ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 20 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ | '''ผู้เรียบเรียง''' นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์ | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง | ||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
==ความเป็นมา== | ==ความเป็นมา== | ||
[[คณะราษฎร]]ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จำนวน 99 นาย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อยึดอำนาจได้แล้วมีการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารรวม 3 นาย เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศชั่วคราว | [[คณะราษฎร]]ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จำนวน 99 นาย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อยึดอำนาจได้แล้วมีการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารรวม 3 นาย เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศชั่วคราว ประกอบด้วย | ||
1. [[นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ]] เป็นหัวหน้า | 1. [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา]] เป็นหัวหน้า | ||
2. [[นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช]] | 2. [[พระยาทรงสุรเดช|นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช]] | ||
3. [[นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์]] <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 6.</ref> | 3. [[พระยาฤทธิอัคเนย์|นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์]] <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 6.</ref> | ||
ต่อมาคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน 70 คน | ต่อมาคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน 70 คน เพื่อทำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ใช้[[อำนาจอธิปไตย]]แทนปวงชนชาวไทยในด้านนิติบัญญัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 6.</ref> โดย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้แก่[[สภาผู้แทนราษฎร]]<ref>ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. '''42 ปี รัฐสภาไทย,''' กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, 2517 หน้า 17.</ref> เพื่อใช้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ซึ่งที่ประชุมได้เลือกมหาอำมาตย์เอก[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] เป็น[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] [[นายพลตรีพระยาอินทรวิชิต]] เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมเพื่อให้[[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]] ([[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]]) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงถือได้ว่าเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และถือว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 11.</ref> | ||
==สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งแรก== | ==สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งแรก== | ||
การจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกยังไม่มีกฎหมายรองรับจึงไม่มีงบประมาณและสถานที่ทำการของตนเอง ต้องอาศัย[[วังปารุสกวัน]]เป็นที่ทำการ โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 7 คน คือ หลวงคหกรรมบดี นายปพาฬ | การจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกยังไม่มีกฎหมายรองรับจึงไม่มีงบประมาณและสถานที่ทำการของตนเอง ต้องอาศัย[[วังปารุสกวัน]]เป็นที่ทำการ โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 7 คน คือ หลวงคหกรรมบดี นายปพาฬ บุญหลง นายสนิท ผิวนวล นายฉ่ำ จำรัสเนตร นายสุริยา กุณฑลจินดา นายน้อย สอนกล้าหาญ และนายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 7 คน ทำงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนเพราะในระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีการตั้งงบประมาณ ทำได้แต่เพียงการจัดอาหารให้เจ้าหน้าที่ทุกมื้อเท่านั้น <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 12.</ref> | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายครั้งแรก คือ กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายครั้งแรก คือ กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ที่ประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] วันที่ 19 พฤศจิกายน 2476 มีฐานะเป็นกรมขึ้นต่อ[[สภาผู้แทนราษฎร]]มีหน้าที่ดำเนินการธุรการของสภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในบังคับบัญชาของ[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] <ref>'''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 50 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2476</ref> | ||
ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พุทธศักราช 2476 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 เป็นผลให้กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎรและอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13.</ref> | ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พุทธศักราช 2476 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 เป็นผลให้กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎรและอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13.</ref> | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 27: | ||
==สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งที่สอง== | ==สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งที่สอง== | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีที่ทำการครั้งแรกอยู่ที่วังปารุสกวัน | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีที่ทำการครั้งแรกอยู่ที่วังปารุสกวัน แต่พอใกล้กำหนด[[การเลือกตั้ง]]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] [[นายกรัฐมนตรี]]ในขณะนั้นเห็นว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรควรมีที่ทำการถาวรจึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ แต่เจ้าพระยาวรพงศ์นิพัตน์ผู้สำเร็จราชการพระราชวังได้ทำการตกลงกับพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นให้ใช้อาคารสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์แทน ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ย้ายที่ทำการจากวังปารุสกวันไปอยู่ที่อาคารสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 14-15.</ref> | ||
