ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล Apirom ย้ายหน้า เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์) ไปยัง [[พลเอกเกรียงศักดิ์ ชม... |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์''' | '''พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์''' | ||
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ [[นายกรัฐมนตรี]]ไทยคนที่ 15 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าพรรค[[ชาติประชาธิปไตย|ชาติประชาธิปไตย ]]เป็นนักการเมืองที่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า[[อินทรีบางเขน]] และเป็นต้นกำเนิดของคำศัพท์ทางการเมืองว่า “[[โรคร้อยเอ็ด]]” | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ [[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]ไทยคนที่ 15 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าพรรค[[ชาติประชาธิปไตย|ชาติประชาธิปไตย ]]เป็นนักการเมืองที่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า[[อินทรีบางเขน|อินทรีบางเขน]] และเป็นต้นกำเนิดของคำศัพท์ทางการเมืองว่า “[[โรคร้อยเอ็ด|โรคร้อยเอ็ด]]” | ||
| | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
ใน พ.ศ. 2484 พลเอกเกรียงศักดิ์เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 26 ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 26 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งติดยศร้อยเอกใน พ.ศ. 2486 จึงย้ายมาประจำที่ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบกรมผสมที่ 20 และไปราชการสงครามที่เกาหลี ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 ที่ได้รับฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย”[[#_ftn2|[2]]] | ใน พ.ศ. 2484 พลเอกเกรียงศักดิ์เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 26 ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 26 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งติดยศร้อยเอกใน พ.ศ. 2486 จึงย้ายมาประจำที่ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบกรมผสมที่ 20 และไปราชการสงครามที่เกาหลี ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 ที่ได้รับฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย”[[#_ftn2|[2]]] | ||
ใน[[สงครามเกาหลี]]พลเอกเกรียงศักดิ์ได้มีวีรกรรมที่สำคัญที่สมรภูมิพอร์คช็อปฮิลล์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่ง โดยมีคำสั่งทางยุทธการว่า การรบบนเขาลูกนี้คือการสู้ตาย ห้ามถูกจับเป็นเชลยและจะถอนตัวได้ก็เมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเพียงคนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 การข่าวทหารได้รับรายงานว่ากองกำลังเกาหลีเหนือเตรียมที่บุกเข้ายึดพอร์คช็อปฮิลล์ กองพันพยัคฆ์น้อยได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปรักษายุทธศาสตร์แห่งนี้ ในที่สุดฝ่ายเกาหลีเหนือได้เข้าตีในคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ผลจากการรบที่พอร์คช็อปฮิลล์ มีทหารไทยเสียชีวิตทั้งสิ้น 25 นาย ทหารจีนและเกาหลีเหนือเสียชีวิตกว่า 160 นาย พลเอกเกรียงศักดิ์ในฐานะผู้บังคับกองพันได้รับเหรียญกล้าหาญระดับลีเยียนออฟเมอริต ดีกรีออฟเลยอนแนร์ และมีทหารไทยได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาร์ 9 นาย และเหรียญบรอนสตาร์อีก 19 นาย [[#_ftn3|[3]]] | ใน[[สงครามเกาหลี|สงครามเกาหลี]]พลเอกเกรียงศักดิ์ได้มีวีรกรรมที่สำคัญที่สมรภูมิพอร์คช็อปฮิลล์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่ง โดยมีคำสั่งทางยุทธการว่า การรบบนเขาลูกนี้คือการสู้ตาย ห้ามถูกจับเป็นเชลยและจะถอนตัวได้ก็เมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเพียงคนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 การข่าวทหารได้รับรายงานว่ากองกำลังเกาหลีเหนือเตรียมที่บุกเข้ายึดพอร์คช็อปฮิลล์ กองพันพยัคฆ์น้อยได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปรักษายุทธศาสตร์แห่งนี้ ในที่สุดฝ่ายเกาหลีเหนือได้เข้าตีในคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ผลจากการรบที่พอร์คช็อปฮิลล์ มีทหารไทยเสียชีวิตทั้งสิ้น 25 นาย ทหารจีนและเกาหลีเหนือเสียชีวิตกว่า 160 นาย พลเอกเกรียงศักดิ์ในฐานะผู้บังคับกองพันได้รับเหรียญกล้าหาญระดับลีเยียนออฟเมอริต ดีกรีออฟเลยอนแนร์ และมีทหารไทยได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาร์ 9 นาย และเหรียญบรอนสตาร์อีก 19 นาย [[#_ftn3|[3]]] | ||
เมื่อกลับจากเกาหลีพลเอกเกรียงศักดิ์ได้เป็นเป็นหัวหน้าภาควิชายุทธการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก แล้วจึงย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานวางแผนทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ. หรือ SEATO) จนได้เป็นหัวหน้ากองการทหารของ ส.ป.อ. ในระหว่าง พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 จากนั้นจึงย้ายมาดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองอำนวยการกลาง สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด[[#_ftn4|[4]]] | เมื่อกลับจากเกาหลีพลเอกเกรียงศักดิ์ได้เป็นเป็นหัวหน้าภาควิชายุทธการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก แล้วจึงย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานวางแผนทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ. หรือ SEATO) จนได้เป็นหัวหน้ากองการทหารของ ส.ป.อ. ในระหว่าง พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 จากนั้นจึงย้ายมาดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองอำนวยการกลาง สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด[[#_ftn4|[4]]] | ||
การปฏิบัติหน้าที่ในกองบัญชาการทหารสูงสุด พลเอกเกรียงศักดิ์มีบทบาทในการแก้ปัญหากำลังพลของจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ที่ตกค้างอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่หลัง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] โดยใน พ.ศ. 2512 คณะนายทหารจากกองบัญชาการทหารสูงสุดได้เดินทางไปเจรจากับกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ผลจากการเจรจาทางรัฐบาลไต้หวันได้มอบทหารจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ให้กับทางรัฐบาลไทยดูแล โดยให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งขณะนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองบังคับการส่วนหน้า โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ เป็นผู้รับผิดชอบ พลเอกเกรียงศักดิ์ได้เริ่มโครงการปลูกชา โดยนำพันธุ์ชาชั้นเยี่ยมจากไต้หวันมาทำการเพาะปลูกที่แม่สะลอง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม เริ่มโครงการเพาะปลูกขั้นแรกจำนวน 6 ล้านต้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาของทหารกองพลที่ 93 ได้ | การปฏิบัติหน้าที่ในกองบัญชาการทหารสูงสุด พลเอกเกรียงศักดิ์มีบทบาทในการแก้ปัญหากำลังพลของจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ที่ตกค้างอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่หลัง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา|สงครามมหาเอเชียบูรพา]] โดยใน พ.ศ. 2512 คณะนายทหารจากกองบัญชาการทหารสูงสุดได้เดินทางไปเจรจากับกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ผลจากการเจรจาทางรัฐบาลไต้หวันได้มอบทหารจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ให้กับทางรัฐบาลไทยดูแล โดยให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งขณะนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองบังคับการส่วนหน้า โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ เป็นผู้รับผิดชอบ พลเอกเกรียงศักดิ์ได้เริ่มโครงการปลูกชา โดยนำพันธุ์ชาชั้นเยี่ยมจากไต้หวันมาทำการเพาะปลูกที่แม่สะลอง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม เริ่มโครงการเพาะปลูกขั้นแรกจำนวน 6 ล้านต้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาของทหารกองพลที่ 93 ได้ | ||
