ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอโอ (ปฏิบัติการข่าวสาร)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
ปฏิบัติการไอโอยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญหรือบทบาทของพื้นที่โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์ในฐานะพื้นที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งได้กำหนดให้ความแตกแยกทางการเมืองภายในเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลต่อภัยความมั่นคงของชาติ และมีแนวคิดว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการกับปัญหานี้[[#_ftn1|[1]]] | ปฏิบัติการไอโอยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญหรือบทบาทของพื้นที่โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์ในฐานะพื้นที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งได้กำหนดให้ความแตกแยกทางการเมืองภายในเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลต่อภัยความมั่นคงของชาติ และมีแนวคิดว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการกับปัญหานี้[[#_ftn1|[1]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ความหมายของไอโอ'''</span> = | |||
'''“ไอโอ”''' เป็นการเรียกโดยย่อของคำว่า '''Information Operations (I.O.)''' หมายถึง '''“'''[[การปฏิบัติการข่าวสารสารสนเทศ_(IO)|ปฏิบัติการข่าวสาร]]'''”''' หรือ '''“ปฏิบัติการสารสนเทศ”'''[[#_ftn2|[2]]] ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติการทางทหารที่มีการให้คำนิยามไว้หลากหลายแตกต่างไปตามหน่วยงาน โดยความหมายหลักของปฏิบัติการไอโอ คือ การสนธิการปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ต่อการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามกระทำโต้ตอบในลักษณะเดียวกัน หรือเป็นปฏิบัติการที่มุ่งสร้างผลกระทบ หรือสร้างอิทธิพลต่อกระบวนการตกลงใจ ข่าวสาร ระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ รวมไปถึงการปฏิบัติการเพื่อป้องกันข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตนจากการกระทำของฝ่ายตรงกันข้าม[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งมีการแบ่งการดำเนินการของปฏิบัติการไอโอออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ เชิงรุกและเชิงรับ ปฏิบัติการเชิงรุก เช่น การโจมตีเครือข่าย การทำสงครามจิตวิทยา การลวงทางทหาร การทำสงครามข่าวสารในขณะที่ปฏิบัติการเชิงรับ เช่น การป้องกันการปฏิบัติการหรือเครือข่ายฝ่ายตนเอง การต่อต้านสงครามจิตวิทยา การสร้างความถูกต้องด้านข่าวสาร[[#_ftn4|[4]]] ทั้งนี้ ยังมีการนำเสนอถึงว่าปฏิบัติการไอโอ คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสื่อสารเพื่อสร้างความภูมิใจ ฮึกเหิม เชื่อมันให้กับฝ่ายตนเอง ทำลายความชอบธรรมหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามลังเลในการกระทำหรือเปลี่ยนท่าที ในขณะเดียวกันก็ชักจูงให้ผู้ที่มีความเห็นหรือวางตัวเป็นกลางคล้อยตาม ให้การสนับสนุนฝ่ายตนด้วยเช่นกัน[[#_ftn5|[5]]] | '''“ไอโอ”''' เป็นการเรียกโดยย่อของคำว่า '''Information Operations (I.O.)''' หมายถึง '''“'''[[การปฏิบัติการข่าวสารสารสนเทศ_(IO)|ปฏิบัติการข่าวสาร]]'''”''' หรือ '''“ปฏิบัติการสารสนเทศ”'''[[#_ftn2|[2]]] ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติการทางทหารที่มีการให้คำนิยามไว้หลากหลายแตกต่างไปตามหน่วยงาน โดยความหมายหลักของปฏิบัติการไอโอ คือ การสนธิการปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ต่อการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามกระทำโต้ตอบในลักษณะเดียวกัน หรือเป็นปฏิบัติการที่มุ่งสร้างผลกระทบ หรือสร้างอิทธิพลต่อกระบวนการตกลงใจ ข่าวสาร ระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ รวมไปถึงการปฏิบัติการเพื่อป้องกันข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตนจากการกระทำของฝ่ายตรงกันข้าม[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งมีการแบ่งการดำเนินการของปฏิบัติการไอโอออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ เชิงรุกและเชิงรับ ปฏิบัติการเชิงรุก เช่น การโจมตีเครือข่าย การทำสงครามจิตวิทยา การลวงทางทหาร การทำสงครามข่าวสารในขณะที่ปฏิบัติการเชิงรับ เช่น การป้องกันการปฏิบัติการหรือเครือข่ายฝ่ายตนเอง การต่อต้านสงครามจิตวิทยา การสร้างความถูกต้องด้านข่าวสาร[[#_ftn4|[4]]] ทั้งนี้ ยังมีการนำเสนอถึงว่าปฏิบัติการไอโอ คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสื่อสารเพื่อสร้างความภูมิใจ ฮึกเหิม เชื่อมันให้กับฝ่ายตนเอง ทำลายความชอบธรรมหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามลังเลในการกระทำหรือเปลี่ยนท่าที ในขณะเดียวกันก็ชักจูงให้ผู้ที่มีความเห็นหรือวางตัวเป็นกลางคล้อยตาม ให้การสนับสนุนฝ่ายตนด้วยเช่นกัน[[#_ftn5|[5]]] | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 18: | ||
อย่างไรก็ดี สุรชาติ บำรุงสุข อธิบายว่าหน่วยงานรัฐไทยมีประสบการณ์และแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) มาก่อนแล้วในช่วงสงครามเย็น[[#_ftn8|[8]]] สุรชาติชี้ว่าปฏิบัติการไอโอของกองทัพไทยนั้นจำกัดอยู่ที่ปฏิบัติการจิตวิทยาหรือปฏิบัติการสนับสนุนทางทหารด้านข่าวสารเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปด้านอื่น เช่น สงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตามหลักการแบบสหรัฐฯ[[#_ftn9|[9]]] | อย่างไรก็ดี สุรชาติ บำรุงสุข อธิบายว่าหน่วยงานรัฐไทยมีประสบการณ์และแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) มาก่อนแล้วในช่วงสงครามเย็น[[#_ftn8|[8]]] สุรชาติชี้ว่าปฏิบัติการไอโอของกองทัพไทยนั้นจำกัดอยู่ที่ปฏิบัติการจิตวิทยาหรือปฏิบัติการสนับสนุนทางทหารด้านข่าวสารเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปด้านอื่น เช่น สงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตามหลักการแบบสหรัฐฯ[[#_ftn9|[9]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ปฏิบัติการไอโอกับการเมืองไทย'''</span> = | |||
ในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิบัติการไอโอได้รับความสนใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและตั้งข้อสังเกตว่าใปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย ได้แก่ ทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กเป็นหลัก | ในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิบัติการไอโอได้รับความสนใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและตั้งข้อสังเกตว่าใปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย ได้แก่ ทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กเป็นหลัก | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 30: | ||
ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลประยุทธ์ที่มาเป็นประชาชนทั่วไป นักวิชาการ พรรคหรือกลุ่มการเมือง ต่างแสดงความเห็นต่อปฏิบัติการไอโอด้วยเช่นกัน ต่างมองว่าเป็นการสร้างความแตกแยก คุกคามประชาชน[[#_ftn12|[12]]] เป็นการใช้งบประมาณหรือทรัพยากรส่วนรวมเพื่อคุกคามโจมตีการแสดงความเห็นหรือฝ่ายตรงข้ามทางเมืองกับรัฐบาล[[#_ftn13|[13]]] รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของประชาชนหรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลให้อยู่ในระดับเดียวกับข้าศึกศัตรูต่างชาติ และถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าหน่วยงานรัฐไม่วางตัวเป็นกลาง อาจเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[[#_ftn14|[14]]] ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่แนบเนียนหรือวิจารณ์หรือจับผิดเนื้อหาที่เชื่อว่าเผยแพร่มาจากปฏิบัติการไอโอในเชิงขบขัน | ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลประยุทธ์ที่มาเป็นประชาชนทั่วไป นักวิชาการ พรรคหรือกลุ่มการเมือง ต่างแสดงความเห็นต่อปฏิบัติการไอโอด้วยเช่นกัน ต่างมองว่าเป็นการสร้างความแตกแยก คุกคามประชาชน[[#_ftn12|[12]]] เป็นการใช้งบประมาณหรือทรัพยากรส่วนรวมเพื่อคุกคามโจมตีการแสดงความเห็นหรือฝ่ายตรงข้ามทางเมืองกับรัฐบาล[[#_ftn13|[13]]] รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของประชาชนหรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลให้อยู่ในระดับเดียวกับข้าศึกศัตรูต่างชาติ และถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าหน่วยงานรัฐไม่วางตัวเป็นกลาง อาจเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[[#_ftn14|[14]]] ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่แนบเนียนหรือวิจารณ์หรือจับผิดเนื้อหาที่เชื่อว่าเผยแพร่มาจากปฏิบัติการไอโอในเชิงขบขัน | ||
