ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไท (พ.ศ. 2539)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 272: บรรทัดที่ 272:
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประจำกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่านางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 24 ของพรรคไทและผู้สมัครอื่นอีก 10 ราย ยังไม่ได้[[แจ้งบัญชีค่าใช้จ่าย]]ในการสมัครรับเลือกตั้งภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2544<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 (25 เม.ย.- 1พ.ค. 2544), หน้า 452.</ref>  ซึ่งต่อมานางสาวจิตติพร ได้ชี้แจงว่าตนได้ทำหนังสือชี้แจงรายการค่าใช้จ่ายในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 แต่เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของตน เนื่องจากได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต. 0004/ว ลงวันที่ 12 มกราคม 2544 ส่งมายังพรรคไท กำหนดให้ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายภายใน 90 วัน ซึ่งตนคิดว่าต้องรอให้[[ประกาศผลการเลือกตั้ง]] ส.ส. ครบ 500 คนก่อน แล้วจึงจะยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย โดยให้นับวันจากวันประกาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งตนเข้าใจว่าจะครบกำหนดในวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 และการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การส่งบัญชีค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ทำให้ตนเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ตนมิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือกระทำผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาต่อ กกต. ให้พิจารณาอย่างเป็นธรรมด้วย<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 18 (2-8 พ.ค. 2544), หน้า 493.</ref>  
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 [[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประจำกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่านางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 24 ของพรรคไทและผู้สมัครอื่นอีก 10 ราย ยังไม่ได้[[แจ้งบัญชีค่าใช้จ่าย]]ในการสมัครรับเลือกตั้งภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2544<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 (25 เม.ย.- 1พ.ค. 2544), หน้า 452.</ref>  ซึ่งต่อมานางสาวจิตติพร ได้ชี้แจงว่าตนได้ทำหนังสือชี้แจงรายการค่าใช้จ่ายในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 แต่เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของตน เนื่องจากได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต. 0004/ว ลงวันที่ 12 มกราคม 2544 ส่งมายังพรรคไท กำหนดให้ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายภายใน 90 วัน ซึ่งตนคิดว่าต้องรอให้[[ประกาศผลการเลือกตั้ง]] ส.ส. ครบ 500 คนก่อน แล้วจึงจะยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย โดยให้นับวันจากวันประกาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งตนเข้าใจว่าจะครบกำหนดในวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 และการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การส่งบัญชีค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ทำให้ตนเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ตนมิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือกระทำผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาต่อ กกต. ให้พิจารณาอย่างเป็นธรรมด้วย<ref>สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 18 (2-8 พ.ค. 2544), หน้า 493.</ref>  


พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]จำนวนสามคำร้องให้ยุบพรรคไท โดยคำร้องที่ 1 เนื่องจากพรรคไทนำเงินสนับสนุนค่าไปรษณียากร ที่ได้รับจาก[[กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง]]ไปใช้จ่ายไม่เป็นไป[[ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 62 คำร้องที่ 2 เนื่องจากการดำเนินการประชุมใหญ่ของพรรคไทไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 62 กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคและผู้แทนสาขาพรรคมาร่วมประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และคำร้องที่ 3 เนื่องจากพรรคไทไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ในรอบปี 2545 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62  ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องทั้งสาม แล้วจึงได้มีคำสั่ง ที่ 8/2546 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ยุบพรรคไท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 142 ง, วันที่ 12 ธันวาคม 2546, หน้า 44.</ref>  
พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]จำนวนสามคำร้องให้ยุบพรรคไท โดยคำร้องที่ 1 เนื่องจากพรรคไทนำเงินสนับสนุนค่าไปรษณียากร ที่ได้รับจาก[[กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง]]ไปใช้จ่ายไม่เป็นไปตาม[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 62 คำร้องที่ 2 เนื่องจากการดำเนินการประชุมใหญ่ของพรรคไทไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 62 กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคและผู้แทนสาขาพรรคมาร่วมประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และคำร้องที่ 3 เนื่องจากพรรคไทไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ในรอบปี 2545 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62  ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องทั้งสาม แล้วจึงได้มีคำสั่ง ที่ 8/2546 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ยุบพรรคไท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 142 ง, วันที่ 12 ธันวาคม 2546, หน้า 44.</ref>  





รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:46, 16 ตุลาคม 2557

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



พรรคไท (2539)

