ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร พ.ศ. 2494"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
ปัญหาจากบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2492 ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ถูกแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์จากรัฐธรรมนูญ 2490 ให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ สมาชิกวุฒิสภาชุดแต่งตั้งนี้ได้สร้างอุปสรรคในการบริหารของรัฐบาลจอมพล ป. มาก<ref>พลเรือตรีหลวงสังวรยุทธกิจ ได้บันทึกถึงเสียงตำหนิจากประชาชนต่อวุฒิสภาชุดนี้ว่า เป็น “สภากรุ๋งกริ๋ง” “สภาคนแก่” “สภาคณะเจ้า” โปรดดู พลเรือตรีสังวรยุทธกิจ , “เกิดมาแล้วต้องเป็นไปตามกรรม คือ กฎแห่งธรรมชาติ” อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29 ธันวาคม 2516), กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์, หน้า 161</ref> เช่น การตั้งกระทู้ถามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง และการอภิปรายคัดค้าน ยับยั้งการออกกฎหมายถึง 31 ฉบับจาก 57 ฉบับ<ref>กริช สืบสนธิ์ , “บทบาทและพฤติกรรมของวุฒิสภาไทยสมัยต่างๆ”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2515, หน้า 140-151.</ref> นอกจากนี้ วุฒิสภาชุดนี้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปภายหลังการปราบปราม ”[[กบฎแมนฮัตตัน]]”โดยรัฐบาลจอมพล ป. อย่างหนัก ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์<ref>สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2517,หน้า 157.</ref> | ปัญหาจากบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2492 ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ถูกแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์จากรัฐธรรมนูญ 2490 ให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ สมาชิกวุฒิสภาชุดแต่งตั้งนี้ได้สร้างอุปสรรคในการบริหารของรัฐบาลจอมพล ป. มาก<ref>พลเรือตรีหลวงสังวรยุทธกิจ ได้บันทึกถึงเสียงตำหนิจากประชาชนต่อวุฒิสภาชุดนี้ว่า เป็น “สภากรุ๋งกริ๋ง” “สภาคนแก่” “สภาคณะเจ้า” โปรดดู พลเรือตรีสังวรยุทธกิจ , “เกิดมาแล้วต้องเป็นไปตามกรรม คือ กฎแห่งธรรมชาติ” อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29 ธันวาคม 2516), กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์, หน้า 161</ref> เช่น การตั้งกระทู้ถามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง และการอภิปรายคัดค้าน ยับยั้งการออกกฎหมายถึง 31 ฉบับจาก 57 ฉบับ<ref>กริช สืบสนธิ์ , “บทบาทและพฤติกรรมของวุฒิสภาไทยสมัยต่างๆ”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2515, หน้า 140-151.</ref> นอกจากนี้ วุฒิสภาชุดนี้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปภายหลังการปราบปราม ”[[กบฎแมนฮัตตัน]]”โดยรัฐบาลจอมพล ป. อย่างหนัก ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์<ref>สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2517,หน้า 157.</ref> | ||
ต่อมา [[ | ต่อมา [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.]]ได้กล่าวตอบโต้วุฒิสภาว่าการเปิดอภิปรายของวุฒิสภาที่โจมตีรัฐบาลอย่างหนักนี้เป็นการเล่นบทเป็นฝ่ายค้านต่อรัฐบาล<ref>สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2517,หน้า 157.</ref> | ||
;3.ปัญหาความไม่สมดุลทางการเมืองและการแทรกแซงทางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ | ;3.ปัญหาความไม่สมดุลทางการเมืองและการแทรกแซงทางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ | ||
ในเดือนมิถุนายน 2492 หรือเพียงสามเดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลประสบความล้มเหลวในการผลักดันบุคคลที่รัฐบาลไว้วางใจให้เป็นองคมนตรี<ref>Handley , Paul “Princes , Politicians , Bureaucrats , Generals : The Evolution of the Privy Council under the Constitutional Monarchy” , A paper for 10th International Conference on Thai Studies , Thammasat University ,Bangkok ,January 9-11,2008 ,p.10.