จากการศึกษาของ บุญรอด ศรีสมบัติ ชี้ว่ารัฐเริ่มปฏิบัติการไอโอในช่วงของการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาล นาย[[อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ|อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ]] | จากการศึกษาของ บุญรอด ศรีสมบัติ ชี้ว่ารัฐเริ่มปฏิบัติการไอโอในช่วงของการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาล นาย[[อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ|อภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ]] ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553 ปฏิบัติการในครั้งนั้นนำโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานด้านการสื่อสาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนับสนุนแก่รัฐบาลและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐจากประชาชน โจมตีการชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงตอบโต้การเผยแพร่ข้อมูลโจมตีฝ่ายรัฐบาลจากฝ่ายคนเสื้อแดง[[#_ftn15|[15]]] ตัวอย่างข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านปฏิบัติการ เช่น เจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง[[#_ftn16|[16]]] ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพด้านลบให้แก่ผู้ชุมนุม เช่น การนำเสนอว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นไปโดยสงบ มีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวในหมู่ผู้ชุมนุม มีการรุมทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ มีการตัดต่อคลิปการปราศรัยของแกนนำเพื่อให้เห็นว่ามีการเตรียมการสร้างสถานการณ์ รวมไปถึงการเผยแพร่ '''“ผังล้มเจ้า”'''[[#_ftn17|[17]]] นอกจากการสร้างกระแสข่าวดังกล่าว ยังมีปฏิบัติการปิดสถานีโทรทัศน์และเว็บไซต์ที่โจมตีรัฐบาล[[#_ftn18|[18]]] นอกจากในการชุมนุมทางการเมือง หน่วยงานรัฐยังได้ทำปฏิบัติการไอโอเพื่อตอบโต้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เผยแพร่ข้อมูลโจมตีต่อต้านฝ่ายรัฐและสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นอกเหนือจากการต่อสู้โดยอาวุธ[[#_ftn19|[19]]] ปฏิบัติการเหล่านี้อาจย้อนไปถึงการโพสต์ข้อความตอบโต้อย่างเป็นระบบต่อการวิพากษ์วิจารณ์ทหารและกองทัพผ่านเว็บบอร์ด รวมถึงการโพสต์ข้อความแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในช่วงหลังการ[[รัฐประหาร_19_กันยายน_2549|รัฐประหาร_19_กันยายน_2549]][[#_ftn20|[20]]] | ||
ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปี 2563 นั้น สื่อ กลุ่มการเมือง หรือประชาชนบางกลุ่มได้กล่าวถึงปฏิบัติการไอโอ โดยมีการแสดงความเห็นหรือนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอในพื้นที่สื่อออนไลน์ ทั้งโจมตีฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐบาลและแสดงท่าทีการสนับสนุนรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐอย่างเปิดเผย เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการไอโอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีสื่อมวลชนหรือนักวิชาการที่วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐใน ปี 2557[[#_ftn21|[21]]] ได้มีการนำเสนอแฟนเพจ '''“ทหารปฏิรูปประเทศ”''' ที่มีเนื้อหาโจมตีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงมีการใช้วาทกรรมแบบฝ่ายอนุรักษ์นิยมเมื่อ ปี 2558[[#_ftn22|[22]]] | ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปี 2563 นั้น สื่อ กลุ่มการเมือง หรือประชาชนบางกลุ่มได้กล่าวถึงปฏิบัติการไอโอ โดยมีการแสดงความเห็นหรือนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอในพื้นที่สื่อออนไลน์ ทั้งโจมตีฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐบาลและแสดงท่าทีการสนับสนุนรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐอย่างเปิดเผย เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการไอโอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีสื่อมวลชนหรือนักวิชาการที่วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐใน ปี 2557[[#_ftn21|[21]]] ได้มีการนำเสนอแฟนเพจ '''“ทหารปฏิรูปประเทศ”''' ที่มีเนื้อหาโจมตีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงมีการใช้วาทกรรมแบบฝ่ายอนุรักษ์นิยมเมื่อ ปี 2558[[#_ftn22|[22]]] | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 36: | ||
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่ามีแฟนเพจหน่วยงานทหารในระดับต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้า ปี 2561 ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือความเสียสละของทหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[[#_ftn23|[23]]] รวมถึงในกรณีอื่น เช่น การเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่ามีการใช้ปฏิบัติการไอโอสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[[#_ftn24|[24]]] นอกจากนั้น ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน ปี 2562 ที่ได้เปิดเผยและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอ โดยรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมโยงว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ในปี 2561 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนเสื้อแดง และชี้แจงความจำเป็นที่รัฐจะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อให้จัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดการที่วางไว้[[#_ftn25|[25]]] | สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่ามีแฟนเพจหน่วยงานทหารในระดับต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้า ปี 2561 ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือความเสียสละของทหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[[#_ftn23|[23]]] รวมถึงในกรณีอื่น เช่น การเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่ามีการใช้ปฏิบัติการไอโอสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[[#_ftn24|[24]]] นอกจากนั้น ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน ปี 2562 ที่ได้เปิดเผยและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอ โดยรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมโยงว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ในปี 2561 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนเสื้อแดง และชี้แจงความจำเป็นที่รัฐจะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อให้จัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดการที่วางไว้[[#_ftn25|[25]]] | ||
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ โดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส่งผลให้ปฏิบัติการไอโอโดยรัฐเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง วิโรจน์ได้อภิปรายโดยกล่าวถึงการใช้พื้นที่ออนไลน์ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยหน่วยงานรัฐ | ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ โดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส่งผลให้ปฏิบัติการไอโอโดยรัฐเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง วิโรจน์ได้อภิปรายโดยกล่าวถึงการใช้พื้นที่ออนไลน์ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยหน่วยงานรัฐ ข้อมูลที่วิโรจน์นำเสนอได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าง เว็บไซต์ pulony.blogspot.com กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่เผยแพร่เนื้อหาโจมตีนักสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองที่มีท่าทีตรงกันข้ามกับแนวทางของหน่วยงานด้านความมั่นคงในประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเนื้อหาต้นทางที่แฟนเพจซึ่งเชื่อว่าเป็นของหน่วยงานรัฐนำไปเผยแพร่หรือแชร์ต่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า กอ.รมน. ได้ให้การสนับสนุนเว็บไซต์ดังกล่าว[[#_ftn26|[26]]] ทั้งยังได้นำเสนอปฏิบัติการไอโอโดยรัฐอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานกองทัพ ที่มีการจัดจำแนกบุคคล เช่น นักการเมือง นักวิชาการ ผู้มีชื่อเสียง บัญชีผู้ใช้งานหรือแฟนเพจบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ว่าเป็นผู้ที่มีท่าทีเป็น '''“บวก”''' หรือ '''“ลบ”''' ต่อรัฐบาล ซึ่งจะสัมพันธ์กับแนวทางการดำเนินการ เช่น การเข้าโต้แย้ง '''“ด้อยค่า”''' หรือทำให้ลดความน่าเชื่อถือหรือลดความสำคัญกดรายงาน (รีพอร์ท) เพื่อให้เพจของบุคคลหรือองค์กรนั้นถูกแบนจากเฟสบุ๊ค หรือกดถูกใจแสดงความสนับสนุนหรือช่วยเผยแพร่เนื้อหาที่สนับสนุนรัฐบาล[[#_ftn27|[27]]] | ||
