ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไท (พ.ศ. 2539)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''พรรคไท (2539)''' | '''พรรคไท (2539)''' | ||
พรรคไท มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า THAI PARTY | พรรคไท มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า THAI PARTY ได้รับการจดทะเบียนเป็น[[พรรคการเมือง]][[ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524]] ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานใหญ่พรรคตั้งอยู่ ณ เลขที่ 67/171 ซอย 4 หมู่บ้าน ช.อมรพันธ์ 9 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 17-18.</ref> | ||
พรรคไทใช้เครื่องหมายพรรคเป็น รูปวงกลม ล้อมรอบด้วยรวงข้าว ภายในปรากฏภาพธงชาติไทยและภาพชาวไทยหลากหลายอาชีพ ด้านบนมีอักษรภาษาไทยว่า “พรรคไท” ส่วนด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า “THAI PARTY” <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.</ref> | พรรคไทใช้เครื่องหมายพรรคเป็น รูปวงกลม ล้อมรอบด้วยรวงข้าว ภายในปรากฏภาพธงชาติไทยและภาพชาวไทยหลากหลายอาชีพ ด้านบนมีอักษรภาษาไทยว่า “พรรคไท” ส่วนด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า “THAI PARTY” <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.</ref> | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
'''ด้านการเมืองการปกครอง''' | '''ด้านการเมืองการปกครอง''' | ||
1. | 1. พรรคไทยึดมั่นในการปกครอง[[ระบอบประชาธิปไตย]] อันมี[[พระมหากษัตริย์]]เป็นประมุข | ||
2. พรรคไทจะพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง สถิตสถาพรควบคู่กับประเทศชาติตลอดไป | 2. พรรคไทจะพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง สถิตสถาพรควบคู่กับประเทศชาติตลอดไป | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
6. พรรคไทจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้พรรคเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นอันขาด | 6. พรรคไทจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้พรรคเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นอันขาด | ||
7. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายใด สามารถเป็นหลักประกัน | 7. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายใด สามารถเป็นหลักประกัน และ[[คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชนได้อย่างแท้จริง | ||
8. | 8. พรรคยึดมั่นใน[[หลักปฏิญญาสากล]]ว่าด้วย[[สิทธิมนุษยชน]] และจะดำเนินการเพื่อขจัดข้อกฎหมายและการปฏิบัติใด ๆ ที่ให้อำนาจลิดรอน[[สิทธิ]][[เสรีภาพ]]ของประชาชนอันขัดต่อหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ | ||
9. พรรคจะส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิ และให้เสรีภาพเพื่อดำเนินกิจกรรมในรูปแบบใดก็ตามที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าแก่สังคมและประเทศชาติ | 9. พรรคจะส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิ และให้เสรีภาพเพื่อดำเนินกิจกรรมในรูปแบบใดก็ตามที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าแก่สังคมและประเทศชาติ | ||
10. | 10. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น [[ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน]]ให้มีความคล่องตัวรัดกุม รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยีและวิธีการบริหารงานสมัยใหม่มาใช้ โดยจัดหางบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ | ||
11. พรรคจะควบคุมและคุ้มครองข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของรัฐให้สามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลักความถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย โดยมิต้องหวั่นเกรงต่อการแทรกแซงบีบบังคับจากบุคคลใด หรือฝ่ายใด และจะสนับสนุนให้สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้ตามหลักคุณธรรม | 11. พรรคจะควบคุมและคุ้มครองข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของรัฐให้สามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลักความถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย โดยมิต้องหวั่นเกรงต่อการแทรกแซงบีบบังคับจากบุคคลใด หรือฝ่ายใด และจะสนับสนุนให้สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้ตามหลักคุณธรรม | ||
บรรทัดที่ 43: | บรรทัดที่ 43: | ||
14. พรรคไทมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะป้องกันและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมให้หมดสิ้นไป โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้จงได้ | 14. พรรคไทมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะป้องกันและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมให้หมดสิ้นไป โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้จงได้ | ||
15. | 15. พรรคไทส่งเสริม[[การกระจายอำนาจ]]จากส่วนกลางแก่ส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองอย่างแท้จริง ให้องค์การส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง | ||
16. | 16. พรรคไทส่งเสริมให้มี[[การมอบอำนาจ]]จากส่วนกลางแก่ส่วนภูมิภาค เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับความจำเป็นในแต่ละภูมิภาค | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
2. พรรคไทมุ่งสร้างเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจและศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค | 2. พรรคไทมุ่งสร้างเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจและศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค | ||
3. | 3. พรรคจะพัฒนาประเทศโดยการสร้าง[[ความสมดุล]]ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ[[ความเป็นธรรม]]ในการกระจายรายได้เพื่อให้ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจตกอยู่แก่ประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง | ||
4. พรรคจะดำเนินการช่วยเหลือให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสในสังคมหลุดพ้นจากวงจรแห่งความยากจน | 4. พรรคจะดำเนินการช่วยเหลือให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสในสังคมหลุดพ้นจากวงจรแห่งความยากจน | ||
บรรทัดที่ 71: | บรรทัดที่ 71: | ||
1. พรรคไทจะปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ | 1. พรรคไทจะปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ | ||
2. พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีระเบียบวินัย | 2. พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ [[คุณธรรม]] มีระเบียบวินัย และมี[[จิตสำนึก]]ในการรับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม และมุ่งปรับปรุงการศึกษาให้ทุกระดับและทุกสาขาให้สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคก้าวหน้าได้อย่างเพียงพอ | ||
3. พรรคจะส่งเสริมทุกวิถีทางในการสร้างบุคลากรทางการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ | 3. พรรคจะส่งเสริมทุกวิถีทางในการสร้างบุคลากรทางการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ | ||
บรรทัดที่ 90: | บรรทัดที่ 90: | ||
'''ด้านการป้องกันประเทศ''' | '''ด้านการป้องกันประเทศ''' | ||
1. พรรคไทมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งเกรียงไกรของกองทัพไทย | 1. พรรคไทมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งเกรียงไกรของกองทัพไทย เพื่อให้เป็นหลักประกันในการพิทักษ์รักษา[[เอกราช]] [[อธิปไตย]] และความมั่นคงของชาติ | ||
2. พรรคสนับสนุนบทบาทของกองทัพไทยในยามสันติให้กองทัพมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข | 2. พรรคสนับสนุนบทบาทของกองทัพไทยในยามสันติให้กองทัพมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข | ||
บรรทัดที่ 97: | บรรทัดที่ 97: | ||
ด้านการต่างประเทศ | ด้านการต่างประเทศ | ||
พรรคไทมุ่งสร้างสันติภาพและพยายามแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี กระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม | พรรคไทมุ่งสร้างสันติภาพและพยายามแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี กระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม บนหลักการของ[[ความเสมอภาค]] กฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ และจะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์อันชอบธรรมของประเทศไทย และชาวไทยในต่างประเทศ | ||
พรรคไทมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนจัดตั้งพรรคทั้งสิ้น 16 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.</ref> | พรรคไทมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนจัดตั้งพรรคทั้งสิ้น 16 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.</ref> | ||
บรรทัดที่ 111: | บรรทัดที่ 111: | ||
5. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต รองเลขาธิการพรรค | 5. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต รองเลขาธิการพรรค | ||
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทสามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2539 | อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทสามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2539 ได้มีมติเลือก[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]เพิ่มเติม จำนวน 17 คน และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 5 ง, วันที่ 16 มกราคม 2540, หน้า 62-63.</ref> | ||
1. นายจำรัส จรรยา เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 1 แทน นายพูนทรัพย์ บุญทอง | 1. นายจำรัส จรรยา เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 1 แทน นายพูนทรัพย์ บุญทอง | ||
บรรทัดที่ 136: | บรรทัดที่ 136: | ||
นโยบายการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ | นโยบายการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ | ||
1. | 1. นโยบายด้าน[[การปฏิรูปทางการเมือง]]: พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาระบบการเมือง ให้มีความมั่นคงตามแนวทางของ[[รัฐธรรมนูญ]]แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อประโยชน์ของประชาชน | ||
2. นโยบายด้านการบริหารราชการ: | 2. นโยบายด้านการบริหารราชการ: พรรคไทจะปฏิรูประบบบริหารทั้งภาค[[ราชการ]] [[รัฐวิสาหกิจ]] และภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ประสบผลตามเป้าหมายของแผนการแก้ภาวะวิกฤตการณ์ของชาติได้อย่างตรงจุด และทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก | ||
3. นโยบายด้านความมั่นคง: พรรคไทตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ในภูมิภาค และของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกองทัพต้องมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นการสถาปนาความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคและสังคมโลก จึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่ | 3. นโยบายด้านความมั่นคง: พรรคไทตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ในภูมิภาค และของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกองทัพต้องมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นการสถาปนาความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคและสังคมโลก จึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่ | ||
4. นโยบายด้านการต่างประเทศ: พรรคไทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยจะยึดมั่นในพันธกรณีตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี | 4. นโยบายด้านการต่างประเทศ: พรรคไทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยจะยึดมั่นในพันธกรณีตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้ง[[กฎบัตร]][[สหประชาชาติ]] และ[[ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน]] และจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก | ||
บรรทัดที่ 171: | บรรทัดที่ 171: | ||
4. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ด้านการพลังงาน และด้านสาธารณูปการให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม | 4. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ด้านการพลังงาน และด้านสาธารณูปการให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม | ||
5. การปรับทิศทางด้านการตลาดส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการค้าและการลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ ๆ | 5. การปรับทิศทางด้านการตลาดส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการค้าและการลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ ๆ และสร้าง[[ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ]]และการค้ากับมิตรประเทศ | ||
6. ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการพัฒนาที่ยั่งยืน | 6. ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการพัฒนาที่ยั่งยืน | ||
บรรทัดที่ 177: | บรรทัดที่ 177: | ||
7. การพัฒนาคนและสังคม พรรคไทจะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน และคุ้มครองแรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนทุกกลุ่ม ส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างหลักประกันและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนาและศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนการให้การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงจังและเป็นธรรม | 7. การพัฒนาคนและสังคม พรรคไทจะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน และคุ้มครองแรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนทุกกลุ่ม ส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างหลักประกันและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนาและศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนการให้การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงจังและเป็นธรรม | ||
8. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคไทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ | 8. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคไทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ โดยเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้เกิด[[การพัฒนาที่ยั่งยืน]] | ||
9. ด้านการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค พรรคไทจะเน้นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกันในทุกภูมิภาค และลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท | 9. ด้านการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค พรรคไทจะเน้นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกันในทุกภูมิภาค และลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท | ||
10. | 10. การฟื้นฟูบูรณะ[[กรุงเทพมหานคร]] พรรคไทมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อแก้ปัญหาของคนกรุงเทพมหานคร | ||
อนึ่ง ในข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ได้ให้คำอธิบายเครื่องหมายพรรคการเมืองเอาไว้ว่า “เป็นภาพวงกลม 2 วง ซ้อนกัน ภายในวงกลมด้านบนเป็นชื่อพรรคไท ความหมายคือ | อนึ่ง ในข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ได้ให้คำอธิบายเครื่องหมายพรรคการเมืองเอาไว้ว่า “เป็นภาพวงกลม 2 วง ซ้อนกัน ภายในวงกลมด้านบนเป็นชื่อพรรคไท ความหมายคือ อิสระเสรี ในความเป็นประชาธิปไตย มีสัญลักษณ์บ่งชี้ภายในวงกลมโปร่งใสเน้นให้เห็นถึงความมั่นคง หนักแน่น มีภาพธงไทยปลิวไสวอยู่ตรงกลางเหนือศีรษะ ประชาชนทุกสาขาวิชาชีพ กอปรไปด้วย นักการเมือง ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา พ่อค้า เกษตรกร ฯลฯ โดยขนาบข้างด้วยช่อพฤกษชาติที่อุดมสมบูรณ์ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 33-34.</ref> | ||
นอกจากนี้ข้อบังคับดังกล่าวยังได้เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคเป็น เลขที่ 267/1 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัสวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 และระบุอักษรย่อชื่อพรรคในภาษาไทย คือ “พ.ท.” และในภาษาอังกฤษ คือ “T.P.” <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 34.</ref> | นอกจากนี้ข้อบังคับดังกล่าวยังได้เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคเป็น เลขที่ 267/1 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัสวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 และระบุอักษรย่อชื่อพรรคในภาษาไทย คือ “พ.ท.” และในภาษาอังกฤษ คือ “T.P.” <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 34.</ref> | ||
บรรทัดที่ 251: | บรรทัดที่ 251: | ||
จากนั้นพรรคไทก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคอีก 6 ครั้ง ดังนี้ | จากนั้นพรรคไทก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคอีก 6 ครั้ง ดังนี้ | ||
- วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับการแจ้งจากพรรคไทว่า พันเอก ปรีชา ปัญจมะวัต, พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ และ นายสมชาย ฤทธินาคา | - วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับการแจ้งจากพรรคไทว่า พันเอก ปรีชา ปัญจมะวัต, พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ และ นายสมชาย ฤทธินาคา ได้ขอลาออกจาก[[สมาชิกพรรค]]และตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค<ref> ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 70 ง, วันที่ 14 กรกฎาคม 2543, หน้า 12-13.</ref> | ||
- วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต ลาออกจากรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 80 ง, วันที่ 11 สิงหาคม 2543, หน้า 23.</ref> | - วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต ลาออกจากรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 80 ง, วันที่ 11 สิงหาคม 2543, หน้า 23.</ref> | ||
บรรทัดที่ 266: | บรรทัดที่ 266: | ||
ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นั้น มีผู้สมัครในนามพรรคไทได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 1 คน คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ<ref> สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 46 (15-21 พ.ย. 2539), หน้า 1263,1271.</ref> | ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นั้น มีผู้สมัครในนามพรรคไทได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 1 คน คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ<ref> สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 46 (15-21 พ.ย. 2539), หน้า 1263,1271.</ref> | ||
สำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นั้นพรรคไทได้ส่งสมาชิกลงรับสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็นผู้สมัครในแบบแบ่งเขต 3 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) 5 | สำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นั้นพรรคไทได้ส่งสมาชิกลงรับสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็นผู้สมัครในแบบแบ่งเขต 3 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) 5 คนแต่ไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกตั้งให้เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]เลย อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งนี้บัญชีรายชื่อของพรรคไท (หมายเลข 19) ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 57,534 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.20 ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ทำให้พรรคไทไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งใน[[สภาผู้แทนราษฎร]]<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 49 (30 พ.ย.- 6 ธ.ค. 2543), หน้า 1359.</ref> | ||
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2544 นางสาวจิตพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพมหานคร ของพรรคไท | นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2544 นางสาวจิตพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพมหานคร ของพรรคไท ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ป.ป.ช.) ผ่านทางพันโทกมล ประจวบเหมาะ กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบสถานภาพสมรสและทรัพย์สินของคู่สมรสของนายชวน หลีกภัย [[นายกรัฐมนตรี]] ว่าเป็นจริงตามที่ได้แจ้งต่อทางราชการหรือไม่ <ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (1-10 ม.ค. 2544), หน้า 4-5.</ref> | ||
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 | เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประจำกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่านางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 24 ของพรรคไทและผู้สมัครอื่นอีก 10 ราย ยังไม่ได้[[แจ้งบัญชีค่าใช้จ่าย]]ในการสมัครรับเลือกตั้งภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2544<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 (25 เม.ย.- 1พ.ค. 2544), หน้า 452.</ref> ซึ่งต่อมานางสาวจิตติพร ได้ชี้แจงว่าตนได้ทำหนังสือชี้แจงรายการค่าใช้จ่ายในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 แต่เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของตน เนื่องจากได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต. 0004/ว ลงวันที่ 12 มกราคม 2544 ส่งมายังพรรคไท กำหนดให้ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายภายใน 90 วัน ซึ่งตนคิดว่าต้องรอให้[[ประกาศผลการเลือกตั้ง]] ส.ส. ครบ 500 คนก่อน แล้วจึงจะยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย โดยให้นับวันจากวันประกาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งตนเข้าใจว่าจะครบกำหนดในวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 และการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การส่งบัญชีค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ทำให้ตนเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ตนมิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือกระทำผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาต่อ กกต. ให้พิจารณาอย่างเป็นธรรมด้วย<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 18 (2-8 พ.ค. 2544), หน้า 493.</ref> | ||
พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา | พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]จำนวนสามคำร้องให้ยุบพรรคไท โดยคำร้องที่ 1 เนื่องจากพรรคไทนำเงินสนับสนุนค่าไปรษณียากร ที่ได้รับจาก[[กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง]]ไปใช้จ่ายไม่เป็นไป[[ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 62 คำร้องที่ 2 เนื่องจากการดำเนินการประชุมใหญ่ของพรรคไทไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 62 กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคและผู้แทนสาขาพรรคมาร่วมประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และคำร้องที่ 3 เนื่องจากพรรคไทไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ในรอบปี 2545 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องทั้งสาม แล้วจึงได้มีคำสั่ง ที่ 8/2546 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ยุบพรรคไท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 142 ง, วันที่ 12 ธันวาคม 2546, หน้า 44.</ref> | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:45, 23 มิถุนายน 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคไท (2539)
พรรคไท มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า THAI PARTY ได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานใหญ่พรรคตั้งอยู่ ณ เลขที่ 67/171 ซอย 4 หมู่บ้าน ช.อมรพันธ์ 9 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร [1] พรรคไทใช้เครื่องหมายพรรคเป็น รูปวงกลม ล้อมรอบด้วยรวงข้าว ภายในปรากฏภาพธงชาติไทยและภาพชาวไทยหลากหลายอาชีพ ด้านบนมีอักษรภาษาไทยว่า “พรรคไท” ส่วนด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า “THAI PARTY” [2]
นโยบายพรรคไท พ.ศ. 2539 [3]
ด้านการเมืองการปกครอง
1. พรรคไทยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. พรรคไทจะพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง สถิตสถาพรควบคู่กับประเทศชาติตลอดไป
3. พรรคไทจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบพรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง เปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการที่จะควบคุมการดำเนินงานของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง ให้พรรคการเมืองได้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. พรรคไทยึดมั่นในการประสานความคิดของทุกฝ่าย โดยจะเสริมสร้างความสามัคคีและความสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาของชาติ ไม่สนับสนุนการปกครองโดยใช้กำลังหรือละเมิดต่อหลักการของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
5. พรรคไทเป็นพรรคการเมืองของประชาชนทุกหมู่เหล่า เปิดกว้างให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจการทั้งปวงของพรรค เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
6. พรรคไทจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้พรรคเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นอันขาด
7. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายใด สามารถเป็นหลักประกัน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างแท้จริง
