ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' มาลินี คงรื่น '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทควา...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 9 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:
==สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2516==
==สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2516==


สมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516[1] ภายหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญในยุคนั้นคือเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 หลังจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว ทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุครัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออกจำนวนมากเหลือสมาชิกฯ เพียง 11 คน ต่อมาจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีตามคำกราบบังคมทูลของนายทวี แรงคำ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516<ref>'''สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ.''' ใน http:// politic. myfirstinfo.com/assembly.aspx
สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552.</ref> ภายหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญในยุคนั้นคือเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 หลังจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว ทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุครัฐบาล[[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] ลาออกจำนวนมากเหลือสมาชิกฯ เพียง 11 คน ต่อมาจอมพล ถนอม กิตติขจร [[นายกรัฐมนตรี]]ได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง นาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] เป็นนายกรัฐมนตรีตามคำกราบบังคมทูลของนาย[[ทวี แรงคำ]] รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


หลังจากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางรากฐานแห่งการปกครองเสียก่อน และทรงมีพระราชดำริว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ควรจะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ อาชีพ วิชาความรู้ ตลอดจนทรรศนะและแนวความคิดทางการเมืองให้มาก และกว้างขวางที่สุด  
หลังจากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางรากฐานแห่งการปกครองเสียก่อน และทรงมีพระราชดำริว่า[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]นั้น ควรจะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ อาชีพ วิชาความรู้ ตลอดจนทรรศนะและแนวความคิดทางการเมืองให้มาก และกว้างขวางที่สุด  


สมัชชาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกหลากหลายอาชีพจำนวน 2,347 คน โดยให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกสมาชิกด้วยกันเองเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  
สมัชชาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกหลากหลายอาชีพจำนวน 2,347 คน โดยให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกสมาชิกด้วยกันเองเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  


หลังจากนั้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 299 คน และในวันที่ 18 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ ราชตฤณมัยสมาคม (หรือสนามม้านางเลิ้ง) เพื่อให้สมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการต่อไปโดยมุ่งเน้นให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลัก  
หลังจากนั้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้มี[[การเลือกตั้ง]]และแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 299 คน และในวันที่ 18 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ ราชตฤณมัยสมาคม (หรือสนามม้านางเลิ้ง) เพื่อให้สมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการต่อไปโดยมุ่งเน้นให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลัก  


'''การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ'''
'''การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ'''


การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2516 โดยมีพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นประธานในที่ประชุม พระยามานวราชเสวี และ นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรองประธานที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติคนที่ 1 และคนที่ 2ตามลำดับ ในการประชุมครั้งนี้มีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งถึง 2,347 คน ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติทั้งหมดได้ จึงต้องใช้ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถานที่จัดประชุมจึงเป็นที่มาของคำว่า “สภาสนามม้า” โดยที่ประชุมได้เลือกตัวแทนให้เหลือจำนวน 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง ข้าราชการ แพทย์ นักหนังสือพิมพ์ นักการธนาคาร นายกสมาคมสามล้อเครื่อง เป็นต้น ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังกล่าวตามมติสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516 โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินี้ทำหน้าที่รัฐสภา  
การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2516 โดยมี[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] เป็นประธานในที่ประชุม [[พระยามานวราชเสวี]] และ นาย[[สุกิจ นิมมานเหมินท์]] เป็นรองประธานที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติคนที่ 1 และคนที่ 2ตามลำดับ ในการประชุมครั้งนี้มีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งถึง 2,347 คน ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติทั้งหมดได้ จึงต้องใช้ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถานที่จัดประชุมจึงเป็นที่มาของคำว่า “สภาสนามม้า” โดยที่ประชุมได้เลือกตัวแทนให้เหลือจำนวน 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง ข้าราชการ แพทย์ นักหนังสือพิมพ์ นักการธนาคาร นายกสมาคมสามล้อเครื่อง เป็นต้น ซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังกล่าวตามมติสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516 โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินี้ทำหน้าที่รัฐสภา  


'''คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ'''[2]
'''คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ'''<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ใน '''สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย.''' กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548. หน้า 421 - 422.</ref>


