ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะราษฎร 2563"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต '''ผู้ทร..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''คณะราษฎร 2563''' คือ กลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลคณะรัฐประหาร ที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีแกนนำเป็นเยาวชนและเริ่มประกาศตัวตนต่อสาธารณชนใน พ.ศ. 2563 | '''คณะราษฎร 2563''' คือ กลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลคณะรัฐประหาร ที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีแกนนำเป็นเยาวชนและเริ่มประกาศตัวตนต่อสาธารณชนใน พ.ศ. 2563 | ||
การปรากฏขึ้นของคณะราษฎร 2563 เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ถูกครอบงำโดยสถาบันทหารอันเนื่องมาจาก[[รัฐประหาร]] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และจัดการปกครองในระบอบทหารเรื่อยมา โดยไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยไม่ชักช้า คณะรัฐประหารหน่วงเหนียวการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยใช้เวลาในการยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นานเกือบ 3 ปี[[#_ftn1|[1]]] และจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ กว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งใช้เวลานานถึง 2 ปีเศษ[[#_ftn2|[2]]] | การปรากฏขึ้นของคณะราษฎร 2563 เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ถูกครอบงำโดยสถาบันทหารอันเนื่องมาจาก[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และจัดการปกครองในระบอบทหารเรื่อยมา โดยไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยไม่ชักช้า คณะรัฐประหารหน่วงเหนียวการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยใช้เวลาในการยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นานเกือบ 3 ปี[[#_ftn1|[1]]] และจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ กว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งใช้เวลานานถึง 2 ปีเศษ[[#_ftn2|[2]]] | ||
ประเด็นที่ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นมาจากความล่าช้าในการคืนอำนาจให้ประชาชนข้างต้น นอกจากนี้ โครงสร้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญใหม่ (พ.ศ. 2560) ยังเปิดทางให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจต่อไป โดยเฉพาะการกำหนดให้มีสถาบันวุฒิสภาที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 244 คน และโดยตำแหน่ง 6 คน รวม 250 คน (มาตรา 269) และมีอำนาจให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 500 คน (มาตรา 272) | ประเด็นที่ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นมาจากความล่าช้าในการคืนอำนาจให้ประชาชนข้างต้น นอกจากนี้ โครงสร้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญใหม่ (พ.ศ. 2560) ยังเปิดทางให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจต่อไป โดยเฉพาะการกำหนดให้มีสถาบันวุฒิสภาที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 244 คน และโดยตำแหน่ง 6 คน รวม 250 คน (มาตรา 269) และมีอำนาจให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 500 คน (มาตรา 272) | ||
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังได้ออกแบบระบบเลือกตั้งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดทอนความเข้มแข็งของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีอยู่แต่เดิม ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 91) | ไม่เพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังได้ออกแบบระบบเลือกตั้งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดทอนความเข้มแข็งของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีอยู่แต่เดิม ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 91) เพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองของคณะรัฐประหารที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ก่อตัวและรวบรวมพรรคขนาดเล็กเข้าร่วมกับพรรคของคณะรัฐประหารจัดตั้งรัฐบาลสืบทอดอำนาจต่อไป | ||
| ประเด็นสำคัญ คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศแก่ประชาชนในระยะแรก ๆ ของการยึดอำนาจว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยไว โดยเปิดเพลง '''“คืนความสุขให้ประเทศไทย”'''[[#_ftn3|[3]]] เช้าเย็น วันละ 3 เวลา โดยเนื้อเพลงตอนหนึ่งมีความว่า ''“เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา”'' แต่ประชาชนที่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยรอแล้วรออีกก็ไม่ถึงวันนั้นสักที ในขณะที่ คสช. ไม่เร่งร้อนการถ่ายโอนอำนาจให้ประชาชน ผัดผ่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ผัดผ่อนการเลือกตั้งไปเรื่อย ๆ | ||
