ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดประชาธิปไตยหรือวัดพระศรีมหาธาตุ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้แต่ง''' : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | ---- | ||
วัดประชาธิปไตย หลายคนนึกไม่ออกและบอกไม่ถูก ที่เคยเห็นคือ[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย|อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]ที่กลางถนนราชดำเนิน ที่เห็นอีกแห่งก็คือ[[ถนนประชาธิปไตย|ถนนประชาธิปไตย]] ซึ่งได้แก่ถนนจากเชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านมาทางสี่แยกวิสุทธกษัตริย์ วัดทางซ้ายมือก็เป็นวัดตรีทศเทพ วัดประชาธิปไตยไม่ได้ตั้งอยู่ที่สองฝั่งถนนประชาธิปไตยที่ว่านี้เลย | |||
ชื่อวัดประชาธิปไตยนี้เป็นชื่อที่ทางการคิดจะตั้งเป็นชื่อวัดที่ทางรัฐบาลจะสร้างขึ้นมาภายหลัง[[เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน_พ.ศ._2475|เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475]] ต้องการให้เป็นอนุสรณ์ของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย โดย[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] [[พลตรีหลวงพิบูลสงคราม|พลตรีหลวงพิบูลสงคราม]]ได้นำเรื่องเข้าหารือใน[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยมีความเห็นว่าชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน และเมืองไทยก็เป็นเมืองพุทธสร้างวัดเป็นที่ระลึกก็จะเป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป | |||
ทั้งนี้ได้ตั้งใจว่าจะสร้างให้เสร็จทันเปิดได้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คือปีถัดมา สถานที่จะสร้างนั้นก็เลือกเอาบริเวณใกล้กับที่ตั้ง[[อนุสาวรีย์ปราบกบฏ|อนุสาวรีย์ปราบกบฏ]]ที่หลักสี่ ซึ่งก็ประมาณกิโลเมตรที่ 18 ของถนนพหลโยธิน อยู่ตรงข้ามกับสำนักงานเขตบางเขนนั่นเอง และหากเลยจากวัดขึ้นไปทางเหนือที่กลางวงเวียนหลักสี่ ก็จะได้เห็นอนุสาวรีย์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองอันสำคัญตั้งอยู่นั่นก็คือ[[อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ|อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ]] หรือ[[อนุสาวรีย์ปราบกบฏ|อนุสาวรีย์ปราบกบฏ]]ด้วย | |||
แต่ขณะที่ดำเนินการสร้างวัดนี้ คณะทูตพิเศษของ[[รัฐบาล|รัฐบาล]]ที่มี[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์|หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] เป็นหัวหน้าคณะได้เดินทางไปเยือนและสร้างสัมพันธไมตรีกับดินแดนในเอเชีย คุณหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์นี้ก็ไม่ใช่ใครอื่นเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คนหนึ่งด้วยเหมือนกัน และที่อินเดียซึ่งในตอนนั้นยังเป็นดินแดนที่อยู่ในความดูแลของอังกฤษนี่เองที่ทางคณะทูตพิเศษได้สิ่งที่ทรงคุณค่าสำคัญมากทางพระพุทธศาสนา คือ พระบรมสารีริกธาตุและกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ จากต้นโพธิ์ที่เชื่อกันว่าสืบเนื่องมาจากต้นเดิมที่พระพุทธเจ้า เสด็จประทับและตรัสรู้ที่พุทธคยา ทั้งยังได้ดินจากสถานที่สำคัญทางศาสนาพุทธคือจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้ามาด้วย | |||
การที่รัฐบาลไทยได้สิ่งอันเป็นมงคลทางพระศาสนามา และได้นำมาประดิษฐานไว้ยังวัดที่สร้างกันขึ้นใหม่ ชื่อวัดที่คิดไว้ในทางประวัติศาสตร์การเมืองจึงเปลี่ยนมาเป็นทางศาสนาว่า “วัดพระศรีมหาธาตุ” | |||
