ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยื่นหนังสือถึงสถานทูต"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 21: บรรทัดที่ 21:


 
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:&nbsp;'''หนังสือที่กลุ่มเดินทะลุฟ้ายื่นต่อผู้แทนสหภาพยุโรป[[#_ftn5|[5]]]</p>  
<p style="text-align: center;">&nbsp;</p> <p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:&nbsp;'''หนังสือที่กลุ่มเดินทะลุฟ้ายื่นต่อผู้แทนสหภาพยุโรป[[#_ftn5|[5]]]</p>  
[[File:Submitting a letter to the embassy (3).jpg|center|500x700px|Submitting a letter to the embassy (3).jpg]]
[[File:Submitting a letter to the embassy (3).jpg|center|500x700px|Submitting a letter to the embassy (3).jpg]]


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อมาเมื่อ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564 กลุ่มผู้จัดกิจกรรม “[[หมู่บ้านทะลุฟ้า|หมู่บ้านทะลุฟ้า]]” ยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา สถานทูตสหรัฐอเมริกา และผู้แทนสหภาพยุโรป (EU) เพื่อให้นานาชาติร่วมจับตาการปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและกลไกของรัฐบาล รวมถึงจับตาการใช้ความรุนแรง และการใช้กฎหมายเพื่อปิดปากผู้แสดงออกทางการเมือง[[#_ftn6|[6]]] ในเวลาต่อมา วันที่ 19 มีนาคม&nbsp;พ.ศ. 2564 คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและแกนนำผู้ชุมนุมคณะราษฎร เข้ายื่นหนังสือต่ออุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยอ้างถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องหลังรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรณีการชุมนุมที่นำโดยนิสิตนักศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ที่มีการขัดขวางและสลายการชุมนุม มีการขู่คุกคามผู้ชุมนุมรวมถึงมีการตั้งข้อหาและดำเนินคดีแกนนำและผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การปฏิเสธคำขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา เมื่อเป็นเช่นนี้เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน รวมถึงผู้ต้องหาและญาติ จึงเดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อให้ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ส่งเสริมประชาธิปไตยปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผดุงไว้ซึ่งหลักนิติรัฐและนิติธรรม ได้ตระหนักในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และสื่อสารไปยังรัฐบาลไทยให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที"[[#_ftn7|[7]]]
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ต่อมาเมื่อ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564 กลุ่มผู้จัดกิจกรรม “[[หมู่บ้านทะลุฟ้า|หมู่บ้านทะลุฟ้า]]” ยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา สถานทูตสหรัฐอเมริกา และผู้แทนสหภาพยุโรป (EU) เพื่อให้นานาชาติร่วมจับตาการปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและกลไกของรัฐบาล รวมถึงจับตาการใช้ความรุนแรง และการใช้กฎหมายเพื่อปิดปากผู้แสดงออกทางการเมือง[[#_ftn6|[6]]] ในเวลาต่อมา วันที่ 19 มีนาคม&nbsp;พ.ศ. 2564 คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและแกนนำผู้ชุมนุมคณะราษฎร เข้ายื่นหนังสือต่ออุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยอ้างถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องหลังรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรณีการชุมนุมที่นำโดยนิสิตนักศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ที่มีการขัดขวางและสลายการชุมนุม มีการขู่คุกคามผู้ชุมนุมรวมถึงมีการตั้งข้อหาและดำเนินคดีแกนนำและผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การปฏิเสธคำขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา เมื่อเป็นเช่นนี้เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน รวมถึงผู้ต้องหาและญาติ จึงเดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อให้ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ส่งเสริมประชาธิปไตยปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผดุงไว้ซึ่งหลักนิติรัฐและนิติธรรม ได้ตระหนักในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และสื่อสารไปยังรัฐบาลไทยให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที"[[#_ftn7|[7]]]


