ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วาทกรรมไพร่-อำมาตย์"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
== ที่มาและความหมายโดยทั่วไป == | == ที่มาและความหมายโดยทั่วไป == | ||
“ไพร่” เป็นคำในสังคมศักดินาแบบเก่า โดยเป็นกลไกหนึ่งที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและเป็นกำลังในยามศึกสงคราม | “ไพร่” เป็นคำในสังคมศักดินาแบบเก่า โดยเป็นกลไกหนึ่งที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและเป็นกำลังในยามศึกสงคราม ในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรง[[ตรากฎหมาย]]พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง เพื่อจัดแบ่งประเภทและหมวดหมู่ของประชาชนออกตามระดับสถานภาพทางสังคมโดยถือการวัดจำนวนที่ดินเป็นเกณฑ์ (เป็นเกณฑ์วัดทางสังคม มิใช่ถือที่ดินจริง) เรียกว่า "[[ระบบศักดินา]]” ตาม[[กฎหมาย]]นี้ได้กำหนดให้ไพร่หมายถึงผู้ที่ถือครองที่ดินตั้งแต่ 25 ไร่ลงมา<ref>ระบบศักดินากำหนดให้ทาส วณิพก และยาจก มีศักดินา 5 ไร่ ไพร่มีศักดินาตั้งแต่ 10 ถึง 25 ไร่ ผู้ที่มีศักดินามากกว่า 25 ไร่ แต่ไม่เกิน 400 ไร่ ถือเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปเป็นขุนนาง ผู้ที่มีศักดินามากกว่า 800 ไร่ สามารถขอเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินได้ ในขณะที่ผู้ที่มีศักดินาตั้งแต่ 3,000 ไร่ขึ้นไปถือว่าเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ดูรายละเอียดใน ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 47-52.</ref> โดยที่ระบบไพร่ถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่คู่กับระบบศักดินาอย่างแนบแน่นนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนกระทั่งถึง[[การปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]]ในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] <ref>ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง, หน้า 33.</ref> | ||
</ref> | |||
หากจัดแบ่งตามประเภทแล้ว ไพร่แบ่งออกเป็น | หากจัดแบ่งตามประเภทแล้ว ไพร่แบ่งออกเป็น “[[ไพร่หลวง]]” ที่ขึ้นต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือกรมกองของรัฐบาล “[[ไพร่สม]]” ที่ขึ้นต่อราชวงศ์หรือตระกูลขุนนาง ซึ่งไพร่ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวต้องถูกเกณฑ์แรงงานรับใช้นายของตนทุกเดือนเว้นเดือน หรือที่เรียกว่าการเกณฑ์แรงงานแบบ “[[เข้าเดือนออกเดือน]]” เว้นแต่ว่าจะจ่ายเงินหรือหาของป่ามาส่งแทนการใช้แรงงาน ไพร่ที่ถูกมอบหมายให้จัดหาผลผลิตบางอย่างมาส่งให้กับนายของตน ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในทางการค้า การบริโภค หรือในงานของรัฐบาล ก็จะเรียกว่า “[[ไพร่ส่วย]]” ดังนั้นในระบบไพร่นี้ ราษฎรเพศชายทุกคนที่มี[[ศักดินา]]ตั้งแต่ 25 ไร่ลงมาจึงต้องตกอยู่ภายใต้ระเบียบการเกณฑ์แรงงาน และในยามสงครามระบบไพร่ยังถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เพื่อการทหารอีกด้วย <ref>ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 33-34.</ref> | ||
ในส่วนของความหมายทางสังคม | ในส่วนของความหมายทางสังคม ไพร่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนที่ต้องสังกัด[[มูลนาย]] จึงมักถูกมองจากพวกเจ้าศักดินาว่าเป็นพวก “คนชั้นต่ำ” <ref> ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 51.</ref> เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมกิริยามารยาทในแบบผู้ดี และด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไพร่จำเป็นต้องมีมูลนายคอยอุปถัมภ์ ไพร่จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดตลอดจนการวิ่งเต้นหรือใช้เส้นสายเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งนี่เองถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในระบอบอุปถัมภ์ที่สืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน ระบบไพร่ได้ถูกยกเลิกในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยการออก[[พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124]] (พ.ศ.2448) อันเป็นกฎหมายที่ยกเลิกพันธะทางเศรษฐกิจและสังคมตามระบบไพร่ของประชาชนไปโดยปริยาย พร้อมๆ ไปกับการดำเนิน “[[การเลิกทาส]]” ที่พระองค์ทรงใช้เวลาราวสามทศวรรษในการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป<ref> ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 108-112.</ref> และนำพาสยามเข้าสู่การเป็น[[รัฐสมัยใหม่]] | ||
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปประเทศในมิติต่างๆ ให้มีความทันสมัย | แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปประเทศในมิติต่างๆ ให้มีความทันสมัย มาจนกระทั่งมี[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475]] โดย[[คณะราษฎร]] ซึ่งเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็น[[ระบอบราชาธิปไตย]]ภายใต้[[รัฐธรรมนูญ]]ที่[[ผู้นำทางการเมือง]]และ[[ผู้แทนราษฎร]]ต้องรับผิดชอบต่อสภาและต่อประชาชน ถึงกระนั้น “[[ระบบเลือกตั้ง]]” ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมระบอบการเมืองในแบบ[[รัฐสภา]]กลับไม่สามารถมีพัฒนาการราบรื่นอย่างที่ควร ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากวัฒนธรรมการเมืองในระบบอุปถัมภ์นับแต่อดีต เกื้อหนุนให้เกิดระบอบราชการที่เข้มแข็งและกลายมาเป็นสถาบันที่คอยคัดค้านกับระบอบการเมืองแบบตัวแทนเสมอมา | ||
ในแวดวงวิชาการ เฟรด วอเรน ริกส์ (Fred Warren Riggs) คือผู้ที่เริ่มขนานนามระบอบสังคมการเมืองไทยว่ามีลักษณะที่เป็น “Bureaucratic Polity”<ref>เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 59.</ref> ซึ่งพงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า | ในแวดวงวิชาการ เฟรด วอเรน ริกส์ (Fred Warren Riggs) คือผู้ที่เริ่มขนานนามระบอบสังคมการเมืองไทยว่ามีลักษณะที่เป็น “Bureaucratic Polity”<ref>เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 59.</ref> ซึ่งพงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า “[[ระบอบอำมาตยาธิปไตย]]”<ref>เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด, หน้า 191.</ref> โดยที่ระบอบการเมืองดังกล่าวในความหมายของริกส์ หมายถึงสภาวะของสังคมการเมืองที่ผู้นำในระบบราชการสามารถที่จะครอบงำระบบการเมือง โดยมีรูปธรรมก็คือการที่ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการระดับบนที่มาจากคนทั่วไป (อำมาตย์) ซึ่งทำการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา การที่ข้าราชการบางคนสามารถควบคุมผู้แทนและ[[พรรคการเมือง]]เช่นนี้ ริกส์เห็นว่าจะนำไปสู่การทำลายหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางอันไม่สามารถที่จะทำให้ระบบการเลือกตั้งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเพราะหากว่า[[ระบบเลือกตั้ง]]ที่เลือก[[นักการเมือง]]เข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบโดยยึดโยงต่อประชาชนตามหลักการที่ควรจะเป็นแล้ว ระบบการเมืองตัวแทนก็จะเป็นกลไกควบคุมไม่ให้ระบบราชการมีอำนาจและมีบทบาทสำคัญนั่นเอง <ref>พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 (กรุงเทพฯ: openbooks, 2550), หน้า 289-298.</ref> | ||