วิโรจน์ยังได้เปิดเผยให้เห็นกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ของผู้ปฏิบัติงานและใช้ประสานงานปฏิบัติการไอโอ ทำให้มีประชาชนทั่วไปเข้าไปขอเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อเข้าร่วมในกลุ่มไลน์ดังกล่าวจำนวนมากจนทำให้กลุ่มปิดตัวลง[[#_ftn28|[28]]] | วิโรจน์ยังได้เปิดเผยให้เห็นกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ของผู้ปฏิบัติงานและใช้ประสานงานปฏิบัติการไอโอ ทำให้มีประชาชนทั่วไปเข้าไปขอเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อเข้าร่วมในกลุ่มไลน์ดังกล่าวจำนวนมากจนทำให้กลุ่มปิดตัวลง[[#_ftn28|[28]]] | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 46: | ||
นอกจากการเคลื่อนไหวโดยพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล และคณะก้าวหน้าแล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียงทางการเมืองต่อการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน รวม 33 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐยุติปฏิบัติการไอโอโจมตีนักสิทธิมนุษยชนและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง พร้อมทั้งให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายจากปฏิบัติการนี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียระงับบัญชีผู้ใช้งานปลอมที่สนับสนุนโดยรัฐ[[#_ftn33|[33]]] อังคณา นีละไพจิตร และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะหน่วยงานรับที่ดูแลกำกับ กอ.รมน. และกองทัพบกต่อศาลแพ่ง จากการที่มีส่วนเผยแพร่ข้อมูลใน เว็บไซต์ pulony.blogspot.com โดยต้องการให้ภาครัฐชดใช้ค่าเสียหายจากการถูกละเมิดจากปฏิบัติการไอโอ พร้อมทั้งให้รัฐยุติการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีต่อประชาชนทั่วไป[[#_ftn34|[34]]] ในขณะที่ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการ iLaw, สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ, และวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ พิธีกรและนักจัดรายการ ได้ร่วมยื่นฟ้องกองทัพบกและผู้บัญชาการทหารบกต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการถึงปฏิบัติการไอโอพร้อมให้กองทัพมาชี้แจงต่อศาล โดยได้ขอให้ศาลสั่งให้ยุติปฏิบัติการไอโอต่อประชาชนและลบข้อมูลประชาชนที่อยู่ในบัญชีเป้าหมายของหน่วยงานรัฐ พร้อมทั้งได้ส่งจดหมายถึงผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสำนักงานใหญ่เฟซบุ๊กให้สืบสวนการกระทำของกองทัพไทย [[#_ftn35|[35]]] ในขณะที่สื่อหรือประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไป ได้ร่วมวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ รวมไปถึงการร่วมตรวจสอบหรือรายงานการพบบัญชีผู้ใช้งานที่น่าสงสัยว่าเป็นไอโอ[[#_ftn36|[36]]] ทั้งยังมีการใช้คำว่า '''“ไอโอ”''' เรียกทั้งบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนรัฐบาลหรือวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีลักษณะที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบัญชีผู้ใช้งานปลอม รวมถึงบางส่วนก็ได้ใช้เรียกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในพื้นที่ออนไลน์โดยทั่วไป รวมไปถึงการชุมนุมในภายหลังที่นำคำว่า '''“ไอโอ”''' มาใช้เป็นชื่อกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม '''“คืนสู่เหย้าไม่เอาไอโอชา”''' และ '''“กวีศิลปินไล่หัวหน้าไอโอ”'''[[#_ftn37|[37]]] | นอกจากการเคลื่อนไหวโดยพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล และคณะก้าวหน้าแล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียงทางการเมืองต่อการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน รวม 33 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐยุติปฏิบัติการไอโอโจมตีนักสิทธิมนุษยชนและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง พร้อมทั้งให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายจากปฏิบัติการนี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียระงับบัญชีผู้ใช้งานปลอมที่สนับสนุนโดยรัฐ[[#_ftn33|[33]]] อังคณา นีละไพจิตร และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะหน่วยงานรับที่ดูแลกำกับ กอ.รมน. และกองทัพบกต่อศาลแพ่ง จากการที่มีส่วนเผยแพร่ข้อมูลใน เว็บไซต์ pulony.blogspot.com โดยต้องการให้ภาครัฐชดใช้ค่าเสียหายจากการถูกละเมิดจากปฏิบัติการไอโอ พร้อมทั้งให้รัฐยุติการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีต่อประชาชนทั่วไป[[#_ftn34|[34]]] ในขณะที่ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการ iLaw, สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ, และวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ พิธีกรและนักจัดรายการ ได้ร่วมยื่นฟ้องกองทัพบกและผู้บัญชาการทหารบกต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการถึงปฏิบัติการไอโอพร้อมให้กองทัพมาชี้แจงต่อศาล โดยได้ขอให้ศาลสั่งให้ยุติปฏิบัติการไอโอต่อประชาชนและลบข้อมูลประชาชนที่อยู่ในบัญชีเป้าหมายของหน่วยงานรัฐ พร้อมทั้งได้ส่งจดหมายถึงผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสำนักงานใหญ่เฟซบุ๊กให้สืบสวนการกระทำของกองทัพไทย [[#_ftn35|[35]]] ในขณะที่สื่อหรือประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไป ได้ร่วมวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ รวมไปถึงการร่วมตรวจสอบหรือรายงานการพบบัญชีผู้ใช้งานที่น่าสงสัยว่าเป็นไอโอ[[#_ftn36|[36]]] ทั้งยังมีการใช้คำว่า '''“ไอโอ”''' เรียกทั้งบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนรัฐบาลหรือวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีลักษณะที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบัญชีผู้ใช้งานปลอม รวมถึงบางส่วนก็ได้ใช้เรียกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในพื้นที่ออนไลน์โดยทั่วไป รวมไปถึงการชุมนุมในภายหลังที่นำคำว่า '''“ไอโอ”''' มาใช้เป็นชื่อกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม '''“คืนสู่เหย้าไม่เอาไอโอชา”''' และ '''“กวีศิลปินไล่หัวหน้าไอโอ”'''[[#_ftn37|[37]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ปฏิกิริยาจากฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล'''</span> = | |||
จากการเปิดเผยปฏิบัติการไอโอของฝ่ายค้านนั้น ฝ่ายรัฐ ทั้งจากรัฐบาล กองทัพ หรือ กอ.รมน. ต่างปฏิเสธการใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์เพื่อปฏิบัติการไอโอเพื่อโจมตีหรือโต้เถียงกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป เช่น การยอมรับว่ามีการจัดสรรงบประมาณโดย กอ.รมน. ให้เว็บไซต์ pulony จริง แต่เป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้ใช้ปลุกปั่น[[#_ftn38|[38]]] การอบรมหลักสูตรปฏิบัติการไอโอเป็นเรื่องปกติตามหลักสูตรกองทัพ[[#_ftn39|[39]]] การกล่าวว่าเอกสารหรือหลักฐานที่ถูกเผยแพร่นั้นเป็นการอบรมกำลังพลให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานสื่อออนไลน์[[#_ftn40|[40]]] บัญชีโซเชียลมีเดียของกำลังพลหรือหน่วยงานเป็นบัญชีเปิดเผยไม่ใช่บัญชีปลอม หรือกล่าวว่ามีเพียงนโยบายการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะและสื่อสารระหว่างกำลังพลและหน่วยงานตามปกติเท่านั้น[[#_ftn41|[41]]] รวมถึงกล่าวว่ากองทัพมีหน้าที่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะมีการใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ สร้างความเกลียดชัง กระทบต่อสถาบันกษัตริย์ และความสงบเรียบร้อยของสังคม[[#_ftn42|[42]]] ในขณะที่การตอบคำถามโดย ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสื่อมวลชนว่าตนเองก็เป็นฝ่ายถูก '''“โจมตี”''' จากไอโอ[[#_ftn43|[43]]] | จากการเปิดเผยปฏิบัติการไอโอของฝ่ายค้านนั้น ฝ่ายรัฐ ทั้งจากรัฐบาล กองทัพ หรือ กอ.รมน. ต่างปฏิเสธการใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์เพื่อปฏิบัติการไอโอเพื่อโจมตีหรือโต้เถียงกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป เช่น การยอมรับว่ามีการจัดสรรงบประมาณโดย กอ.รมน. ให้เว็บไซต์ pulony จริง แต่เป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้ใช้ปลุกปั่น[[#_ftn38|[38]]] การอบรมหลักสูตรปฏิบัติการไอโอเป็นเรื่องปกติตามหลักสูตรกองทัพ[[#_ftn39|[39]]] การกล่าวว่าเอกสารหรือหลักฐานที่ถูกเผยแพร่นั้นเป็นการอบรมกำลังพลให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานสื่อออนไลน์[[#_ftn40|[40]]] บัญชีโซเชียลมีเดียของกำลังพลหรือหน่วยงานเป็นบัญชีเปิดเผยไม่ใช่บัญชีปลอม หรือกล่าวว่ามีเพียงนโยบายการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะและสื่อสารระหว่างกำลังพลและหน่วยงานตามปกติเท่านั้น[[#_ftn41|[41]]] รวมถึงกล่าวว่ากองทัพมีหน้าที่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะมีการใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ สร้างความเกลียดชัง กระทบต่อสถาบันกษัตริย์ และความสงบเรียบร้อยของสังคม[[#_ftn42|[42]]] ในขณะที่การตอบคำถามโดย ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสื่อมวลชนว่าตนเองก็เป็นฝ่ายถูก '''“โจมตี”''' จากไอโอ[[#_ftn43|[43]]] | ||