ในการก่อสร้างวัดใหม่แห่งนี้ ทางรัฐบาลได้มอบให้[[หลวงเสรีเริงฤทธิ์|พันเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์]] ตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ[[กระทรวงเศรษฐการ|กระทรวงเศรษฐการ]] และอธิบดีกรมรถไฟเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง หลวงเสรีฯ ผู้นี้เป็นหนึ่งในทหารที่ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ทั้งในการก่อสร้างนี้ยังได้[[หลวงวิจิตรวาทการ|หลวงวิจิตรวาทการ]] อธิบดีกรมศิลปากร มาร่วมงานกันด้วย รายละเอียดในการสร้างวัดบางตอนได้มีพิมพ์เผยแพร่อยู่ด้วยในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ มีความที่น่าสนใจ | |||
“พระบรมสารีริกธาตุนี้บรรจุอยู่ในผอบหินแร่ กลมกลึงมีส่วนสูง 3 นิ้ว พบในสถูปหมายเลขอักษร อาร์ 4 ที่สถูปธรรมราชิก เมืองตักสิลา เมื่อได้ขุดลึกลงไป 9 ฟุต ในผอบนั้นบรรจุกล่องทองคำมีส่วนสูง 13/16 นิ้ว ภายในมีพระบรมอัฏฐิชิ้นเล็ก ๆ และพระอังคาร มีเศษพลอยคอร์นีเรียน” | |||
ประเทศไทยได้ส่วนหนึ่งของพระบรมสารีริกธาตุนี้มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ของวัด ถ้าไปที่วัดพระศรีมหาธาตุจะเห็นพระเจดีย์ทรงกลมที่หน้าโบสถ์สูง 38 เมตร สร้างขึ้นเป็นเจดีย์ 2 ชั้น พระบรมสารีริกธาตุนั้นบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์เล็กซึ่งอยู่ชั้นใน ทางด้านในของเจดีย์องค์ใหญ่กับเจดีย์องค์เล็กมีทางเดินรอบเป็นวงกลม ที่ผนังเจดีย์องค์ใหญ่ที่ด้านในจะมีช่องที่ทำไว้ 112 ช่อง เพื่อบรรจุอัฐิของผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ มีคนบอกว่าน่าจะเอาแนวคิดมาจากฝรั่งเศส | |||
สิ่งที่น่าสนใจและน่าจะทราบก็คือก้อนดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งนั้นได้มาอย่างไร ดังมีบันทึกเล่าว่า | |||
“ก้อนดินที่ได้จากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ | |||
1. สถานที่สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าประสูติ ณ ลุมพินีวัน กรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นเนปาล | |||
2. สถานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิณาณจากพุทธคยา พุทธคยาอยู่ห่างจากคยา ประมาณ 8 กิโลเมตร มีถนนสำหรับรถยนต์เดินจากคยา ถึงพุทธคยาตามริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราศยาอยู่ห่างเมืองกัลกัตตาประมาณ 250 กิโลเมตร | |||
3. สถานที่ที่ซึ่งทรงแสดงปฐมเทศนา ณ สวนอิสีปตนมฤคทายวัน ที่สารนาถ | |||
4. สถานที่เสด็จเข้าสู่พระปรินิพาน ณ เมืองกุสินารา ซึ่งอยู่ระหว่างพุทธคยาและปัตนา เมืองกุสินาราอยู่ห่างจากพุทธคยาประมาณ 24 กิโลเมตร” | |||
ก้อนดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ทางคณะทูตพิเศษที่มีนายนาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้า ได้ขอให้ทางรัฐบาลอินเดียจัดให้ | |||
“...โดยกำหนดน้ำหนักก้อนหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม และก้อนหนึ่ง ๆ ขุดจากพื้นดินที่ลึกลงไปประมาณ 2 เมตร ณ สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ อยู่ห่างจากกันมีระยะไกล รัฐบาลอินเดียยังช่วยจัดการสนองตามความประสงค์ให้เป็นผลสำเร็จได้โดยรวดเร็วอย่างประหลาด และทางการรัฐบาลอินเดียที่ซิมลา ได้โทรศัพท์จัดการและส่งคนไปขุดนำมามอบให้คณะทูตพิเศษที่เมืองกัลกัตตา ก่อนโดยสารเครื่องบินทะเลของบริษัทบริติชโอเวอร์ ซี แอร์ เวย์ ลำ ชื่อ คอร์สิโอ กลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2483” | |||