นอกเหนือจากความหมายของริกส์แล้ว ปรีดี พนมยงค์ ก็ได้เคยให้นิยามถึง “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ไว้เช่นกัน โดยที่ปรีดีหมายถึงการปกครองโดยข้าราชการ ข้าเฝ้า | นอกเหนือจากความหมายของริกส์แล้ว [[ปรีดี พนมยงค์]] ก็ได้เคยให้นิยามถึง “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ไว้เช่นกัน โดยที่ปรีดีหมายถึงการปกครองโดยข้าราชการ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษาซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งโดยพระองค์เอง หรือโดยคำเสนอของ[[รัฐบาล]] หรือโดย[[องคมนตรี]]ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระองค์<ref>ปรีดี พนมยงค์, "ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ," ใน ปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย: รวมข้อเขียนของปรีดี พนมยงค์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2526), หน้า 382.</ref> ความหมายระบอบอำมาตยาธิปไตยของปรีดีให้ความสำคัญไปที่ที่มาของตัวบุคคลซึ่งแยกออกจากกันระหว่างผู้ที่มาจาก “การแต่งตั้ง” ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพระมหากษัตริย์ กับผู้ที่มาจาก “[[การเลือกตั้ง]]” ของประชาชน ซึ่งที่มาในแบบแรกนั้นเป็นสิ่งที่ปรีดีเรียกว่าเป็น “อำมาตย์” | ||
== วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ในวิกฤติการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 == | == วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ในวิกฤติการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 == | ||
ก่อนที่วาทกรรม “ไพร่-อำมาตย์” | ก่อนที่วาทกรรม “ไพร่-อำมาตย์” จะกลายมาเป็นคำที่นิยมใน[[ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง]]ของกลุ่ม[[คนเสื้อแดง]] ย้อนไปเมื่อเหตุการณ์[[รัฐประหาร]]เมื่อวันที่ [[19 กันยายน พ.ศ. 2549]] ที่[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ]] (คมช.) ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลพรรค[[ไทยรักไทย]]ของ พ.ต.ท.[[ทักษิณ ชินวัตร]] ได้มีประชาชนหลายหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมเพื่อต่อต้าน[[การยึดอำนาจ]]ดังกล่าว กลุ่มเหล่านี้มีทั้งในส่วนของผู้ที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่ออดีต[[นายกรัฐมนตรี]] พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น[[เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร]] [[กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ]] เป็นต้น ซึ่งนอกจากพวกเขาจะมุ่งโจมตีไปที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ยังได้มีการเปิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อบทบาททางการเมืองของ[[ประธานองคมนตรี]]ในการรัฐประหารและ[[การแทรกแซงการเมือง]] รวมถึงยังมีการเดินขบวนไปยังหน้า[[บ้านสี่เสาเทเวศร์]]อันเป็นที่พำนักของประธานองคมนตรีด้วย ในขณะที่[[กลุ่มเครือข่ายทักษิณ–ไทยรักไทย]] ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร[[สถานีโทรทัศน์ People’s Television]] (PTV) หรือพีทีวี ก็ได้ออกมาจัดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2550 และจัดต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์ โดยประเด็นหลักอยู่ที่การตรวจสอบคณะรัฐประหารในนามของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ<ref>ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 34-35.</ref> ต่อมากลุ่มย่อยหลากหลายกลุ่มได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “องค์กรร่ม” (umbrella organization) คือ “แนวร่วมประชาชนต่อต้านการรัฐประหาร” (นตปร.) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหว โดยวางยุทธศาสตร์ “คว่ำ โค่น ล้ม” นั่นคือ “คว่ำ” [[รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550]] และนำ[[รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540]] คืนมาให้ประชาชนปรับแก้ในบรรยากาศที่เป็น[[ประชาธิปไตย]] “โค่น” ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีประธานองคมนตรีเป็นตัวแทนและสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมา รวมถึงล้ม คมช. และผลผลิตทั้งหมดของ คมช. <ref>ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 35.</ref> | ||
“ระบอบอำมาตยาธิปไตย” หรือ “อำมาตย์” จึงเริ่มถูกพูดถึงในฐานะของบุคคลหรือเครือข่ายบุคคลที่ทางกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารมองว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังหรือมีอิทธิพลในการกำหนดชี้นำหน่วยงานราชการโดยเฉพาะกองทัพให้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งหากพิจารณาจากนิยามของระบอบอำมาตยาธิปไตย หรือ Bureaucratic Polity ที่ริกส์กล่าวถึงแล้ว นี่ก็คือการปะทะกันกันของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่ม คือระบอบราชการกับระบอบการเมืองแบบตัวแทนที่อาศัยคะแนนเสียงเลือก ดังนั้น ในแง่มุมนี้การรัฐประหารจึงเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการก้าวขึ้นมามีบทบาทนำของระบอบอำมาตยาธิปไตยที่อยู่เหนือระบอบการเมืองแบบตัวแทนผ่านการเลือกตั้งนั่นเอง | “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” หรือ “อำมาตย์” จึงเริ่มถูกพูดถึงในฐานะของบุคคลหรือเครือข่ายบุคคลที่ทางกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารมองว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังหรือมีอิทธิพลในการกำหนดชี้นำหน่วยงานราชการโดยเฉพาะกองทัพให้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งหากพิจารณาจากนิยามของระบอบอำมาตยาธิปไตย หรือ Bureaucratic Polity ที่ริกส์กล่าวถึงแล้ว นี่ก็คือการปะทะกันกันของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่ม คือระบอบราชการกับระบอบการเมืองแบบตัวแทนที่อาศัยคะแนนเสียงเลือก ดังนั้น ในแง่มุมนี้การรัฐประหารจึงเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการก้าวขึ้นมามีบทบาทนำของระบอบอำมาตยาธิปไตยที่อยู่เหนือระบอบการเมืองแบบตัวแทนผ่านการเลือกตั้งนั่นเอง | ||
ภายหลังจากที่คณะ[[ตุลาการรัฐธรรมนูญ]]สั่งให้[[ยุบพรรค]]ไทยรักไทยเมื่อวันที่ [[30 พฤษภาคม พ.ศ.2550]]<ref>อนึ่ง การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสภาพลง เว้นแต่เพียง ศาลยุติธรรมอื่นๆ ต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 จึงได้จัดตั้ง "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 35)</ref> กลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร นำโดยกลุ่มพีทีวีได้ประกาศจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นคือ “[[แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ]] (นปก.)” และต่อมาเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ผ่าน[[การออกเสียงประชามติ]] ได้ปรับเปลี่ยนขบวนการมาเป็น “[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.)” และ “สีแดง” เริ่มถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนับจากการจัดรายการ “[[ความจริงวันนี้สัญจร]]” ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยกระดับการชุมนุมโดยเพิ่มข้อเรียกร้องขึ้นตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยภายหลังจากที่นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] [[หัวหน้าพรรค]][[ประชาธิปัตย์]]ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รายการครอบครัวความจริงวันนี้ที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงให้การสนับสนุนก็ได้เดินหน้าเปิดโปงการแทรกแซงการเมืองของ “กลุ่มอำมาตย์” ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร และขยายข้อเรียกร้องไปจนถึงการให้ พล.อ.[[เปรม ติณสูลานนท์]] ประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีก 2 คนคือ พล.[[สุรยุทธิ์ จุลานนท์]] และนาย[[ชาญชัย ลิขิตจิตถะ]] รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่ง [[การชุมนุมเรียกร้อง]]ยังได้ขยายพื้นที่ไปยังบ้านสี่เสาเทเวศร์ของประธานองคมนตรี แต่สุดท้ายแล้วก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 <ref>ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 37-38.</ref> | |||