พรรคไท มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า THAI PARTY ได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานใหญ่พรรคตั้งอยู่ ณ เลขที่ 67/171 ซอย 4 หมู่บ้าน ช.อมรพันธ์ 9 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร [1] พรรคไทใช้เครื่องหมายพรรคเป็น รูปวงกลม ล้อมรอบด้วยรวงข้าว ภายในปรากฏภาพธงชาติไทยและภาพชาวไทยหลากหลายอาชีพ ด้านบนมีอักษรภาษาไทยว่า “พรรคไท” ส่วนด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า “THAI PARTY” [2]


นโยบายพรรคไท พ.ศ. 2539 [3]


ด้านการเมืองการปกครอง

1. พรรคไทยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2. พรรคไทจะพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคง สถิตสถาพรควบคู่กับประเทศชาติตลอดไป

3. พรรคไทจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบพรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง เปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการที่จะควบคุมการดำเนินงานของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง ให้พรรคการเมืองได้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. พรรคไทยึดมั่นในการประสานความคิดของทุกฝ่าย โดยจะเสริมสร้างความสามัคคีและความสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาของชาติ ไม่สนับสนุนการปกครองโดยใช้กำลังหรือละเมิดต่อหลักการของประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

5. พรรคไทเป็นพรรคการเมืองของประชาชนทุกหมู่เหล่า เปิดกว้างให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจการทั้งปวงของพรรค เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

6. พรรคไทจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้พรรคเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นอันขาด

7. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายใด สามารถเป็นหลักประกัน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างแท้จริง

8. พรรคยึดมั่นในหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินการเพื่อขจัดข้อกฎหมายและการปฏิบัติใด ๆ ที่ให้อำนาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันขัดต่อหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

9. พรรคจะส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิ และให้เสรีภาพเพื่อดำเนินกิจกรรมในรูปแบบใดก็ตามที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าแก่สังคมและประเทศชาติ

10. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีความคล่องตัวรัดกุม รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยีและวิธีการบริหารงานสมัยใหม่มาใช้ โดยจัดหางบประมาณสนับสนุนให้เพียงพอ

11. พรรคจะควบคุมและคุ้มครองข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของรัฐให้สามารถปฏิบัติงานโดยยึดหลักความถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย โดยมิต้องหวั่นเกรงต่อการแทรกแซงบีบบังคับจากบุคคลใด หรือฝ่ายใด และจะสนับสนุนให้สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้ตามหลักคุณธรรม

12. พรรคมุ่งมั่นพิทักษ์หลักความเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการประจำ ให้ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยยึดหลักการที่ให้ข้าราชการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบาย และข้าราชการประจำเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบาย

13. พรรคจะปรับปรุงรายได้และสวัสดิการในภาครัฐให้ทัดเทียมกับภาคเอกชนควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรของรัฐ ให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้บริการประชาชนอย่างมีเกียรติ มีวินัย การใช้อำนาจและมีคุณธรรม

14. พรรคไทมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะป้องกันและขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมให้หมดสิ้นไป โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่น ๆ เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้จงได้

15. พรรคไทส่งเสริมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางแก่ส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองอย่างแท้จริง ให้องค์การส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

16. พรรคไทส่งเสริมให้มีการมอบอำนาจจากส่วนกลางแก่ส่วนภูมิภาค เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับความจำเป็นในแต่ละภูมิภาค


ด้านเศรษฐกิจ

1. พรรคไทมุ่งมั่นที่จะสร้างความไพบูลย์รุ่งเรืองให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมีอำนาจทางเกษตรอุตสาหกรรมที่ทันสมัย และพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าในอนาคต

2. พรรคไทมุ่งสร้างเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจและศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาค

3. พรรคจะพัฒนาประเทศโดยการสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้เพื่อให้ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจตกอยู่แก่ประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง

4. พรรคจะดำเนินการช่วยเหลือให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสในสังคมหลุดพ้นจากวงจรแห่งความยากจน

5. พรรคจะมุ่งแก้ปัญหาที่ทำกิน การถือครองที่ดินและราคาพืชผลตกต่ำ การถูกเอารัดเอาเปรียบของเกษตรกร และเน้นการสร้างงานให้ทุกคนมีรายได้ที่สามารถจะสร้างชีวิตที่ดีได้

6. พรรคจะส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตและจัดให้มีองค์กรที่จะให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาดย่อม

7. พรรคจะส่งเสริมให้มีระบบการค้าเสรีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยเปลี่ยนแนวทางของรัฐจากการมุ่งควบคุมเป็นการกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน

8. พรรคจะดำเนินการแก้ไขปัญหาพลังงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานจากแหล่งกำเนิดพลังงานต่าง ๆ เน้นการอนุรักษ์และการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ด้านสังคม

1. พรรคไทจะปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เกิดความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ

2. พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม และมุ่งปรับปรุงการศึกษาให้ทุกระดับและทุกสาขาให้สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในยุคก้าวหน้าได้อย่างเพียงพอ

3. พรรคจะส่งเสริมทุกวิถีทางในการสร้างบุคลากรทางการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

4. พรรคจะส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนา และการถ่ายทอดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาการทั้งปวงที่จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

5. พรรคไทจะพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนในชนบทให้ก้าวหน้าใกล้เคียง หรือทัดเทียมกับส่วนกลาง พัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชนบท

6. พรรคไทมุ่งมั่นในการให้ความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และดำเนินการขจัดยาเสพติดอย่างจริงจัง

7. พรรคจะขยายบริการสาธารณสุข และการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

8. พรรคจะส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาทุกศาสนาเพื่อให้มีการนำหลักศีลธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต และสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม

9. พรรคส่งเสริมและบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ


ด้านการป้องกันประเทศ

1. พรรคไทมุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งเกรียงไกรของกองทัพไทย เพื่อให้เป็นหลักประกันในการพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย และความมั่นคงของชาติ

2. พรรคสนับสนุนบทบาทของกองทัพไทยในยามสันติให้กองทัพมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

3. พรรคไทจะแก้ไขปัญหารายได้และสวัสดิการของกำลังพลในกองทัพให้ทัดเทียมกับส่วนราชการอื่น ด้านการต่างประเทศ

พรรคไทมุ่งสร้างสันติภาพและพยายามแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี กระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม บนหลักการของความเสมอภาค กฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ และจะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์อันชอบธรรมของประเทศไทย และชาวไทยในต่างประเทศ

พรรคไทมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนจัดตั้งพรรคทั้งสิ้น 16 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้[4]

1. นายธนบดินทร์ แสงสถาพร หัวหน้าพรรค

2. นายพูนทรัพย์ บุญทอง รองหัวหน้าพรรค

3. นายธเนศ ธัญญลักษณ์ รองหัวหน้าพรรค

4. นางพะเยีย ตีรสิน เลขาธิการพรรค

5. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต รองเลขาธิการพรรค

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทสามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2539 ได้มีมติเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 17 คน และมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ [5]

1. นายจำรัส จรรยา เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 1 แทน นายพูนทรัพย์ บุญทอง

2. นายประกอบ มานะมุติ เป็นรองหัวหน้าพรรค คนที่ 2 แทน นายธเนศ ธัญญลักษณ์

3. นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต เป็นเลขาธิการพรรค แทน นางพะเยีย ตีรสิน

4. นางพะเยีย ตีรสิน เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 1 แทน นายไพบูลย์ สุนทรวิภาต

5. นายสมนึก ศรีเจริญ เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 2

6. นายวิฑูรย์ แนวพาณิช เป็นรองเลขาธิการพรรค คนที่ 3

จากนั้น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ที่ประชุมใหญ่พรรคไทได้มีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 13 รายพ้นจากตำแหน่ง พร้อมกับได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 7 ราย โดยหนึ่งในจำนวนนี้มี นายสุวัฒน์ ยมจินดา เป็นรองหัวหน้าพรรคด้วย ทำให้พรรคไทมีกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 27 คน[6]

นอกจากนี้ พรรคไทยังได้มีมติเปลี่ยนสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคเป็น เลขที่ 16 ซอยราชครู (อารีย์สัมพันธ์ 5) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร [7]

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ที่ประชุมใหญ่สามัญของพรรคไท ครั้งที่ 1/2541 ได้มีมติให้ยกเลิกนโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2539 และใช้นโยบายพรรคและข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 แทน


นโยบายพรรคไท พ.ศ. 2541[8]

นโยบายการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ

1. นโยบายด้านการปฏิรูปทางการเมือง: พรรคไทมุ่งมั่นพัฒนาระบบการเมือง ให้มีความมั่นคงตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อประโยชน์ของประชาชน

2. นโยบายด้านการบริหารราชการ: พรรคไทจะปฏิรูประบบบริหารทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ให้ประสบผลตามเป้าหมายของแผนการแก้ภาวะวิกฤตการณ์ของชาติได้อย่างตรงจุด และทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก

3. นโยบายด้านความมั่นคง: พรรคไทตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ในภูมิภาค และของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกองทัพต้องมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันเป็นการสถาปนาความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคและสังคมโลก จึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่

4. นโยบายด้านการต่างประเทศ: พรรคไทมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและเป็นมิตรกับทุกประเทศ โดยจะยึดมั่นในพันธกรณีตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก


นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม


นโยบายเร่งด่วน: การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ

1. เร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริหารงบประมาณแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการประหยัด และสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม

2. บริหารจัดการด้านคนและสังคมเพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยบรรเทาปัญหาการว่างงาน และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ

3. บรรเทาผลกระทบทางสังคม โดยประกันโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย และฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทั่วถึง


นโยบายระยะปานกลาง: การปรับโครงสร้าง

1. การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพัฒนาตราสารทางการเงิน เพื่อระดมทุนมาใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ

2. การปรับโครงสร้างการผลิต โดยทางด้านการเกษตรนั้นพรรคไทจะสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และกระจายทุนสู่เกษตรกร ขยายโอกาสการลงทุนในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันเกษตรกร สนับสนุนและเผยแพร่กระบวนการสหกรณ์ให้เข้มแข็ง และสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าที่มีเสถียรภาพ พัฒนาแหล่งน้ำ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด

ส่วนทางด้านอุตสาหกรรมนั้น พรรคไทจะสนับสนุนกิจกรรมการผลิตก่อนการส่งออก ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมผลิตแบบครบวงจร พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และส่งเสริมสถาบันวิจัยและพัฒนา

ขณะที่ทางด้านการบริการนั้น จะสนับสนุนการท่องเที่ยว การบริการการศึกษานานาชาติ และส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพของภูมิภาค

3. การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยพรรคไทจะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกทั้งจะพัฒนาเมืองชายแดนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตจากการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย

4. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ด้านการพลังงาน และด้านสาธารณูปการให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม

5. การปรับทิศทางด้านการตลาดส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการค้าและการลงทุนและแสวงหาตลาดใหม่ ๆ และสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับมิตรประเทศ

6. ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และการพัฒนาที่ยั่งยืน

7. การพัฒนาคนและสังคม พรรคไทจะเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน และคุ้มครองแรงงานไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนทุกกลุ่ม ส่งเสริมสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างหลักประกันและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งเสริมทะนุบำรุงศาสนาและศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนการให้การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงจังและเป็นธรรม

8. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พรรคไทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ โดยเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

9. ด้านการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค พรรคไทจะเน้นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกันในทุกภูมิภาค และลดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท

10. การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร พรรคไทมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อแก้ปัญหาของคนกรุงเทพมหานคร

อนึ่ง ในข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ได้ให้คำอธิบายเครื่องหมายพรรคการเมืองเอาไว้ว่า “เป็นภาพวงกลม 2 วง ซ้อนกัน ภายในวงกลมด้านบนเป็นชื่อพรรคไท ความหมายคือ อิสระเสรี ในความเป็นประชาธิปไตย มีสัญลักษณ์บ่งชี้ภายในวงกลมโปร่งใสเน้นให้เห็นถึงความมั่นคง หนักแน่น มีภาพธงไทยปลิวไสวอยู่ตรงกลางเหนือศีรษะ ประชาชนทุกสาขาวิชาชีพ กอปรไปด้วย นักการเมือง ข้าราชการ นิสิต นักศึกษา พ่อค้า เกษตรกร ฯลฯ โดยขนาบข้างด้วยช่อพฤกษชาติที่อุดมสมบูรณ์ [9]

นอกจากนี้ข้อบังคับดังกล่าวยังได้เปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคเป็น เลขที่ 267/1 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัสวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 และระบุอักษรย่อชื่อพรรคในภาษาไทย คือ “พ.ท.” และในภาษาอังกฤษ คือ “T.P.” [10]

พร้อมกันนั้นที่ประชุมพรรคไทยังได้มีมติเปลี่ยนแปลงและเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจำนวน 8 คน โดยมีตำแหน่งสำคัญดังนี้[11]

1. นายสมโภชน์ ปัจฉิมานนท์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2

2. นายสุเทพ ปิ่นเจริญ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3

3. นายตรีทศยุทธ ทวีพงศ์สกุลเลิศ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4