สำหรับกิ่งโพธิ์นั้น รัฐบาลอินเดียจะตอนกิ่งมาให้จาก ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์ “ซึ่งเป็นที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ และตรัสรู้พระสัมมนาสัมโพธิญาณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ยังคงอยู่ และรัฐบาลอินเดียตอนกิ่งมาให้ประเทศไทย 3 กิ่ง ฉะนั้นรัฐบาลอินเดีย ได้จัดการตอนมาให้ในภายหลัง...” และหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ได้มาปลูก เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ที่บนเกาะของวัด | |||
วัดนี้เริ่มสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ใช้เงินไป 700,000 บาท เสร็จเรียบร้อย มาทำพิธีเปิดได้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 | |||
มาถึงปัจจุบันถ้าแวะมาเยี่ยมวัดพระศรีมหาธาตุ นอกจากมาทำบุญทำกิจทางศาสนาแล้วยังอยากเชิญชวนให้เยี่ยมชมสิ่งอื่น ๆ ภายในวัดและไปไหว้บูชาพระบรมสาริกธาตุที่พระเจดีย์ศรีมหาธาตุแล้ว ที่ฐานของพระเจดีย์องค์นี้ คำจารึกเกี่ยวกับที่มาของวัดว่า | |||
“นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่องสร้างวัดประชาธิปไตยว่า ข้าพเจ้าอยากจะขออนุมัติเงินสักแสนบาท เพื่อสร้างวัดสักวัดหนึ่งในสมัยประชาธิปไตยและใคร่จะให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ 24 มิถุนายน ศกนี้ และสถานที่ที่สร้างนั้นอยากจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์[[หลวงอำนวยสงคราม|หลวงอำนวยสงคราม]] ตำบลหลักสี่ ที่ประชุมตกลงเห็นชอบด้วย” | |||
วันที่ 24 มิถุนายน นั้นก็คือวันคล้ายวันที่[[คณะราษฎร|คณะราษฎร]]ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ประกาศว่าเพื่อจะสร้างประชาธิปไตย และที่บอกว่าอยากจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงครามนั้น เราก็ควรทราบต่อไปด้วยว่า อนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงครามกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏเป็นอนุสาวรีย์แห่งเดียวกัน ตั้งอยู่ที่กลางวงเวียนหลักสี่ ที่สร้างและเปิดมาเรียบร้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 สมัยก่อนมองไปจากวัดนี้ก็จะเห็นได้ชัด ที่มีชื่อเรียกว่าอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่พันตรีหลวงอำนวยสงคราม นายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตในการสู้รบปราบ[[กบฏบวรเดช|กบฏบวรเดช]]นั่นเอง ท่านผู้นี้เป็นเพื่อนายทหารของหลวงพิบูลสงครามและอัฐิของท่านก็บรรจุอยู่ที่ช่องภายในรอบเจดีย์ชั้นในด้วย | |||
ในพระเจดีย์องค์นี้นอกจากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในพระเจดีย์สีทององค์เล็กที่อยู่ชั้นในที่เข้าไปดูได้แล้ว ที่ผนังด้านในรอบพระเจดีย์ยังมีช่องที่ทำไว้ทั้งหมดจำนวน 112 ช่อง ที่กำหนดไว้ให้เป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลสำคัญที่เป็น “ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ” ซึ่งจะเป็นใครนั้น[[รัฐบาล|รัฐบาล]]และ[[สภาผู้แทนราษฎร|สภาผู้แทนราษฎร]]จะเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นถ้าไปเดินดูดี ๆ เราก็จะได้เห็นชื่อผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเหล่านี้ | |||
