ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฎพลเอกฉลาด หิรัญศิริ"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
(ไม่แสดง 10 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 3 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' อาวุธ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | |||
---- | ---- | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | |||
'''“กบฏพลเอกฉลาด หิรัญศิริ”''' ในปี พ.ศ. 2520 คือ | '''“กบฏพลเอกฉลาด หิรัญศิริ”''' ในปี พ.ศ. 2520 คือ การพยายาม[[ยึดอำนาจ]]จาก[[รัฐบาล]]นาย[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] [[นายกรัฐมนตรี]]ซึ่งมาจากการแต่งตั้งและการสนับสนุนของ[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] เหตุการณ์เริ่มขึ้นในตอนเช้ามืดของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520<ref>ในส่วนรายละเอียดของเหตุการณ์ นอกจากอ้างอิงเป็นอย่างอื่น เรียบเรียงจาก สยามจดหมายเหตุ 2,13 (31 มีนาคม 2520): 337-347; สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: รวมพิมพ์, 2524), หน้า 1106-1135.</ref> เมื่อ[[ฉลาด หิรัญศิริ|พลเอกฉลาด หิรัญศิริ]] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งถูกให้ออกราชการตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี และกองพลทหารราบที่ 19 กองพันที่ 1, 2 และ 3 ราว 300 นาย เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี, กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า, กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมกับควบคุมตัวนายทหารสำคัญคือ [[พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ]] รองผู้บัญชาการทหารบก [[ประลอง วีระปรีย์|พลเอก ประลอง วีระปรีย์]] เสนาธิการทหารบก และ[[อรุณ ทวาทศิน|พลตรี อรุณ ทวาทศิน]] ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ฝ่ายผู้ก่อการพยายามเข้าควบคุมตัว[[เสริม ณ นคร|พลเอก เสริม ณ นคร]] ผู้บัญชาการทหารบกด้วย แต่พลเอกเสริมสามารถหนีออกจากบ้านพักไปได้<ref>พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: ชมรมร่วมสร้างสรรค์, 2545), หน้า 126-127. </ref> | ||
==เหตุการณ์กบฎ== | ==เหตุการณ์กบฎ== | ||
เวลา 09.15 น. กลุ่มผู้ก่อการออกประกาศในนามคณะปฏิวัติ อ้างชื่อพลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ เป็นหัวหน้า ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลโดย[[พลเรือเอก สงัด ชลออยู่]] | เวลา 09.15 น. กลุ่มผู้ก่อการออกประกาศในนามคณะปฏิวัติ อ้างชื่อพลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ เป็นหัวหน้า ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลโดย[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอก สงัด ชลออยู่]] [[รัฐมนตรีว่าการ]][[กระทรวงกลาโหม]] ได้ออกประกาศแต่งตั้งพลเอก เสริม ณ นคร เป็นผู้อำนวยการรักษาพระนคร เพื่อต่อต้าน[[การปฏิวัติ]] | ||
เวลา 10.15 น. ฝ่ายรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ชี้แจงสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อประชาชน โดยยืนยันว่ากำลังทหาร 3 เหล่าทัพและตำรวจยังเป็นของรัฐบาล พร้อมชี้แจงว่า[[ประเสริฐ ธรรมศิริ|พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ]]ถูกบีบบังคับและแอบอ้างชื่อ | |||
สถานการณ์ของกลุ่มผู้ก่อการแย่ลงเป็นลำดับ เมื่อมีการใช้อาวุธปืนสังหาร [[อรุณ ทวาทศิน|พลตรี อรุณ ทวาทศิน]] ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่โดยอ้างว่าพลตรีอรุณเข้าแย่งปืน<ref>เรื่องเดียวกัน หน้า 129-130.</ref> และในช่วงสายก็เป็นที่แน่ชัดว่านอกจากกำลังทหารที่นำมา ไม่ปรากฏกองกำลังในกรุงเทพ ฯ เข้าร่วมก่อการด้วย<ref>เรื่องเดียวกัน หน้า 127.</ref> ฐานอำนวยการปฏิวัติที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดีก็เริ่มถูกปิดล้อมจากรถถังของฝ่ายรัฐบาล พอถึงเวลา 13.30 น. การออกอากาศของกลุ่มผู้ก่อการก็ต้องยุติลงเมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยถูกตัดกระแสไฟฟ้า | |||
ในขณะที่กลุ่มผู้ก่อการตกอยู่ในฝ่ายเสียเปรียบ และเริ่มมีทหารบางส่วนยอมวางอาวุธและมอบตัวกับฝ่ายรัฐบาล [[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วย ได้เข้าเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการจนได้ข้อยุติ<ref>เรื่องเดียวกัน หน้า 147-151; กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545), หน้า 37-38. </ref> เวลา 20.30 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องการยินยอมให้บุคคลชั้นหัวหน้าของกลุ่มผู้ก่อการ 5 คนคือ [[ฉลาด หิรัญศิริ|พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ]] [[สนั่น ขจรประศาสน์|พันโท สนั่น ขจรประศาสน์]] [[บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์|พันตรี บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์]] [[วิศิษฐ์ ควรประดิษฐ์|พันตรี วิศิษฐ์ ควรประดิษฐ์]] และ[[อัศวิน หิรัญศิริ|พันตรี อัศวิน