ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์การเมืองสามเส้า"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน)
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
----
----


'''การเมืองสามเส้า'''  เป็นเหตุการณ์การการขับเคี่ยวแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2490  ระหว่าง  “ผู้มีอำนาจทั้งสาม”  (the Triumvirate)  คือ  [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]],  [[เผ่า  ศรียานนท์|พล.ต.อ.เผ่า  ศรียานนท์]]  และ [[สฤษดิ์  ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์]]  โดยที่พล.ต.อ.เผ่า  และจอมพลสฤษดิ์  ต่างมีฐานอำนาจทางตำรวจและทหารของตนตามลำดับ  ขณะที่ จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี  เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจอันเกิดจากการแข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของสองฝ่าย  
'''การเมืองสามเส้า'''  เป็นเหตุการณ์การการขับเคี่ยวแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2490  ระหว่าง  “ผู้มีอำนาจทั้งสาม”  (the Triumvirate)  คือ  [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]],  [[เผ่า  ศรียานนท์|พล.ต.อ.เผ่า  ศรียานนท์]]  และ [[สฤษดิ์  ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์]]  โดยที่พล.ต.อ.เผ่า  และจอมพลสฤษดิ์  ต่างมีฐานอำนาจทางตำรวจและทหารของตนตามลำดับ  ขณะที่ จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี  เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจอันเกิดจากการแข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของสองฝ่าย  


== เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนการเมืองสามเส้า ==
== เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนการเมืองสามเส้า ==
บรรทัดที่ 49: บรรทัดที่ 49:
ขณะที่  พล.ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  กำลังแข่งขันและสร้างฐานอำนาจของตนอย่างมั่นคงอยู่นั้น  จอมพล ป. ที่ต้องตกอยู่ในฐานที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอำนาจลอยก็พยายามสร้างฐานอำนาจของตนเองเช่นเดียวกัน  โดยจากการศึกษาของทักษ์  เฉลิมเตียรณ  อธิบายว่า  จอมพล ป.  ได้พยายามสร้างฐานอำนาจโดยผ่านการหันเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา  ส่วนอีกฐานอำนาจหนึ่งก็คือ การเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน   
ขณะที่  พล.ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  กำลังแข่งขันและสร้างฐานอำนาจของตนอย่างมั่นคงอยู่นั้น  จอมพล ป. ที่ต้องตกอยู่ในฐานที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอำนาจลอยก็พยายามสร้างฐานอำนาจของตนเองเช่นเดียวกัน  โดยจากการศึกษาของทักษ์  เฉลิมเตียรณ  อธิบายว่า  จอมพล ป.  ได้พยายามสร้างฐานอำนาจโดยผ่านการหันเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา  ส่วนอีกฐานอำนาจหนึ่งก็คือ การเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน   


ในการเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา จอมพล ป. ได้แสดงตนเป็นฝ่ายอเมริกาและขานรับนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลอเมริกา  กล่าวคือ  ประเทศไทยได้เข้าผูกผันกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น  และเริ่มรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทหารจากอเมริกา  มีผลให้อเมริกาส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร  ทางเทคนิค  และเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศไทย  พ.ศ. 2495  รัฐบาลไทยให้ความสนับสนุนอเมริกา  ในการเข้าร่วมทำสงครามเกาหลีในนามของสหประชาชาติ ด้วยการเสนอส่งกองทหารและข้าวไปช่วย  และในปี 2497  ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การ SEATO ซึ่งเป็นแนวปิดล้อมการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียอาคเนย์ ทำให้อเมริการู้สึกพึงพอใจรัฐบาลจอมพล ป.  ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มฐานให้กับจอมพล ป. ให้มั่นคงยิ่งขึ้น  เนื่องจากบรรดาผู้นำประเทศต่างคิดว่า  จอมพล ป. เป็นบุคคลที่ทำให้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยตลอด<ref>ทักษ์  เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 128-131.</ref>   
ในการเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา จอมพล ป. ได้แสดงตนเป็นฝ่ายอเมริกาและขานรับนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลอเมริกา  กล่าวคือ  ประเทศไทยได้เข้าผูกผันกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น  และเริ่มรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทหารจากอเมริกา  มีผลให้อเมริกาส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร  ทางเทคนิค  และเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศไทย  พ.ศ. 2495  รัฐบาลไทยให้ความสนับสนุนอเมริกา  ในการเข้าร่วมทำ[[สงครามเกาหลี]]ในนามของ[[สหประชาชาติ]] ด้วยการเสนอส่งกองทหารและข้าวไปช่วย  และในปี 2497  ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การ [[SEATO]] ซึ่งเป็นแนวปิดล้อมการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ใน[[เอเชียอาคเนย์]] ทำให้อเมริการู้สึกพึงพอใจรัฐบาลจอมพล ป.  ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มฐานให้กับจอมพล ป. ให้มั่นคงยิ่งขึ้น  เนื่องจากบรรดาผู้นำประเทศต่างคิดว่า  จอมพล ป. เป็นบุคคลที่ทำให้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยตลอด<ref>ทักษ์  เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 128-131.</ref>   


