ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาคมอาเซียน"
ล หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' พัชร์ นิยมศิลป ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
== ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย == | == ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย == | ||
ประชาคมอาเซียนนั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN) ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศกัมพูชา ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ที่ตกลงกันว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรจะสร้างความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง และมั่นคง เพื่อให้ประเทศสมาชิกนั้นมีความใกล้ชิดและเป็นหนึ่งเดียวกัน | ประชาคมอาเซียนนั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศกัมพูชา ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ที่ตกลงกันว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรจะสร้างความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง และมั่นคง เพื่อให้ประเทศสมาชิกนั้นมีความใกล้ชิดและเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจาก[[การประชุมสุดยอดอาเซียน]]ครั้งที่ 21 ที่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้น ทำให้ประชาคมอาเซียนจะมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2015 | ||
== ประวัติความเป็นมา == | == ประวัติความเป็นมา == | ||
ความพยายามในการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นมิใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหากแต่ได้มีแนวคิดนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง | ความพยายามในการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นมิใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหากแต่ได้มีแนวคิดนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดย[[ปรีดี พนมยงค์]]เสนอความคิดที่จะจัดตั้ง “[[สันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]” (Southeast Asian League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เนื่องจากท่านเห็นว่า ไทยซึ่งไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของการล่าอาณานิคมนั้นกลายเป็นศูนย์กลางของประเทศที่ต้องการปลดแอกจากลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย ถ้าประเทศเหล่านี้แตกแยกกันก็จะอยู่ได้ลำบาก แต่หากรวมกันได้ก็จะเป็นพลังสำคัญ ในครั้งนั้นมีลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนิเซีย มอญ และไทยใหญ่มาร่วมประชุมริเริ่มกันโดยยึดถือหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peaceful co-existence) และความเป็นกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีการรวมตัวครั้งนี้ก็ไม่ได้เกิดการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรมนักเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ | ||
ต่อมาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้มีความพยายามในการจัดตั้งเวทีความร่วมมือขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) สมาคมแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASA) Maphilindo SEAARC | ต่อมาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้มีความพยายามในการจัดตั้งเวทีความร่วมมือขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น [[SEATO|องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO)]] สมาคมแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASA) Maphilindo SEAARC เป็นต้นจนกระทั่งประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการลงนามใน[[ปฏิญญากรุงเทพ]] เพื่อก่อตั้งอาเซียนขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีรัฐสมาชิกเข้าร่วมการก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย จนกระทั่งครบทั้ง 10 ประเทศ เมื่อปี 1999 | ||
หลังจากที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว ก็ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม ค.ศ.1997 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียผู้นำประเทศได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 โดยกำหนดว่า ภายใน ค.ศ.2020 นั้น อาเซียนจะเป็น | หลังจากที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว ก็ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม ค.ศ.1997 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียผู้นำประเทศได้รับรองเอกสาร[[ วิสัยทัศน์อาเซียน 2020]] โดยกำหนดว่า ภายใน ค.ศ.2020 นั้น อาเซียนจะเป็น | ||
1.วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (A Concert of Southeast Asian Nations) | 1.วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (A Concert of Southeast Asian Nations) | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
4.ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (A Community of Caring Societies) | 4.ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (A Community of Caring Societies) | ||
โดยเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ในวันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย | โดยเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ในวันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เหล่าผู้นำประเทศอาเซียนก็ได้ลงนามใน[[ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2|ปฏิญญาความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2]] (Bali Concord II)เพื่อให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ภายในปี ค.ศ.2020 ต่อมาการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 11-14 มกราคม 2007 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เหล่าผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน[[ปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ.2015|ปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 ]] เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นภายในปี 2015 อันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้อาเซียน สามารถปรับตัวและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการเร่งรัดให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและภูมิภาค | ||
