แสดงตัวว่าเป็นคนรักชาติแล้ว ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาร่วมสมัย นั่นคือกลุ่มที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม กปปส. และกลุ่มไทยภักดี ก็จะถูกนิยามเกี่ยวกับความเป็นชาติด้วยถ้อยคำที่แตกต่างออกไป อาทิ ขายชาติ ไม่รักชาติ และชังชาติ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงมุ่งเน้นการนำเสนอถึงข้อความ “คนชังชาติ” ซึ่งเป็นคำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก แต่สะท้อนสายธารทางความคิดเกี่ยวกับความเป็นชาติที่อาจมีความหมายในอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่มาของ“คนชังชาติ” เกิดจากลัทธิชังชาติ (Anti-patriotism) เกิดขึ้นในยุโรปก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นแนวคิดที่ต่อต้านความรักชาติ (Patriotism) เนื่องจากเห็นว่าการแสดงความรักชาตินั้น จะนำมาซึ่งการทำสงคราม การสร้างกำลังกองทัพ การเกณฑ์ประชาชนให้ไปเป็นทหาร และการปกครองที่นำโดยนายทหารหรือคณะนายทหาร และต่อมาภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แนวคิดนี้ได้นำมาสู่การเดินขบวนต่อต้านสงคราม และต่อต้านการปกครองโดยระบอบทหาร รวมถึงระบอบเผด็จการและผู้ปกครองที่คิดสืบทอดครอบงำอำนาจ[14] และในประเทศไทยนั้นคำว่า “ชังชาติ” ปรากฏขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2561 โดยเริ่มมาจากปัญญาชนที่แสดงความรักชาติ แสดงความจงรักภักดีจำนวนหนึ่ง ที่แสดงออกในเชิงปฏิกิริยาเมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล ต่อสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือปัญญาชนที่เห็นอกเห็นใจรัฐบาล โดยพวกเขาอธิบายว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นี้คือ “การทำร้ายประเทศ” ทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศและตั้งคำต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เป็นลัทธิชังชาติหรือไม่[15] และใน ปี พ.ศ. 2562 นายแพทย์วรงค์_เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โดยระบุว่า “แต่ก่อนเราสู้กับระบอบทักษิณ อย่างมากก็แค่ได้อำนาจรัฐมาเพื่อทุจริตเชิงนโยบาย ใช้อำนาจไม่ชอบ ออกกฎหมายล้างผิด แต่วันนี้การเมืองเปลี่ยนไปมาก เป็นการปลูกฝังความเชื่อที่เรียกว่าชังชาติ แก่คนรุ่นใหม่ที่มีพลัง แต่ขาดประสบการณ์ โดยเฉพาะการเอาฮ่องกงมาเป็นแรงบันดาลใจ แต่มาอ้างว่าต้องการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่ก็รู้อยู่ว่า ตนเองทำผิดกฎหมายแต่แก้ต่างไม่ได้ จึงเอามวลชนมาต่อรอง”[16]
ต่อมานายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ได้มีการระบุลักษณะของลัทธิชังชาติว่าเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติ ซึ่งมีอยู่หลายกรณี ได้แก่
(1) ปฏิกษัตริย์นิยม พยายามจาบจ้วงเบื้องสูง
(2) ไม่ส่งเสริมศาสนาทุกศาสนา ทั้งๆ ที่ศาสนาอยู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี
(3) ดูแคลนวัฒนธรรม ประเพณีว่าเป็นของโบราณ ไม่เอาการยิ้ม ไหว้ครู การเรียกลุง ป้า น้า อา ซึ่งถือว่าเป็นรากของสังคมไทย ตลอดจนดูถูกดูแคลนประเทศไทย
(4) เมื่อมีปัญหาชอบพาต่างชาติเข้ามาวุ่นวายเรื่องภายใน ตลอดจนประจานประเทศให้ชาวต่างชาติมายุ่ง และ
(5) มีพฤติกรรมทำลายความเชื่อมั่นและไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล[17] และหลังจากที่นายแพทย์วรงค์กล่าวถึงคำว่าชังชาติอยู่บ่อยครั้ง ก็ทำให้คำว่าชังชาติเป็นที่รับรู้กันในวงกว้างมากขึ้น และต่อมาใน ปี พ.ศ. 2563 พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้กล่าวถึงกรณีชังชาติโดยเปรียบเทียบกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไว้ว่า “โควิด ถ้ารู้จักป้องกันตัวเอง ป้องกันคนรอบข้าง เป็นแล้วก็หาย แต่โรคที่เป็นไม่หายคือโรคชังชาติ รู้หรือเปล่า ใช่เปล่า โรคเกลียดชาติบ้านเมืองตัวเองรักษาไม่หาย เพราะว่ามีการเหน็บแนมประเทศตัวเอง”[18]