บรรทัดที่ 58: | บรรทัดที่ 52: | ||
ในขณะที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็ได้ประท้วงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยอ้างว่าฝ่ายที่วิพากษ์วิจจารณ์รัฐบาลก็ได้ทำ “ไอโอ” โจมตีตนเองเช่นเดียวกัน[[#_ftn44|[44]]] เช่น แฟนเพจ[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]ได้เผยแพร่โพสต์การตอบโต้การอภิปรายเรื่องปฏิบัติการไอโอ โดยเนื้อหาของโพสต์สื่อว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต่างหากที่มีพฤติกรรมคุกคามฝ่ายตรงข้ามบนโซเชียลมีเดีย[[#_ftn45|[45]]]นอกจากนั้นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโดยทั่วไปบางส่วนยังได้ตอบโต้โดยนำคำว่า “ไอโอ” มาใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเพื่อใช้สื่อถึงผู้ใช้งานหรือสื่อออนไลน์ที่แสดงความเห็นโจมตีรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นไอโอ[[#_ftn46|[46]]] รวมถึงมีปฏิกิริยาต่อการถูกเรียกขานว่าไอโอจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นการกระทำที่เหมารวมและไม่มีเหตุผล เนื่องจากบางครั้งที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ใช้คำว่า “ไอโอ” เรียกฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐหรือแสดงความเห็นต่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไปว่าเป็น '''“ไอโอ”''' ในลักษณะเดียวกับการเรียกขานว่า '''“สลิ่ม”'''[[#_ftn47|[47]]] ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้มีเครือข่ายในการปล่อยข้อมูลโจมตีรัฐบาลอย่างเป็นระบบในลักษณะของไอโอเช่นเดียวกัน[[#_ftn48|[48]]] | ในขณะที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็ได้ประท้วงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยอ้างว่าฝ่ายที่วิพากษ์วิจจารณ์รัฐบาลก็ได้ทำ “ไอโอ” โจมตีตนเองเช่นเดียวกัน[[#_ftn44|[44]]] เช่น แฟนเพจ[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]]ได้เผยแพร่โพสต์การตอบโต้การอภิปรายเรื่องปฏิบัติการไอโอ โดยเนื้อหาของโพสต์สื่อว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต่างหากที่มีพฤติกรรมคุกคามฝ่ายตรงข้ามบนโซเชียลมีเดีย[[#_ftn45|[45]]]นอกจากนั้นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโดยทั่วไปบางส่วนยังได้ตอบโต้โดยนำคำว่า “ไอโอ” มาใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเพื่อใช้สื่อถึงผู้ใช้งานหรือสื่อออนไลน์ที่แสดงความเห็นโจมตีรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นไอโอ[[#_ftn46|[46]]] รวมถึงมีปฏิกิริยาต่อการถูกเรียกขานว่าไอโอจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นการกระทำที่เหมารวมและไม่มีเหตุผล เนื่องจากบางครั้งที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ใช้คำว่า “ไอโอ” เรียกฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐหรือแสดงความเห็นต่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไปว่าเป็น '''“ไอโอ”''' ในลักษณะเดียวกับการเรียกขานว่า '''“สลิ่ม”'''[[#_ftn47|[47]]] ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้มีเครือข่ายในการปล่อยข้อมูลโจมตีรัฐบาลอย่างเป็นระบบในลักษณะของไอโอเช่นเดียวกัน[[#_ftn48|[48]]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ปฏิกิริยาจากผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย'''</span> = | |||
ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย ได้แก่ทวิตเตอร์ และเฟซบุก ได้มีมาตรการตอบโต้ต่อการใช้งานโซเชียลในลักษณะปฏิบัติการไอโอโดยหน่วยงานรัฐในหลายประเทศรวมถึงในไทย โดยในเดือนตุลาคม 2563 ทวิตเตอร์ได้รายงานผลการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในไทยจำนวนกว่า 900 บัญชี ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและกองทัพไทย ซึ่งบัญชีเหล่านี้ได้เผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาลและกองทัพและโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล[[#_ftn49|[49]]] รวมถึงการระงับบัญชีทวิตเตอร์ของหน่วยงานสำคัญแห่งหนึ่งภายหลังจากพบว่ามีการละเมิดข้อกำหนดการใช้งานเรื่องการสแปม (Spam) ซึ่งพบว่ามีลักษณะการเผยแพร่ข้อมูลที่คล้ายกันและได้สร้างบัญชีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[[#_ftn50|[50]]] | ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย ได้แก่ทวิตเตอร์ และเฟซบุก ได้มีมาตรการตอบโต้ต่อการใช้งานโซเชียลในลักษณะปฏิบัติการไอโอโดยหน่วยงานรัฐในหลายประเทศรวมถึงในไทย โดยในเดือนตุลาคม 2563 ทวิตเตอร์ได้รายงานผลการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในไทยจำนวนกว่า 900 บัญชี ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและกองทัพไทย ซึ่งบัญชีเหล่านี้ได้เผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาลและกองทัพและโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล[[#_ftn49|[49]]] รวมถึงการระงับบัญชีทวิตเตอร์ของหน่วยงานสำคัญแห่งหนึ่งภายหลังจากพบว่ามีการละเมิดข้อกำหนดการใช้งานเรื่องการสแปม (Spam) ซึ่งพบว่ามีลักษณะการเผยแพร่ข้อมูลที่คล้ายกันและได้สร้างบัญชีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[[#_ftn50|[50]]] | ||
ต่อมา ในกุมภาพันธ์ 2564 เฟสบุ๊กได้รายงานการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งาน แฟนเพจกลุ่ม รวมถึงบัญชีบนอินสตาแกรม (Instagram) รวม 185 บัญชี ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพบกไทย ซึ่งมีพฤติกรรม '''“ร่วมกันโจมตีหรือสร้างกระแสให้ไปในทิศทางเดียวกัน” | ต่อมา ในกุมภาพันธ์ 2564 เฟสบุ๊กได้รายงานการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งาน แฟนเพจกลุ่ม รวมถึงบัญชีบนอินสตาแกรม (Instagram) รวม 185 บัญชี ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพบกไทย ซึ่งมีพฤติกรรม '''“ร่วมกันโจมตีหรือสร้างกระแสให้ไปในทิศทางเดียวกัน” (Coordinated Unauthentic Behavior)'''[[#_ftn51|[51]]] โดยบัญชีเหล่านี้เน้นการเผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาล รวมถึงได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้[[#_ftn52|[52]]] | ||
<div> | <div> | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> = | |||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] พวงทอง ภวัครพันธุ์, อ้างใน “สงคราม IO เปลี่ยนปฏิบัติการจากสมรภูมิรบ เข้าแทรกซึมชีวิตพลเรือน,” ''WAY Magazine'', (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก [https://waymagazine.org/io/ https://waymagazine.org/io/]. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564. | [[#_ftnref1|[1]]] พวงทอง ภวัครพันธุ์, อ้างใน “สงคราม IO เปลี่ยนปฏิบัติการจากสมรภูมิรบ เข้าแทรกซึมชีวิตพลเรือน,” ''WAY Magazine'', (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก [https://waymagazine.org/io/ https://waymagazine.org/io/]. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564. | ||
บรรทัดที่ 92: | บรรทัดที่ 82: | ||
[[#_ftnref11|[11]]] สฤณี อาชวานันทกุล, “รู้ทันปฏิบัติการข่าวสาร (IO) และมหกรรมข่าวลวงช่วงชุมนุม,” ''The Momentum'', (10 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก [https://themomentum.co/aware-of-information-operations/ https://themomentum.co/aware-of-information-operations/]. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564. | [[#_ftnref11|[11]]] สฤณี อาชวานันทกุล, “รู้ทันปฏิบัติการข่าวสาร (IO) และมหกรรมข่าวลวงช่วงชุมนุม,” ''The Momentum'', (10 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก [https://themomentum.co/aware-of-information-operations/ https://themomentum.co/aware-of-information-operations/]. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”''บีบีซีไทย'', (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก [https://www.bbc.com/thai/thailand-51633675 https://www.bbc.com/thai/thailand-51633675]. | [[#_ftnref12|[12]]] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”''บีบีซีไทย'', (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก [https://www.bbc.com/thai/thailand-51633675 https://www.bbc.com/thai/thailand-51633675]. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] “ก้าวไกล งัดคลิป แฉเครือข่ายปฏิบัติการไอโอ ร่ายกลอนโต้ ‘บิ๊กตู่’ รั้วของชาติข่มเหงปชช.,” ''มติชนออนไลน์'', | [[#_ftnref13|[13]]] “ก้าวไกล งัดคลิป แฉเครือข่ายปฏิบัติการไอโอ ร่ายกลอนโต้ ‘บิ๊กตู่’ รั้วของชาติข่มเหงปชช.,” ''มติชนออนไลน์'', (19 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/politics/news_2586210 https://www.matichon.co.th/politics/news_2586210]. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564. | ||