พ.ศ. 2516 พลเอกเกรียงศักดิ์ย้ายกลับกองทัพบกโดยดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก จากนั้นใน พ.ศ. 2517 ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ก่อนเลื่อนเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2516 พลเอกเกรียงศักดิ์ย้ายกลับกองทัพบกโดยดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก จากนั้นใน พ.ศ. 2517 ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ก่อนเลื่อนเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | ||
ในทางการเมือง พลเอกเกรียงศักดิ์เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2511 และเป็น[[สมาชิกสภานิติบัญญัติ]] เมื่อ พ.ศ. 2515 ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเอกเกรียงศักดิ์ร่วมกับพลเรือเอก[[สงัด_ชลออยู่]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจาก[[รัฐบาล]]หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์_ปราโมช]]โดยใช้ชื่อว่า [[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร พลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[[#_ftn5|[5]]] | ในทางการเมือง พลเอกเกรียงศักดิ์เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2511 และเป็น[[สมาชิกสภานิติบัญญัติ|สมาชิกสภานิติบัญญัติ]] เมื่อ พ.ศ. 2515 ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเอกเกรียงศักดิ์ร่วมกับพลเรือเอก[[สงัด_ชลออยู่|สงัด_ชลออยู่]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจาก[[รัฐบาล|รัฐบาล]]หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์_ปราโมช|เสนีย์_ปราโมช]]โดยใช้ชื่อว่า [[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน|คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร พลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[[#_ftn5|[5]]] | ||
การบริหารของรัฐบาลนายธานินทร์ได้สร้าง[[ความขัดแย้ง]]ทางการเมืองมาก กลุ่มทหารหนุ่มซึ่งมีบทบาทตั้งแต่การยึดอำนาจในวันที่ [[6_ตุลาคม_พ.ศ.2519]] ได้ตกลงว่าจะทำการยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 เวลา 20.00 น. แต่แผนการยึดอำนาจรั่วไหลทำให้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่และคณะได้ทำการยึดอำนาจก่อน โดยประกาศยึดอำนาจผ่านกรมประชาสัมพันธ์ในเวลา 18.00 น. มีพลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าและพลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะปฏิวัติ แต่กลุ่มทหารหนุ่มได้ทำการยึดอำนาจซ้อนและมีการเจรจาระหว่างคณะปฏิวัติทั้งสองฝ่าย ในการเจรจาพลเอก[[เปรม_ติณสูลานนท์]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกได้เป็นผู้เสนอให้พลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติและพลเอกเกรียงศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีตามที่[[กลุ่มทหารหนุ่ม]]ต้องการ[[#_ftn6|[6]]] หลังการยึดอำนาจจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ | การบริหารของรัฐบาลนายธานินทร์ได้สร้าง[[ความขัดแย้ง|ความขัดแย้ง]]ทางการเมืองมาก กลุ่มทหารหนุ่มซึ่งมีบทบาทตั้งแต่การยึดอำนาจในวันที่ [[6_ตุลาคม_พ.ศ.2519|6_ตุลาคม_พ.ศ.2519]] ได้ตกลงว่าจะทำการยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 เวลา 20.00 น. แต่แผนการยึดอำนาจรั่วไหลทำให้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่และคณะได้ทำการยึดอำนาจก่อน โดยประกาศยึดอำนาจผ่านกรมประชาสัมพันธ์ในเวลา 18.00 น. มีพลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าและพลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะปฏิวัติ แต่กลุ่มทหารหนุ่มได้ทำการยึดอำนาจซ้อนและมีการเจรจาระหว่างคณะปฏิวัติทั้งสองฝ่าย ในการเจรจาพลเอก[[เปรม_ติณสูลานนท์|เปรม_ติณสูลานนท์]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกได้เป็นผู้เสนอให้พลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติและพลเอกเกรียงศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีตามที่[[กลุ่มทหารหนุ่ม|กลุ่มทหารหนุ่ม]]ต้องการ[[#_ftn6|[6]]] หลังการยึดอำนาจจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ | ||
งานสำคัญของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติหลังจากมีวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2 เหตุการณ์คือ 6 ตุลาคม พ.ศ.2516 และกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ | งานสำคัญของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติหลังจากมีวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2 เหตุการณ์คือ 6 ตุลาคม พ.ศ.2516 และกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ | ||
ในด้านการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติ พลเอกเกรียงศักดิ์ดำเนินการคลี่คลายปัญหา การกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 โดยดำเนินการให้มีการออก[[พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม]]แก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2521[[#_ftn7|[7]]] | ในด้านการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติ พลเอกเกรียงศักดิ์ดำเนินการคลี่คลายปัญหา การกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 โดยดำเนินการให้มีการออก[[พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม|พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม]]แก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2521[[#_ftn7|[7]]] | ||
การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมถือเป็นผลงานของรัฐบาลเกรียงศักดิ์ในการสร้าง[[ความปรองดอง]] หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ศาสตราจารย์ ดร. [[สุรชาติ_บำรุงสุข]] ซึ่งเคยเป็นผู้ต้องหาในคดี 6 ตุลาคม กล่าวไว้ว่า “...เมื่อเกิดกรณีการล้อมปราบเมื่อวันที่ 6 ตุลา มันทำให้คนส่วนหนึ่งที่รอดพ้นจากการล้อมปราบในวันนั้น รวมถึงคนอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับการปล่อยตัวในจำนวนคนสามพันกว่าคน ตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในชนบท ฉะนั้นภาพที่เราเห็นหลังวันที่ 6 ตุลา เราเห็นการเติบโตของพรรค[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] เราเห็นการขยายตัวของการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งสภาพอย่างนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ถ้าสังคมไทยยังดำเนินนโยบายแบบขวาจัดไปเรื่อยๆ รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จะเป็นเสมือนแนวร่วมมุมกลับให้กับ พคท. เพราะถ้าคนถูกกดดันมาก คนที่ต่อสู้แบบปกติอยู่ในเมืองจะยิ่งตัดสินใจทิ้งเมืองเข้าสู่ชนบท...การตัดสินใจออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต้องยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูก เพราะการนิรโทษกรรมในเหตุการณ์ 6 ตุลา มันเป็นจุดเริ่มต้นของการคลายปมปัญหาความขัดแย้งจริงๆ ไม่เพียงแต่ทำให้คนที่เข้าป่ามีโอกาสกลับมา มันยังเปิดทุกอย่าง พูดง่ายๆ คือ การทำให้สถานการณ์คลายตัวออก...”[[#_ftn8|[8]]] | การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมถือเป็นผลงานของรัฐบาลเกรียงศักดิ์ในการสร้าง[[ความปรองดอง|ความปรองดอง]] หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ศาสตราจารย์ ดร. [[สุรชาติ_บำรุงสุข|สุรชาติ_บำรุงสุข]] ซึ่งเคยเป็นผู้ต้องหาในคดี 6 ตุลาคม กล่าวไว้ว่า “...เมื่อเกิดกรณีการล้อมปราบเมื่อวันที่ 6 ตุลา มันทำให้คนส่วนหนึ่งที่รอดพ้นจากการล้อมปราบในวันนั้น รวมถึงคนอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับการปล่อยตัวในจำนวนคนสามพันกว่าคน ตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในชนบท ฉะนั้นภาพที่เราเห็นหลังวันที่ 6 ตุลา เราเห็นการเติบโตของพรรค[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย|คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] เราเห็นการขยายตัวของการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งสภาพอย่างนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ถ้าสังคมไทยยังดำเนินนโยบายแบบขวาจัดไปเรื่อยๆ รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จะเป็นเสมือนแนวร่วมมุมกลับให้กับ พคท. เพราะถ้าคนถูกกดดันมาก คนที่ต่อสู้แบบปกติอยู่ในเมืองจะยิ่งตัดสินใจทิ้งเมืองเข้าสู่ชนบท...การตัดสินใจออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต้องยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูก เพราะการนิรโทษกรรมในเหตุการณ์ 6 ตุลา มันเป็นจุดเริ่มต้นของการคลายปมปัญหาความขัดแย้งจริงๆ ไม่เพียงแต่ทำให้คนที่เข้าป่ามีโอกาสกลับมา มันยังเปิดทุกอย่าง พูดง่ายๆ คือ การทำให้สถานการณ์คลายตัวออก...”[[#_ftn8|[8]]] | ||
งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปี ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญมี[[คณะกรรมาธิการ]]ยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คนเป็นผู้ยกร่าง ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมาย [[หัวหน้าพรรคการเมือง]]ใหญ่ 6 พรรค อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] อดีต[[สมาชิกวุฒิสภา]] และนักกฎหมายที่ทรงคุณวุฒิอื่นๆ ในชั้นแรกคณะกรรมาธิการฯได้ยกร่างโดยอาศัยหลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 หลายประการ เช่น | งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปี ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญมี[[คณะกรรมาธิการ|คณะกรรมาธิการ]]ยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คนเป็นผู้ยกร่าง ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมาย [[หัวหน้าพรรคการเมือง|หัวหน้าพรรคการเมือง]]ใหญ่ 6 พรรค อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] อดีต[[สมาชิกวุฒิสภา|สมาชิกวุฒิสภา]] และนักกฎหมายที่ทรงคุณวุฒิอื่นๆ ในชั้นแรกคณะกรรมาธิการฯได้ยกร่างโดยอาศัยหลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 หลายประการ เช่น | ||
1. ให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็น[[ประธานรัฐสภา]]และมีอำนาจเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง | 1. ให้[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร|ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็น[[ประธานรัฐสภา|ประธานรัฐสภา]]และมีอำนาจเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง | ||
2. ให้[[วุฒิสภา]]ได้มาโดยการแต่งตั้งโดยให้ประธานสภานโยบายแห่งชาติซึ่งขณะนั้นพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้าเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา | 2. ให้[[วุฒิสภา|วุฒิสภา]]ได้มาโดยการแต่งตั้งโดยให้ประธานสภานโยบายแห่งชาติซึ่งขณะนั้นพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้าเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา | ||
3. ให้วุฒิสภาในระยะแรกมีอำนาจเกือบเท่าเทียมกับสภาผู้แทนราษฎร ทั้งอำนาจในด้านนิติบัญญัติและอำนาจใน[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] เพื่อให้รัฐบาลในระยะเริ่มแรกมีเสถียรภาพ | 3. ให้วุฒิสภาในระยะแรกมีอำนาจเกือบเท่าเทียมกับสภาผู้แทนราษฎร ทั้งอำนาจในด้านนิติบัญญัติและอำนาจใน[[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน|การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] เพื่อให้รัฐบาลในระยะเริ่มแรกมีเสถียรภาพ | ||
4. วางรากฐานที่จะพัฒนาระบบพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้นที่มีสิทธิส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์จากกลุ่มการเมืองเล็กๆ ที่สร้างความวุ่นวายและสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเมืองเช่นในอดีต | 4. วางรากฐานที่จะพัฒนาระบบพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้นที่มีสิทธิส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์จากกลุ่มการเมืองเล็กๆ ที่สร้างความวุ่นวายและสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเมืองเช่นในอดีต | ||
5. ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งใน[[คณะรัฐมนตรี]]และตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน เพื่อให้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ แต่ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อประนีประนอมให้ข้าราชการประจำโดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มีอำนาจทางการเมืองมากในขณะนั้น ยังคงมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ต่อไปและเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของชาติ อันเป็นความกังวลพื้นฐานของฝ่ายทหาร ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะ 4 ปี แรกของการประกาศให้รัฐธรรมนูญก็คาดหมายว่าจะลดทอนอำนาจของวุฒิสภาลงตามลำดับ[[#_ftn9|[9]]] | 5. ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งใน[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]และตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน เพื่อให้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ แต่ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อประนีประนอมให้ข้าราชการประจำโดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มีอำนาจทางการเมืองมากในขณะนั้น ยังคงมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ต่อไปและเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของชาติ อันเป็นความกังวลพื้นฐานของฝ่ายทหาร ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะ 4 ปี แรกของการประกาศให้รัฐธรรมนูญก็คาดหมายว่าจะลดทอนอำนาจของวุฒิสภาลงตามลำดับ[[#_ftn9|[9]]] | ||
แต่เหตุการณ์ในขณะนั้นกลุ่มทหารเองก็มีการแก่งแย่งอำนาจกันอยู่ระหว่างกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ ซึ่งมีพลเอก เกรียงศักดิ์เป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกับกลุ่มพลเรือเอกสงัด ซึ่งมีพลเรือเอก สงัด เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และประธาน[[สภานโยบายแห่งชาติ]] ดังนั้น เมื่อมีการนำร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]เพื่อพิจารณาก็ปรากฏว่า[[คณะกรรมาธิการวิสามัญ]]พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นก็ได้แก้ไขหลักการในร่างชั้นต้นเกือบทั้งหมด การแก้ไขดังกล่าวนอกจากจะมีผลกระทบต่อโอกาสการกุมอำนาจทางการเมืองของพลเอกเกรียงศักดิ์ หรือพลเรือเอกสงัดแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการพัฒนาระบอบการเมืองของประเทศอีกด้วยโดยสาระสำคัญ ที่ถูกแก้ไขมีดังนี้ | แต่เหตุการณ์ในขณะนั้นกลุ่มทหารเองก็มีการแก่งแย่งอำนาจกันอยู่ระหว่างกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ ซึ่งมีพลเอก เกรียงศักดิ์เป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกับกลุ่มพลเรือเอกสงัด ซึ่งมีพลเรือเอก สงัด เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และประธาน[[สภานโยบายแห่งชาติ|สภานโยบายแห่งชาติ]] ดังนั้น เมื่อมีการนำร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]เพื่อพิจารณาก็ปรากฏว่า[[คณะกรรมาธิการวิสามัญ|คณะกรรมาธิการวิสามัญ]]พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นก็ได้แก้ไขหลักการในร่างชั้นต้นเกือบทั้งหมด การแก้ไขดังกล่าวนอกจากจะมีผลกระทบต่อโอกาสการกุมอำนาจทางการเมืองของพลเอกเกรียงศักดิ์ หรือพลเรือเอกสงัดแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการพัฒนาระบอบการเมืองของประเทศอีกด้วยโดยสาระสำคัญ ที่ถูกแก้ไขมีดังนี้ | ||
