ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 3 คน) | |||
บรรทัดที่ 4: | บรรทัดที่ 4: | ||
---- | ---- | ||
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]] | แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญ]] โดยได้มีการบัญญัติไว้ครั้งแรกใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492]] หมวดที่ 5 ว่าด้วย “แนวนโยบายแห่งรัฐ” เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรา[[กฎหมาย]]และการกำหนดนโยบายใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] ทั้งนี้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ถือเป็นกรอบสำหรับการกำหนดนโยบายของ[[รัฐบาล]]ว่านโยบายที่กำหนดออกมานั้นจะต้องครอบคลุมถึงเรื่องใด และจะเป็นหลักประกันว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปกี่ชุด แนวนโยบายของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศจะยังคงเดิม คือ อยู่ในกรอบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ<ref>[[สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]. (2551). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 43.</ref> | ||
==ความหมายและความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ==ความหมายและความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ||
“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง แนวนโยบายขั้นพื้นฐานที่'''รัฐ ฝ่ายบริหาร หรือองค์กรของรัฐ'''จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน”<ref>คณิน บุญสุวรรณ. (2548). '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, หน้า 465.</ref> โดยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้ | “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง แนวนโยบายขั้นพื้นฐานที่'''รัฐ [[ฝ่ายบริหาร]] หรือองค์กรของรัฐ'''จะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน”<ref>คณิน บุญสุวรรณ. (2548). '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, หน้า 465.</ref> โดยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้ | ||
1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดภาระหน้าที่สำคัญของรัฐที่จะต้องปฏิบัติซึ่งครอบคลุมภารกิจที่สำคัญอันเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยโดยรวมในระยะยาว | 1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดภาระหน้าที่สำคัญของรัฐที่จะต้องปฏิบัติซึ่งครอบคลุมภารกิจที่สำคัญอันเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยโดยรวมในระยะยาว | ||
2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ | 2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นนโยบายกลางขั้นพื้นฐานผูกพัน[[รัฐสภา]]และรัฐบาลทุกชุดให้ต้องดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามกรอบหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่งผลให้กฎหมายและนโยบายสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่องและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน | ||
3. เมื่อเปรียบเทียบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญในอดีต แม้จะเป็นเรื่องที่กำหนดกรอบภาระหน้าที่ของรัฐที่พึงปฏิบัติในด้านสำคัญ ๆ เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด | 3. เมื่อเปรียบเทียบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญในอดีต แม้จะเป็นเรื่องที่กำหนดกรอบภาระหน้าที่ของรัฐที่พึงปฏิบัติในด้านสำคัญ ๆ เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นแนวทาง[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ในระบอบ[[ประชาธิปไตย]]ที่สมบูรณ์กว่าแนวนโยบายแห่งรัฐในอดีตที่เคยมีมา<ref>โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล.''' วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า ค – ง.</ref> | ||
==ความเป็นมาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ==ความเป็นมาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ||
คำว่า “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” ปรากฏครั้งแรกใน'''[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]]''' ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น | คำว่า “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” ปรากฏครั้งแรกใน'''[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540]]''' ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและ[[ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ]]เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น | ||
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการหรือนโยบายกลางขั้นพื้นฐาน ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มาแล้วจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นต้นมา ใช้ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” โดย'''[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] (ปี 2492)'''ซึ่งทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ได้นำแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญของประเทศไอร์แลนด์และอินเดียมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง<ref>ปกรณ์ ปรียากร. '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://74.125.45.132/search?q=cache:3tzHKeXt7gkJ:kpi2.org/ccpd/index.php% เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550.</ref> โดยพิจารณาเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้แล้ว ก็ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยกำหนดแนวทางใหญ่ ๆ ที่เป็นภารกิจหลักสำคัญ ๆ ของรัฐที่พึงปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหมวดที่ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” เพื่อให้เป็นนโยบายกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ | แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการหรือนโยบายกลางขั้นพื้นฐาน ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มาแล้วจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นต้นมา ใช้ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” โดย'''[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] (ปี 2492)'''ซึ่งทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ได้นำแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญของประเทศไอร์แลนด์และอินเดียมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง<ref>ปกรณ์ ปรียากร. '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://74.125.45.132/search?q=cache:3tzHKeXt7gkJ:kpi2.org/ccpd/index.php% เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550.