แต่อย่างไรก็ตาม  จอมพล ป. ก็ตระหนักดีว่า  แท้จริงแล้วอเมริกาก็ให้การสนับสนุน “อำนาจ” ทุกฝ่าย  ดังจะเห็นได้ว่าทั้งทหารและตำรวจต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา  ดังนั้นเพื่อจะสร้างความชอบธรรมในการเป็นนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. จึงหันเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน  ผ่านทางนโยบายด้านวัฒนธรรมและศาสนา  โดยได้ตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2495  ซึ่งมุ่งอบรมสั่งสอนประชาชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย  จริยธรรมทางสังคมอันดีงาม  และยังรวมถึงภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์  ความพยายามของจอมพล ป. ในครั้งนี้  จึงถูกตีความได้ว่า  จอมพล ป.  ต้องการสร้างภาพพจน์ใหม่ของผู้นำประเทศที่ตนเองดำรงอยู่  ให้แตกต่างจากผู้นำประเทศที่ใช้อำนาจและแก่งแย่งผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจกันอย่างเปิดเผย  ดังภาพของพล.ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น<ref>พรภิรมณ์  เชียงกูล, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่  เล่ม 1, หน้า 130.</ref>    นอกจากนี้  จอมพล ป. ยังเน้นบทบาทของตนเองในฐานะพุทธศาสนูปถัมภก  โดยการปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์  วัดวาอาราม  และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาจำนวนมาก  ที่สำคัญก็คือ  การมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเตรียมฉลองครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ  ซึ่งในงานนี้ได้มีการสร้างพุทธมณฑล  มีการบวชพระ 2,500  องค์  และงานฉลองอื่น ๆ อีก  ซึ่งพฤติการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ จอมพล ป. ต้องการแสดงให้เห็นว่า  ตนเป็นผู้นำของชาติ<ref>ทักษ์  เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 127-128.</ref>   
แต่อย่างไรก็ตาม  จอมพล ป. ก็ตระหนักดีว่า  แท้จริงแล้วอเมริกาก็ให้การสนับสนุน “อำนาจ” ทุกฝ่าย  ดังจะเห็นได้ว่าทั้งทหารและตำรวจต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา  ดังนั้นเพื่อจะสร้างความชอบธรรมในการเป็น[[นายกรัฐมนตรี]] จอมพล ป. จึงหันเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน  ผ่านทางนโยบายด้านวัฒนธรรมและศาสนา  โดยได้ตั้ง[[กระทรวงวัฒนธรรม]]ขึ้นใน พ.ศ. 2495  ซึ่งมุ่งอบรมสั่งสอนประชาชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย  จริยธรรมทางสังคมอันดีงาม  และยังรวมถึงภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์  ความพยายามของจอมพล ป. ในครั้งนี้  จึงถูกตีความได้ว่า  จอมพล ป.  ต้องการสร้างภาพพจน์ใหม่ของผู้นำประเทศที่ตนเองดำรงอยู่  ให้แตกต่างจากผู้นำประเทศที่ใช้อำนาจและแก่งแย่งผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจกันอย่างเปิดเผย  ดังภาพของพล.ต.อ. เผ่า  ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น<ref>พรภิรมณ์  เชียงกูล, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่  เล่ม 1, หน้า 130.</ref>    นอกจากนี้  จอมพล ป. ยังเน้นบทบาทของตนเองในฐานะพุทธศาสนูปถัมภก  โดยการปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์  วัดวาอาราม  และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาจำนวนมาก  ที่สำคัญก็คือ  การมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเตรียมฉลองครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ  ซึ่งในงานนี้ได้มีการสร้างพุทธมณฑล  มีการบวชพระ 2,500  องค์  และงานฉลองอื่น ๆ อีก  ซึ่งพฤติการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ จอมพล ป. ต้องการแสดงให้เห็นว่า  ตนเป็นผู้นำของชาติ<ref>ทักษ์  เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 127-128.</ref>   
   
   
ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง  ที่นักวิชาการมองว่าเป็นความพยายามของจอมพล ป. ในอันที่จะสร้างฐานอำนาจจากประชาชน  เพื่อต้านทานอำนาจจากฝ่ายตำรวจและทหาร  คือ  การให้เสรีภาพและสนับสนุนการเมืองระบอบประชาธิปไตยภายหลังจากการเดินทางรอบโลกไปอเมริกา  และยุโรป  ในปี พ.ศ. 2498  เช่น  การเปิดสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ทุกวันศุกร์(Press Conference)  ให้มีการอภิปรายทางการเมืองคล้ายๆ ไฮปาร์ค  ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด  หรืออนุญาตให้เปิดชุมนุมทางการเมือง  โดยนโยบายเหล่านี้ของจอมพล ป. ถูกตีความว่า  เป็นแผนขั้นต้นที่จะทำลายคู่แข่งของตน  ทั้งนี้เนื่องจาก จอมพล ป.  แน่ใจว่า  ในการแสดงความคิดเห็นจะต้องมีผู้พาดพิงพฤติกรรมที่ฉ้อฉลของฝ่ายตำรวจและฝ่ายทหาร  ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดทอน  อำนาจฝ่ายตำรวจและทหารไปในตัว  ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นเพราะ พล.ต.อ.เผ่า เป็นบุคคลที่ถูกวิจารณ์มากที่สุด  แต่อย่างไรก็ตามเวทีสาธารณะในหลาย ๆครั้งก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และทำลายชื่อเสียงของจอมพล ป.  ดังนั้นจอมพล ป. จึงสั่งห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะอีก  รวมถึงไม่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์
ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง  ที่นักวิชาการมองว่าเป็นความพยายามของจอมพล ป. ในอันที่จะสร้างฐานอำนาจจากประชาชน  เพื่อต้านทานอำนาจจากฝ่ายตำรวจและทหาร  คือ  การให้เสรีภาพและสนับสนุนการเมืองระบอบประชาธิปไตยภายหลังจากการเดินทางรอบโลกไปอเมริกา  และยุโรป  ในปี พ.ศ. 2498  เช่น  การเปิดสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ทุกวันศุกร์(Press Conference)  ให้มีการอภิปรายทางการเมืองคล้ายๆ ไฮปาร์ค  ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด  หรืออนุญาตให้เปิดชุมนุมทางการเมือง  โดยนโยบายเหล่านี้ของจอมพล ป. ถูกตีความว่า  เป็นแผนขั้นต้นที่จะทำลายคู่แข่งของตน  ทั้งนี้เนื่องจาก จอมพล ป.  แน่ใจว่า  ในการแสดงความคิดเห็นจะต้องมีผู้พาดพิงพฤติกรรมที่ฉ้อฉลของฝ่ายตำรวจและฝ่ายทหาร  ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดทอน  อำนาจฝ่ายตำรวจและทหารไปในตัว  ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นเพราะ พล.ต.อ.เผ่า เป็นบุคคลที่ถูกวิจารณ์มากที่สุด  แต่อย่างไรก็ตามเวทีสาธารณะในหลายๆ ครั้งก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และทำลายชื่อเสียงของจอมพล ป.  ดังนั้นจอมพล ป. จึงสั่งห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะอีก  รวมถึงไม่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์