== เป้าหมายและวัตถุประสงค์ == | == เป้าหมายและวัตถุประสงค์ == | ||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
== โครงสร้างของประชาคมอาเซียน == | == โครงสร้างของประชาคมอาเซียน == | ||
จากวัตถุประสงค์ของ[[กฎบัตรอาเซียน]] ที่ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญใน 3 เรื่องใหญ่ๆ ซึ่งได้แก่เรื่อง เศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม อันนำมาสู่การจัดตั้ง 3 เสา ของประชาคมอาเซียน อันประกอบด้วย | |||
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC-ASEAN Security Community): เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นถึงความมั่นคง และสันติภาพ ที่จะเกิดขึ้นภายในภูมิภาค เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ | 1.[[ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน]] (ASC-ASEAN Security Community): เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นถึงความมั่นคง และสันติภาพ ที่จะเกิดขึ้นภายในภูมิภาค เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ | ||
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC-ASEAN Economic Community) : เป็นการรวมตัวของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น มีความเป็นปึกแผ่น เพื่อส่งเสริมในเรื่องการค้า ทั้งในและนอกภูมิภาค | 2.[[ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน]] (AEC-ASEAN Economic Community) : เป็นการรวมตัวของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น มีความเป็นปึกแผ่น เพื่อส่งเสริมในเรื่องการค้า ทั้งในและนอกภูมิภาค | ||
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC- ASEAN Socio-Cultural Community) : เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นเกี่ยวกับทางด้านสังคม มุ่งเน้นถึงประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงในความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนอาเซียน | 3.[[ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน]] (ASCC- ASEAN Socio-Cultural Community) : เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นเกี่ยวกับทางด้านสังคม มุ่งเน้นถึงประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงในความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนอาเซียน | ||
นอกจากนั้นอาเซียนยังได้มีความพยายามพัฒนาเสาที่ 4คือเสาภาคประชาสังคมประกอบด้วยหุ้นส่วนต่างๆ ในสังคม ทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เป็นต้น ในการเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีขีดจำกัดความสามารถที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นให้ความสำคัญที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง | นอกจากนั้นอาเซียนยังได้มีความพยายามพัฒนาเสาที่ 4คือเสาภาคประชาสังคมประกอบด้วยหุ้นส่วนต่างๆ ในสังคม ทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เป็นต้น ในการเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีขีดจำกัดความสามารถที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นให้ความสำคัญที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:16, 26 ธันวาคม 2557
ผู้เรียบเรียง พัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย
ประชาคมอาเซียนนั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศบรูไน ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศกัมพูชา ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ที่ตกลงกันว่าประเทศสมาชิกอาเซียนควรจะสร้างความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง และมั่นคง เพื่อให้ประเทศสมาชิกนั้นมีความใกล้ชิดและเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ที่เมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้น ทำให้ประชาคมอาเซียนจะมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2015
ประวัติความเป็นมา
ความพยายามในการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้นมิใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหากแต่ได้มีแนวคิดนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยปรีดี พนมยงค์เสนอความคิดที่จะจัดตั้ง “สันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Southeast Asian League) ขึ้นในปี ค.ศ. 1947 เนื่องจากท่านเห็นว่า ไทยซึ่งไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของการล่าอาณานิคมนั้นกลายเป็นศูนย์กลางของประเทศที่ต้องการปลดแอกจากลัทธิอาณานิคมของฝรั่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย ถ้าประเทศเหล่านี้แตกแยกกันก็จะอยู่ได้ลำบาก แต่หากรวมกันได้ก็จะเป็นพลังสำคัญ ในครั้งนั้นมีลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนิเซีย มอญ และไทยใหญ่มาร่วมประชุมริเริ่มกันโดยยึดถือหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peaceful co-existence) และความเป็นกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดีการรวมตัวครั้งนี้ก็ไม่ได้เกิดการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรมนักเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาซึ่งมีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
ต่อมาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้มีความพยายามในการจัดตั้งเวทีความร่วมมือขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) สมาคมแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASA) Maphilindo SEAARC เป็นต้นจนกระทั่งประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียนขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีรัฐสมาชิกเข้าร่วมการก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย จนกระทั่งครบทั้ง 10 ประเทศ เมื่อปี 1999
หลังจากที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว ก็ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม ค.ศ.1997 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียผู้นำประเทศได้รับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 โดยกำหนดว่า ภายใน ค.ศ.2020 นั้น อาเซียนจะเป็น
1.วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (A Concert of Southeast Asian Nations)
2.หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต (A Partnership of Dynamic Development)
3.มุ่งปฏิสัมพันธ์กับภายนอกประเทศ (An Outward-Looking ASEAN)
