ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบุคคล"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' : ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | '''ผู้เรียบเรียง''' : ฐิติกร สังข์แก้ว และ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
บรรทัดที่ 17: | บรรทัดที่ 17: | ||
'''สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้'''<ref>ดูประวัติและภูมิหลังของสมาชิกกลุ่มรัฐบุคคลใน "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558. </ref> | '''สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้'''<ref>ดูประวัติและภูมิหลังของสมาชิกกลุ่มรัฐบุคคลใน "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558. </ref> | ||
'''1. ฝ่ายทหาร''' | |||
1. พล.อ.สายหยุด เกิดผล | |||
2. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช | |||
3. พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ | |||
4. พล.ร.อ.วิเชษฐ การุณยวนิช | |||
5. พล.ร.อ.สุรวุฒิ มหารมณ์ | |||
6. พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ | |||
'''2. ฝ่ายพลเรือน''' | |||
1. ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ | |||
2. ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ | |||
3. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช | |||
4. นายสุรพงษ์ ชัยนาม | |||
==รายละเอียด : บทบาททางการเมือง== | ==รายละเอียด : บทบาททางการเมือง== |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:11, 31 พฤษภาคม 2559
ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว และ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
รัฐบุคคล (Man of the State) คือ กลุ่มบุคคลที่ประกอบไปด้วยอดีตผู้นำกองทัพ อดีตข้าราชการระดับสูง ปัญญาชน และนักวิชาการ ซึ่งรวมตัวกันประชุมถกเถียงหาทางออกให้ประเทศ ภายใต้สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างกลุ่ม[[คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (กปปส.) ซึ่งออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาลที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 ณ ร้านอาหาร ภายในราชกรีฑาสโมสร โปโลคลับ โดยมี พล.อ.สายหยุด เกิดผลและ ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรรพ เป็นแกนหลัก[1] มีบทบาทต่อเนื่องภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
สถานภาพของกลุ่มรัฐบุคคล
วัตถุประสงค์ของการรวมตัวกันภายใต้ชื่อ “รัฐบุคคล” ก็คือการร่วมกันปรึกษาหารือและแสวงหาทางออกให้ประเทศในสภาวะที่ใกล้ถึง “ทางตัน” ทั้งนี้การจัดตั้งกลุ่มรัฐบุคคลเกิดขึ้นภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ. 2556 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้ [2]
พล.อ.สายหยุด เกิดผล อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งว่า โดยทั่วไปแล้วการเมืองมี 2 ประเภท กล่าวคือ การเมืองที่เป็นเรื่องของนักการเมือง (politician) และการเมืองที่อยู่เหนือฝ่ายต่างๆ แต่ดำรงอยู่เพื่อคุณประโยชน์ของประเทศชาติ หรือรัฐบุรุษ (statesman) ซึ่งอย่างหลังต้องมาจากการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ดังนั้นคณะของตนจึงเลี่ยงมาใช้คำว่า "รัฐบุคคล" (man of the state) ซึ่งเป็นการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-partisan politics) แต่เมื่อถึงสภาวการณ์คับขันปราศจากผู้ชี้นำ จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกโดยมีนักวิชาการ อดีตข้าราชการ และอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มีแนวคิดในทางเดียวกัน คือ มีความซื่อตรงและไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง หรือเป็นพลังเงียบที่จะตัดสินได้ว่าประเทศชาติจะดำเนินไปในทิศทางใด รัฐบุคคลจึงเรียกร้องให้ประชาชนที่เป็นพลังเงียบต้องเลือกข้างทางการเมือง เพราะประเทศชาติกำลังเดินลงสู่เหว[3]
สมาชิก “รัฐบุคคล” เริ่มแรกมี ดังนี้[4]
1. ฝ่ายทหาร
1. พล.อ.สายหยุด เกิดผล
2. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช
3. พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์
4. พล.ร.อ.วิเชษฐ การุณยวนิช
5. พล.ร.อ.สุรวุฒิ มหารมณ์
6. พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์
2. ฝ่ายพลเรือน
1. ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
2. ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ
3. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
4. นายสุรพงษ์ ชัยนาม
รายละเอียด : บทบาททางการเมือง
รัฐบุคคลเห็นว่าการเมืองไทยนับตั้งแต่ปลายปี 2556 ตกอยู่ในภาวะวิกฤติอันเนื่องมาจากการที่ประชาชนและกลุ่ม กปปส. ซึ่งออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก ทั้งเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกว่าจ้าง หรือถูกเกณฑ์มา เพราะคนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีฐานะหน้าที่การงานดี รวมกับคนชนบทที่เข้าร่วมด้วย พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประเมินสถานภาพของรัฐบาลและผลกระทบต่อประเทศในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นว่า
“รัฐบาลชุดนี้ (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร—ผู้เรียบเรียง) ทำผิดพลาดหลายอย่าง หากเป็นประเทศอื่นตามมาตรฐานสากล คงแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกไปนานแล้ว ผมอยากเน้นย้ำว่า ความรับผิดชอบ ความรู้ผิดรู้ชอบเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ต้องรอให้กระบวนการทางกฎหมายมาสอบสวน เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก บ้านเมืองก็ไม่แพ้ ชนะ หากปล่อยไปเช่นนี้ รัฐบาลอยู่ได้ กลุ่ม กปปส.ที่มีกินมีใช้ก็อยู่ได้ แต่ความเสียหายคือ บ้านเมืองประเทศชาติและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่”[5]