</div> <div id="ftn14"> | </div> <div id="ftn14"> | ||
[[#_ftnref14|[14]]] สฤณี อาชวานันทกุล, “‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ (2): สงครามจิตวิทยากับประชาชน,” ''The Momentum'', (6 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://themomentum.co/citizen2-0-information-operations/ https://themomentum.co/citizen2-0-information-operations/]. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564. | [[#_ftnref14|[14]]] สฤณี อาชวานันทกุล, “‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ (2): สงครามจิตวิทยากับประชาชน,” ''The Momentum'', (6 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://themomentum.co/citizen2-0-information-operations/ https://themomentum.co/citizen2-0-information-operations/]. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564. | ||
บรรทัดที่ 173: | บรรทัดที่ 163: | ||
</div> <div id="ftn52"> | </div> <div id="ftn52"> | ||
[[#_ftnref52|[52]]] Facebook, “February 2021 Coordinated Inauthentic Behavior Report,” หน้า 5-8, เข้าถึงจาก [https://about.fb.com/wp-content/uploads/2021/03/February-2021-CIB-Report.pdf https://about.fb.com/wp-content/uploads/2021/03/February-2021-CIB-Report.pdf]. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564. | [[#_ftnref52|[52]]] Facebook, “February 2021 Coordinated Inauthentic Behavior Report,” หน้า 5-8, เข้าถึงจาก [https://about.fb.com/wp-content/uploads/2021/03/February-2021-CIB-Report.pdf https://about.fb.com/wp-content/uploads/2021/03/February-2021-CIB-Report.pdf]. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ทหาร]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ทหาร]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:42, 16 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของสภาผู้แทนราษฎรใน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์_จันทร์โอชา โดยยกประเด็นที่หน่วยงานรัฐได้ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโจมตีฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองอย่างเป็นระบบ เป็นปฏิบัติการที่เรียกว่า “ไอโอ” ซึ่งเป็นคำเรียกโดยย่อของ “Information Operation” หรือ “ปฏิบัติการข่าวสาร” การอภิปรายนี้ ทำให้ปฏิบัติการไอโอเป็นที่รับรู้ในวงกว้างต่อสาธารณชนโดยทั่วไป และกลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งพรรคการเมืองและประชาชนโดยทั่วไปนำมาใช้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
ปฏิบัติการไอโอยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญหรือบทบาทของพื้นที่โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์ในฐานะพื้นที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งได้กำหนดให้ความแตกแยกทางการเมืองภายในเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลต่อภัยความมั่นคงของชาติ และมีแนวคิดว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการกับปัญหานี้[1]
ความหมายของไอโอ
“ไอโอ” เป็นการเรียกโดยย่อของคำว่า Information Operations (I.O.) หมายถึง “ปฏิบัติการข่าวสาร” หรือ “ปฏิบัติการสารสนเทศ”[2] ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติการทางทหารที่มีการให้คำนิยามไว้หลากหลายแตกต่างไปตามหน่วยงาน โดยความหมายหลักของปฏิบัติการไอโอ คือ การสนธิการปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ต่อการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามกระทำโต้ตอบในลักษณะเดียวกัน หรือเป็นปฏิบัติการที่มุ่งสร้างผลกระทบ หรือสร้างอิทธิพลต่อกระบวนการตกลงใจ ข่าวสาร ระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ รวมไปถึงการปฏิบัติการเพื่อป้องกันข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตนจากการกระทำของฝ่ายตรงกันข้าม[3] ซึ่งมีการแบ่งการดำเนินการของปฏิบัติการไอโอออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ เชิงรุกและเชิงรับ ปฏิบัติการเชิงรุก เช่น การโจมตีเครือข่าย การทำสงครามจิตวิทยา การลวงทางทหาร การทำสงครามข่าวสารในขณะที่ปฏิบัติการเชิงรับ เช่น การป้องกันการปฏิบัติการหรือเครือข่ายฝ่ายตนเอง การต่อต้านสงครามจิตวิทยา การสร้างความถูกต้องด้านข่าวสาร[4] ทั้งนี้ ยังมีการนำเสนอถึงว่าปฏิบัติการไอโอ คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสื่อสารเพื่อสร้างความภูมิใจ ฮึกเหิม เชื่อมันให้กับฝ่ายตนเอง ทำลายความชอบธรรมหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามลังเลในการกระทำหรือเปลี่ยนท่าที ในขณะเดียวกันก็ชักจูงให้ผู้ที่มีความเห็นหรือวางตัวเป็นกลางคล้อยตาม ให้การสนับสนุนฝ่ายตนด้วยเช่นกัน[5]
หลักการเรื่องปฏิบัติการไอโอปรากฏครั้งแรกใน ปี 2003 อย่างเป็นทางการโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา[6] โดยองค์ความรู้เรื่องปฏิบัติการข่าวสารเข้ามาสู่หน่วยงานทหารไทยในช่วง ปี 2547 โดยเริ่มมีการเรียนการสอนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกก่อนจะขยายไปยังกรมฝ่ายเสนาธิการอื่น ๆ เป็นหลัก รวมถึงได้แพร่ออกไปสู่การรับรู้ขององค์กรหรือหน่วยงานภายนอกและประชาชน[7]
อย่างไรก็ดี สุรชาติ บำรุงสุข อธิบายว่าหน่วยงานรัฐไทยมีประสบการณ์และแนวคิดการทำปฏิบัติการสงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) มาก่อนแล้วในช่วงสงครามเย็น[8] สุรชาติชี้ว่าปฏิบัติการไอโอของกองทัพไทยนั้นจำกัดอยู่ที่ปฏิบัติการจิตวิทยาหรือปฏิบัติการสนับสนุนทางทหารด้านข่าวสารเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปด้านอื่น เช่น สงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ตามหลักการแบบสหรัฐฯ[9]
ปฏิบัติการไอโอกับการเมืองไทย
ในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิบัติการไอโอได้รับความสนใจจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและตั้งข้อสังเกตว่าใปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย ได้แก่ ทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กเป็นหลัก
เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานหลักด้านไอโอเป็นกำลังพลของกองทัพ ซึ่งจะทำการเผยแพร่เนื้อหาที่สนับสนุนรัฐบาล หน่วยงานรัฐ และสถาบันกษัตริย์ ควบคู่ไปกับการแสดงความเห็นโต้ตอบต่อบุคคลที่แสดงความเห็นวิจารณ์รัฐบาลในพื้นที่ออนไลน์ ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่วไป ไปจนถึงแฟนเพจหรือบุคคลสาธารณะที่แสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาล นอกจากนั้นยังได้มีการเผยแพร่เนื้อหาโจมตีฝ่ายต่อต้านรัฐบาล โดยนำเอาข้อมูลด้านลบของฝ่ายตรงข้ามมาเปิดเผยและส่งต่อ
ลักษณะของบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่เชื่อว่าเป็นไอโอนั้น มักจะถูกสังเกตได้จากการที่เป็นบัญชีที่ไม่เปิดเผยชื่อและรูปภาพโปรไฟล์จริงหรือที่เรียกกันว่า “บัญชีอวตาร” (avatar) ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในสองประการ คือ ประการแรก ใช้เพื่อติดตามผู้ใช้งานอื่นหรือแฟนเพจ-ทวิตเตอร์ที่เผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาลหรือติดตามผู้ใช้งานที่เป็นไอโอด้วยกัน เพื่อเพิ่มจำนวนคนที่เห็นไปในทิศทางเดียวกัน ประการที่สองใช้เพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นตรงข้ามกับรัฐบาล
นอกจากนั้น ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีผู้ใช้งานที่เป็นไอโอมักจะโพสต์หรือส่งต่อข้อมูลในลักษณะซ้ำกัน เนื้อหาเดียวกับผู้ใช้งานอื่น ๆ โดยในทวิตเตอร์ ใช้รูปภาพโปรไฟล์เป็นภาพศิลปินเกาหลีเพื่อให้ดูกลมกลืนกับผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายอื่น ๆ หากแต่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับศิลปินกลุ่มนั้น ๆ ผิด หรือมีการใช้สำนวนภาษาที่แตกต่างจากผู้อื่น[10] มีการระบุลักษณะอื่น ๆ ที่ต้องสงสัยว่าเป็นไอโอ เช่น การมีจำนวนเพื่อนในโซเชียลมีเดียน้อย ไม่โพสต์เนื้อหาหรือเรื่องราวส่วนตัวแต่เน้นแสดงความเห็นในโพสต์สาธารณะและไม่สนทนาในประเด็นอื่นนอกจากโจมตีหรือตอบโต้ในทางการเมือง ทั้งนี้ ยังมีเว็บไซต์ข่าวที่เชื่อกันว่าเป็นไอโอ เช่น เป็นสำนักข่าวที่ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนหรือเรียบเรียง ไม่อ้างอิงที่มาของข่าวและข้อมูล รวมถึงการพาดหัวข่าวในเชิงชี้นำ[11]
ฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลประยุทธ์ที่มาเป็นประชาชนทั่วไป นักวิชาการ พรรคหรือกลุ่มการเมือง ต่างแสดงความเห็นต่อปฏิบัติการไอโอด้วยเช่นกัน ต่างมองว่าเป็นการสร้างความแตกแยก คุกคามประชาชน[12] เป็นการใช้งบประมาณหรือทรัพยากรส่วนรวมเพื่อคุกคามโจมตีการแสดงความเห็นหรือฝ่ายตรงข้ามทางเมืองกับรัฐบาล[13] รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของประชาชนหรือฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลให้อยู่ในระดับเดียวกับข้าศึกศัตรูต่างชาติ และถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าหน่วยงานรัฐไม่วางตัวเป็นกลาง อาจเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[14] ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่แนบเนียนหรือวิจารณ์หรือจับผิดเนื้อหาที่เชื่อว่าเผยแพร่มาจากปฏิบัติการไอโอในเชิงขบขัน
จากการศึกษาของ บุญรอด ศรีสมบัติ ชี้ว่ารัฐเริ่มปฏิบัติการไอโอในช่วงของการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์_เวชชาชีวะ ระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553 ปฏิบัติการในครั้งนั้นนำโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ร่วมกับส่วนราชการหรือหน่วยงานด้านการสื่อสาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนับสนุนแก่รัฐบาลและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐจากประชาชน โจมตีการชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงตอบโต้การเผยแพร่ข้อมูลโจมตีฝ่ายรัฐบาลจากฝ่ายคนเสื้อแดง[15] ตัวอย่างข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านปฏิบัติการ เช่น เจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง[16] ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพด้านลบให้แก่ผู้ชุมนุม เช่น การนำเสนอว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นไปโดยสงบ มีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวในหมู่ผู้ชุมนุม มีการรุมทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ มีการตัดต่อคลิปการปราศรัยของแกนนำเพื่อให้เห็นว่ามีการเตรียมการสร้างสถานการณ์ รวมไปถึงการเผยแพร่ “ผังล้มเจ้า”[17] นอกจากการสร้างกระแสข่าวดังกล่าว ยังมีปฏิบัติการปิดสถานีโทรทัศน์และเว็บไซต์ที่โจมตีรัฐบาล[18] นอกจากในการชุมนุมทางการเมือง หน่วยงานรัฐยังได้ทำปฏิบัติการไอโอเพื่อตอบโต้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เผยแพร่ข้อมูลโจมตีต่อต้านฝ่ายรัฐและสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นอกเหนือจากการต่อสู้โดยอาวุธ[19] ปฏิบัติการเหล่านี้อาจย้อนไปถึงการโพสต์ข้อความตอบโต้อย่างเป็นระบบต่อการวิพากษ์วิจารณ์ทหารและกองทัพผ่านเว็บบอร์ด รวมถึงการโพสต์ข้อความแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในช่วงหลังการรัฐประหาร_19_กันยายน_2549[20]
ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปี 2563 นั้น สื่อ กลุ่มการเมือง หรือประชาชนบางกลุ่มได้กล่าวถึงปฏิบัติการไอโอ โดยมีการแสดงความเห็นหรือนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอในพื้นที่สื่อออนไลน์ ทั้งโจมตีฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐบาลและแสดงท่าทีการสนับสนุนรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐอย่างเปิดเผย เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการไอโอในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีสื่อมวลชนหรือนักวิชาการที่วิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐใน ปี 2557[21] ได้มีการนำเสนอแฟนเพจ “ทหารปฏิรูปประเทศ” ที่มีเนื้อหาโจมตีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงมีการใช้วาทกรรมแบบฝ่ายอนุรักษ์นิยมเมื่อ ปี 2558[22]
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่ามีแฟนเพจหน่วยงานทหารในระดับต่าง ๆ ในช่วงก่อนหน้า ปี 2561 ซึ่งเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือความเสียสละของทหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ[23] รวมถึงในกรณีอื่น เช่น การเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่ามีการใช้ปฏิบัติการไอโอสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562[24] นอกจากนั้น ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนใน ปี 2562 ที่ได้เปิดเผยและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอ โดยรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมโยงว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล คสช. ในปี 2561 มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนเสื้อแดง และชี้แจงความจำเป็นที่รัฐจะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อให้จัดการเลือกตั้งได้ตามกำหนดการที่วางไว้[25]
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ โดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส่งผลให้ปฏิบัติการไอโอโดยรัฐเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง วิโรจน์ได้อภิปรายโดยกล่าวถึงการใช้พื้นที่ออนไลน์ในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยหน่วยงานรัฐ ข้อมูลที่วิโรจน์นำเสนอได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่าง เว็บไซต์ pulony.blogspot.com กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่เผยแพร่เนื้อหาโจมตีนักสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองที่มีท่าทีตรงกันข้ามกับแนวทางของหน่วยงานด้านความมั่นคงในประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเนื้อหาต้นทางที่แฟนเพจซึ่งเชื่อว่าเป็นของหน่วยงานรัฐนำไปเผยแพร่หรือแชร์ต่อ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า กอ.รมน. ได้ให้การสนับสนุนเว็บไซต์ดังกล่าว[26] ทั้งยังได้นำเสนอปฏิบัติการไอโอโดยรัฐอย่างเป็นระบบโดยหน่วยงานกองทัพ ที่มีการจัดจำแนกบุคคล เช่น นักการเมือง นักวิชาการ ผู้มีชื่อเสียง บัญชีผู้ใช้งานหรือแฟนเพจบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ว่าเป็นผู้ที่มีท่าทีเป็น “บวก” หรือ “ลบ” ต่อรัฐบาล ซึ่งจะสัมพันธ์กับแนวทางการดำเนินการ เช่น การเข้าโต้แย้ง “ด้อยค่า” หรือทำให้ลดความน่าเชื่อถือหรือลดความสำคัญกดรายงาน (รีพอร์ท) เพื่อให้เพจของบุคคลหรือองค์กรนั้นถูกแบนจากเฟสบุ๊ค หรือกดถูกใจแสดงความสนับสนุนหรือช่วยเผยแพร่เนื้อหาที่สนับสนุนรัฐบาล[27]
วิโรจน์ยังได้เปิดเผยให้เห็นกลุ่มแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ของผู้ปฏิบัติงานและใช้ประสานงานปฏิบัติการไอโอ ทำให้มีประชาชนทั่วไปเข้าไปขอเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อเข้าร่วมในกลุ่มไลน์ดังกล่าวจำนวนมากจนทำให้กลุ่มปิดตัวลง[28]
หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค แต่ก็ได้มีการก่อตั้งพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้าได้มีบทบาทเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลในประเด็นนี้ต่อ โดยการนำเสนอข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวกับปฏิบัติการไอโอในด้านอื่น ๆ ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม 2564 ปฏิบัติการไออก็ยังถูกหยิบเอามาอภิปราย โดยนำเสนอหลักฐานการเตรียมการปฏิบัติการข่าวสารเพื่อรองรับกระแสต่อต้านรัฐบาลในการยุบพรรคอนาคตใหม่[29] และนำเสนอว่ามีการแบ่งหน้าที่ระหว่างฝ่ายปฏิบัติการข่าวสาร ระหว่างฝ่ายขาว เทา และดำ ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาล ตอบโต้แก้ต่างและโจมตีฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[30]
คณะก้าวหน้า ได้แถลงข่าว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างปฏิบัติการไอโอของหน่วยงานทหารกับบริษัทเอกชนที่มี นายประสิทธิ์ เจียวก๊ก ผู้มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานจิตอาสา 904 เป็นประธาน ซึ่งสนับสนุนด้านแอปพลิเคชันและเซิร์ฟเวอร์แก่ปฏิบัติการไอโอ[31] ซึ่งการแถลงของคณะก้าวหน้าเกิดขึ้นภายหลังการเผยแพร่เอกสารที่อ้างว่าเป็นของกองทัพที่มีเนื้อหาว่าด้วยกระบวนการ-โครงสร้างของปฏิบัติการไอโอในหน่วยงานทหารโดยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทางออนไลน์ก่อนหน้า[32] ซึ่งถูกนำมาเผยแพร่ต่อโดยการแถลงของคณะก้าวไกลครั้งนั้น
