ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประชุมร่วมกันของรัฐสภา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
==บทนำ==
==บทนำ==


ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เป็นสถาบันตัวแทนของประชาชนในการตรากฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ตลอดจนการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวของรัฐสภาจะต้องกระทำในที่ประชุม ซึ่งโดยปกติสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะแยกกันประชุมตามอำนาจหน้าที่ แต่ก็มีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทั้งสองสภาประชุมร่วมกัน เรียกว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา”
ประเทศไทยปกครองในระบอบ[[ประชาธิปไตย]]อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมี[[รัฐสภา]] ซึ่งประกอบด้วย [[สภาผู้แทนราษฎร]] และ[[วุฒิสภา]] เป็นสถาบันตัวแทนของประชาชนใน[[การตรากฎหมาย]] [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ตลอดจนการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลตามที่[[รัฐธรรมนูญ]]กำหนด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวของรัฐสภาจะต้องกระทำในที่ประชุม ซึ่งโดยปกติสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะแยกกันประชุมตามอำนาจหน้าที่ แต่ก็มีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทั้งสองสภาประชุมร่วมกัน เรียกว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา”


==ความหมายของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==
==ความหมายของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==


คำว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ ว่า “Joint Sittings of the National Assembly” หมายถึง กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีระเบียบวาระที่จะต้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ  
คำว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ ว่า “Joint Sittings of the National Assembly” หมายถึง กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีระเบียบวาระที่จะต้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ <ref>คณิน บุญสุวรรณ. “ตอนที่ ๔๖ “ประชุมร่วมกันของรัฐสภา””, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kaninboonsuwan.com/terminology/ct046.html  (เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557) </ref>


==ประวัติของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==
==ประวัติของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==


การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลา 21.10 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยมีพันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา และมีสมาชิกที่มาประชุม ได้แก่ สมาชิกพฤฒสภา 64 นาย และสมาชิกสภาผู้แทน 63 นาย รวมเป็น 127 นาย เพื่อพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานสภาแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี)  ระเบียบวาระที่ ๒ รัฐบาลแจ้งเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ซึ่งที่ประชุมรับทราบและได้ยืนขึ้นไว้อาลัยเป็นเวลานานพอสมควร  ก่อนพิจารณาระเบียบวาระที่ 3 รัฐบาลแถลงเรื่อง ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระบาทสมเด็จ
การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลา 21.10 นาฬิกา ณ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] โดยมี[[พันตรีวิลาศ โอสถานนท์]] ประธาน[[พฤฒสภา]] ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา และมีสมาชิกที่มาประชุม ได้แก่ [[สมาชิกพฤฒสภา]] 64 นาย และ[[สมาชิกสภาผู้แทน]] 63 นาย รวมเป็น 127 นาย เพื่อพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานสภาแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี)  ระเบียบวาระที่ ๒ รัฐบาลแจ้งเรื่อง [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]]เสด็จสวรรคต ซึ่งที่ประชุมรับทราบและได้ยืนขึ้นไว้อาลัยเป็นเวลานานพอสมควร  ก่อนพิจารณาระเบียบวาระที่ 3 รัฐบาลแถลงเรื่อง ลำดับ[[การสืบราชสันตติวงศ์]] โดยนัยแห่ง[[กฎมณเฑียรบาล]]ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็น[[เอกฉันท์]] เห็นชอบให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช]] ได้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวของประชาชนชาวไทย โดยที่ประชุมได้ยืนขึ้นและเปล่งเสียงไชโย ๓ ครั้ง จากนั้น นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบรายชื่อของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตามมาตรา 10 และ 11 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากสมาชิกพฤฒสภาที่มีอายุสูงสุด 3 ท่าน ได้แก่ พระสุธรรมวินิจฉัย เจ้าคุณนลราชสุวัจน์ และนายสงวน จูฑะเตมีย์
พระเจ้าอยู่หัวของประชาชนชาวไทย โดยที่ประชุมได้ยืนขึ้นและเปล่งเสียงไชโย ๓ ครั้ง จากนั้น [[นายปรีดี พนมยงค์]] [[นายกรัฐมนตรี]] ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบรายชื่อของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตามมาตรา 10 และ 11 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากสมาชิกพฤฒสภาที่มีอายุสูงสุด 3 ท่าน ได้แก่ [[พระสุธรรมวินิจฉัย]] [[เจ้าคุณนลราชสุวัจน์]] และ[[นายสงวน จูฑะเตมีย์]]<ref>รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 1/2489 วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489. </ref>
   
   
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 3 จึงได้เปลี่ยนมาทำการประชุมสภา ณ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และได้เปิดการประชุมเป็นครั้งแรกในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2 ครั้งที่ 67 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 และได้ใช้ห้องประชุมของอาคารรัฐสภาแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระที่นั่งอนันตสมาคมแม้ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาจนกระทั่งปัจจุบัน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 <ref>ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี 2475-2517. กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517. หน้า 1037. </ref>จึงได้เปลี่ยนมาทำการประชุมสภา ณ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และได้เปิดการประชุมเป็นครั้งแรกในการประชุม[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ชุดที่ 2 ครั้งที่ 67 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 และได้ใช้ห้องประชุมของอาคารรัฐสภาแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระที่นั่งอนันตสมาคมแม้ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาจนกระทั่งปัจจุบัน


==รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550==
==รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550==