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''การยื่นหนังสือถึงสถานทูตนานาชาติโดยนักกิจกรรมทางการเมืองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ตัวแทนจากกลุ่มนักคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ [[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มศิลปะปลดแอก [[Free_youth|กลุ่มเยาวชนปลดแอก]] กลุ่มราษฎร กลุ่ม Root&nbsp;และ กลุ่ม'''[[วีโว่|วีโว่]] '''(Wevo) เดินทางมายังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก่อนเดินทางไปยังสถานทูตเยอรมนี และสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้ตัวแทนของประเทศเหล่านี้ช่วยติดตามสถานการณ์ของผู้ต้องขังจากคดีทางการเมืองและคดีอาญา มาตรา 112 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญถึงสภาพร่างกายของแกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ทำการอดอาหารประท้วงขณะถูกคุมขังในเรือนจำแม้ยังไม่ได้รับคำตัดสิน รวมไปถึงข้อเรียกร้องอื่น ๆ ได้แก่ ขอให้สถานทูตส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์การจัดการชุมนุมหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น [[กิจกรรม_ยืน_หยุด_ขัง|กิจกรรม_ยืน_หยุด_ขัง]] หรือพบปะหารือกับตัวแทนจากรัฐบาลไทย เพื่อร่วมกันหาทางออกต่อปัญหาดังกล่าวและตระหนักต่อสถานการณ์ไทยในช่วงเวลานี้[[#_ftn8|[8]]]
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''การยื่นหนังสือถึงสถานทูตนานาชาติโดยนักกิจกรรมทางการเมืองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ตัวแทนจากกลุ่มนักคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ [[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มศิลปะปลดแอก [[Free_youth|กลุ่มเยาวชนปลดแอก]] กลุ่มราษฎร กลุ่ม Root&nbsp;และ กลุ่ม'''[[วีโว่|วีโว่]] '''(Wevo) เดินทางมายังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก่อนเดินทางไปยังสถานทูตเยอรมนี และสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้ตัวแทนของประเทศเหล่านี้ช่วยติดตามสถานการณ์ของผู้ต้องขังจากคดีทางการเมืองและคดีอาญา มาตรา 112 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญถึงสภาพร่างกายของแกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ทำการอดอาหารประท้วงขณะถูกคุมขังในเรือนจำแม้ยังไม่ได้รับคำตัดสิน รวมไปถึงข้อเรียกร้องอื่น ๆ ได้แก่ ขอให้สถานทูตส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์การจัดการชุมนุมหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น [[กิจกรรม_ยืน_หยุด_ขัง|กิจกรรม_ยืน_หยุด_ขัง]] หรือพบปะหารือกับตัวแทนจากรัฐบาลไทย เพื่อร่วมกันหาทางออกต่อปัญหาดังกล่าวและตระหนักต่อสถานการณ์ไทยในช่วงเวลานี้[[#_ftn8|[8]]]