</ref> โดยพิจารณาเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้แล้ว ก็ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยกำหนดแนวทางใหญ่ ๆ ที่เป็นภารกิจหลักสำคัญ ๆ ของรัฐที่พึงปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหมวดที่ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” เพื่อให้เป็นนโยบายกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายของ[[คณะรัฐมนตรี]]แต่ละคณะมีความต่อเนื่องกัน<ref>โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล.''' วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า ก, 6.</ref> แต่ภายหลังแนวนโยบายแห่งรัฐที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการเพิ่มเติมนโยบายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญพึงพอใจเพิ่มเติมเข้าไปเป็นระยะ จนทำให้บทบัญญัติในหมวดนี้มีรายละเอียดมากเกินไป ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 [[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]จึงเปลี่ยนชื่อหมวดนี้เสียใหม่เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยกำหนดให้เป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและสถานการณ์<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 10.</reF> | ||
สำหรับแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 มาตรา 75-87 ใช้ชื่อว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นจำนวน 9 ด้าน ดังนี้ | สำหรับแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 มาตรา 75-87 ใช้ชื่อว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นจำนวน 9 ด้าน ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 44: | ||
==ลักษณะสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ==ลักษณะสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ== | ||
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมี[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2575 และได้มีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับแรกของประเทศไทยที่มีชื่อว่า “[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]]” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2575 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติในเรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น มีอยู่ด้วยกัน 8 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | |||
และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ | และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ | ||
บรรทัดที่ 99: | บรรทัดที่ 99: | ||
==เปรียบเทียบสาระสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ== | ==เปรียบเทียบสาระสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ== | ||
แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายแห่งรัฐ และกำหนดแนวทางของสภาพบังคับ 3 ประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ การใช้เป็นแนวทางใน[[กระบวนการตรากฎหมาย|การตรากฎหมาย]] การใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย และการไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้เป็นข้ออ้างหรือเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการฟ้องร้องรัฐได้ หากรัฐไม่ดำเนินการตามนโยบายแห่งรัฐ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายแห่งรัฐ และกำหนดแนวทางของสภาพบังคับ 3 ประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ การใช้เป็นแนวทางใน[[กระบวนการตรากฎหมาย|การตรากฎหมาย]] การใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย และการไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้เป็นข้ออ้างหรือเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการฟ้องร้องรัฐได้ หากรัฐไม่ดำเนินการตามนโยบายแห่งรัฐ<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 11-12.</ref> ส่วนความแตกต่างของแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับอยู่ที่การเพิ่มเติมตัดทอนนโยบายบางเรื่องหรือนำมารวมกันไว้ในมาตราเดียวกันหรือสั้นยาวตามความต้องการของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ<ref>โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล.''' วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า 11.</ref> | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มีลักษณะเป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เหมือนดังเช่นที่ผ่านมา โดย'''[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] (ปี 2540)''' ยังคงรักษาส่วนสำคัญของสภาพบังคับที่กำหนดไว้เหมือนเดิม คือ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มีลักษณะเป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เหมือนดังเช่นที่ผ่านมา โดย'''[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] (ปี 2540)''' ยังคงรักษาส่วนสำคัญของสภาพบังคับที่กำหนดไว้เหมือนเดิม คือ การใช้เป็นแนวทางในการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]] แต่เนื่องจากเดิมหากรัฐไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ประชาชนจะไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการฟ้องร้องรัฐได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงได้กำหนดให้รัฐมีสภาพบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้กำหนดสภาพบังคับขั้นพื้นฐานไว้ด้วยว่า [[คณะรัฐมนตรี]]ที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและจะต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้งด้วย | ||