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดองค์ประกอบของรัฐสภาไว้ในมาตรา 88 ว่า รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  โดยสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน เป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน (มาตรา 93) ส่วนวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง  ปัจจุบันจึงมีสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น 77 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาอีก 73 คน (มาตรา 111) รวมกันเป็น “สมาชิกรัฐสภา” ตามบทนิยามในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อ 3
[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ได้กำหนดองค์ประกอบของรัฐสภาไว้ในมาตรา 88 ว่า รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา  โดยสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน เป็นสมาชิกซึ่งมาจาก[[การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง]]จำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจาก[[การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ]]จำนวน 125 คน (มาตรา 93) ส่วนวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละ[[จังหวัด]] จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง  ปัจจุบันจึงมีสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น 77 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาอีก 73 คน (มาตรา 111) รวมกันเป็น “[[สมาชิกรัฐสภา]]” ตามบทนิยามใน[[ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2553]] ข้อ 3


รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เราจึงสามารถแบ่งการประชุมรัฐสภาออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร  การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ว่าให้พิจารณาเรื่องใดในที่ประชุมของสภาใด เช่น การประชุมเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ต้องดำเนินการในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  หรือการประชุมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ต้องดำเนินการในการประชุมวุฒิสภา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดขั้นตอนการพิจารณาในที่ประชุมของแต่ละสภาตามลำดับ เช่น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเป็นลำดับต่อไป   
รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เราจึงสามารถแบ่งการประชุมรัฐสภาออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ [[การประชุมสภาผู้แทนราษฎร]] [[การประชุมวุฒิสภา]] และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ว่าให้พิจารณาเรื่องใดในที่ประชุมของสภาใด เช่น การประชุมเพื่อพิจารณา[[ญัตติ]]ขอเปิด[[อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล]] ต้องดำเนินการในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  หรือการประชุมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ต้องดำเนินการในการประชุมวุฒิสภา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดขั้นตอนการพิจารณาในที่ประชุมของแต่ละสภาตามลำดับ เช่น การพิจารณาร่าง[[พระราชบัญญัติ]]หรือร่าง[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ]] ที่ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเป็นลำดับต่อไป   


'''ส่วนการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 136 ได้บัญญัติกรณีที่จะต้องให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาไว้ 16 กรณี ดังต่อไปนี้'''  
'''ส่วนการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 136 ได้บัญญัติกรณีที่จะต้องให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาไว้ 16 กรณี ดังต่อไปนี้'''  


1. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 19
1. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] ตามมาตรา 19


2. การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ตามมาตรา 21
2. การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ตามมาตรา 21


3. การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตามมาตรา 22
3. การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติม[[กฎมณเฑียรบาล]]ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตามมาตรา 22


4. การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ ตามมาตรา 23
4. การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ ตามมาตรา 23
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:
5. การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามมาตรา 127
5. การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามมาตรา 127


6. การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด ตามมาตรา 127
6. การให้ความเห็นชอบใน[[การปิดสมัยประชุมสามัญ]]ก่อนครบกำหนด ตามมาตรา 127


7. รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป ตามมาตรา 128
7. รัฐพิธี[[เปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไป]]ครั้งแรกหลัง[[การเลือกตั้งทั่วไป]] ตามมาตรา 128


8. การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 137
8. [[การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา]] ตามมาตรา 137


9. การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง ตามมาตรา 145
9. [[การให้ความเห็นชอบ]]ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง ตามมาตรา 145


10. การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมา ตามมาตรา 151
10. การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมา ตามมาตรา 151
บรรทัดที่ 49: บรรทัดที่ 49:
11. การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 153
11. การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 153


12. การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 176
12. [[การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา]] ตามมาตรา 176


13. การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ ตามมาตรา 179
13. การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ ตามมาตรา 179
บรรทัดที่ 61: บรรทัดที่ 61:
==ช่วงเวลาที่สามารถประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้==
==ช่วงเวลาที่สามารถประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้==


การประชุมรัฐสภาสามารถกระทำได้ภายในสมัยประชุม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แบ่งสมัยประชุมเป็น 2 สมัย คือ  
การประชุมรัฐสภาสามารถกระทำได้ภายในสมัยประชุม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แบ่งสมัยประชุมเป็น 2 สมัย คือ <ref>วัชราพร ยอดมิ่ง. “การประชุมสภา”, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kpi.ac.th.(เมื่อวันที่ 24เมษายน 2557) </ref>
   
   
1. สมัยประชุมสามัญ เป็นการกำหนดวันประชุมสภาโดยปกติในระยะเวลาหนึ่งปี ตามที่มาตรา 127 ได้กำหนดหลักการไว้ ให้สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมายมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยวันประชุมครั้งแรกซึ่งต้องจัดขึ้นภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด แต่ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรก มีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ โดยสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. สมัยประชุมสามัญ เป็นการกำหนดวันประชุมสภาโดยปกติในระยะเวลาหนึ่งปี ตามที่มาตรา 127 ได้กำหนดหลักการไว้ ให้สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมายมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยวันประชุมครั้งแรกซึ่งต้องจัดขึ้นภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด แต่ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรก มีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ โดยสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
บรรทัดที่ 67: บรรทัดที่ 67:
1.1 สมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้ทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาในการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ  
1.1 สมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้ทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาในการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ  


1.2 สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติการอนุมัติพระราชกำหนด การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
1.2 สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติการอนุมัติพระราชกำหนด การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง [[การตั้งกระทู้ถาม]] และ[[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]] เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา


2. สมัยประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมรัฐสภาในกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากสมัยประชุมสามัญที่มีขึ้นเป็นปกติ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขในการเปิดสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภา ดังนี้  
2. สมัยประชุมวิสามัญ <ref> สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, การประชุมสภา. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ม.ป.ป.. หน้า 3. </ref> เป็นการประชุมรัฐสภาในกรณีพิเศษนอกเหนือไปจาก[[สมัยประชุมสามัญ]]ที่มีขึ้นเป็นปกติ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขในการเปิด[[สมัยประชุมวิสามัญ]]ของรัฐสภา ดังนี้  


- เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้โดยทรงตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร  
- เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้โดยทรงตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร  
บรรทัดที่ 77: บรรทัดที่ 77:
==ลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==
==ลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 133 ประกอบกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 9 ได้กำหนดลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไว้ว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่ถ้าคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ  ดังนั้น จึงสามารถแบ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภาออกได้เป็น 2 ลักษณะ  คือ
[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] มาตรา 133 ประกอบกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 9 ได้กำหนดลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไว้ว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ใน[[ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา]] แต่ถ้า[[คณะรัฐมนตรี]] หรือสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ  ดังนั้น จึงสามารถแบ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภาออกได้เป็น 2 ลักษณะ <ref>ชัยอนันต์ สมุทวาณิช และเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์. กลไกรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ. 2518. หน้า 43-45. </ref> คือ


1. '''การประชุมโดยเปิดเผย'''  ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ประธานรัฐสภายังต้องจัดใหมีการถายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน และลามภาษามือ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้อย่างทั่วถึง สะท้อนให้เห็นถึงความเปิดเผย โปร่งใส สุจริต และตรวจสอบได้  และเป็นหลักประกันว่าการประชุมทุกครั้งจะดำเนินไปโดยยึดถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  
1. '''[[การประชุมโดยเปิดเผย]]'''  ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ประธานรัฐสภายังต้องจัดใหมีการถายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน และลามภาษามือ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้อย่างทั่วถึง สะท้อนให้เห็นถึงความเปิดเผย โปร่งใส สุจริต และตรวจสอบได้  และเป็นหลักประกันว่าการประชุมทุกครั้งจะดำเนินไปโดยยึดถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง  


2. '''การประชุมลับ'''  เป็นการประชุมซึ่งจำกัดบุคคลที่จะอยู่ในที่ประชุมหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟงการประชุมได ไว้แต่เฉพาะสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และผูที่ไดรับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม นอกจากนี้ ยังหามใชเครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาตอย่างเคร่งครัด  
2. '''[[การประชุมลับ]]'''  เป็นการประชุมซึ่งจำกัดบุคคลที่จะอยู่ในที่ประชุมหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟงการประชุมได ไว้แต่เฉพาะสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และผูที่ไดรับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม นอกจากนี้ ยังหามใชเครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาตอย่างเคร่งครัด  


==กระบวนการในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==
==กระบวนการในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา==
บรรทัดที่ 89: บรรทัดที่ 89:
- '''รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก'''
- '''รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก'''


เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก  โดยการเรียกประชุมนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 128 กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา เปิดและปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา” ซึ่งในทางปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุม
เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก  โดยการเรียกประชุมนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 128 กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา เปิดและปิดประชุม โดยตราเป็น[[พระราชกฤษฎีกา]]” ซึ่งในทางปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]] และเมื่อมี[[พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุม]]เป็นครั้งแรกแล้ว [[พระมหากษัตริย์]]จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุม
สมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ด้วยพระองค์เอง หรืออาจโปรดเกล้าฯ ให้พระรัชทายาทที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ โดยบรรดาสมาชิกของทั้งสองสภา รวมทั้งคณะรัฐมนตรีและบรรดาทูตานุทูต จะต้องแต่งเต็มยศไปยืนเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อร่วมในรัฐพิธี และรับฟังพระราชดำรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะทรงให้สติในการทำงานตามภาระหน้าที่ของรัฐสภาในเรื่องต่างๆ
สมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ด้วยพระองค์เอง หรืออาจโปรดเกล้าฯ ให้[[พระรัชทายาท]]ที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ โดยบรรดาสมาชิกของทั้งสองสภา รวมทั้งคณะรัฐมนตรีและบรรดาทูตานุทูต จะต้องแต่งเต็มยศไปยืนเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อร่วมในรัฐพิธี และรับฟังพระราชดำรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะทรงให้สติในการทำงานตามภาระหน้าที่ของรัฐสภาในเรื่องต่างๆ


- '''ประธานของที่ประชุม'''
- '''ประธานของที่ประชุม'''


ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม ได้แก่ ประธานรัฐสภา ซึ่งก็คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง และผู้ที่จะทำหน้าที่แทนได้ก็มีแต่ประธานวุฒิสภาซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งเท่านั้น (รัฐธรรมนูญ มาตรา 89) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า รองประธานสภาผู้แทนราษฎรก็ดี หรือรองประธานวุฒิสภาก็ดี ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือมีส่วนในการทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแต่ประการใด   
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม ได้แก่ ประธานรัฐสภา ซึ่งก็คือ [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]นั่นเอง และผู้ที่จะทำหน้าที่แทนได้ก็มีแต่[[ประธานวุฒิสภา]]ซึ่งเป็น[[รองประธานรัฐสภา]]โดยตำแหน่งเท่านั้น (รัฐธรรมนูญ มาตรา 89) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า [[รองประธานสภาผู้แทนราษฎร]]ก็ดี หรือ[[รองประธานวุฒิสภา]]ก็ดี ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือมีส่วนในการทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแต่ประการใด <ref>คณิน บุญสุวรรณ, ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 531. </ref>


- '''เลขาธิการรัฐสภา'''
- '''[[เลขาธิการรัฐสภา]]'''