การเสื่อมคลายของการเมืองสามเส้าอาจกล่าวได้ว่า  เป็นผลสำคัญมาจากการเสียสมดุลในการถ่วงดุลอำนาจของจอมพล ป.  ภายหลังจากที่อำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ลดลงอย่างรวดเร็ว  จากสถานการณ์การคัดค้านการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26  กุมภาพันธ์ 2500 หรือที่รู้จักกันว่า  การเลือกตั้งสกปรก 2500  ทั้งจาก  นิสิต  นักศึกษา  ประชาชน  และนักหนังสือพิมพ์  ซึ่งมีผลทำให้จอมพลสฤษดิ์  สามารถผละตัวเองออกจากฐานะผู้ร่วมรัฐบาลที่ผูกผันกับจอมพล ป. และพล.ต.อ.เผ่า  (ในขณะนั้นไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน  และยังถูกจอมพล ป. ต่อต้านอำนาจด้วยการปลดออกจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม ในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 สิงหาคม 2498)  และก้าวขึ้นมาเป็นความหวัง และขวัญใจของประชาชน  ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า การปกครองของอำนาจสามฐานเกิดขึ้นได้เพราะการรวบอำนาจ  โดยใช้การถ่วงดุลที่เปราะบางระหว่างคนสามคน  คือ  พล.ต.อ.เผ่า  ซึ่งควบคุมกองกำลังตำรวจ  โดยการแข่งกับจอมพลสฤษดิ์  ซึ่งมีกำลังทหาร  และจอมพล ป. ซึ่งฉวยโอกาสการแข่งขันโดยเป็นตัวไกล่เกลี่ย  และสถานภาพจากการสนับสนุนของอเมริกา  ดังนั้น  ตราบเท่าที่ฐานะของจอมพล ป. ยังคงมั่นคง  ผู้มีอำนาจทั้งสามก็ยังคงมีสืบต่อไป  แต่เมื่อจอมพล ป. อ่อนแอลง  โอกาสที่บุคคลทั้งสองฝ่ายจะกระทำตามลำพังก็มีทางจะเป็นไปได้มากขึ้น<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 139.</ref>   
การเสื่อมคลายของการเมืองสามเส้าอาจกล่าวได้ว่า  เป็นผลสำคัญมาจากการเสียสมดุลในการถ่วงดุลอำนาจของจอมพล ป.  ภายหลังจากที่อำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ลดลงอย่างรวดเร็ว  จากสถานการณ์การคัดค้านการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26  กุมภาพันธ์ 2500 หรือที่รู้จักกันว่า  [[การเลือกตั้งสกปรก 26 กุมภาพันธ์ 2500|การเลือกตั้งสกปรก 2500]] ทั้งจาก  นิสิต  นักศึกษา  ประชาชน  และนักหนังสือพิมพ์  ซึ่งมีผลทำให้จอมพลสฤษดิ์  สามารถผละตัวเองออกจากฐานะผู้ร่วมรัฐบาลที่ผูกผันกับจอมพล ป. และพล.ต.อ.เผ่า  (ในขณะนั้นไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน  และยังถูกจอมพล ป. ต่อต้านอำนาจด้วยการปลดออกจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม ในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 สิงหาคม 2498)  และก้าวขึ้นมาเป็นความหวัง และขวัญใจของประชาชน  ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า การปกครองของอำนาจสามฐานเกิดขึ้นได้เพราะการรวบอำนาจ  โดยใช้การถ่วงดุลที่เปราะบางระหว่างคนสามคน  คือ  พล.ต.อ.เผ่า  ซึ่งควบคุมกองกำลังตำรวจ  โดยการแข่งกับจอมพลสฤษดิ์  ซึ่งมีกำลังทหาร  และจอมพล ป. ซึ่งฉวยโอกาสการแข่งขันโดยเป็นตัวไกล่เกลี่ย  และสถานภาพจากการสนับสนุนของอเมริกา  ดังนั้น  ตราบเท่าที่ฐานะของจอมพล ป. ยังคงมั่นคง  ผู้มีอำนาจทั้งสามก็ยังคงมีสืบต่อไป  แต่เมื่อจอมพล ป. อ่อนแอลง  โอกาสที่บุคคลทั้งสองฝ่ายจะกระทำตามลำพังก็มีทางจะเป็นไปได้มากขึ้น<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 139.</ref>   


การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์  ในปีพ.ศ. 2500  ได้นำมาซึ่งการยุติการเมืองในรูปแบบสามเส้า  โดยจอมพล ป. ต้องหนีออกไปพำนักลี้ภัยที่ประเทศเขมร  ต่อมาย้ายไปพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นจนถึงแก่อสัญกรรม  ส่วนพล.ต.อ.เผ่า  ถูกเนรเทศออกนอกประเทศและได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงแก่อนิจกรรม  ตลอดจนจอมพลจอมพลสฤษดิ์  ก้าวขึ้นมามีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว  ด้วยการยึดอำนาจในปี 2501   
การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์  ในปีพ.ศ. 2500  ได้นำมาซึ่งการยุติการเมืองในรูปแบบสามเส้า  โดยจอมพล ป. ต้องหนีออกไปพำนักลี้ภัยที่ประเทศเขมร  ต่อมาย้ายไปพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นจนถึงแก่อสัญกรรม  ส่วนพล.ต.อ.เผ่า  ถูกเนรเทศออกนอกประเทศและได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงแก่อนิจกรรม  ตลอดจนจอมพลจอมพลสฤษดิ์  ก้าวขึ้นมามีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว  ด้วยการยึดอำนาจในปี 2501   

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:29, 16 สิงหาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ภาวิณี บุนนาค


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


การเมืองสามเส้า เป็นเหตุการณ์การการขับเคี่ยวแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ระหว่าง “ผู้มีอำนาจทั้งสาม” (the Triumvirate) คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยที่พล.ต.อ.เผ่า และจอมพลสฤษดิ์ ต่างมีฐานอำนาจทางตำรวจและทหารของตนตามลำดับ ขณะที่ จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจอันเกิดจากการแข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของสองฝ่าย

เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนการเมืองสามเส้า

นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มประชาธิปไตยพลเรือนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทางการเมือง ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลของพล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ แต่อย่างไรก็ตาม บทบาททางการเมืองของกลุ่มประชาธิปไตยพลเรือนก็ต้องหยุดชะงักลงด้วยกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกอบกับการใส่ร้ายป้ายสีทางการเมืองจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม จึงทำให้กลุ่มอำนาจนิยม อันประกอบด้วยนายทหารทั้งในและนอกราชการ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการรัฐประหารในปีพ.ศ. 2490

โดยภายหลังการรัฐประหาร 2490 คณะรัฐประหารก็ได้พยายามสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม ด้วยการให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมมีบทบาทอย่างมากในสภา แต่ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับคณะรัฐประหารก็ดำเนินอยู่เพียงระยะสั้นๆ ในที่สุดก็เกิดกรณีที่เรียกว่า “การจี้นายควง” ในวันที่ 6 เมษายน 2491 อันทำให้นายควง อภัยวงศ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และทำให้จอมพล ป. ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ ระบบการเมืองในช่วงปีพ.ศ.2491 จนถึงปลายปีพ.ศ.2494 ถึงแม้จะมีรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแต่คณะรัฐประหารกลับมีอำนาจเหนือกฎหมาย[1] ซึ่งภายหลังจากการจี้นายควง รัฐบาลต้องประสบกับการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มีบทบาทอย่างมากในสภา อันทำให้รัฐบาลจอมพล ป. ภายใต้การสนับสนุนของคณะรัฐประหารไม่สามารถควบคุมคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาได้อย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ รัฐบาลของจอมพล ป. ยังต้องเผชิญกับกบฏล้มล้างรัฐบาลถึง 3 ครั้ง คือ

1.กบฏเสนาธิการ (2491) เป็นการต่อต้านจากภายในกองทัพเอง

2.กบฏวังหลวง (2492) เป็นการต่อต้านจากฝ่ายประชาธิปไตยพลเรือน ซึ่งประกอบด้วยเสรีไทยและกองทัพเรือ

3.กบฏแมนฮัตตัน (2494) เป็นการต่อต้านจากฝ่ายกองทัพเรือ โดยกบฏทั้งสามครั้งนั้นจบลงด้วยชัยชนะของรัฐบาล อันทำให้รัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารนั้นมีเสถียรภาพมั่นคงมากขึ้น ดังนั้น คณะรัฐประหารจึงได้ทำการรัฐประหารเงียบหรือการรัฐประหารทางวิทยุในปีพ.ศ.2494 เพื่อที่จะได้ควบคุมอำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภาได้อย่างเต็มที่

หลังการรัฐประหารเงียบในปีพ.ศ.2494 คณะรัฐประหารได้แต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสองประเภทจำนวนเท่ากัน คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาล รวมถึงการให้ข้าราชการประจำสามารถรับตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้นจึงเท่ากับเปิดโอกาสให้คณะรัฐประหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารประจำการเข้ามามีบทบาททางการเมืองได้อย่างเต็มที่ เช่น พล.อ. ผิน ชุณหะวัณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี พล.ร.ต. หลวงยุทธศาสตร์โกศล เป็นรัฐมนตรีเกษตราธิการ พล.อ.อ. ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นรัฐมนตรีคมนาคม พล.ท.เดช เดชประดิยุทธ, พล.ท.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นรัฐมนตรี เป็นต้น[2]

นอกจากนี้ รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยังพยายามควบคุมเสียงสนับสนุนรัฐบาลในสภาทั้งสมาชิกประเภทที่ 1 และสมาชิกประเภทที่ 2 ด้วยการจัดตั้ง “คณะกรรมการนิติบัญญัติ” ซึ่งมีจอมพล ป. เป็นประธาน คณะรัฐมนตรีทั้งหมดเป็นกรรมการ และ พล.ต.อ.เผ่า เป็นเลขานุการ[3] อันทำให้รัฐบาลควบคุมสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะรัฐประหารจึงสามารถบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น โดยไม่ต้องวิตกกังวลกับการต่อต้านรัฐบาลในสภา

กล่าวโดยสรุป ในช่วงต้นทศวรรษ 2490 คณะรัฐประหารได้เผชิญกับการแข่งขันกับกลุ่มการเมืองต่างๆ ซึ่งคณะรัฐประหารก็สามารถขจัดคู่แข่งทางการเมืองของตนทั้งกลุ่มประชาธิปไตยพลเรือน จากชัยชนะของรัฐบาลในกรณีกบฏวังหลวง รวมถึงการกวาดล้างผู้สนับสนุนปรีดี พนมยงค์ อย่างรุนแรง เช่น กรณีสังหารอดีตสี่รัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2492 ส่วนกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มีบทบาทในสภานั้นก็ถูกลดบทบาทลงด้วยการทำรัฐประหารในปีพ.ศ. 2494 อันทำให้คณะรัฐประหารสามารถสร้างอำนาจและบารมีทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากหมดปัญหาคู่แข่งทางการเมือง แต่กรณีดังกล่าวกลับส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกันเองภายในคณะรัฐประหารในเวลาต่อมา