นอกจากจะมุ่งโจมตีไปที่ “กลุ่มอำมาตย์” แล้วกลุ่มคนเสื้อแดงยังได้เลือกหยิบยืมเอาคำในสังคมศักดินาแบบเก่าอย่างคำว่า “ไพร่” มาใช้ในการนิยามพวกตน “ไพร่” ถูกใช้ในหลายโอกาสและได้กลายมาเป็นวาทกรรมที่ทรงพลังทางการเมือง เมื่อนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงได้หยิบยกคำนี้ขึ้นมาปราศรัยเพื่อปลุกสำนึกทางชนชั้นแก่ผู้ชุมนุม โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2553 ณัฐวุฒิได้กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า | นอกจากจะมุ่งโจมตีไปที่ “กลุ่มอำมาตย์” แล้วกลุ่มคนเสื้อแดงยังได้เลือกหยิบยืมเอาคำในสังคมศักดินาแบบเก่าอย่างคำว่า “ไพร่” มาใช้ในการนิยามพวกตน “ไพร่” ถูกใช้ในหลายโอกาสและได้กลายมาเป็นวาทกรรมที่ทรงพลังทางการเมือง เมื่อนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงได้หยิบยกคำนี้ขึ้นมาปราศรัยเพื่อปลุกสำนึกทางชนชั้นแก่ผู้ชุมนุม โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2553 ณัฐวุฒิได้กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า | ||
บรรทัดที่ 44: | บรรทัดที่ 43: | ||
ดังนั้น เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำคำว่า “ไพร่” มาสร้างเป็นวาทกรรมทางการเมืองควบคู่กับคำว่า “อำมาตย์” แล้ว “ไพร่” ในที่นี้จึงทำหน้าที่ใน 2 ความหมายนั่นคือ | ดังนั้น เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำคำว่า “ไพร่” มาสร้างเป็นวาทกรรมทางการเมืองควบคู่กับคำว่า “อำมาตย์” แล้ว “ไพร่” ในที่นี้จึงทำหน้าที่ใน 2 ความหมายนั่นคือ | ||
หนึ่ง ไพร่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อขับเน้นให้เห็นถึงการคงอยู่และมีบทบาททางการเมืองของ “อำมาตย์” หรือพลังในกลุ่มชนชั้นนำเดิมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเติบโตของสังคมการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวดิ่งที่ยังคงอยู่ เป็นความสัมพันธ์เชิงเอารัดเอาเปรียบผ่านโครงสร้างของสังคมการเมืองที่เอื้อประโยชน์ต่อคนจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ผู้คนอีกเป็นจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสิทธิโอกาสและการมีส่วนใดๆ ในทางการเมือง | '''หนึ่ง''' ไพร่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อขับเน้นให้เห็นถึงการคงอยู่และมีบทบาททางการเมืองของ “อำมาตย์” หรือพลังในกลุ่มชนชั้นนำเดิมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเติบโตของสังคมการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวดิ่งที่ยังคงอยู่ เป็นความสัมพันธ์เชิงเอารัดเอาเปรียบผ่านโครงสร้างของสังคมการเมืองที่เอื้อประโยชน์ต่อคนจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ผู้คนอีกเป็นจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสิทธิโอกาสและการมีส่วนใดๆ ในทางการเมือง | ||
สอง ไพร่เป็นคำที่แสดงถึงการเป็นประชาชนธรรมดา เป็นการฟื้นเอาความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ที่หมายถึง “ชาวเมือง” หรือ “พลเมืองสามัญ” กลับมาใช้อีกครั้ง<ref>สายสกุล เดชาบุตร ได้อภิปรายไว้ว่าความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ ที่หมายถึงชาวเมือง หรือพลเมืองสามัญ อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างสังคมศักดินาแบบเก่า ได้ลบเลือนและเปลี่ยนแปลงพร้อมไปกับการก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของรัฐชาติไทย โดยคำว่าไพร่ได้กลายมาเป็นคำแสลงที่ถูกใช้สำหรับเหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม | '''สอง''' ไพร่เป็นคำที่แสดงถึงการเป็นประชาชนธรรมดา เป็นการฟื้นเอาความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ที่หมายถึง “ชาวเมือง” หรือ “พลเมืองสามัญ” กลับมาใช้อีกครั้ง<ref>สายสกุล เดชาบุตร ได้อภิปรายไว้ว่าความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ ที่หมายถึงชาวเมือง หรือพลเมืองสามัญ อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างสังคมศักดินาแบบเก่า ได้ลบเลือนและเปลี่ยนแปลงพร้อมไปกับการก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของรัฐชาติไทย โดยคำว่าไพร่ได้กลายมาเป็นคำแสลงที่ถูกใช้สำหรับเหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม อันแสดงถึงความหยาบคาย ความล้าหลัง หรือความอ่อนด้อยกว่า ดูรายละเอียดใน สายสกุล เดชาบุตร, กบฏไพร่ หรือ ผีบุญ: ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎรกับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2555), หน้า 14-15</ref> เพื่อยืนยันถึงความเท่าเทียมกันที่แต่ละคนพึงมี โดยเฉพาะภายใต้สังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย พลเมืองสามัญเหล่านี้จึงเป็นผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองมากขึ้น และด้วยการอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในโลกสมัยใหม่ ประชาชนเหล่านี้จึงเป็น[[พลเมืองที่มีความตื่นตัว]] (active citizenship) มีความตระหนักในสิทธิ โอกาสและอำนาจ มิได้เป็นแต่เพียง'''พลเมืองที่เฉื่อยชา''' (passive citizenship) เท่านั้น <ref>อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, จะรักกันอย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน (นนทบุรี: Oh My God, 2553), หน้า 151-152.</ref> | ||
อันแสดงถึงความหยาบคาย ความล้าหลัง หรือความอ่อนด้อยกว่า ดูรายละเอียดใน สายสกุล เดชาบุตร, กบฏไพร่ หรือ ผีบุญ: ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎรกับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2555), | |||
หน้า 14-15</ref> เพื่อยืนยันถึงความเท่าเทียมกันที่แต่ละคนพึงมี โดยเฉพาะภายใต้สังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย พลเมืองสามัญเหล่านี้จึงเป็นผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองมากขึ้น และด้วยการอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในโลกสมัยใหม่ | |||
== ข้อถกแถลงในแวดวงสังคมและวงวิชาการ == | == ข้อถกแถลงในแวดวงสังคมและวงวิชาการ == | ||
เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำวาทกรรมไพร่- | เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำวาทกรรมไพร่-อำมาตย์มาใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายหลังจากการ'''รัฐประหาร 2549''' โดยเฉพาะที่ถูกใช้เพื่อรณรงค์ทางการเมืองในช่วงปี 2553 ก็ได้ส่งผลให้เกิดเป็นกระแสทั้งที่ตอบรับและที่คัดค้านกับวาทกรรมดังกล่าว รวมถึงก่อให้เกิดการอภิปรายขึ้นในวงกว้างขวางทั้งในทางการเมือง สังคมและในแวดวงวิชาการ เนื่องมาจากคำว่าไพร่-อำมาตย์ที่ทางกลุ่มคนเสื้อแดงนำมาใช้นี้ เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อปลุกสำนึกทางชนชั้นในหมู่ผู้ร่วมชุมนุม ซึ่งประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวพันกับเรื่องความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของรัฐในระดับโครงสร้าง อีกทั้งคำว่าไพร่-อำมาตย์ยังเป็นคำที่เสียดแทงอารมณ์ความรู้สึกตลอดจนสำนึกของประชาชน นั่นจึงย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนั่นเอง | ||
สำหรับในทางการเมือง | สำหรับในทางการเมือง แน่นอนว่าฝั่งกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้นำเอาวาทกรรมไพร่มาใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความผิดปกติของสังคมในเชิงโครงสร้างที่ก่อให้เกิดเป็น[[ความเหลื่อมล้ำ]]ไม่เท่าเทียม ในขณะเดียวกันสำหรับมุมมองต่อวาทกรรมดังกล่าวของฝ่ายตรงข้ามก็ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงวาระซ่อนเร้นหรือเป้าหมายของขบวนการคนเสื้อแดงที่ถูกอำพรางไว้ภายใต้วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ดังเช่นที่[[รายการ “รู้ทันประเทศไทย”]] ที่ออกอากาศทางช่องเอเอสทีวี (ASTV) เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้วิเคราะห์ว่าแท้จริงแล้ววาทกรรมไพร่-อำมาตย์ของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเพียงวาทกรรมที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อต้องการพุ่งเป้าโจมตีไปที่[[สถาบันองคมนตรี]]และเป็นการหมิ่นต่อสถาบันเบื้องสูง<ref> "ถอดรหัส "ไพร่-อำมาตย์" วาทกรรมอำพราง "ทักษิณ" ตีองคมนตรี-ล้มเจ้า," ผู้จัดการออนไลน์, (23 มีนาคม 2553). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040227>. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558.</ref> หรือดังที่[[สุเทพ เทือกสุบรรณ]] เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้กล่าวบนเวทีการชุมนุมถนนราชดำเนินนอก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 ในช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนางสาว[[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] และล้มล้าง “[[ระบอบทักษิณ]]” ดังใจความตอนหนึ่งว่า | ||
::::''ผมถือว่าเรื่องนี้เป็นการทำร้ายชาติอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด พวกเราคนไทยชอกช้ำใจที่เห็นพวกมันปลุกปั่นยุยงให้คนไทยแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าพี่น้องประชาชนพลเมืองดีในประเทศนี้ทั้งหลายเคยได้ยินวาทะกรรมเรื่อง "ไพร่-อำมาตย์" ที่มันใช้เป็นวาทกรรมแบ่งแยกคนในแผ่นดินนี้แล้ว เจ็บปวด ช้ำใจ ไม่รู้จะสู้กับมันอย่างไร เพราะมันพูดได้ข้างเดียว มันเคลื่อนไหวฝ่ายเดียว และมันทำต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี จนคนฟังนึกเอาเองว่าไพร่มีจริง อำมาตย์มีจริง เป็นคนละพวกกันจริงๆ ต้องสู้กันจริงๆ ต้องฆ่ากันจริงๆ ต้องล้มล้างกันจริงๆ นี่คือความอุบาทว์ของมันครับ ''<ref>"สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย," ประชาไท, (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558.</ref> | ::::''ผมถือว่าเรื่องนี้เป็นการทำร้ายชาติอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด พวกเราคนไทยชอกช้ำใจที่เห็นพวกมันปลุกปั่นยุยงให้คนไทยแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าพี่น้องประชาชนพลเมืองดีในประเทศนี้ทั้งหลายเคยได้ยินวาทะกรรมเรื่อง "ไพร่-อำมาตย์" ที่มันใช้เป็นวาทกรรมแบ่งแยกคนในแผ่นดินนี้แล้ว เจ็บปวด ช้ำใจ ไม่รู้จะสู้กับมันอย่างไร เพราะมันพูดได้ข้างเดียว มันเคลื่อนไหวฝ่ายเดียว และมันทำต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี จนคนฟังนึกเอาเองว่าไพร่มีจริง อำมาตย์มีจริง เป็นคนละพวกกันจริงๆ ต้องสู้กันจริงๆ ต้องฆ่ากันจริงๆ ต้องล้มล้างกันจริงๆ นี่คือความอุบาทว์ของมันครับ ''<ref>"สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย," ประชาไท, (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558.</ref> | ||
ในขณะที่ปฏิกิริยาทางสังคมสำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ก็มีทั้งที่สะท้อนผ่านสื่อ เช่น เมื่อ | ในขณะที่ปฏิกิริยาทางสังคมสำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ก็มีทั้งที่สะท้อนผ่านสื่อ เช่น เมื่อ นาย[[ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ]] หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ สื่อบางค่ายก็ได้ตั้งชื่อเรียกขานหรือฉายาให้ว่า “[[อำมาตย์เต้น]]”<ref>"“อำมาตย์เต้น” ปรับทัศนคติ ยอมเงียบไม่ให้ชาติวุ่น อ้างไม่ได้ต่อต้าน พูดเพราะปรารถนาดีต่อชาติ," ผู้จัดการออนไลน์, (30 มกราคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011804>. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558.</ref> อันเป็นการเสียดสีนายณัฐวุฒิผู้ซึ่งเคยนำวาทกรรมไพร่-อำมาตย์มาใช้จนเป็นกระแสสังคม แต่กลับเข้ารับตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]]ซึ่งถูกมองว่าเป็นตำแหน่งของ “อำมาตย์” นั่นเอง นอกจากนั้นแล้ว นายณัฐวุฒิยังได้เคยมีประเด็นวิวาทะผ่านสื่อกับนาย[[กรณ์ จาติกวณิช]] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีการไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเดียวกันย่านทองหล่อ ซึ่ง นายกรณ์ได้โพสต์ข้อความในสื่อออนไลน์เสียดสีนายณัฐวุฒิไว้ว่า “คนที่เรียกตัวเองว่า "ไพร่" ก็ไม่ได้ใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนที่เขาเรียกว่าเป็นพวก "อำมาตย์" สักเท่าใดนัก” <ref>""กรณ์" เผยไปกินข้าวแถวทองหล่อแล้วสวนกับ "ณัฐวุฒิ" ชี้ "ไพร่" ใช้ชีวิตไม่ต่างจาก "อำมาตย์"," ประชาไท, (8 พฤษภาคม 2554). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2011/05/34440>. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558.</ref> จนก่อให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม | ||
ส่วนในแวดวงวิชาการนั้น เมื่อวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ถูกนำมาใช้และเริ่มติดเป็นกระแสสังคม ได้มีบทวิเคราะห์วิจารณ์ออกมาเป็นจำนวนมากทั้งที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ มีงานศึกษา งานวิจัย รวมถึงข้อเขียนในรูปของหนังสือยังได้มีการนำเอาคำว่า “ไพร่” หรือ “อำมาตย์” มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือด้วย เช่น “การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549” โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หรือ “ก็ไพร่นี่คะ” ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทความที่เขียนโดยคำ ผกา เป็นต้น | ส่วนในแวดวงวิชาการนั้น เมื่อวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ถูกนำมาใช้และเริ่มติดเป็นกระแสสังคม ได้มีบทวิเคราะห์วิจารณ์ออกมาเป็นจำนวนมากทั้งที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ มีงานศึกษา งานวิจัย รวมถึงข้อเขียนในรูปของหนังสือยังได้มีการนำเอาคำว่า “ไพร่” หรือ “อำมาตย์” มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือด้วย เช่น “การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549” โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หรือ “ก็ไพร่นี่คะ” ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทความที่เขียนโดยคำ ผกา เป็นต้น | ||