</ref> ในขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกจำนวนกึ่งหนึ่งในรัฐสภาได้ ต่อมา ความขัดแย้งระหว่างผู้สำเร็จราชการฯกับรัฐบาลได้เริ่มปรากฎขึ้นในกรณีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก-สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพระราชวงศ์และข้าราชการในระบอบเก่า-โดยผู้สำเร็จราชการฯไม่ทรงปรึกษารัฐบาลส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับวุฒิสภาไม่ราบรื่น นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการฯได้เข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการเข้ามานั่งประทับในการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผิดแบบแผนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป จากการที่ทรงเข้ามาประทับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับ[[ | ในเดือนมิถุนายน 2492 หรือเพียงสามเดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลประสบความล้มเหลวในการผลักดันบุคคลที่รัฐบาลไว้วางใจให้เป็นองคมนตรี<ref>Handley , Paul “Princes , Politicians , Bureaucrats , Generals : The Evolution of the Privy Council under the Constitutional Monarchy” , A paper for 10th International Conference on Thai Studies , Thammasat University ,Bangkok ,January 9-11,2008 ,p.10.</ref> ในขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกจำนวนกึ่งหนึ่งในรัฐสภาได้ ต่อมา ความขัดแย้งระหว่างผู้สำเร็จราชการฯกับรัฐบาลได้เริ่มปรากฎขึ้นในกรณีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก-สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพระราชวงศ์และข้าราชการในระบอบเก่า-โดยผู้สำเร็จราชการฯไม่ทรงปรึกษารัฐบาลส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับวุฒิสภาไม่ราบรื่น นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการฯได้เข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการเข้ามานั่งประทับในการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผิดแบบแผนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป จากการที่ทรงเข้ามาประทับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.]] ในฐานะนายกรัฐมนตรีมาก<ref>Bangkok Post , December 18,1950</ref> | ||
;4.ปัญหาจากการขาดอำนาจในการควบคุมกองทัพ | ;4.ปัญหาจากการขาดอำนาจในการควบคุมกองทัพ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:05, 16 สิงหาคม 2556
ผู้เรียบเรียง ณัฐพล ใจจริง
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 ของคณะทหารที่เรียกตนเองว่า “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” เป็นผลต่อเนื่องมาจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ได้ร่างรัฐธรรมนูญ 2492 หรือ “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” ที่กำหนดโครงสร้างทางการเมืองที่ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากในการควบคุมทางการเมืองผ่านวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง อีกทั้ง การที่ผู้สำเร็จราชการฯเข้าแทรกแซงกิจการทางการเมือง และการกีดกัน “คณะรัฐประหาร” ออกไปจากการเมืองนั้น ทำให้รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามบริหารราชการแผ่นดินด้วยความยากลำบาก การรัฐประหาร 2494 จึงเป็นการยุติอำนาจกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมออกไปจากการเมืองไทย ซึ่งเป็นสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างคณะทหารที่มีจอมพล ป.-ผู้นำที่มาจากคณะราษฎรกับกลุ่มอำนาจเก่าที่ยังคงดำรงอยู่ภายหลังการปฏิวัติ 2475
สภาพปัญหาที่ก่อให้เกิดการรัฐประหาร
ภายหลังการขับไล่รัฐบาลนายควงลงจากตำแหน่ง ในเดือนเมษายน 2491 จอมพล ป.ได้กลับขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันของสองขั้วอำนาจระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมกับจอมพลป. นายกรัฐมนตรีผู้มาจากคณะราษฎร และผู้นำ “คณะรัฐประหาร”ภายใต้มรดกของระบอบการเมืองที่กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ได้วางไว้ นั่นก็คือ ความสัมพันธ์ทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2492 ที่ไม่สมดุลระหว่างอำนาจของพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลและรัฐสภา เนื่องจากเป็นระบอบการเมืองที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากโดยปลอดจากการถ่วงดุลจากรัฐบาลและรัฐสภา
