ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 13 วันที่ 4 เมษายน 2519"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐ... |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 8 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' ชาย ไชยชิต | '''ผู้เรียบเรียง''' ชาย ไชยชิต | ||
---- | ---- | ||
''' | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | |||
==การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 13 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519== | |||
หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช]] หัวหน้า[[กิจสังคม (พ.ศ. 2517)|พรรคกิจสังคม]] เป็นแกนนำในการจัดตั้ง[[รัฐบาลผสม]] ประกอบด้วย [[ธรรมสังคม|พรรคธรรมสังคม]] [[ชาติไทย (พ.ศ. 2517)|พรรคชาติไทย]] พรรค[[สันติชน]] [[ไท (พ.ศ. 2517 - 2523)|พรรคไท]] พรรค[[พลังประชาชน]] และพรรค[[ประชาธรรม]] ซึ่งเป็นการร่วม[[รัฐบาล]]ที่มิได้ตั้งอยู่บนฐานของการยึดถือแนวนโยบายทางการเมืองร่วมกันเป็นหลัก หากแต่เป็นรัฐบาลผสมที่มีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ พรรคธรรมสังคม ซึ่งมีสมาชิกในสภามากถึง 45 คน จึงมีความข้องใจและขัดแย้งกับหัวหน้ารัฐบาลอยู่เสมอด้วยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติต่ออย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งพรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมรัฐบาลนั้นต่างก็มีการเรียกร้องผลประโยชน์ต่างตอบแทนเมื่อเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งเสียงสนับสนุนของตนในการต่อสู้กับ[[ฝ่ายค้าน]]ในสภา ปัญหาความไม่เป็นเอกภาพและขาดเสถียรภาพในรัฐบาลผสม จึงส่งผลให้รัฐบาลนำโดยหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ประสบความยากลำบากในการบริหารประเทศ จนนำไปสู่การประกาศ[[ยุบสภา]] เพื่อให้มี[[การจัดการเลือกตั้ง]]ทั่วไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519 | |||
[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งด้วยระบบ[[แบ่งเขตเรียงเบอร์]] เป็นการเลือกตั้งผู้แทนโดยตรงจากประชาชน จำนวนผู้แทนในแต่ละเขตถือเอาจำนวนประชาชน 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มี[[พรรคการเมือง]]ที่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 38 พรรค จากจำนวนพรรคการเมืองที่มีการยื่นจดทะเบียนทั้งหมด 56 พรรค ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 20,528,832 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 9,084,104 คน คิดเป็นร้อยละ 45.63 คน จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดนครพนม คิดเป็นร้อยละ 63.53 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 26.64 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด | |||
- | ผลการเลือกตั้งพบว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการเลือกตั้งเพียง 19 พรรค ดังต่อไปนี้ พรรค[[ประชาธิปัตย์]] 114 ที่นั่ง [[ชาติไทย (พ.ศ. 2517)|พรรคชาติไทย]] 56 ที่นั่ง พรรค[[กิจสังคม]] 45 ที่นั่ง พรรค[[ธรรมสังคม]] 28 ที่นั่ง พรรค[[พลังใหม่]] 3 ที่นั่ง [[เกษตรสังคม|พรรคเกษตรสังคม]] 9 ที่นั่ง พรรค[[พลังประชาชน]] 3 ที่นั่ง [[สังคมชาตินิยม (พ.ศ.2517)|พรรคสังคมชาตินิยม]] 8 ที่นั่ง พรรค[[สังคมนิยม]] 2 ที่นั่ง [[ธรรมาธิปไตย (พ.ศ. 2519)|พรรคธรรมาธิปไตย]] 1 ที่นั่ง [[แนวร่วมประชาธิปไตย (พ.ศ. 2519)|พรรคแนวร่วมประชาธิปไตย]] 1 ที่นั่ง [[แนวร่วมสังคมนิยม (พ.ศ. 2517)|พรรคแนวร่วมสังคมนิยม]] 1 ที่นั่ง [[แรงงาน (พ.ศ. 2511)|พรรคแรงงาน]] 1 ที่นั่ง [[ไทสังคม (พ.ศ. 2519)|พรรคไทสังคม]] 1 ที่นั่ง [[พัฒนาจังหวัด (พ.ศ. 2517)|พรรคพัฒนาจังหวัด]] 2 ที่นั่ง พรรค[[สยามใหม่]] 1 ที่นั่ง พรรค[[ประชาธิปไตย]] 1 ที่นั่ง และพรรค[[สังคมก้าวหน้า]] 1 ที่นั่ง ส่วนอีก 19 [[พรรคไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว ได้แก่ พรรค[[พลังเสรี]] พรรค[[ชาตินิยม]] พรรค[[ฟื้นฟูชาติไทย]] พรรค[[แนวสันติ]] พรรค[[กรุงสยาม]] พรรค[[เกษตรกร]] พรรค[[พลังสยาม]] พรรค[[ชาติสยาม]] พรรค[[สันติชน]] [[ประชาก้าวหน้า|พรรคประชาก้าวหน้า]] พรรค[[เศรษฐกร]] พรรค[[ศรีอารยะ]] พรรค[[นิยมไทย]] [[สังคมประชาธรรม|พรรคสังคมประชาธรรม]] พรรค[[พลังราษฎร์]] พรรค[[ไทยรวมไทย]] พรรค[[ไทยอิสระ]] พรรค[[สงเคราะห์อาชีพ]] และ[[ไท (พ.ศ. 2517 - 2523)|พรรคไท]] | ||
การเลือกตั้งในครั้งนี้ ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดถึง 114 ที่นั่ง ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยรวมตัวกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยมี[[เสนีย์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีการกลับเข้าเมืองไทยของ[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ได้นำการสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านของกลุ่มต่าง ๆ จนเหตุการณ์ขยายตัวไปสู่ความรุนแรง และมีการใช้กำลังตำรวจเข้าระงับและกวาดล้าง[[การชุมนุม]]จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต กระทั่งยุติลงด้วย[[การเข้ายึดอำนาจ]]การปกครอง โดย[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ซึ่งมี[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอก สงัด ชลออยู่]] เป็นหัวหน้า ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เหตุการณ์[[รัฐประหาร]]ดังกล่าวจึงส่งผลให้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หมดสภาพไปเช่นเดียวกับบรรดา[[พรรคการเมือง]]ที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] | |||
