ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤฒสภา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 61: บรรทัดที่ 61:
'''หมวด อำนาจนิติบัญญัติ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีสาระสำคัญ ดังนี้'''
'''หมวด อำนาจนิติบัญญัติ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีสาระสำคัญ ดังนี้'''


ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน ในกรณี (1) การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ (2) การตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] (3) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติกันใหม่ (4) การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกพฤฒสภา (5) พิธีเปิดประชุมรัฐสภา (6) การลงมติความไว้ใจในคณะรัฐมนตรี (7) การให้ความยินยอมใน[[การประกาศสงคราม]] (8) การให้ความเห็นชอบแก่หนังสือสัญญา (9) [[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]] (10) การตีความในรัฐธรรมนูญ (11) การแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน ในกรณี (1) [[การให้ความเห็นชอบ]]ในการสืบราชสมบัติ (2) การตั้ง[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] (3) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติกันใหม่ (4) การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกพฤฒสภา (5) พิธีเปิดประชุมรัฐสภา (6) การลงมติความไว้ใจในคณะรัฐมนตรี (7) การให้ความยินยอมใน[[การประกาศสงคราม]] (8) [[การให้ความเห็นชอบ]]แก่หนังสือสัญญา (9) [[การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ]] (10) การตีความในรัฐธรรมนูญ (11) การแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ


ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน และในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของพฤฒสภาโดยอนุโลม ในการตั้ง[[นายกรัฐมนตรี]] ประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทนเป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]]
ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน และในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของพฤฒสภาโดยอนุโลม ในการตั้ง[[นายกรัฐมนตรี]] ประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทนเป็น[[ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ]]
บรรทัดที่ 77: บรรทัดที่ 77:
และในการประชุมพฤฒสภา สมัยสามัญ ชุดที่ 1 ครั้งที่ 1/2490 ถึงครั้งที่ 14/2490 วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2490 ถึง วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2490 มีร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อพฤฒสภา รวมทั้งสิ้น 27 ฉบับ อาทิ เช่น (1) ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนให้ใช้ไปพลางก่อน พ.ศ. 2490 (2) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 (3) ร่างพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 (4) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสินค้าบางอย่าง พ.ศ. 2490 (5) ร่างพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2490 เป็นต้น<ref>รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 1-8 (13 พ.ค. 2490 – 6 ส.ค. 2490), หน้า (16)-(19).</ref><ref>รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 9-14 (14 ส.ค. 2490 – 30 ส.ค. 2490), หน้า (19)-(23).</ref> ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากพฤฒสภา จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมาย
และในการประชุมพฤฒสภา สมัยสามัญ ชุดที่ 1 ครั้งที่ 1/2490 ถึงครั้งที่ 14/2490 วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2490 ถึง วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2490 มีร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อพฤฒสภา รวมทั้งสิ้น 27 ฉบับ อาทิ เช่น (1) ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนให้ใช้ไปพลางก่อน พ.ศ. 2490 (2) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 (3) ร่างพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 (4) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสินค้าบางอย่าง พ.ศ. 2490 (5) ร่างพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2490 เป็นต้น<ref>รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 1-8 (13 พ.ค. 2490 – 6 ส.ค. 2490), หน้า (16)-(19).</ref><ref>รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 9-14 (14 ส.ค. 2490 – 30 ส.ค. 2490), หน้า (19)-(23).</ref> ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากพฤฒสภา จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมาย


รัฐสภาไทยได้นำระบบทั้งสภาเดียวและสภาคู่มาใช้ตามความเหมาะสมแก่กาลเวลาและสภาพสังคมการเมือง เมื่อได้นำระบบสภาคู่มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เพื่อ[[กระบวนการตรากฎหมาย]]ขึ้นใช้ภายในรัฐ [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] ตลอดจนการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆ ของแผ่นดินมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงยังคงใช้ระบบสภาคู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
รัฐสภาไทยได้นำระบบทั้งสภาเดียวและสภาคู่มาใช้ตามความเหมาะสมแก่กาลเวลาและสภาพสังคมการเมือง เมื่อได้นำระบบสภาคู่มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เพื่อ[[กระบวนการตรากฎหมาย]]ขึ้นใช้ภายในรัฐ [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] ตลอดจน[[การให้ความเห็นชอบ]]ในเรื่องสำคัญๆ ของแผ่นดินมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงยังคงใช้ระบบสภาคู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:42, 18 มีนาคม 2553