- 1.ปัญหาจากรัฐธรรมนูญ 2492 หรือ “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม”
การพยายามสถาปนาโครงสร้างและกำหนดกติกาการเมืองให้ที่เป็นที่พอใจของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมนับเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ 2492[1] โดยกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ได้ริเริ่มให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างส่วนใหญ่เป็นขุนนางในระบอบเก่าและนักกฎหมายอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ มีจำนวน 9 คน คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ พระยาศรีวิสารวาจา พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี พระยาอรรถการียนิพนธ์ หลวงประกอบนิติสาร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายสุวิชช์ พันธเศรษฐ และนายเพียร ราชธรรมนิเทศ
สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ 2492 จึงกำหนดกติกาและระบอบการเมืองที่เพิ่มอำนาจให้พระมหากษัตริย์ในทางการเมือง และกีดกัน “คณะรัฐประหาร” ออกไปจาการเมือง และได้มีการประดิษฐ์ระบอบการเมืองที่ต้องการขึ้น ด้วยการใช้คำว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”(มาตรา 2) ขึ้น นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย อีกทั้ง คณะผู้ร่างฯมีวัตถุประสงค์ถวายอำนาจให้เป็น“ส่วนพระองค์โดยแท้”จึงการบัญญัติข้อความในหลายมมาตราที่เพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์ เช่น กำหนดให้การกระทำของกษัตริย์มีอิสระตามพระราชอัธยาศัย เช่น การทรงเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรีตามพระราชอัธยาศัยและให้พ้นตำแหน่งไปตามพระราชอัธยาศัย (มาตรา13,14)[2] ให้ทรงมีอำนาจในการทรงเลือกและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 100 คน โดยมีเพียงประธานองคมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ (มาตรา 82 )[3] เนื่องจากคณะผู้ร่างฯ ต้องการให้วุฒิสภาเป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์มิใช่ตัวแทนประชาชนจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจในทางการเมืองเช่นนี้ ทำให้เกิดข้อถกเถียงถึงอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้หลักการ The King Can Do No Wrong หรือ การกระทำของพระมหากษัตริย์ต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ เนื่องจาก ที่มาของประธานองคมนตรีมิได้รับผิดชอบต่อรัฐสภาแต่กลับมามีอำนาจลงนามสนองพระราชโองการในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งขัดแย้งต่อหลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น[4]
นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2492 นี้อนุญาตให้ วุฒิสภาชุดที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า(2490) ให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อมาได้ตามรัฐธรรมนูญใหม่(2492) ทำให้วุฒิสภาสามารถครอบงำการใช้อำนาจของรัฐสภาได้ กล่าวโดยสรุป นับแต่รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2490 และ 2492 นั้น ได้มีการบัญญัติมาตราที่ให้อำนาจพระมหากษัตริย์เข้ามาแทรกแซงการเมืองได้และมีการจัดตั้งองค์กรอภิรัฐมนตรี ซึ่งต่อมากลายเป็นองคมนตรี อันมาจากการเลือกและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์อย่างอิสระปราศจากการตรวจสอบและถ่วงดุลจากสถาบันการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย เช่น รัฐบาล และรัฐสภา ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับเป็น “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” เหมือนกัน ต่างแต่เพียงรัฐธรรมนูญฉบับหลัง(2492)จัดรูปแบบของการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ให้ลงตัวมากขึ้นเท่านั้น
ด้วยสาระที่เพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองนี้ ไม่แต่เพียงถูกท้วงติงจากนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์เท่านั้น แต่ในการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณารับรัฐธรรมนูญนั้น สมาชิกสภาผู้แทนฯบางท่านได้อภิปรายวิจารณ์“ระบอบซ่อนเร้น”ที่ให้อำนาจกษัตริย์มีอำนาจในทางการเมืองว่า “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันแท้จริง แต่มีลัทธิการปกครองแปลกประหลาดแทรกซ่อนอยู่ ลัทธินี้ คือ ลัทธินิยมกษัตริย์” และ “ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้โดยปรารถนาจะเหนี่ยวรั้งพระมหากษัตริย์ เข้ามาพัวพันกับการเมืองมากเกินไป โดยการถวายอำนาจมากกว่าเดิม … ยังงี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย มันเป็นรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์อย่างชัดๆทีเดียว ”[5]