1. เปลี่ยนแปลงให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาอันเป็นผลให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีและวุฒิสภามีฐานะเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรใน[[การประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร]] | 1. เปลี่ยนแปลงให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาอันเป็นผลให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีและวุฒิสภามีฐานะเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรใน[[การประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร|การประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร]] | ||
2. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ทำให้นายกรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์มีโอกาสได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและเป็นการตัดโอกาสของพลเรือเอกสงัดที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไปด้วย | 2. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ทำให้นายกรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์มีโอกาสได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและเป็นการตัดโอกาสของพลเรือเอกสงัดที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไปด้วย | ||
3. เพิ่มอำนาจให้วุฒิสภาประชุมร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในอีก 2 เรื่อง คือการพิจารณาอนุมัติร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงและได้รับความเห็นชอบจากประธานรัฐสภาว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง กับการอนุมัติ[[พระราชกำหนด]]ต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่จะควบคุมสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและการไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณาร่างกฎหมายลักษณะดังกล่าว | 3. เพิ่มอำนาจให้วุฒิสภาประชุมร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในอีก 2 เรื่อง คือการพิจารณาอนุมัติร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงและได้รับความเห็นชอบจากประธานรัฐสภาว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง กับการอนุมัติ[[พระราชกำหนด|พระราชกำหนด]]ต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่จะควบคุมสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและการไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณาร่างกฎหมายลักษณะดังกล่าว | ||
4. ชะลอการพัฒนาระบบ[[พรรคการเมือง]]ให้เข้มแข็ง โดยในระยะ 4 ปีแรกไม่บังคับผู้สมัครเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรค และไม่บังคับจำนวนผู้สมัครของแต่ละพรรคการเมืองที่จะต้องส่งสมัคร | 4. ชะลอการพัฒนาระบบ[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]]ให้เข้มแข็ง โดยในระยะ 4 ปีแรกไม่บังคับผู้สมัครเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรค และไม่บังคับจำนวนผู้สมัครของแต่ละพรรคการเมืองที่จะต้องส่งสมัคร | ||
5. ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี หรือตำแหน่งการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน รวมทั้งตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[[#_ftn10|[10]]] | 5. ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี หรือตำแหน่งการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน รวมทั้งตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[[#_ftn10|[10]]] | ||
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรา สะท้อนถึงความมุ่งหมายของฝ่ายทหารที่ต้องการจะสงวนอำนาจแก่พวกตนไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยก็ในระยะ 4 ปี แรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยอาศัยวุฒิสภาเป็นเครื่องมือ ซึ่งได้กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภามากถึง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นถ้าสมาชิกวุฒิสภารวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกส่วนหนึ่ง ก็จะมีเสียงข้างมากในรัฐสภาและสามารถกำหนดผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ยังได้มีการถ่วงเวลาในการออก[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง]] ดังนั้นการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเป็นการเลือกตั้งในนามของกลุ่มการเมือง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้ง่ายแก่การช่วงชิงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นฐานทางการเมืองได้ | การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรา สะท้อนถึงความมุ่งหมายของฝ่ายทหารที่ต้องการจะสงวนอำนาจแก่พวกตนไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยก็ในระยะ 4 ปี แรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยอาศัยวุฒิสภาเป็นเครื่องมือ ซึ่งได้กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภามากถึง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นถ้าสมาชิกวุฒิสภารวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกส่วนหนึ่ง ก็จะมีเสียงข้างมากในรัฐสภาและสามารถกำหนดผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ยังได้มีการถ่วงเวลาในการออก[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง|พระราชบัญญัติพรรคการเมือง]] ดังนั้นการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเป็นการเลือกตั้งในนามของกลุ่มการเมือง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้ง่ายแก่การช่วงชิงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นฐานทางการเมืองได้ | ||
เมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2521|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ]]ประกาศใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2521 ได้มีการกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ซึ่งในวันดังกล่าวพลเอกเกรียงศักดิ์ได้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน พลเอกเกรียงศักดิ์จึงมีฐานการเมืองจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[กลุ่มเสรีธรรม]] 23 เสียง พรรคชาติประชาชน 14 เสียง พรรค[[พลังใหม่]] 10 เสียง พรรค[[เกษตรสังคม]] 8 เสียง พรรค[[ประชาธิปไตย]] 3 เสียง [[กลุ่มกิจธรรม]] 1 เสียง [[กลุ่มธรรมสังคม]] 1 เสียง กลุ่ม[[สยามปฏิรูป]] 3 เสียง กลุ่มสนับสนุนเกรียงศักดิ์ 1 เสียง กลุ่ม[[รวมไทย]] 3 เสียง และ[[กลุ่มอิสระ]]อีก 44 เสียง รวมเป็น 111 เสียง ในขณะที่กลุ่มการเมืองใหญ่ ๆซึ่งยังมีลักษณะเป็นกลุ่มการเมืองคือ กลุ่มกิจสังคม 88 เสียง กลุ่มชาติไทย 38 เสียง กลุ่มประชากรไทย 32 เสียง กลุ่มประชาธิปัตย์ 32 เสียง รวม 190 เสียงเป็นฝ่ายค้าน หม่อมราชวงศ์[[คึกฤทธิ์_ปราโมช]] หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับประกาศว่าการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของวุฒิสภาเพราะวุฒิสมาชิกเป็นกลุ่มการเมืองที่ใหญ่ที่สุด[[#_ftn11|[11]]] ในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คุมเสียงในกลุ่ม หลายคนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯอิสระ พลเอกเกรียงศักดิ์มั่นใจว่าฐานการเมืองอยู่ที่วุฒิสภาและกองทัพ[[#_ftn12|[12]]] | เมื่อ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2521|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ]]ประกาศใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2521 ได้มีการกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ซึ่งในวันดังกล่าวพลเอกเกรียงศักดิ์ได้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน พลเอกเกรียงศักดิ์จึงมีฐานการเมืองจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[กลุ่มเสรีธรรม|กลุ่มเสรีธรรม]] 23 เสียง พรรคชาติประชาชน 14 เสียง พรรค[[พลังใหม่|พลังใหม่]] 10 เสียง พรรค[[เกษตรสังคม|เกษตรสังคม]] 8 เสียง พรรค[[ประชาธิปไตย|ประชาธิปไตย]] 3 เสียง [[กลุ่มกิจธรรม|กลุ่มกิจธรรม]] 1 เสียง [[กลุ่มธรรมสังคม|กลุ่มธรรมสังคม]] 1 เสียง กลุ่ม[[สยามปฏิรูป|สยามปฏิรูป]] 3 เสียง กลุ่มสนับสนุนเกรียงศักดิ์ 1 เสียง กลุ่ม[[รวมไทย|รวมไทย]] 3 เสียง และ[[กลุ่มอิสระ|กลุ่มอิสระ]]อีก 44 เสียง รวมเป็น 111 เสียง ในขณะที่กลุ่มการเมืองใหญ่ ๆซึ่งยังมีลักษณะเป็นกลุ่มการเมืองคือ กลุ่มกิจสังคม 88 เสียง กลุ่มชาติไทย 38 เสียง กลุ่มประชากรไทย 32 เสียง กลุ่มประชาธิปัตย์ 32 เสียง รวม 190 เสียงเป็นฝ่ายค้าน หม่อมราชวงศ์[[คึกฤทธิ์_ปราโมช|คึกฤทธิ์_ปราโมช]] หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับประกาศว่าการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของวุฒิสภาเพราะวุฒิสมาชิกเป็นกลุ่มการเมืองที่ใหญ่ที่สุด[[#_ftn11|[11]]] ในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คุมเสียงในกลุ่ม หลายคนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯอิสระ พลเอกเกรียงศักดิ์มั่นใจว่าฐานการเมืองอยู่ที่วุฒิสภาและกองทัพ[[#_ftn12|[12]]] | ||