บรรทัดที่ 70: | บรรทัดที่ 67: | ||
ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ, บรรณาธิการ. (2555). ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53. ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน. | ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ, บรรณาธิการ. (2555). ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53. ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน. | ||
“ถอดรหัส "ไพร่-อำมาตย์" วาทกรรมอำพราง "ทักษิณ" ตีองคมนตรี-ล้มเจ้า." ผู้จัดการออนไลน์. (23 มีนาคม 2553). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040227>. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558. | “ถอดรหัส "ไพร่-อำมาตย์" วาทกรรมอำพราง "ทักษิณ" ตีองคมนตรี-ล้มเจ้า." ผู้จัดการออนไลน์. (23 มีนาคม 2553). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040227>. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558. | ||
บรรทัดที่ 83: | บรรทัดที่ 81: | ||
“สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย." ประชาไท. (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558. | “สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย." ประชาไท. (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558. | ||
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2553). จะรักกันอย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน. นนทบุรี: Oh My God. | อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2553). จะรักกันอย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน. นนทบุรี: Oh My God. | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:37, 17 พฤศจิกายน 2558
ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ เป็นคำที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กลุ่มคนเสื้อแดง” นำมาใช้รณรงค์ทางการเมืองเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมการเมืองไทยที่แม้จะมีรูปแบบเป็นประชาธิปไตยซึ่งบุคคลควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงกลับแบ่งแยกผู้คนออกเป็นฝักฝ่ายช่วงชั้นต่างๆ นำมาสู่ความไม่เท่าเทียมซึ่งสิทธิ โอกาส ทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ตลอดจนการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันจากอำนาจรัฐ นอกจากนี้ วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ยังถูกใช้เพื่อเป็นการสร้างคู่ตรงข้ามหรือคู่ปะทะในการต่อสู้ทางการเมือง โดยที่ฝ่ายที่นิยามตนเองหรือถูกนิยามว่าเป็น “ไพร่” ก็คือกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการต่อสู้กับฝ่าย “อำมาตย์” หรือเรียกเต็มๆก็คือ “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ที่ทางกลุ่มคนเสื้อแดงมองว่ามีบุคคลระดับสูงในสังคมเป็นตัวแทน [1]
คำว่า “ไพร่” เริ่มปรากฏในการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ดังเช่นที่นายจักรภพ เพ็ญแข หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงกล่าวถึง “ไพร่” ไว้ในบทกลอนที่กล่าวบนเวทีท้องสนามหลวงเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[2] ซึ่งสืบเนื่องมาจากการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในปี พ.ศ. 2549 แต่วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ได้ถูกหยิบยกมาใช้อย่างจริงจังในช่วงปี พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะจากการปราศรัยของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อีกหนึ่งแกนนำคนสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง และหลังจากนั้นวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ก็ได้กลายมาเป็น “คำสำคัญ” ในการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงควบคู่กับคำสำคัญอื่นๆ เช่น “สองมาตรฐาน” เป็นต้น
ที่มาและความหมายโดยทั่วไป
“ไพร่” เป็นคำในสังคมศักดินาแบบเก่า โดยเป็นกลไกหนึ่งที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์แรงงานและเป็นกำลังในยามศึกสงคราม ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ทรงตรากฎหมายพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง เพื่อจัดแบ่งประเภทและหมวดหมู่ของประชาชนออกตามระดับสถานภาพทางสังคมโดยถือการวัดจำนวนที่ดินเป็นเกณฑ์ (เป็นเกณฑ์วัดทางสังคม มิใช่ถือที่ดินจริง) เรียกว่า "ระบบศักดินา” ตามกฎหมายนี้ได้กำหนดให้ไพร่หมายถึงผู้ที่ถือครองที่ดินตั้งแต่ 25 ไร่ลงมา[3] โดยที่ระบบไพร่ถือเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่คู่กับระบบศักดินาอย่างแนบแน่นนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนกระทั่งถึงการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 [4]
หากจัดแบ่งตามประเภทแล้ว ไพร่แบ่งออกเป็น “ไพร่หลวง” ที่ขึ้นต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือกรมกองของรัฐบาล “ไพร่สม” ที่ขึ้นต่อราชวงศ์หรือตระกูลขุนนาง ซึ่งไพร่ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวต้องถูกเกณฑ์แรงงานรับใช้นายของตนทุกเดือนเว้นเดือน หรือที่เรียกว่าการเกณฑ์แรงงานแบบ “เข้าเดือนออกเดือน” เว้นแต่ว่าจะจ่ายเงินหรือหาของป่ามาส่งแทนการใช้แรงงาน ไพร่ที่ถูกมอบหมายให้จัดหาผลผลิตบางอย่างมาส่งให้กับนายของตน ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในทางการค้า การบริโภค หรือในงานของรัฐบาล ก็จะเรียกว่า “ไพร่ส่วย” ดังนั้นในระบบไพร่นี้ ราษฎรเพศชายทุกคนที่มีศักดินาตั้งแต่ 25 ไร่ลงมาจึงต้องตกอยู่ภายใต้ระเบียบการเกณฑ์แรงงาน และในยามสงครามระบบไพร่ยังถูกปรับเปลี่ยนไปใช้เพื่อการทหารอีกด้วย [5]
ในส่วนของความหมายทางสังคม ไพร่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนที่ต้องสังกัดมูลนาย จึงมักถูกมองจากพวกเจ้าศักดินาว่าเป็นพวก “คนชั้นต่ำ” [6] เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมกิริยามารยาทในแบบผู้ดี และด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไพร่จำเป็นต้องมีมูลนายคอยอุปถัมภ์ ไพร่จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดตลอดจนการวิ่งเต้นหรือใช้เส้นสายเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งนี่เองถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมในระบอบอุปถัมภ์ที่สืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน ระบบไพร่ได้ถูกยกเลิกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการออกพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) อันเป็นกฎหมายที่ยกเลิกพันธะทางเศรษฐกิจและสังคมตามระบบไพร่ของประชาชนไปโดยปริยาย พร้อมๆ ไปกับการดำเนิน “การเลิกทาส” ที่พระองค์ทรงใช้เวลาราวสามทศวรรษในการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป[7] และนำพาสยามเข้าสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปประเทศในมิติต่างๆ ให้มีความทันสมัย มาจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งเปลี่ยนระบอบการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผู้นำทางการเมืองและผู้แทนราษฎรต้องรับผิดชอบต่อสภาและต่อประชาชน ถึงกระนั้น “ระบบเลือกตั้ง” ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมระบอบการเมืองในแบบรัฐสภากลับไม่สามารถมีพัฒนาการราบรื่นอย่างที่ควร ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากวัฒนธรรมการเมืองในระบบอุปถัมภ์นับแต่อดีต เกื้อหนุนให้เกิดระบอบราชการที่เข้มแข็งและกลายมาเป็นสถาบันที่คอยคัดค้านกับระบอบการเมืองแบบตัวแทนเสมอมา
