ประมาณ อดิเรกสาร

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:29, 6 พฤษภาคม 2563 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (Apirom ย้ายหน้า ประมาณ อดิเรกสาร (นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์) ไปยัง ประมาณ อดิเรกสาร โดยไม่สร้างหน้...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ชาตะ

พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ชื่อเล่นว่า “คุณ” ปัจจุบันอายุ 92 ปี เกิดที่ตำบลปากเพรียว จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายเน้ย และนางจี้ อดิเรกสาร เป็นบุตรคนที่ 3 มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน คือ

1. คุณหญิงสะอาด ปุณณกันต์ (ภริยาของพลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

2. คุณตวงพร อดิเรกสาร (อดีตหัวหน้าพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช)

3. พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร[1]

การสมรส

พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร สมรสกับท่านผู้หญิง เจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) พี่สาวของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ บุตรี จอมพล ผิน ชุณหะวัณ และคุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 มีบุตรรวม 3 คน เป็นชายทั้งหมด คือ

1. นายปองพล อดิเรกสาร

2. นายยงยศ อดิเรกสาร

3. นายวีระพล อดิเรกสาร

การศึกษา

พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนชายประจำจังหวัดสระบุรี และได้เข้าศึกษาต่อมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2468 จนกระทั่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 เมื่อปี 2473 จากโรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์ แผนกวิทยาศาสตร์ โดยมีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ. 3089 ขณะที่เรียนอยู่ได้เป็นนักฟุตบอลของโรงเรียนอีกด้วย และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2475[2]

ประวัติการรับราชการ

• 12 กรกฏาคม 2477 นักเรียนทำการนายร้อย
• 1 มกราคม 2494 พันเอก
• 4 พฤษภาคม 2496 พลจัตวา
• 1 มกราคม 2497 พลตรี
• 4 กุมภาพันธ์ 2532 พลตำรวจเอก
• 12 ธันวาคม 2533 พลเอก[3]

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

• พ.ศ. 2494
 
เป็นรัฐมนตรี (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม 2494 – 24 มีนาคม 2495 (ยศ พันเอก)
• พ.ศ. 2494
 
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม 2494 – 24 มีนาคม 2495 (ยศ พันเอก)
• พ.ศ. 2495
 
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม 2495 – 2 สิงหาคม 2498 (ยศ พันเอก)
• พ.ศ. 2496
 
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม 2496 – 19 เมษายน 2499) (ยศ พลจัตวา)
• พ.ศ. 2499
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 19 เมษายน 2499 – 21 มีนาคม 2500 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2500
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม 2500 – 16 กันยายน 2500 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2518
 
เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 17 มีนาคม 2518 – 20 เมษายน 2519 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2519
 
เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน 2519 – 25 กันยายน 2519) (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2519
 
เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมัยรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม 2519 – 6 ตุลาคม 2519 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2523
 
เป็นรองนายกรัฐมนตรี (สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม 2523 – 30 เมษายน 2526 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2526 – 2529 เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร(สมัยรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)[4]
• พ.ศ. 2531
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2531 – 9 มกราคม 2533 (ยศ พลตรี)
• พ.ศ. 2533
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (สมัยรัฐบาล พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 9 มกราคม 2533 – 9 ธันวาคม 2533 (ยศ พลตำรวจเอก)
• พ.ศ. 2533 – 2534
 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัยรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี)
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 (ยศ พลตำรวจเอก)[5]
• พ.ศ. 2538 เป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร[6]

การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา

• พ.ศ. 2495 – 2538











 
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 12 สมัย (พ.ศ. 2511 ไม่ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)[7]
- พ.ศ. 2495 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี
- พ.ศ. 2500 (ก.พ.) สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา จังหวัดสระบุรี
- พ.ศ. 2500 (ธ.ค.) สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา จังหวัดสระบุรี
- พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 22,243)
- พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 36,255)
- พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 33,565)
- พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 49,204)
- พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 74,466)
- พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 88,320)
- พ.ศ. 2535 (มี.ค.) สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 103,905)
- พ.ศ. 2535 (ก.ย.) สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 90,789)
- พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย จังหวัดสระบุรี (คะแนน 60,799)[8]
• พ.ศ. 2515 – 2516 เป็นสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ[9]
• พ.ศ. 2517 – 2529
 
เป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งพรรคชาติไทยร่วมกับพลตรี ศิริ สิริโยธินและพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2517
และได้เป็นหัวหน้าพรรค “ชาติไทย”[10] เมื่อปี พ.ศ. 2517 – 2529 และปี พ.ศ. 2535 – 2539
• พ.ศ. 2539 เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[11]

การดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ

• เป็นผู้อำนวยการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2491)

• ประธานกรรมการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

• กรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย[12]

ผลงานสมัยเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

สมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2526 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2529 พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน คือ