8. พรรคยึดมั่นในหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินการเพื่อขจัดข้อกฎหมายและการปฏิบัติใด ๆ ที่ให้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันขัดต่อหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
9. พรรคจะส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิ และให้เสรีภาพเพื่อดำเนินกิจกรรมในรูปแบบใดก็ตามที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าแก่สังคมและประเทศชาติ
10. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีความคล่องตัวรัดกุม รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยีและวิธีการบริหารงานสมัยใหม่มาใช้ โดยจัดหางบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ
11. พรรคจะควบคุมและคุ้มครองข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของรัฐให้สามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลักความถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย โดยมิต้องหวั่นเกรงต่อการแทรกแซงบีบบังคับจากบุคคลใด หรือฝ่ายใด และจะสนับสนุนให้สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้ตามหลักคุณธรรม
12. พรรคมุ่งมั่นพิทักษ์หลักความเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการประจำ ให้ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยยึดหลักการที่ให้ข้าราชการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย และข้าราชการประจำเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบาย
13. พรรคจะปรับปรุงรายได้และสวัสดิการในภาครัฐให้ทัดเทียมกับภาคเอกชนควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรของรัฐ ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้บริการประชาชนอย่างมีเกียรติ มีวินัย การใช้อำนาจและมีคุณธรรม
14. พรรคไทมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะป้องกันและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมให้หมดสิ้นไป โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้จงได้
15. พรรคไทส่งเสริมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางแก่ส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองอย่างแท้จริง ให้องค์การส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
16. พรรคไทส่งเสริมให้มีการมอบอำนาจจากส่วนกลางแก่ส่วนภูมิภาค เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับความจำเป็นในแต่ละภูมิภาค
ด้านเศรษฐกิจ
1. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะสร้างความไพบูลย์รุ่งเรืองให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมีอำนาจทางเกษตรอุตสาหกรรมที่ทันสมัย และพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าในอนาคต
2. พรรคไทมุ่งสร้างเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจและศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค
3. พรรคจะพัฒนาประเทศโดยการสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้เพื่อให้ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจตกอยู่แก่ประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง
4. พรรคจะดำเนินการช่วยเหลือให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสในสังคมหลุดพ้นจากวงจรแห่งความยากจน
5. พรรคจะมุ่งแก้ปัญหาที่ทำกิน การถือครองที่ดินและราคาพืชผลตกต่ำ การถูกเอารัดเอาเปรียบของเกษตรกร และเน้นการสร้างงานให้ทุกคนมีรายได้ที่สามารถจะสร้างชีวิตที่ดีได้
6. พรรคจะส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตและจัดให้มีองค์กรที่จะให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาดย่อม
7. พรรคจะส่งเสริมให้มีระบบการค้าเสรีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยเปลี่ยนแนวทางของรัฐจากการมุ่งควบคุมเป็นการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน
8. พรรคจะดำเนินการแก้ไขปัญหาพลังงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานจากแหล่งกำเนิดพลังงานต่าง ๆ เน้นการอนุรักษ์และการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ด้านสังคม
1. พรรคไทจะปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ
2. พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม และมุ่งปรับปรุงการศึกษาให้ทุกระดับและทุกสาขาให้สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคก้าวหน้าได้อย่างเพียงพอ
3. พรรคจะส่งเสริมทุกวิถีทางในการสร้างบุคลากรทางการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
4. พรรคจะส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนา และการถ่ายทอดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาการทั้งปวงที่จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
5. พรรคไทจะพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนในชนบทให้ก้าวหน้าใกล้เคียง หรือทัดเทียมกับส่วนกลาง พัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท
6. พรรคไทมุ่งมั่นในการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และดำเนินการขจัดยาเสพติดอย่างจริงจัง
7. พรรคจะขยายบริการสาธารณสุข และการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
8. พรรคจะส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาทุกศาสนาเพื่อให้มีการนำหลักศีลธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
9. พรรคส่งเสริมและบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ
ด้านการป้องกันประเทศ
1. พรรคไทมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งเกรียงไกรของกองทัพไทย เพื่อให้เป็นหลักประกันในการพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย และความมั่นคงของชาติ
2. พรรคสนับสนุนบทบาทของกองทัพไทยในยามสันติให้กองทัพมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. พรรคไทจะแก้ไขปัญหารายได้และสวัสดิการของกำลังพลในกองทัพให้ทัดเทียมกับส่วนราชการอื่น ด้านการต่างประเทศ
พรรคไทมุ่งสร้างสันติภาพและพยายามแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี กระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม บนหลักการของความเสมอภาค กฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ และจะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์อันชอบธรรมของประเทศไทย และชาวไทยในต่างประเทศ
พรรคไทมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนจัดตั้งพรรคทั้งสิ้น 16 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้[4]
1. นายธนบดินทร์ แสงสถาพร หัวหน้าพรรค