ผู้เรียบเรียง ขัตติยา ทองทา

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ระบบรัฐสภาของประเทศไทย เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 เรียกว่า “พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร แต่มีสมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทเลือกตั้ง และ ประเภทแต่งตั้ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใช้มาถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” กำหนดให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียวเช่นกัน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใช้มาถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489” ได้กำหนดให้ใช้ระบบ 2 สภาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ สภาผู้แทน และ พฤฒสภา

ความเป็นมาของพฤฒสภา

“พฤฒสภา” อ่านว่า พรึดสภา หมายถึง สภาสูงหรือสภาอาวุโส ในรัฐสภาชุดที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย “สภาผู้แทน” และ “พฤฒสภา”[1]

คำว่า “พฤฒสภา” คำนี้ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ทรงบัญญัติคำว่า “senate” เป็นภาษาไทยว่า “พฤทธสภา” แปลว่า “สภาของผู้สูงอายุ” เพราะคำว่า “พฤทธ์” มาจากคำสันสกฤตว่า “วฤทฺธ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “น. ผู้ใหญ่. ว.เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่ ; แก่, เฒ่า, (ตรงข้ามกับยุว) ; ฉลาด,ชำนาญ ; เจนจบ, พฤฒ ก็ใช้.” และคำว่า “พฤฒ” พจนานุกรมได้เก็บเข้าคู่กับคำว่า “พฤฒา” ให้ความหมายไว้ว่า “ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่ ; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า.” และมีลูกคำอยู่คำหนึ่ง คือ “พฤฒาจารย์” พจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า “น. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.” คงจะเป็นเพราะความหมายของคำว่า “พฤทธ” หรือ “พฤฒ” มักจะเข้าใจว่าเป็น “ผู้เฒ่า” คำว่า “พฤทธสภา” จึงไม่ติด

อาจารย์เกษม บุญศรี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เคยบอกว่า คำว่า “พฤทธสภา” นั้น เสียงใกล้เคียงกับคำว่า “พฤษภา” แปลว่า “วัว” คนมักจะพูดล้อว่า “พฤทธสภา” คือ “สภาวัว สภาโค” อาจหมายไปถึง “สภาควาย” ด้วยก็ได้ เพราะวัวกับควายเป็นสัตว์ที่อยู่ในพวกเดียวกัน และมักจะพูดเช่น “โตเป็นวัวเป็นควาย” คือ โตแต่รูปร่างหรือร่างกายเท่านั้น แต่ปัญญาหาได้เจริญตามไม่ ด้วยเหตุนี้ คำว่า “พฤทธสภา” หรือ “พฤฒสภา” จึงไม่ติด ไม่มีผู้นิยมใช้ ส่วนคำว่า “วุฒิสภา” นั้น พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รับสั่งว่า พระองค์มิได้ทรงเป็นผู้บัญญัติ แต่จะเป็นใครบัญญัติ พระองค์ก็ไม่ทรงทราบ และกลายเป็นคำที่ใช้ติดมาจนถึงทุกวันนี้[2]

จุดเริ่มต้นของพฤฒสภา เริ่มแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 รูปแบบของรัฐสภาไทยใช้ระบบสภาเดียว มีสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 เลือกตั้ง และ สมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง และได้ใช้ระบบนี้เรื่อยมาเป็นเวลา 14 ปี ในปี 2489 รูปแบบของรัฐสภาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 โดยเริ่มใช้ระบบ 2 สภา เป็นครั้งแรกประกอบด้วย สภาผู้แทน และ พฤฒสภา สมาชิกของทั้ง 2 สภา มาจากการเลือกตั้งของราษฎร กรณีของสมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในทางอ้อม กล่าวคือ สมาชิกพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งขององค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงมาจากราษฎร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489 ดำเนินการจัดการเลือกตั้งโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีนายแนบ พหลโยธิน เป็นประธานองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา และนายเจริญ ปัณฑโร เป็นเลขาธิการองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา[3]

ความจำเป็นที่ต้องมีพฤฒสภา ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เพื่อเป็นสภาที่คอยตรวจสอบ กลั่นกรอง ให้คำแนะนำปรึกษา และยับยั้งการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนโดยเฉพาะในด้านนิติบัญญัติ และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี

พฤฒสภา ได้มีการประชุมสภาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2489[4] ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ซึ่งใช้เป็นที่ทำการสำนักงานเลขาธิการพฤฒสภาด้วย โดยที่ประชุมพฤฒสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2489 เลือก พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ เป็นประธานพฤฒสภา และนายไต๋ ปาณิกบุตร เป็นรองประธานพฤฒสภา[5] ต่อมา ได้มีการลงมติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2490 เลือก พลเรือตรีกระแส ประวาหะนาวิน ศรยุทรเสนี เป็นประธานพฤฒสภา และนายไต๋ ปาณิกบุตร เป็นรองประธานพฤฒสภา[6]

การสิ้นสุดของพฤฒสภา พฤฒสภานี้ถือกำเนิดและถึงจุดจบไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เนื่องจาก การทำรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดย “คณะทหารของชาติ” ภายใต้การนำของพลโทผิน ชุณหะวัณ ผลของการรัฐประหารดังกล่าว ทำให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 โดยเปลี่ยนชื่อที่ใช้เรียก “พฤฒสภา” เป็น “วุฒิสภา

พฤฒสภาชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม 2489 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รวมเวลาที่สมาชิกอยู่ในตำแหน่งพฤฒสภา 1 ปี 5 เดือน 16 วัน

พฤฒสภาตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 มีบทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับพฤฒสภา ดังนี้

หมวด พระมหากษัตริย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้

พระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ถ้าพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ ให้รัฐสภาปรึกษากันตั้งขึ้น และในระหว่างที่รัฐสภายังมิได้ตั้งผู้ใด ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุด 3 คน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว และกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลง และมิได้มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งไว้ ให้สมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุด 3 คน ประกอบเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้นชั่วคราว[7]

ซึ่งในกรณีนี้ เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ที่ประชุมรัฐสภาให้ความเห็นชอบอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นต้นไป โดยที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์อยู่ จึงตั้งสมาชิกพฤฒสภาผู้มีอายุสูงสุด 3 คน เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งประกอบด้วย (1) พระสุธรรมวินิจฉัย (2) พระยานลราชสุวัจน์ (3) นายสงวน จูฑะเตมีย์[8]

หมวด อำนาจนิติบัญญัติ บททั่วไป มีสาระสำคัญ ดังนี้

รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทน บุคคลใดจะเป็นสมาชิกพฤฒสภาและสภาผู้แทนในขณะเดียวกันไม่ได้

หมวด อำนาจนิติบัญญัติ พฤฒสภา มีสาระสำคัญ ดังนี้

พฤฒสภาประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งมีจำนวน 80 คน การเลือกตั้งให้ใช้วิธีลงคะแนนออกเสียงโดยทางอ้อมและลับ คุณสมบัติของสมาชิกพฤฒสภาอย่างน้อยจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งทางราชการมาแล้วไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ

วาระการดำรงตำแหน่งมีกำหนดคราวละ 6 ปี เมื่อครบกำหนด 3 ปี ให้มีการเปลี่ยนสมาชิกกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก แต่ผู้ที่ออกไปมีสิทธิได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีก และถ้าตำแหน่งสมาชิกว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้รัฐสภาเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติเข้ามาเป็นสมาชิกแทน สมาชิกที่เข้ามาแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

สมาชิกภาพแห่งพฤฒสภาสิ้นสุดลงเมื่อ (1) ถึงคราวออกตามวาระ (2) ตาย (3) ลาออก (4) ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา

ในระหว่างที่สภาผู้แทนถูกยุบ การประชุมพฤฒสภาจะกระทำมิได้

หมวด อำนาจนิติบัญญัติ บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มีสาระสำคัญ ดังนี้