เพื่อให้เป็นไปตามมติมหาชนและให้เกิดความสงบเรียบร้อย รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมการจำนวน 18 คน มีนายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นประธานคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาเป็นแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้เวลาในการยกร่างเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2517 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 169 วันที่ 7 ตุลาคม 2517  
เพื่อให้เป็นไปตามมติมหาชนและให้เกิดความสงบเรียบร้อย รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมการจำนวน 18 คน มีนาย[[ประกอบ หุตะสิงห์]] เป็นประธานคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาเป็นแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้เวลาในการยกร่างเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2517 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง[[ลงพระปรมาภิไธย]]ประกาศใช้เป็น[[รัฐธรรมนูญ]]เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 โดยมี[[คึกฤทธิ์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่ม 91 ตอนที่ 169 วันที่ 7 ตุลาคม 2517  


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกอบด้วย 11 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 238 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าเนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยนั้นเอง  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกอบด้วย 11 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 238 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าเนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยนั้นเอง  
บรรทัดที่ 35: บรรทัดที่ 36:
==สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549==
==สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549==


หลังจากที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 นั้น และได้นำความกราบบังคมทูลเหตุที่ทำการยึดอำนาจ และประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 นั้น ก็โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธา ในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพ ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน{3]
หลังจากที่[[สนธิ บุญยรัตกลิน|พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน]] หัวหน้า[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] ได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 นั้น และได้นำความกราบบังคมทูลเหตุที่ทำการยึดอำนาจ และประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 นั้น ก็โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ความไร้ประสิทธิภาพ ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2549.</ref>


ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยบัญญัติให้มีสมัชชาแห่งชาติ ดังนี้ มาตรา 20 ได้กำหนดให้มีสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า18 ปี มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน และมาตรา 22 บัญญัติให้สมัชชาแห่งชาติ มีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก  และในมาตรา 23 บัญญัติว่าเมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ 100 คน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต่อไป
ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยบัญญัติให้มีสมัชชาแห่งชาติ ดังนี้ มาตรา 20 ได้กำหนดให้มีสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า18 ปี มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน และมาตรา 22 บัญญัติให้สมัชชาแห่งชาติ มีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็นสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] มีจำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก  และในมาตรา 23 บัญญัติว่าเมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ 100 คน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต่อไป


จากนั้นให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งตามมาตรา 25 ดังนี้ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภา จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
จากนั้นให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งตามมาตรา 25 ดังนี้ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภา จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
บรรทัดที่ 43: บรรทัดที่ 44:
'''การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ'''
'''การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ'''


ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกความมั่นคงแห่งชาติ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติลงวันที่ 19 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2549 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “กดส.” โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการนี้ได้กำหนดบัญชีบุคคลโดยคำนึงถึงบุคคลในกลุ่มต่างๆ จากทุกภูมิภาคของประเทศอย่างเหมาะสมดังนี้
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกความมั่นคงแห่งชาติ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติลงวันที่ 19 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2549 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “กดส.” โดยมี[[ชลิต พุกผาสุก|พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก]] เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการนี้ได้กำหนดบัญชีบุคคลโดยคำนึงถึงบุคคลในกลุ่มต่างๆ จากทุกภูมิภาคของประเทศอย่างเหมาะสมดังนี้


ประเภทที่ 1 ผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม 767 คน
ประเภทที่ 1 ผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม 767 คน
ประเภทที่ 2 ผู้แทนภาครัฐ 318 คน
 
ประเภทที่ 3 ผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น 227 คน
ประเภทที่ 2 ผู้แทนภาครัฐ 318 คน
ประเภทที่ 4 ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 16 คน
 
ประเภทที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ 302 คน
ประเภทที่ 3 ผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น 227 คน
ประเภทที่ 6 นิสิต นักศึกษา 140 คน
 
ประเภทที่ 7 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน
ประเภทที่ 4 ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 16 คน
ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการที่คณะรัฐมนตรีสรรหา  
 
ประเภทที่ 8 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน
ประเภทที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ 302 คน
ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่ คมช. สรรหา 115 คน
 
ประเภทที่ 9 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน  
ประเภทที่ 6 นิสิต นักศึกษา 140 คน
ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่เหลือจากการสรรหาตามข้อ 5 โดยให้แบ่งจำนวนที่เหลือ หรือใกล้เคียงที่สุดเป็นสองส่วนโดยให้คณะรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้สรรหาเพิ่มแต่ละส่วนจนครบ 2,000 คน
 
ประเภทที่ 7 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการที่คณะรัฐมนตรีสรรหา  
 
ประเภทที่ 8 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่ คมช. สรรหา 115 คน
 
