ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มประชาชนคนไทย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
| | ||
'''กลุ่มประชาชนคนไทย''' (อักษรย่อ ปท.) | '''กลุ่มประชาชนคนไทย''' '''(อักษรย่อ ปท.)''' เป็นขบวนการทางการเมืองแบบ[[อนุรักษ์นิยม]] [[ชาตินิยม]] ที่เกิดขึ้นและมีบทบาทการเคลื่อนไหวในช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาล [[ประยุทธ์_จันทร์โอชา]] ในระหว่างปี 2563-2564 โดยการเคลื่อนไหวในช่วงแรกเป็นไปเพื่อการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ แต่เมื่อมีกระแสต่อต้านรัฐบาลจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรงและกว้างขวางในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2564 กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกพร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในหลายด้าน ทำให้เกิดความกังขาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลบางส่วน และมีการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล | ||
แกนนำของกลุ่มประชาชนคนไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญและเป็นที่รู้จัก ได้แก่ พิชิต ไชยมงคล | แกนนำของกลุ่มประชาชนคนไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญและเป็นที่รู้จัก ได้แก่ พิชิต ไชยมงคล และนิติธร ล้ำเหลือ (หรือ ทนายนกเขา) มีแฟนเพจเฟสบุ๊คของกลุ่ม โดยใช้ชื่อว่า ประชาชนคนไทย ปท.[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] และช่องบนเว็บไซต์ YouTube ในชื่อเดียวกัน | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span> = | |||
<span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span> | |||
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 พิชิต ไชยมงคล อดีตผู้ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย|พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] และ [[กปปส.|กปปส.]] ได้ประกาศการจัดตั้งกลุ่มประชาชนคนไทยในเฟซบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่าเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามสถานการณ์การเมืองโดยทั่วไป และเป็นกลุ่มที่จะแสวงหาทางเลือกและสร้างการมีส่วนร่วมในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ ทั้งยังกล่าวถึงความต้องการให้การแสดงออกและแสดงความคิดเห็นอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ '''“โดยไม่หวังให้เกิดการใช้ความรุนแรง หรือการยั่วยุเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรงอันใดทั้งสิ้น จากทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมหรือรัฐบาล หรือแม้แต่การพยายามแทรกแซงจากต่างประเทศ”'''[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]ทั้งนี้ การสื่อสารของกลุ่มจะเน้นที่การเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยก่อนที่แฟนเพจของกลุ่มจะเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 2564 การสื่อสารจะทำผ่านหน้าเฟซบุกส่วนบุคคลของแกนนำโดยเฉพาะ พิชิต ไชยมงคล[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] | เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 พิชิต ไชยมงคล อดีตผู้ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย|พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] และ [[กปปส.|กปปส.]] ได้ประกาศการจัดตั้งกลุ่มประชาชนคนไทยในเฟซบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่าเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามสถานการณ์การเมืองโดยทั่วไป และเป็นกลุ่มที่จะแสวงหาทางเลือกและสร้างการมีส่วนร่วมในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ ทั้งยังกล่าวถึงความต้องการให้การแสดงออกและแสดงความคิดเห็นอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ '''“โดยไม่หวังให้เกิดการใช้ความรุนแรง หรือการยั่วยุเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรงอันใดทั้งสิ้น จากทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมหรือรัฐบาล หรือแม้แต่การพยายามแทรกแซงจากต่างประเทศ”'''[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]]ทั้งนี้ การสื่อสารของกลุ่มจะเน้นที่การเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยก่อนที่แฟนเพจของกลุ่มจะเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 2564 การสื่อสารจะทำผ่านหน้าเฟซบุกส่วนบุคคลของแกนนำโดยเฉพาะ พิชิต ไชยมงคล[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 18: | ||