หิรัญศิริ]] บุตรชายของพลเอกฉลาดเดินทางออกนอกประเทศได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวพลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ กับพลเอกประลอง วีระปรีย์ อย่างไรก็ตาม ในเวลา 21.00 น. ขณะที่ผู้ก่อการทั้ง 5 เดินทางถึงสนามบินดอนเมืองและได้ขึ้นไปนั่งรอบนเครื่องบิน เพื่อเตรียมจะออกเดินทางไปประเทศไต้หวัน ทั้งหมดก็ถูกนำตัวลงมาและถูกดำเนินคดีในข้อหา[[กบฏ]] โดยรัฐบาลให้เหตุผลในเวลาต่อมาว่าเพราะรัฐบาลไต้หวันไม่อนุญาตให้ผู้ก่อการลี้ภัย และทางไทยไม่คิดส่งผู้ก่อการไปประเทศใดอีก การดำเนินคดีนี้เป็นไปอย่างเร่งรัดและเฉียบขาด ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 รัฐบาลได้ใช้อำนาจตาม[[รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519]]มาตรา 21 ตัดสินลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ มีคำสั่งให้ถอดยศ และประหารชีวิตนายฉลาด หิรัญศิริ และจำคุกตลอดชีวิตผู้ก่อการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพิ่มอีก 8 คน รวมเป็น 12 คน นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับโทษลดหลั่นลงมาอีก 11 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีพลเรือนที่พลเอกฉลาดชักชวนมา อาทิ นาย[[พิชัย วาสนาส่ง]] นาย[[สมพจน์ ปิยะอุย]] นาย[[วีระ มุสิกพงศ์]] ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2520<ref>ดู “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520” </ref> | |||
==สาเหตุของการก่อการ== | ==สาเหตุของการก่อการ== | ||
สำหรับสาเหตุของการปฏิวัติ น่าจะมาจากการที่พลเอกฉลาดสูญเสียอำนาจและต้องการช่วงชิงกลับคืนมา โดยก่อนหน้านี้[[ฉลาด หิรัญศิริ|พลเอกฉลาด]] เมื่อครั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้รับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช]] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [[ประมาณ อดิเรกสาร|พลตรีประมาณ อดิเรกสาร]]<ref>สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1004; เสถียร จันทิมาธร, เส้นทางสู่อำนาจมนูญ รูปขจร อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงาเปรม ติณสูลานนท์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549), หน้า 29-31.</ref> ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาทหารบกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เพื่อรอขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อจากพลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนั้น โดยหวังจะให้คานอำนาจกับกลุ่ม[[กฤษณ์ สีวะรา|พลเอกกฤษณ์ สีวะรา]]<ref>ชีวิต สวนสุคนธ์, พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ชีวิตและการต่อสู้ทางการเมือง (กรุงเทพฯ: คำชระศักดิ์, 2525), หน้า 49.</ref> อย่างไรก็ตามการย้ายครั้งนี้ถือว่าข้ามลำดับอาวุโส (พลเอกฉลาดมีอายุราชการเหลืออยู่อีกถึง 7 ปี) และข้ามขั้นตอนเพราะเรื่องไม่ได้ผ่านจากผู้บัญชาการทหารบก แถมยังเป็นคำสั่งโยกย้ายนอกฤดูกาลจาก[[รัฐบาลรักษาการ]]<ref>สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1000-1004. </ref> (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ประกาศยุบสภาไปตั้งแต่เดือนมกราคม ปีเดียวกัน) หลังเปลี่ยนรัฐบาล กลุ่มพลเอกกฤษณ์ขึ้นมามีอำนาจ พลเอกฉลาดจึงถูกคำสั่งย้ายในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ให้ไปประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด และได้รับคำสั่งย้ายอีกครั้งในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ให้ไปช่วยราชการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<ref>วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และสมชาย ฤกษ์ดี, กอดคอเข้าคุก (กรุงเทพฯ: ปิยะสาส์น, ม.ป.ป.), หน้า 12.</ref> ช่วงนี้เองที่ข่าวลือว่าพลเอกฉลาดจะทำการปฏิวัติเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า<ref>สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1003-1005.</ref> แม้การที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของพลเรือเอกสงัด เข้า[[6 ตุลาคม 2519|ยึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519]] เวลา 18.00 น. ก็เชื่อกันว่าเป็นการยึดอำนาจเพื่อตัดหน้าพลเอกฉลาดที่จะกระทำการในเวลา 22.00น.<ref>วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และสมชาย ฤกษ์ดี, กอดคอเข้าคุก, หน้า 38-39; กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” หน้า 33; ยศ สันตสมบัติ, อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: น้ำไท, 2533) หน้า 124. ในขณะที่ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นเล่าว่า พลเรือเอกสงัดบอกกับตนว่าอีกฝ่ายจะทำการปฏิวัติในเวลา 04.00น. ของวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2519 ดู ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต (ม.ป.ท.,ม.ป.