หมายถึง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภา และรองเลขาธิการรัฐสภา หมายถึง เลขาธิการวุฒิสภาซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้
หมายถึง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภา และรองเลขาธิการรัฐสภา หมายถึง เลขาธิการวุฒิสภาซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้


- '''การนัดประชุม'''
- '''[[การนัดประชุม]]'''
    
    
ต้องทําเปนหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว โดยจะต้องนัดล่วงหน้าไมนอยกวา 3 วันก่อนวันประชุม พร้อมแนบระเบียบวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย โดยอาจดําเนินการนัดประชุมทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วยก็ได้
ต้องทําเปนหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว โดยจะต้องนัดล่วงหน้าไมนอยกวา 3 วันก่อนวันประชุม พร้อมแนบระเบียบวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย โดยอาจดําเนินการนัดประชุมทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วยก็ได้
เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ในกรณีมีเรื่องด่วน ประธานรัฐสภาจะนัดประชุมโดยแจ้งให้สมาชิกทราบน้อยกว่า 3 วันก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 วัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 12, 13)
เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ในกรณีมีเรื่องด่วน ประธานรัฐสภาจะนัดประชุมโดยแจ้งให้สมาชิกทราบน้อยกว่า 3 วันก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 วัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 12, 13)


- '''องค์ประชุม'''
- '''[[องค์ประชุม]]'''


การประชุมรัฐสภาต้องมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูจึงจะเปนองคประชุม โดยสมาชิกผูมาประชุมจะต้องลงชื่อในสมุดที่จัดไวกอนเขาประชุมทุกครั้ง และเขานั่งในที่
การประชุมรัฐสภาต้องมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูจึงจะเปนองคประชุม โดยสมาชิกผูมาประชุมจะต้องลงชื่อในสมุดที่จัดไวกอนเขาประชุมทุกครั้ง และเขานั่งในที่
ที่จัดไว้เมื่อมีสัญญาณใหเขาประชุม หากมีสมาชิกเข้าประชุมครบองค์ประชุมแล้ว ประธานจะดำเนินการประชุมต่อไป (ข้อบังคับฯ ข้อ 16)
ที่จัดไว้เมื่อมีสัญญาณใหเขาประชุม หากมีสมาชิกเข้าประชุมครบองค์ประชุมแล้ว ประธานจะดำเนินการประชุมต่อไป (ข้อบังคับฯ ข้อ 16)


- '''การเลื่อนประชุม'''  
- '''[[การเลื่อนประชุม]]'''  
   
   
เมื่อพนกําหนดเวลาประชุมไป 30 นาทีแลว จํานวนสมาชิกยังไมครบองคประชุม ประธานของที่ประชุมอาจสั่งใหเลื่อนการประชุมไปก็ได้ (ข้อบังคับฯ ขอ 17)  
เมื่อพนกําหนดเวลาประชุมไป 30 นาทีแลว จํานวนสมาชิกยังไมครบองคประชุม ประธานของที่ประชุมอาจสั่งใหเลื่อนการประชุมไปก็ได้ (ข้อบังคับฯ ขอ 17)  


- '''การจัดระเบียบวาระการประชุม''' หมายถึง การลำดับเรื่องราวที่จะต้องพิจารณากันในที่ประชุมรัฐสภาซึ่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฯ ขอ 15 กำหนดใหจัดลำดับ ดังตอไปนี้  
- '''[[การจัดระเบียบวาระการประชุม]]''' หมายถึง การลำดับเรื่องราวที่จะต้องพิจารณากันในที่ประชุมรัฐสภาซึ่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฯ ขอ 15 กำหนดใหจัดลำดับ ดังตอไปนี้  


(1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
บรรทัดที่ 130: บรรทัดที่ 130:
แต่ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นวาเรื่องใดเปนเรื่องดวน จะจัดไวในลําดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได
แต่ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นวาเรื่องใดเปนเรื่องดวน จะจัดไวในลําดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได


- '''การเสนอญัตติ'''
- '''[[การเสนอญัตติ]]'''


โดยหลักแล้วญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น (ข้อบังคับฯ ข้อ 29) เช่น ญัตติขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน  ญัตติขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ญัตติขอให้ลงมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับ รวมทั้ง ญัตติอื่น ๆ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 31 ซึ่งไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ เป็นต้น
โดยหลักแล้วญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น (ข้อบังคับฯ ข้อ 29) เช่น ญัตติขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน  ญัตติขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ญัตติขอให้ลงมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับ รวมทั้ง ญัตติอื่น ๆ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 31 ซึ่งไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ เป็นต้น


- '''การกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม'''
- '''[[การกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม]]'''


  ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมรัฐสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำกล่าวกับประธานเท่านั้น  (ข้อบังคับฯ ข้อ 20)  
ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมรัฐสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำกล่าวกับประธานเท่านั้น  (ข้อบังคับฯ ข้อ 20)  


- '''การอภิปราย'''
- '''[[การอภิปราย]]'''


มีหลักการคือ ต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับผู้อื่น และห้ามนำเอกสารใด ๆ มาอ่านในที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่จำเป็น และห้ามนำวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุมรัฐสภา  เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออกชื่อสมาชิกรัฐสภาหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น (ข้อบังคับฯ ข้อ 43)   
มีหลักการคือ ต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับผู้อื่น และห้ามนำเอกสารใด ๆ มาอ่านในที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่จำเป็น และห้ามนำวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุมรัฐสภา  เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ห้าม[[ผู้อภิปราย]]แสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออกชื่อสมาชิกรัฐสภาหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น (ข้อบังคับฯ ข้อ 43)   


