ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ม็อบนกหวีด"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 13: | บรรทัดที่ 13: | ||
== กำเนิดและแนวทางทางการเมืองของม็อบนกหวีด == | == กำเนิดและแนวทางทางการเมืองของม็อบนกหวีด == | ||
ในวันที่เขอเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เราจึงเปิดเวทีที่สามเสนเพราะจะไปใช้ที่สนามหลวงก็ใหญ่โตเกินไป ไม่รู้ว่าเริ่มต้นจะมีคนมากี่คน จะใช้ที่สวนลุมพินีตอนนั้นกองทัพธรรมเขาก็อยู่ก่อนแล้ว เลยตัดสินใจเลือกตั้งที่เวทีที่สถานีสามเสนเพราะใกล้ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สถานที่ไม่กว้างจนเกินไป คนต่างจังหวัดก็นั่งรถไฟมาเข้าร่วมได้ | :::''ในวันที่เขอเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เราจึงเปิดเวทีที่สามเสนเพราะจะไปใช้ที่สนามหลวงก็ใหญ่โตเกินไป ไม่รู้ว่าเริ่มต้นจะมีคนมากี่คน จะใช้ที่สวนลุมพินีตอนนั้นกองทัพธรรมเขาก็อยู่ก่อนแล้ว เลยตัดสินใจเลือกตั้งที่เวทีที่สถานีสามเสนเพราะใกล้ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สถานที่ไม่กว้างจนเกินไป คนต่างจังหวัดก็นั่งรถไฟมาเข้าร่วมได้'' | ||
สุเทพ เทือกสุบรรณ <ref>อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง), The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ (กรุงเทพฯ: บริษัท ลิปส์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2557), หน้า 212.</ref> | สุเทพ เทือกสุบรรณ <ref>อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง), The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ (กรุงเทพฯ: บริษัท ลิปส์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2557), หน้า 212.</ref> | ||
== ก่อกำเนิดม็อบนกหวีด | == ก่อกำเนิดม็อบนกหวีด<ref>ขอให้ดูลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเคลื่อนไหวของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ใน รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล และ พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, "เส้นทาง 1 วัน "ม็อบนกหวีด" vs "รัฐบาลเพื่อไทย"," สำนักข่าวอิศรา, (10 กุมภาพันธ์ 2557). เข้าถึงจาก <http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/27161-whistle.html>. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2557.</ref> == | ||
ภายหลังการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม | ภายหลังการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎร]][[พรรคเพื่อไทย|เพื่อไทย]]ในเดือนตุลาคม 2556 ก็เริ่มปรากฏการต่อต้านคัดค้านจากหลายกลุ่มการเมือง กลุ่มที่มีความสำคัญและโดดเด่นในช่วงเวลานั้นคือ บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ โดยวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ได้มีการจัดปราศรัยและประกาศจุดยืนคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวในช่วงแรกยังดำเนินไปในทิศทางการปราศรัยการเมืองบนเวที สลับกับการแสดงดนตรี โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์อื่นใดเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนการต่อสู่เรียกร้อง จนกระทั่งวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 กลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เคลื่อนขบวนไปปฏิญาณตนที่วัดพระแก้ว ก่อนที่จะตัดสินใจตั้งเวทีการชุมนุมที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] จากนั้นกลุ่มชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงเริ่มต้นเป่านกหวีดเป็นเวลา 1 นาที พร้อมกับกลุ่มชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่ถนนสีลม | ||
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 9 คน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง | ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 9 คน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็ยกระดับการต่อสู้โดยเปิดมาตรการ[[อารยะขัดขืน]] 4 ข้อ ทั้งนัดหยุดงาน 3 วัน-ชะลอจ่ายภาษี-ประดับธงชาติ-เป่านกหวีดใส่คนในรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปิดเผยว่า “ตอนแรก ส.ส. จะลาออกเยอะกว่านี้ แต่เราบอกว่าไม่ได้ มันก็ต้องมีคนทำงานพรรคอยู่ ...วันที่เราประกาศครั้งแรกจะมีคนออกมาร่วมตั้ง 40 กว่าคน ผมก็คัดเหลือแค่ 9 คน ผมจะคุยทีละคนก่อน ซึ่งทุกคนสมัครใจ และร่วมทำงานกันมาก่อนหน้านี้แล้ว” <ref>อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง), The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ, หน้า 216.</ref> โดย ส.ส. ทั้ง 9 คนประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี) นาย[[ถาวร เสนเนียม]] (อดีต ส.ส.สงขลา) นาย[[อิสสระ สมชัย]] (อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ) นาย[[สาทิตย์ วงศ์หนองเตย]] (อดีต ส.ส.ตรัง) นาย[[วิทยา แก้วภราดัย]] (อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช) นาย[[ชุมพล จุลใส]] (อดีต ส.ส.ชุมพร) นาย[[พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์]] นาย[[เอกนัฏ พร้อมพันธุ์]] และนาย[[ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ]] (อดีต ส.ส. กทม.) <ref>""สุเทพ" พร้อม 8 ส.ส.ลาออกนำม็อบ," ไทยรัฐ, (12 พฤศจิกายน 2556), 17.</ref> | ||
== การจัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) == | == การจัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) == | ||
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ | วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยบนเวทีราชดำเนินยกระดับการชุมนุมต่อต้านจากการคัดค้าน[[ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง]] มาเป็น “ขับไล่ระบอบทักษิณ” โดยอาศัยยุทธศาสตร์ดาวกระจายเข้ายึดสถานที่ราชการหลายแห่ง อาทิเช่น กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานตำรวจนครบาล (บช.น.) ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 กระทรวงมหาดไทย สำนักงานประมาณ และ ศูนย์ราชการ กระทั่งถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ม็อบนกหวีดมีเวทีปราศรัย 3 แห่ง ประกอบด้วย “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทรวงการคลัง ศูนย์ราชการ” ทั้งนี้สถานการณ์การชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง 29 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณและอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำ[[เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย]] (คปท.) และแกนนำ[[กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ]] (กปท.) รวมตัวกันบนเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศตั้ง “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ([[กปปส.]])” โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณเป็น “[[เลขาธิการ กปปส.]]” <ref>"สุเทพประกาศ 1 ธ.ค.วันแห่งชัยชนะสั่งยึดเบ็ดเสร็จศูนย์ราชการ-ทำเนียบกระทรวง-บช.น.-สตช.ผนึกแนวร่วมโค่นแม้วจตุพรระดมมวลชนแดงสู้," คมชัดลึก, (30 พฤศจิกายน 2556), 13.</ref> | ||
== การต่อต้านการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 == | == การต่อต้านการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 == | ||
ภายหลังจากที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ | ภายหลังจากที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ ถวายร่างประกาศ[[พระราชกฤษฎีกายุบสภา]] อันจะมีผลให้ต้องจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557]] <ref>พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนที่ 115 ก, 9 ธันวาคม 2556, หน้า 1-2.</ref> กปปส. หรือ “ม็อบนกหวีด” จึงนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้ง พร้อมตั้งเวทีใหญ่ 5 แห่งสำคัญ ประกอบด้วย[[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] สี่แยกราชประสงค์ สี่แยกปทุมวัน สี่แยกอโศก และ สวนลุมพินี เพื่อเป็นการกดดันให้[[รัฐบาลรักษาการ]]ลาออก อันจะเป็นการเปิดทางให้ตั้ง[[สภาประชาชน]] รวมถึงการเตรียมความพร้อมเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ]] ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2556 ส่งผลให้เกิดการปะทะกันหน้าสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น เมื่อ กปปส. พยายามสกัดกั้นไม่ให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าจนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 คน และบาดเจ็บหลายราย | ||
ขณะเดียวกันการสมัครรับเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต]]ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ก็เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากกลุ่ม กปปส. ปิดทางเข้าออกสถานที่รับสมัคร ผลที่ตามมาก็คือ 28 เขตเลือกตั้งไม่มีผู้สมัคร<ref>"สรุปสมัครส.ส.เขตทั่วประเทศ 28เขตไร้ผู้สมัคร," ไทยรัฐออนไลน์, (1 มกราคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/393087>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558.