พิชิต ไชยมงคล เป็นแนวร่วมพันธมิตรฯ อดีตรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ และแกนนำ คปท.[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] รวมถึงบุคคลอื่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มในภายหลัง เช่น ปรีดา เตียสุวรรณ์ (นักธุรกิจ) และรวมถึงบุคคลอื่นที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวหรือเห็นด้วยกับแนวทาง-แนวคิด เช่น [[อานันท์_ปันยารชุน|อานันท์_ปันยารชุน]] พิภพ ธงไชย ประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นต้น[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] | พิชิต ไชยมงคล เป็นแนวร่วมพันธมิตรฯ อดีตรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ และแกนนำ คปท.[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] รวมถึงบุคคลอื่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มในภายหลัง เช่น ปรีดา เตียสุวรรณ์ (นักธุรกิจ) และรวมถึงบุคคลอื่นที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวหรือเห็นด้วยกับแนวทาง-แนวคิด เช่น [[อานันท์_ปันยารชุน|อานันท์_ปันยารชุน]] พิภพ ธงไชย ประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นต้น[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การเคลื่อนไหวทางการเมือง'''</span> = | |||
<span style="font-size:x-large;">'''การเคลื่อนไหวทางการเมือง'''</span> | |||
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทย แบ่งเป็น 2 ช่วง ตามเนื้อหาข้อเรียกร้องหรือกิจกรรมของทางกลุ่ม โดยช่วงแรกนับในระหว่างเดือนกันยายน 2563 จนถึงเดือนเมษายน 2564 จะเป็นช่วงที่กลุ่มฯ เคลื่อนไหวตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและแสดงออกต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่กลุ่มฯ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับกระแสการเมือง-ฝ่ายตรงกันข้าม ขณะที่การเคลื่อนไหวในช่วงหลัง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการของรัฐบาลในหลายด้าน | การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทย แบ่งเป็น 2 ช่วง ตามเนื้อหาข้อเรียกร้องหรือกิจกรรมของทางกลุ่ม โดยช่วงแรกนับในระหว่างเดือนกันยายน 2563 จนถึงเดือนเมษายน 2564 จะเป็นช่วงที่กลุ่มฯ เคลื่อนไหวตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและแสดงออกต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่กลุ่มฯ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับกระแสการเมือง-ฝ่ายตรงกันข้าม ขณะที่การเคลื่อนไหวในช่วงหลัง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการของรัฐบาลในหลายด้าน | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 26: | ||
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยที่สำคัญในช่วงของการตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเป็นการเข้ายื่นจดหมายและประกาศแถลงการณ์ของกลุ่มต่อสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในประเทศไทย ได้แก่ สถานทูตสหรัฐ 2 ครั้ง และสถานทูตเยอรมนี 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนกันยายน 2563 และเมษายน 2564 | การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยที่สำคัญในช่วงของการตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเป็นการเข้ายื่นจดหมายและประกาศแถลงการณ์ของกลุ่มต่อสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในประเทศไทย ได้แก่ สถานทูตสหรัฐ 2 ครั้ง และสถานทูตเยอรมนี 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนกันยายน 2563 และเมษายน 2564 | ||
การเคลื่อนไหวครั้งแรกในนามกลุ่มประชาชนคนไทยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยพิชิต ไชยมงคล และธวัชชัย จรูญชาติ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในฐานะตัวแทนของกลุ่มประชาชนคนไทย ได้เดินทางไปยื่นจดหมายถึง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเอกอัครราชทูสหรัฐฯ ณ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เพื่อให้สหรัฐฯ ยึดมั่นและยืนยันที่จะไม่แทรกแซงกิจการการเมืองภายในประเทศไทย[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]]ซึ่งพิชิตได้นัดหมายกิจกรรมนี้ในโพสต์ประกาศเปิดตัวกลุ่มฯ[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] | การเคลื่อนไหวครั้งแรกในนามกลุ่มประชาชนคนไทยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยพิชิต ไชยมงคล และธวัชชัย จรูญชาติ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในฐานะตัวแทนของกลุ่มประชาชนคนไทย ได้เดินทางไปยื่นจดหมายถึง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเอกอัครราชทูสหรัฐฯ ณ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เพื่อให้สหรัฐฯ ยึดมั่นและยืนยันที่จะไม่แทรกแซงกิจการการเมืองภายในประเทศไทย[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] ซึ่งพิชิตได้นัดหมายกิจกรรมนี้ในโพสต์ประกาศเปิดตัวกลุ่มฯ[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] | ||