แรงกระตุ้นที่ขับเคลื่อนการชุมนุมประท้วงข้างต้นยังมีที่มาจากความไม่พอใจ | แรงกระตุ้นที่ขับเคลื่อนการชุมนุมประท้วงข้างต้นยังมีที่มาจากความไม่พอใจ และไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่ตัดสินให้ยุบ[[พรรคอนาคตใหม่|พรรคอนาคตใหม่]] ตัดสิทธิ์การเป็น ส.ส. และสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี ในคดีพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินหัวหน้าพรรค จำนวน 191.2 ล้านบาท มาทำกิจกรรมในช่วงเลือกตั้ง[[#_ftn4|[4]]] โดยศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 66 ที่ห้ามบุคคลบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ต่อพรรคการเมืองต่อปี มาตรา 72 ห้ามพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมาตรา 92 (3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 72 มาตรา 124 มาตรา 125 และมาตรา 126 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกหรือโทษปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง[[#_ftn5|[5]]] ทั้งนี้ เชื่อกันว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่นิยมชมชอบ เลือกและให้การสนับสนุนในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา | ||
ในสายตาของเยาวชนคนรุ่นใหม่ พวกเขามองว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ถูกรัฐบาลกลั่นแกล้งหาเหตุขัดขวางตลอดมา เนื่องจากเป็นพรรคคู่แข่งที่น่าเกรงขามและโจมตีคณะรัฐประหารอย่างรุนแรง การกลั่นแกล้งเริ่มตั้งแต่ในช่วงหาเสียง เรื่อยมาจนถึงช่วงหลังประกาศผลเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ถูก[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง_(กกต.)]] สอบสวนฟ้องร้องต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]อย่างรวดเร็ว และถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. อย่างกะทันหันในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในข้อหาว่าถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัคมีเดี่ย จำกัด ก่อนวันพิธีเปิดประชุมรัฐสภาเพียง 1 วัน ทำให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมรัฐสภาในฐานะ ส.ส.[[#_ftn6|[6]]] | ในสายตาของเยาวชนคนรุ่นใหม่ พวกเขามองว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ถูกรัฐบาลกลั่นแกล้งหาเหตุขัดขวางตลอดมา เนื่องจากเป็นพรรคคู่แข่งที่น่าเกรงขามและโจมตีคณะรัฐประหารอย่างรุนแรง การกลั่นแกล้งเริ่มตั้งแต่ในช่วงหาเสียง เรื่อยมาจนถึงช่วงหลังประกาศผลเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ถูก[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง_(กกต.)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง_(กกต.)]] สอบสวนฟ้องร้องต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ|ศาลรัฐธรรมนูญ]]อย่างรวดเร็ว และถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. อย่างกะทันหันในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในข้อหาว่าถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัคมีเดี่ย จำกัด ก่อนวันพิธีเปิดประชุมรัฐสภาเพียง 1 วัน ทำให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมรัฐสภาในฐานะ ส.ส.[[#_ftn6|[6]]] | ||
ผลของการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ได้รับเลือกตั้งมากถึง 80 คน เป็นพรรคใหญ่ อันดับ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร และดำรงสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ถูกรุกไล่จากพรรคฝ่ายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากหัวหน้าพรรคจะถูกตัดสิทธิการเป็น ส.ส. จากกรณีถือหุ้นสื่อ ส.ส. ลูกพรรคอนาคตใหม่หลายคนถูกพรรคฝ่ายรัฐบาลทาบทามซื้อตัว อีกทั้งยังถูกฝ่ายตรงข้ามแจ้งข้อหาว่าพรรคกู้ยืมเงินจากหัวหน้าพรรคเกินวงเงิน 10 ล้านบาท ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กำหนดอีกด้วย | ผลของการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ได้รับเลือกตั้งมากถึง 80 คน เป็นพรรคใหญ่ อันดับ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร และดำรงสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ถูกรุกไล่จากพรรคฝ่ายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากหัวหน้าพรรคจะถูกตัดสิทธิการเป็น ส.ส. จากกรณีถือหุ้นสื่อ ส.ส. ลูกพรรคอนาคตใหม่หลายคนถูกพรรคฝ่ายรัฐบาลทาบทามซื้อตัว อีกทั้งยังถูกฝ่ายตรงข้ามแจ้งข้อหาว่าพรรคกู้ยืมเงินจากหัวหน้าพรรคเกินวงเงิน 10 ล้านบาท ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กำหนดอีกด้วย | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