สมัยประชุมของพฤฒสภาและของสภาผู้แทนเริ่มต้นและสิ้นสุดลงพร้อมกัน

การเสนอร่างพระราชบัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทน เมื่อสภาผู้แทนพิจารณาลงมติให้ใช้ได้ ให้เสนอต่อพฤฒสภา ถ้าพฤฒสภาพิจารณาลงมติเห็นชอบโดยไม่แก้ไข ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป ถ้าพฤฒสภาลงมติไม่เห็นชอบ ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติกลับคืนมาให้สภาผู้แทนพิจารณาใหม่ ถ้าสภาผู้แทนลงมติเห็นชอบตามพฤฒสภา ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัติเป็นอันตกไป ถ้าพฤฒสภาลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติกลับคืนมาให้สภาผู้แทนพิจารณาใหม่ ถ้าสภาผู้แทนลงมติเห็นชอบตามที่พฤฒสภาแก้ไขเพิ่มเติมมา ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป โดยกำหนดเวลาให้พฤฒสภาพิจารณาลงมติร่างพระราชบัญญัติภายใน 30 วัน และ 15 วัน สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุมและให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติได้มาถึงพฤฒสภา ถ้าพฤฒสภาไม่ได้พิจารณาลงมติภายในกำหนดเวลาให้ถือว่าพฤฒสภาเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัตินั้น

พฤฒสภามีอำนาจควบคุมราชการแผ่นดินร่วมกับสภาผู้แทน ในอันที่จะให้ความไว้วางใจนโยบายของคณะรัฐบาล เมื่อแรกจะเข้าบริหารประเทศ และสมาชิกพฤฒสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้

หมวด อำนาจนิติบัญญัติ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีสาระสำคัญ ดังนี้

ให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน ในกรณี (1) การให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ (2) การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (3) การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติกันใหม่ (4) การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกพฤฒสภา (5) พิธีเปิดประชุมรัฐสภา (6) การลงมติความไว้ใจในคณะรัฐมนตรี (7) การให้ความยินยอมในการประกาศสงคราม (8) การให้ความเห็นชอบแก่หนังสือสัญญา (9) การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (10) การตีความในรัฐธรรมนูญ (11) การแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน และในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของพฤฒสภาโดยอนุโลม ในการตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานพฤฒสภาและประธานสภาผู้แทนเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

บทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญ ดังนี้

ในวาระเริ่มแรก พฤฒสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาเป็นผู้เลือกตั้งภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ องค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาประกอบด้วยผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในวันสุดท้ายก่อนใช้รัฐธรรมนูญนี้

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2479 ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งทางราชการมาแล้วไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว และให้ยื่นสมัครรับเลือกตั้งด้วยตนเองต่อเลขาธิการองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาภายใน 12 วันนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้[9]

ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อพฤฒสภา

ในการประชุมพฤฒสภา สมัยวิสามัญ ชุดที่ 1 ครั้งที่ 1/2489 ถึงครั้งที่ 19/2489 วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2489 ถึง วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2489 มีร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อพฤฒสภา รวมทั้งสิ้น 38 ฉบับ อาทิ เช่น (1) ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรทุนสำรองเงินตราเพื่อบูรณะประเทศ พ.ศ. 2489 (2) ร่างพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อการบูรณะประเทศ พ.ศ. 2489 (3) ร่างพระราชบัญญัติการค้าข้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2489 (4) ร่างพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 (5) ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกเงินช่วยชาติในภาวะคับขันและภาษีอากรบางประเภท พ.ศ. 2489 เป็นต้น[10][11]

และในการประชุมพฤฒสภา สมัยสามัญ ชุดที่ 1 ครั้งที่ 1/2490 ถึงครั้งที่ 14/2490 วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2490 ถึง วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2490 มีร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อพฤฒสภา รวมทั้งสิ้น 27 ฉบับ อาทิ เช่น (1) ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนให้ใช้ไปพลางก่อน พ.ศ. 2490 (2) ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 (3) ร่างพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 (4) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสินค้าบางอย่าง พ.ศ. 2490 (5) ร่างพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2490 เป็นต้น[12][13] ร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากพฤฒสภา จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นกฎหมาย