แต่ถ้าสังเกตให้ดีบุคคลสำคัญที่มีชื่อปรากฏอยู่ตามช่องต่างๆ นั้นล้วนแต่เป็น[[ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง_พ.ศ._2475|ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]]ที่สำคัญทั้งนั้น ลองนึกถึงชื่อผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่สำคัญๆ ดูก็ได้ แล้วมองหาดู ท่านก็อาจพบได้ เริ่มจาก “[[สี่ทหารเสือ|สี่ทหารเสือ]]” คือ [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา]] [[พระยาทรงสุรเดช|พ.อ. พระยาทรงสุรเดช]] [[พระยาฤทธิอัคเนย์|พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์]]และ [[พระประศาสน์พิทยายุทธ|พ.ท. พระประศาสน์พิทยายุทธ์]] นั้นมีอยู่ครบทั้ง 4 ท่าน ช่องที่เขียนชื่อพระยาพหลพลพยุหเสนา และ พระยาทรงสุรเดชอยู่ติดกันทีเดียว ทุกช่องจะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดเท่ากัน ที่แตกต่างกว่าใคร คือ ช่องที่เขียนชื่อ [[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] และ [[ท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม|ท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม]]ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดก็ดูจะเท่ากับเอา 2 ช่องมาเรียงกัน ที่พิเศษ คือ ด้านบนของช่องนี้ทำเป็นรูปจั่วขึ้นไป | |||
นายกรัฐมนตรีของไทยที่เคยเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไล่เรียงมาจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ[[ทวี_บุณยเกต|นายทวี บุณยเกต]] [[ปรีดี_พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] [[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์|หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]]ก็มีช่องติดชื่ออยู่ทั้ง 5 ท่าน แต่หาไม่พบชื่อนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศ คือ [[ควง_อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] | |||
แม้แต่ผู้ก่อการฯ คนแรกที่เสียชีวิต [[ร้อยเอกทัศนัย_นิยมศึก|ร้อยเอกทัศนัย นิยมศึก]] ก็มีชื่อติดอยู่ [[หลวงศุภชลาศัย|หลวงศุภชลาศัย]] กับ [[พ.ต.อ._ขุนศรีศรากร|พ.ต.อ. ขุนศรีศรากร]] ก็มีชื่อติดอยู่ ผู้นำพลเรือนคนอื่น ๆ ก็เช่น [[ดิเรก_ชัยนาม|นายดิเรก ชัยนาม]] [[นายสงวน_ตุลารักษ์|นายสงวน ตุลารักษ์]] [[นายซิม_วีระไวทยะ|นายซิม วีระไวทยะ]] [[นายจรูญ_สืบแสง|นายจรูญ สืบแสง]] นาย[[วณิช_ปานานนท์|วณิช ปานานนท์]] ผู้ซึ่งเป็น[[รัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]สมัยสงครามด้วย | |||
ส่วนกิ่งพระศรีมหาโพธิ์จากอินเดียที่ได้มาปลูกเมื่อ 73 ปีก่อนวันนี้เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นใหญ่ ยืนต้นให้เห็นอยู่กลางเกาะของวัด | |||
เมื่อพิจารณาดูประวัติความเป็นมาและสถานที่เก็บอัฐิบุคคลสำคัญของบ้านเมืองแล้วจะเห็นได้ว่าวัดพระศรีมหาธาตุนั้น ถึงแม้ไม่ได้ใช่ชื่อว่าวัดประชาธิปไตยอย่างที่ผู้คิดสร้างต้องการ แต่ก็มีความเกี่ยวพันกับคณะผู้ก่อการฯ อยู่มากดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง และสิ่งนี้ก็คือความพิเศษเฉพาะของวัดพระศรีมหาธาตุที่บางเขนอันแตกต่างจากวัดอื่นๆ | |||
[[ | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:13, 2 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วัดประชาธิปไตย หลายคนนึกไม่ออกและบอกไม่ถูก ที่เคยเห็นคืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กลางถนนราชดำเนิน ที่เห็นอีกแห่งก็คือถนนประชาธิปไตย ซึ่งได้แก่ถนนจากเชิงสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านมาทางสี่แยกวิสุทธกษัตริย์ วัดทางซ้ายมือก็เป็นวัดตรีทศเทพ วัดประชาธิปไตยไม่ได้ตั้งอยู่ที่สองฝั่งถนนประชาธิปไตยที่ว่านี้เลย
ชื่อวัดประชาธิปไตยนี้เป็นชื่อที่ทางการคิดจะตั้งเป็นชื่อวัดที่ทางรัฐบาลจะสร้างขึ้นมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ต้องการให้เป็นอนุสรณ์ของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย โดยนายกรัฐมนตรี พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้นำเรื่องเข้าหารือในคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยมีความเห็นว่าชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน และเมืองไทยก็เป็นเมืองพุทธสร้างวัดเป็นที่ระลึกก็จะเป็นสิ่งที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป
ทั้งนี้ได้ตั้งใจว่าจะสร้างให้เสร็จทันเปิดได้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คือปีถัดมา สถานที่จะสร้างนั้นก็เลือกเอาบริเวณใกล้กับที่ตั้งอนุสาวรีย์ปราบกบฏที่หลักสี่ ซึ่งก็ประมาณกิโลเมตรที่ 18 ของถนนพหลโยธิน อยู่ตรงข้ามกับสำนักงานเขตบางเขนนั่นเอง และหากเลยจากวัดขึ้นไปทางเหนือที่กลางวงเวียนหลักสี่ ก็จะได้เห็นอนุสาวรีย์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองอันสำคัญตั้งอยู่นั่นก็คืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏด้วย
แต่ขณะที่ดำเนินการสร้างวัดนี้ คณะทูตพิเศษของรัฐบาลที่มีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคณะได้เดินทางไปเยือนและสร้างสัมพันธไมตรีกับดินแดนในเอเชีย คุณหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์นี้ก็ไม่ใช่ใครอื่นเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คนหนึ่งด้วยเหมือนกัน และที่อินเดียซึ่งในตอนนั้นยังเป็นดินแดนที่อยู่ในความดูแลของอังกฤษนี่เองที่ทางคณะทูตพิเศษได้สิ่งที่ทรงคุณค่าสำคัญมากทางพระพุทธศาสนา คือ พระบรมสารีริกธาตุและกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ จากต้นโพธิ์ที่เชื่อกันว่าสืบเนื่องมาจากต้นเดิมที่พระพุทธเจ้า เสด็จประทับและตรัสรู้ที่พุทธคยา ทั้งยังได้ดินจากสถานที่สำคัญทางศาสนาพุทธคือจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้ามาด้วย
การที่รัฐบาลไทยได้สิ่งอันเป็นมงคลทางพระศาสนามา และได้นำมาประดิษฐานไว้ยังวัดที่สร้างกันขึ้นใหม่ ชื่อวัดที่คิดไว้ในทางประวัติศาสตร์การเมืองจึงเปลี่ยนมาเป็นทางศาสนาว่า “วัดพระศรีมหาธาตุ”
ในการก่อสร้างวัดใหม่แห่งนี้ ทางรัฐบาลได้มอบให้พันเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ ตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และอธิบดีกรมรถไฟเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้าง หลวงเสรีฯ ผู้นี้เป็นหนึ่งในทหารที่ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ทั้งในการก่อสร้างนี้ยังได้หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร มาร่วมงานกันด้วย รายละเอียดในการสร้างวัดบางตอนได้มีพิมพ์เผยแพร่อยู่ด้วยในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ มีความที่น่าสนใจ
“พระบรมสารีริกธาตุนี้บรรจุอยู่ในผอบหินแร่ กลมกลึงมีส่วนสูง 3 นิ้ว พบในสถูปหมายเลขอักษร อาร์ 4 ที่สถูปธรรมราชิก เมืองตักสิลา เมื่อได้ขุดลึกลงไป 9 ฟุต ในผอบนั้นบรรจุกล่องทองคำมีส่วนสูง 13/16 นิ้ว ภายในมีพระบรมอัฏฐิชิ้นเล็ก ๆ และพระอังคาร มีเศษพลอยคอร์นีเรียน”
ประเทศไทยได้ส่วนหนึ่งของพระบรมสารีริกธาตุนี้มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ของวัด ถ้าไปที่วัดพระศรีมหาธาตุจะเห็นพระเจดีย์ทรงกลมที่หน้าโบสถ์สูง 38 เมตร สร้างขึ้นเป็นเจดีย์ 2 ชั้น พระบรมสารีริกธาตุนั้นบรรจุอยู่ในเจดีย์องค์เล็กซึ่งอยู่ชั้นใน ทางด้านในของเจดีย์องค์ใหญ่กับเจดีย์องค์เล็กมีทางเดินรอบเป็นวงกลม ที่ผนังเจดีย์องค์ใหญ่ที่ด้านในจะมีช่องที่ทำไว้ 112 ช่อง เพื่อบรรจุอัฐิของผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ มีคนบอกว่าน่าจะเอาแนวคิดมาจากฝรั่งเศส
สิ่งที่น่าสนใจและน่าจะทราบก็คือก้อนดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งนั้นได้มาอย่างไร ดังมีบันทึกเล่าว่า