นอกจากนี้ คณะผู้ร่างฯรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามจำกัดอำนาจของ “คณะรัฐประหาร” ที่ได้เคยร่วมมือในการรัฐประหาร 2490 ออกไปจากการเมือง ด้วยการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ห้ามข้าราชการประจำเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(มาตรา79 ) และ ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรีมิได้จะเป็น(มาตรา 142) ส่งผลให้นายทหารใน “คณะรัฐประหาร” ถูกกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมกีดกันออกไปจากการเมือง
- 2.ปัญหาจากที่มาและบทบาทของวุฒิสภา
ภาพรวมของรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 หรือ “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” ฉบับนี้มีแนวโน้มอนุรักษ์นิยมทางการเมือง เช่น ให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งด้วยอำนาจของพระมหากษัตริย์มากกว่าการเลือกตั้งของประชาชน เช่น กำหนดให้ ประธานวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ด้วยการกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนฯเป็นเพียงเป็นรองประธานรัฐสภาเท่านั้น(มาตรา 74) โดยที่มาวุฒิสภากำหนดให้ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้ง จำนวน 100 คน ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา(มาตรา 82) กำหนดให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมีอำนาจในการตรวจสอบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้เหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนที่มาจาการเลือกตั้งของประชาชน (มาตรา 128) กำหนดให้วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งสามารถเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติได้(มาตรา 130) ดังนั้น ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ตามหลักการการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ คือ เมื่อวุฒิสภาที่มาจาการแต่งตั้งมีอำนาจตรวจสอบรัฐบาลได้แล้ว ใครหรือองค์กรใดจะตรวจสอบวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง
ในขณะที่ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 มีการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับพระมหากษัตริย์ แต่กลับจำกัดอำนาจของประชาชน ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มิได้กำหนดที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มาจกการเลือกตั้งตามแบบรัฐธรรมนูญ 2489 แต่กลับกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจาการแต่งตั้ง หรือแม้แต่อายุผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กำหนดให้มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี (มาตรา 92) ซึ่งมีแนวโน้มกีดกันคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นความพยายามการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ปัญหาจากบทบาทของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2492 ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ถูกแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์จากรัฐธรรมนูญ 2490 ให้สามารถดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ สมาชิกวุฒิสภาชุดแต่งตั้งนี้ได้สร้างอุปสรรคในการบริหารของรัฐบาลจอมพล ป. มาก[6] เช่น การตั้งกระทู้ถามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง และการอภิปรายคัดค้าน ยับยั้งการออกกฎหมายถึง 31 ฉบับจาก 57 ฉบับ[7] นอกจากนี้ วุฒิสภาชุดนี้ขอเปิดอภิปรายทั่วไปภายหลังการปราบปราม ”กบฎแมนฮัตตัน”โดยรัฐบาลจอมพล ป. อย่างหนัก ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[8]
ต่อมา จอมพล ป.ได้กล่าวตอบโต้วุฒิสภาว่าการเปิดอภิปรายของวุฒิสภาที่โจมตีรัฐบาลอย่างหนักนี้เป็นการเล่นบทเป็นฝ่ายค้านต่อรัฐบาล[9]
- 3.ปัญหาความไม่สมดุลทางการเมืองและการแทรกแซงทางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ
ในเดือนมิถุนายน 2492 หรือเพียงสามเดือนหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีรายงานข่าวว่ารัฐบาลประสบความล้มเหลวในการผลักดันบุคคลที่รัฐบาลไว้วางใจให้เป็นองคมนตรี[10] ในขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกจำนวนกึ่งหนึ่งในรัฐสภาได้ ต่อมา ความขัดแย้งระหว่างผู้สำเร็จราชการฯกับรัฐบาลได้เริ่มปรากฎขึ้นในกรณีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก-สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพระราชวงศ์และข้าราชการในระบอบเก่า-โดยผู้สำเร็จราชการฯไม่ทรงปรึกษารัฐบาลส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับวุฒิสภาไม่ราบรื่น นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการฯได้เข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการเข้ามานั่งประทับในการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งผิดแบบแผนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั่วไป จากการที่ทรงเข้ามาประทับในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับจอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีมาก[11]
- 4.ปัญหาจากการขาดอำนาจในการควบคุมกองทัพ
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ห้ามข้าราชการดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 79) ห้ามข้าราชการเป็นรัฐมนตรี (มาตรา 142) ส่งผลให้จอมพล ป.และนายทหารใน “คณะรัฐประหาร” ต้องเผชิญกับทางเลือกในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งในระบบราชการ เช่น เมื่อลาออกจากข้าราชการมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำให้ขาดอำนาจในการควบคุมกองทัพ ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้จอมพล ป. ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี(2491) แม้พลโท ผิน ชุณหะวัณจะรับแหน่งนี้แทนก็ตาม แต่การกำหนดดังกล่าวทำให้รัฐบาลขาดความสามารถในการควบคุมและสั่งการกองทัพ และส่งผลให้ปัญหาการแข่งขันทางการเมืองในภายกองทัพมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลมาก เช่น การแข่งขันระหว่างพลโทผินกับพลโทกาจ กาจสงครามในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และพลตำรวจตรีเผ่า ศรียานนท์กับพลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในระยะเวลาต่อมา
กล่าวโดยสรุปแล้วรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มีสาระเพิ่มอำนาจให้กับพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง แต่ลดอำนาจของประชาชนที่แสดงผ่านการเลือกตั้งลง โดยให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งมากขึ้น ตลอดจนจำกัดอำนาจของ “คณะรัฐประหาร” ออกไปจากการเมือง
การรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ได้ทำการรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญ 2492 หรือ “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” ลง และได้มีแถลงการณ์ว่า
- if:
border: 1px solid #AAAAAA;
}}" class="cquote" |
width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | “ | คำแถลงการณ์ฉบับที่ 1
เนื่องจากสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันตกอยู่ในความคับขันทั่วไป ภัยแห่งคอมมิวนิสต์ได้ถูกคุกคามเข้ามาอย่างรุนแรง ในคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนี้ก็ยังดี ในรัฐสภาก็ดี มีอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึมอยู่เป็นมาก แม้ว่ารัฐบาลจะทำความพยายามสักเพียงใด ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหา เรื่องคอมมิวนิสต์ได้ ทั้งไม่สามารถปราบการทุจริตที่เรียกว่า คอร์รับชั่น ดังที่มุ่งหมายว่าจะปราบนั้นด้วย ความเสื่อมโทรมมีมากขึ้น จนเป็นทีวิตกกันทั่วไปว่า ประเทศชาติจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์การเมืองอย่างนี้ จึงคณะทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 พร้อมด้วยประชาชนผู้รักชาติ มุ่งความมั่นคงดำรงอยู่แห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์ และระบอบรัฐธรรมนูญ ได้พร้อมกัน เป็นเอกฉันท์ กระทำการเพื่อนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ให้เป็นความรุ่งเรืองสถาพรแก่ประเทศชาติสืบไป… |