ป.) หน้า 129. </ref> ผลก็คือพลเอกฉลาดถูกให้ออกจากราชการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ด้วยเหตุผลว่าไม่ยอมไปรายงานตัวกับทางคณะปฏิรูปการปกครอง<ref>พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 102. </ref> พลเอกฉลาดหลบภัยการเมืองด้วยการบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ขณะที่เป็นพระก็ได้ติดต่อกับทหารระดับต่างๆ รวมถึงพลเรือนเพื่อเตรียมการปฏิวัติ<ref>พลเอกฉลาด หรือ “พระศิริหิรัญโญ” เคยนัดพบพันโทพัลลภ ปิ่นมณี (ยศในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพัน ร.919 ที่วัดห้วยน้ำตื้น จังหวัดกาญจนบุรีเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมการปฏิวัติ แต่พันโทพัลลภปฏิเสธ ดู พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี, ผมผิดหรือ?ที่ยึดกรือเซะ! (กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547), หน้า 190-191. </ref> จนสึกออกมาทำกระทำการในเช้าวันดังกล่าว | |||
==ความสำคัญของเหตุการณ์== | |||
แม้จะเป็นการปฏิวัติที่ล้มเหลว แต่เหตุการณ์นี้มีความสำคัญตรงที่มีการลงโทษประหารชีวิตผู้ก่อการซึ่งเป็นนายทหารยศถึงพลเอก ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากการที่พลเอกฉลาดสังหารพลตรีอรุณ พลเอกฉลาดไม่มีกำลังทหารของตนเอง โดยเฉพาะกำลังในกรุงเทพฯ การเข้าควบคุมตัวนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นนายทหารที่คุมกำลังจึงน่าจะหวังผลของการร่วมมือ แม้ว่าจะเป็นในลักษณะของการ '''“ตกกระไดพลอยโจน”''' ก็ตาม (กรณีนี้ผู้ก่อการพยายามจะเข้าคุมตัวพลเอกเสริม ผู้บัญชาการทหารบกด้วย ซึ่งคงหวังจะใช้คานกับรัฐบาลโดยเฉพาะกลุ่มพลเรือเอกสงัด แต่ไม่สำเร็จ) แต่เมื่อพลตรีอรุณ ในฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็คงทำให้ '''“ผิดแผน”''' ซึ่งลงเอยด้วยการสังหารพลตรีอรุณในที่สุด<ref>หนังสือสารคดีประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า “เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 มีนาคม พล.ต.อรุน ทวาทสิน (sic) ได้ทราบว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ เคลื่อนกำลังจากจังหวัดกาญจนบุรีรีบรุดเข้ามาในกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ จะเข้ามายึดกองบัญชาการกองพลที่ 1 พล.ต.อรุณ จึงได้ขับรถกาแล๊นท์ซิกม่า 2000 สีเขียว จากบ้านซอยอนามัย ถนนสุขสวัสดิ์ บางประกอก เมื่อเวลาประมาณตี 4 พอไปถึงกองพลที่ 1 ก็ได้รับรายงานข่าวว่า พลเอกประเสริฐ ธรรมศิริกับพลเอกประลอง วีระปรีย์ ถูกจับตัวไปสวนรื่นฯ พล.ต.อรุณ ก็เลยขึ้นรถตามไปที่นั่น พอลงจากรถ พล.ต.อรุณ ก็ถูกทหารเข้ามาล็อกแขนทั้งสองข้าง คุมตัวเอาไว้พาเข้าไปในห้องประชุม...หลังจากนั้นก็ได้มีการตกลงกันที่จะให้พล.ต.อรุณ ร่วมมือในการปฏิวัติครั้งนี้ด้วย โดยจะให้พล.ต.อรุณ ออกคำสั่งเคลื่อนกำลังทุกจุดไปกรุงเทพฯ แต่พล.ต.อรุณ ไม่ยอมกระทำตาม ขัดขืน ดังนั้นพลตรีอรุณ จึงโดนยิงด้วยปืนเอ็ม 16...” ในเล่มเดียวกันยังมีคำบอกเล่าของนางสาวลานทิพย์ ทวาทสิน (sic) ลูกสาวพลตรีอรุณว่าได้ยินโทรศัพท์ดังขึ้นเมื่อตอนตี 4 แจ้งมาว่าที่สวนรื่นมีทหารถูกจับ ดังนั้นพ่อของเธอจึงรีบรุดไปสังเกตเหตุการณ์ ดู สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1114-1116. | แม้จะเป็นการปฏิวัติที่ล้มเหลว แต่เหตุการณ์นี้มีความสำคัญตรงที่มีการลงโทษประหารชีวิตผู้ก่อการซึ่งเป็นนายทหารยศถึงพลเอก ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากการที่พลเอกฉลาดสังหารพลตรีอรุณ พลเอกฉลาดไม่มีกำลังทหารของตนเอง โดยเฉพาะกำลังในกรุงเทพฯ การเข้าควบคุมตัวนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นนายทหารที่คุมกำลังจึงน่าจะหวังผลของการร่วมมือ แม้ว่าจะเป็นในลักษณะของการ '''“ตกกระไดพลอยโจน”''' ก็ตาม (กรณีนี้ผู้ก่อการพยายามจะเข้าคุมตัวพลเอกเสริม ผู้บัญชาการทหารบกด้วย ซึ่งคงหวังจะใช้คานกับรัฐบาลโดยเฉพาะกลุ่มพลเรือเอกสงัด แต่ไม่สำเร็จ) แต่เมื่อพลตรีอรุณ ในฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็คงทำให้ '''“ผิดแผน”''' ซึ่งลงเอยด้วยการสังหารพลตรีอรุณในที่สุด<ref>หนังสือสารคดีประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า “เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 มีนาคม พล.ต.อรุน ทวาทสิน (sic) ได้ทราบว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ เคลื่อนกำลังจากจังหวัดกาญจนบุรีรีบรุดเข้ามาในกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ จะเข้ามายึดกองบัญชาการกองพลที่ 1 พล.ต.อรุณ จึงได้ขับรถกาแล๊นท์ซิกม่า 2000 สีเขียว จากบ้านซอยอนามัย ถนนสุขสวัสดิ์ บางประกอก เมื่อเวลาประมาณตี 4 พอไปถึงกองพลที่ 1 ก็ได้รับรายงานข่าวว่า พลเอกประเสริฐ ธรรมศิริกับพลเอกประลอง วีระปรีย์ ถูกจับตัวไปสวนรื่นฯ พล.ต.อรุณ ก็เลยขึ้นรถตามไปที่นั่น พอลงจากรถ พล.ต.อรุณ ก็ถูกทหารเข้ามาล็อกแขนทั้งสองข้าง คุมตัวเอาไว้พาเข้าไปในห้องประชุม...หลังจากนั้นก็ได้มีการตกลงกันที่จะให้พล.ต.อรุณ ร่วมมือในการปฏิวัติครั้งนี้ด้วย โดยจะให้พล.ต.อรุณ ออกคำสั่งเคลื่อนกำลังทุกจุดไปกรุงเทพฯ แต่พล.ต.อรุณ ไม่ยอมกระทำตาม ขัดขืน ดังนั้นพลตรีอรุณ จึงโดนยิงด้วยปืนเอ็ม 16...” ในเล่มเดียวกันยังมีคำบอกเล่าของนางสาวลานทิพย์ ทวาทสิน (sic) ลูกสาวพลตรีอรุณว่าได้ยินโทรศัพท์ดังขึ้นเมื่อตอนตี 4 แจ้งมาว่าที่สวนรื่นมีทหารถูกจับ ดังนั้นพ่อของเธอจึงรีบรุดไปสังเกตเหตุการณ์ ดู สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1114-1116. | ||