นอกจากการเคลื่อนไหวโดยพรรคอนาคตใหม่-ก้าวไกล และคณะก้าวหน้าแล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียงทางการเมืองต่อการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน รวม 33 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐยุติปฏิบัติการไอโอโจมตีนักสิทธิมนุษยชนและฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง พร้อมทั้งให้มีการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายจากปฏิบัติการนี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียระงับบัญชีผู้ใช้งานปลอมที่สนับสนุนโดยรัฐ[33] อังคณา นีละไพจิตร และ อัญชนา หีมมิหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะหน่วยงานรับที่ดูแลกำกับ กอ.รมน. และกองทัพบกต่อศาลแพ่ง จากการที่มีส่วนเผยแพร่ข้อมูลใน เว็บไซต์ pulony.blogspot.com โดยต้องการให้ภาครัฐชดใช้ค่าเสียหายจากการถูกละเมิดจากปฏิบัติการไอโอ พร้อมทั้งให้รัฐยุติการเผยแพร่ข้อมูลโจมตีต่อประชาชนทั่วไป[34] ในขณะที่ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการ iLaw, สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ, และวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ พิธีกรและนักจัดรายการ ได้ร่วมยื่นฟ้องกองทัพบกและผู้บัญชาการทหารบกต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการถึงปฏิบัติการไอโอพร้อมให้กองทัพมาชี้แจงต่อศาล โดยได้ขอให้ศาลสั่งให้ยุติปฏิบัติการไอโอต่อประชาชนและลบข้อมูลประชาชนที่อยู่ในบัญชีเป้าหมายของหน่วยงานรัฐ พร้อมทั้งได้ส่งจดหมายถึงผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสำนักงานใหญ่เฟซบุ๊กให้สืบสวนการกระทำของกองทัพไทย [35] ในขณะที่สื่อหรือประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไป ได้ร่วมวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นต่อประเด็นนี้ รวมไปถึงการร่วมตรวจสอบหรือรายงานการพบบัญชีผู้ใช้งานที่น่าสงสัยว่าเป็นไอโอ[36] ทั้งยังมีการใช้คำว่า “ไอโอ” เรียกทั้งบัญชีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนรัฐบาลหรือวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีลักษณะที่น่าสงสัยว่าจะเป็นบัญชีผู้ใช้งานปลอม รวมถึงบางส่วนก็ได้ใช้เรียกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในพื้นที่ออนไลน์โดยทั่วไป รวมไปถึงการชุมนุมในภายหลังที่นำคำว่า “ไอโอ” มาใช้เป็นชื่อกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม “คืนสู่เหย้าไม่เอาไอโอชา” และ “กวีศิลปินไล่หัวหน้าไอโอ”[37]
ปฏิกิริยาจากฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล
จากการเปิดเผยปฏิบัติการไอโอของฝ่ายค้านนั้น ฝ่ายรัฐ ทั้งจากรัฐบาล กองทัพ หรือ กอ.รมน. ต่างปฏิเสธการใช้โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์เพื่อปฏิบัติการไอโอเพื่อโจมตีหรือโต้เถียงกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยมีคำอธิบายที่แตกต่างกันไป เช่น การยอมรับว่ามีการจัดสรรงบประมาณโดย กอ.รมน. ให้เว็บไซต์ pulony จริง แต่เป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้ใช้ปลุกปั่น[38] การอบรมหลักสูตรปฏิบัติการไอโอเป็นเรื่องปกติตามหลักสูตรกองทัพ[39] การกล่าวว่าเอกสารหรือหลักฐานที่ถูกเผยแพร่นั้นเป็นการอบรมกำลังพลให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานสื่อออนไลน์[40] บัญชีโซเชียลมีเดียของกำลังพลหรือหน่วยงานเป็นบัญชีเปิดเผยไม่ใช่บัญชีปลอม หรือกล่าวว่ามีเพียงนโยบายการประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะและสื่อสารระหว่างกำลังพลและหน่วยงานตามปกติเท่านั้น[41] รวมถึงกล่าวว่ากองทัพมีหน้าที่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะมีการใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ สร้างความเกลียดชัง กระทบต่อสถาบันกษัตริย์ และความสงบเรียบร้อยของสังคม[42] ในขณะที่การตอบคำถามโดย ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อสื่อมวลชนว่าตนเองก็เป็นฝ่ายถูก “โจมตี” จากไอโอ[43]
ในขณะที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลก็ได้ประท้วงระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยอ้างว่าฝ่ายที่วิพากษ์วิจจารณ์รัฐบาลก็ได้ทำ “ไอโอ” โจมตีตนเองเช่นเดียวกัน[44] เช่น แฟนเพจพรรคพลังประชารัฐได้เผยแพร่โพสต์การตอบโต้การอภิปรายเรื่องปฏิบัติการไอโอ โดยเนื้อหาของโพสต์สื่อว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต่างหากที่มีพฤติกรรมคุกคามฝ่ายตรงข้ามบนโซเชียลมีเดีย[45]นอกจากนั้นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโดยทั่วไปบางส่วนยังได้ตอบโต้โดยนำคำว่า “ไอโอ” มาใช้เรียกฝ่ายตรงข้ามหรือเพื่อใช้สื่อถึงผู้ใช้งานหรือสื่อออนไลน์ที่แสดงความเห็นโจมตีรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นไอโอ[46] รวมถึงมีปฏิกิริยาต่อการถูกเรียกขานว่าไอโอจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นการกระทำที่เหมารวมและไม่มีเหตุผล เนื่องจากบางครั้งที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลได้ใช้คำว่า “ไอโอ” เรียกฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐหรือแสดงความเห็นต่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโดยทั่วไปว่าเป็น “ไอโอ” ในลักษณะเดียวกับการเรียกขานว่า “สลิ่ม”[47] ทั้งยังตั้งข้อสงสัยว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลก็ได้มีเครือข่ายในการปล่อยข้อมูลโจมตีรัฐบาลอย่างเป็นระบบในลักษณะของไอโอเช่นเดียวกัน[48]
ปฏิกิริยาจากผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย
ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย ได้แก่ทวิตเตอร์ และเฟซบุก ได้มีมาตรการตอบโต้ต่อการใช้งานโซเชียลในลักษณะปฏิบัติการไอโอโดยหน่วยงานรัฐในหลายประเทศรวมถึงในไทย โดยในเดือนตุลาคม 2563 ทวิตเตอร์ได้รายงานผลการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในไทยจำนวนกว่า 900 บัญชี ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับรัฐบาลและกองทัพไทย ซึ่งบัญชีเหล่านี้ได้เผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาลและกองทัพและโจมตีฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล[49] รวมถึงการระงับบัญชีทวิตเตอร์ของหน่วยงานสำคัญแห่งหนึ่งภายหลังจากพบว่ามีการละเมิดข้อกำหนดการใช้งานเรื่องการสแปม (Spam) ซึ่งพบว่ามีลักษณะการเผยแพร่ข้อมูลที่คล้ายกันและได้สร้างบัญชีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[50]
ต่อมา ในกุมภาพันธ์ 2564 เฟสบุ๊กได้รายงานการตรวจสอบและระงับบัญชีผู้ใช้งาน แฟนเพจกลุ่ม รวมถึงบัญชีบนอินสตาแกรม (Instagram) รวม 185 บัญชี ที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพบกไทย ซึ่งมีพฤติกรรม “ร่วมกันโจมตีหรือสร้างกระแสให้ไปในทิศทางเดียวกัน” (Coordinated Unauthentic Behavior)[51] โดยบัญชีเหล่านี้เน้นการเผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนรัฐบาล รวมถึงได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้[52]
อ้างอิง
[1] พวงทอง ภวัครพันธุ์, อ้างใน “สงคราม IO เปลี่ยนปฏิบัติการจากสมรภูมิรบ เข้าแทรกซึมชีวิตพลเรือน,” WAY Magazine, (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://waymagazine.org/io/. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564.
[2] “สงคราม IO เปลี่ยนปฏิบัติการจากสมรภูมิรบ เข้าแทรกซึมชีวิตพลเรือน,” WAY Magazine.
[3] อ้างแล้ว.
[4] อ้างแล้ว.
[5] ฤทธี อินทราวุธ, “การปฏิบัติการข่าวสารในสถานการณ์ความขัดแย้ง,” IT & Cyber & Aerospace โดย พล.อ. ฤทธี อินทราวุธ, (24 กุมภาพันธ์ 2557), เข้าถึงจาก http://rittee1834.blogspot.com/2014/02/information-operation-io-conflict.html. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[6] “สงคราม IO เปลี่ยนปฏิบัติการจากสมรภูมิรบ เข้าแทรกซึมชีวิตพลเรือน,” WAY Magazine.
[7] บุญรอด ศรีสมบัติ, “บทเรียนการปฏิบัติการข่าวสาร: กรณี ปปส. ในเมือง (มีนาคม-พฤษภาคม 2553),” เสนาธิปัตย์, 60, 1 (มกราคม-มีนาคม 2554), หน้า 74-75. เข้าถึงจาก http://online.fliphtml5.com/hubo/xrqs/#p=68. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[8] สุรชาติ บำรุงสุข, “ไม่ใช่ไอโอ ทำได้แค่ ปจว.!,” มติชนออนไลน์, (8 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/article/news_2038108. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[9] อ้างแล้ว.
[10] เทวฤทธิ์ มณีฉาย “ชาวทวิตเตอร์เริ่มเขย่าการเมืองได้อย่างไร? พลังติ่งเกาหลี ‘น่ากลัว’ แค่ไหน,” ประชาไท, (13 มกราคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/01/91178. เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564.