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''นอกจากประเด็นทางการเมืองแล้ว การยื่นหนังสือต่อสถานทูตยังถูกนำมาใช้ในการขอความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ดังเช่น ในวันที่ 19&nbsp;กรกฎาคม พ.ศ. 2564&nbsp;นายแพทย์ทศพร&nbsp;เสรีรักษ์&nbsp;สมาชิกพรรคเพื่อไทย&nbsp;พร้อมด้วยนักศึกษา&nbsp;ประชาชน&nbsp;และกลุ่มแพทย์พยาบาลเพื่อมวลชน&nbsp;เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา&nbsp;ผ่านสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย&nbsp;เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19&nbsp;เนื่องจากประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก&nbsp;มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ&nbsp;นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาวัคซีนที่ประชาชนทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน[[#_ftn9|[9]]]
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''นอกจากประเด็นทางการเมืองแล้ว การยื่นหนังสือต่อสถานทูตยังถูกนำมาใช้ในการขอความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ดังเช่น ในวันที่ 19&nbsp;กรกฎาคม พ.ศ. 2564&nbsp;นายแพทย์ทศพร&nbsp;เสรีรักษ์&nbsp;สมาชิกพรรคเพื่อไทย&nbsp;พร้อมด้วยนักศึกษา&nbsp;ประชาชน&nbsp;และกลุ่มแพทย์พยาบาลเพื่อมวลชน&nbsp;เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา&nbsp;ผ่านสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย&nbsp;เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19&nbsp;เนื่องจากประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก&nbsp;มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ&nbsp;นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาวัคซีนที่ประชาชนทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน[[#_ftn9|[9]]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:24, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          การยื่นหนังสือถึงสถานทูต เป็นหนึ่งในรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อนำเสนอข้อเรียกร้องและแสวงหาความช่วยเหลือ รวมถึงความร่วมมือจากรัฐบาลของนานาประเทศ เป้าหมายในการยื่นหนังสือต่อสถานทูตนั้นเกิดขึ้นทั้งในกรณีที่มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลประเทศนั้น ๆ เพื่อให้ชี้แจงหรือรับทราบข้อเรียกร้องผ่านสถานทูตที่ทำการอยู่ในประเทศ รวมทั้งเป้าหมายที่จะให้ประเทศต่าง ๆ ทราบถึงสถานการณ์และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งช่วยจับตาและพิจารณาการกระทำของรัฐบาลของประเทศที่สถานทูตนั้น ๆ มีที่ตั้งทำการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคาดหวังที่จะให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือเจรจาหรือแม้แต่กดดันให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้อง อีกทั้งการพบปะกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศของเอกอัครราชทูตประจำประเทศต่าง ๆ ถือเป็นการแสวงหาความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองที่กว้างขวางในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และอื่น ๆ ของพลเมืองในประเทศที่ประจำการอยู่[1]

          ตัวอย่างเหตุการณ์การยื่นหนังสือต่อสถานฑูตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของความขัดแย้งในประเทศไทยตัวอย่าง เช่น วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การที่มีกลุ่มประชาชนนำโดย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาผ่านสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการหายตัวไปของ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง ซึ่งถูกลักพาตัวขึ้นรถหายตัวอย่างลึกลับในกรุงพนมเปญ โดยมีข้อเรียกร้องต่อทางการไทยและกัมพูชา ต่อกรณีดังกล่าว คือ ขอให้ติดตามจับกุมคนร้าย ขอให้ส่งตัว นายวันเฉลิม กลับไทย ไม่ว่าจะเสียชีวิตหรือไม่ เรียกร้องให้ประเทศอาเซียนกดดันรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทย ต่อกรณีที่เกิดขึ้นรวมทั้งเรียกร้องให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ช่วยติดตามหานายวันเฉลิม ตลอดจนขอให้รัฐบาลกัมพูชาคุ้มครองและปกป้องผู้ลี้ภัยการเมืองทั้งหมดทุกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ต่อไป[2]

          จากนั้นเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 การยื่นหนังสือต่อสถานทูตกลายเป็นแนวทางการต่อสู้ที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมในนามคณะราษฎร ได้เดินขบวนและยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยเเถลงการณ์และหนังสือของคณะราษฎร มีเนื้อหาหลักระบุถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ที่ประชาชนได้ออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยมีข้อเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์_จันทร์โอชา เเละคณะรัฐมนตรีลาออก ขอให้มีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากราษฎรและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างแท้จริง[3]

 

ภาพ : กลุ่มราษฎรเข้าไปยื่นหนังสือเรียกร้องของกลุ่ม ที่สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 [4] 

Submitting a letter to the embassy (1).jpg
Submitting a letter to the embassy (1).jpg
Submitting a letter to the embassy (2).jpg
Submitting a letter to the embassy (2).jpg

 

 

ภาพ : หนังสือที่กลุ่มเดินทะลุฟ้ายื่นต่อผู้แทนสหภาพยุโรป[5]