ในขณะที่ข้อมูลยืนยันตรงกันว่าพลตรีอรุณเป็นฝ่ายเดินทางออกจากบ้านไปเอง ไม่ได้ถูกทหารมาควบคุมตัวที่บ้านเหมือนที่พยายามทำกับพลเอกเสริม แต่กรณีถูกควบคุมตัว และเมื่อขัดขืนไม่ให้ความร่วมมือก็ถูกสังหารนั้นพลเอกฉลาดบอกกับสุธรรม แสงประทุม นักโทษคดีการเมืองร่วมคุกเดียวกันว่า เขายิงพลตรีอรุณด้วยตนเองเพราะ “ร่วมกันวางแผน ร่วมกันคิดมาทุกฉากทุกตอน แต่จะมาขัดแย้งกันเรื่องคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี” โดยฝ่ายหนึ่งต้องการนายประภาศน์ อวยชัย ประธานศาลฎีกา อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยระหว่างที่โต้เถียงกันอยู่นั้นพลตรีอรุณได้กระโดดเข้าแย่งปืนจากนายทหาร พลเอกฉลาดจึงยิงด้วยปืนพก ดู สุธรรม แสงประทุม, ผมผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาได้อย่างไร (กรุงเทพฯ: ดาวหาง, 2522), หน้า 107-108. ในขณะที่พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ผู้อยู่ในเหตุการณ์อีกคนหนึ่งเล่าว่า เห็นพลเอกฉลาดนั่งอยู่ที่หัวโต๊ะ พลตรีอรุณนั่งอยู่ข้างๆ โดยมีร้อยโทชูชีพ ปานวิเชียร รักษาการณ์อยู่ข้างหลัง พลตรีอรุณลุกไปชงกาแฟแล้วยื่นให้พลเอกฉลาดที่รับแล้ววางไว้บนโต๊ะโดยที่ยังไม่ทันจิบ ด้วยว่าเดินไปดูเหตุการณ์ที่หน้าต่าง ระหว่างนั้นพลตรีอรุณก็เดินกลับมายังที่นั่งของตน และโดยที่ไม่มีใครคาดคิดพลตรีอรุณเข้าแย่งปืนเอ็ม 16 จากร้อยโทชูชีพ เมื่อเกิดการยื้อยุดกัน พลเอกฉลาดจึงต้องใช้ปืนพกสังหารพลตรีอรุณ ดู พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 129-130. ในขณะที่เจตนาเข้าร่วม รวมถึงช่วงนาทีสังหารพลตรีอรุณสามารถถกเถียงกันได้ เพราะข้อมูลมาจากฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน (กรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่าพลเอกฉลาดน่าจะหวังผลให้พลตรีอรุณเข้าร่วมแบบ “ตกกระไดพลอยโจน” อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นมากกว่า เพราะดูไม่มีเหตุผลใดที่พลตรีอรุณซึ่งเป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วย จะร่วมคิดร่วมวางแผนก่อการ) แต่การขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด คงเป็นที่ประจักษ์ชัดจึงต้องลงเอยด้วยการสังหารพลตรีอรุณในที่สุด</ref> | |||
การฆ่าทหารชั้นผู้ใหญ่ด้วยกันนี้ทำให้การ '''“หักหลัง”''' จากที่จะให้ลี้ภัยเป็นการตัดสินคดีอย่างรวดเร็วและรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต ไม่ได้รับการติเตียนมากนัก ดังคำพูดของพลเรือเอกสงัด นายทหารกลุ่มพลเอกกฤษณ์ที่แย่งชิงอำนาจกันมากับพลเอกฉลาดว่าต้องดำเนินคดีในข้อหา '''“กบฏและฆ่าคนตาย”'''<ref>สยามจดหมายเหตุ 2,13 (31 มีนาคม 2520): 346.</ref> และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่พลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้านี้เองที่คัดค้านนายธานินทร์ไม่ให้ดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติแต่ให้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตัดสินลงโทษตามมาตรา 21 เลย (จากถ้อยคำของนายธานินทร์)<ref>ยศ สันตสมบัติ, อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: น้ำไท, 2533) หน้า 145-146. </ref> อย่างไรก็ตามมีผู้วิเคราะห์ว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ซึ่งเป็นผู้เจรจาและถูกหาว่าหลอกพลเอกฉลาดนั้น ไม่มีความตั้งใจที่จะเอาโทษรุนแรงกับกลุ่มผู้ก่อการ<ref>กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” หน้า 37-40.</ref> และในกลุ่มทหารก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยที่จะตัดสินลงโทษทหารด้วยกันหนักขนาดนั้น เมื่อมีการปฏิวัติล้มรัฐบาลในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 ทหารกลุ่ม “[[ยังเติร์ก]]” ที่มีส่วนในการยึดอำนาจครั้งนี้ จึงได้สนับสนุนให้รัฐบาลที่มีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดที่เหลือ<ref>เรื่องเดียวกัน หน้า 40-41; พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 203; พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี, ผมผิดหรือ?ที่ยึดกรือเซะ! หน้า 197-198. </ref> | |||
“ความฝังใจ” เรื่องการลงโทษประหารชีวิตนายทหาร ดังในกรณีพลเอกฉลาด คงมีมากพอควร ทำให้การก่อการที่ล้มเหลวในครั้งต่อๆมา ผู้ก่อการถ้าไม่ได้รับโอกาสให้ลี้ภัยไปต่างประเทศก็ได้รับการนิรโทษกรรม ดังเช่นกรณี “[[กบฏ 9 กันยายน 2528|กบฏ 9 กันยายน พ.ศ.2528]]” แม้ว่า[[พลตรี มนูญกฤต รูปขจร|พันเอกมนูญ รูปขจร]] (ปัจจุบันพลตรีมนูญกฤต รูปขจร) ผู้เคยทำการ[[ปฏิวัติ]]ล้มเหลวและได้รับการนิรโทษกรรมมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ “[[กบฏเมษาฮาวาย]]” จะนำกำลังรถถังเข้าปะทะกับกำลังพลของรัฐบาลในกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ จนมีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนถึงทรัพย์สินราชการเสียหาย แต่พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ผู้เข้าเจรจากับฝ่ายผู้ก่อการและได้ให้พันเอกมนูญเดินทางออกนอกประเทศไปได้ ก็อ้างว่าตน '''“ได้รับการติดต่อจากทักษิณว่า อย่าเป็นอย่างกรณีเสธ.ฉลาด” (หมายถึงทางพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์)'''<ref>“ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี’กบฏ 9 กันยาฯ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528):12. </ref> ในเวลาต่อมาผู้ต้องหาคดีนี้ทั้งหมดได้รับการ[[นิรโทษกรรม]]ในเดือนกันยายน พ.ศ.2531 | |||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 36: | ||