เหตุการณ์การเมืองสามเส้า

ภายหลังการรัฐประหาร 2494 ได้ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทยในช่วงปลายทศวรรษ 2490 เปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันและการขัดแย้งกันเองภายในคณะรัฐประหาร อันประกอบด้วย กลุ่มราชครู ที่มีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นหลักสำคัญ, กลุ่มสี่เสาเทเวศร์ มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า และกลุ่มทหารอาวุโสที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม - การกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 (พ.ศ.2491-2500) ของจอมพล ป. กล่าวได้ว่า แตกต่างจากดำรงตำแหน่งในสมัยแรกอย่างมาก โดยการที่รัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐประหาร จึงมีผลทำให้รัฐบาลมีลักษณะที่เกรงใจต่อฝ่ายคณะรัฐประหารอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ กรณีที่ สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ ป่วยเป็นเนื้องอกที่ตับอ่อน ต้องส่งไปผ่าตัดที่สหรัฐอเมริกา รัฐบาลก็ได้จัดทำโครงการไปในรูปการส่งไปดูงาน และออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด[4] และจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน (2494) ที่คณะรัฐประหารตัดสินใจทิ้งระเบิดเรือศรีอยุธยา โดยไม่สนใจชีวิตของจอมพล ป. ที่ถูกจับเป็นตัวประกันอยู่บนเรือ มองในแง่นี้ก็อาจจะตีความได้ว่า จอมพล ป. ในเวลานั้นมีอิทธิพลในคณะรัฐประหารน้อยลง ถึงแม้จะไม่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม คณะรัฐประหารก็ยังคงอยู่ได้ แต่การที่คณะรัฐประหารยังคงยอมให้จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปก็เพราะ ความที่จอมพล ป. เป็นผู้นำทางทหารที่เคยทำให้สถาบันทหารมีบทบาทสูงเด่นมาแล้ว อันทำให้จอมพล ป. เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอำนาจในหมู่ทหาร[5] ขณะเดียวกันจอมพล ป. ยังมีฐานะพิเศษในการเป็นผู้นำของชาติเพียงคนเดียว ที่ยังคงเหลืออยู่ในบรรดาคณะผู้ก่อการ 2475[6] ซึ่งนับได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ จอมพล ป. เหมาะสมจะเป็นผู้ถ่วงดุลอำนาจระหว่างพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ต่างแข่งขันกันแสวงหาอำนาจทางการเมือง

พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ – ในช่วงเวลานี้ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจควบคุมกองกำลังตำรวจ ซึ่งมีความสามารถเกือบเทียบเท่ากองทัพบก โดยแต่เดิมพล.ต.อ.เผ่า ได้รับการฝึกอบรมมาทางทหารบก และเป็นนายทหารคนสนิทของจอมพล ป. ต่อมาได้โอนมารับราชการตำรวจหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2490 ซึ่งจากสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดความวุ่นวายขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะความพยายามใช้กำลังล้มล้างรัฐบาลถึง 3 ครั้ง จึงทำให้กองกำลังตำรวจที่นำโดย พล.ต.ต. เผ่า ได้เข้าไปมีบทบาทในการปราบปรามฝ่ายกบฏ ประกอบกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรมตำรวจจากหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกาผ่านทางบริษัท ซี ซัพพลาย(SEA Supply)เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ปัจจัยทั้งสองจึงทำให้กรมตำรวจได้ถูกพัฒนาขีดความสามารถทั้งทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและเพิ่มจำนวนบุคลากร ซึ่งเกินกว่าขอบเขตหน้าที่ของตำรวจในยามปกติ เช่น มีตำรวจรถถัง โดยใช้รถถังเสตกฮาวร์ มีตำรวจพลร่ม[7] ส่วนกำลังตำรวจมีถึง 42,835 คน หรือตำรวจ 1 คนต่อพลเมือง 407 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าตำรวจจะมีน้อยกว่าทหาร แต่กำลังตำรวจก็สามารถแสดงบทบาททางการเมืองได้เป็นอย่างดี เนื่องจากตำรวจสามารถติดต่อกับประชาชนได้โดยตรง และสามารถคุกคาม ปราบปรามคู่แข่งที่ต่อต้านได้ด้วยข้ออ้างที่ว่าเพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์และเพื่อรักษาความสงบภายในประเทศ [8] นอกจากนี้ เผ่ายังอาศัยการการค้าฝิ่นและการค้าอื่นๆในการหารายได้พิเศษสำหรับกิจกรรมทางการเมือง โดยพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์มักจะอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในทางการเมืองเข้าไปใกล้ชิดกับนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง ด้วยการให้เงินอุดหนุนทางการเมืองและสิทธิพิเศษต่างๆเป็นการเอาใจ อันนำไปสู่การดึงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามารวมกลุ่มกับตนเอง

ทั้งนี้ พล.ต.อ. เผ่า ได้ตั้งและเลี้ยงดูบริวารของตนที่รู้จักกันว่า พวก “อัศวิน” เพื่อดำเนินงานตามคำสั่งที่ไม่ผ่านระบบราชการ โดย “อัศวิน” ของพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์มักจะทำงานสกปรก เพื่อเอาใจพล.ต.อ. เผ่า และเพื่อได้รับสิ่งตอบแทนในรูปของเงินตรา ยศ และตำแหน่ง วิธีการรุนแรงของตำรวจในยุคนี้จึงเป็นที่หวาดกลัวทั้งในหมู่ประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[9] เช่น ในกรณีการสังหารโหดอดีตสี่รัฐมนตรี นายเตียง ศิริขันธ์ ส.ส.สกลนคร นายพร มะลิทอง ส.ส.สมุทรสาคร นายอารีย์ ลีวีระ นักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น[10]

กลุ่มของ พล.ต.อ. เผ่า เรียกว่า “กลุ่มซอยราชครู” ประกอบด้วย จอมพลผิน ชุณหะวัณ, พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์, พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร, พล.ต. ศิริ ศิริโยธิน, พล.จ. ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมี จอมพลผิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม แต่เนื่องจาก จอมพล ผิน ให้ความสนใจกับการแสวงหาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง ดังนั้นบทบาททางการเมืองของกลุ่มราชครูจึงตกไปอยู่ที่ พล.ต.อ. เผ่า ซึ่งเป็นบุตรเขยของจอมพลผิน

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ – เป็นนายทหารที่เติบโตขึ้นจากกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ ต่อมาได้เข้าร่วมทำการรัฐประหารในปีพ.ศ.2490 นับแต่นั้นเป็นต้นมาชีวิตราชการของสฤษดิ์ เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลงานที่สร้างชื่อให้เขาคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวง นอกจากนี้จากการที่จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ผู้บัญชาการทหารบกให้ความสนใจกับการแสวงหาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากกว่าอำนาจในกองทัพ สฤษดิ์จึงสามารถสร้างฐานอำนาจของตนในกองทัพบกได้ ดังนั้นเมื่อจอมพล ผิน ชุณหะวัณ สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ.2497 สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทน[11] รวมถึงได้รับพระราชทานยศจอมพลด้วย