Submitting a letter to the embassy (3).jpg
Submitting a letter to the embassy (3).jpg

          ต่อมาเมื่อ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564 กลุ่มผู้จัดกิจกรรม “หมู่บ้านทะลุฟ้า” ยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา สถานทูตสหรัฐอเมริกา และผู้แทนสหภาพยุโรป (EU) เพื่อให้นานาชาติร่วมจับตาการปฏิบัติหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและกลไกของรัฐบาล รวมถึงจับตาการใช้ความรุนแรง และการใช้กฎหมายเพื่อปิดปากผู้แสดงออกทางการเมือง[6] ในเวลาต่อมา วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและแกนนำผู้ชุมนุมคณะราษฎร เข้ายื่นหนังสือต่ออุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยอ้างถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องหลังรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกรณีการชุมนุมที่นำโดยนิสิตนักศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ที่มีการขัดขวางและสลายการชุมนุม มีการขู่คุกคามผู้ชุมนุมรวมถึงมีการตั้งข้อหาและดำเนินคดีแกนนำและผู้ชุมนุมด้วยกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เช่น การปฏิเสธคำขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา เมื่อเป็นเช่นนี้เครือข่ายนักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน รวมถึงผู้ต้องหาและญาติ จึงเดินทางมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเพื่อให้ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ส่งเสริมประชาธิปไตยปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผดุงไว้ซึ่งหลักนิติรัฐและนิติธรรม ได้ตระหนักในสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และสื่อสารไปยังรัฐบาลไทยให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที"[7]

          การยื่นหนังสือถึงสถานทูตนานาชาติโดยนักกิจกรรมทางการเมืองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ตัวแทนจากกลุ่มนักคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งหมด 7 กลุ่ม ได้แก่ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มศิลปะปลดแอก กลุ่มเยาวชนปลดแอก กลุ่มราษฎร กลุ่ม Root และ กลุ่มวีโว่ (Wevo) เดินทางมายังสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก่อนเดินทางไปยังสถานทูตเยอรมนี และสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้ตัวแทนของประเทศเหล่านี้ช่วยติดตามสถานการณ์ของผู้ต้องขังจากคดีทางการเมืองและคดีอาญา มาตรา 112 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญถึงสภาพร่างกายของแกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมที่ทำการอดอาหารประท้วงขณะถูกคุมขังในเรือนจำแม้ยังไม่ได้รับคำตัดสิน รวมไปถึงข้อเรียกร้องอื่น ๆ ได้แก่ ขอให้สถานทูตส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์การจัดการชุมนุมหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรม_ยืน_หยุด_ขัง หรือพบปะหารือกับตัวแทนจากรัฐบาลไทย เพื่อร่วมกันหาทางออกต่อปัญหาดังกล่าวและตระหนักต่อสถานการณ์ไทยในช่วงเวลานี้[8]

          นอกจากประเด็นทางการเมืองแล้ว การยื่นหนังสือต่อสถานทูตยังถูกนำมาใช้ในการขอความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ดังเช่น ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนักศึกษา ประชาชน และกลุ่มแพทย์พยาบาลเพื่อมวลชน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผ่านสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง เพราะเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาวัคซีนที่ประชาชนทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน[9]

          อย่างไรก็ดี นอกจากการยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศแล้ว อีกด้านหนึ่งก็มีการยื่นหนังสือเพื่อตอบโต้และต่อต้านการเข้าแทรกแซงการเมืองภายในประเทศโดยรัฐบาลจากประเทศอื่น ๆ นั้น เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564 กลุ่มที่ใช้ชื่อ “ประชาชนคนไทย” นำโดย นายพิชิต ไชยมงคล และ นายนิติธร ล้ำเหลือ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กรณีความพยายามแทรกแซงและบ่อนทำลายความมั่นคงในประเทศไทย โดยมีใจความสำคัญอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเชื่อมโยงกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย อันเป็นการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นกับประชาชน ครอบงำทางความคิด สร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจ อ้างกระบวนการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ตัวแทนกลุ่มเห็นว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวเป็นการทำลายความมั่นคงและมีความพยายามในการแทรกแซงสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาคำนึงถึงความร่วมมือทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สมกับที่ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาต่างเรียกกันว่ามหามิตร[10]