==ที่มา== | |||
ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี ’กบฏ 9 กันยาฯ’. '''มติชนสุดสัปดาห์''' 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 10-12. | ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี ’กบฏ 9 กันยาฯ’. '''มติชนสุดสัปดาห์''' 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 10-12. | ||
บรรทัดที่ 86: | บรรทัดที่ 81: | ||
*[[กบฎบวรเดช]] | *[[กบฎบวรเดช]] | ||
*[[ | *[[กบฎแมนฮัตตัน]] | ||
*[[กบฏเมษาฮาวาย]] | |||
[[ | [[หมวดหมู่:กบฏ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:23, 20 เมษายน 2554
ผู้เรียบเรียง อาวุธ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
“กบฏพลเอกฉลาด หิรัญศิริ” ในปี พ.ศ. 2520 คือ การพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งและการสนับสนุนของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เหตุการณ์เริ่มขึ้นในตอนเช้ามืดของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520[1] เมื่อพลเอกฉลาด หิรัญศิริ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งถูกให้ออกราชการตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี และกองพลทหารราบที่ 19 กองพันที่ 1, 2 และ 3 ราว 300 นาย เข้ายึดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี, กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า, กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมกับควบคุมตัวนายทหารสำคัญคือ พลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริ รองผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ประลอง วีระปรีย์ เสนาธิการทหารบก และพลตรี อรุณ ทวาทศิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ฝ่ายผู้ก่อการพยายามเข้าควบคุมตัวพลเอก เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบกด้วย แต่พลเอกเสริมสามารถหนีออกจากบ้านพักไปได้[2]
เหตุการณ์กบฎ
เวลา 09.15 น. กลุ่มผู้ก่อการออกประกาศในนามคณะปฏิวัติ อ้างชื่อพลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ เป็นหัวหน้า ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกประกาศแต่งตั้งพลเอก เสริม ณ นคร เป็นผู้อำนวยการรักษาพระนคร เพื่อต่อต้านการปฏิวัติ
เวลา 10.15 น. ฝ่ายรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ชี้แจงสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อประชาชน โดยยืนยันว่ากำลังทหาร 3 เหล่าทัพและตำรวจยังเป็นของรัฐบาล พร้อมชี้แจงว่าพลเอก ประเสริฐ ธรรมศิริถูกบีบบังคับและแอบอ้างชื่อ
สถานการณ์ของกลุ่มผู้ก่อการแย่ลงเป็นลำดับ เมื่อมีการใช้อาวุธปืนสังหาร พลตรี อรุณ ทวาทศิน ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่โดยอ้างว่าพลตรีอรุณเข้าแย่งปืน[3] และในช่วงสายก็เป็นที่แน่ชัดว่านอกจากกำลังทหารที่นำมา ไม่ปรากฏกองกำลังในกรุงเทพ ฯ เข้าร่วมก่อการด้วย[4] ฐานอำนวยการปฏิวัติที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดีก็เริ่มถูกปิดล้อมจากรถถังของฝ่ายรัฐบาล พอถึงเวลา 13.30 น. การออกอากาศของกลุ่มผู้ก่อการก็ต้องยุติลงเมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยถูกตัดกระแสไฟฟ้า
ในขณะที่กลุ่มผู้ก่อการตกอยู่ในฝ่ายเสียเปรียบ และเริ่มมีทหารบางส่วนยอมวางอาวุธและมอบตัวกับฝ่ายรัฐบาล พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วย ได้เข้าเจรจากับกลุ่มผู้ก่อการจนได้ข้อยุติ[5] เวลา 20.30 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องการยินยอมให้บุคคลชั้นหัวหน้าของกลุ่มผู้ก่อการ 5 คนคือ พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ พันโท สนั่น ขจรประศาสน์ พันตรี บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ พันตรี วิศิษฐ์ ควรประดิษฐ์ และพันตรี อัศวิน หิรัญศิริ บุตรชายของพลเอกฉลาดเดินทางออกนอกประเทศได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวพลเอกประเสริฐ ธรรมศิริ กับพลเอกประลอง วีระปรีย์ อย่างไรก็ตาม ในเวลา 21.00 น. ขณะที่ผู้ก่อการทั้ง 5 เดินทางถึงสนามบินดอนเมืองและได้ขึ้นไปนั่งรอบนเครื่องบิน เพื่อเตรียมจะออกเดินทางไปประเทศไต้หวัน ทั้งหมดก็ถูกนำตัวลงมาและถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลให้เหตุผลในเวลาต่อมาว่าเพราะรัฐบาลไต้หวันไม่อนุญาตให้ผู้ก่อการลี้ภัย และทางไทยไม่คิดส่งผู้ก่อการไปประเทศใดอีก การดำเนินคดีนี้เป็นไปอย่างเร่งรัดและเฉียบขาด ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 รัฐบาลได้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519มาตรา 21 ตัดสินลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ มีคำสั่งให้ถอดยศ และประหารชีวิตนายฉลาด หิรัญศิริ และจำคุกตลอดชีวิตผู้ก่อการที่เหลืออีก 4 คน ซึ่งต่อมาได้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพิ่มอีก 8 คน รวมเป็น 12 คน นอกจากนั้นยังมีผู้ได้รับโทษลดหลั่นลงมาอีก 11 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีพลเรือนที่พลเอกฉลาดชักชวนมา อาทิ นายพิชัย วาสนาส่ง นายสมพจน์ ปิยะอุย นายวีระ มุสิกพงศ์ ภายหลังทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2520[6]