width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: | 10px=20px | 30px=60px | 40px=80px | 50px=100px | 60px=120px | ” |
{{#if:| —{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}} }}}} |
สาเหตุสำคัญของการรัฐประหาร คือ การยุติ “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” ผลจากการรัฐประหารครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลชุดเดิมสิ้นสุดลง ให้รัฐสภาทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ให้มี “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ขึ้น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 ทำให้มีแต่เพียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมี 2 ประเภท และให้ “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ดำเนินการกราบทูลพระกรุณาเพื่อตั้ง สมาชิกสภาประเภท 2 ต่อไป จากนั้นให้มีการตั้งรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป
“คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ประกอบด้วย
1.พลเอกผิน ชุณหะวัณ
2.พลโท เดช เดชประดิยุทธ์
3.พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์
4.พลเรือตรี หลวงยุทธศาสตร์โกศล
5.พลเรือตรี หลวงชำนาญอรรถยุทธ
6.พลเรือตรี สุนทร สุนทรนาวิน
7.พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
8.พลอากาศโท หลวงเชิดวุฒากาศ
9.พลอากาศ หลวงปรุงปรีชากาศ[13]
ผลกระทบจากการรัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
การยกเลิก“รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” โดย “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” มีขึ้นก่อนพระมหากษัตริย์ทรงเสด็จนิวัตรพระนครไม่กี่วัน การรัฐประหารครั้งนี้เป็นการยุติการครอบงำรัฐสภาโดยวุฒิสภากุล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม และลดอำนาจของพระมหากษัตริย์ออกจากการเมือง โดยจอมพล ป. ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้อีกครั้งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ[14]
โดยเปรียบเทียบแล้วรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 นี้จำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์มากกว่า ฉบับ 2490 , 2492 เช่น การไม่มีคณะองคมนตรีที่พระองค์ทรงสามารถแต่งตั้งได้ตามพระราชอัธยาศัย การไม่มีวุฒิสภาที่ให้อำนาจพระมหากษัตริย์เลือกและแต่งตั้งด้วยพระองค์เองดังเช่น “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” 2 ฉบับก่อน ดังนั้น อำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ลดลงเป็นเหตุให้เกิดความยากในการลงพระนามของพระมหากษัตริย์ส่งผลให้กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร(พระองค์เจ้าธานีนิวัต)ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯขณะนั้น ไม่ยอมลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของ”คณะบริหารประเทศชั่วคราว” จวบกระทั่ง[15] เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงนิวัตรประเทศไทยแล้ว พระองค์ได้ทรงลงพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ กระนั้นก็ดี การรัฐประหารล้ม“รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม” ได้สร้างความไม่พอพระทัยให้พระมหากษัตริย์มาก กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรได้บันทึกปฏิกิริยาของพระมหากษัตริย์ต่อเหตุการณ์นี้ ว่า “ ท่านทรงกริ้วมาก ทรงตำหนิหลวงพิบูลฯ(จอมพล ป.)อย่างแรงหลายคำ ท่านว่าฉันไม่พอใจที่คุณหลวงทำเช่นนี้ ”[16] ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การรัฐประหาร 2494 ที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้กับพระมหากษัตริย์และกุล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมมาก เนื่องจากเป็นการหยุดระบอบการเมืองที่พวกเขาได้เพียรพยายามสร้างขึ้นต้องยุติลง
จากนั้น “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ได้ประกาศนำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 กลับใช้ใหม่ในทางปฏิบัติ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน นั้นเอง จอมพล ป.ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวพร้อมคณะรัฐมนตรีชั่วครามจำนวน 17 คน ต่อมา วันที่ 30 พฤศจิกายน “คณะบริหารประเทศชั่วคราว” ได้แต่งตั้งสมาชิกสภาประเภทที่สองจำนวน 123 คน จากนั้น วันที่ 1 ธันวาคมมีการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และได้มีการลงมติเลือกจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง[17]