          ทั้งนี้ การชุมนุมและการยื่นหนังสือต่อสถานฑูตของประเทศต่าง ๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยนั้น กระทรวงการต่างประเทศของไทยจะทำหน้าที่ในการจัดสรรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมและได้สัดส่วนตาม มาตรา 22 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ค.ศ. 1961 ข้อ 22 ที่ระบุว่า

          (1) สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน

          (2) รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดําเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด และที่จะป้องกันการรบกวนใดต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทําให้เสื่อมเสียเกียรติของคณะผู้แทน และ

          (3) สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น และพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทนจะได้รับความคุ้มกันจากการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี[11]

 

อ้างอิง

[1] “สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ต่อกรณี แม่ 3 แกนนำม็อบเข้าพบ”, สืบค้นจาก https://www.pptvhd36.com/news/144038(27 กรกฎาคม 2564).

[2] “ภาค ปชช.บุกสถานทูตกัมพูชา จี้สอบอุ้ม "วันเฉลิม"”, สืบค้นจาก https://www.newtv.co.th/news/57717(27 กรกฎาคม 2564).

[3] “ราษฎร ส่ง 3 ตัวแทนเข้ายื่นหนังสือถึง สถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี”, สืบค้นจาก https://voicetv.co.th/read/azqEYC70r(27 กรกฎาคม 2564).

[4] “ม็อบราษฎร” ยื่นหนังสือถึง “สถานทูตเยอรมัน" เรียบร้อยแล้ว”, สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/192640(27 กรกฎาคม 2564).

[5] “ตัวแทนหมู่บ้านทะลุฟ้า ยื่นหนังสือถึง “สถานทูตอเมริกา-EU” ขอนานาชาติจับตารัฐไทย คุกคาม-ใช้กม.ปิดปาก”, สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2625729(27 กรกฎาคม 2564).

[6] “ตัวแทนหมู่บ้านทะลุฟ้า ยื่นหนังสือถึง “สถานทูตอเมริกา-EU” ขอนานาชาติจับตารัฐไทย คุกคาม-ใช้กม.ปิดปาก”, สืบค้นจาก https:// www.matichon.co.th/politics/news_2625729 (27 กรกฎาคม 2564).

[7] “สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ต่อกรณี แม่ 3 แกนนำม็อบเข้าพบ”, สืบค้นจาก https://www. pptvhd36.com/news/144038(27 กรกฎาคม 2564).

[8] “ทวงถามสิทธิการประกันตัวในไทย: อดข้าว โกนหัว ไปจนถึงการเรียกร้องผ่านองค์กรต่างชาติ”, สืบค้นจาก https://www.thairath. co.th/news/politic/2081745(27 กรกฎาคม 2564).

[9] “หมอทศพร ยื่นหนังสือผ่านสถานทูตสหรัฐ ขอวัคซีน mRNA ฉีดให้คนไทย 2.6 แสนโดส”, สืบค้นจาก https://www.bangkokbiz news.com/news/detail/949736(27 กรกฎาคม 2564).

[10] “กลุ่มประชาชนคนไทย ยื่นหนังสือสถานทูตสหรัฐอเมริกา ขอหยุดแทรกแซง-บ่อนทำลายความมั่นคงไทย”, สืบค้นจาก https://thestandard.co/thail-people-submit-us-embassy-document-on-not-interfere/(27 กรกฎาคม 2564).

[11] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูตกงสุล”, สืบค้นจาก https://treaties.mfa.go.th/ treaties.mfa.go.th/กฎหมายระหว่างประเทศ/เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางทูตกงสุล (27 กรกฎาคม 2564).