สาเหตุของการก่อการ
สำหรับสาเหตุของการปฏิวัติ น่าจะมาจากการที่พลเอกฉลาดสูญเสียอำนาจและต้องการช่วงชิงกลับคืนมา โดยก่อนหน้านี้พลเอกฉลาด เมื่อครั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้รับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลตรีประมาณ อดิเรกสาร[7] ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาทหารบกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เพื่อรอขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อจากพลเอกบุญชัย บำรุงพงศ์ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนั้น โดยหวังจะให้คานอำนาจกับกลุ่มพลเอกกฤษณ์ สีวะรา[8] อย่างไรก็ตามการย้ายครั้งนี้ถือว่าข้ามลำดับอาวุโส (พลเอกฉลาดมีอายุราชการเหลืออยู่อีกถึง 7 ปี) และข้ามขั้นตอนเพราะเรื่องไม่ได้ผ่านจากผู้บัญชาการทหารบก แถมยังเป็นคำสั่งโยกย้ายนอกฤดูกาลจากรัฐบาลรักษาการ[9] (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ประกาศยุบสภาไปตั้งแต่เดือนมกราคม ปีเดียวกัน) หลังเปลี่ยนรัฐบาล กลุ่มพลเอกกฤษณ์ขึ้นมามีอำนาจ พลเอกฉลาดจึงถูกคำสั่งย้ายในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ให้ไปประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด และได้รับคำสั่งย้ายอีกครั้งในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ให้ไปช่วยราชการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[10] ช่วงนี้เองที่ข่าวลือว่าพลเอกฉลาดจะทำการปฏิวัติเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า[11] แม้การที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของพลเรือเอกสงัด เข้ายึดอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เวลา 18.00 น. ก็เชื่อกันว่าเป็นการยึดอำนาจเพื่อตัดหน้าพลเอกฉลาดที่จะกระทำการในเวลา 22.00น.[12] ผลก็คือพลเอกฉลาดถูกให้ออกจากราชการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ด้วยเหตุผลว่าไม่ยอมไปรายงานตัวกับทางคณะปฏิรูปการปกครอง[13] พลเอกฉลาดหลบภัยการเมืองด้วยการบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ขณะที่เป็นพระก็ได้ติดต่อกับทหารระดับต่างๆ รวมถึงพลเรือนเพื่อเตรียมการปฏิวัติ[14] จนสึกออกมาทำกระทำการในเช้าวันดังกล่าว
ความสำคัญของเหตุการณ์
แม้จะเป็นการปฏิวัติที่ล้มเหลว แต่เหตุการณ์นี้มีความสำคัญตรงที่มีการลงโทษประหารชีวิตผู้ก่อการซึ่งเป็นนายทหารยศถึงพลเอก ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากการที่พลเอกฉลาดสังหารพลตรีอรุณ พลเอกฉลาดไม่มีกำลังทหารของตนเอง โดยเฉพาะกำลังในกรุงเทพฯ การเข้าควบคุมตัวนายทหารชั้นผู้ใหญ่และเป็นนายทหารที่คุมกำลังจึงน่าจะหวังผลของการร่วมมือ แม้ว่าจะเป็นในลักษณะของการ “ตกกระไดพลอยโจน” ก็ตาม (กรณีนี้ผู้ก่อการพยายามจะเข้าคุมตัวพลเอกเสริม ผู้บัญชาการทหารบกด้วย ซึ่งคงหวังจะใช้คานกับรัฐบาลโดยเฉพาะกลุ่มพลเรือเอกสงัด แต่ไม่สำเร็จ) แต่เมื่อพลตรีอรุณ ในฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือไม่ว่าจะในลักษณะใด ก็คงทำให้ “ผิดแผน” ซึ่งลงเอยด้วยการสังหารพลตรีอรุณในที่สุด[15]
การฆ่าทหารชั้นผู้ใหญ่ด้วยกันนี้ทำให้การ “หักหลัง” จากที่จะให้ลี้ภัยเป็นการตัดสินคดีอย่างรวดเร็วและรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต ไม่ได้รับการติเตียนมากนัก ดังคำพูดของพลเรือเอกสงัด นายทหารกลุ่มพลเอกกฤษณ์ที่แย่งชิงอำนาจกันมากับพลเอกฉลาดว่าต้องดำเนินคดีในข้อหา “กบฏและฆ่าคนตาย”[16] และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่พลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้านี้เองที่คัดค้านนายธานินทร์ไม่ให้ดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรมปกติแต่ให้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตัดสินลงโทษตามมาตรา 21 เลย (จากถ้อยคำของนายธานินทร์)[17] อย่างไรก็ตามมีผู้วิเคราะห์ว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ซึ่งเป็นผู้เจรจาและถูกหาว่าหลอกพลเอกฉลาดนั้น ไม่มีความตั้งใจที่จะเอาโทษรุนแรงกับกลุ่มผู้ก่อการ[18] และในกลุ่มทหารก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยที่จะตัดสินลงโทษทหารด้วยกันหนักขนาดนั้น เมื่อมีการปฏิวัติล้มรัฐบาลในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 ทหารกลุ่ม “ยังเติร์ก” ที่มีส่วนในการยึดอำนาจครั้งนี้ จึงได้สนับสนุนให้รัฐบาลที่มีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดที่เหลือ[19]