ประเภทที่ 9 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่เหลือจากการสรรหาตามข้อ 5 โดยให้แบ่งจำนวนที่เหลือ หรือใกล้เคียงที่สุดเป็นสองส่วนโดยให้คณะรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้สรรหาเพิ่มแต่ละส่วนจนครบ 2,000 คน


ทั้งนี้ได้จัดประเภทบุคคล 9 ประเภท โดยแบ่งเป็นบุคคล 4 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมและ ภาควิชาการ  
ทั้งนี้ได้จัดประเภทบุคคล 9 ประเภท โดยแบ่งเป็นบุคคล 4 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมและ ภาควิชาการ  
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 68:
จากนั้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน ดังนี้
จากนั้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน ดังนี้


ภาครัฐ จำนวน 574 คน
ภาครัฐ จำนวน 574 คน
ภาคเอกชน จำนวน 545 คน
 
ภาคสังคม จำนวน 538 คน
ภาคเอกชน จำนวน 545 คน
ภาควิชาการ จำนวน 325 คน
 
ภาคสังคม จำนวน 538 คน
 
ภาควิชาการ จำนวน 325 คน


'''การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ'''
'''การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ'''


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 21 กำหนดว่าในการประชุมสมัชชาแห่งชาติให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คือนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ) ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และให้การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด ดังนั้นประธานสมัชชาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549[4] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพื่อเลือกสมาชิกกันเองให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน ซึ่งการประชุมมีขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ 17 ถึงวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549  
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 21 กำหนดว่าในการประชุมสมัชชาแห่งชาติให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คือนาย[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] ) ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และให้การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด ดังนั้นประธานสมัชชาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549<ref>สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''คู่มือการออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ.'''</ref> จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพื่อเลือกสมาชิกกันเองให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน ซึ่งการประชุมมีขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ 17 ถึงวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549  


ในวันที่ 17 ธันวาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หลังเสร็จพิธี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา 17.40 นาฬิกา จากนั้นมีการประชุมเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสมัชชาแห่งชาติ จากนั้นปิดประชุมในเวลา 18.35 นาฬิกา
ในวันที่ 17 ธันวาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หลังเสร็จพิธี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา 17.40 นาฬิกา จากนั้นมีการประชุมเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และนาย[[พิทูร พุ่มหิรัญ]] เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสมัชชาแห่งชาติ จากนั้นปิดประชุมในเวลา 18.35 นาฬิกา


'''การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ'''
'''การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ'''


ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เวลา 9.45 นาฬิกา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดประชุมและให้สมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อเป็นผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 200 คน โดยสมาชิกแต่ละคนจะเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ ผลการสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้สมาชิกจำนวน 200 คน เมื่อดำเนินการเสร็จตามขั้นตอนแล้ว นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้แจ้งรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 200 คนไปที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ทำการคัดเลือกผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือเพียง 100 คน ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน ตามมาตรา 23 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เวลา 9.45 นาฬิกา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดประชุมและให้สมาชิกใช้สิทธิ[[ออกเสียงลงคะแนน]]เลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อเป็นผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 200 คน โดยสมาชิกแต่ละคนจะเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ ผลการสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้สมาชิกจำนวน 200 คน เมื่อดำเนินการเสร็จตามขั้นตอนแล้ว นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้แจ้งรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 200 คนไปที่[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ทำการคัดเลือกผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือเพียง 100 คน ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน ตามมาตรา 23 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ
'''การเลือกและแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ''' [5]
'''การเลือกและแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ'''<ref>ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ,” '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง 11 มกราคม 2550.</ref>


การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1/2550 วันที่ 8 มกราคม 2550 มีการเลือกประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายนรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง และนายเดโช สวนานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1/2550 วันที่ 8 มกราคม 2550 มีการเลือกประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย[[นรนิติ เศรษฐบุตร]] เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นาย[[เสรี สุวรรณภานนท์]] เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง และนาย[[เดโช สวนานนท์]] เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549


'''คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ'''  
'''คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ'''  