</ref> ในภายหลัง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]จึงวินิจฉัยว่า[[การเลือกตั้ง]]เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ เนื่องจาก[[พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ]]ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ [[2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557]] [[ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ]] (มาตรา 108 วรรคสอง) เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้ <ref>มติศาล รธน. 6:3 ชี้ 2 ก.พ. โมฆะ," มติชน, (21 มีนาคม 2557), 5.</ref> ทั้งนี้ กปปส. หรือ “ม็อบนกหวีด” ยังคงดำเนินการปราศรัยต่อต้านรัฐบาลรักษาการอย่างต่อเนื่อง โดยรณรงค์ “ [[Shutdown กรุงเทพฯ]]” เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง พร้อมยกประเด็นความบกพร่องใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]มาเป็นประเด็นโจมตี ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซึ่งผ่านวาระที่สามในวันเดียว การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องที่มาของ[[สมาชิกวุฒิสภา]] [[ความไม่โปร่งใส]]ของนโยบายจำนำข้าว พระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ และกรณีการโยกย้าย นาย[[ถวิล เปลี่ยนสี]]ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นต้น ประกอบการเหตุปะทะกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ และเจ้าหน้าที่ที่เข้าควบคุมสถานการณ์ จนลดบทบาทลงหลัง[[การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557]] โดย[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) | |||
== “นกหวีด” ในฐานะสัญลักษณ์ทางการเมือง == | == “นกหวีด” ในฐานะสัญลักษณ์ทางการเมือง == | ||
อย่างไรก็ตาม แม้ กปปส. จำใช้ “นกหวีด” (และสายคล้องคอลายธงชาติ) | อย่างไรก็ตาม แม้ กปปส. จำใช้ “นกหวีด” (และสายคล้องคอลายธงชาติ) มาเป็นอุปกรณ์ใน[[การชุมนุมประท้วง]]ต่อต้าน[[รัฐบาล]]จนถูกเรียกขานกันอย่างกว้างขวางว่า “ม็อบนกหวีด” (นอกเหนือไปจาก “ม็อบสามเสน” “ม็อบราชดำเนิน” “ม็อบสีลม” “[[ม็อบลุงกำนัน]]” ฯลฯ) แต่หากพิจารณาในบริบทที่กว้างออกไป การเป่านกหวีด (Whistle-blowing) เพื่อแสดงออกในทางการเมืองยังสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 1970 เมื่อนายราล์ฟ แนเดอร์ (Ralph Nader) นักกฎหมาย นักเขียน และนักต่อสู้สังคมชาว ตัดสินใจเป่านกหวีดในสภาคองเกรสเพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนพฤติกรรมทุจริตและการบริหารงานไม่โปร่งใสของรัฐบาล จนทำให้ต่อมารัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เป่านกหวีด (Whistleblower Protection Act of 1989) เนื้อหาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลของรัฐบาล หรือข้อมูลที่ถูกเปิดเผยในกรณีพฤติกรรมของรัฐบาลที่ส่อไปในทางทุจริต และการใช้อำนาจโดยมิชอบ <ref>ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง, "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์," ประชาไท, (7 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50258#ref-5>. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558.</ref> | ||
จากวีรกรรมการเป่านกหวีดของราล์ฟ แนเดอร์ ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/การเมืองจำนวนมากรับเอา “นกหวีด” มาเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ต่อต้านรัฐบาล เช่น การก่อตั้งองค์กร Falling Whistles ขึ้นในปี 2008 เพื่อรณรงค์สร้างสันติภาพในประเทศคองโก โดยการขายนกหวีดเป็นทุนด้านการศึกษา การต่อสู้เพื่อสิทธิและการบำบัดเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม และการเป่านกหวีดประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและตระหนักถึงผลกระทบของสงคราม ซึ่ง "นกหวีด" มีความหมายซ้อนอยู่สองประการ ประการแรก คือการให้ความสนใจไปที่ทหารเด็กตัวเล็กๆ ที่ยังเด็กเกินไปที่จะแบกอาวุธได้ ดังนั้นจึงถูกส่งไปรบในแนวหน้าโดยปราศจากอาวุธอื่นใดนอกจาก "นกหวีด" ในอีกด้านหนึ่งก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า "คนเป่านกหวีด" ในคองโก ก็คือ ผู้ที่ไม่ยอมตกอยู่ในความเงียบอีกต่อไป นอกจากนั้นในปี 2009 และ 2012 ยังมีการรวมตัวกันของประชาชนชาวโรมันเนียเพื่อเป่านกหวีดประท้วงรัฐบาลกรณีค่าจ้างแรงงานต่ำ และการประท้วงนโยบาย "หยุดและค้น" (Stop-and-Frisk Policy) ของตำรวจนิวยอร์ก ซึ่งอนุญาตให้ตำรวจสามารถเข้าตรวจค้นประชาชนบนท้องถนนได้อย่างอิสระ โดยการพร้อมใจกันพกนกหวีดเพื่อใช้เป่าใส่ตำรวจในกรณีที่ถูกเรียกค้นตัว ตามลำดับ | จากวีรกรรมการเป่านกหวีดของราล์ฟ แนเดอร์ ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/การเมืองจำนวนมากรับเอา “นกหวีด” มาเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ต่อต้านรัฐบาล