“ความฝังใจ” เรื่องการลงโทษประหารชีวิตนายทหาร ดังในกรณีพลเอกฉลาด คงมีมากพอควร ทำให้การก่อการที่ล้มเหลวในครั้งต่อๆมา ผู้ก่อการถ้าไม่ได้รับโอกาสให้ลี้ภัยไปต่างประเทศก็ได้รับการนิรโทษกรรม ดังเช่นกรณี “กบฏ 9 กันยายน พ.ศ.2528” แม้ว่าพันเอกมนูญ รูปขจร (ปัจจุบันพลตรีมนูญกฤต รูปขจร) ผู้เคยทำการปฏิวัติล้มเหลวและได้รับการนิรโทษกรรมมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ “กบฏเมษาฮาวาย” จะนำกำลังรถถังเข้าปะทะกับกำลังพลของรัฐบาลในกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ จนมีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนถึงทรัพย์สินราชการเสียหาย แต่พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ผู้เข้าเจรจากับฝ่ายผู้ก่อการและได้ให้พันเอกมนูญเดินทางออกนอกประเทศไปได้ ก็อ้างว่าตน “ได้รับการติดต่อจากทักษิณว่า อย่าเป็นอย่างกรณีเสธ.ฉลาด” (หมายถึงทางพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์)[20] ในเวลาต่อมาผู้ต้องหาคดีนี้ทั้งหมดได้รับการนิรโทษกรรมในเดือนกันยายน พ.ศ.2531
อ้างอิง
- ↑ ในส่วนรายละเอียดของเหตุการณ์ นอกจากอ้างอิงเป็นอย่างอื่น เรียบเรียงจาก สยามจดหมายเหตุ 2,13 (31 มีนาคม 2520): 337-347; สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: รวมพิมพ์, 2524), หน้า 1106-1135.
- ↑ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: ชมรมร่วมสร้างสรรค์, 2545), หน้า 126-127.
- ↑ เรื่องเดียวกัน หน้า 129-130.
- ↑ เรื่องเดียวกัน หน้า 127.
- ↑ เรื่องเดียวกัน หน้า 147-151; กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545), หน้า 37-38.
- ↑ ดู “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520”
- ↑ สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1004; เสถียร จันทิมาธร, เส้นทางสู่อำนาจมนูญ รูปขจร อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงาเปรม ติณสูลานนท์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549), หน้า 29-31.
- ↑ ชีวิต สวนสุคนธ์, พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ชีวิตและการต่อสู้ทางการเมือง (กรุงเทพฯ: คำชระศักดิ์, 2525), หน้า 49.
- ↑ สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1000-1004.
- ↑ วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และสมชาย ฤกษ์ดี, กอดคอเข้าคุก (กรุงเทพฯ: ปิยะสาส์น, ม.ป.ป.), หน้า 12.
- ↑ สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1003-1005.
- ↑ วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และสมชาย ฤกษ์ดี, กอดคอเข้าคุก, หน้า 38-39; กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” หน้า 33; ยศ สันตสมบัติ, อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: น้ำไท, 2533) หน้า 124. ในขณะที่ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นเล่าว่า พลเรือเอกสงัดบอกกับตนว่าอีกฝ่ายจะทำการปฏิวัติในเวลา 04.00น. ของวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2519 ดู ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต (ม.ป.ท.,ม.ป.ป.) หน้า 129.
- ↑ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 102.
- ↑ พลเอกฉลาด หรือ “พระศิริหิรัญโญ” เคยนัดพบพันโทพัลลภ ปิ่นมณี (ยศในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพัน ร.919 ที่วัดห้วยน้ำตื้น จังหวัดกาญจนบุรีเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมการปฏิวัติ แต่พันโทพัลลภปฏิเสธ ดู พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี, ผมผิดหรือ?ที่ยึดกรือเซะ! (กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547), หน้า 190-191.
- ↑ หนังสือสารคดีประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า “เมื่อตอนเช้าวันที่ 26 มีนาคม พล.ต.อรุน ทวาทสิน (sic) ได้ทราบว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ เคลื่อนกำลังจากจังหวัดกาญจนบุรีรีบรุดเข้ามาในกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยว่า พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ จะเข้ามายึดกองบัญชาการกองพลที่ 1 พล.ต.อรุณ จึงได้ขับรถกาแล๊นท์ซิกม่า 2000 สีเขียว จากบ้านซอยอนามัย ถนนสุขสวัสดิ์ บางประกอก เมื่อเวลาประมาณตี 4 พอไปถึงกองพลที่ 1 ก็ได้รับรายงานข่าวว่า พลเอกประเสริฐ ธรรมศิริกับพลเอกประลอง วีระปรีย์ ถูกจับตัวไปสวนรื่นฯ พล.ต.อรุณ ก็เลยขึ้นรถตามไปที่นั่น พอลงจากรถ พล.ต.อรุณ ก็ถูกทหารเข้ามาล็อกแขนทั้งสองข้าง คุมตัวเอาไว้พาเข้าไปในห้องประชุม...หลังจากนั้นก็ได้มีการตกลงกันที่จะให้พล.ต.อรุณ ร่วมมือในการปฏิวัติครั้งนี้ด้วย โดยจะให้พล.ต.อรุณ ออกคำสั่งเคลื่อนกำลังทุกจุดไปกรุงเทพฯ แต่พล.ต.