ในแวดวงวิชาการ เฟรด วอเรน ริกส์ (Fred Warren Riggs) คือผู้ที่เริ่มขนานนามระบอบสังคมการเมืองไทยว่ามีลักษณะที่เป็น “Bureaucratic Polity”[8] ซึ่งพงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า “ระบอบอำมาตยาธิปไตย”[9] โดยที่ระบอบการเมืองดังกล่าวในความหมายของริกส์ หมายถึงสภาวะของสังคมการเมืองที่ผู้นำในระบบราชการสามารถที่จะครอบงำระบบการเมือง โดยมีรูปธรรมก็คือการที่ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการระดับบนที่มาจากคนทั่วไป (อำมาตย์) ซึ่งทำการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา การที่ข้าราชการบางคนสามารถควบคุมผู้แทนและพรรคการเมืองเช่นนี้ ริกส์เห็นว่าจะนำไปสู่การทำลายหรือเป็นอุปสรรคขัดขวางอันไม่สามารถที่จะทำให้ระบบการเลือกตั้งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเพราะหากว่าระบบเลือกตั้งที่เลือกนักการเมืองเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบโดยยึดโยงต่อประชาชนตามหลักการที่ควรจะเป็นแล้ว ระบบการเมืองตัวแทนก็จะเป็นกลไกควบคุมไม่ให้ระบบราชการมีอำนาจและมีบทบาทสำคัญนั่นเอง [10]
นอกเหนือจากความหมายของริกส์แล้ว ปรีดี พนมยงค์ ก็ได้เคยให้นิยามถึง “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ไว้เช่นกัน โดยที่ปรีดีหมายถึงการปกครองโดยข้าราชการ ข้าเฝ้า ที่ปรึกษาซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยพระองค์เอง หรือโดยคำเสนอของรัฐบาล หรือโดยองคมนตรีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระองค์[11] ความหมายระบอบอำมาตยาธิปไตยของปรีดีให้ความสำคัญไปที่ที่มาของตัวบุคคลซึ่งแยกออกจากกันระหว่างผู้ที่มาจาก “การแต่งตั้ง” ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากพระมหากษัตริย์ กับผู้ที่มาจาก “การเลือกตั้ง” ของประชาชน ซึ่งที่มาในแบบแรกนั้นเป็นสิ่งที่ปรีดีเรียกว่าเป็น “อำมาตย์”
วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ในวิกฤติการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549
ก่อนที่วาทกรรม “ไพร่-อำมาตย์” จะกลายมาเป็นคำที่นิยมในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ย้อนไปเมื่อเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีประชาชนหลายหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมเพื่อต่อต้านการยึดอำนาจดังกล่าว กลุ่มเหล่านี้มีทั้งในส่วนของผู้ที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นเครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพวกเขาจะมุ่งโจมตีไปที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติแล้ว ยังได้มีการเปิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อบทบาททางการเมืองของประธานองคมนตรีในการรัฐประหารและการแทรกแซงการเมือง รวมถึงยังมีการเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์อันเป็นที่พำนักของประธานองคมนตรีด้วย ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายทักษิณ–ไทยรักไทย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ People’s Television (PTV) หรือพีทีวี ก็ได้ออกมาจัดการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2550 และจัดต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์ โดยประเด็นหลักอยู่ที่การตรวจสอบคณะรัฐประหารในนามของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ[12] ต่อมากลุ่มย่อยหลากหลายกลุ่มได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็น “องค์กรร่ม” (umbrella organization) คือ “แนวร่วมประชาชนต่อต้านการรัฐประหาร” (นตปร.) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหว โดยวางยุทธศาสตร์ “คว่ำ โค่น ล้ม” นั่นคือ “คว่ำ” รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 และนำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 คืนมาให้ประชาชนปรับแก้ในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย “โค่น” ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีประธานองคมนตรีเป็นตัวแทนและสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมา รวมถึงล้ม คมช. และผลผลิตทั้งหมดของ คมช. [13]
“ระบอบอำมาตยาธิปไตย” หรือ “อำมาตย์” จึงเริ่มถูกพูดถึงในฐานะของบุคคลหรือเครือข่ายบุคคลที่ทางกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารมองว่าเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังหรือมีอิทธิพลในการกำหนดชี้นำหน่วยงานราชการโดยเฉพาะกองทัพให้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งหากพิจารณาจากนิยามของระบอบอำมาตยาธิปไตย หรือ Bureaucratic Polity ที่ริกส์กล่าวถึงแล้ว นี่ก็คือการปะทะกันกันของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่ม คือระบอบราชการกับระบอบการเมืองแบบตัวแทนที่อาศัยคะแนนเสียงเลือก ดังนั้น ในแง่มุมนี้การรัฐประหารจึงเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการก้าวขึ้นมามีบทบาทนำของระบอบอำมาตยาธิปไตยที่อยู่เหนือระบอบการเมืองแบบตัวแทนผ่านการเลือกตั้งนั่นเอง
ภายหลังจากที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550[14] กลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร นำโดยกลุ่มพีทีวีได้ประกาศจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นคือ “แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.)” และต่อมาเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ผ่านการออกเสียงประชามติ ได้ปรับเปลี่ยนขบวนการมาเป็น “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)” และ “สีแดง” เริ่มถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองนับจากการจัดรายการ “ความจริงวันนี้สัญจร” ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยกระดับการชุมนุมโดยเพิ่มข้อเรียกร้องขึ้นตามสถานการณ์ทางการเมือง โดยภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รายการครอบครัวความจริงวันนี้ที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงให้การสนับสนุนก็ได้เดินหน้าเปิดโปงการแทรกแซงการเมืองของ “กลุ่มอำมาตย์” ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร และขยายข้อเรียกร้องไปจนถึงการให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และองคมนตรีอีก 2 คนคือ พล.สุรยุทธิ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่ง การชุมนุมเรียกร้องยังได้ขยายพื้นที่ไปยังบ้านสี่เสาเทเวศร์ของประธานองคมนตรี แต่สุดท้ายแล้วก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 [15]