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 25 บัญญัติให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวนยี่สิบห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสิบคน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3/2550 วันที่ 22 มกราคม 2550 ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แจ้งรายชื่อผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน จากนั้นที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีมติเลือก นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสัดส่วนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 25 บัญญัติให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวนยี่สิบห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสิบคน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3/2550 วันที่ 22 มกราคม 2550 ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แจ้งรายชื่อผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน จากนั้นที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีมติเลือก [[ประสงค์ สุ่นศิริ|นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ]] กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสัดส่วนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  
นอกจากตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญยังมีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 12 คณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในทุกภาคส่วน เช่น คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคใต้, คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ 76 จังหวัด , คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
นอกจากตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญยังมีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 12 คณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในทุกภาคส่วน เช่น คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคใต้, คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ 76 จังหวัด , คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น


บรรทัดที่ 94: บรรทัดที่ 103:
ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติกำหนดให้วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เป็นวันเริ่มต้นนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน และกำหนดให้วันที่ 19 สิงหาคม 2550 ระหว่างเวลา 8.00 - 16.00 น.เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ  
ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติกำหนดให้วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เป็นวันเริ่มต้นนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน และกำหนดให้วันที่ 19 สิงหาคม 2550 ระหว่างเวลา 8.00 - 16.00 น.เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ  


คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รายงานผลการออกเสียงประชามติดังนี้ มีผู้มีสิทธิออกเสียง 45,092,955 คน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 25,978,954คน ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงจำนวน 14,727,306 คน ไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง จำนวน 10,747,441 คน ปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ
[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ได้รายงานผลการออกเสียงประชามติดังนี้ มีผู้มีสิทธิออกเสียง 45,092,955 คน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 25,978,954คน ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงจำนวน 14,727,306 คน ไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง จำนวน 10,747,441 คน ปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ


'''การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ'''
'''การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ'''
บรรทัดที่ 106: บรรทัดที่ 115:
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==
==หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ==


คู่มือการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิก
'''คู่มือการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ.''' กรุงเทพฯ : คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.
สมัชชาแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.
 
เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ:  
'''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร , 2550.
สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร , 2550.
 
สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ:คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่ง
'''สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย.''' กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548.
ราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548.
 
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ :  
'''สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ.''' กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.


==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==


คณะกรรมการศึกษาประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะที่ 2. ประมวลเหตุการณ์การจัดทำ
คณะกรรมการศึกษาประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะที่ 2. '''ประมวลเหตุการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการ
 
สภาผู้แทนราษฎร, 2551.  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549. '''ราชกิจจานุเบกษา ,''' เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2549.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549.  
 
ราชกิจจานุเบกษา , เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2549.
'''สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 19 สิงหาคม 2550 จำแนกตามรายภาค.''' ใน http://www.thprc.org/summary_of_referendum50.htm เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษาวิจัยการเมืองไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552.
สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 19 สิงหาคม 2550 จำแนกตามรายภาค.  
ใน http:// www.thprc.org/summary_of _ referendum 50 .htm เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษาวิจัย
การเมืองไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน
2552.


==ดูเพิ่มเติม==
==ดูเพิ่มเติม==


ประกาศสมัชชาแห่งชาติ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่าง
'''ประกาศสมัชชาแห่งชาติ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ.''' ใน http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa24-upload/24-20061122123748_p211149.pdf สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552.
รัฐธรรมนูญ. ใน http : www. parliament.go.th/parcy/sapa-db/ member-1 สืบค้นเมื่อ  
 
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552.  
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 123 ตอนที่ 117 ก วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549.
ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็น
 
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ . ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 117 ก วันที่ 17 พฤศจิกายน  
'''ประวัติสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ.''' กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.  
2549.  
 
ประวัติสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร, 2549.  


[[category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]]
[[category:รัฐธรรมนูญ]]
----
{|cellpadding="2" cellspacing="5" style="vertical-align:top;background-color:#ffffff;color:#000;width:100%"
! style="background-color:#fffff; font-size: 100%; border: 1px solid #afa3bf; text-align: left;  padding-left: 7px;  -moz-border-radius:7px"  |[[หน้าหลัก]] | [[กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ]]
|}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:48, 16 กรกฎาคม 2553

ผู้เรียบเรียง มาลินี คงรื่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ที่มาของสมัชชาแห่งชาติ

สมัชชาแห่งชาติมีขึ้นในประเทศไทยจำนวน 2 ครั้ง โดยมีที่มา วัตถุประสงค์ กระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516 เป็นการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 2,347 คน เพื่อคัดเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา โดยเรียกกันทั่วไปว่า “สภาสนามม้า”

ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน เพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2516

สมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2516[1] ภายหลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญในยุคนั้นคือเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 หลังจากเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว ทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุครัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออกจำนวนมากเหลือสมาชิกฯ เพียง 11 คน ต่อมาจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีได้ลาออกจากตำแหน่งตามเสียงเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีตามคำกราบบังคมทูลของนายทวี แรงคำ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

หลังจากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางรากฐานแห่งการปกครองเสียก่อน และทรงมีพระราชดำริว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ควรจะประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ อาชีพ วิชาความรู้ ตลอดจนทรรศนะและแนวความคิดทางการเมืองให้มาก และกว้างขวางที่สุด

สมัชชาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกหลากหลายอาชีพจำนวน 2,347 คน โดยให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเลือกสมาชิกด้วยกันเองเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

หลังจากนั้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2516 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน 299 คน และในวันที่ 18 ธันวาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ ราชตฤณมัยสมาคม (หรือสนามม้านางเลิ้ง) เพื่อให้สมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการต่อไปโดยมุ่งเน้นให้มีการร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลัก

การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ

การประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2516 โดยมีพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นประธานในที่ประชุม พระยามานวราชเสวี และ นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรองประธานที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติคนที่ 1 และคนที่ 2ตามลำดับ ในการประชุมครั้งนี้มีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่ได้รับการแต่งตั้งถึง 2,347 คน ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติทั้งหมดได้ จึงต้องใช้ราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถานที่จัดประชุมจึงเป็นที่มาของคำว่า “สภาสนามม้า” โดยที่ประชุมได้เลือกตัวแทนให้เหลือจำนวน 299 คน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในหลายสาขาอาชีพ เช่น นักการเมือง ข้าราชการ แพทย์ นักหนังสือพิมพ์ นักการธนาคาร นายกสมาคมสามล้อเครื่อง เป็นต้น ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังกล่าวตามมติสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2516 โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินี้ทำหน้าที่รัฐสภา

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ[2]

เพื่อให้เป็นไปตามมติมหาชนและให้เกิดความสงบเรียบร้อย รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยกรรมการจำนวน 18 คน มีนายประกอบ หุตะสิงห์ เป็นประธานคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาเป็นแนวทางในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้เวลาในการยกร่างเป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2517 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 169 วันที่ 7 ตุลาคม 2517

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกอบด้วย 11 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 238 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าเนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากสมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยนั้นเอง

สมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. 2549

หลังจากที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 นั้น และได้นำความกราบบังคมทูลเหตุที่ทำการยึดอำนาจ และประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 นั้น ก็โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพ ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน[3]

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยบัญญัติให้มีสมัชชาแห่งชาติ ดังนี้ มาตรา 20 ได้กำหนดให้มีสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า18 ปี มีจำนวนไม่เกิน 2,000 คน และมาตรา 22 บัญญัติให้สมัชชาแห่งชาติ มีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 200 คน ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก และในมาตรา 23 บัญญัติว่าเมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ 100 คน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต่อไป

จากนั้นให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งตามมาตรา 25 ดังนี้ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภา จำนวน 25 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ

ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน) ได้มีประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกความมั่นคงแห่งชาติ ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติลงวันที่ 19 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้ประกาศ ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2549 และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “กดส.” โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการนี้ได้กำหนดบัญชีบุคคลโดยคำนึงถึงบุคคลในกลุ่มต่างๆ จากทุกภูมิภาคของประเทศอย่างเหมาะสมดังนี้

ประเภทที่ 1 ผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม 767 คน

ประเภทที่ 2 ผู้แทนภาครัฐ 318 คน

ประเภทที่ 3 ผู้แทนภาคการเมืองและการปกครองท้องถิ่น 227 คน

ประเภทที่ 4 ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 16 คน

ประเภทที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ 302 คน

ประเภทที่ 6 นิสิต นักศึกษา 140 คน

ประเภทที่ 7 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการที่คณะรัฐมนตรีสรรหา

ประเภทที่ 8 ผู้แทนสาขาอาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาครัฐ 115 คน ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่ คมช. สรรหา 115 คน

ประเภทที่ 9 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่เหลือจากการสรรหาตามข้อ 5 โดยให้แบ่งจำนวนที่เหลือ หรือใกล้เคียงที่สุดเป็นสองส่วนโดยให้คณะรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้สรรหาเพิ่มแต่ละส่วนจนครบ 2,000 คน