วันที่ 19 สิงหาคม 2484 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 ให้ยกฐานะสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 10.</ref> | วันที่ 19 สิงหาคม 2484 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 ให้ยกฐานะสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 10.</ref> | ||
วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นผลให้ระบบสภาเปลี่ยนจากระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นระบบสองสภา | วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นผลให้ระบบสภาเปลี่ยนจากระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย[[พฤฒสภา]]และสภาผู้แทน <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 16.</ref> | ||
ในการนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่เดิมจึงแยกออกเป็น 2 สำนักงาน คือ | ในการนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่เดิมจึงแยกออกเป็น 2 สำนักงาน คือ | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 41: | ||
วันที่ 10 พฤษภาคม 2490 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490 ซึ่งกำหนดให้มีการรวมสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนและสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยเลขาธิการสภาผู้แทนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 18.</ref> | วันที่ 10 พฤษภาคม 2490 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490 ซึ่งกำหนดให้มีการรวมสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนและสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยเลขาธิการสภาผู้แทนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 18.</ref> | ||
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ได้มีการยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดย[[พลเอกผิน ชุณหะวัณ]] เป็นหัวหน้าคณะ <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 13.</ref> และได้มีการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใหม่ ซึ่ง[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับนี้กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสองประเภทมีจำนวนเท่ากัน คือ | วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ได้มีการยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดย[[พลเอกผิน ชุณหะวัณ]] เป็นหัวหน้าคณะ <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 13.</ref> และได้มีการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใหม่ ซึ่ง[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับนี้กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสองประเภทมีจำนวนเท่ากัน คือ สมาชิกประเภทที่หนึ่งมาจาก[[การเลือกตั้ง]]และสมาชิกประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้ง สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาซึ่งเป็นหน่วยงานที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสภาจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 20-21.</ref> | ||
ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นโดย[[จอมพลสฤษดิ์ | ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นโดย[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เป็นหัวหน้าคณะได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่าง[[รัฐธรรมนูญ]]ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติไปพร้อมกัน ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการตามภารกิจของ[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 14.</ref> | ||
[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ได้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 แล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติประกอบด้วย[[วุฒิสภา]]และสภาผู้แทน ทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องเปลี่ยนเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 15.</ref> ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2511 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2511 กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของวุฒิสภาและสภาผู้แทน | [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]ได้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 แล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติประกอบด้วย[[วุฒิสภา]]และสภาผู้แทน ทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องเปลี่ยนเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง,''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 15.</ref> ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2511 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2511 กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของวุฒิสภาและสภาผู้แทน และให้อยู่ในบังคับบัญชาของ[[ประธานวุฒิสภา]]หรือประธานสภาผู้แทนแล้วแต่กรณี เพื่อให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภารองรับการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา สภาผู้แทน และการประชุมร่วมกันของรัฐสภาด้วย <ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.''' 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 23-24.</ref> | ||
==สถานที่ทำการของสำนักงานปัจจุบัน== | ==สถานที่ทำการของสำนักงานปัจจุบัน== | ||