ส่วนเรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต 2 ประการ คือ ประการแรก การกำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงเพื่อให้มีสภาพบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตรากฎหมายหรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีตที่กำหนดเป็นเพียงแนวทางในการดำเนินการ ประการที่สอง การกำหนดให้มีสภาพบังคับ ได้แก่ การกำหนดหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนี้อย่างไร และในเรื่องใดบ้าง และในแต่ละปี คณะรัฐมนตรีจะจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อแสดงมาตรการและวิธีการในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีแผนกฎหมายที่จะแสดงว่าได้ดำเนินการให้เกิดผล<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ส่วนเรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต 2 ประการ คือ ประการแรก การกำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงเพื่อให้มีสภาพบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตรากฎหมายหรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีตที่กำหนดเป็นเพียงแนวทางในการดำเนินการ ประการที่สอง การกำหนดให้มีสภาพบังคับ ได้แก่ การกำหนดหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนี้อย่างไร และในเรื่องใดบ้าง และในแต่ละปี คณะรัฐมนตรีจะจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อแสดงมาตรการและวิธีการในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีแผนกฎหมายที่จะแสดงว่าได้ดำเนินการให้เกิดผล<ref>สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 12-13.</ref> | ||
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาเป็นเวลานานแล้ว แม้จะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลทุกชุดให้มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้มาโดยตลอด แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้านอย่างชัดเจนและมีสภาพบังคับที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด | จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาเป็นเวลานานแล้ว แม้จะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลทุกชุดให้มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้มาโดยตลอด แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้านอย่างชัดเจนและมีสภาพบังคับที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด | ||
บรรทัดที่ 113: | บรรทัดที่ 113: | ||
==แนะนำหนังสือให้อ่านต่อ== | ==แนะนำหนังสือให้อ่านต่อ== | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). '''เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2540). '''ประวัติรัฐธรรมนูญ.''' กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). '''เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475-2549 เล่ม 1.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ||
==บรรณานุกรม== | ==บรรณานุกรม== | ||
คณิน บุญสุวรรณ. | คณิน บุญสุวรรณ. (2548). '''ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย.''' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ. | ||
โฉมศรี อารยะสิริ. | โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล.''' วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. | ||
ปกรณ์ ปรียากร. | ปกรณ์ ปรียากร. '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://74.125.45.132/search?q=cache:3tzHKeXt7gkJ:kpi2.org/ccpd/index.php% เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550. | ||
ประณต นันทิยะกุล. | ประณต นันทิยะกุล. (2542). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คำอธิบายรัฐธรรมนูญเรียงตามมาตรา.''' ม.ป.ท. | ||
สถาบันพระปกเกล้า. | สถาบันพระปกเกล้า. (2545). '''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง 7. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา. | ||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ. | สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). '''ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับลงประชามติ.''' กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). '''แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ||
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). '''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.''' กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. | ||
==ดูเพิ่มเติม== | ==ดูเพิ่มเติม== | ||
บรรทัดที่ 156: | บรรทัดที่ 156: | ||
*[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] | *[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] | ||
[[ | [[หมวดหมู่:สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ|น]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:36, 16 สิงหาคม 2556
ผู้เรียบเรียง รติกร เจือกโว้น
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยได้มีการบัญญัติไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 หมวดที่ 5 ว่าด้วย “แนวนโยบายแห่งรัฐ” เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ถือเป็นกรอบสำหรับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลว่านโยบายที่กำหนดออกมานั้นจะต้องครอบคลุมถึงเรื่องใด และจะเป็นหลักประกันว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปกี่ชุด แนวนโยบายของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศจะยังคงเดิม คือ อยู่ในกรอบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ[1]
ความหมายและความสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
“แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมายถึง แนวนโยบายขั้นพื้นฐานที่รัฐ ฝ่ายบริหาร หรือองค์กรของรัฐจะต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน”[2] โดยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้
1. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดภาระหน้าที่สำคัญของรัฐที่จะต้องปฏิบัติซึ่งครอบคลุมภารกิจที่สำคัญอันเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยโดยรวมในระยะยาว
2. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เป็นนโยบายกลางขั้นพื้นฐานผูกพันรัฐสภาและรัฐบาลทุกชุดให้ต้องดำเนินนโยบายและปฏิบัติตามกรอบหลักการของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่งผลให้กฎหมายและนโยบายสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศมีความต่อเนื่องและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน
3. เมื่อเปรียบเทียบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับแนวนโยบายแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญในอดีต แม้จะเป็นเรื่องที่กำหนดกรอบภาระหน้าที่ของรัฐที่พึงปฏิบัติในด้านสำคัญ ๆ เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์กว่าแนวนโยบายแห่งรัฐในอดีตที่เคยมีมา[3]
ความเป็นมาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
คำว่า “แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ” ปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประเทศไทยได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น โดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นหลักการหรือนโยบายกลางขั้นพื้นฐาน ได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มาแล้วจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 เป็นต้นมา ใช้ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ปี 2492)ซึ่งทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ได้นำแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญของประเทศไอร์แลนด์และอินเดียมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง[4] โดยพิจารณาเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยไว้แล้ว ก็ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยกำหนดแนวทางใหญ่ ๆ ที่เป็นภารกิจหลักสำคัญ ๆ ของรัฐที่พึงปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหมวดที่ชื่อว่า “แนวนโยบายแห่งรัฐ” เพื่อให้เป็นนโยบายกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้นโยบายของคณะรัฐมนตรีแต่ละคณะมีความต่อเนื่องกัน[5] แต่ภายหลังแนวนโยบายแห่งรัฐที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีการเพิ่มเติมนโยบายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญพึงพอใจเพิ่มเติมเข้าไปเป็นระยะ จนทำให้บทบัญญัติในหมวดนี้มีรายละเอียดมากเกินไป ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงเปลี่ยนชื่อหมวดนี้เสียใหม่เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยกำหนดให้เป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาและสถานการณ์[6]
สำหรับแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 มาตรา 75-87 ใช้ชื่อว่าแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นจำนวน 9 ด้าน ดังนี้
1. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
2. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
3. แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
4. แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
5. แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
6. แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
7. แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน
9. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน[7]
ลักษณะสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2575 และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยที่มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2575 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติในเรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น มีอยู่ด้วยกัน 8 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ
• การกำหนดไว้ในหมวดเดียวกันและมีชื่อเรียกเหมือนกัน
• การกำหนดให้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสภาพบังคับเหมือนกัน
• การให้น้ำหนักของเงื่อนไขบังคับไม่เท่ากัน
• การจัดลำดับความสำคัญของนโยบายด้านการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไว้ในระดับรอง
• การสอดแทรกนโยบายที่ไม่มีความสำคัญถึงระดับความเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างแท้จริง
• การไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการทางปฏิบัติ
• การไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
• การไม่ได้วางเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องไว้รองรับ
• การไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ[8]
ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งมีจำนวนบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐโดยเฉลี่ยน้อยกว่ารัฐธรรมนูญไทยในอดีตทั้ง 6 ฉบับ เนื่องจากเป็นแนวนโยบายที่จำกัดเนื้อหาสำคัญเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ คือ
• การกำหนดเนื้อหาแยกไว้เป็นหมวดเดียวกันและใช้ชื่อเรียกใหม่
• มีสาระสำคัญเกี่ยวกับสภาพบังคับเชิงสร้างสรรค์
• การให้น้ำหนักของเงื่อนไขบังคับเท่าเทียมกัน
• การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในระดับสูง
• การบัญญัติไว้เฉพาะนโยบายที่มีความสำคัญในระดับที่ถือได้ว่าเป็นนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างแท้จริง
• การให้ความสำคัญกับมาตรการทางปฏิบัติ
• การสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม
• การวางเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องไว้รองรับ
• การเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติ
• การเชื่อมโยงเอกภาพและสนับสนุนประสิทธิภาพการปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวดอื่น[9]
สำหรับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีบทบัญญัติที่มีลักษณะชัดเจน รอบด้าน และผูกพันรัฐมากกว่าเดิม 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ คือ
• มีการแยกแยะหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้านอย่างชัดเจน
• กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในเรื่องที่สำคัญเพิ่มขึ้น
• กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาเพื่อดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
• กำหนดให้รัฐบาลที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินการว่ามีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้าง เสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง[10]
เปรียบเทียบสาระสำคัญของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญในอดีตจำนวน 6 ฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายแห่งรัฐ และกำหนดแนวทางของสภาพบังคับ 3 ประเด็นสำคัญที่เหมือนกัน คือ การใช้เป็นแนวทางในการตรากฎหมาย การใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย และการไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้เป็นข้ออ้างหรือเป็นเงื่อนไขใด ๆ ในการฟ้องร้องรัฐได้ หากรัฐไม่ดำเนินการตามนโยบายแห่งรัฐ[11] ส่วนความแตกต่างของแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับอยู่ที่การเพิ่มเติมตัดทอนนโยบายบางเรื่องหรือนำมารวมกันไว้ในมาตราเดียวกันหรือสั้นยาวตามความต้องการของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ[12]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะใช้ชื่อเรียกเหมือนกัน คือ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มีลักษณะเป็นแนวนโยบายพื้นฐาน ไม่ใช่นโยบายทั่วไปที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เหมือนดังเช่นที่ผ่านมา โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ปี 2540) ยังคงรักษาส่วนสำคัญของสภาพบังคับที่กำหนดไว้เหมือนเดิม คือ การใช้เป็นแนวทางในการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เนื่องจากเดิมหากรัฐไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ประชาชนจะไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการฟ้องร้องรัฐได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงได้กำหนดให้รัฐมีสภาพบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้กำหนดสภาพบังคับขั้นพื้นฐานไว้ด้วยว่า คณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและจะต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้งด้วย
ส่วนเรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต 2 ประการ คือ ประการแรก การกำหนดให้บทบัญญัติในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นเจตจำนงเพื่อให้มีสภาพบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตรากฎหมายหรือกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีตที่กำหนดเป็นเพียงแนวทางในการดำเนินการ ประการที่สอง การกำหนดให้มีสภาพบังคับ ได้แก่ การกำหนดหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนี้อย่างไร และในเรื่องใดบ้าง และในแต่ละปี คณะรัฐมนตรีจะจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อแสดงมาตรการและวิธีการในการปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีแผนกฎหมายที่จะแสดงว่าได้ดำเนินการให้เกิดผล[13]
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาเป็นเวลานานแล้ว แม้จะใช้ชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางในการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลทุกชุดให้มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้มาโดยตลอด แต่ทั้งนี้ก็เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทุกด้านอย่างชัดเจนและมีสภาพบังคับที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดผลในเชิงรูปธรรมมากยิ่งขึ้นและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 43.
- ↑ คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, หน้า 465.
- ↑ โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า ค – ง.
- ↑ ปกรณ์ ปรียากร. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://74.125.45.132/search?q=cache:3tzHKeXt7gkJ:kpi2.org/ccpd/index.php% เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550.
- ↑ โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า ก, 6.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 10.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 45 - 60.
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. (2545). สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง 7. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, หน้า 26 - 29.
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. (2545). สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง 7. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, หน้า 29 - 34.
- ↑ สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับลงประชามติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง, หน้า 175 - 176.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 11-12.
- ↑ โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, หน้า 11.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 12-13.
แนะนำหนังสือให้อ่านต่อ
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2540). ประวัติรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475-2549 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บรรณานุกรม
คณิน บุญสุวรรณ. (2548). ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
โฉมศรี อารยะสิริ. (2545). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ปกรณ์ ปรียากร. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://74.125.45.132/search?q=cache:3tzHKeXt7gkJ:kpi2.org/ccpd/index.php% เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550.
ประณต นันทิยะกุล. (2542). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ คำอธิบายรัฐธรรมนูญเรียงตามมาตรา. ม.ป.ท.
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง 7. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... ฉบับลงประชามติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2551). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.