เช่น การก่อตั้งองค์กร Falling Whistles ขึ้นในปี 2008 เพื่อรณรงค์สร้างสันติภาพในประเทศคองโก โดยการขายนกหวีดเป็นทุนด้านการศึกษา การต่อสู้เพื่อสิทธิและการบำบัดเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม และการเป่านกหวีดประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและตระหนักถึงผลกระทบของสงคราม ซึ่ง "นกหวีด" มีความหมายซ้อนอยู่สองประการ ประการแรก คือการให้ความสนใจไปที่ทหารเด็กตัวเล็กๆ ที่ยังเด็กเกินไปที่จะแบกอาวุธได้ ดังนั้นจึงถูกส่งไปรบในแนวหน้าโดยปราศจากอาวุธอื่นใดนอกจาก "นกหวีด" ในอีกด้านหนึ่งก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า "คนเป่านกหวีด" ในคองโก ก็คือ ผู้ที่ไม่ยอมตกอยู่ในความเงียบอีกต่อไป <ref>"US Activists Bring Attention to Congo's Plight," Voice of America, (October 18, 2010). Available <http://www.voanews.com/content/us-activists-bring-attention-to-congos-plight-105290118/156191.html>. Retrieved June 5, 2015.</ref>นอกจากนั้นในปี 2009 และ 2012 ยังมีการรวมตัวกันของประชาชนชาวโรมันเนียเพื่อเป่านกหวีดประท้วงรัฐบาลกรณีค่าจ้างแรงงานต่ำ และการประท้วงนโยบาย "หยุดและค้น" (Stop-and-Frisk Policy) ของตำรวจนิวยอร์ก ซึ่งอนุญาตให้ตำรวจสามารถเข้าตรวจค้นประชาชนบนท้องถนนได้อย่างอิสระ โดยการพร้อมใจกันพกนกหวีดเพื่อใช้เป่าใส่ตำรวจในกรณีที่ถูกเรียกค้นตัว ตามลำดับ <ref>ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง, "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์," ประชาไท, (7 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50258#ref-5>. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558. ดูเพิ่มเติมใน Raluca Dimitriu, "The Whistleblowing Policies in Romania's Labour Law," Accounting and Management Information Systems, 13, 3 (2014), 584-598.</ref> | ||
สำหรับการเป่านกหวีดของ กปปส. แล้วก็คงได้รับอิทธิพลจากแนวทางที่มีมาก่อนในต่างประเทศไม่มากก็น้อย ที่ไม่เพียงจะเป็นการบ่งบอกให้รัฐบาล “หยุด” | สำหรับการเป่านกหวีดของ กปปส. แล้วก็คงได้รับอิทธิพลจากแนวทางที่มีมาก่อนในต่างประเทศไม่มากก็น้อย ที่ไม่เพียงจะเป็นการบ่งบอกให้รัฐบาล “หยุด” การกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตและ[[เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง]]จนทำให้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ส่วนรวมของคนทั้งประเทศเท่านั้น หาก “นกหวีด” ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมและบังคับใช้กฎกติกา (เช่น ตำรวจ ทหาร กรรมการ) ยังเป็นการสื่อแสดงให้สังคมรับรู้ว่ากลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. แม้จะเป็นเสียงส่วนน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นเสียงที่ดังพอและสามารถเรียกร้องให้สังคมหันมาพินิจพิจารณาเหตุผลที่กลุ่มตนต่อต้านรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้นการเป่านกหวีดยังกินความหมายไปถึง “การขับไล่” ในบริบทการชุมนุมที่มีข้อตกลงร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจระหว่างผู้คนในสังคมได้ ขณะที่ ดร.บุปผา บุญสมสุข นักวิชาการด้านการสื่อวารมวลชน ตั้งข้อสังเกตว่าสัญลักษณ์เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายโดยตัวมันเอง แต่มนุษย์เป็นผู้สร้างใส่ความหมายให้กับสัญลักษณ์ที่ตนเองใช้ ในแง่นี้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ทางการเมืองจึงมีความหมายลื่นไหลและไม่คงตัวหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะมีความหมายก็ต่อเมื่อดำรงอยู่และถูกใช้ในชุมนุมกลุ่มเฉพาะที่มีข้อตกลงร่วมกันหรือรับรู้ร่วมกันถึงความหมายนั้นๆ | ||
แม้หลายฝ่ายจะวิพากษ์วิจารณ์ว่าการเป่านกหวีดใส่[[รัฐมนตรี]]และผู้นำทางการเมืองหลายคนจะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งเป็น[[ความรุนแรง]] แต่สำหรับ ดร.บุปผา บุญสมสุข กลับมองว่าเป็นคำอธิบายที่ไม่สมเหตุสมผลแต่อย่างใด เพราะ “ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล เพราะทุกคนมีสิทธิในการสร้างความรุนแรงได้โดยใส่ความหมายเข้าไป แต่ถ้าอยากให้ความรุนแรงลดน้อยลงก็ต้องเปลี่ยนความหมาย ให้ความหมายไปในทางที่ไม่รุนแรงซึ่งสามารถทำได้ เช่น การเป่านกหวีด คือ การเริ่มต้นในสิ่งที่ดี หรือ การเป่านกหวีด คือ การแสดงความดีใจ เป็นการแสดงออกทางการเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่ความรุนแรงแค่ต้องการส่งเสียงให้คนอื่นรู้ว่าฉันได้เข้ามาร่วมแสดงการกระทำบางอย่าง ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่เกิดการทะเลาะกัน"<ref>"‘สัญลักษณ์’ รูปแบบการแสดงออก บ่งบอกแนวคิด สื่อความหมายเฉพาะกลุ่ม," เดลินิวส์, (26 พฤศจิกายน 2556), 4.</ref> เมื่อการใช้สื่อสัญลักษณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม (ในที่นี้หมายถึงประเทศไทย) ก็ทำให้การเป่านกหวีดของ กปปส. ไม่จำเป็นต้องมีความหมายเดียวกันกับในต่างประเทศ | |||