1. การเปิดอภิปรายทั่วไปครั้งที่ 29

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2526 พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี กับคณะ ได้เสนอญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจในรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 137 ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสมัคร สุนทรเวช) ในประเด็นปัญหาการขึ้นราคาค่าโดยสารรถไฟ

สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาญัตติดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 11/2526 (สมัยสามัญ) วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2526

ภายหลังจากที่ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ผ่านระเบียบวาระไป

2. การเปิดอภิปรายทั่วไป ครั้งที่ 30

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2526 พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี กับคณะ ได้เสนอญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 137 เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกสิทธิ จิรโรจน์) โดยผู้เสนอญัตติได้ให้เหตุผลในการเสนอญัตตินี้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลนี้แถลงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม การดำเนินการทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย การปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ปัญหายาเสพติดให้โทษ ปัญหาการบริหารบ้านเมืองโดยไม่เป็นธรรม

สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาญัตติดังกล่าวในการประชุม ครั้งที่ 1/2527 (สมัยสามัญ) วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2527 แต่เนื่องจากผู้เสนอญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุม ประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายอุทัย พิมพ์ใจชน) จึงวินิจฉัยว่าญัตติตกไปตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

3. การเปิดอภิปรายทั่วไป ครั้งที่ 31

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2528 พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระบุรี กับคณะ ได้เสนอญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 137 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยผู้เสนอญัตติได้ให้เหตุผลว่ารัฐบาลได้บริหารประเทศไปในทางเสียหาย ผิดพลาดหลายประการไม่ควรได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้พิจารณาญัตติดังกล่าวในการประชุม ครั้งที่ 5/2528 (สมัยสามัญ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2528 ตามที่ได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระประชุมเนื่องจากประธานรัฐสภาได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาญัตติด่วน เพื่อให้มีการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 137 ซึ่งนายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็นผู้เสนอ และได้ลงมติว่าญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 137 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งพล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร กับคณะ เป็นผู้เสนอ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งจะดำเนินการต่อไปไม่ได้ และต่อจากนั้น นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ ได้เสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยขอเปลี่ยนคำว่า “นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล” เป็นข้อความใหม่ว่า “ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอื่นเป็นรายบุคคลตามมาตรา 137” แต่ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในญัตติดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ[13]

อ้างอิง

  1. ประมาณ อดิเรกสาร, ชีวิตเมื่อผ่านไป 84 ปี พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร (กรุงเทพฯ : อินเตอร์ – เทค พริ้นติ้ง, 2540) หน้า 3.
  2. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน, หน้า 3-7.
  3. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  4. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  5. นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์, เอกสารวงงานรัฐสภา “รวมรายชื่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่คณะแรกจนถึงคณะปัจจุบัน” (กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544) หน้า 341.
  6. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  7. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  8. “ประวัติย่อ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/refb/218978/ (30 ตุลาคม 2552)
  9. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  10. ชุมนุมการศึกษา, “ประวัติพรรคชาติไทย”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-2-29088.html (30 ตุลาคม 2552)
  11. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  12. ประมาณ อดิเรกสาร, เรื่องเดียวกัน.
  13. โรงเรียนเทพศิรินทร์, “พลตำรวจเอก / พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.debsirin.or.th/webboard/index.php?showtopic=367 (30 ตุลาคม 2552

บรรณานุกรม

ชุมนุมการศึกษา, “ประวัติพรรคชาติไทย”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-2-29088.html (30 ตุลาคม 2552)

นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์, เอกสารวงงานรัฐสภา “รวมรายชื่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่คณะแรกจนถึงคณะปัจจุบัน”. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544.

ประมาณ อดิเรกสาร, ชีวิตเมื่อผ่านไป 84 ปี พลเอก/พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร. กรุงเทพฯ : อินเตอร์ – เทค พริ้นติ้ง, 2540.

“ประวัติย่อ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/refb/218978/ (30 ตุลาคม 2552)

โรงเรียนเทพศิรินทร์, “พลตำรวจเอก / พลเอก ประมาณ อดิเรกสาร”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.debsirin.or.th/webboard/index.php?showtopic=367 (30 ตุลาคม 2552)

ดูเพิ่มเติม

บุญชัย ใจเย็น “รวยแบบขุนศึก”, กรุงเทพฯ : บุญชัยเพรส. ม.ป.ป.

ประทีป เชิดธรณินทร์ “เพชร วิวาห์ พลเอก / พลตำรวจเอก ประมาณ – ท่านผู้หญิง เจริญ อดิเรกสาร”, ม.ป.พ., ม.ป.ท., ม.ป.ป.

ประมาณ อดิเรกสาร “บันทึกความจำเมื่อข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าพรรค”, กรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์. 2520

ประมาณ อดิเรกสาร “ราชครู”, กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง. 2547

ประมาณ อดิเรกสาร “94 ฤดูฝน...คนชื่อ “ประมาณ””, กรุงเทพฯ : สื่อวัฏจักร. 2549