ท่ามกลางการรุกไล่พรรคอนาคตใหม่ให้อ่อนกำลัง ได้เกิดปรากฏการณ์แฟลชม็อบขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และเกิดอย่างคึกคักภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศนานต่อเนื่องกันเกือบ 1 เดือน ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมกลุ่มชุมนุมประท้วงรัฐบาลมากถึง 60 ครั้งเศษ การชุมนุมประท้วงต้องชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเดือนมีนาคม และมาปรากฏอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 ลดน้อยลง | ท่ามกลางการรุกไล่พรรคอนาคตใหม่ให้อ่อนกำลัง ได้เกิดปรากฏการณ์แฟลชม็อบขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และเกิดอย่างคึกคักภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศนานต่อเนื่องกันเกือบ 1 เดือน ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมกลุ่มชุมนุมประท้วงรัฐบาลมากถึง 60 ครั้งเศษ การชุมนุมประท้วงต้องชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเดือนมีนาคม และมาปรากฏอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 ลดน้อยลง | ||
ส่วนความคิดในการจัดตั้ง '''“คณะราษฎร 2563”''' กล่าวกันว่ามีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดย ''' | ส่วนความคิดในการจัดตั้ง '''“คณะราษฎร 2563”''' กล่าวกันว่ามีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดย '''“[[Free_youth|เยาวชนปลดแอก]]”''' และมีการจัดชุมนุมประท้วงเกือบเป็นรายวันในเดือนสิงหาคม กันยายน กระทั่งกลายมาเป็นกระแสที่ได้รับการหนุนเสริมอย่างสูง วันที่ 8 ตุลาคม 2563 ตัวแทนจากกลุ่มองค์กรหลากหลาย เช่น [[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] กลุ่มประชาชนปลดแอก''' '''[[Free_youth|เยาวชนปลดแอก]] [[นักเรียนเลว|นักเรียนเลว]] ได้ประกาศหลอมรวมเป็น “[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]” องค์กรดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นองค์กรนำในการเคลื่อนไหวชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ | ||
''1. ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง '' | ''1. ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง '' | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
'' 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งมีการฝังหมุดคณะราษฎรที่สนามหลวงในวันเดียวกันนี้ด้วย'' | '' 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งมีการฝังหมุดคณะราษฎรที่สนามหลวงในวันเดียวกันนี้ด้วย'' | ||
การใช้ชื่อ '''“คณะราษฎร”''' บ่งบอกถึงการมีเป้าหมายอย่างเดียวกันกับ ''' | การใช้ชื่อ '''“คณะราษฎร”''' บ่งบอกถึงการมีเป้าหมายอย่างเดียวกันกับ '''“[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]” '''ที่ประกาศตัวใน พ.ศ. 2475 คือต้องการเรียกร้องให้มีการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ทรงเป็นประมุขของประเทศ ไม่ทรงใช้อำนาจทางปกครอง (The king reigns but does not rule.) อำนาจการปกครองเป็นเรื่องของประชาชนที่จะใช้อำนาจผ่านทางสถาบันทั้ง 3 อันได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันศาล | ||
รายชื่อแกนนำคณะราษฎร 2563 มีใครบ้าง เท่าที่เปิดเผยตัวและถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมกดดันรัฐบาล ช่วงวันที่ 13-15 ตุลาคม 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและทำเนียบรัฐบาล จำนวน 23 คน ในจำนวนนี้ 4 คน เป็นแกนนำสำคัญได้แก่ | รายชื่อแกนนำคณะราษฎร 2563 มีใครบ้าง เท่าที่เปิดเผยตัวและถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมกดดันรัฐบาล ช่วงวันที่ 13-15 ตุลาคม 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและทำเนียบรัฐบาล จำนวน 23 คน ในจำนวนนี้ 4 คน เป็นแกนนำสำคัญได้แก่ | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
4. นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล (รุ้ง) นักศึกษาคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[[#_ftn8|[8]]] | 4. นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล (รุ้ง) นักศึกษาคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[[#_ftn8|[8]]] | ||
| โดยที่บุคคลเหล่านี้เป็นเยาวชนยังไม่มีความเจนจัดในทางการเมืองและขาดทรัพยากรทางการเมือง จึงเป็นที่สงสัยว่าใครอยู่เบื้องหลังเยาวชนเหล่านี้ หากวิเคราะห์ตามทฤษฎี By-product and special interest theory[[#_ftn9|[9]]] แน่นอนที่สุด ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นกลุ่มคนที่ทรงพลังมากกว่าและผูกพันอยู่กับเยาวชนเหล่านี้ อันได้แก่มวลคณาจารย์ มวลนักศึกษา กลุ่มการเมือง และมวลประชาชนที่ไม่พอใจและต่อต้านระบอบศักดินา-ทหาร และที่เปิดเผยตัวชัดเจนและสนับสนุนคณะราษฎร 2563 คือ ตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย โดยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง | ||
| | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
[[#_ftnref2|[2]]]จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และแบบบัญชีรายชื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 | [[#_ftnref2|[2]]]จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และแบบบัญชีรายชื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] เนื้อร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทยแต่งโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี (https://www.kroobannok.com) | [[#_ftnref3|[3]]] เนื้อร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทยแต่งโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี ([https://www.kroobannok.com https://www.kroobannok.com]) | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] “มติศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ กก.บห. 10 ปี BBC News ไทย 21 กุมภาพันธ์ 2563 (https://www.bbc.com>thai.thailand...) | [[#_ftnref4|[4]]] “มติศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ กก.บห. 10 ปี BBC News ไทย 21 กุมภาพันธ์ 2563 ([https://www.bbc.com https://www.bbc.com]>thai.thailand...) | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] “ชำแหละคำวินิจฉัยส่วนตน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ..คดียุบพรรคอนาคตใหม่” '' ''iLaw 15 เมษายน 2563 (ilaw.or.th), 12/06/2564 | [[#_ftnref5|[5]]] “ชำแหละคำวินิจฉัยส่วนตน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ..คดียุบพรรคอนาคตใหม่” '' ''iLaw 15 เมษายน 2563 (ilaw.or.th), 12/06/2564 | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] ด่วน “ธนาธร” ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ (https://www.khaosod.co.th>news_2) | [[#_ftnref6|[6]]] ด่วน “ธนาธร” ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ([https://www.khaosod.co.th https://www.khaosod.co.th]>news_2) | ||
</div> <div id="ftn7"> | </div> <div id="ftn7"> | ||
[[#_ftnref7|[7]]] นายอานนท์ นำภา อายุ 37 (เกิด 18 สิงหาคม 2527) จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย | [[#_ftnref7|[7]]] นายอานนท์ นำภา อายุ 37 (เกิด 18 สิงหาคม 2527) จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย | ||
บรรทัดที่ 66: | บรรทัดที่ 66: | ||
[[#_ftnref8|[8]]]เปิด 23 รายชื่อแกนนำม็อบคณะราษฎรที่โดนรวบ ข้อหาใดบ้าง ''มติชน ''(อาชญากรรม-กระบวนการยุติธรรม) 15 ตุลาคม 2563 และ โพสต์ทูเดย์ (ข่าวการเมือง) 15 ตุลาคม 2563 Posttoday.com | [[#_ftnref8|[8]]]เปิด 23 รายชื่อแกนนำม็อบคณะราษฎรที่โดนรวบ ข้อหาใดบ้าง ''มติชน ''(อาชญากรรม-กระบวนการยุติธรรม) 15 ตุลาคม 2563 และ โพสต์ทูเดย์ (ข่าวการเมือง) 15 ตุลาคม 2563 Posttoday.com | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] Mancur Olson, Jr. “By-Product and Special Interest Theory” in Robert H. Salisbury, Interest Group Politics in America | [[#_ftnref9|[9]]] Mancur Olson, Jr. “By-Product and Special Interest Theory” in Robert H. Salisbury, Interest Group Politics in America (New York: Harper and Row, 1970), pp.16-31. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:57, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู
คณะราษฎร 2563 คือ กลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลคณะรัฐประหาร ที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มีแกนนำเป็นเยาวชนและเริ่มประกาศตัวตนต่อสาธารณชนใน พ.ศ. 2563
การปรากฏขึ้นของคณะราษฎร 2563 เกิดจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยที่ถูกครอบงำโดยสถาบันทหารอันเนื่องมาจากรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และจัดการปกครองในระบอบทหารเรื่อยมา โดยไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยไม่ชักช้า คณะรัฐประหารหน่วงเหนียวการคืนอำนาจให้ประชาชน โดยใช้เวลาในการยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นานเกือบ 3 ปี[1] และจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ กว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้งใช้เวลานานถึง 2 ปีเศษ[2]