นอกจากจะมุ่งโจมตีไปที่ “กลุ่มอำมาตย์” แล้วกลุ่มคนเสื้อแดงยังได้เลือกหยิบยืมเอาคำในสังคมศักดินาแบบเก่าอย่างคำว่า “ไพร่” มาใช้ในการนิยามพวกตน “ไพร่” ถูกใช้ในหลายโอกาสและได้กลายมาเป็นวาทกรรมที่ทรงพลังทางการเมือง เมื่อนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงได้หยิบยกคำนี้ขึ้นมาปราศรัยเพื่อปลุกสำนึกทางชนชั้นแก่ผู้ชุมนุม โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2553 ณัฐวุฒิได้กล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า
- ก่อนใช้คำอำมาตย์-ไพร่ ตอนนั้นคิดคำให้สั้น ถ้าใช้ “อำมาตยาธิปไตย” มันยาวไปก็ใช้คำ “อำมาตย์” แล้วอีกคำที่มาคู่เพื่อให้ดูว่าต่ำมากๆก็คือ “ไพร่” และไม่ได้บอกว่าเราอยากเป็นไพร่นะ แต่พวกคุณคิดว่าเราเป็นไพร่ เราก็จะเป็นเพื่อสู้กับคุณ ให้มันรู้เลยว่าไพร่ในสายตาคุณเนี่ยสู้ ให้รู้เลยว่าไพร่ในสายตาคุณเขาไม่ยอมคุณ ก็เลยมีปฏิกิริยาจากฝ่ายอำมาตย์หรือฝ่ายตรงข้ามไม่ยอมให้เราเป็นไพร่อีก [16]
ดังนั้น เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำคำว่า “ไพร่” มาสร้างเป็นวาทกรรมทางการเมืองควบคู่กับคำว่า “อำมาตย์” แล้ว “ไพร่” ในที่นี้จึงทำหน้าที่ใน 2 ความหมายนั่นคือ
หนึ่ง ไพร่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อขับเน้นให้เห็นถึงการคงอยู่และมีบทบาททางการเมืองของ “อำมาตย์” หรือพลังในกลุ่มชนชั้นนำเดิมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเติบโตของสังคมการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวดิ่งที่ยังคงอยู่ เป็นความสัมพันธ์เชิงเอารัดเอาเปรียบผ่านโครงสร้างของสังคมการเมืองที่เอื้อประโยชน์ต่อคนจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ผู้คนอีกเป็นจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสิทธิโอกาสและการมีส่วนใดๆ ในทางการเมือง
สอง ไพร่เป็นคำที่แสดงถึงการเป็นประชาชนธรรมดา เป็นการฟื้นเอาความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ที่หมายถึง “ชาวเมือง” หรือ “พลเมืองสามัญ” กลับมาใช้อีกครั้ง[17] เพื่อยืนยันถึงความเท่าเทียมกันที่แต่ละคนพึงมี โดยเฉพาะภายใต้สังคมการเมืองแบบประชาธิปไตย พลเมืองสามัญเหล่านี้จึงเป็นผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครองมากขึ้น และด้วยการอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในโลกสมัยใหม่ ประชาชนเหล่านี้จึงเป็นพลเมืองที่มีความตื่นตัว (active citizenship) มีความตระหนักในสิทธิ โอกาสและอำนาจ มิได้เป็นแต่เพียงพลเมืองที่เฉื่อยชา (passive citizenship) เท่านั้น [18]
ข้อถกแถลงในแวดวงสังคมและวงวิชาการ
เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงนำวาทกรรมไพร่-อำมาตย์มาใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายหลังจากการรัฐประหาร 2549 โดยเฉพาะที่ถูกใช้เพื่อรณรงค์ทางการเมืองในช่วงปี 2553 ก็ได้ส่งผลให้เกิดเป็นกระแสทั้งที่ตอบรับและที่คัดค้านกับวาทกรรมดังกล่าว รวมถึงก่อให้เกิดการอภิปรายขึ้นในวงกว้างขวางทั้งในทางการเมือง สังคมและในแวดวงวิชาการ เนื่องมาจากคำว่าไพร่-อำมาตย์ที่ทางกลุ่มคนเสื้อแดงนำมาใช้นี้ เป็นคำที่ถูกใช้เพื่อปลุกสำนึกทางชนชั้นในหมู่ผู้ร่วมชุมนุม ซึ่งประเด็นนี้ย่อมเกี่ยวพันกับเรื่องความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของรัฐในระดับโครงสร้าง อีกทั้งคำว่าไพร่-อำมาตย์ยังเป็นคำที่เสียดแทงอารมณ์ความรู้สึกตลอดจนสำนึกของประชาชน นั่นจึงย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนั่นเอง
สำหรับในทางการเมือง แน่นอนว่าฝั่งกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้นำเอาวาทกรรมไพร่มาใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความผิดปกติของสังคมในเชิงโครงสร้างที่ก่อให้เกิดเป็นความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม ในขณะเดียวกันสำหรับมุมมองต่อวาทกรรมดังกล่าวของฝ่ายตรงข้ามก็ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงวาระซ่อนเร้นหรือเป้าหมายของขบวนการคนเสื้อแดงที่ถูกอำพรางไว้ภายใต้วาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ดังเช่นที่รายการ “รู้ทันประเทศไทย” ที่ออกอากาศทางช่องเอเอสทีวี (ASTV) เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้วิเคราะห์ว่าแท้จริงแล้ววาทกรรมไพร่-อำมาตย์ของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเพียงวาทกรรมที่ปลุกปั้นขึ้นมาเพื่อต้องการพุ่งเป้าโจมตีไปที่สถาบันองคมนตรีและเป็นการหมิ่นต่อสถาบันเบื้องสูง[19] หรือดังที่สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้กล่าวบนเวทีการชุมนุมถนนราชดำเนินนอก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2557 ในช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และล้มล้าง “ระบอบทักษิณ” ดังใจความตอนหนึ่งว่า
- ผมถือว่าเรื่องนี้เป็นการทำร้ายชาติอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด พวกเราคนไทยชอกช้ำใจที่เห็นพวกมันปลุกปั่นยุยงให้คนไทยแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าพี่น้องประชาชนพลเมืองดีในประเทศนี้ทั้งหลายเคยได้ยินวาทะกรรมเรื่อง "ไพร่-อำมาตย์" ที่มันใช้เป็นวาทกรรมแบ่งแยกคนในแผ่นดินนี้แล้ว เจ็บปวด ช้ำใจ ไม่รู้จะสู้กับมันอย่างไร เพราะมันพูดได้ข้างเดียว มันเคลื่อนไหวฝ่ายเดียว และมันทำต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปี จนคนฟังนึกเอาเองว่าไพร่มีจริง อำมาตย์มีจริง เป็นคนละพวกกันจริงๆ ต้องสู้กันจริงๆ ต้องฆ่ากันจริงๆ ต้องล้มล้างกันจริงๆ นี่คือความอุบาทว์ของมันครับ [20]
ในขณะที่ปฏิกิริยาทางสังคมสำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ ก็มีทั้งที่สะท้อนผ่านสื่อ เช่น เมื่อ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ สื่อบางค่ายก็ได้ตั้งชื่อเรียกขานหรือฉายาให้ว่า “อำมาตย์เต้น”[21] อันเป็นการเสียดสีนายณัฐวุฒิผู้ซึ่งเคยนำวาทกรรมไพร่-อำมาตย์มาใช้จนเป็นกระแสสังคม แต่กลับเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งถูกมองว่าเป็นตำแหน่งของ “อำมาตย์” นั่นเอง นอกจากนั้นแล้ว นายณัฐวุฒิยังได้เคยมีประเด็นวิวาทะผ่านสื่อกับนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีการไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเดียวกันย่านทองหล่อ ซึ่ง นายกรณ์ได้โพสต์ข้อความในสื่อออนไลน์เสียดสีนายณัฐวุฒิไว้ว่า “คนที่เรียกตัวเองว่า "ไพร่" ก็ไม่ได้ใช้ชีวิตแตกต่างไปจากคนที่เขาเรียกว่าเป็นพวก "อำมาตย์" สักเท่าใดนัก” [22] จนก่อให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม
ส่วนในแวดวงวิชาการนั้น เมื่อวาทกรรมไพร่-อำมาตย์ถูกนำมาใช้และเริ่มติดเป็นกระแสสังคม ได้มีบทวิเคราะห์วิจารณ์ออกมาเป็นจำนวนมากทั้งที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ มีงานศึกษา งานวิจัย รวมถึงข้อเขียนในรูปของหนังสือยังได้มีการนำเอาคำว่า “ไพร่” หรือ “อำมาตย์” มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของชื่อหนังสือด้วย เช่น “การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549” โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ หรือ “ก็ไพร่นี่คะ” ซึ่งเป็นหนังสือรวมบทความที่เขียนโดยคำ ผกา เป็นต้น
บรรณานุกรม
““กรณ์" เผยไปกินข้าวแถวทองหล่อแล้วสวนกับ "ณัฐวุฒิ" ชี้ "ไพร่" ใช้ชีวิตไม่ต่างจาก "อำมาตย์"." ประชาไท. (8 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/ 2011/05/34440>. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558.