โดยกองทัพภายใต้การนำของสฤษดิ์ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในการปรับปรุงกองทัพให้เป็นแบบกองทัพอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการส่งคณะที่ปรึกษาทางทหารมาประจำในประเทศไทย ช่วยฝึกและจัดระเบียบกองทัพไทยให้เข้มแข็งขึ้น การช่วยเหลือของอเมริกาส่งผลให้กองทัพบกของไทยขยายตัวอย่างมากจากกำลังพลที่มีอยู่ 45,000 นายในปีพ.ศ.2494 มาเป็น 80,000 นายในปีพ.ศ.2497[12]

เช่นเดียวกับเผ่า สฤษดิ์ก็มีฐานทางเศรษฐกิจของตน คือการคุมสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารขององค์การทหารผ่านศึก และดำรงตำแหน่งในบริษัทต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 22 บริษัท โดยสฤษดิ์มักจะอ้างการใช้เงินในราชการลับ เบิกจ่ายเงินจากราชการเข้ากระเป๋าตัวเองเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มของสฤษดิ์ ที่เรียกว่า “กลุ่มสี่เสาเทเวศร์” ประกอบด้วย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พล.ท. ถนอม กิตติขจร พ.ต. ประภาส จารุเสถียร พ.ต. กฤษณ์ สีวะรา

ขณะที่ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กำลังแข่งขันและสร้างฐานอำนาจของตนอย่างมั่นคงอยู่นั้น จอมพล ป. ที่ต้องตกอยู่ในฐานที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของอำนาจลอยก็พยายามสร้างฐานอำนาจของตนเองเช่นเดียวกัน โดยจากการศึกษาของทักษ์ เฉลิมเตียรณ อธิบายว่า จอมพล ป. ได้พยายามสร้างฐานอำนาจโดยผ่านการหันเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา ส่วนอีกฐานอำนาจหนึ่งก็คือ การเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน

ในการเข้าหาการรับรองจากสหรัฐอเมริกา จอมพล ป. ได้แสดงตนเป็นฝ่ายอเมริกาและขานรับนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลอเมริกา กล่าวคือ ประเทศไทยได้เข้าผูกผันกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น และเริ่มรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทหารจากอเมริกา มีผลให้อเมริกาส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร ทางเทคนิค และเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2495 รัฐบาลไทยให้ความสนับสนุนอเมริกา ในการเข้าร่วมทำสงครามเกาหลีในนามของสหประชาชาติ ด้วยการเสนอส่งกองทหารและข้าวไปช่วย และในปี 2497 ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การ SEATO ซึ่งเป็นแนวปิดล้อมการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียอาคเนย์ ทำให้อเมริการู้สึกพึงพอใจรัฐบาลจอมพล ป. ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มฐานให้กับจอมพล ป. ให้มั่นคงยิ่งขึ้น เนื่องจากบรรดาผู้นำประเทศต่างคิดว่า จอมพล ป. เป็นบุคคลที่ทำให้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยตลอด[13]

แต่อย่างไรก็ตาม จอมพล ป. ก็ตระหนักดีว่า แท้จริงแล้วอเมริกาก็ให้การสนับสนุน “อำนาจ” ทุกฝ่าย ดังจะเห็นได้ว่าทั้งทหารและตำรวจต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา ดังนั้นเพื่อจะสร้างความชอบธรรมในการเป็นนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. จึงหันเข้าหาฐานที่เป็นมวลชน ผ่านทางนโยบายด้านวัฒนธรรมและศาสนา โดยได้ตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2495 ซึ่งมุ่งอบรมสั่งสอนประชาชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย จริยธรรมทางสังคมอันดีงาม และยังรวมถึงภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความพยายามของจอมพล ป. ในครั้งนี้ จึงถูกตีความได้ว่า จอมพล ป. ต้องการสร้างภาพพจน์ใหม่ของผู้นำประเทศที่ตนเองดำรงอยู่ ให้แตกต่างจากผู้นำประเทศที่ใช้อำนาจและแก่งแย่งผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจกันอย่างเปิดเผย ดังภาพของพล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น[14] นอกจากนี้ จอมพล ป. ยังเน้นบทบาทของตนเองในฐานะพุทธศาสนูปถัมภก โดยการปฏิสังขรณ์อนุสาวรีย์ วัดวาอาราม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาจำนวนมาก ที่สำคัญก็คือ การมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานเตรียมฉลองครบรอบ 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งในงานนี้ได้มีการสร้างพุทธมณฑล มีการบวชพระ 2,500 องค์ และงานฉลองอื่น ๆ อีก ซึ่งพฤติการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ จอมพล ป. ต้องการแสดงให้เห็นว่า ตนเป็นผู้นำของชาติ[15]

ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง ที่นักวิชาการมองว่าเป็นความพยายามของจอมพล ป. ในอันที่จะสร้างฐานอำนาจจากประชาชน เพื่อต้านทานอำนาจจากฝ่ายตำรวจและทหาร คือ การให้เสรีภาพและสนับสนุนการเมืองระบอบประชาธิปไตยภายหลังจากการเดินทางรอบโลกไปอเมริกา และยุโรป ในปี พ.ศ. 2498 เช่น การเปิดสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ทุกวันศุกร์(Press Conference) ให้มีการอภิปรายทางการเมืองคล้ายๆ ไฮปาร์ค ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด หรืออนุญาตให้เปิดชุมนุมทางการเมือง โดยนโยบายเหล่านี้ของจอมพล ป. ถูกตีความว่า เป็นแผนขั้นต้นที่จะทำลายคู่แข่งของตน ทั้งนี้เนื่องจาก จอมพล ป. แน่ใจว่า ในการแสดงความคิดเห็นจะต้องมีผู้พาดพิงพฤติกรรมที่ฉ้อฉลของฝ่ายตำรวจและฝ่ายทหาร ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดทอน อำนาจฝ่ายตำรวจและทหารไปในตัว ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นเพราะ พล.ต.อ.เผ่า เป็นบุคคลที่ถูกวิจารณ์มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเวทีสาธารณะในหลายๆ ครั้งก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และทำลายชื่อเสียงของจอมพล ป. ดังนั้นจอมพล ป. จึงสั่งห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะอีก รวมถึงไม่ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์