ภายหลังการเลือกตั้งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยมีพลอากาศเอก[[หะริน_หงสกุล]] [[ประธานรัฐสภา]]เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้พลเอกเกรียงศักดิ์ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ภายหลังการเลือกตั้งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยมีพลอากาศเอก[[หะริน_หงสกุล|หะริน_หงสกุล]] [[ประธานรัฐสภา|ประธานรัฐสภา]]เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้พลเอกเกรียงศักดิ์ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ||
การบริหารประเทศของพลเอกเกรียงศักดิ์ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนัก ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีรัฐบาลมากได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ กรณีหนึ่ง ได้แก่การขึ้นราคาน้ำมันโดยน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษเพิ่มราคาจากลิตรละ 4.22 บาทในเดือนมีนาคม พ.ศ.2521 เป็น 4.98 บาท เป็น 5.60 บาท และ 7.84 บาท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2522 การขึ้นราคาน้ำมันดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายๆ ด้าน และประชาชนจำนวนมากที่เดือดร้อนก็ได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างกว้างขวาง[[#_ftn13|[13]]] ในระหว่างการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเมื่อเดือนตุลาคม 2522 ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ 4 กระทรวง จำนวน 11 คน ผลของการลงมติปรากฏว่า รัฐมนตรีทุกคนได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจ | การบริหารประเทศของพลเอกเกรียงศักดิ์ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนัก ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีรัฐบาลมากได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ กรณีหนึ่ง ได้แก่การขึ้นราคาน้ำมันโดยน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษเพิ่มราคาจากลิตรละ 4.22 บาทในเดือนมีนาคม พ.ศ.2521 เป็น 4.98 บาท เป็น 5.60 บาท และ 7.84 บาท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2522 การขึ้นราคาน้ำมันดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายๆ ด้าน และประชาชนจำนวนมากที่เดือดร้อนก็ได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างกว้างขวาง[[#_ftn13|[13]]] ในระหว่างการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเมื่อเดือนตุลาคม 2522 ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ 4 กระทรวง จำนวน 11 คน ผลของการลงมติปรากฏว่า รัฐมนตรีทุกคนได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจ | ||
บรรทัดที่ 74: | บรรทัดที่ 74: | ||
ปรับจากราคาลิตรละ 7.84 เป็นลิตรละ 9.84 บาท ซึ่งทำให้ราคาสินค้าและค่าบริการขึ้นราคาตามไปด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เจาะจงที่ตัวนายกรัฐมนตรีโดยตรง สมาชิกวุฒิสภาสายทหารหนุ่มก็ได้แสดงท่าทีสนับสนุนฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและสมาชิกวุฒิสภาระดับสูงคนอื่น ๆ ก็มีท่าทีให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลด้วย สมาชิกวุฒิสภากลุ่มทหารหนุ่ม ซึ่งกำลังมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ได้แสดงท่าทีว่าจะไม่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างเด่นชัด พลเอกเกรียงศักดิ์จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลางที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523[[#_ftn14|[14]]] และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน | ปรับจากราคาลิตรละ 7.84 เป็นลิตรละ 9.84 บาท ซึ่งทำให้ราคาสินค้าและค่าบริการขึ้นราคาตามไปด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เจาะจงที่ตัวนายกรัฐมนตรีโดยตรง สมาชิกวุฒิสภาสายทหารหนุ่มก็ได้แสดงท่าทีสนับสนุนฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและสมาชิกวุฒิสภาระดับสูงคนอื่น ๆ ก็มีท่าทีให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลด้วย สมาชิกวุฒิสภากลุ่มทหารหนุ่ม ซึ่งกำลังมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ได้แสดงท่าทีว่าจะไม่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างเด่นชัด พลเอกเกรียงศักดิ์จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลางที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523[[#_ftn14|[14]]] และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน | ||
ในพ.ศ.2524 เมื่อนาย[[สมพร_จุรีมาศ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด [[พรรคกิจสังคม]]ถึงแก่กรรม ทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งซ่อม พลเอกเกรียงศักดิ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค[[ชาติประชาธิปไตย_แ]]ข่งกับพันตำรวจโท[[บุญเลิศ_เลิศปรีชา]] รองหัวหน้าพรรคกิจสังคม การเลือกตั้งครั้งนี้มีการใช้อำนาจรัฐเข้าช่วยอย่างเต็มที่ รวมถึงการใช้เงินซื้อเสียงเป็นจำนวนมาก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ชนะการเลือกตั้งจนหม่อมราชวงศ์[[คึกฤทธิ์_ปราโมช]] หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับกล่าวว่า “เข้าตำรารักแท้แพ้เงินตรา”และกลายเป็นที่มาของคำว่า “โรคร้อยเอ็ด” [[#_ftn15|[15]]] | ในพ.ศ.2524 เมื่อนาย[[สมพร_จุรีมาศ|สมพร_จุรีมาศ]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด [[พรรคกิจสังคม|พรรคกิจสังคม]]ถึงแก่กรรม ทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งซ่อม พลเอกเกรียงศักดิ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค[[ชาติประชาธิปไตย_แ|ชาติประชาธิปไตย_แ]]ข่งกับพันตำรวจโท[[บุญเลิศ_เลิศปรีชา|บุญเลิศ_เลิศปรีชา]] รองหัวหน้าพรรคกิจสังคม การเลือกตั้งครั้งนี้มีการใช้อำนาจรัฐเข้าช่วยอย่างเต็มที่ รวมถึงการใช้เงินซื้อเสียงเป็นจำนวนมาก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ชนะการเลือกตั้งจนหม่อมราชวงศ์[[คึกฤทธิ์_ปราโมช|คึกฤทธิ์_ปราโมช]] หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับกล่าวว่า “เข้าตำรารักแท้แพ้เงินตรา”และกลายเป็นที่มาของคำว่า “โรคร้อยเอ็ด” [[#_ftn15|[15]]] | ||
พลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการทางการเมืองในนามพรรคชาติประชาธิปไตย และมีความพยายามจะกลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อมีชื่อปรากฎอยู่ในคณะรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 ร่วมกับ พลเอก[[เสริม_ณ_นคร_พลเอกยศ|เสริม ณ นคร พลเอกยศ ]][[เทพหัสดินทร_ณ_อยุธยา|เทพหัสดินทร ณ อยุธยา]] พลอากาศเอก[[กระแส_อินทรัตน์]] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[[#_ftn16|[16]]] | พลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการทางการเมืองในนามพรรคชาติประชาธิปไตย และมีความพยายามจะกลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อมีชื่อปรากฎอยู่ในคณะรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 ร่วมกับ พลเอก[[เสริม_ณ_นคร_พลเอกยศ|เสริม ณ นคร พลเอกยศ ]][[เทพหัสดินทร_ณ_อยุธยา|เทพหัสดินทร ณ อยุธยา]] พลอากาศเอก[[กระแส_อินทรัตน์|กระแส_อินทรัตน์]] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[[#_ftn16|[16]]] | ||