ประเด็นที่ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นมาจากความล่าช้าในการคืนอำนาจให้ประชาชนข้างต้น นอกจากนี้ โครงสร้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญใหม่ (พ.ศ. 2560) ยังเปิดทางให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจต่อไป โดยเฉพาะการกำหนดให้มีสถาบันวุฒิสภาที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง 244 คน และโดยตำแหน่ง 6 คน รวม 250 คน (มาตรา 269) และมีอำนาจให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 500 คน (มาตรา 272)
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ยังได้ออกแบบระบบเลือกตั้งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดทอนความเข้มแข็งของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีอยู่แต่เดิม ส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดเล็กให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 91) เพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองของคณะรัฐประหารที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้ก่อตัวและรวบรวมพรรคขนาดเล็กเข้าร่วมกับพรรคของคณะรัฐประหารจัดตั้งรัฐบาลสืบทอดอำนาจต่อไป
ประเด็นสำคัญ คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศแก่ประชาชนในระยะแรก ๆ ของการยึดอำนาจว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนโดยไว โดยเปิดเพลง “คืนความสุขให้ประเทศไทย”[3] เช้าเย็น วันละ 3 เวลา โดยเนื้อเพลงตอนหนึ่งมีความว่า “เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน แล้วแผ่นดินที่งดงามจะคืนกลับมา” แต่ประชาชนที่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยรอแล้วรออีกก็ไม่ถึงวันนั้นสักที ในขณะที่ คสช. ไม่เร่งร้อนการถ่ายโอนอำนาจให้ประชาชน ผัดผ่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ผัดผ่อนการเลือกตั้งไปเรื่อย ๆ
แรงกระตุ้นที่ขับเคลื่อนการชุมนุมประท้วงข้างต้นยังมีที่มาจากความไม่พอใจ และไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่ตัดสินให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ์การเป็น ส.ส. และสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี ในคดีพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินหัวหน้าพรรค จำนวน 191.2 ล้านบาท มาทำกิจกรรมในช่วงเลือกตั้ง[4] โดยศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 66 ที่ห้ามบุคคลบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ต่อพรรคการเมืองต่อปี มาตรา 72 ห้ามพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมาตรา 92 (3) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 72 มาตรา 124 มาตรา 125 และมาตรา 126 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกหรือโทษปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง[5] ทั้งนี้ เชื่อกันว่าพรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่นิยมชมชอบ เลือกและให้การสนับสนุนในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ในสายตาของเยาวชนคนรุ่นใหม่ พวกเขามองว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ถูกรัฐบาลกลั่นแกล้งหาเหตุขัดขวางตลอดมา เนื่องจากเป็นพรรคคู่แข่งที่น่าเกรงขามและโจมตีคณะรัฐประหารอย่างรุนแรง การกลั่นแกล้งเริ่มตั้งแต่ในช่วงหาเสียง เรื่อยมาจนถึงช่วงหลังประกาศผลเลือกตั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง_(กกต.) สอบสวนฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว และถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. อย่างกะทันหันในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในข้อหาว่าถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัคมีเดี่ย จำกัด ก่อนวันพิธีเปิดประชุมรัฐสภาเพียง 1 วัน ทำให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมรัฐสภาในฐานะ ส.ส.[6]
ผลของการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ผู้สมัครของพรรคอนาคตใหม่ได้รับเลือกตั้งมากถึง 80 คน เป็นพรรคใหญ่ อันดับ 3 ในสภาผู้แทนราษฎร และดำรงสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน ถูกรุกไล่จากพรรคฝ่ายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง นอกจากหัวหน้าพรรคจะถูกตัดสิทธิการเป็น ส.ส. จากกรณีถือหุ้นสื่อ ส.ส. ลูกพรรคอนาคตใหม่หลายคนถูกพรรคฝ่ายรัฐบาลทาบทามซื้อตัว อีกทั้งยังถูกฝ่ายตรงข้ามแจ้งข้อหาว่าพรรคกู้ยืมเงินจากหัวหน้าพรรคเกินวงเงิน 10 ล้านบาท ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 กำหนดอีกด้วย