4.ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (A Community of Caring Societies)
โดยเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ในวันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เหล่าผู้นำประเทศอาเซียนก็ได้ลงนามในปฏิญญาความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 (Bali Concord II)เพื่อให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น ภายในปี ค.ศ.2020 ต่อมาการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 11-14 มกราคม 2007 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เหล่าผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2015 เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นภายในปี 2015 อันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้อาเซียน สามารถปรับตัวและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการเร่งรัดให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกและภูมิภาค
เป้าหมายและวัตถุประสงค์
การผนึกกำลังของประเทศสมาชิกอาเซียน สู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น เป็นการรวมตัวกันเพื่อให้มีความใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิก และเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้เป็นประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม และรับมือกับภัยคุกคามในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการรวมเป็นประชาคมอาเซียนนั้นก็เพื่อที่จะสามารสร้างโอกาสที่มากขึ้นให้กับภูมิภาคและประเทศในภูมิภาค ในการเจรจาต่อรองกับภูมิภาคอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆได้มากขึ้น ตลอดจนประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
โครงสร้างของประชาคมอาเซียน
จากวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน ที่ได้ระบุถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญใน 3 เรื่องใหญ่ๆ ซึ่งได้แก่เรื่อง เศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม อันนำมาสู่การจัดตั้ง 3 เสา ของประชาคมอาเซียน อันประกอบด้วย
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC-ASEAN Security Community): เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นถึงความมั่นคง และสันติภาพ ที่จะเกิดขึ้นภายในภูมิภาค เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC-ASEAN Economic Community) : เป็นการรวมตัวของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น มีความเป็นปึกแผ่น เพื่อส่งเสริมในเรื่องการค้า ทั้งในและนอกภูมิภาค
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC- ASEAN Socio-Cultural Community) : เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นเกี่ยวกับทางด้านสังคม มุ่งเน้นถึงประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงในความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนอาเซียน
นอกจากนั้นอาเซียนยังได้มีความพยายามพัฒนาเสาที่ 4คือเสาภาคประชาสังคมประกอบด้วยหุ้นส่วนต่างๆ ในสังคม ทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เป็นต้น ในการเข้ามาดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีขีดจำกัดความสามารถที่สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นให้ความสำคัญที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ผลจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน
การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนนั้น จะเกิดผลดีทั้งต่ออาเซียนเองและต่อประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย กล่าวคือจะทำให้อาเซียนนั้นเป็นภูมิภาคที่แข็งแกร่ง และปลอดภัยจากการเอารัดเอาเปรียบของประเทศนอกภูมิภาคเพราะการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสานั้น จะช่วยให้อาเซียนมีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ อาเซียนจะมีอำนาจในการต่อรองกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในการเจรจาต่อรองในด้านเศรษฐกิจกับ นอกจากนั้นการรวมตัวและการมีความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นจะยังผลให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถประสานกำลังกันรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคและจากภายนอกภูมิภาคได้ดีขึ้น กล่าวโดยย่อผลของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนก็เพื่อที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่เข้มแข็งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม มีการพัฒนาอย่างสมดุลซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกๆด้าน
เอกสารอ้างอิง
กรมอาเซียนกระทรวงต่างประเทศ. “ประชาคมอาเซียน.” วารสารดำรงราชานุภาพ.ปีที่12,ฉบับที่ 45 (ตุลาคม-ธันวาคม 2552): 2.
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. เราคืออาเซียน สู่ประชาคมอาเซียน 2558 . กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.,2556.
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.ASEAN Mini book .กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ,2556.
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 58 คำตอบ สู่ประชาคมอาเซียน 2558 .กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ., 2556.
กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร .ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2556.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ.2557.ครั้งแรกกับท่านปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2513 กับครั้งสุดท้ายในบางกอก สยามประเทศ พ.ศ. 2544. http://www.charnvitkasetsiri.com/Pridi-Phoonsuk%20by%20CK.htm (Accessed June 12, 2014)
ไพศาล หรูพานิชกิจ. เอเชียตะวันออก บนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2553.
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย. ประชาคมอาเซียนในมุมมองของศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย . กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์เดือนตุลา., 2555.
สุริยา จินดาวงษ์ .2555.“อาเซียนในภาพรวม.” http://www.mfa.go.th/asean/th/asean-media-center/2417/page-2.html (accessed May22 ,2014).
The ASEAN Secretariat. 2014. Overview about ASEAN.The ASEAN Secretariat. http://www.asean.org/asean/about-asean/overview(accessed May 22 ,2014).