==ที่มา== | |||
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522 | ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522 | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 28: | ||
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, บทบาทของพรรคการเมืองไทยในการจัดตั้งรัฐบาลผสม, รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541 | พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, บทบาทของพรรคการเมืองไทยในการจัดตั้งรัฐบาลผสม, รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541 | ||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] | ||
[[หมวดหมู่:ชาย ไชยชิต]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:34, 4 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 13 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519
หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ประกอบด้วย พรรคธรรมสังคม พรรคชาติไทย พรรคสันติชน พรรคไท พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธรรม ซึ่งเป็นการร่วมรัฐบาลที่มิได้ตั้งอยู่บนฐานของการยึดถือแนวนโยบายทางการเมืองร่วมกันเป็นหลัก หากแต่เป็นรัฐบาลผสมที่มีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ พรรคธรรมสังคม ซึ่งมีสมาชิกในสภามากถึง 45 คน จึงมีความข้องใจและขัดแย้งกับหัวหน้ารัฐบาลอยู่เสมอด้วยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติต่ออย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งพรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมรัฐบาลนั้นต่างก็มีการเรียกร้องผลประโยชน์ต่างตอบแทนเมื่อเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องพึ่งเสียงสนับสนุนของตนในการต่อสู้กับฝ่ายค้านในสภา ปัญหาความไม่เป็นเอกภาพและขาดเสถียรภาพในรัฐบาลผสม จึงส่งผลให้รัฐบาลนำโดยหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ประสบความยากลำบากในการบริหารประเทศ จนนำไปสู่การประกาศยุบสภา เพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2519
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งด้วยระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ เป็นการเลือกตั้งผู้แทนโดยตรงจากประชาชน จำนวนผู้แทนในแต่ละเขตถือเอาจำนวนประชาชน 150,000 คนต่อผู้แทนราษฎร 1 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 38 พรรค จากจำนวนพรรคการเมืองที่มีการยื่นจดทะเบียนทั้งหมด 56 พรรค ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 20,528,832 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 9,084,104 คน คิดเป็นร้อยละ 45.63 คน จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดนครพนม คิดเป็นร้อยละ 63.53 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 26.64 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
ผลการเลือกตั้งพบว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในครั้งนี้ได้รับการเลือกตั้งเพียง 19 พรรค ดังต่อไปนี้ พรรคประชาธิปัตย์ 114 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 56 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 45 ที่นั่ง พรรคธรรมสังคม 28 ที่นั่ง พรรคพลังใหม่ 3 ที่นั่ง พรรคเกษตรสังคม 9 ที่นั่ง พรรคพลังประชาชน 3 ที่นั่ง พรรคสังคมชาตินิยม 8 ที่นั่ง พรรคสังคมนิยม 2 ที่นั่ง พรรคธรรมาธิปไตย 1 ที่นั่ง พรรคแนวร่วมประชาธิปไตย 1 ที่นั่ง พรรคแนวร่วมสังคมนิยม 1 ที่นั่ง พรรคแรงงาน 1 ที่นั่ง พรรคไทสังคม 1 ที่นั่ง พรรคพัฒนาจังหวัด 2 ที่นั่ง พรรคสยามใหม่ 1 ที่นั่ง พรรคประชาธิปไตย 1 ที่นั่ง และพรรคสังคมก้าวหน้า 1 ที่นั่ง ส่วนอีก 19 [[พรรคไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียว ได้แก่ พรรคพลังเสรี พรรคชาตินิยม พรรคฟื้นฟูชาติไทย พรรคแนวสันติ พรรคกรุงสยาม พรรคเกษตรกร พรรคพลังสยาม พรรคชาติสยาม พรรคสันติชน พรรคประชาก้าวหน้า พรรคเศรษฐกร พรรคศรีอารยะ พรรคนิยมไทย พรรคสังคมประชาธรรม พรรคพลังราษฎร์ พรรคไทยรวมไทย พรรคไทยอิสระ พรรคสงเคราะห์อาชีพ และพรรคไท
การเลือกตั้งในครั้งนี้ ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดถึง 114 ที่นั่ง ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยรวมตัวกับพรรคการเมืองอื่น ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยมีหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีการกลับเข้าเมืองไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้นำการสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านของกลุ่มต่าง ๆ จนเหตุการณ์ขยายตัวไปสู่ความรุนแรง และมีการใช้กำลังตำรวจเข้าระงับและกวาดล้างการชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต กระทั่งยุติลงด้วยการเข้ายึดอำนาจการปกครอง โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ซึ่งมีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เหตุการณ์รัฐประหารดังกล่าวจึงส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหมดสภาพไปเช่นเดียวกับบรรดาพรรคการเมืองที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517
ที่มา
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522
โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ 5 ระบบการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2544
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, บทบาทของพรรคการเมืองไทยในการจัดตั้งรัฐบาลผสม, รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541