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุ 86 ปี | พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุ 86 ปี | ||
บรรทัดที่ 138: | บรรทัดที่ 138: | ||
[[#_ftnref16|[16]]] มูลนิธิรัฐบุรุษ, '''รัฐบุรุษชื่อเปรม,''' (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 592. | [[#_ftnref16|[16]]] มูลนิธิรัฐบุรุษ, '''รัฐบุรุษชื่อเปรม,''' (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 592. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]] | [[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง|ก]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:30, 6 พฤษภาคม 2563
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 15 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย เป็นนักการเมืองที่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่าอินทรีบางเขน และเป็นต้นกำเนิดของคำศัพท์ทางการเมืองว่า “โรคร้อยเอ็ด”
ประวัติส่วนบุคคล
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ มีนามเดิมว่าสมจิตร เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแจ่มกับนางเจือ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จากนั้นเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปทุมคงคาจนจบชั้นมัธยมศึกษา แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2483 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยการทัพบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 5[1]
เหตุการณ์สำคัญ
ใน พ.ศ. 2484 พลเอกเกรียงศักดิ์เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 26 ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 26 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งติดยศร้อยเอกใน พ.ศ. 2486 จึงย้ายมาประจำที่ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบกรมผสมที่ 20 และไปราชการสงครามที่เกาหลี ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 ที่ได้รับฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย”[2]
ในสงครามเกาหลีพลเอกเกรียงศักดิ์ได้มีวีรกรรมที่สำคัญที่สมรภูมิพอร์คช็อปฮิลล์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่ง โดยมีคำสั่งทางยุทธการว่า การรบบนเขาลูกนี้คือการสู้ตาย ห้ามถูกจับเป็นเชลยและจะถอนตัวได้ก็เมื่อมีคำสั่งจากผู้บังคับกองพันเพียงคนเดียวเท่านั้น ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2495 การข่าวทหารได้รับรายงานว่ากองกำลังเกาหลีเหนือเตรียมที่บุกเข้ายึดพอร์คช็อปฮิลล์ กองพันพยัคฆ์น้อยได้รับคำสั่งให้ขึ้นไปรักษายุทธศาสตร์แห่งนี้ ในที่สุดฝ่ายเกาหลีเหนือได้เข้าตีในคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ผลจากการรบที่พอร์คช็อปฮิลล์ มีทหารไทยเสียชีวิตทั้งสิ้น 25 นาย ทหารจีนและเกาหลีเหนือเสียชีวิตกว่า 160 นาย พลเอกเกรียงศักดิ์ในฐานะผู้บังคับกองพันได้รับเหรียญกล้าหาญระดับลีเยียนออฟเมอริต ดีกรีออฟเลยอนแนร์ และมีทหารไทยได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาร์ 9 นาย และเหรียญบรอนสตาร์อีก 19 นาย [3]
เมื่อกลับจากเกาหลีพลเอกเกรียงศักดิ์ได้เป็นเป็นหัวหน้าภาควิชายุทธการ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก แล้วจึงย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานวางแผนทหารขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ. หรือ SEATO) จนได้เป็นหัวหน้ากองการทหารของ ส.ป.อ. ในระหว่าง พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 จากนั้นจึงย้ายมาดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองอำนวยการกลาง สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด[4]
การปฏิบัติหน้าที่ในกองบัญชาการทหารสูงสุด พลเอกเกรียงศักดิ์มีบทบาทในการแก้ปัญหากำลังพลของจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ที่ตกค้างอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่หลังสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยใน พ.ศ. 2512 คณะนายทหารจากกองบัญชาการทหารสูงสุดได้เดินทางไปเจรจากับกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ผลจากการเจรจาทางรัฐบาลไต้หวันได้มอบทหารจีนคณะชาติ กองพลที่ 93 ให้กับทางรัฐบาลไทยดูแล โดยให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งขณะนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองบังคับการส่วนหน้า โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ เป็นผู้รับผิดชอบ พลเอกเกรียงศักดิ์ได้เริ่มโครงการปลูกชา โดยนำพันธุ์ชาชั้นเยี่ยมจากไต้หวันมาทำการเพาะปลูกที่แม่สะลอง เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม เริ่มโครงการเพาะปลูกขั้นแรกจำนวน 6 ล้านต้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาของทหารกองพลที่ 93 ได้
พ.ศ. 2516 พลเอกเกรียงศักดิ์ย้ายกลับกองทัพบกโดยดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก จากนั้นใน พ.ศ. 2517 ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ก่อนเลื่อนเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520
ในทางการเมือง พลเอกเกรียงศักดิ์เป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อ พ.ศ. 2511 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อ พ.ศ. 2515 ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 พลเอกเกรียงศักดิ์ร่วมกับพลเรือเอกสงัด_ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมชโดยใช้ชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร พลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[5]
การบริหารของรัฐบาลนายธานินทร์ได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองมาก กลุ่มทหารหนุ่มซึ่งมีบทบาทตั้งแต่การยึดอำนาจในวันที่ 6_ตุลาคม_พ.ศ.2519 ได้ตกลงว่าจะทำการยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 เวลา 20.00 น. แต่แผนการยึดอำนาจรั่วไหลทำให้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่และคณะได้ทำการยึดอำนาจก่อน โดยประกาศยึดอำนาจผ่านกรมประชาสัมพันธ์ในเวลา 18.00 น. มีพลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าและพลเอกเกรียงศักดิ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะปฏิวัติ แต่กลุ่มทหารหนุ่มได้ทำการยึดอำนาจซ้อนและมีการเจรจาระหว่างคณะปฏิวัติทั้งสองฝ่าย ในการเจรจาพลเอกเปรม_ติณสูลานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกได้เป็นผู้เสนอให้พลเรือเอกสงัดเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติและพลเอกเกรียงศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีตามที่กลุ่มทหารหนุ่มต้องการ[6] หลังการยึดอำนาจจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
งานสำคัญของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติหลังจากมีวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2 เหตุการณ์คือ 6 ตุลาคม พ.ศ.2516 และกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่
ในด้านการสร้างความมั่นคงและความปรองดองในชาติ พลเอกเกรียงศักดิ์ดำเนินการคลี่คลายปัญหา การกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ.2520 โดยดำเนินการให้มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2520 และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2521[7]
การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมถือเป็นผลงานของรัฐบาลเกรียงศักดิ์ในการสร้างความปรองดอง หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ศาสตราจารย์ ดร. สุรชาติ_บำรุงสุข ซึ่งเคยเป็นผู้ต้องหาในคดี 6 ตุลาคม กล่าวไว้ว่า “...เมื่อเกิดกรณีการล้อมปราบเมื่อวันที่ 6 ตุลา มันทำให้คนส่วนหนึ่งที่รอดพ้นจากการล้อมปราบในวันนั้น รวมถึงคนอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับการปล่อยตัวในจำนวนคนสามพันกว่าคน ตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในชนบท ฉะนั้นภาพที่เราเห็นหลังวันที่ 6 ตุลา เราเห็นการเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เราเห็นการขยายตัวของการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งสภาพอย่างนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ถ้าสังคมไทยยังดำเนินนโยบายแบบขวาจัดไปเรื่อยๆ รัฐบาลที่กรุงเทพฯ จะเป็นเสมือนแนวร่วมมุมกลับให้กับ พคท. เพราะถ้าคนถูกกดดันมาก คนที่ต่อสู้แบบปกติอยู่ในเมืองจะยิ่งตัดสินใจทิ้งเมืองเข้าสู่ชนบท...การตัดสินใจออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต้องยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูก เพราะการนิรโทษกรรมในเหตุการณ์ 6 ตุลา มันเป็นจุดเริ่มต้นของการคลายปมปัญหาความขัดแย้งจริงๆ ไม่เพียงแต่ทำให้คนที่เข้าป่ามีโอกาสกลับมา มันยังเปิดทุกอย่าง พูดง่ายๆ คือ การทำให้สถานการณ์คลายตัวออก...”[8]
งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์คือการร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปี ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญมีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คนเป็นผู้ยกร่าง ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมาย หัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ 6 พรรค อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนักกฎหมายที่ทรงคุณวุฒิอื่นๆ ในชั้นแรกคณะกรรมาธิการฯได้ยกร่างโดยอาศัยหลักการของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 หลายประการ เช่น
1. ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาและมีอำนาจเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
2. ให้วุฒิสภาได้มาโดยการแต่งตั้งโดยให้ประธานสภานโยบายแห่งชาติซึ่งขณะนั้นพลเรือเอกสงัด ชลออยู่เป็นหัวหน้าเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา
3. ให้วุฒิสภาในระยะแรกมีอำนาจเกือบเท่าเทียมกับสภาผู้แทนราษฎร ทั้งอำนาจในด้านนิติบัญญัติและอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้รัฐบาลในระยะเริ่มแรกมีเสถียรภาพ
4. วางรากฐานที่จะพัฒนาระบบพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้พรรคการเมืองใหญ่เท่านั้นที่มีสิทธิส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์จากกลุ่มการเมืองเล็กๆ ที่สร้างความวุ่นวายและสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเมืองเช่นในอดีต
5. ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน เพื่อให้มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่ แต่ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เพื่อประนีประนอมให้ข้าราชการประจำโดยเฉพาะฝ่ายทหารที่มีอำนาจทางการเมืองมากในขณะนั้น ยังคงมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ต่อไปและเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของชาติ อันเป็นความกังวลพื้นฐานของฝ่ายทหาร ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะ 4 ปี แรกของการประกาศให้รัฐธรรมนูญก็คาดหมายว่าจะลดทอนอำนาจของวุฒิสภาลงตามลำดับ[9]
แต่เหตุการณ์ในขณะนั้นกลุ่มทหารเองก็มีการแก่งแย่งอำนาจกันอยู่ระหว่างกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ ซึ่งมีพลเอก เกรียงศักดิ์เป็นเลขาธิการคณะปฏิวัติและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกับกลุ่มพลเรือเอกสงัด ซึ่งมีพลเรือเอก สงัด เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และประธานสภานโยบายแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อมีการนำร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาก็ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นก็ได้แก้ไขหลักการในร่างชั้นต้นเกือบทั้งหมด การแก้ไขดังกล่าวนอกจากจะมีผลกระทบต่อโอกาสการกุมอำนาจทางการเมืองของพลเอกเกรียงศักดิ์ หรือพลเรือเอกสงัดแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการพัฒนาระบอบการเมืองของประเทศอีกด้วยโดยสาระสำคัญ ที่ถูกแก้ไขมีดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาอันเป็นผลให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีและวุฒิสภามีฐานะเหนือกว่าสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมร่วมระหว่างวุฒิสภากับสภาผู้แทนราษฎร
2. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ทำให้นายกรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะทำให้พลเอกเกรียงศักดิ์มีโอกาสได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและเป็นการตัดโอกาสของพลเรือเอกสงัดที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไปด้วย
3. เพิ่มอำนาจให้วุฒิสภาประชุมร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในอีก 2 เรื่อง คือการพิจารณาอนุมัติร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงและได้รับความเห็นชอบจากประธานรัฐสภาว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง กับการอนุมัติพระราชกำหนดต่างๆ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่จะควบคุมสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้นและการไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎรให้พิจารณาร่างกฎหมายลักษณะดังกล่าว
4. ชะลอการพัฒนาระบบพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยในระยะ 4 ปีแรกไม่บังคับผู้สมัครเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรค และไม่บังคับจำนวนผู้สมัครของแต่ละพรรคการเมืองที่จะต้องส่งสมัคร
5. ไม่ห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี หรือตำแหน่งการเมืองอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน รวมทั้งตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[10]
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีจำนวน 12 มาตรา สะท้อนถึงความมุ่งหมายของฝ่ายทหารที่ต้องการจะสงวนอำนาจแก่พวกตนไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยก็ในระยะ 4 ปี แรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยอาศัยวุฒิสภาเป็นเครื่องมือ ซึ่งได้กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภามากถึง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นถ้าสมาชิกวุฒิสภารวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกส่วนหนึ่ง ก็จะมีเสียงข้างมากในรัฐสภาและสามารถกำหนดผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ยังได้มีการถ่วงเวลาในการออกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ดังนั้นการเลือกตั้ง ส.ส. จึงเป็นการเลือกตั้งในนามของกลุ่มการเมือง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นทำให้ง่ายแก่การช่วงชิงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นฐานทางการเมืองได้
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ประกาศใช้ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2521 ได้มีการกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ซึ่งในวันดังกล่าวพลเอกเกรียงศักดิ์ได้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน พลเอกเกรียงศักดิ์จึงมีฐานการเมืองจากสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่ง โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มเสรีธรรม 23 เสียง พรรคชาติประชาชน 14 เสียง พรรคพลังใหม่ 10 เสียง พรรคเกษตรสังคม 8 เสียง พรรคประชาธิปไตย 3 เสียง กลุ่มกิจธรรม 1 เสียง กลุ่มธรรมสังคม 1 เสียง กลุ่มสยามปฏิรูป 3 เสียง กลุ่มสนับสนุนเกรียงศักดิ์ 1 เสียง กลุ่มรวมไทย 3 เสียง และกลุ่มอิสระอีก 44 เสียง รวมเป็น 111 เสียง ในขณะที่กลุ่มการเมืองใหญ่ ๆซึ่งยังมีลักษณะเป็นกลุ่มการเมืองคือ กลุ่มกิจสังคม 88 เสียง กลุ่มชาติไทย 38 เสียง กลุ่มประชากรไทย 32 เสียง กลุ่มประชาธิปัตย์ 32 เสียง รวม 190 เสียงเป็นฝ่ายค้าน หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์_ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับประกาศว่าการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของวุฒิสภาเพราะวุฒิสมาชิกเป็นกลุ่มการเมืองที่ใหญ่ที่สุด[11] ในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่คุมเสียงในกลุ่ม หลายคนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯอิสระ พลเอกเกรียงศักดิ์มั่นใจว่าฐานการเมืองอยู่ที่วุฒิสภาและกองทัพ[12]