อรุณ ไม่ยอมกระทำตาม ขัดขืน ดังนั้นพลตรีอรุณ จึงโดนยิงด้วยปืนเอ็ม 16...” ในเล่มเดียวกันยังมีคำบอกเล่าของนางสาวลานทิพย์ ทวาทสิน (sic) ลูกสาวพลตรีอรุณว่าได้ยินโทรศัพท์ดังขึ้นเมื่อตอนตี 4 แจ้งมาว่าที่สวนรื่นมีทหารถูกจับ ดังนั้นพ่อของเธอจึงรีบรุดไปสังเกตเหตุการณ์ ดู สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์, ปฏิวัติสามสมัย, หน้า 1114-1116. ในขณะที่ข้อมูลยืนยันตรงกันว่าพลตรีอรุณเป็นฝ่ายเดินทางออกจากบ้านไปเอง ไม่ได้ถูกทหารมาควบคุมตัวที่บ้านเหมือนที่พยายามทำกับพลเอกเสริม แต่กรณีถูกควบคุมตัว และเมื่อขัดขืนไม่ให้ความร่วมมือก็ถูกสังหารนั้นพลเอกฉลาดบอกกับสุธรรม แสงประทุม นักโทษคดีการเมืองร่วมคุกเดียวกันว่า เขายิงพลตรีอรุณด้วยตนเองเพราะ “ร่วมกันวางแผน ร่วมกันคิดมาทุกฉากทุกตอน แต่จะมาขัดแย้งกันเรื่องคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี” โดยฝ่ายหนึ่งต้องการนายประภาศน์ อวยชัย ประธานศาลฎีกา อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยระหว่างที่โต้เถียงกันอยู่นั้นพลตรีอรุณได้กระโดดเข้าแย่งปืนจากนายทหาร พลเอกฉลาดจึงยิงด้วยปืนพก ดู สุธรรม แสงประทุม, ผมผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาได้อย่างไร (กรุงเทพฯ: ดาวหาง, 2522), หน้า 107-108. ในขณะที่พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ผู้อยู่ในเหตุการณ์อีกคนหนึ่งเล่าว่า เห็นพลเอกฉลาดนั่งอยู่ที่หัวโต๊ะ พลตรีอรุณนั่งอยู่ข้างๆ โดยมีร้อยโทชูชีพ ปานวิเชียร รักษาการณ์อยู่ข้างหลัง พลตรีอรุณลุกไปชงกาแฟแล้วยื่นให้พลเอกฉลาดที่รับแล้ววางไว้บนโต๊ะโดยที่ยังไม่ทันจิบ ด้วยว่าเดินไปดูเหตุการณ์ที่หน้าต่าง ระหว่างนั้นพลตรีอรุณก็เดินกลับมายังที่นั่งของตน และโดยที่ไม่มีใครคาดคิดพลตรีอรุณเข้าแย่งปืนเอ็ม 16 จากร้อยโทชูชีพ เมื่อเกิดการยื้อยุดกัน พลเอกฉลาดจึงต้องใช้ปืนพกสังหารพลตรีอรุณ ดู พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 129-130. ในขณะที่เจตนาเข้าร่วม รวมถึงช่วงนาทีสังหารพลตรีอรุณสามารถถกเถียงกันได้ เพราะข้อมูลมาจากฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน (กรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่าพลเอกฉลาดน่าจะหวังผลให้พลตรีอรุณเข้าร่วมแบบ “ตกกระไดพลอยโจน” อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นมากกว่า เพราะดูไม่มีเหตุผลใดที่พลตรีอรุณซึ่งเป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วย จะร่วมคิดร่วมวางแผนก่อการ) แต่การขัดขืน ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด คงเป็นที่ประจักษ์ชัดจึงต้องลงเอยด้วยการสังหารพลตรีอรุณในที่สุด
- ↑ สยามจดหมายเหตุ 2,13 (31 มีนาคม 2520): 346.
- ↑ ยศ สันตสมบัติ, อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: น้ำไท, 2533) หน้า 145-146.
- ↑ กฤชติน สุขศิริ, “ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์,” หน้า 37-40.
- ↑ เรื่องเดียวกัน หน้า 40-41; พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง, หน้า 203; พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี, ผมผิดหรือ?ที่ยึดกรือเซะ! หน้า 197-198.
- ↑ “ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี’กบฏ 9 กันยาฯ,” มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528):12.
ที่มา
ลับระเบิด! ความในใจ ’พิจิตร’ กรณี ’กบฏ 9 กันยาฯ’. มติชนสุดสัปดาห์ 8,2766(6/265) (29 กันยายน 2528): 10-12.
สยามจดหมายเหตุ 2,13 (31 มีนาคม 2520): 337-347.
กฤชติน สุขศิริ. "ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์". วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
ชีวิต สวนสุคนธ์. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ชีวิตและการต่อสู้ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: คำชระศักดิ์, 2525.
พัลลภ ปิ่นมณี, พลเอก. ผมผิดหรือ?ที่ยึดกรือเซะ!. กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง, 2547.
ยศ สันตสมบัติ. อำนาจ บุคลิกภาพ และผู้นำการเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: น้ำไท, 2533.
วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และ สมชาย ฤกษ์ดี. กอดคอเข้าคุก. กรุงเทพฯ: ปิยะสาส์น, ม.ป.ป.
เสถียร จันทิมาธร. เส้นทางสู่อำนาจมนูญ รูปขจร อาทิตย์ กำลังเอก ใต้เงาเปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549.
สุธรรม แสงประทุม. ผมผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมาได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ดาวหาง, 2522.
สนั่น ขจรประศาสน์, พลตรี. ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชมรมร่วมสร้างสรรค์, 2545 . เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. ชีวลิขิต. ม.ป.ท.,ม.ป.ป.
สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์. ปฏิวัติสามสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รวมพิมพ์, 2524.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
กฤชติน สุขศิริ. ความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545.
วีระ มุสิกพงศ์, ศิระ ดีระพัฒน์, และ สมชาย ฤกษ์ดี. กอดคอเข้าคุก. กรุงเทพฯ: ปิยะสาส์น, ม.ป.ป.
สนั่น ขจรประศาสน์, พลตรี. ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชมรมร่วมสร้างสรรค์, 2545.
สมบูรณ์ คนฉลาด, ประกอบ โชประการ และประยุทธ สิทธิพันธ์. ปฏิวัติสามสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รวมพิมพ์, 2524.