ส่วนลำดับของการอภิปรายนั้น ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน คือ ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ จากนั้นจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ ส่วนการอภิปรายที่ไม่สนับสนุนและไม่คัดค้าน ย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และไม่ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด และเมื่อประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้  (ข้อบังคับฯ ข้อ 40 - 44)   
ส่วนลำดับของการอภิปรายนั้น ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน คือ ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ จากนั้นจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ ส่วนการอภิปรายที่ไม่สนับสนุนและไม่คัดค้าน ย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และไม่ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด และเมื่อประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้  (ข้อบังคับฯ ข้อ 40 - 44)   


- '''การประท้วง'''
- '''[[การประท้วง]]'''


หากสมาชิกรัฐสภาผู้ใดถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหาย หรือต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ  สามารถกระทำได้โดยการยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ซึ่งประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้ววินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด โดยอาจสั่งให้ผู้อภิปรายถอนคำพูดของตน แต่ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ก็ให้ประธานบันทึกพฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้นไว้ในรายงานการประชุม (ข้อบังคับฯ ข้อ 45 - 46)   
หากสมาชิกรัฐสภาผู้ใดถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหาย หรือต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ  สามารถกระทำได้โดยการยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ซึ่งประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้ววินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด โดยอาจสั่งให้ผู้อภิปราย[[ถอนคำพูด]]ของตน แต่ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่ถอนคำพูดตาม[[คำวินิจฉัย]]ของประธาน ก็ให้ประธานบันทึกพฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้นไว้ในรายงานการประชุม (ข้อบังคับฯ ข้อ 45 - 46)   


- '''การอภิปรายยุติ'''  
- '''[[การอภิปรายยุติ]]'''  


การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อไม่มีผู้ใดอภิปรายหรือที่ประชุมรัฐสภาลงมติให้ปิดอภิปราย โดยในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ และเมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะต้องลงมติในเรื่องนั้น
การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อไม่มีผู้ใดอภิปรายหรือที่ประชุมรัฐสภาลงมติให้ปิดอภิปราย โดยในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ และเมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะต้องลงมติในเรื่องนั้น
จึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติ (ข้อบังคับฯ ข้อ 47-49)   
จึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติ (ข้อบังคับฯ ข้อ 47-49)   


- '''การพักการประชุม'''
- '''[[การพักการประชุม]]'''


เป็นการหยุดการดำเนินการประชุมชั่วคราว เมื่อประธานของที่ประชุมเห็นสมควร เช่น การพักการประชุมเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน หรือพักการประชุมหลังจากที่ประธานเห็นว่าประชุมมานานหลายชั่วโมงแล้ว เป็นต้น (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)  
เป็นการหยุดการดำเนินการประชุมชั่วคราว เมื่อประธานของที่ประชุมเห็นสมควร เช่น การพักการประชุมเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน หรือพักการประชุมหลังจากที่ประธานเห็นว่าประชุมมานานหลายชั่วโมงแล้ว เป็นต้น (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)  


- '''การเลิกประชุม'''
- '''[[การเลิกประชุม]]'''


เป็นการยุติการประชุมตามคำสั่งของประธานของที่ประชุม ซึ่งจะสั่งให้เลิกประชุมเมื่อหมดระเบียบวาระของวันนั้นหรือสั่งเลิกประชุมตามที่เห็นสมควรก็ได้ นอกจากนี้ การที่ประธานรัฐสภาลงจากบัลลังกโดยมิได้สั่งอย่างใด ก็ให้ถือว่าเป็นการใหเลิกการประชุมเช่นกัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)
เป็นการยุติการประชุมตามคำสั่งของประธานของที่ประชุม ซึ่งจะสั่งให้เลิกประชุมเมื่อหมดระเบียบวาระของวันนั้นหรือสั่งเลิกประชุมตามที่เห็นสมควรก็ได้ นอกจากนี้ การที่ประธานรัฐสภาลงจากบัลลังกโดยมิได้สั่งอย่างใด ก็ให้ถือว่าเป็นการใหเลิกการประชุมเช่นกัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)


- '''การดำเนินการหลังการประชุม'''
- '''[[การดำเนินการหลังการประชุม]]'''


เมื่อวุฒิสภาได้มีมติเรื่องใดในที่ประชุมแล้ว เลขาธิการรัฐสภาจะดำเนินการยืนยันมติของรัฐสภาดังกล่าวไปยังผูที่เกี่ยวของต่อไป ตามข้อบังคับฯ ขอ 7(5)  
เมื่อวุฒิสภาได้มีมติเรื่องใดในที่ประชุมแล้ว เลขาธิการรัฐสภาจะดำเนินการยืนยันมติของรัฐสภาดังกล่าวไปยังผูที่เกี่ยวของต่อไป ตามข้อบังคับฯ ขอ 7(5)  


'''บทสรุปปิดท้าย'''
==บทสรุปปิดท้าย==


จากบทความข้างต้น การประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึงมีความสำคัญต่อการปกครองในระบบรัฐสภา เพราะถือเป็นกลไกการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ อันจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานทั้งด้านนิติบัญญัติ ด้านการควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร รวมถึงการทำงานในด้านอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
จากบทความข้างต้น การประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึงมีความสำคัญต่อการปกครองในระบบรัฐสภา เพราะถือเป็นกลไกการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ อันจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานทั้งด้านนิติบัญญัติ ด้านการควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร รวมถึงการทำงานในด้านอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้