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 พิชิต ไชยมงคล และทนายนกเขา ได้นำกลุ่มประชาชนคนไทยพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งยื่นจดหมายต่อสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ในวันเดียวกันกับที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกนัดหมายชุมนุมในประเด็นการประทับในเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สถานทูตเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มประชาชนคนไทยเข้ายื่นหนังสือในเวลาบ่ายก่อนการชุมนุมใหญ่ของเยาวชนปลดแอกในช่วงเย็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองภายใน[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]]เนื้อหาในจดหมายของกลุ่มฯ ระบุถึงความต้องการให้รัฐบาลเยอรมนีรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์บานปลาย จากการบิดเบือนข้อมูลโดยเจตนา โดยกล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนสื่อออนไลน์เพื่อปลุกเร้าความรู้สึกของมวลชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทั้งยังกล่าวถึงความกังวลที่ผู้ชุมนุมบางกลุ่มได้ชักนำเยอรมนีเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองไทย รวมถึงการนำเอาสถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง '''“เพื่อทำลายล้างระบบสังคมแบบเดิม”'''[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]]กลุ่มประชาชนคนไทยแต่งกายในชุดสีเหลือง พร้อมทั้งชูพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติไทย มีแผ่นป้ายปรากฏข้อความ เช่น '''“การแย่งอำนาจทางการเมือง อย่านำสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาเกี่ยวข้อง”''' '''“สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยคือศูนย์รวมใจของ ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ”'''[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]]สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของผู้ชุมนุมรายหนึ่งว่า '''“จะเรียกร้องอะไรก็ทำไป แต่อย่ามาจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ของเรา....เรารักสถาบัน เราปกป้องสถาบัน ถ้ายังมาจาบจ้วงแบบนี้พวกเราจะไม่ทน”'''[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] | ต่อมา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 พิชิต ไชยมงคล และทนายนกเขา ได้นำกลุ่มประชาชนคนไทยพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งยื่นจดหมายต่อสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ในวันเดียวกันกับที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกนัดหมายชุมนุมในประเด็นการประทับในเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สถานทูตเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มประชาชนคนไทยเข้ายื่นหนังสือในเวลาบ่ายก่อนการชุมนุมใหญ่ของเยาวชนปลดแอกในช่วงเย็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองภายใน[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] เนื้อหาในจดหมายของกลุ่มฯ ระบุถึงความต้องการให้รัฐบาลเยอรมนีรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์บานปลาย จากการบิดเบือนข้อมูลโดยเจตนา โดยกล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนสื่อออนไลน์เพื่อปลุกเร้าความรู้สึกของมวลชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทั้งยังกล่าวถึงความกังวลที่ผู้ชุมนุมบางกลุ่มได้ชักนำเยอรมนีเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองไทย รวมถึงการนำเอาสถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง '''“เพื่อทำลายล้างระบบสังคมแบบเดิม”'''[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] กลุ่มประชาชนคนไทยแต่งกายในชุดสีเหลือง พร้อมทั้งชูพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติไทย มีแผ่นป้ายปรากฏข้อความ เช่น '''“การแย่งอำนาจทางการเมือง อย่านำสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาเกี่ยวข้อง”''' '''“สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยคือศูนย์รวมใจของ ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ”'''[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของผู้ชุมนุมรายหนึ่งว่า '''“จะเรียกร้องอะไรก็ทำไป แต่อย่ามาจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ของเรา....เรารักสถาบัน เราปกป้องสถาบัน ถ้ายังมาจาบจ้วงแบบนี้พวกเราจะไม่ทน”'''[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] | ||