รัฐสภาไทยได้นำระบบทั้งสภาเดียวและสภาคู่มาใช้ตามความเหมาะสมแก่กาลเวลาและสภาพสังคมการเมือง เมื่อได้นำระบบสภาคู่มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2489 เพื่อกระบวนการตรากฎหมายขึ้นใช้ภายในรัฐ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆ ของแผ่นดินมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงยังคงใช้ระบบสภาคู่เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. คณิน บุญสุวรรณ, ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย (กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548), หน้า 666.
  2. จำนง ทองประเสริฐ, “สมาชิกวุฒิสภา-วุฒิสมาชิก,” (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1028 สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.
  3. “ประกาศองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เรื่อง ตั้งประธานองค์การเลือกตั้งและเลขาธิการองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา,” ราชกิจจานุเบกษา 63, 33 (21 พฤษภาคม 2489), หน้า 690.
  4. “พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมพฤฒสภาและสภาผู้แทน พุทธศักราช 2489,” ราชกิจจานุเบกษา 63, 35 (28 พฤษภาคม 2489), หน้า 394.
  5. “ประกาศตั้งประธานและรองประธานพฤฒสภา,” ราชกิจจานุเบกษา 63, 40 (11 มิถุนายน 2489), หน้า 398.
  6. รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 1-8 (13 พ.ค. 2490 – 6 ส.ค. 2490), หน้า 698.
  7. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489,” ราชกิจจานุเบกษา 63, 30 (10 พฤษภาคม 2489), หน้า 326-327.
  8. ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์, รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517) (กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517), หน้า 534-535.
  9. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489,” ราชกิจจานุเบกษา 63, 30 (10 พฤษภาคม 2489), หน้า 328, 330-332, 334-345, 354-355.
  10. รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1-15 (21 ส.ค. 2489 – 4 ธ.ค. 2489), หน้า (5)-(10).
  11. รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 16-19 (13 ธ.ค. 2489 – 31 ธ.ค. 2489), หน้า (10)-(14).
  12. รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 1-8 (13 พ.ค. 2490 – 6 ส.ค. 2490), หน้า (16)-(19).
  13. รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 9-14 (14 ส.ค. 2490 – 30 ส.ค. 2490), หน้า (19)-(23).

เอกสารแนะนำให้อ่านต่อ

ชาย ไชยชิต และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. “การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.thaipoliticsgovernment.org/wiki/ สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.

นรนิติ เศรษฐบุตร. “พฤฒสภา.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.thaipoliticsgovernment.org/wiki/ สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.

ประจวบ รอดน้อย. รวมบทความประวัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2521. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977), 2548.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

“จุดเริ่มต้นและพัฒนาการของวุฒิสภา.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.senate.go.th/nla2/senator/history.php สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.

จำนง ทองประเสริฐ. “สมาชิกวุฒิสภา-วุฒิสมาชิก.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1028 สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.

ธีรนันต์ ไกรนิธิสม. บทบาทรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย : ศึกษารัฐสภาไทยภายใต้ระบอบอมาตยาธิปไตยในช่วงปี พ.ศ. 2487-2500. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

“ประกาศตั้งประธานและรองประธานพฤฒสภา.” ราชกิจจานุเบกษา 63, 40 (11 มิถุนายน 2489) หน้า 398-399.

“ประกาศองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 เรื่อง ตั้งประธานองค์การเลือกตั้งและเลขาธิการองค์การเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา.” ราชกิจจานุเบกษา 63, 33 (21 พฤษภาคม 2489) หน้า 690.

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517). กรุงเทพฯ : ช.ชุมนุมช่าง, 2517.

“พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมพฤฒสภาและสภาผู้แทน พุทธศักราช 2489.” ราชกิจจานุเบกษา 63, 35 (28 พฤษภาคม 2489) หน้า 393-394.

ยุทธพร อิสรชัย และคณะ. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาไทย ในรอบ 30 ปี (พ.ศ. 2515-2545). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2549.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489.” ราชกิจจานุเบกษา 63, 30 (10 พฤษภาคม 2489) หน้า 318-358.

รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1-15 (21 ส.ค. 2489 – 4 ธ.ค. 2489)หน้า (5)-(10).

รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 16-19 (13 ธ.ค. 2489 – 31 ธ.ค. 2489) หน้า (10)-(14).

รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 1-8 (13 พ.ค. 2490 – 6 ส.ค. 2490)หน้า (16)-(19), 698.

รายงานการประชุมพฤฒสภา ชุดที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 9-14 (14 ส.ค. 2490 – 30 ส.ค. 2490)หน้า (19)-(23).

“สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐสภา : Thai Parliament Museum.” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://library2.parliament.go.th/museum/know.html สืบค้น 5 มิถุนายน 2552.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. 60 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์, 2535.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 75 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2538.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2546.

อำนวย พรมอนันต์. ระบบสองสภาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.

ดูเพิ่มเติม