'''หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ'''
==อ้างอิง==
 
<references/>
 
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==


คณิน บุญสุวรรณ. ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. รายงานการประชุมพฤฒสภา ครั้งที่ 1/2489 สมัยวิสามัญ ชุดที่ 1 วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2489  
คณิน บุญสุวรรณ. ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. รายงานการประชุมพฤฒสภา ครั้งที่ 1/2489 สมัยวิสามัญ ชุดที่ 1 วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2489  

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:52, 9 มิถุนายน 2557

เรียบเรียงโดย : นางสาวเรณุมาศ รักษาแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง


บทนำ

ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เป็นสถาบันตัวแทนของประชาชนในการตรากฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ตลอดจนการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวของรัฐสภาจะต้องกระทำในที่ประชุม ซึ่งโดยปกติสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจะแยกกันประชุมตามอำนาจหน้าที่ แต่ก็มีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทั้งสองสภาประชุมร่วมกัน เรียกว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา”

ความหมายของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา

คำว่า “การประชุมร่วมกันของรัฐสภา” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ ว่า “Joint Sittings of the National Assembly” หมายถึง กรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีระเบียบวาระที่จะต้องประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องใดๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ [1]

ประวัติของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา

การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลา 21.10 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยมีพันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานพฤฒสภา ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภา และมีสมาชิกที่มาประชุม ได้แก่ สมาชิกพฤฒสภา 64 นาย และสมาชิกสภาผู้แทน 63 นาย รวมเป็น 127 นาย เพื่อพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานสภาแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ไม่มี) ระเบียบวาระที่ ๒ รัฐบาลแจ้งเรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ซึ่งที่ประชุมรับทราบและได้ยืนขึ้นไว้อาลัยเป็นเวลานานพอสมควร ก่อนพิจารณาระเบียบวาระที่ 3 รัฐบาลแถลงเรื่อง ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 และขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามมาตรา 9 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวของประชาชนชาวไทย โดยที่ประชุมได้ยืนขึ้นและเปล่งเสียงไชโย ๓ ครั้ง จากนั้น นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบรายชื่อของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตามมาตรา 10 และ 11 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาจากสมาชิกพฤฒสภาที่มีอายุสูงสุด 3 ท่าน ได้แก่ พระสุธรรมวินิจฉัย เจ้าคุณนลราชสุวัจน์ และนายสงวน จูฑะเตมีย์[2]

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 [3]จึงได้เปลี่ยนมาทำการประชุมสภา ณ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และได้เปิดการประชุมเป็นครั้งแรกในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 2 ครั้งที่ 67 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 และได้ใช้ห้องประชุมของอาคารรัฐสภาแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระที่นั่งอนันตสมาคมแม้ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาแล้ว แต่ยังคงใช้เป็นสถานที่สำหรับประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาจนกระทั่งปัจจุบัน

รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดองค์ประกอบของรัฐสภาไว้ในมาตรา 88 ว่า รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน เป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน (มาตรา 93) ส่วนวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนรวม 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาเท่ากับจำนวนรวมข้างต้นหักด้วยจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ปัจจุบันจึงมีสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น 77 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาอีก 73 คน (มาตรา 111) รวมกันเป็น “สมาชิกรัฐสภา” ตามบทนิยามในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อ 3

รัฐสภาจะประชุมร่วมกันหรือแยกกัน ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เราจึงสามารถแบ่งการประชุมรัฐสภาออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ว่าให้พิจารณาเรื่องใดในที่ประชุมของสภาใด เช่น การประชุมเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ต้องดำเนินการในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือการประชุมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ต้องดำเนินการในการประชุมวุฒิสภา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบางกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดขั้นตอนการพิจารณาในที่ประชุมของแต่ละสภาตามลำดับ เช่น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเป็นลำดับต่อไป

ส่วนการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 136 ได้บัญญัติกรณีที่จะต้องให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาไว้ 16 กรณี ดังต่อไปนี้

1. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 19

2. การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ตามมาตรา 21

3. การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ตามมาตรา 22

4. การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ ตามมาตรา 23

5. การมีมติให้รัฐสภาพิจารณาเรื่องอื่นในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติได้ ตามมาตรา 127

6. การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด ตามมาตรา 127

7. รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรกหลังการเลือกตั้งทั่วไป ตามมาตรา 128

8. การตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 137

9. การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง ตามมาตรา 145

10. การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใหม่ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมา ตามมาตรา 151

11. การให้ความเห็นชอบให้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 153

12. การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 176

13. การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ ตามมาตรา 179

14. การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม ตามมาตรา 189

15. การรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190

16. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291

ช่วงเวลาที่สามารถประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้

การประชุมรัฐสภาสามารถกระทำได้ภายในสมัยประชุม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แบ่งสมัยประชุมเป็น 2 สมัย คือ [4]

1. สมัยประชุมสามัญ เป็นการกำหนดวันประชุมสภาโดยปกติในระยะเวลาหนึ่งปี ตามที่มาตรา 127 ได้กำหนดหลักการไว้ ให้สมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสมัยหนึ่ง ๆ มีกำหนดเวลา 120 วัน แต่สามารถขยายเวลาออกไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมายมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ โดยวันประชุมครั้งแรกซึ่งต้องจัดขึ้นภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญทั่วไป ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด แต่ในกรณีที่การเริ่มประชุมครั้งแรก มีเวลาจนถึงสิ้นปีปฏิทินไม่ถึง 150 วัน จะไม่มีการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสำหรับปีนั้นก็ได้ โดยสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

1.1 สมัยประชุมสามัญทั่วไป เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ได้ทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาในการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ

1.2 สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ เป็นสมัยประชุมที่รัฐสภาสามารถดำเนินการประชุมได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติการอนุมัติพระราชกำหนด การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา การเลือกหรือการให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่ง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง การตั้งกระทู้ถาม และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เว้นแต่รัฐสภาจะมีมติให้พิจารณาเรื่องอื่นใดด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

2. สมัยประชุมวิสามัญ [5] เป็นการประชุมรัฐสภาในกรณีพิเศษนอกเหนือไปจากสมัยประชุมสามัญที่มีขึ้นเป็นปกติ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดเงื่อนไขในการเปิดสมัยประชุมวิสามัญของรัฐสภา ดังนี้

- เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พระมหากษัตริย์จะทรงเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้โดยทรงตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร

- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองสภารวมกันหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้

ลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 133 ประกอบกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ข้อ 9 ได้กำหนดลักษณะของการประชุมร่วมกันของรัฐสภาไว้ว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่ถ้าคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ ดังนั้น จึงสามารถแบ่งการประชุมร่วมกันของรัฐสภาออกได้เป็น 2 ลักษณะ [6] คือ

1. การประชุมโดยเปิดเผย ซึ่งบุคคลภายนอกสามารถเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ประธานรัฐสภายังต้องจัดใหมีการถายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน และลามภาษามือ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้อย่างทั่วถึง สะท้อนให้เห็นถึงความเปิดเผย โปร่งใส สุจริต และตรวจสอบได้ และเป็นหลักประกันว่าการประชุมทุกครั้งจะดำเนินไปโดยยึดถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

2. การประชุมลับ เป็นการประชุมซึ่งจำกัดบุคคลที่จะอยู่ในที่ประชุมหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟงการประชุมได ไว้แต่เฉพาะสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และผูที่ไดรับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม นอกจากนี้ ยังหามใชเครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาตอย่างเคร่งครัด

กระบวนการในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา

การประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น ต้องดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน เพื่อตราข้อบังคับสำหรับใช้ในการประชุมรัฐสภา แต่ถ้ายังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ก็ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

- รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก

เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยการเรียกประชุมนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 128 กำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา เปิดและปิดประชุม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา” ซึ่งในทางปฏิบัติ คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากราบบังคมทูลขึ้นไปเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว พระมหากษัตริย์จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำรัฐพิธีเปิดประชุม สมัยประชุมสามัญทั่วไปครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ด้วยพระองค์เอง หรืออาจโปรดเกล้าฯ ให้พระรัชทายาทที่บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นผู้แทนพระองค์มาทำรัฐพิธีก็ได้ โดยบรรดาสมาชิกของทั้งสองสภา รวมทั้งคณะรัฐมนตรีและบรรดาทูตานุทูต จะต้องแต่งเต็มยศไปยืนเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อร่วมในรัฐพิธี และรับฟังพระราชดำรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะทรงให้สติในการทำงานตามภาระหน้าที่ของรัฐสภาในเรื่องต่างๆ

- ประธานของที่ประชุม

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภานั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม ได้แก่ ประธานรัฐสภา ซึ่งก็คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง และผู้ที่จะทำหน้าที่แทนได้ก็มีแต่ประธานวุฒิสภาซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งเท่านั้น (รัฐธรรมนูญ มาตรา 89) ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า รองประธานสภาผู้แทนราษฎรก็ดี หรือรองประธานวุฒิสภาก็ดี ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือมีส่วนในการทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแต่ประการใด [7]

- เลขาธิการรัฐสภา

หมายถึง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภา และรองเลขาธิการรัฐสภา หมายถึง เลขาธิการวุฒิสภาซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานรัฐสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้

- การนัดประชุม

ต้องทําเปนหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว โดยจะต้องนัดล่วงหน้าไมนอยกวา 3 วันก่อนวันประชุม พร้อมแนบระเบียบวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย โดยอาจดําเนินการนัดประชุมทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมอีกทางหนึ่งด้วยก็ได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ประธานรัฐสภากำหนด นอกจากนี้ ในกรณีมีเรื่องด่วน ประธานรัฐสภาจะนัดประชุมโดยแจ้งให้สมาชิกทราบน้อยกว่า 3 วันก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 วัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 12, 13)

- องค์ประชุม

การประชุมรัฐสภาต้องมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเทาที่มีอยูจึงจะเปนองคประชุม โดยสมาชิกผูมาประชุมจะต้องลงชื่อในสมุดที่จัดไวกอนเขาประชุมทุกครั้ง และเขานั่งในที่ ที่จัดไว้เมื่อมีสัญญาณใหเขาประชุม หากมีสมาชิกเข้าประชุมครบองค์ประชุมแล้ว ประธานจะดำเนินการประชุมต่อไป (ข้อบังคับฯ ข้อ 16)

- การเลื่อนประชุม

เมื่อพนกําหนดเวลาประชุมไป 30 นาทีแลว จํานวนสมาชิกยังไมครบองคประชุม ประธานของที่ประชุมอาจสั่งใหเลื่อนการประชุมไปก็ได้ (ข้อบังคับฯ ขอ 17)

- การจัดระเบียบวาระการประชุม หมายถึง การลำดับเรื่องราวที่จะต้องพิจารณากันในที่ประชุมรัฐสภาซึ่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฯ ขอ 15 กำหนดใหจัดลำดับ ดังตอไปนี้

(1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

(2) รับรองรายงานการประชุม

(3) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว

(4) เรื่องที่ค้างพิจารณา

(5) เรื่องที่เสนอใหม่

(6) เรื่องอื่น ๆ

แต่ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นวาเรื่องใดเปนเรื่องดวน จะจัดไวในลําดับใดของระเบียบวาระการประชุมก็ได