“ก้อนดินที่ได้จากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ
1. สถานที่สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าประสูติ ณ ลุมพินีวัน กรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นเนปาล
2. สถานที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิณาณจากพุทธคยา พุทธคยาอยู่ห่างจากคยา ประมาณ 8 กิโลเมตร มีถนนสำหรับรถยนต์เดินจากคยา ถึงพุทธคยาตามริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราศยาอยู่ห่างเมืองกัลกัตตาประมาณ 250 กิโลเมตร
3. สถานที่ที่ซึ่งทรงแสดงปฐมเทศนา ณ สวนอิสีปตนมฤคทายวัน ที่สารนาถ
4. สถานที่เสด็จเข้าสู่พระปรินิพาน ณ เมืองกุสินารา ซึ่งอยู่ระหว่างพุทธคยาและปัตนา เมืองกุสินาราอยู่ห่างจากพุทธคยาประมาณ 24 กิโลเมตร”
ก้อนดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ทางคณะทูตพิเศษที่มีนายนาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้า ได้ขอให้ทางรัฐบาลอินเดียจัดให้
“...โดยกำหนดน้ำหนักก้อนหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม และก้อนหนึ่ง ๆ ขุดจากพื้นดินที่ลึกลงไปประมาณ 2 เมตร ณ สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ อยู่ห่างจากกันมีระยะไกล รัฐบาลอินเดียยังช่วยจัดการสนองตามความประสงค์ให้เป็นผลสำเร็จได้โดยรวดเร็วอย่างประหลาด และทางการรัฐบาลอินเดียที่ซิมลา ได้โทรศัพท์จัดการและส่งคนไปขุดนำมามอบให้คณะทูตพิเศษที่เมืองกัลกัตตา ก่อนโดยสารเครื่องบินทะเลของบริษัทบริติชโอเวอร์ ซี แอร์ เวย์ ลำ ชื่อ คอร์สิโอ กลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2483”
สำหรับกิ่งโพธิ์นั้น รัฐบาลอินเดียจะตอนกิ่งมาให้จาก ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์ “ซึ่งเป็นที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ และตรัสรู้พระสัมมนาสัมโพธิญาณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ยังคงอยู่ และรัฐบาลอินเดียตอนกิ่งมาให้ประเทศไทย 3 กิ่ง ฉะนั้นรัฐบาลอินเดีย ได้จัดการตอนมาให้ในภายหลัง...” และหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ได้มาปลูก เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ที่บนเกาะของวัด
วัดนี้เริ่มสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 ใช้เงินไป 700,000 บาท เสร็จเรียบร้อย มาทำพิธีเปิดได้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485
มาถึงปัจจุบันถ้าแวะมาเยี่ยมวัดพระศรีมหาธาตุ นอกจากมาทำบุญทำกิจทางศาสนาแล้วยังอยากเชิญชวนให้เยี่ยมชมสิ่งอื่น ๆ ภายในวัดและไปไหว้บูชาพระบรมสาริกธาตุที่พระเจดีย์ศรีมหาธาตุแล้ว ที่ฐานของพระเจดีย์องค์นี้ คำจารึกเกี่ยวกับที่มาของวัดว่า
“นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่องสร้างวัดประชาธิปไตยว่า ข้าพเจ้าอยากจะขออนุมัติเงินสักแสนบาท เพื่อสร้างวัดสักวัดหนึ่งในสมัยประชาธิปไตยและใคร่จะให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ 24 มิถุนายน ศกนี้ และสถานที่ที่สร้างนั้นอยากจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม ตำบลหลักสี่ ที่ประชุมตกลงเห็นชอบด้วย”