4. นางพิชญ์ดา เตอเยซูซ์ เป็นโฆษกพรรค

ต่อมา ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคไท ครั้งที่ 2/2542 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีมติให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 7 คนพ้นจากตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้ มี นางพะเยีย ตีรสิน รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1, นายตรีทศยุทธ ทวีพงศ์สกุลเลิศ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4 และนายสมนึก ศรีเจริญ เหรัญญิกพรรครวมอยู่ด้วย พร้อมกันนั้น พรรคได้มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 7 คน โดยตำแหน่งสำคัญมีดังนี้[12]

1. นายชัยฤทธิ์ จันทรพันธ์ รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4

2. นายสมชาย ฤทธินาคา รองหัวหน้าพรรคคนที่ 5

3. นายวีรชาติ คุ้มพันธุ์ รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1

4. น.ส. นัฏกานต์ โสหุรัตน์ เหรัญญิกพรรค

พรรคไทได้แจ้งขอย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคอีกครั้ง ตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญพรรคไท ครั้งที่ 1/2542 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็น เลขที่ 193 ถนนอำนวยสงคราม แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ก็ได้เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติม จำนวน 2 คน และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคในตำแหน่งสำคัญจำนวน 3 คน คือ [13]

1. นายสุเทพ ปิ่นเจริญ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3

2. นายสมโภชน์ ปัจฉิมานนท์ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค

3. นายณัฐธวัฒณ์ เรือนเรือง พ้นจากตำแหน่งรองโฆษกพรรคคนที่ 1 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3

จากนั้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคไท ครั้งที่ 8/2542 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคไท จำนวน 24 ราย โดยตำแหน่งสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้[14]

1. นายจำรัส จรรยา พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 6

2. นายชัยฤทธิ์ จันทรพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4 ไปดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 7

3. นายณัฐวัฒน์ เรือนเรือง พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค

4. นายสมชาย ฤทธินาคา พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคคนที่ 5 ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค

5. นายวีระชาติ คุ้มพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 1

6. นายวิฑูรย์ แนวพานิช พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 3

7. นางพิชญ์ดา เดอเยซูซ์ พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่ 2

8. พลเอกวิฑูร สุนทรจันทร์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1

9. พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2

10. พลตำรวจตรีอนุชา ทับสุวรรณ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 3

11. พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 4

12. นางประยงค์ จินดาวงษ์ เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 5

13. พลตรีวิสูตร เกิดเกรียงบุญ เป็นผู้อำนวยการพรรค

14. พลเอกอำพน อมรวิสัยสรเดช เป็นเลขาธิการพรรค

15. พันเอกปรีชา ปัญจมะวัต เป็นรองเลขาธิการพรรคคนที่ 1

16. น.ส.พิมพ์ใจ วิกสิตเจริญกุล เป็นโฆษกพรรค

จากนั้นพรรคไทก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคอีก 6 ครั้ง ดังนี้

- วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นายทะเบียนพรรคการเมืองได้รับการแจ้งจากพรรคไทว่า พันเอก ปรีชา ปัญจมะวัต, พลตรีพรฤทธิ์ นิปวณิชย์ และ นายสมชาย ฤทธินาคา ได้ขอลาออกจากสมาชิกพรรคและตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[15]

- วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 พลโททวีศักดิ์ สุวรรณทัต ลาออกจากรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2[16]

- วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มีกรรมการบริหารพรรคลาออกอีกจำนวน 2 คน[17]

- วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2543 นายสุวัฒน์ พรหมกุลพัฒน์ ลาออกจากสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค[18]

- วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2543 พลเอกวิฑูร สุนทรจันทร์ ลาออกจากสมาชิกพรรคและรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1, พลเอกอำพน อมรวิสัยสรเดช ลาออกจากสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค และ นายจอมพล สุภาพ ลาออกจากสมาชิกพรรคและรองโฆษกพรรค[19]

จนกระทั่งในที่สุด เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการบริหารพรรคไท ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี ตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 38 วรรคหนึ่ง (1) และข้อ 22[20]

พรรคไทได้ร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 นั้น มีผู้สมัครในนามพรรคไทได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 1 คน คือ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลกับรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[21]

สำหรับการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นั้นพรรคไทได้ส่งสมาชิกลงรับสมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 8 คน โดยแบ่งเป็นผู้สมัครในแบบแบ่งเขต 3 คน และแบบบัญชีรายชื่อ (Party List) 5 คนแต่ไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งนี้บัญชีรายชื่อของพรรคไท (หมายเลข 19) ได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 57,534 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.20 ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ทำให้พรรคไทไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[22]