- การเสนอญัตติ

โดยหลักแล้วญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และต้องมีสมาชิกรัฐสภารับรองไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น (ข้อบังคับฯ ข้อ 29) เช่น ญัตติขอให้ปรึกษาหรือพิจารณาเป็นเรื่องด่วน ญัตติขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ญัตติขอให้ลงมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับ รวมทั้ง ญัตติอื่น ๆ ตามข้อบังคับฯ ข้อ 31 ซึ่งไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ เป็นต้น

- การกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม

ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมรัฐสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ เมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำกล่าวกับประธานเท่านั้น (ข้อบังคับฯ ข้อ 20)

- การอภิปราย

มีหลักการคือ ต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับผู้อื่น และห้ามนำเอกสารใด ๆ มาอ่านในที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่จำเป็น และห้ามนำวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุมรัฐสภา เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออกชื่อสมาชิกรัฐสภาหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น (ข้อบังคับฯ ข้อ 43)

ส่วนลำดับของการอภิปรายนั้น ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อน คือ ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ จากนั้นจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปรายอีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ ส่วนการอภิปรายที่ไม่สนับสนุนและไม่คัดค้าน ย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และไม่ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด และเมื่อประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้ (ข้อบังคับฯ ข้อ 40 - 44)

- การประท้วง

หากสมาชิกรัฐสภาผู้ใดถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหาย หรือต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ สามารถกระทำได้โดยการยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ซึ่งประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้ววินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด โดยอาจสั่งให้ผู้อภิปรายถอนคำพูดของตน แต่ถ้าผู้อภิปรายออกไปจากที่ประชุมรัฐสภาโดยไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ก็ให้ประธานบันทึกพฤติกรรมการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้นไว้ในรายงานการประชุม (ข้อบังคับฯ ข้อ 45 - 46)

- การอภิปรายยุติ

การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อไม่มีผู้ใดอภิปรายหรือที่ประชุมรัฐสภาลงมติให้ปิดอภิปราย โดยในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมรัฐสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ และเมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุมรัฐสภาจะต้องลงมติในเรื่องนั้น จึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติ (ข้อบังคับฯ ข้อ 47-49)

- การพักการประชุม

เป็นการหยุดการดำเนินการประชุมชั่วคราว เมื่อประธานของที่ประชุมเห็นสมควร เช่น การพักการประชุมเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน หรือพักการประชุมหลังจากที่ประธานเห็นว่าประชุมมานานหลายชั่วโมงแล้ว เป็นต้น (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)

- การเลิกประชุม

เป็นการยุติการประชุมตามคำสั่งของประธานของที่ประชุม ซึ่งจะสั่งให้เลิกประชุมเมื่อหมดระเบียบวาระของวันนั้นหรือสั่งเลิกประชุมตามที่เห็นสมควรก็ได้ นอกจากนี้ การที่ประธานรัฐสภาลงจากบัลลังกโดยมิได้สั่งอย่างใด ก็ให้ถือว่าเป็นการใหเลิกการประชุมเช่นกัน (ข้อบังคับฯ ข้อ 22)

- การดำเนินการหลังการประชุม

เมื่อวุฒิสภาได้มีมติเรื่องใดในที่ประชุมแล้ว เลขาธิการรัฐสภาจะดำเนินการยืนยันมติของรัฐสภาดังกล่าวไปยังผูที่เกี่ยวของต่อไป ตามข้อบังคับฯ ขอ 7(5)

บทสรุปปิดท้าย

จากบทความข้างต้น การประชุมร่วมกันของรัฐสภาจึงมีความสำคัญต่อการปกครองในระบบรัฐสภา เพราะถือเป็นกลไกการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ อันจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานทั้งด้านนิติบัญญัติ ด้านการควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร รวมถึงการทำงานในด้านอื่นๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ. “ตอนที่ ๔๖ “ประชุมร่วมกันของรัฐสภา””, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kaninboonsuwan.com/terminology/ct046.html (เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557)
  2. รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 1/2489 วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489.
  3. ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี 2475-2517. กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517. หน้า 1037.
  4. วัชราพร ยอดมิ่ง. “การประชุมสภา”, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kpi.ac.th.(เมื่อวันที่ 24เมษายน 2557)
  5. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, การประชุมสภา. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ม.ป.ป.. หน้า 3.
  6. ชัยอนันต์ สมุทวาณิช และเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์. กลไกรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ. 2518. หน้า 43-45.
  7. คณิน บุญสุวรรณ, ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 531.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. รายงานการประชุมพฤฒสภา ครั้งที่ 1/2489 สมัยวิสามัญ ชุดที่ 1 วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2489

ชัยอนันต์ สมุทวาณิช และเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์. กลไกรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2518. ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์. รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี 2475-2517. กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517.

มนตรี รูปสุวรรณ. กฎหมายรัฐสภา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาไทย. กรุงเทพ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ระบบงานรัฐสภา 2555. กรุงเทพ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ, ปทานานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

คณิน บุญสุวรรณ. “ตอนที่ 46 “ประชุมร่วมกันของรัฐสภา””, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kaninboonsuwan.com/terminology/ct046.html (เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557)

ชัยอนันต์ สมุทวาณิช และเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์. กลไกรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2518.

ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี 2475-2517. กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517.

รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ 1/2489 วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489

วัชราพร ยอดมิ่ง. “การประชุมสภา”, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.kpi.ac.th.(เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557)

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, การประชุมสภา. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ม.ป.ป..