วันที่ 17 มิถุนายน 2512 [[คณะรัฐมนตรี]]ที่มี[[จอมพลถนอม กิตติขจร]] เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลงมติอนุมัติให้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บริเวณถนนอู่ทองใน | วันที่ 17 มิถุนายน 2512 [[คณะรัฐมนตรี]]ที่มี[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลงมติอนุมัติให้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บริเวณถนนอู่ทองใน | ||
ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ในเนื้อที่เกือบ 20 ไร่ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหน่วยรถถัง กรมตำรวจ ด้วยวงเงิน 78,112,628 บาท สำหรับสร้างอาคาร 3 หลัง คือ | ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ในเนื้อที่เกือบ 20 ไร่ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหน่วยรถถัง กรมตำรวจ ด้วยวงเงิน 78,112,628 บาท สำหรับสร้างอาคาร 3 หลัง คือ | ||
'''อาคารหลังที่ 1''' | '''อาคารหลังที่ 1''' เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้ | ||
ชั้นที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ใช้เป็นที่ติดต่องานทั่วไปกับสมาชิกสภาและบุคคลภายนอก | ชั้นที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ใช้เป็นที่ติดต่องานทั่วไปกับสมาชิกสภาและบุคคลภายนอก | ||
บรรทัดที่ 66: | บรรทัดที่ 66: | ||
เมื่อได้ดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างอาคาร 3 หลังแล้ว ปรากฎว่า บริษัท พระนครก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจึงเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและได้ทำสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513 ในราคาค่าก่อสร้าง 51,027,360 บาท กำหนดเวลาแล้วเสร็จภายใน 850 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา | เมื่อได้ดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างอาคาร 3 หลังแล้ว ปรากฎว่า บริษัท พระนครก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจึงเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและได้ทำสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513 ในราคาค่าก่อสร้าง 51,027,360 บาท กำหนดเวลาแล้วเสร็จภายใน 850 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา | ||
ตึกอาคารรัฐสภาทั้ง 3 หลัง ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2515 แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เวลา 12.59 นาฬิกา และนอกจากอาคารทั้ง 3 หลังนี้แล้วยังทำการก่อสร้างอาคารอื่นๆ อีก 3 หลัง สำหรับเป็นที่รับรองแขกของสมาชิกรัฐสภา | ตึกอาคารรัฐสภาทั้ง 3 หลัง ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2515 แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เวลา 12.59 นาฬิกา และนอกจากอาคารทั้ง 3 หลังนี้แล้วยังทำการก่อสร้างอาคารอื่นๆ อีก 3 หลัง สำหรับเป็นที่รับรองแขกของสมาชิกรัฐสภา เป็นที่เก็บยานพาหนะและกองรักษาการณ์ ซึ่งตึกอาคารรัฐสภาได้สร้างแล้วเสร็จใช้เป็นที่ประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2517 จึงถือได้ว่าสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาได้ย้ายที่ทำการตั้งแต่วันนั้น | ||
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้มีการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาที่อิสระจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า “โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติ ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหารเพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น | วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้มีการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาที่อิสระจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า “โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติ ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหารเพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบ[[ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา]]โดยเฉพาะ และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตรา[[พระราชบัญญัติ]]นี้ขึ้น” | ||
พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 กำหนดให้มีส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา ดังนี้ | พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 กำหนดให้มีส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 76: | บรรทัดที่ 76: | ||
(2) ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น | (2) ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น | ||
ส่วนราชการตาม (1) และ (2) มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล การจัดตั้ง การยุบ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการตาม (1) หรือ (2) ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นจะแบ่งเป็นฝ่าย กอง แผนก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าฝ่าย | ส่วนราชการตาม (1) และ (2) มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล การจัดตั้ง การยุบ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการตาม (1) หรือ (2) ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นจะแบ่งเป็นฝ่าย กอง แผนก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าฝ่าย กองหรือแผนก ตามที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) กำหนดก็ได้ | ||
ในการแยกสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารนั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารราชการของตนเอง ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้ “ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา | ในการแยกสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารนั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารราชการของตนเอง ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้ “ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา นอกจากนี้บทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา) อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย | ||
ในวันที่ 1 เมษายน 2535 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดังนี้ | ในวันที่ 1 เมษายน 2535 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดังนี้ | ||