ทั้งนี้ได้จัดประเภทบุคคล 9 ประเภท โดยแบ่งเป็นบุคคล 4 กลุ่ม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมและ ภาควิชาการ

จากนั้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติได้ดำเนินการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982 คน ดังนี้

ภาครัฐ จำนวน 574 คน

ภาคเอกชน จำนวน 545 คน

ภาคสังคม จำนวน 538 คน

ภาควิชาการ จำนวน 325 คน

การเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 21 กำหนดว่าในการประชุมสมัชชาแห่งชาติให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คือนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ) ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และให้การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปตามที่ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด ดังนั้นประธานสมัชชาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549[4] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพื่อเลือกสมาชิกกันเองให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน ซึ่งการประชุมมีขึ้นระหว่างวันอาทิตย์ที่ 17 ถึงวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549

ในวันที่ 17 ธันวาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ประกอบพิธีเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ ณ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หลังเสร็จพิธี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลา 17.40 นาฬิกา จากนั้นมีการประชุมเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ และนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสมัชชาแห่งชาติ จากนั้นปิดประชุมในเวลา 18.35 นาฬิกา

การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม 2549 เวลา 9.45 นาฬิกา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดประชุมและให้สมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อเป็นผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 200 คน โดยสมาชิกแต่ละคนจะเลือกได้คนละไม่เกิน 3 ชื่อ ผลการสรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้สมาชิกจำนวน 200 คน เมื่อดำเนินการเสร็จตามขั้นตอนแล้ว นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้แจ้งรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 200 คนไปที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้ทำการคัดเลือกผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเหลือเพียง 100 คน ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน ตามมาตรา 23 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ

การเลือกและแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ[5]

การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1/2550 วันที่ 8 มกราคม 2550 มีการเลือกประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายนรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง และนายเดโช สวนานนท์ เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนที่สอง จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 25 บัญญัติให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวนยี่สิบห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสิบคน ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3/2550 วันที่ 22 มกราคม 2550 ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้แจ้งรายชื่อผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน จากนั้นที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีมติเลือก นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสัดส่วนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญยังมีมติตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 12 คณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในทุกภาคส่วน เช่น คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคใต้, คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ 76 จังหวัด , คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

สภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ

ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 40/2550 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 เพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... ทั้งฉบับโดยใช้วิธีการลงคะแนนแบบเปิดเผยโดยเรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษร ผลการประชุมปรากฏว่าที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 98 เสียง จากจำนวนสมาชิก 100 คน ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงผ่านความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ

การประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติกำหนดให้วันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เป็นวันเริ่มต้นนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน และกำหนดให้วันที่ 19 สิงหาคม 2550 ระหว่างเวลา 8.00 - 16.00 น.เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้รายงานผลการออกเสียงประชามติดังนี้ มีผู้มีสิทธิออกเสียง 45,092,955 คน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 25,978,954คน ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงจำนวน 14,727,306 คน ไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียง จำนวน 10,747,441 คน ปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

วันที่ 24 สิงหาคม 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก วันที่ 24 สิงหาคม 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฉบับนี้ ประกอบด้วย 15 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 309 มาตรา และในวันที่ 30 สิงหาคม 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้จัดงานเลี้ยงฉลอง ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เนื่องในโอกาสประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเพื่อเป็นการขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้

อ้างอิง

  1. สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. ใน http:// politic. myfirstinfo.com/assembly.aspx สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552.
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ใน สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548. หน้า 421 - 422.
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2549.
  4. สำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, คู่มือการออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมควรเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ.
  5. ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง 11 มกราคม 2550.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คู่มือการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.

เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร , 2550.

สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัชชาแห่งชาติ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

บรรณานุกรม

คณะกรรมการศึกษาประเด็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะที่ 2. ประมวลเหตุการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549. ราชกิจจานุเบกษา , เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2549.

สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 19 สิงหาคม 2550 จำแนกตามรายภาค. ใน http://www.thprc.org/summary_of_referendum50.htm เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษาวิจัยการเมืองไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552.

ดูเพิ่มเติม

ประกาศสมัชชาแห่งชาติ เรื่อง การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ. ใน http://www.parliament.go.th/parcy/sapa_db/sapa24-upload/24-20061122123748_p211149.pdf สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552.

ประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 117 ก วันที่ 17 พฤศจิกายน 2549.

ประวัติสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.


หน้าหลัก | กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