ภายหลังการเลือกตั้งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยมีพลอากาศเอกหะริน_หงสกุล ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นอกจากนี้พลเอกเกรียงศักดิ์ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การบริหารประเทศของพลเอกเกรียงศักดิ์ต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหนัก ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายค้านหยิบยกมาโจมตีรัฐบาลมากได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ กรณีหนึ่ง ได้แก่การขึ้นราคาน้ำมันโดยน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษเพิ่มราคาจากลิตรละ 4.22 บาทในเดือนมีนาคม พ.ศ.2521 เป็น 4.98 บาท เป็น 5.60 บาท และ 7.84 บาท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2522 การขึ้นราคาน้ำมันดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายๆ ด้าน และประชาชนจำนวนมากที่เดือดร้อนก็ได้วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างกว้างขวาง[13] ในระหว่างการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเมื่อเดือนตุลาคม 2522 ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ 4 กระทรวง จำนวน 11 คน ผลของการลงมติปรากฏว่า รัฐมนตรีทุกคนได้รับคะแนนไว้วางใจเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจ
หลังจากนั้น พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้มีการเคลื่อนไหวยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 เมื่อรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ได้ประกาศขึ้นราคาค่าไฟฟ้าเมื่อปลายเดือน มกราคม พ.ศ.2523 และประกาศปรับราคาน้ำมันอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523 โดยราคาน้ำมัน
ปรับจากราคาลิตรละ 7.84 เป็นลิตรละ 9.84 บาท ซึ่งทำให้ราคาสินค้าและค่าบริการขึ้นราคาตามไปด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เจาะจงที่ตัวนายกรัฐมนตรีโดยตรง สมาชิกวุฒิสภาสายทหารหนุ่มก็ได้แสดงท่าทีสนับสนุนฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและสมาชิกวุฒิสภาระดับสูงคนอื่น ๆ ก็มีท่าทีให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลด้วย สมาชิกวุฒิสภากลุ่มทหารหนุ่ม ซึ่งกำลังมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ได้แสดงท่าทีว่าจะไม่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์อย่างเด่นชัด พลเอกเกรียงศักดิ์จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลางที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523[14] และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
ในพ.ศ.2524 เมื่อนายสมพร_จุรีมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด พรรคกิจสังคมถึงแก่กรรม ทำให้ต้องจัดการเลือกตั้งซ่อม พลเอกเกรียงศักดิ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติประชาธิปไตย_แข่งกับพันตำรวจโทบุญเลิศ_เลิศปรีชา รองหัวหน้าพรรคกิจสังคม การเลือกตั้งครั้งนี้มีการใช้อำนาจรัฐเข้าช่วยอย่างเต็มที่ รวมถึงการใช้เงินซื้อเสียงเป็นจำนวนมาก ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ชนะการเลือกตั้งจนหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์_ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมถึงกับกล่าวว่า “เข้าตำรารักแท้แพ้เงินตรา”และกลายเป็นที่มาของคำว่า “โรคร้อยเอ็ด” [15]
พลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการทางการเมืองในนามพรรคชาติประชาธิปไตย และมีความพยายามจะกลับเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อมีชื่อปรากฎอยู่ในคณะรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528 ร่วมกับ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกยศ เทพหัสดินทร ณ อยุธยา พลอากาศเอกกระแส_อินทรัตน์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[16]
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุ 86 ปี
บรรณานุกรม
กรมยุทธศึกษาทหารบก . ประวัติการรบของทหารไทในสงครามเกาหลี. (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2541).
ประชาไท.'การนิรโทษกรรมทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่ '2475 ถึงปัจจุบัน.เข้าถึงจาก http://prachatai.com/journal/2013/01/44740 เมื่อ 6 กันยายน 2559
ธีรภัทร เสรีรังสรรค์. รูปแบบรัฐบาลในระบบรัฐสภาไทย ระหว่าง พ.ศ. '2518-2539', (กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541), หน้า 88.
นรนิติ เศรษฐบุตร. เกิดมาเป็นนายก, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2554 พิมพ์ครั้งที่ 3), หน้า 95.
มูลนิธิรัฐบุรุษ, รัฐบุรุษชื่อเปรม, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 592.
วีรชาติ ชุ่มสนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. (กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง, 2549), หน้า 134.
สยามรัฐออนไลน์,โรคร้อยเอ็ดจะกลับมาถ้าบิ๊กตู่ลงเลือกตั้ง, เข้าถึงจาก http://www.siamrath.co.th/n/2056 เมื่อ 6 กันยายน 2559
สัญญลักษณ์ เทียมถนอม. ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง ชีวประวัติพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มิติใหม่. 2545), หน้า 203.
สุรชาติ บำรุงสุข.นิรโทษกรรมและปรองดอง ในสายตาคน(เคยผ่าน)เดือนตุลา. เข้าถึงจาก http://prachatai.com/journal/2015/10/62191 เมื่อ 6 กันยายน 2559
[1] วีรชาติ ชุ่มสนิท. 24 นายกรัฐมนตรีไทย. (กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง, 2549), หน้า 134.
[2] วีรชาติ ชุ่มสนิท.หน้า 134.
[3] กรมยุทธศึกษาทหารบก ,ประวัติการรบของทหารไทในสงครามเกาหลี, (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2541). หน้า
[4] วีรชาติ ชุ่มสนิท.หน้า 134.
[5] วีรชาติ ชุ่มสนิท. หน้า 135.
[6] สัญญลักษณ์ เทียมถนอม,ล้วนเป็นผมลิขิตชีวิตเอง ชีวประวัติพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มิติใหม่. 2545), หน้า 203.
[7] ประชาไท.'การนิรโทษกรรมทางการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่ '2475 ถึงปัจจุบัน.เข้าถึงจาก http://prachatai.com/journal/2013/01/44740 เมื่อ 6 กันยายน 2559
[8] สุรชาติ บำรุงสุข.นิรโทษกรรมและปรองดอง ในสายตาคน(เคยผ่าน)เดือนตุลา. เข้าถึงจาก http://prachatai.com/journal/2015/10/62191 เมื่อ 6 กันยายน 2559
[9] ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, รูปแบบรัฐบาลในระบบรัฐสภาไทย ระหว่าง พ.ศ. '2518-2539', (กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541), หน้า 88.
[10] ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, หน้า 89.
[11] ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, หน้า 95.
[12] นรนิติ เศรษฐบุตร,เกิดมาเป็นนายก, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2554 พิมพ์ครั้งที่ 3), หน้า 95.
[13] ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, หน้า 96.
[14] ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, หน้า 97.
[15] สยามรัฐออนไลน์,โรคร้อยเอ็ดจะกลับมาถ้าบิ๊กตู่ลงเลือกตั้ง, เข้าถึงจาก http://www.siamrath.co.th/n/2056 เมื่อ 6 กันยายน 2559
[16] มูลนิธิรัฐบุรุษ, รัฐบุรุษชื่อเปรม, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2549 พิมพ์ครั้งที่ 2), หน้า 592.