(1) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | (1) [[สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา]] | ||
(2) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | (2) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | ||
บรรทัดที่ 138: | บรรทัดที่ 138: | ||
==รายชื่อผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร== | ==รายชื่อผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร== | ||
ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ นายชัย | ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ [[ชัย ชิดชอบ|นายชัย ชิดชอบ]] [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] โดยนายพิทูร พุ่มหิรัญ เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมีรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 คน มีหน้าที่ช่วยเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการปฏิบัติหน้าที่ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ คือ | ||
1. นางอุมาสีว์ | 1. นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม | ||
2. นายวัชรินทร์ | 2. นายวัชรินทร์ จอมพลาพล | ||
3. นายคัมภีร์ | 3. นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ | ||
4. นายสมพล | 4. นายสมพล วณิคพันธุ์ | ||
5. นายสุวิจักขณ์ | 5. นายสุวิจักขณ์ นาควัชระ | ||
6. นางศุภมาส | 6. นางศุภมาส น้อยจันทร์ | ||
7. นายจเร | 7. นายจเร พันธุ์เปรื่อง | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
บรรทัดที่ 164: | บรรทัดที่ 164: | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551. | ||
ประเสริฐ | ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. '''42 ปี รัฐสภาไทย.''' กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, 2517. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''77 ปี รัฐสภาไทย.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. '''77 ปี รัฐสภาไทย.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552. | ||
[[ | [[หมวดหมู่:สมาชิกรัฐสภา]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:06, 20 กรกฎาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
ความเป็นมา
คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จำนวน 99 นาย ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อยึดอำนาจได้แล้วมีการตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารรวม 3 นาย เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศชั่วคราว ประกอบด้วย
1. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า
3. นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ [1]
ต่อมาคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน 70 คน เพื่อทำหน้าที่ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทยในด้านนิติบัญญัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 [2] โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้แก่สภาผู้แทนราษฎร[3] เพื่อใช้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ซึ่งที่ประชุมได้เลือกมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพลตรีพระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมเพื่อให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงถือได้ว่าเป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และถือว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 [4]
สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งแรก
การจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในระยะเริ่มแรกยังไม่มีกฎหมายรองรับจึงไม่มีงบประมาณและสถานที่ทำการของตนเอง ต้องอาศัยวังปารุสกวันเป็นที่ทำการ โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวน 7 คน คือ หลวงคหกรรมบดี นายปพาฬ บุญหลง นายสนิท ผิวนวล นายฉ่ำ จำรัสเนตร นายสุริยา กุณฑลจินดา นายน้อย สอนกล้าหาญ และนายประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 7 คน ทำงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนเพราะในระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีการตั้งงบประมาณ ทำได้แต่เพียงการจัดอาหารให้เจ้าหน้าที่ทุกมื้อเท่านั้น [5]
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายครั้งแรก คือ กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรมแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2476 มีฐานะเป็นกรมขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ดำเนินการธุรการของสภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร [6]
ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พุทธศักราช 2476 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 เป็นผลให้กรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎรและอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร [7]
สถานที่ทำการของสำนักงานแห่งที่สอง
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีที่ทำการครั้งแรกอยู่ที่วังปารุสกวัน แต่พอใกล้กำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเห็นว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรควรมีที่ทำการถาวรจึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขอพระราชทานพระตำหนักราชฤทธิ์รุ่งโรจน์เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ แต่เจ้าพระยาวรพงศ์นิพัตน์ผู้สำเร็จราชการพระราชวังได้ทำการตกลงกับพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นให้ใช้อาคารสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์แทน ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ย้ายที่ทำการจากวังปารุสกวันไปอยู่ที่อาคารสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ [8]
วันที่ 19 สิงหาคม 2484 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 ให้ยกฐานะสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎร [9]
วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เป็นผลให้ระบบสภาเปลี่ยนจากระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทน [10]
ในการนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่เดิมจึงแยกออกเป็น 2 สำนักงาน คือ
2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน [11]
วันที่ 10 พฤษภาคม 2490 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490 ซึ่งกำหนดให้มีการรวมสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนและสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยเลขาธิการสภาผู้แทนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภา [12]
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ได้มีการยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดยพลเอกผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าคณะ [13] และได้มีการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสองประเภทมีจำนวนเท่ากัน คือ สมาชิกประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้งและสมาชิกประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้ง สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาซึ่งเป็นหน่วยงานที่รองรับการปฏิบัติหน้าที่ของสภาจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2495 ซึ่งกำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นต่อสภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในบังคับบัญชาของประธานสภาผู้แทนราษฎร [14]
ต่อมาวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติไปพร้อมกัน ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการตามภารกิจของสภาร่างรัฐธรรมนูญ [15]
สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 แล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทน ทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องเปลี่ยนเป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา [16] ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2511 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2511 กำหนดให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นกรม มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการฝ่ายธุรการของวุฒิสภาและสภาผู้แทน และให้อยู่ในบังคับบัญชาของประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนแล้วแต่กรณี เพื่อให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภารองรับการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภา สภาผู้แทน และการประชุมร่วมกันของรัฐสภาด้วย [17]
สถานที่ทำการของสำนักงานปัจจุบัน
วันที่ 17 มิถุนายน 2512 คณะรัฐมนตรีที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลงมติอนุมัติให้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บริเวณถนนอู่ทองใน ด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ในเนื้อที่เกือบ 20 ไร่ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหน่วยรถถัง กรมตำรวจ ด้วยวงเงิน 78,112,628 บาท สำหรับสร้างอาคาร 3 หลัง คือ
อาคารหลังที่ 1 เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ใช้เป็นที่ติดต่องานทั่วไปกับสมาชิกสภาและบุคคลภายนอก
ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสภา สามารถจัดให้สมาชิกร่วมประชุมได้ถึง 450 คน และมีที่ให้ประชาชนและสื่อมวลชนเข้าฟังการประชุม และสังเกตการณ์ได้ไม่น้อยกว่า 200 คน
ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุมกรรมาธิการทั้งของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรโดยจัดแบ่งเป็นห้องๆ เล็กใหญ่ ตามความต้องการอย่างเพียงพอ
อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคาร 7 ชั้น ชั้นล่างเป็นโรงพิมพ์ของรัฐสภา ต่อจากนั้นก็จัดเป็นห้องรับรอง ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ของรัฐสภา และห้องทำงานของสมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทน
อาคารหลังที่ 3 เป็นสโมสรสูง 2 ชั้น สามารถให้การบริการแก่สมาชิกเกี่ยวกับอาหารและเครื่องมือ ตลอดจนบริการทั่วๆ ไป ในเรื่องการกีฬาและบันเทิงด้วย
เมื่อได้ดำเนินการประกวดราคาก่อสร้างอาคาร 3 หลังแล้ว ปรากฎว่า บริษัท พระนครก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจึงเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและได้ทำสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2513 ในราคาค่าก่อสร้าง 51,027,360 บาท กำหนดเวลาแล้วเสร็จภายใน 850 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา
ตึกอาคารรัฐสภาทั้ง 3 หลัง ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2515 แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน เวลา 12.59 นาฬิกา และนอกจากอาคารทั้ง 3 หลังนี้แล้วยังทำการก่อสร้างอาคารอื่นๆ อีก 3 หลัง สำหรับเป็นที่รับรองแขกของสมาชิกรัฐสภา เป็นที่เก็บยานพาหนะและกองรักษาการณ์ ซึ่งตึกอาคารรัฐสภาได้สร้างแล้วเสร็จใช้เป็นที่ประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2517 จึงถือได้ว่าสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาได้ย้ายที่ทำการตั้งแต่วันนั้น
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้มีการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาที่อิสระจากฝ่ายบริหาร ซึ่งมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า “โดยที่ในปัจจุบันข้าราชการที่ปฏิบัติราชการให้แก่สภานิติบัญญัติ ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยราชการของฝ่ายบริหารเพราะมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือน แต่โดยสภาพของการปฏิบัติราชการควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภานิติบัญญัติโดยตรง เพราะจะทำให้สภานิติบัญญัติสามารถปรับปรุงระเบียบปฏิบัติราชการของข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้มีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้แก่ราชการของสภานิติบัญญัติได้มากยิ่งขึ้น จึงสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาโดยเฉพาะ และเพื่อการนี้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น”
พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 กำหนดให้มีส่วนราชการในสังกัดรัฐสภา ดังนี้
(1) สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