ปฏิกิริยาต่อ“คนชังชาติ” ในเหตุการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย กล่าวได้ว่าคำว่า “คนชังชาติ” ไม่ได้เกิดจากการนิยามตนเองในลักษณะ “คนรักชาติ” หากแต่เป็นการใช้ถ้อยคำมาเพื่อโจมตีฝั่งตรงข้ามทางการเมือง ทำให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าไปที่พรรคอนาคตใหม่ และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รวมถึงยังใช้ในกรณีที่กลุ่มเยาวชนออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องในนาม “เยาวชนปลดแอก” ซึ่งนำเสนอข้อเรียกร้อง 3 ประเด็น ได้แก่
(1) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และองคาพยพทั้งหลายต้องลาออก
(2) รัฐสภาเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ
(3) ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย[19]
ซึ่งกลุ่มเหล่านี้กล่าวได้ว่าเป็นเป้าหมายของนิยามคำว่า “คนชังชาติ” ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการใช้ถ้อยคำว่าคนชังชาติเพื่อโจมตีทางการเมือง ดังเช่น นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่าปัญหาของคำว่าชังชาติเกิดจากการตีความ และให้ความหมายที่ผิดเพี้ยนไปจากจุดประสงค์เดิม ชังชาติในทัศนะของนายแพทย์วรงค์อาจจะเห็นว่าคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองว่าตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับประเทศหรืออยู่ตรงกันข้ามกับความหมายของคำว่า “ชาติ” ซึ่งในความเห็นของนายรังสิมันต์นั้นมองว่า ความตั้งใจของคนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของกลไกต่าง ๆ ของประเทศ ถูกบิดเบือนความหมายไปมาก เพราะการพูดถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น[20]
ขณะเดียวกัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง ออกมาตอบโต้ในกรณีที่ พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ กล่าวถึงกรณีชังชาติ โดยระบุว่า ถ้าคนที่เห็นต่างจากรัฐบาล คนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือคนที่เห็นว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจล้มเหลว ระบบยุติธรรมพึ่งไม่ได้ เหล่านี้เป็นคน “ชังชาติ” ไปหมด จะเหลือคนที่ไม่ชังชาติสักกี่คนกัน[21] ขณะที่แกนนำนักศึกษากลุ่มเยาวชนปลดแอกแสดงความเห็นต่อคำกล่าวหาที่ว่าชังชาติโดยส่วนใหญ่ระบุว่า ชาติที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่ารักนั้น เป็นเพียงความหมายหนึ่งของคำว่า “ชาติ” เท่านั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้วข้อเสนอของกลุ่มเยาวชนปลดแอกที่เคลื่อนไหวด้วยข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นข้อเสนอที่จะทำให้ชาติพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มเยาวชนปลดแอกมองว่าชาติในความหมายของกลุ่มนี้สามารถพัฒนาได้และต้องการให้ชาติพัฒนายิ่งขึ้น ไม่ได้รังเกียจหรือชังชาติแต่ประการใด
ทั้งนี้ การนิยามคำว่า “ชาติ” ที่แตกต่างกันนี้เอง สอดคล้องกับที่ ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ ที่ระบุว่าในความเป็นชาตินั้นจะต้องมี “ศัตรูของชาติ” ที่เป็นศัตรูร่วมกันในจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้น แต่หากความเป็นศัตรูของชาตินั้นเกิดขึ้นภายในกลุ่มคนในชาติเดียวกัน คนกลุ่มนี้ก็จะถูกเรียกขานด้วยถ้อยคำที่แสดงออกถึงความเป็นอื่นภายในชาติ (The Other Within) เช่น พวกขายชาติ พวกชังชาติ พวกไม่รักชาติ เป็นต้น ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เกษียร เตชะพีระ มองว่าแท้ที่จริงแล้วคนกลุ่มนี้ก็มีความรักชาติเช่นเดียวกัน เพียงแต่ความรักชาตินั้นแสดงออกมาในรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากความหมายของชาติในรูปแบบเดิมหรือชาตินั้นมีชุดความหมายมากกว่า 1 ความหมาย ดังนั้นจึงควรเปิดพื้นที่ให้ความหลากหลายเหล่านี้ได้แสดงออกมาเพื่อให้สังคมเกิดการรับฟังซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การมีพื้นที่เพื่อการถกเถียงแลกเปลี่ยนโดยที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นตามมา[22]
บทสรุป