วันที่ 24 มิถุนายน นั้นก็คือวันคล้ายวันที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ประกาศว่าเพื่อจะสร้างประชาธิปไตย และที่บอกว่าอยากจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงครามนั้น เราก็ควรทราบต่อไปด้วยว่า อนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงครามกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏเป็นอนุสาวรีย์แห่งเดียวกัน ตั้งอยู่ที่กลางวงเวียนหลักสี่ ที่สร้างและเปิดมาเรียบร้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 สมัยก่อนมองไปจากวัดนี้ก็จะเห็นได้ชัด ที่มีชื่อเรียกว่าอนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม ก็เพื่อเป็นเกียรติแก่พันตรีหลวงอำนวยสงคราม นายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตในการสู้รบปราบกบฏบวรเดชนั่นเอง ท่านผู้นี้เป็นเพื่อนายทหารของหลวงพิบูลสงครามและอัฐิของท่านก็บรรจุอยู่ที่ช่องภายในรอบเจดีย์ชั้นในด้วย
ในพระเจดีย์องค์นี้นอกจากบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในพระเจดีย์สีทององค์เล็กที่อยู่ชั้นในที่เข้าไปดูได้แล้ว ที่ผนังด้านในรอบพระเจดีย์ยังมีช่องที่ทำไว้ทั้งหมดจำนวน 112 ช่อง ที่กำหนดไว้ให้เป็นที่บรรจุอัฐิบุคคลสำคัญที่เป็น “ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ” ซึ่งจะเป็นใครนั้นรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นถ้าไปเดินดูดี ๆ เราก็จะได้เห็นชื่อผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเหล่านี้
แต่ถ้าสังเกตให้ดีบุคคลสำคัญที่มีชื่อปรากฏอยู่ตามช่องต่างๆ นั้นล้วนแต่เป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475ที่สำคัญทั้งนั้น ลองนึกถึงชื่อผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่สำคัญๆ ดูก็ได้ แล้วมองหาดู ท่านก็อาจพบได้ เริ่มจาก “สี่ทหารเสือ” คือ พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ. พระยาทรงสุรเดช พ.อ. พระยาฤทธิอัคเนย์และ พ.ท. พระประศาสน์พิทยายุทธ์ นั้นมีอยู่ครบทั้ง 4 ท่าน ช่องที่เขียนชื่อพระยาพหลพลพยุหเสนา และ พระยาทรงสุรเดชอยู่ติดกันทีเดียว ทุกช่องจะมีเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดเท่ากัน ที่แตกต่างกว่าใคร คือ ช่องที่เขียนชื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ ท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงครามที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดก็ดูจะเท่ากับเอา 2 ช่องมาเรียงกัน ที่พิเศษ คือ ด้านบนของช่องนี้ทำเป็นรูปจั่วขึ้นไป
นายกรัฐมนตรีของไทยที่เคยเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไล่เรียงมาจาก พระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป.พิบูลสงคราม และนายทวี บุณยเกต นายปรีดี พนมยงค์ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ก็มีช่องติดชื่ออยู่ทั้ง 5 ท่าน แต่หาไม่พบชื่อนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศ คือ นายควง อภัยวงศ์
แม้แต่ผู้ก่อการฯ คนแรกที่เสียชีวิต ร้อยเอกทัศนัย นิยมศึก ก็มีชื่อติดอยู่ หลวงศุภชลาศัย กับ พ.ต.อ. ขุนศรีศรากร ก็มีชื่อติดอยู่ ผู้นำพลเรือนคนอื่น ๆ ก็เช่น นายดิเรก ชัยนาม นายสงวน ตุลารักษ์ นายซิม วีระไวทยะ นายจรูญ สืบแสง นายวณิช ปานานนท์ ผู้ซึ่งเป็นรัฐมนตรีสมัยสงครามด้วย
ส่วนกิ่งพระศรีมหาโพธิ์จากอินเดียที่ได้มาปลูกเมื่อ 73 ปีก่อนวันนี้เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นใหญ่ ยืนต้นให้เห็นอยู่กลางเกาะของวัด
เมื่อพิจารณาดูประวัติความเป็นมาและสถานที่เก็บอัฐิบุคคลสำคัญของบ้านเมืองแล้วจะเห็นได้ว่าวัดพระศรีมหาธาตุนั้น ถึงแม้ไม่ได้ใช่ชื่อว่าวัดประชาธิปไตยอย่างที่ผู้คิดสร้างต้องการ แต่ก็มีความเกี่ยวพันกับคณะผู้ก่อการฯ อยู่มากดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง และสิ่งนี้ก็คือความพิเศษเฉพาะของวัดพระศรีมหาธาตุที่บางเขนอันแตกต่างจากวัดอื่นๆ