ท่ามกลางการรุกไล่พรรคอนาคตใหม่ให้อ่อนกำลัง ได้เกิดปรากฏการณ์แฟลชม็อบขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และเกิดอย่างคึกคักภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศนานต่อเนื่องกันเกือบ 1 เดือน ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมกลุ่มชุมนุมประท้วงรัฐบาลมากถึง 60 ครั้งเศษ การชุมนุมประท้วงต้องชะงักไปเพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเดือนมีนาคม และมาปรากฏอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 ลดน้อยลง
ส่วนความคิดในการจัดตั้ง “คณะราษฎร 2563” กล่าวกันว่ามีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดย “เยาวชนปลดแอก” และมีการจัดชุมนุมประท้วงเกือบเป็นรายวันในเดือนสิงหาคม กันยายน กระทั่งกลายมาเป็นกระแสที่ได้รับการหนุนเสริมอย่างสูง วันที่ 8 ตุลาคม 2563 ตัวแทนจากกลุ่มองค์กรหลากหลาย เช่น แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กลุ่มประชาชนปลดแอก เยาวชนปลดแอก นักเรียนเลว ได้ประกาศหลอมรวมเป็น “คณะราษฎร” องค์กรดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นองค์กรนำในการเคลื่อนไหวชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
2. เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ
3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อีกทั้งมีการฝังหมุดคณะราษฎรที่สนามหลวงในวันเดียวกันนี้ด้วย
การใช้ชื่อ “คณะราษฎร” บ่งบอกถึงการมีเป้าหมายอย่างเดียวกันกับ “คณะราษฎร” ที่ประกาศตัวใน พ.ศ. 2475 คือต้องการเรียกร้องให้มีการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง อันหมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ทรงเป็นประมุขของประเทศ ไม่ทรงใช้อำนาจทางปกครอง (The king reigns but does not rule.) อำนาจการปกครองเป็นเรื่องของประชาชนที่จะใช้อำนาจผ่านทางสถาบันทั้ง 3 อันได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันศาล
รายชื่อแกนนำคณะราษฎร 2563 มีใครบ้าง เท่าที่เปิดเผยตัวและถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมกดดันรัฐบาล ช่วงวันที่ 13-15 ตุลาคม 2563 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและทำเนียบรัฐบาล จำนวน 23 คน ในจำนวนนี้ 4 คน เป็นแกนนำสำคัญได้แก่
1. นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิ้น) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. นายอานนท์ นำภา (ทนายอานนท์) ทนายความสิทธิมนุษยชน[7]
3. นายประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ (เจมส์) นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนากุล (รุ้ง) นักศึกษาคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8]
โดยที่บุคคลเหล่านี้เป็นเยาวชนยังไม่มีความเจนจัดในทางการเมืองและขาดทรัพยากรทางการเมือง จึงเป็นที่สงสัยว่าใครอยู่เบื้องหลังเยาวชนเหล่านี้ หากวิเคราะห์ตามทฤษฎี By-product and special interest theory[9] แน่นอนที่สุด ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นกลุ่มคนที่ทรงพลังมากกว่าและผูกพันอยู่กับเยาวชนเหล่านี้ อันได้แก่มวลคณาจารย์ มวลนักศึกษา กลุ่มการเมือง และมวลประชาชนที่ไม่พอใจและต่อต้านระบอบศักดินา-ทหาร และที่เปิดเผยตัวชัดเจนและสนับสนุนคณะราษฎร 2563 คือ ตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย โดยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
อ้างอิง
[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560
[2]จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ประกาศผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และแบบบัญชีรายชื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562
[3] เนื้อร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทยแต่งโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี (https://www.kroobannok.com)
[4] “มติศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ กก.บห. 10 ปี BBC News ไทย 21 กุมภาพันธ์ 2563 (https://www.bbc.com>thai.thailand...)
[5] “ชำแหละคำวินิจฉัยส่วนตน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ..คดียุบพรรคอนาคตใหม่” iLaw 15 เมษายน 2563 (ilaw.or.th), 12/06/2564
[6] ด่วน “ธนาธร” ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ (https://www.khaosod.co.th>news_2)
[7] นายอานนท์ นำภา อายุ 37 (เกิด 18 สิงหาคม 2527) จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และเนติบัณฑิตไทย
[8]เปิด 23 รายชื่อแกนนำม็อบคณะราษฎรที่โดนรวบ ข้อหาใดบ้าง มติชน (อาชญากรรม-กระบวนการยุติธรรม) 15 ตุลาคม 2563 และ โพสต์ทูเดย์ (ข่าวการเมือง) 15 ตุลาคม 2563 Posttoday.com
[9] Mancur Olson, Jr. “By-Product and Special Interest Theory” in Robert H. Salisbury, Interest Group Politics in America (New York: Harper and Row, 1970), pp.16-31.