ต่อมา จอมพล ป.และคณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ และทรงเริ่มต่อรองให้มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนการยอมใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่จอมพล ป.เสนอมาแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้นำแนวคิดในรัฐธรรมนูญ 2492 ที่ถูกล้มเลิกไปมาประกอบการร่างด้วย[18] และทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ตั้งวุฒิสภาอีกครั้ง โดยทรงให้เหตุผลว่า “การมีแต่สภาเดียวโดยมีสมาชิกประเภทที่ 1 อย่างเดียว [มาจากการเลือกตั้งของประชาชน] ย่อมไม่มีหลักประกันอันเพียงพอ จึ่งควรให้มีสภาที่ 2 [วุฒิสภาที่มาจากการเลือกและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์]ขึ้น”[19] อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับ 2495 ที่ปรากฏต่อมานั้น ซึ่งมีคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก 8 คน คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ พระยาศรีวิสารวาจา พระยาเทพวิทุร หลวงประกอบนิติสาร นายเพียร ราชธรรมนิเทศ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายสุวิชช์ พันธ์เศรษฐและนายหยุด แสงอุทัย[20] โดยรัฐบาลยอมได้เพียงสาระบางประการใน “รัฐธรรมนูญกษัตริย์นิยม”เท่านั้นที่ยังคงอยู่ เช่น การให้คงมีคณะองคมนตรีที่ทรงตั้งตามพระราชอัธยาศัยต่อไป แต่ไม่ปรากฏข้อความให้ทรงสามารถเลือกและแต่งตั้งวุฒิสภาด้วยพระองค์เองดังเดิมอีก ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับ 2495 นี้เป็นการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ไว้แต่เพียงกิจการส่วนพระองค์เท่านั้น แต่ไม่อนุญาตให้ทรงใช้อำนาจที่สามารถครอบงำรัฐสภาได้อีก ด้วยเหตุนี้ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบันทึกความรู้สึกที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจของกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมต่อการจำกัดอำนาจกษัตริย์อีก[21]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 17 วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2492 หรือ เวปไซด์ของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th
- ↑ มุกดา เอนกลาภากิจ “รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2542 , หน้า 78-79
- ↑ มุกดา เอนกลาภากิจ “ รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2542) , หน้า 219, 221.
- ↑ ดิเรก ชัยนาม ,กฎหมายรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งพิสดาร : คำสอนชั้นปริญญาโท พุทธศักราช 2491-2492. (พระนคร: มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง,2493),หน้า 31-32. และ ไพโรจน์ ชัยนาม , คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (โดยสังเขป) เล่ม 2 กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ตอนที่ 1 ,(พระนคร : โรงพิมพ์อักษรนิติ ,2495), หน้า 131.
- ↑ คำอภิปรายเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2492 ของ นายชื่น ระวีวรรณ และนายเลียง ไชยกาล ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯในขณะนั้น ( ธงชัย วินิจจะกูล , ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาคม , ( กรุงเทพฯ : มูลนิธิ 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา , 2548 ), หน้า 21.
- ↑ พลเรือตรีหลวงสังวรยุทธกิจ ได้บันทึกถึงเสียงตำหนิจากประชาชนต่อวุฒิสภาชุดนี้ว่า เป็น “สภากรุ๋งกริ๋ง” “สภาคนแก่” “สภาคณะเจ้า” โปรดดู พลเรือตรีสังวรยุทธกิจ , “เกิดมาแล้วต้องเป็นไปตามกรรม คือ กฎแห่งธรรมชาติ” อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29 ธันวาคม 2516), กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์, หน้า 161
- ↑ กริช สืบสนธิ์ , “บทบาทและพฤติกรรมของวุฒิสภาไทยสมัยต่างๆ”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2515, หน้า 140-151.
- ↑ สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2517,หน้า 157.
- ↑ สุชิน ตันติกุล , “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2517,หน้า 157.