(2) ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ส่วนราชการตาม (1) และ (2) มีฐานะเทียบเท่ากรมและเป็นนิติบุคคล การจัดตั้ง การยุบ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการตาม (1) หรือ (2) ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นจะแบ่งเป็นฝ่าย กอง แผนก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าฝ่าย กองหรือแผนก ตามที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) กำหนดก็ได้
ในการแยกสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารนั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารราชการของตนเอง ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518 โดยกำหนดให้ “ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา” หมายความว่า บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา นอกจากนี้บทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา) อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ในวันที่ 1 เมษายน 2535 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดังนี้
(2) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
(3) ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นผลให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแบ่งออกเป็น 2 สำนักงาน คือ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
โครงสร้างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปัจจุบัน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2545 ได้มีความพยายามในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและระบบงานของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีประกาศรัฐสภาเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545 โดยแบ่งส่วนราชการภายใน เป็น 19 สำนัก คือ
(1) สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร
(2) สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
(3) สำนักบริหารงานกลาง
(4) สำนักพัฒนาบุคลากร
(5) สำนักการคลังและงบประมาณ
(6) สำนักการพิมพ์
(7) สำนักรักษาความปลอดภัย
(8) สำนักประชาสัมพันธ์
(9) สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
(10) สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
(11) สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(12) สำนักวิชาการ
(13) สำนักสารสนเทศ
(14) สำนักการประชุม
(15) สำนักกฎหมาย
(16) สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
(17) สำนักกรรมาธิการ 1
(18) สำนักกรรมาธิการ 2
(19) สำนักกรรมาธิการ 3
การปรับโครงสร้างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวเป็นการยกฐานะหน่วยงานภายในระดับกองขึ้นเป็นหน่วยงานระดับสำนัก โดยในแต่ละสำนักแบ่งเป็นกลุ่มงาน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งหน่วยงานระดับกลุ่มงานที่ขึ้นตรงต่อเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 3 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มงานนโยบายและแผน และกลุ่มงานตรวจสอบภายใน
ในวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ได้มีประกาศรัฐสภาเรื่อง แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 เพื่อจัดตั้งสำนักภาษาต่างประเทศ และต่อมาได้มีกลุ่มช่วยอำนวยการนักบริหาร จึงทำให้ในปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยหน่วยงานภายใน 20 สำนัก กับ 4 กลุ่มงาน [18]
รายชื่อผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยนายพิทูร พุ่มหิรัญ เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมีรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 7 คน มีหน้าที่ช่วยเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการปฏิบัติหน้าที่ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ คือ
1. นางอุมาสีว์ สอาดเอี่ยม
2. นายวัชรินทร์ จอมพลาพล
3. นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์
4. นายสมพล วณิคพันธุ์
5. นายสุวิจักขณ์ นาควัชระ
6. นางศุภมาส น้อยจันทร์
7. นายจเร พันธุ์เปรื่อง
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 6.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 6.
- ↑ ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. 42 ปี รัฐสภาไทย, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, 2517 หน้า 17.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 11.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 50 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2476
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 13.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 14-15.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 10.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 16.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 11.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 18.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 13.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 20-21.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 14.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เอกสารประกอบนิทรรศการพระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธีและนิทรรศการบทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552, หน้า 15.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 23-24.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551, กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551, หน้า 27-46.
บรรณานุกรม
สำนักวิชาการ. เอกสารประกอบนิทรรศการ “พระปกเกล้าฯ มหาปรัชญาเมธี” และนิทรรศการ” บทบาทของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกับพัฒนาการทางการเมือง”. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2551.
ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. 42 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่าง, 2517.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 77 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์, 2552.