การเสื่อมคลายของการเมืองสามเส้าอาจกล่าวได้ว่า เป็นผลสำคัญมาจากการเสียสมดุลในการถ่วงดุลอำนาจของจอมพล ป. ภายหลังจากที่อำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ลดลงอย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์การคัดค้านการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 หรือที่รู้จักกันว่า การเลือกตั้งสกปรก 2500 ทั้งจาก นิสิต นักศึกษา ประชาชน และนักหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีผลทำให้จอมพลสฤษดิ์ สามารถผละตัวเองออกจากฐานะผู้ร่วมรัฐบาลที่ผูกผันกับจอมพล ป. และพล.ต.อ.เผ่า (ในขณะนั้นไม่เป็นที่ศรัทธาของประชาชน และยังถูกจอมพล ป. ต่อต้านอำนาจด้วยการปลดออกจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม ในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 สิงหาคม 2498) และก้าวขึ้นมาเป็นความหวัง และขวัญใจของประชาชน ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า การปกครองของอำนาจสามฐานเกิดขึ้นได้เพราะการรวบอำนาจ โดยใช้การถ่วงดุลที่เปราะบางระหว่างคนสามคน คือ พล.ต.อ.เผ่า ซึ่งควบคุมกองกำลังตำรวจ โดยการแข่งกับจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งมีกำลังทหาร และจอมพล ป. ซึ่งฉวยโอกาสการแข่งขันโดยเป็นตัวไกล่เกลี่ย และสถานภาพจากการสนับสนุนของอเมริกา ดังนั้น ตราบเท่าที่ฐานะของจอมพล ป. ยังคงมั่นคง ผู้มีอำนาจทั้งสามก็ยังคงมีสืบต่อไป แต่เมื่อจอมพล ป. อ่อนแอลง โอกาสที่บุคคลทั้งสองฝ่ายจะกระทำตามลำพังก็มีทางจะเป็นไปได้มากขึ้น[16]

การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ในปีพ.ศ. 2500 ได้นำมาซึ่งการยุติการเมืองในรูปแบบสามเส้า โดยจอมพล ป. ต้องหนีออกไปพำนักลี้ภัยที่ประเทศเขมร ต่อมาย้ายไปพำนักที่ประเทศญี่ปุ่นจนถึงแก่อสัญกรรม ส่วนพล.ต.อ.เผ่า ถูกเนรเทศออกนอกประเทศและได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึงแก่อนิจกรรม ตลอดจนจอมพลจอมพลสฤษดิ์ ก้าวขึ้นมามีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ด้วยการยึดอำนาจในปี 2501

ข้อโต้แย้งคำอธิบาย “การเมืองสามเส้า”

อย่างไรก็ตามการอธิบายการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ2490 ว่าเป็น “การเมืองสามเส้า” นั้น ได้ถูกนักวิชาการบางคนออกมาโต้แย้งว่า ความจริงในช่วงปลายทศวรรษ2490 มีกลุ่มการเมืองมากกว่ากลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลุ่มของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ และกลุ่มของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยยังมีกลุ่มการเมืองที่สำคัญอยู่อีกคือ กลุ่มอนุรักษ์นิยม ที่พยายามรื้อฟื้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งแสดงออกผ่านเจ้านายบางพระองค์และพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยนายควง อภัยวงศ์เป็นหัวหน้าพรรค กลุ่มสังคมนิยม ที่เคลื่อนไหวภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยม ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนชนชั้นล่างที่ยากจนและถูกกดขี่ มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พ.ค.ท.)เป็นแกน และกลุ่มปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีกำลังและบทบาทน้อยมาก แต่ถูกกลุ่มการเมืองอื่นดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง[17]

ทั้งนี้จากการศึกษาของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้อธิบายว่า ในช่วงปลายทศวรรษ2490 ในกลุ่มขั้วอำนาจทั้งสามนั้น จอมพล ป. เป็นกลุ่มที่อยู่ในฐานะลำบากที่สุด เนื่องจากไม่มีฐานกำลังเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่จอมพล ป. ทำคือ การใช้สองขุนศึก(สฤษดิ์และเผ่า)มาคานอำนาจกันเอง อีกด้านหนึ่งก็หาการสนับสนุนจากกลุ่มที่อยู่นอกวงอำนาจรัฐให้แก่ตัวเอง ด้วยการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านทางนายสังข์ พัธโนทัย อันทำให้จอมพล ป. เข้าไปพัวพันเป็นพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทางอ้อม ซึ่งส่งผลให้ พคท.เกิดการแตกแยกภายในระหว่างสายงานกรรมกรของ พคท. โน้มเอียงมาสนับสนุนจอมพล ป. ขณะที่สายงานปัญญาชน(นักเขียน, นักศึกษา และนักหนังสือพิมพ์)โน้มเอียงไปสนับสนุนสฤษดิ์ [18]

นอกเหนือจากนี้ จอมพล ป. ยังพยายามจะกลับไปร่วมมือกับกลุ่มของปรีดี พนมยงค์อีกครั้ง ด้วยการส่งตัวแทนไปพบปรีดี ที่ประเทศจีน เพื่อให้ปรีดีกลับมาประเทศไทยและรับรองว่าจะรื้อฟื้นคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นใหม่ [19]

ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ถึงแม้ว่าจะถูกลดบทบาทอย่างมากหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2494 แต่จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัตพระนครและประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร กลับเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สามารถฟื้นฟูสถานะของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยอย่างจริงจัง อันนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม[20] โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษ2490 ที่รัฐบาลจอมพล ป. ถูกวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีบ่อยครั้งว่า ละเมิดพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ เช่น กรณีที่หยุด แสงอุทัย ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2499[21] หรือ กรณีขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ[22]

ขณะเดียวกันฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังมีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกลุ่มทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เช่น ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้จอมพล สฤษดิ์เข้าเฝ้าและพระราชทานเงินส่วนพระองค์ถึง 100,000 บาท เพื่อให้กองทัพบกนำไปใช้ในกิจการด้านต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เนื่องในวันกองทัพบก พ.ศ.2500[23] ซึ่งจากการศึกษาของ ณัฐพล ใจจริง ยังพบว่าในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ.2500 เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์นิยมเช่น พระองค์เจ้าธานีนิวัต ประธานองคมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ร่วมมือกับกองทัพเคลื่อนไหวเตรียมรัฐประหารผ่านการโจมตีรัฐบาลจอมพล ป. ทางหนังสือพิมพ์ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งก่อนการรัฐประหารได้มีการอภิปรายเปิดเผยในสภาผู้แทนราษฎรว่า กษัตริย์พระราชทานเงินสนับสนุนจำนวน 700,000 บาทแก่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง[24]

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจทั้งสามได้มีการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองอื่น ๆ เช่น กลุ่มจอมพล ป.(รวมถึงกลุ่มพล.ต.อ.เผ่า)พยายามร่วมมือกับพคท.สายงานกรรมกรและกลุ่มปรีดี ขณะที่กลุ่มจอมพลสฤษดิ์ ได้ร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมและพคท.สายปัญญาชน ซึ่งการอธิบายในลักษณะนี้ทำให้มองประวัติศาสตร์ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ที่มิได้มองเฉพาะการแข่งขันทางการเมืองของผู้มีอำนาจทั้งสามในคณะรัฐประหารเท่านั้น แต่จะให้ภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ได้หยุดนิ่งหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2494

ที่มา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์(บรรณาธิการ). บันทึกการสัมมนาจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540.

ณัฐพล ใจจริง. “คว่ำปฏิวัติ - โค่นคณะราษฎร: การก่อตัวของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข.” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2551): 136 – 137.

ณัฐพล ใจจริง. “ความสัมพันธ์ไทย-จีนกับความขัดแย้งทางการเมือง : " การทูตใต้ดิน" (2498-2500) ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม.” รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 29ฉบับพิเศษ (2551) : 29 – 80.

ถนอมจิต มีชื่น. “จอมพล ป. พิบูลสงครามกับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531.

แถมสุข นุ่มนนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อเมริกาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2525.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : 60 ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

นรนิติ เศรษฐบุตร. กลุ่มราชครูในการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. “หยุด แสงอุทัย กับหลัก The King can do no wrong” เข้าถึงได้จาก http://www.sameskybooks.org/2008/06/19/yut_andthe_king_can_do_no_wrong/

พรภิรมณ์ เชียงกูล. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2535.

พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ. 13 ปีกับบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2524.

พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ. ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ: ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์, 2530.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก, 2544.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก, 2550.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พี. เพรส, 2551.

David A. Wilson. Politics in Thailand. New York: Cornell University Press, 1962.

Kobkua Suwannathat-Pian. Thailand's durable Premier : Phibun through three decades, 1932-1957. Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1995.

Frank C. Daling. Thailand and the United States. Washington : Public Affairs Press, 1965.

อ้างอิง

  1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500), พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก, 2550), หน้า 133 - 153.
  2. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: พี. เพรส, 2551), หน้า 71.
  3. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500), หน้า 256.
  4. หจช. สร 0201.8.1/53 เรื่องพลโท สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติป่วย หนังสือจาก หม่อมหลวงขาบ กุญชร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2493 อ้างใน ถนอมจิต มีชื่น, “จอมพล ป. พิบูลสงครามกับงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ,” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2531), หน้า 53.
  5. David A. Wilson, Politics in Thailand (New York: Cornell University Press, 1962), p.179.
  6. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526), หน้า 122.
  7. นรนิติ เศรษฐบุตร, กลุ่มราชครูในการเมืองไทย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542), หน้า 44.
  8. Frank C. Daling, Thailand and the United States (Washington : Public Affairs Press, 1965), p.114
  9. พรภิรมณ์ เชียงกูล, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ เล่ม 1 (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2535), หน้า 129.
  10. ดูรายละเอียดใน พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ., ชัยชนะและความพ่ายแพ้ของบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย (กรุงเทพฯ: ศูนย์รวมข่าวเอกลักษณ์, 2530). และ พุฒ บูรณสมภพ, พ.ต.อ., 13 ปีกับบุรุษเหล็กแห่งเอเชีย (กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2524).
  11. เรื่องเดียวกัน, หน้า 129.
  12. แถมสุข นุ่มนนท์, ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อเมริกาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2525), หน้า 6.
  13. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 128-131.
  14. พรภิรมณ์ เชียงกูล, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ เล่ม 1, หน้า 130.
  15. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, หน้า 127-128.
  16. เรื่องเดียวกัน, หน้า 139.
  17. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “ปรีดี พนมยงค์, จอมพล ป., กรณีสวรรคต และรัฐประหาร 2500” ใน ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก, 2544), หน้า 32.
  18. เรื่องเดียวกัน, หน้า 32 -33.
  19. เรื่องเดียวกัน, หน้า 34. และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน ณัฐพล ใจจริง, “ความสัมพันธ์ไทย-จีนกับความขัดแย้งทางการเมือง : " การทูตใต้ดิน" (2498-2500) ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม,” รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 29ฉบับพิเศษ (2551) : 29 – 80.
  20. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : 60 ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549), หน้า 51 - 52.
  21. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500), หน้า 376 – 378. และ ปิยบุตร แสงกนกกุล “หยุด แสงอุทัย กับหลัก The King can do no wrong” เข้าถึงได้จาก http://www.sameskybooks.org/2008/06/19/ yut_andthe_king_can_do_no_wrong/
  22. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500), หน้า 379. และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : 60 ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย, หน้า 57 – 59
  23. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ.2491 - 2500), หน้า 378 - 379.
  24. ณัฐพล ใจจริง, “คว่ำปฏิวัติ - โค่นคณะราษฎร: การก่อตัวของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2551): 136 – 137.