เกษียร เตชะพีระ. (2553). สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
ชัยธวัช ตุลาธน และคณะ, บรรณาธิการ. (2555). ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53. ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.). นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
“ถอดรหัส "ไพร่-อำมาตย์" วาทกรรมอำพราง "ทักษิณ" ตีองคมนตรี-ล้มเจ้า." ผู้จัดการออนไลน์. (23 มีนาคม 2553). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040227>. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558.
ปรีดี พนมยงค์. (2526). "ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ." ใน ปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย: รวมข้อเขียนของปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์. 2526, หน้า 363-395.
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2550). การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549. กรุงเทพฯ: openbooks.
ฟ้ารุ่ง ศรีขาว. (2554). สุภาพบุรุษไพร่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2554). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายสกุล เดชาบุตร. (2555). กบฏไพร่ หรือ ผีบุญ: ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎรกับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.
“สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย." ประชาไท. (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558.
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2553). จะรักกันอย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน. นนทบุรี: Oh My God.
““อำมาตย์เต้น” ปรับทัศนคติ ยอมเงียบไม่ให้ชาติวุ่น อ้างไม่ได้ต่อต้าน พูดเพราะปรารถนาดีต่อชาติ." ผู้จัดการออนไลน์. (30 มกราคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ ViewNews.aspx?NewsID=9580000011804>. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). “ขบวนการเสื้อแดงกับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทางการเมือง.” วารสารอ่าน, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3, 288-302.
________. (2554). “สุนทรียศาสตร์กับการเมืองภาคประชาชน” (Aesthetics and People’s Politics). รายงานการวิจัยโดยการสนับสนุนจากงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2553). นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ่านการเมืองไทย ลำดับที่ 3: การเมืองของเสื้อแดง. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.
Montesano, Micheal J., Pavin Chachavalpongpun and Aekapol Chongvilaivan, editors. (2012). Bangkok May 2010: Perspectives on a Divided Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books.
อ้างอิง
- ↑ ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53, ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เมษา-พฤษภา 53 (ศปช.) (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 34-35.
- ↑ ฟ้ารุ่ง ศรีขาว, สุภาพบุรุษไพร่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2554), หน้า 143-144.
- ↑ ระบบศักดินากำหนดให้ทาส วณิพก และยาจก มีศักดินา 5 ไร่ ไพร่มีศักดินาตั้งแต่ 10 ถึง 25 ไร่ ผู้ที่มีศักดินามากกว่า 25 ไร่ แต่ไม่เกิน 400 ไร่ ถือเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปเป็นขุนนาง ผู้ที่มีศักดินามากกว่า 800 ไร่ สามารถขอเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินได้ ในขณะที่ผู้ที่มีศักดินาตั้งแต่ 3,000 ไร่ขึ้นไปถือว่าเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ดูรายละเอียดใน ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), หน้า 47-52.
- ↑ ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขปรับปรุง, หน้า 33.
- ↑ ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 33-34.
- ↑ ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 51.
- ↑ ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, หน้า 108-112.
- ↑ เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด (กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553), หน้า 59.
- ↑ เกษียร เตชะพีระ, สงครามระหว่างสี: ในคืนวันอันมืดมิด, หน้า 191.
- ↑ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, การเมืองของไพร่: จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 (กรุงเทพฯ: openbooks, 2550), หน้า 289-298.
- ↑ ปรีดี พนมยงค์, "ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ," ใน ปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย: รวมข้อเขียนของปรีดี พนมยงค์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2526), หน้า 382.
- ↑ ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 34-35.
- ↑ ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 35.
- ↑ อนึ่ง การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสภาพลง เว้นแต่เพียง ศาลยุติธรรมอื่นๆ ต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 จึงได้จัดตั้ง "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 35)
- ↑ ยุกติ มุกดาวิจิตร และอุเชนทร์ เชียงเสน, "กำเนิดและพลวัต “คนเสื้อแดง”," หน้า 37-38.
- ↑ ฟ้ารุ่ง ศรีขาว, สุภาพบุรุษไพร่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, หน้า 141.
- ↑ สายสกุล เดชาบุตร ได้อภิปรายไว้ว่าความหมายดั้งเดิมของคำว่าไพร่ ที่หมายถึงชาวเมือง หรือพลเมืองสามัญ อันเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างสังคมศักดินาแบบเก่า ได้ลบเลือนและเปลี่ยนแปลงพร้อมไปกับการก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของรัฐชาติไทย โดยคำว่าไพร่ได้กลายมาเป็นคำแสลงที่ถูกใช้สำหรับเหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม อันแสดงถึงความหยาบคาย ความล้าหลัง หรือความอ่อนด้อยกว่า ดูรายละเอียดใน สายสกุล เดชาบุตร, กบฏไพร่ หรือ ผีบุญ: ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของราษฎรกับอำนาจรัฐเหนือแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2555), หน้า 14-15
- ↑ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, จะรักกันอย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน (นนทบุรี: Oh My God, 2553), หน้า 151-152.
- ↑ "ถอดรหัส "ไพร่-อำมาตย์" วาทกรรมอำพราง "ทักษิณ" ตีองคมนตรี-ล้มเจ้า," ผู้จัดการออนไลน์, (23 มีนาคม 2553). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000040227>. เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558.
- ↑ "สุเทพอัดระบอบทักษิณใช้วาทะ"ไพร่-อำมาตย์"-คิดแยกประเทศตั้งเมืองหลวงเชียงราย," ประชาไท, (14 พฤษภาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53214>. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558.
- ↑ "“อำมาตย์เต้น” ปรับทัศนคติ ยอมเงียบไม่ให้ชาติวุ่น อ้างไม่ได้ต่อต้าน พูดเพราะปรารถนาดีต่อชาติ," ผู้จัดการออนไลน์, (30 มกราคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011804>. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558.
- ↑ ""กรณ์" เผยไปกินข้าวแถวทองหล่อแล้วสวนกับ "ณัฐวุฒิ" ชี้ "ไพร่" ใช้ชีวิตไม่ต่างจาก "อำมาตย์"," ประชาไท, (8 พฤษภาคม 2554). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2011/05/34440>. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558.