2. นายพูนทรัพย์ บุญทอง รองหัวหน้าพรรค
3. นายธเนศ ธัญญลักษณ์ รองหัวหน้าพรรค
4. นางพะเยีย ตีรสิน เลขาธิการพรรค
5. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต รองเลขาธิการพรรค
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทสามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2539 ได้มีมติเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 17 คน และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ [5]
1. นายจำรัส จรรยา เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 1 แทน นายพูนทรัพย์ บุญทอง
2. นายประกอบ มานะมุติ เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 2 แทน นายธเนศ ธัญญลักษณ์
3. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต เป็นเลขาธิการพรรค แทน นางพะเยีย ตีรสิน
4. นางพะเยีย ตีรสิน เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 1 แทน นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต
5. นายสมนึก ศรีเจริญ เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 2
6. นายวิฑูรย์ แนวพาณิช เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 3
จากนั้น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทได้มีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 13 รายพ้นจากตำแหน่ง พร้อมกับได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 7 ราย โดยหนึ่งในจำนวนนี้มี นายสุวัฒน์ ยมจินดา เป็นรองหัวหน้าพรรคด้วย ทำให้พรรคไทมีกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 27 คน[6]
นอกจากนี้ พรรคไทยังได้มีมติเปลี่ยนสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคเป็น เลขที่ 16 ซอยราชครู (อารีย์สัมพันธ์ 5) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร [7]
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ที่ประชุมใหญ่สามัญของพรรคไท ครั้งที่ 1/2541 ได้มีมติให้ยกเลิกนโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2539 และใช้นโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 แทน
นโยบายพรรคไท พ.ศ. 2541[8]
นโยบายการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ
1. นโยบายด้านการปฏิรูปทางการเมือง: พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาระบบการเมือง ให้มีความมั่นคงตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อประโยชน์ของประชาชน
2. นโยบายด้านการบริหารราชการ: พรรคไทจะปฏิรูประบบบริหารทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ประสบผลตามเป้าหมายของแผนการแก้ภาวะวิกฤตการณ์ของชาติได้อย่างตรงจุด และทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
3. นโยบายด้านความมั่นคง: พรรคไทตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ในภูมิภาค และของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกองทัพต้องมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นการสถาปนาความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคและสังคมโลก จึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่
4. นโยบายด้านการต่างประเทศ: พรรคไทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยจะยึดมั่นในพันธกรณีตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
นโยบายเร่งด่วน: การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
1. เร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริหารงบประมาณแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประหยัด และสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม
2. บริหารจัดการด้านคนและสังคมเพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยบรรเทาปัญหาการว่างงาน และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ
3. บรรเทาผลกระทบทางสังคม โดยประกันโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย และฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทั่วถึง
นโยบายระยะปานกลาง: การปรับโครงสร้าง
1. การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพัฒนาตราสารทางการเงิน เพื่อระดมทุนมาใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ
2. การปรับโครงสร้างการผลิต โดยทางด้านการเกษตรนั้นพรรคไทจะสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และกระจายทุนสู่เกษตรกร ขยายโอกาสการลงทุนในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันเกษตรกร สนับสนุนและเผยแพร่กระบวนการสหกรณ์ให้เข้มแข็ง และสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าที่มีเสถียรภาพ พัฒนาแหล่งน้ำ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด
ส่วนทางด้านอุตสาหกรรมนั้น พรรคไทจะสนับสนุนกิจกรรมการผลิตก่อนการส่งออก ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมผลิตแบบครบวงจร พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และส่งเสริมสถาบันวิจัยและพัฒนา
ขณะที่ทางด้านการบริการนั้น จะสนับสนุนการท่องเที่ยว การบริการการศึกษานานาชาติ และส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพของภูมิภาค
3. การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพรรคไทจะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกทั้งจะพัฒนาเมืองชายแดนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตจากการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย
4. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ด้านการพลังงาน และด้านสาธารณูปการให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม
5. การปรับทิศทางด้านการตลาดส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการค้าและการลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ ๆ และสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับมิตรประเทศ
6. ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการพัฒนาที่ยั่งยืน
7. การพัฒนาคนและสังคม พรรคไทจะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน และคุ้มครองแรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนทุกกลุ่ม ส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างหลักประกันและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนาและศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนการให้การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงจังและเป็นธรรม
8. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคไทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ โดยเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
9. ด้านการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค พรรคไทจะเน้นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกันในทุกภูมิภาค และลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท
10. การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร พรรคไทมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อแก้ปัญหาของคนกรุงเทพมหานคร
อนึ่ง ในข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ได้ให้คำอธิบายเครื่องหมายพรรคการเมืองเอาไว้ว่า “เป็นภาพวงกลม 2 วง ซ้อนกัน ภายในวงกลมด้านบนเป็นชื่อพรรคไท ความหมายคือ อิสระเสรี ในความเป็นประชาธิปไตย มีสัญลักษณ์บ่งชี้ภายในวงกลมโปร่งใสเน้นให้เห็นถึงความมั่นคง หนักแน่น มีภาพธงไทยปลิวไสวอยู่ตรงกลางเหนือศีรษะ ประชาชนทุกสาขาวิชาชีพ กอปรไปด้วย นักการเมือง ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา พ่อค้า เกษตรกร ฯลฯ โดยขนาบข้างด้วยช่อพฤกษชาติที่อุดมสมบูรณ์ [9]
นอกจากนี้ข้อบังคับดังกล่าวยังได้เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคเป็น เลขที่ 267/1 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัสวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 และระบุอักษรย่อชื่อพรรคในภาษาไทย คือ “พ.ท.” และในภาษาอังกฤษ คือ “T.P.” [10]
พร้อมกันนั้นที่ประชุมพรรคไทยังได้มีมติเปลี่ยนแปลงและเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจำนวน 8 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญดังนี้[11]
1. นายสมโภชน์ ปัจฉิมานนท์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2
2. นายสุเทพ ปิ่นเจริญ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
3. นายตรีทศยุทธ ทวีพงศ์สกุลเลิศ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4
4. นางพิชญ์ดา เตอเยซูซ์ เป็นโฆษกพรรค
ต่อมา ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคไท ครั้งที่ 2/2542 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 7 คนพ้นจากตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้ มี นางพะเยีย ตีรสิน รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1, นายตรีทศยุทธ ทวีพงศ์สกุลเลิศ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4 และนายสมนึก ศรีเจริญ เหรัญญิกพรรครวมอยู่ด้วย พร้อมกันนั้น พรรคได้มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 7 คน โดยตำแหน่งสำคัญมีดังนี้[12]
1. นายชัยฤทธิ์ จันทรพันธ์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4
2. นายสมชาย ฤทธินาคา รองหัวหน้าพรรคคนที่ 5
3. นายวีรชาติ คุ้มพันธุ์ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1
4. น.ส. นัฏกานต์ โสหุรัตน์ เหรัญญิกพรรค
พรรคไทได้แจ้งขอย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคอีกครั้ง ตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญพรรคไท ครั้งที่ 1/2542 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็น เลขที่ 193 ถนนอำนวยสงคราม แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ก็ได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 2 คน และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคในตำแหน่งสำคัญจำนวน 3 คน คือ [13]
1. นายสุเทพ ปิ่นเจริญ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
2. นายสมโภชน์ ปัจฉิมานนท์ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
3. นายณัฐธวัฒณ์ เรือนเรือง พ้นจากตำแหน่งรองโฆษกพรรคคนที่ 1 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
จากนั้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคไท ครั้งที่ 8/2542 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไท จำนวน 24 ราย โดยตำแหน่งสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้[14]
1. นายจำรัส จรรยา พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 6
2. นายชัยฤทธิ์ จันทรพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 7
3. นายณัฐวัฒน์ เรือนเรือง พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
4. นายสมชาย ฤทธินาคา พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 5 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค
5. นายวีระชาติ คุ้มพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 1
6. นายวิฑูรย์ แนวพานิช พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 3
7. นางพิชญ์ดา เดอเยซูซ์ พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 2
8. พลเอกวิฑูร สุนทรจันทร์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1
9. พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2
10. พลตำรวจตรีอนุชา ทับสุวรรณ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3
11. พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4
12. นางประยงค์ จินดาวงษ์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 5
13. พลตรีวิสูตร เกิดเกรียงบุญ เป็นผู้อำนวยการพรรค
14. พลเอกอำพน อมรวิสัยสรเดช เป็นเลขาธิการพรรค
15. พันเอกปรีชา ปัญจมะวัต เป็นรองเลขาธิการพรรคคนที่ 1
16. น.ส.พิมพ์ใจ วิกสิตเจริญกุล เป็นโฆษกพรรค
จากนั้นพรรคไทก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคอีก 6 ครั้ง ดังนี้
- วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับการแจ้งจากพรรคไทว่า พันเอก ปรีชา ปัญจมะวัต, พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ และ นายสมชาย ฤทธินาคา ได้ขอลาออกจากสมาชิกพรรคและตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[15]
- วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต ลาออกจากรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2[16]
- วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มีกรรมการบริหารพรรคลาออกอีกจำนวน 2 คน[17]
- วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2543 นายสุวัฒน์ พรหมกุลพัฒน์ ลาออกจากสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค[18]
- วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2543 พลเอกวิฑูร สุนทรจันทร์ ลาออกจากสมาชิกพรรคและรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1, พลเอกอำพน อมรวิสัยสรเดช ลาออกจากสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค และ นายจอมพล สุภาพ ลาออกจากสมาชิกพรรคและรองโฆษกพรรค[19]