ชาตินิยม (คนรักชาติ / คนชังชาติ) เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องของการมีสำนึกของความเป็นชุมชนทางการเมืองและวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มคนในสังคมในนามของ “ชาติ” ซึ่งกระทำผ่านองค์ประกอบ 3 ประการ นั่นคือ ด้านวัฒนธรรม ด้านการเมือง และด้านจิตวิทยา ซึ่งในประเทศไทยมีความพยายามสร้างชาติ (nation building) มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 หลังจากที่การสร้างรัฐ (state building) ลงหลักปักฐานมั่นคงแล้ว โดยที่ชาติในสมัยเริ่มแรกสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่าชาติโดยให้มีความยึดโยงกับประชาชนมากยิ่งขึ้น จากนั้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชาติเริ่มมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์และกองทัพในลักษณะ “ราชาชาตินิยม” จนกระทั่งถึงในยุคปัจจุบันคำว่าชาติถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกครั้งเมื่อเกิดกระแสความขัดแย้งทางการเมือง โดยกลุ่มหนึ่งนิยามตนเองว่าเป็น “คนรักชาติ” และเรียกการเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเองว่าเป็น “การกู้ชาติ” และเรียกขานกลุ่มตรงข้ามที่ขณะนั้นเป็นฝ่ายรัฐบาลว่า “พวกขายชาติ” พัฒนาการเหล่านี้ดำเนินไปต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งถึงช่วง ปี พ.ศ. 2562 ท่าทีของกลุ่มคนรักชาติปรากฏออกมาอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการเรียกขานฝ่ายตรงข้ามว่า “คนชังชาติ” ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องให้แก้ปัญหาบางประการและต่อต้านรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่ถูกเรียกขานว่าชังชาติต่างมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับต่อข้อความดังกล่าวว่า แท้ที่จริงแล้วกลุ่มตนเองก็รักชาติเช่นกันและอยากเห็นชาติบ้านเมืองพัฒนาให้ดีขึ้น จึงนำมาสู่การกลับไปหานิยามของความเป็นชาติอีกครั้งว่า “ชาติ” นั้น มีความหมายในลักษณะใดและควรมีชุดความหมายเป็นเช่นใด
บรรณานุกรม
หนังสือ
ธงชัย วินิจจะกูล. (2559). โฉมหน้าราชาชาตินิยม, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน).
สายชล สัตยานุรักษ์. (2545). ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน).
วารสาร
กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384.
กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์40, ฉ.2 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552): 91-134.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22.
สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์, “ “ลูกจีนรักชาติ” : สำนึกประวัติศาสตร์และนิยามประชาธิปไตย,” วารสารมนุษยศาสตร์สาร 16, ฉ.2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558): 112-157.
เว็บไซต์
ข่าวการเมือง, ““จาตุรนต์” เตือน “บิ๊กแดง” เห็นต่างไม่ใช่ “ชังชาติ” อีก 1 เดือนเกษียณทำลายตัวเองทำไม,” มติชนออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.matichon.co.th/politics/news_2295645.
ข่าวการเมือง, “มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029.
ข่าวการเมือง, ““หมอวรงค์” จัดหนัก สู้กับพวก “ชังชาติ” ใช้คนรุ่นใหม่เป็นเหยื่อ,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/politics/detail/9620000109878.
ข่าวการเมือง, “หมอวรงค์เปิดตัว "กลุ่มไทยภักดี" ชู 5อุดมการณ์ 3ข้อเรียกร้อง,” โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.posttoday.com/politic/news/631049.
ชัยพงษ์ สำเนียง, “ราชาชาตินิยมกับการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์กระแสอื่นในฐานะเชิงอรรถ,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2020/02/86456.
ทวี สุรฤทธิกุล, “ชังชาติ VS ชั่วชาติ,” สยามรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/122562.
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, “เกษียร เตชะพีระ: ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2018/11/79551.
“ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-47234217.
ประพันธ์ คูณมี, “พันธมิตรฯ กับพันธกิจกู้ชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/daily/detail/9550000030734.
พิราภรณ์ วิทูรัตน์, “ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน,” The Matter, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942.