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2544 นางสาวจิตพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพมหานคร ของพรรคไท ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผ่านทางพันโทกมล ประจวบเหมาะ กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบสถานภาพสมรสและทรัพย์สินของคู่สมรสของนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ว่าเป็นจริงตามที่ได้แจ้งต่อทางราชการหรือไม่ [23]

เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครได้เปิดเผยว่านางสาวจิตติพร อภิบาลภูวนารถ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 24 ของพรรคไทและผู้สมัครอื่นอีก 10 ราย ยังไม่ได้แจ้งบัญชีค่าใช้จ่ายในการสมัครรับเลือกตั้งภายใน 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครบกำหนดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2544[24] ซึ่งต่อมานางสาวจิตติพร ได้ชี้แจงว่าตนได้ทำหนังสือชี้แจงรายการค่าใช้จ่ายในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ต่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 แต่เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของตน เนื่องจากได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต. 0004/ว ลงวันที่ 12 มกราคม 2544 ส่งมายังพรรคไท กำหนดให้ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายภายใน 90 วัน ซึ่งตนคิดว่าต้องรอให้ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ครบ 500 คนก่อน แล้วจึงจะยื่นบัญชีค่าใช้จ่าย โดยให้นับวันจากวันประกาศในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งตนเข้าใจว่าจะครบกำหนดในวันที่ 6 พฤษภาคม 2544 และการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การส่งบัญชีค่าใช้จ่ายก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ทำให้ตนเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ตนมิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือกระทำผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาต่อ กกต. ให้พิจารณาอย่างเป็นธรรมด้วย[25]

พรรคไทดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจำนวนสามคำร้องให้ยุบพรรคไท โดยคำร้องที่ 1 เนื่องจากพรรคไทนำเงินสนับสนุนค่าไปรษณียากร ที่ได้รับจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไปใช้จ่ายไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62 คำร้องที่ 2 เนื่องจากการดำเนินการประชุมใหญ่ของพรรคไทไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรคไท พ.ศ. 2541 ข้อ 62 กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคและผู้แทนสาขาพรรคมาร่วมประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และคำร้องที่ 3 เนื่องจากพรรคไทไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง ในรอบปี 2545 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 62 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องทั้งสาม แล้วจึงได้มีคำสั่ง ที่ 8/2546 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ให้ยุบพรรคไท ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 26 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[26]


อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 17-18.
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 20-27.
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 85 ง, วันที่ 22 ตุลาคม 2539, หน้า 18.
  5. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 5 ง, วันที่ 16 มกราคม 2540, หน้า 62-63.
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 1 ง, วันที่ 1 มกราคม 2541, หน้า 76-77.
  7. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 1 ง, วันที่ 1 มกราคม 2541, หน้า 77.
  8. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 1-33
  9. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 33-34.
  10. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 34.
  11. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 127 ง, วันที่ 21 ธันวาคม 2541, หน้า 62-63.
  12. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 46 ง, วันที่ 2 กรกฎาคม 2542, หน้า 137-138.
  13. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 70 ง, วันที่ 22 กันยายน 2542, หน้า 110-111.
  14. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 32 ง, วันที่ 5 เมษายน 2543, หน้า 4-7.
  15. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 70 ง, วันที่ 14 กรกฎาคม 2543, หน้า 12-13.
  16. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 80 ง, วันที่ 11 สิงหาคม 2543, หน้า 23.
  17. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 71 ง, วันที่ 19 กรกฎาคม 2543, หน้า 7.
  18. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 96 ง, วันที่ 20 กันยายน 2543, หน้า 28.
  19. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 101 ง, วันที่ 4 ตุลาคม 2543, หน้า 18.
  20. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 103 ง, วันที่ 16 ตุลาคม 2544, หน้า 21-22.
  21. สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 46 (15-21 พ.ย. 2539), หน้า 1263,1271.
  22. สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 49 (30 พ.ย.- 6 ธ.ค. 2543), หน้า 1359.
  23. สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (1-10 ม.ค. 2544), หน้า 4-5.
  24. สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 (25 เม.ย.- 1พ.ค. 2544), หน้า 452.
  25. สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 18 (2-8 พ.ค. 2544), หน้า 493.
  26. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 142 ง, วันที่ 12 ธันวาคม 2546, หน้า 44.