== บรรณานุกรม == | == บรรณานุกรม == | ||
บรรทัดที่ 76: | บรรทัดที่ 76: | ||
Robert J. McCarthy. (2012). "Blowing in the Wind: Answers for Federal Whistleblowers." William and Mary Policy Review. 3, 184-228. | Robert J. McCarthy. (2012). "Blowing in the Wind: Answers for Federal Whistleblowers." William and Mary Policy Review. 3, 184-228. | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] | [[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:37, 12 พฤศจิกายน 2558
ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
ม็อบนกหวีด หรือ การเคลื่อนไหวชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) มีสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เป็นเลขาธิการ ซึ่งเริ่มต้นจากการจัดชุมนุมเวทีเล็กของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดประชาธิปัตย์ บริเวณสถานีรถไฟสามเสน เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 แล้วจึงเคลื่อนขบวนรวมพลกันที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 โดยใช้ “นกหวีด” เป็นอุปกรณ์ต่อต้านรัฐบาลและการกระทำของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (อันผนวกรวมอยู่ในสิ่งที่ม็อบนกหวีดเรียกรวมๆ ว่า “ระบอบทักษิณ”) ก่อนลดบทบาทลงหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ
กำเนิดและแนวทางทางการเมืองของม็อบนกหวีด
- ในวันที่เขอเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม เราจึงเปิดเวทีที่สามเสนเพราะจะไปใช้ที่สนามหลวงก็ใหญ่โตเกินไป ไม่รู้ว่าเริ่มต้นจะมีคนมากี่คน จะใช้ที่สวนลุมพินีตอนนั้นกองทัพธรรมเขาก็อยู่ก่อนแล้ว เลยตัดสินใจเลือกตั้งที่เวทีที่สถานีสามเสนเพราะใกล้ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ สถานที่ไม่กว้างจนเกินไป คนต่างจังหวัดก็นั่งรถไฟมาเข้าร่วมได้
สุเทพ เทือกสุบรรณ [1]
ก่อกำเนิดม็อบนกหวีด[2]
ภายหลังการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อไทยในเดือนตุลาคม 2556 ก็เริ่มปรากฏการต่อต้านคัดค้านจากหลายกลุ่มการเมือง กลุ่มที่มีความสำคัญและโดดเด่นในช่วงเวลานั้นคือ บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ โดยวันที่ 31 ตุลาคม 2556 ได้มีการจัดปราศรัยและประกาศจุดยืนคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวในช่วงแรกยังดำเนินไปในทิศทางการปราศรัยการเมืองบนเวที สลับกับการแสดงดนตรี โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์อื่นใดเป็นสื่อสัญลักษณ์แทนการต่อสู่เรียกร้อง จนกระทั่งวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 กลุ่มเคลื่อนไหวคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เคลื่อนขบวนไปปฏิญาณตนที่วัดพระแก้ว ก่อนที่จะตัดสินใจตั้งเวทีการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นกลุ่มชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงเริ่มต้นเป่านกหวีดเป็นเวลา 1 นาที พร้อมกับกลุ่มชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่ถนนสีลม
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 9 คน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็ยกระดับการต่อสู้โดยเปิดมาตรการอารยะขัดขืน 4 ข้อ ทั้งนัดหยุดงาน 3 วัน-ชะลอจ่ายภาษี-ประดับธงชาติ-เป่านกหวีดใส่คนในรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปิดเผยว่า “ตอนแรก ส.ส. จะลาออกเยอะกว่านี้ แต่เราบอกว่าไม่ได้ มันก็ต้องมีคนทำงานพรรคอยู่ ...วันที่เราประกาศครั้งแรกจะมีคนออกมาร่วมตั้ง 40 กว่าคน ผมก็คัดเหลือแค่ 9 คน ผมจะคุยทีละคนก่อน ซึ่งทุกคนสมัครใจ และร่วมทำงานกันมาก่อนหน้านี้แล้ว” [3] โดย ส.ส. ทั้ง 9 คนประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี) นายถาวร เสนเนียม (อดีต ส.ส.สงขลา) นายอิสสระ สมชัย (อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย (อดีต ส.ส.ตรัง) นายวิทยา แก้วภราดัย (อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช) นายชุมพล จุลใส (อดีต ส.ส.ชุมพร) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (อดีต ส.ส. กทม.) [4]
การจัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยบนเวทีราชดำเนินยกระดับการชุมนุมต่อต้านจากการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง มาเป็น “ขับไล่ระบอบทักษิณ” โดยอาศัยยุทธศาสตร์ดาวกระจายเข้ายึดสถานที่ราชการหลายแห่ง อาทิเช่น กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานตำรวจนครบาล (บช.น.) ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 กระทรวงมหาดไทย สำนักงานประมาณ และ ศูนย์ราชการ กระทั่งถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ม็อบนกหวีดมีเวทีปราศรัย 3 แห่ง ประกอบด้วย “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กระทรวงการคลัง ศูนย์ราชการ” ทั้งนี้สถานการณ์การชุมนุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง 29 พฤศจิกายน 2556 นายสุเทพ เทือกสุบรรณและอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และแกนนำกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ (กปท.) รวมตัวกันบนเวทีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศตั้ง “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)” โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณเป็น “เลขาธิการ กปปส.” [5]
การต่อต้านการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
ภายหลังจากที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ ถวายร่างประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา อันจะมีผลให้ต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 [6] กปปส. หรือ “ม็อบนกหวีด” จึงนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้ง พร้อมตั้งเวทีใหญ่ 5 แห่งสำคัญ ประกอบด้วยอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สี่แยกราชประสงค์ สี่แยกปทุมวัน สี่แยกอโศก และ สวนลุมพินี เพื่อเป็นการกดดันให้รัฐบาลรักษาการลาออก อันจะเป็นการเปิดทางให้ตั้งสภาประชาชน รวมถึงการเตรียมความพร้อมเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2556 ส่งผลให้เกิดการปะทะกันหน้าสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น เมื่อ กปปส. พยายามสกัดกั้นไม่ให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าจนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 คน และบาดเจ็บหลายราย
ขณะเดียวกันการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ก็เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากกลุ่ม กปปส. ปิดทางเข้าออกสถานที่รับสมัคร ผลที่ตามมาก็คือ 28 เขตเลือกตั้งไม่มีผู้สมัคร[7] ในภายหลังศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา 108 วรรคสอง) เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จได้ในวันเดียวกันได้ [8] ทั้งนี้ กปปส. หรือ “ม็อบนกหวีด” ยังคงดำเนินการปราศรัยต่อต้านรัฐบาลรักษาการอย่างต่อเนื่อง โดยรณรงค์ “ Shutdown กรุงเทพฯ” เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง พร้อมยกประเด็นความบกพร่องในการบริหารราชการแผ่นดินมาเป็นประเด็นโจมตี ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซึ่งผ่านวาระที่สามในวันเดียว การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ความไม่โปร่งใสของนโยบายจำนำข้าว พระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ และกรณีการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนสีออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นต้น ประกอบการเหตุปะทะกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ และเจ้าหน้าที่ที่เข้าควบคุมสถานการณ์ จนลดบทบาทลงหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
“นกหวีด” ในฐานะสัญลักษณ์ทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม แม้ กปปส. จำใช้ “นกหวีด” (และสายคล้องคอลายธงชาติ) มาเป็นอุปกรณ์ในการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลจนถูกเรียกขานกันอย่างกว้างขวางว่า “ม็อบนกหวีด” (นอกเหนือไปจาก “ม็อบสามเสน” “ม็อบราชดำเนิน” “ม็อบสีลม” “ม็อบลุงกำนัน” ฯลฯ) แต่หากพิจารณาในบริบทที่กว้างออกไป การเป่านกหวีด (Whistle-blowing) เพื่อแสดงออกในทางการเมืองยังสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 1970 เมื่อนายราล์ฟ แนเดอร์ (Ralph Nader) นักกฎหมาย นักเขียน และนักต่อสู้สังคมชาว ตัดสินใจเป่านกหวีดในสภาคองเกรสเพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนพฤติกรรมทุจริตและการบริหารงานไม่โปร่งใสของรัฐบาล จนทำให้ต่อมารัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เป่านกหวีด (Whistleblower Protection Act of 1989) เนื้อหาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลของรัฐบาล หรือข้อมูลที่ถูกเปิดเผยในกรณีพฤติกรรมของรัฐบาลที่ส่อไปในทางทุจริต และการใช้อำนาจโดยมิชอบ [9]