จนกระทั่งในที่สุด เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการบริหารพรรคไท ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี ตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 38 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 22[20]
พรรคไทได้ร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นั้น มีผู้สมัครในนามพรรคไทได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 1 คน คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[21]
สำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นั้นพรรคไทได้ส่งสมาชิกลงรับสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็นผู้สมัครในแบบแบ่งเขต 3 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) 5 คนแต่ไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งนี้บัญชีรายชื่อของพรรคไท (หมายเลข 19) ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 57,534 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.20 ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ทำให้พรรคไทไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[22]
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2544 นางสาวจิตพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพมหานคร ของพรรคไท ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านทางพันโทกมล ประจวบเหมาะ กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบสถานภาพสมรสและทรัพย์สินของคู่สมรสของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ว่าเป็นจริงตามที่ได้แจ้งต่อทางราชการหรือไม่ [23]
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่านางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 24 ของพรรคไทและผู้สมัครอื่นอีก 10 ราย ยังไม่ได้แจ้งบัญชีค่าใช้จ่ายในการสมัครรับเลือกตั้งภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2544[24] ซึ่งต่อมานางสาวจิตติพร ได้ชี้แจงว่าตนได้ทำหนังสือชี้แจงรายการค่าใช้จ่ายในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 แต่เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของตน เนื่องจากได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต. 0004/ว ลงวันที่ 12 มกราคม 2544 ส่งมายังพรรคไท กำหนดให้ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายภายใน 90 วัน ซึ่งตนคิดว่าต้องรอให้ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ครบ 500 คนก่อน แล้วจึงจะยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย โดยให้นับวันจากวันประกาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งตนเข้าใจว่าจะครบกำหนดในวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 และการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การส่งบัญชีค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ทำให้ตนเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ตนมิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือกระทำผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาต่อ กกต. ให้พิจารณาอย่างเป็นธรรมด้วย[25]
พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจำนวนสามคำร้องให้ยุบพรรคไท โดยคำร้องที่ 1 เนื่องจากพรรคไทนำเงินสนับสนุนค่าไปรษณียากร ที่ได้รับจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้จ่ายไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62 คำร้องที่ 2 เนื่องจากการดำเนินการประชุมใหญ่ของพรรคไทไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 62 กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคและผู้แทนสาขาพรรคมาร่วมประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และคำร้องที่ 3 เนื่องจากพรรคไทไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ในรอบปี 2545 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องทั้งสาม แล้วจึงได้มีคำสั่ง ที่ 8/2546 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ยุบพรรคไท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[26]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 17-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 20-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 5 ง, วันที่ 16 มกราคม 2540, หน้า 62-63.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 1 ง, วันที่ 1 มกราคม 2541, หน้า 76-77.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 1 ง, วันที่ 1 มกราคม 2541, หน้า 77.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 1-33
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 33-34.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 34.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 62-63.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 46 ง, วันที่ 2 กรกฎาคม 2542, หน้า 137-138.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 70 ง, วันที่ 22 กันยายน 2542, หน้า 110-111.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 32 ง, วันที่ 5 เมษายน 2543, หน้า 4-7.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 70 ง, วันที่ 14 กรกฎาคม 2543, หน้า 12-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 80 ง, วันที่ 11 สิงหาคม 2543, หน้า 23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 71 ง, วันที่ 19 กรกฎาคม 2543, หน้า 7.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 96 ง, วันที่ 20 กันยายน 2543, หน้า 28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 101 ง, วันที่ 4 ตุลาคม 2543, หน้า 18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 103 ง, วันที่ 16 ตุลาคม 2544, หน้า 21-22.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 46 (15-21 พ.ย. 2539), หน้า 1263,1271.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 49 (30 พ.ย.- 6 ธ.ค. 2543), หน้า 1359.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (1-10 ม.ค. 2544), หน้า 4-5.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 (25 เม.ย.- 1พ.ค. 2544), หน้า 452.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 18 (2-8 พ.ค. 2544), หน้า 493.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 142 ง, วันที่ 12 ธันวาคม 2546, หน้า 44.