ถึงแม้จะมีความพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่รัฐบุคคลเห็นว่าเป็นเพียง “เกมการเมือง ไม่ใช่เป็นไปตามอุดมการณ์ของรัฐธรรมนูญ” ดังนั้นจึงเสนอให้สถาบันทหารและสถาบันศาลรับผิดชอบต่อภาวะวิกฤติทางการเมืองขณะนั้น เมื่อสามารถได้อำนาจรัฐไว้ในครอบครองจึงดำเนินการเป็นองคณะมนตรี มีหน้าที่คัดเลือกคนดีขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงคืนอำนาจให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิผ่านการเลือกตั้ง
บทบาทก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
ก่อนการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลแสดงบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนโดยอาศัยข้อเรียกร้องให้คณะบุคคล เช่น องคมนตรีและกองทัพ ดำเนินการแสวงหาทางออกให้ประเทศโดยการ “ขอพึ่งพระบารมี” ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พล.อ.สายหยุดมองว่าปัญหาการเมืองไทยนับจาก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 "ประเทศเราผ่านวิกฤติมาได้ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ ก็เห็นว่า ด้วยพระบารมีจะทำให้ประเทศไทยผ่านไปได้.."[6] วันที่ 14 เมษายน 2557 รัฐบุคคลจึงจัดแถลงเรื่องเสนอให้ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เรียกผู้นำกองทัพ ผู้นำฝ่ายตุลาการและผู้นำภาคสังคมทุกส่วนร่วมแสวงหาทางออกจากวิกฤติทางการเมืองของประเทศแล้วร่างพระบรมราชโองการนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ[7] ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 รัฐบุคคลได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็นคณะผู้ทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการในการหาทางออกประเทศ[8]
ข้อเสนอของรัฐบุคคลตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ตอบโต้ว่าการเสนอให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษทำเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องผิดโดยแท้ เพราะประธานองคมนตรี หรือองคมนตรีไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ จึงแนะนำให้รัฐบุคคลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วและฟังเสียงประชาชน[9] สำหรับนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย มองว่า "พล.อ.เปรมเป็นประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ ดุจภูผาสูงตระหง่าน อยู่เหนือการเมือง สงบนิ่งท่ามกลางพวกฝนตกขี้หมูไหล ที่ไปวุ่นวายท่าน ที่สำคัญ ท่านเคยบอกว่า ผมพอแล้ว คงไม่รับข้อเสนอของพวกรัฐบุคคลที่ตั้งเองอวยกันเอง ไม่รู้จักพอ" [10]
บทบาทหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
ภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนคณะรัฐบุคคลได้เดินทางไปขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และให้กำลังใจทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ ณ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก โดยมอบดอกกุหลาบและเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับเจ้าหน้าที่ โดยนายเกรียงศักดิ์ เหล็กกล้า ผู้ประสานงานคณะรัฐบุคคล กล่าวว่า
"แม้นว่าในทางหลักการพวกเราจะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกหนทางนี้ พวกเราจึงออกมาให้กำลังใจกับทหารที่เลือกหนทางนี้เพื่อแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เพื่อต้องการอำนาจ อย่างไรก็ตาม ขอร้องว่าเมื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็รีบคืนประชาธิปไตยให้โดยเร็ว เมื่อทางการเมืองแก้ปัญหาทำการเลือกตั้งได้ประชาธิปไตยจากประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน"[11]
การเคลื่อนไหวของกล่มรัฐบุคลยังคงสืบเนื่องต่อมาภายหลังเกิดการยึดอำนาจการปกครองแล้ว ทั้งนี้ วันที่ 6 มกราคม 2558 พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประธานกลุ่มคณะรัฐบุคคล แถลงข่าวถึงข้อเสนอให้ 4 องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศภายหลังการรัฐประหาร ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นำบทเรียนและประสบการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีตมาเป็นรากฐานพิจารณามากตรการต่างๆ ดังนั้นการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรตราให้ชัดเจนถึงบทบาทพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ เพราะที่ผ่านมารัฐธรรมนูญมิได้กำหนดพระราชอำนาจไว้อย่างชัดแจ้งเพื่อให้อำนาจองค์ประมุขเข้าแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดวิกฤติความขัดแย้งรุนแรงสูงสุดจนไม่สามารถแสวงหาหนทางอื่นได้
ทั้งนี้ตามปกติแล้วพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจโดยตรง แต่อาศัยพระราชปรารภ พระราชดำริ พระบรมราชโองการ หรือพระราชอำนาจทางสังคมโดยธรรม โดยให้สถาบันกองทัพและรัฐบุรุษสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีการปกครอง หรืออาจมีหมายเรียกสั่งให้เข้าเฝ้าแทนทั้งคณะเพื่อรับพระบรมราชโองการฯ ตามหน้าที่ขององค์ประมุขชาติ[12] นอกจากนั้นยังเสนอว่าควรให้มีการนิยามความหมายของคำว่า "กบฎ" และ "รัฐประหาร" ให้เกิดความชัดเจนเพราะที่ผ่านมาคณะที่ปรารถนาดีอยากช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดหลุดจาก "ทางตัน" กลับถูกกล่าวหาว่าเป็น "กบฏ" ทั้งการรัฐประหาร ก็ยังเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน จึง "ไม่ทราบว่าจะเรียกว่ารัฐประหารได้หรือไม่"[13]
อ้างอิง