จากวีรกรรมการเป่านกหวีดของราล์ฟ แนเดอร์ ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม/การเมืองจำนวนมากรับเอา “นกหวีด” มาเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ต่อต้านรัฐบาล เช่น การก่อตั้งองค์กร Falling Whistles ขึ้นในปี 2008 เพื่อรณรงค์สร้างสันติภาพในประเทศคองโก โดยการขายนกหวีดเป็นทุนด้านการศึกษา การต่อสู้เพื่อสิทธิและการบำบัดเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม และการเป่านกหวีดประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและตระหนักถึงผลกระทบของสงคราม ซึ่ง "นกหวีด" มีความหมายซ้อนอยู่สองประการ ประการแรก คือการให้ความสนใจไปที่ทหารเด็กตัวเล็กๆ ที่ยังเด็กเกินไปที่จะแบกอาวุธได้ ดังนั้นจึงถูกส่งไปรบในแนวหน้าโดยปราศจากอาวุธอื่นใดนอกจาก "นกหวีด" ในอีกด้านหนึ่งก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า "คนเป่านกหวีด" ในคองโก ก็คือ ผู้ที่ไม่ยอมตกอยู่ในความเงียบอีกต่อไป [10]นอกจากนั้นในปี 2009 และ 2012 ยังมีการรวมตัวกันของประชาชนชาวโรมันเนียเพื่อเป่านกหวีดประท้วงรัฐบาลกรณีค่าจ้างแรงงานต่ำ และการประท้วงนโยบาย "หยุดและค้น" (Stop-and-Frisk Policy) ของตำรวจนิวยอร์ก ซึ่งอนุญาตให้ตำรวจสามารถเข้าตรวจค้นประชาชนบนท้องถนนได้อย่างอิสระ โดยการพร้อมใจกันพกนกหวีดเพื่อใช้เป่าใส่ตำรวจในกรณีที่ถูกเรียกค้นตัว ตามลำดับ [11]
สำหรับการเป่านกหวีดของ กปปส. แล้วก็คงได้รับอิทธิพลจากแนวทางที่มีมาก่อนในต่างประเทศไม่มากก็น้อย ที่ไม่เพียงจะเป็นการบ่งบอกให้รัฐบาล “หยุด” การกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตและเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องจนทำให้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ส่วนรวมของคนทั้งประเทศเท่านั้น หาก “นกหวีด” ยังใช้เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีอำนาจในการควบคุมและบังคับใช้กฎกติกา (เช่น ตำรวจ ทหาร กรรมการ) ยังเป็นการสื่อแสดงให้สังคมรับรู้ว่ากลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. แม้จะเป็นเสียงส่วนน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นเสียงที่ดังพอและสามารถเรียกร้องให้สังคมหันมาพินิจพิจารณาเหตุผลที่กลุ่มตนต่อต้านรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้นการเป่านกหวีดยังกินความหมายไปถึง “การขับไล่” ในบริบทการชุมนุมที่มีข้อตกลงร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจระหว่างผู้คนในสังคมได้ ขณะที่ ดร.บุปผา บุญสมสุข นักวิชาการด้านการสื่อวารมวลชน ตั้งข้อสังเกตว่าสัญลักษณ์เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายโดยตัวมันเอง แต่มนุษย์เป็นผู้สร้างใส่ความหมายให้กับสัญลักษณ์ที่ตนเองใช้ ในแง่นี้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ทางการเมืองจึงมีความหมายลื่นไหลและไม่คงตัวหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะมีความหมายก็ต่อเมื่อดำรงอยู่และถูกใช้ในชุมนุมกลุ่มเฉพาะที่มีข้อตกลงร่วมกันหรือรับรู้ร่วมกันถึงความหมายนั้นๆ
แม้หลายฝ่ายจะวิพากษ์วิจารณ์ว่าการเป่านกหวีดใส่รัฐมนตรีและผู้นำทางการเมืองหลายคนจะเป็นเรื่องไม่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งเป็นความรุนแรง แต่สำหรับ ดร.บุปผา บุญสมสุข กลับมองว่าเป็นคำอธิบายที่ไม่สมเหตุสมผลแต่อย่างใด เพราะ “ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล เพราะทุกคนมีสิทธิในการสร้างความรุนแรงได้โดยใส่ความหมายเข้าไป แต่ถ้าอยากให้ความรุนแรงลดน้อยลงก็ต้องเปลี่ยนความหมาย ให้ความหมายไปในทางที่ไม่รุนแรงซึ่งสามารถทำได้ เช่น การเป่านกหวีด คือ การเริ่มต้นในสิ่งที่ดี หรือ การเป่านกหวีด คือ การแสดงความดีใจ เป็นการแสดงออกทางการเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ใช่ความรุนแรงแค่ต้องการส่งเสียงให้คนอื่นรู้ว่าฉันได้เข้ามาร่วมแสดงการกระทำบางอย่าง ถ้าคิดอย่างนี้ก็ไม่เกิดการทะเลาะกัน"[12] เมื่อการใช้สื่อสัญลักษณ์ทางการเมืองเป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม (ในที่นี้หมายถึงประเทศไทย) ก็ทำให้การเป่านกหวีดของ กปปส. ไม่จำเป็นต้องมีความหมายเดียวกันกับในต่างประเทศ
บรรณานุกรม
ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง. "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์.” ประชาไท. (7 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/ 12/50258#ref-5>. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558.
“พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 115 ก. 9 ธันวาคม 2556, หน้า 1-2.
“มติศาล รธน. 6:3 ชี้ 2 ก.พ. โมฆะ.” มติชน. (21 มีนาคม 2557), 5.
รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล และ พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. "เส้นทาง 1 วัน "ม็อบนกหวีด" vs "รัฐบาลเพื่อไทย"." สำนักข่าวอิศรา. (10 กุมภาพันธ์ 2557). เข้าถึงจาก <http://www.isranews.org/ isranews-scoop/item/27161-whistle.html>. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2557.
“สรุปสมัครส.ส.เขตทั่วประเทศ 28เขตไร้ผู้สมัคร.” ไทยรัฐออนไลน์. (1 มกราคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/393087>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558.
“‘สัญลักษณ์’ รูปแบบการแสดงออก บ่งบอกแนวคิด สื่อความหมายเฉพาะกลุ่ม.” เดลินิวส์. (26 พฤศจิกายน 2556), 4.
““สุเทพ" พร้อม 8 ส.ส.ลาออกนำม็อบ.” ไทยรัฐ. (12 พฤศจิกายน 2556), 17.
“สุเทพประกาศ 1 ธ.ค.วันแห่งชัยชนะสั่งยึดเบ็ดเสร็จศูนย์ราชการ-ทำเนียบกระทรวง-บช.น.-สตช.ผนึกแนวร่วมโค่นแม้วจตุพรระดมมวลชนแดงสู้.” คมชัดลึก. (30 พฤศจิกายน 2556), 13.
อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา. เรียบเรียง. (2557). The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ. กรุงเทพฯ: บริษัท ลิปส์ พับลิชชิ่ง จำกัด.
Dimitriu, Raluca (2014). "The Whistleblowing Policies in Romania's Labour Law." Accounting and Management Information Systems. 13, (3), 584-598.
“US Activists Bring Attention to Congo's Plight." Voice of America. (October 18, 2010). Available <http://www.voanews.com/content/us-activists-bring-attention-to-congos-plight-105290118/156191. html>. Retrieved June 5, 2015.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
Ralph Nader, Peter J. Petkas, and Kate Blackwell. (1972). Whistleblowing. New York: Grossman Publishers.
Robert J. McCarthy. (2012). "Blowing in the Wind: Answers for Federal Whistleblowers." William and Mary Policy Review. 3, 184-228.
อ้างอิง
- ↑ อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง), The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ (กรุงเทพฯ: บริษัท ลิปส์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2557), หน้า 212.
- ↑ ขอให้ดูลำดับเหตุการณ์สำคัญในการเคลื่อนไหวของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ใน รพีพรรณ สายัณห์ตระกูล และ พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์, "เส้นทาง 1 วัน "ม็อบนกหวีด" vs "รัฐบาลเพื่อไทย"," สำนักข่าวอิศรา, (10 กุมภาพันธ์ 2557). เข้าถึงจาก <http://www.isranews.org/isranews-scoop/item/27161-whistle.html>. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2557.
- ↑ อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล และ ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง), The Power of Change: กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ, หน้า 216.
- ↑ ""สุเทพ" พร้อม 8 ส.ส.ลาออกนำม็อบ," ไทยรัฐ, (12 พฤศจิกายน 2556), 17.
- ↑ "สุเทพประกาศ 1 ธ.ค.วันแห่งชัยชนะสั่งยึดเบ็ดเสร็จศูนย์ราชการ-ทำเนียบกระทรวง-บช.น.-สตช.ผนึกแนวร่วมโค่นแม้วจตุพรระดมมวลชนแดงสู้," คมชัดลึก, (30 พฤศจิกายน 2556), 13.
- ↑ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130 ตอนที่ 115 ก, 9 ธันวาคม 2556, หน้า 1-2.
- ↑ "สรุปสมัครส.ส.เขตทั่วประเทศ 28เขตไร้ผู้สมัคร," ไทยรัฐออนไลน์, (1 มกราคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.thairath.co.th/content/393087>. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558.
- ↑ มติศาล รธน. 6:3 ชี้ 2 ก.พ. โมฆะ," มติชน, (21 มีนาคม 2557), 5.
- ↑ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง, "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์," ประชาไท, (7 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50258#ref-5>. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558.
- ↑ "US Activists Bring Attention to Congo's Plight," Voice of America, (October 18, 2010). Available <http://www.voanews.com/content/us-activists-bring-attention-to-congos-plight-105290118/156191.html>. Retrieved June 5, 2015.
- ↑ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง, "ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์," ประชาไท, (7 ธันวาคม 2556). เข้าถึงจาก <http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50258#ref-5>. เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558. ดูเพิ่มเติมใน Raluca Dimitriu, "The Whistleblowing Policies in Romania's Labour Law," Accounting and Management Information Systems, 13, 3 (2014), 584-598.
- ↑ "‘สัญลักษณ์’ รูปแบบการแสดงออก บ่งบอกแนวคิด สื่อความหมายเฉพาะกลุ่ม," เดลินิวส์, (26 พฤศจิกายน 2556), 4.