“ย้อนรอยม็อบ 5 เดือน 'ปลดแอก' ทะลุเพดาน,” กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910138.
หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, ““ม็อบนกหวีด” กับ 4 เรื่องหลังฉาก กปปส.,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-41804763.
“อภิรัชต์ คงสมพงษ์ : โควิดเป็นแล้วหาย แต่ “โรคชังชาติรักษาไม่หาย”,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-53660467.
อ้างอิง
[1] กีรติ กล่อมดี, “ ‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนเจ้าหัวก้าวหน้า : “พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์”,” วารสารสังคมศาสตร์ 40, ฉ.2 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2552): 91-134.
[2] สมชาย ปรีชาศิลปกุล, “100 ปี แห่งสัญชาติไทย ตอนที่ 1,” วิภาษา 5, ฉ.5 (16 กันยายน – 31 ตุลาคม 2554): 16-22.
[3] กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย, “พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468),” Veridian 7, ฉ.2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 1365-1384.
[4] กีรติ กล่อมดี, อ้างแล้ว, 91-134.
[5] สายชล สัตยานุรักษ์, ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” โดยหลวงวิจิตรวาทการ, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2545), หน้า 29-38.
[6] ชัยพงษ์ สำเนียง, “ราชาชาตินิยมกับการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์กระแสอื่นในฐานะเชิงอรรถ,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2020/02/86456.
[7] ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2559), หน้า 5-19.
[8] ชัยพงษ์ สำเนียง, “ราชาชาตินิยมกับการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์กระแสอื่นในฐานะเชิงอรรถ,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2020/02/86456.
[9] “ทักษิณ ชินวัตร กับ 3 ความผิดพลาดราคาแพง,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-47234217.
[10] สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์, “ “ลูกจีนรักชาติ” : สำนึกประวัติศาสตร์และนิยามประชาธิปไตย,” วารสารมนุษยศาสตร์สาร 16, ฉ.2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558): 112-157.
[11] ประพันธ์ คูณมี, “พันธมิตรฯ กับพันธกิจกู้ชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/daily/detail/9550000030734.
[12] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, ““ม็อบนกหวีด” กับ 4 เรื่องหลังฉาก กปปส.,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-41804763.
[13] ข่าวการเมือง, “หมอวรงค์เปิดตัว "กลุ่มไทยภักดี" ชู 5อุดมการณ์ 3ข้อเรียกร้อง,” โพสต์ทูเดย์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.posttoday.com/politic/news/631049.
[14] ทวี สุรฤทธิกุล, “ชังชาติ VS ชั่วชาติ,” สยามรัฐออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/122562.
[15] ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, “เกษียร เตชะพีระ: ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2018/11/79551.
[16] ข่าวการเมือง, ““หมอวรงค์” จัดหนัก สู้กับพวก “ชังชาติ” ใช้คนรุ่นใหม่เป็นเหยื่อ,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/politics/detail/9620000109878.
[17] ข่าวการเมือง, “มือปราบลัทธิชังชาติ “หมอวรงค์” ชี้เปรี้ยง 5 สิ่งเลวร้ายปลูกฝังประชาชน,” ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://mgronline.com/politics/detail/9620000113029.
[18] “อภิรัชต์ คงสมพงษ์ : โควิดเป็นแล้วหาย แต่ “โรคชังชาติรักษาไม่หาย”,” บีบีซีไทย, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bbc.com/thai/thailand-53660467.
[19] “ย้อนรอยม็อบ 5 เดือน 'ปลดแอก' ทะลุเพดาน,” กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910138.
[20] พิราภรณ์ วิทูรัตน์, “ชังชาติคืออะไร? วิจารณ์รัฐบาลเรียกชังชาติไหม? เมื่อนักการเมืองสองวัยมองชังชาติต่างกัน,” The Matter, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://thematter.co/social/left-right-national-critics-view/94942.
[21] ข่าวการเมือง, ““จาตุรนต์” เตือน “บิ๊กแดง” เห็นต่างไม่ใช่ “ชังชาติ” อีก 1 เดือนเกษียณทำลายตัวเองทำไม,” มติชนออนไลน์, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://www.matichon.co.th/politics/news_2295645.
[22] ทวีศักดิ์ เกิดโภคา และกาญจนพงค์ รินสินธุ์, “เกษียร เตชะพีระ: ทำไมประเทศกูถึงมี “ลัทธิชังชาติ”,” ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2018/11/79551.