- ↑ "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557) เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
- ↑ "เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ," มติชนออนไลน์ (21 มีนาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395382033&grpid=&catid=01&subcatid=0100>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
- ↑ "โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐบุคคลขอให้กองทัพเลือกข้าง แต่ห้ามปฏิวัติ," ไทยรัฐออนไลน์, (6 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/401858>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
- ↑ ดูประวัติและภูมิหลังของสมาชิกกลุ่มรัฐบุคคลใน "ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
- ↑ เรื่องเดียวกัน
- ↑ "ปูมหลัง'คณะรัฐบุคคล'," คมชัดลึกออนไลน์, (28 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.komchadluek.net/detail/20140428/183635.html>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
- ↑ "จับตาแนวคิดคณะรัฐบบุคคล ทางออกผ่านทางตันวิกฤติชาติ?," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/creative/99481>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
- ↑ "'ประยุทธ์' เผย รับทราบข้อเสนอคณะรัฐบุคคล," เดลินิวส์, (13 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/Content/politics/237089>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
- ↑ "ซัด 'คณะรัฐบุคคล' อย่าดึง 'ป๋าเปรม' 'เด็จพี่' จวก 'องคมนตรี' แค่คิดก็ผิดแล้ว!," แนวหน้า, (15 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99485>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
- ↑ "พท.อัดรัฐบุคคลจ้องปล้นอำนาจ เชื่อ 'ป๋าเปรม' ปัดข้อเสนอแน่นอน," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99568>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
- ↑ "ตัวแทนคณะรัฐบุคคล-ชมรมสตรีฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารหน้า ทบ.คึกคัก," ผู้จัดการออนไลน์, (27 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059144>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.
- ↑ "เสนอเปิดทางกองทัพ-รัฐบุรุษรับสนองพระบรมราชโองการฯ," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/627004>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
- ↑ "รัฐบุคคล เสนอ"รัฐบุรุษ-ทหาร"เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ-ชี้ รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่ใช่ "กบฏ"," มติชนออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1420533227 >. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.
บรรณานุกรม
“ใครเป็นใครในกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of The State)," Siam Intelligence (3 กุมภาพันธ์ 2557) เข้าถึงจาก <http://www.siamintelligence.com/man-of-state-member/>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
“จับตาแนวคิดคณะรัฐบบุคคล ทางออกผ่านทางตันวิกฤติชาติ?," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/creative/99481>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
“ซัด 'คณะรัฐบุคคล' อย่าดึง 'ป๋าเปรม' 'เด็จพี่' จวก 'องคมนตรี' แค่คิดก็ผิดแล้ว!," แนวหน้า, (15 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99485>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
“ตัวแทนคณะรัฐบุคคล-ชมรมสตรีฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารหน้า ทบ.คึกคัก," ผู้จัดการออนไลน์, (27 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx? NewsID=9570000059144>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.
“'ประยุทธ์' เผย รับทราบข้อเสนอคณะรัฐบุคคล," เดลินิวส์, (13 พฤษภาคม 2557), เข้าถึงจาก <http://www.dailynews.co.th/Content/politics/237089>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
“ปูมหลัง'คณะรัฐบุคคล'," คมชัดลึกออนไลน์, (28 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.komchadluek.net/detail/20140428/183635.html>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
“เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ," มติชนออนไลน์ (21 มีนาคม 2557), เข้าถึงจาก<http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1395382033 &grpid=&catid=01&subcatid=0100>. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2558.
“โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐบุคคลขอให้กองทัพเลือกข้าง แต่ห้ามปฏิวัติ," ไทยรัฐออนไลน์, (6 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/401858>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.
“พท.อัดรัฐบุคคลจ้องปล้นอำนาจ เชื่อ 'ป๋าเปรม' ปัดข้อเสนอแน่นอน," แนวหน้า, (16 เมษายน 2557), เข้าถึงจาก <http://www.naewna.com/politic/99568>. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2558.
“รัฐบุคคล เสนอ"รัฐบุรุษ-ทหาร"เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ-ชี้ รัฐประหาร 22 พ.ค.ไม่ใช่ "กบฏ"," มติชนออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_ detail.php?newsid=1420533227>. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2558.
“เสนอเปิดทางกองทัพ-รัฐบุรุษรับสนองพระบรมราชโองการฯ," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (6 มกราคม 2558), เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/627004>. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558.