- ↑ Handley , Paul “Princes , Politicians , Bureaucrats , Generals : The Evolution of the Privy Council under the Constitutional Monarchy” , A paper for 10th International Conference on Thai Studies , Thammasat University ,Bangkok ,January 9-11,2008 ,p.10.
- ↑ Bangkok Post , December 18,1950
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 68 ตอนที่ 71 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 , หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 68 ตอนที่ 71 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2494 , หน้า 1
- ↑ จอมพล ป. ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 ประกาศใช้ช่วงวันที่ 6 ธันวาคม 2494 -7 มีนาคม 2495 ในระหว่างดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2495
- ↑ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ,เรื่อง กรมพิทยาลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะของ ส.ศิวรักษ์ . กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสถียรโกเศศ- นาคะประทีป , 2528,หน้า16.
- ↑ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ,เรื่อง กรมพิทยาลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะของ ส.ศิวรักษ์ . กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสถียรโกเศศ- นาคะประทีป , 2528 ,หน้า16.
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผูแทนราษฎร , สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2475-2501 , พระนคร : บริษัท ชุมนุมช่าง จำกัด , 2503,หน้า 37-39
- ↑ “บันทึกพระราชวิจารณ์ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 , 17 มกราคม 2495” , หยุด แสงอุทัย , คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475-2495 , (พระนคร : ชูสิน , 2495), หน้า 259.
- ↑ “บันทึกพระราชวิจารณ์ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ,17 มกราคม 2495 ”, หยุด , อ้างแล้ว , หน้า 258.
- ↑ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้วันที่ 8 มีนาคม 2495
- ↑ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ,เรื่อง กรมพิทยาลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะของ ส.ศิวรักษ์ . กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสถียรโกเศศ- นาคะประทีป , 2528,หน้า 37.
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
ณัฐพล ใจจริง (2551) “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม หน้า104-146.
มุกดา เอนกลาภากิจ , (2542) “ รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสน่ห์ จามริก (2549) การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ , กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
นรนิติ เศรษฐบุตร (2550) รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย , กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรณานุกรม
กริช สืบสนธิ์ (2515) “บทบาทและพฤติกรรมของวุฒิสภาไทยสมัยต่างๆ”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ธงชัย วินิจจะกูล (2548 ) ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาคม , กรุงเทพฯ : มูลนิธิ 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
ภูมิพลอดุลยเดช , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ,(2495) “บันทึกพระราชวิจารณ์ เรื่อง ร่างฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไข เพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ,17 มกราคม 2495” , หยุด แสงอุทัย , คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475-2495.พระนคร : โรงพิมพ์ชูสิน.
ณัฐพล ใจจริง (2551) “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม หน้า104-146.
มุกดา เอนกลาภากิจ , (2542) “ รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชิน ตันติกุล (2517) “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ.2490 ”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (2528) เรื่อง กรมพิทยาลาภพฤฒิยากร ตามทัศนะของส.ศิวรักษ์ . กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสถียรโกเศศ- นาคะประทีป.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2503) สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา พ.ศ.2475-2501 , พระนคร : บริษัท ชุมนุมช่าง จำกัด .
หยุด แสงอุทัย (2495) คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475-95 พระนคร : โรงพิมพ์ชูสิน.
อนันต์ พิบูลสงคราม , พลตรี (2540) จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2 เล่ม . กรุงเทพฯ : ตระกูลพิบูลสงคราม.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29 ธันวาคม 2516),กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
Handley , Paul (2008 ) “Princes , Politicians , Bureaucrats , Generals : The Evolution of the Privy Council under the Constitutional Monarchy” , A paper for 10th International Conference on Thai Studies , Thammasat University ,Bangkok , January 9-11
Kobkua Suwannathat-Pian,(1995) Thailand’s Durable Premier : Phibun through Three Decades 1932 – 1957. Kuala Lumpur : Oxford University Press .