[11] สฤณี อาชวานันทกุล, “รู้ทันปฏิบัติการข่าวสาร (IO) และมหกรรมข่าวลวงช่วงชุมนุม,” The Momentum, (10 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://themomentum.co/aware-of-information-operations/. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[12] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”บีบีซีไทย, (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51633675. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[13] “ก้าวไกล งัดคลิป แฉเครือข่ายปฏิบัติการไอโอ ร่ายกลอนโต้ ‘บิ๊กตู่’ รั้วของชาติข่มเหงปชช.,” มติชนออนไลน์, (19 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2586210. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[14] สฤณี อาชวานันทกุล, “‘การฉ้อฉลเชิงอำนาจ’ (2): สงครามจิตวิทยากับประชาชน,” The Momentum, (6 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://themomentum.co/citizen2-0-information-operations/. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[15] บุญรอด ศรีสมบัติ, “บทเรียนการปฏิบัติการข่าวสาร: กรณี ปปส. ในเมือง (มีนาคม-พฤษภาคม 2553),” หน้า 71-75.
[16] อ้างแล้ว, หน้า 72, 76-77.
[17] อ้างแล้ว, หน้า 72-73, 75-77.
[18] อ้างแล้ว, หน้า 74.
[19] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”บีบีซีไทย.
[20] Supachat Lebnak, “ผี Fake News กับโลกโซเชียลที่รัฐบาลและทหารควบคุมได้ยาก,” The MATTER, (14 สิงหาคม 2562). เข้าถึงจาก https://thematter.co/thinkers/fake-news-ghost-of-the-state/82654. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[21] ปกรณ์ พึ่งเนตร, “ไอโอ ‘ล้ำเส้น’ ที่ชายแดนใต้,” สำนักข่าวอิศรา, (18 พฤศจิกายน 2557). เข้าถึงจาก https://isranews.org/content-page/67/34484-io.html. เมื่อวันที่
[22] เหมียวกายเวอร์, “ปฏิบัติการข่าวหลัง รปห.: เมื่อ ‘เงิบ’ ไม่เท่า ‘โกหกบ่อยครั้งเข้า สุดท้ายมันก็จะกลายเป็นความจริง’,” ประชาไท (15 มีนาคม 2558). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2015/03/58396. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[23] ใบตองแห้ง, “ใบต้องแห้ง: สื่อไทยยุค IO,” ประชาไท, (25 สิงหาคม 2561). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2018/08/78432. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[24] “หลุดเอกสารกองทัพสั่ง IO หนุน ‘พลังประชารัฐ’ ประวิตรชี้ของปลอม - กกต. สั่งสอบ ย้ำขรก. ต้องเป็นกลาง,” ประชาไท, (20 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2019/03/81591. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[25] “ศูนย์ทนายฯ เปิดเอกสารคดี RDN50 ชี้ คสช.ใช้ IO-กฎหมายแบ่งแยกประชาชน,” ประชาไท, (28 พฤศจิกายน 2562). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2019/11/85335. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[26] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”บีบีซีไทย.
[27] “เปิดสไลด์ ส.ส.วิโรจน์ อีกครั้ง เพจไหนเป็นเป้า บัญชีไหนเป็นหมายของ IO ทหาร,” ประชาไท, (3 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2020/03/86617. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[28] “‘#รู้ทันIO-#กระชากหน้ากาก’ แท็กร้อน ๆ หลัง ส.ส.วิโรจน์ แฉขบวนการ IO ฝั่งรัฐบาล,” Voice Online, (26 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/mKc5FPvug. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[29] “ก้าวไกล งัดคลิป แฉเครือข่ายปฏิบัติการไอโอ ร่ายกลอนโต้ ‘บิ๊กตู่’ รั้วของชาติข่มเหงปชช.,” มติชนออนไลน์.
[30] “‘ณัฐชา ก้าวไกล’ เปิดโปง IO ‘ประยุทธ์ทำ ขอกำลังประยุทธ์ เพื่อป้องประยุทธ์’ - รมช.กลาโหม ยันไม่เคยสั่งกองทัพ-กอ.รมน.,” ประชาไท, (1 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/09/94760. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[31] “ไอโอ: คณะก้าวหน้าเปิดโปงข้อมูลเครือข่ายปฏิบัติการข่าวสารกองทัพ ด้านเอกชนแถลงโต้ชี้ข้อมูลบิดเบือน,” บีบีซีไทย,(1 ธันวาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-55145803. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
[32] “หลุดเอกสารกองทัพใช้แอพพ์ประสานงานทำไอโอ ตะลึงแกะรอยเซิร์ฟเวอร์อยู่ บ.เอกชนห้วยขวาง,” มติชนออนไลน์, (25 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2458509. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564
[33] “33 องค์กรสิทธิฯ – เอ็นจีโอ จี้สอบสวนและยุติ IO โจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน,” ประชาไท, (28 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2020/02/86571. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[34] “‘อังคณา-อัญชนา’ ขึ้นศาลแพ่ง ฟ้องรัฐทำไอโอโจมตี-ใส่ร้าย เรียกค่าเสียหายกว่า 5 ล้าน,” มติชนออนไลน์, (4 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2426303. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[35] หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ และ พศิกา เขินอำนวย, “เฟซบุ๊กปิดบัญชี ‘ไอโอ’ ไทย ส่วนยิ่งชีพ-สฤณี-วิญญู ฟ้องศาลปกครองสั่ง ทบ. ‘หยุดปฏิบัติการไอโอ’,” บีบีซีไทย, (4 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/56275989. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[36] “อัศจรรย์ พบผู้ทวิตเตอร์ทวีตปกป้องสถาบันกษัตริย์เหมือนๆ กัน แม้แต่อายุและคำผิดก็ยังเหมือนกัน,” ประชาไท,(28 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2020/10/90182. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[37] “แฮชแท็ก #คืนสู่เหย้าไม่เอาไอโอชา พุ่งติดเทรนด์ เกาะติดแฟลชม็อบ ม.เกษตร,” ไทยรัฐออนไลน์, (29 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/society/1783763. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564; “กลุ่มศิลปิน-เอ็นจีโอ ชุมนุมไล่หัวหน้า IO จี้ ‘ประยุทธ์’ ลาออก,” Voice Online, (1 มีนาคม 2563). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/ZYqEzM4Fr. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564.
[38] “กอ.รมน. รับจัดสรรงบให้ pulony.blogspot.com จริง,” workpointTODAY, (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/pulony-military-confirm/. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[39] “ไอโอ: คณะก้าวหน้าเปิดโปงข้อมูลเครือข่ายปฏิบัติการข่าวสารกองทัพ ด้านเอกชนแถลงโต้ชี้ข้อมูลบิดเบือน,” บีบีซีไทย
[40] “ทบ. ระบุสไลด์ IO ที่หลุดในทวิตเตอร์ เป็นการสอนเพื่อพัฒนางานสื่อสารออนไลน์,” ประชาไท, (28 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2020/11/90600. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[41] อ้างแล้ว.
[42] “‘ก้าวไกล’ แฉหลักฐาน IO กลางสภา - รมช.กลาโหม แจงกองทัพสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับปชช.,” ประชาไท, (20 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/02/91768. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[43] “อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล: ส.ส. พรรคที่เพิ่งถูกยุบ กล่าวหากองทัพใช้เงินภาษีทำสงครามจิตวิทยากับผู้เห็นต่างทางสื่อสังคมออนไลน์,”บีบีซีไทย.
[44] อ้างแล้ว.
[45] “รุมถล่มยับ! พลังประชารัฐ โพสต์แขวะ ปชช. เป็นซอมบี้ หลังถูกแฉเบื้องหลังไอโอ,” ข่าวสดออนไลน์, (26 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_3646245. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[46] The METTAD, Facebook, (19 มกราคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/themettad/posts/1836882346460398/. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[47] “‘เขตรัฐ’ สอน ‘ส.ส. ก้าวไกล’ ให้ออกมาจากเปลือกส้มบ้าง จะได้รู้มีคนไทยรักสถาบัน ไม่ใช่ไอโอ,” สยามรัฐออนไลน์, (2 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/276900. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[48] “ส่องฉากหลัง ‘วิโรจน์’ ผู้บริหารไอที สู่เจ้าพ่อ IO สีส้ม พิฆาตคนเห็นต่าง?” ผู้จัดการออนไลน์, (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000019665. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.
[49] “ทวิตเตอร์เปิดโปงเครือข่ายไอโอ พบเชื่อมโยงเครือข่ายกองทัพบกไทยรวมทั้งสิ้น 926 บัญชี,” workpointTODAY, (9 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/twitter-io/. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564.
[50] “ทวิตเตอร์ ระงับบัญชีโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ละเมิดกฎการใช้งาน,” ไทยรัฐออนไลน์, (30 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/tech/1986112. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564.
[51] “เฟซบุ๊ก ลบบัญชีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไอโอในประเทศไทย,” ไทยรัฐออนไลน์, (4 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/tech/2043589. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564.
[52] Facebook, “February 2021 Coordinated Inauthentic Behavior Report,” หน้า 5-8, เข้าถึงจาก https://about.fb.com/wp-content/uploads/2021/03/February-2021-CIB-Report.pdf. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564.