ทั้งนี้ ก่อนการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ทนายนกเขาได้เข้าขัดขวางการเดินขบวนของกลุ่มราษฎรไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยชูป้ายที่มีข้อความ '''“ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ห้ามผ่าน”''' โดยมีการปะทะกันทางคำพูดและร่างกายเล็กน้อยระหว่างทนายนกเขาและฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งได้ผลักดันให้ทนายนกเขาออกจากเส้นทางและเดินขบวนต่อไป[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]]ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการรายงานข่าวหลายชิ้นจะนำเสนอว่าเป็นการกระทำของทนายนกเขาเพียงผู้เดียว ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบของทนายนกเขาต่อสื่อมวลชนว่า '''“ผมมาคนเดียว”'''[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]]อย่างไรก็ตามภาพที่ปรากฏจากการรายงานข่าวแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลอีกจำนวนหนึ่งร่วมกับทนายนกเขาเข้าขัดขวางขบวนผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] | ทั้งนี้ ก่อนการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ทนายนกเขาได้เข้าขัดขวางการเดินขบวนของกลุ่มราษฎรไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยชูป้ายที่มีข้อความ '''“ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ห้ามผ่าน”''' โดยมีการปะทะกันทางคำพูดและร่างกายเล็กน้อยระหว่างทนายนกเขาและฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งได้ผลักดันให้ทนายนกเขาออกจากเส้นทางและเดินขบวนต่อไป[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการรายงานข่าวหลายชิ้นจะนำเสนอว่าเป็นการกระทำของทนายนกเขาเพียงผู้เดียว ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบของทนายนกเขาต่อสื่อมวลชนว่า '''“ผมมาคนเดียว”'''[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] อย่างไรก็ตามภาพที่ปรากฏจากการรายงานข่าวแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลอีกจำนวนหนึ่งร่วมกับทนายนกเขาเข้าขัดขวางขบวนผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] | ||
ภายหลังจากการชุมนุม ณ สถานทูตเยอรมนี ในปลายเดือนตุลาคม 2563 กลุ่มประชาชนคนไทยก็ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในที่สาธารณะอีก จนกระทั่งมีการระดมมวลชนเข้ายื่นจดหมายและแถลงการณ์ต่อสถานทูตอเมริกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยมีใจความให้สหรัฐอเมริกาหยุดแทรกแซงความมั่นคงภายในของไทย กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนกลุ่มการเมืองที่พยายามทำลายความมั่นคงของชาติและพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ไทยเข้าสู่ภาวะล่มสลาย ในแถลงการณ์ยังระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ทางการทูตสหรัฐฯ ซึ่ง '''“ปฏิบัติการทางทหารโดยร่วมมือกับองค์กรลับของสหรัฐฯ” '''เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกลุ่มประชาชนคนไทยได้ประณามกระบวนการแทรกแซงซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เป็นอาชญากรสงคราม กลุ่มประชาชนคนไทยได้เรียกร้องให้หยุด พฤติกรรมดังกล่าวและรักษาความเป็นกลาง ขอให้ร่วมมือทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ โดยอ้างถึงสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] | ภายหลังจากการชุมนุม ณ สถานทูตเยอรมนี ในปลายเดือนตุลาคม 2563 กลุ่มประชาชนคนไทยก็ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในที่สาธารณะอีก จนกระทั่งมีการระดมมวลชนเข้ายื่นจดหมายและแถลงการณ์ต่อสถานทูตอเมริกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยมีใจความให้สหรัฐอเมริกาหยุดแทรกแซงความมั่นคงภายในของไทย กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนกลุ่มการเมืองที่พยายามทำลายความมั่นคงของชาติและพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ไทยเข้าสู่ภาวะล่มสลาย ในแถลงการณ์ยังระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ทางการทูตสหรัฐฯ ซึ่ง '''“ปฏิบัติการทางทหารโดยร่วมมือกับองค์กรลับของสหรัฐฯ” '''เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกลุ่มประชาชนคนไทยได้ประณามกระบวนการแทรกแซงซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เป็นอาชญากรสงคราม กลุ่มประชาชนคนไทยได้เรียกร้องให้หยุด พฤติกรรมดังกล่าวและรักษาความเป็นกลาง ขอให้ร่วมมือทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ โดยอ้างถึงสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] | ||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 36: | ||
ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เป็นการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องการเผยแพร่บทสนทนาออนไลน์ ที่อ้างว่าเป็นการพูดคุยกันระหว่างนักกิจกรรมทางการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของไทยกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ รวมถึงกระแสการต่อต้านอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวอเมริกันที่แสดงความเห็นสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] | ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เป็นการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องการเผยแพร่บทสนทนาออนไลน์ ที่อ้างว่าเป็นการพูดคุยกันระหว่างนักกิจกรรมทางการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของไทยกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ รวมถึงกระแสการต่อต้านอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวอเมริกันที่แสดงความเห็นสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] | ||
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยต่อสถานทูตสหรัฐฯ นั้น สัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อในหมู่กลุ่มการเมืองอนุรักษนิยมที่มีความเห็นว่าสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์และให้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านรัฐบาลและการเคลื่อนไหวที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]ในขณะที่การเคลื่อนไหวต่อสถานทูตเยอรมนีนั้นเป็นการตอบโต้กับกลุ่มประชาชนปลดแอกที่นัดหมายชุมนุม ณ สถานทูตในวันเดียวกัน และเป็นการชี้แจงถึงสถานการณ์ภายในและขอความร่วมมือจากรัฐบาลเยอรมนี อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ยังเป็นการตอบโต้การตั้งคำถามของ ฟริตยอฟ ชมิดต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมัน ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งทนายนกเขาได้กล่าวบนเวทีปราศรัยว่าเป็นการเข้าใจผิดต่อสถาบันกษัตริย์ '''“เราเลยมาเพื่อยื่นหนังสือชี้แจงความเป็นจริงที่เขาไม่รู้”'''[[#_ftn19|<sup><sup>[19]</sup></sup>]] | การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยต่อสถานทูตสหรัฐฯ นั้น สัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อในหมู่กลุ่มการเมืองอนุรักษนิยมที่มีความเห็นว่าสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์และให้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านรัฐบาลและการเคลื่อนไหวที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]] ในขณะที่การเคลื่อนไหวต่อสถานทูตเยอรมนีนั้นเป็นการตอบโต้กับกลุ่มประชาชนปลดแอกที่นัดหมายชุมนุม ณ สถานทูตในวันเดียวกัน และเป็นการชี้แจงถึงสถานการณ์ภายในและขอความร่วมมือจากรัฐบาลเยอรมนี อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ยังเป็นการตอบโต้การตั้งคำถามของ ฟริตยอฟ ชมิดต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมัน ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งทนายนกเขาได้กล่าวบนเวทีปราศรัยว่าเป็นการเข้าใจผิดต่อสถาบันกษัตริย์ '''“เราเลยมาเพื่อยื่นหนังสือชี้แจงความเป็นจริงที่เขาไม่รู้”'''[[#_ftn19|<sup><sup>[19]</sup></sup>]] | ||
พิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล มาตั้งแต่ก่อนกระแสการชุมนุมใหญ่ต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563 ซึ่งดำเนินต่อสืบต่อมา และยังคงดำเนินต่อไปในช่วงที่กลุ่มประชาชนคนไทยว่างเว้นการเคลื่อนไหว โดยพิชิตได้วิจารณ์และพาดพิงบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ เช่น พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและแกนนำ[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]]ซึ่งแม้ในช่วงที่กลุ่มฯ มุ่งเคลื่อนไหวโดยมุ่งโจมตีรัฐบาลตั้งแต่กลาง ปี 2564 เป็นต้นมา เขายังวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มผู้ชุมนุมและกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องต่อไป[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]]อย่างไรก็ตาม พิชิตยังได้แสดงความเห็นต่อรัฐบาลในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 โดยระบุถึงความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศตามข้อเสนอของ กปปส. ซึ่งพิชิตระบุว่า ภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล คือ การปฏิรูปประเทศ มิเช่นนั้นจะเผชิญแรงต่อต้านจากหลายฝ่าย '''“แม่น้ำร้อยสาย สามัคคีโดยประเด็น”'''[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]] | พิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล มาตั้งแต่ก่อนกระแสการชุมนุมใหญ่ต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563 ซึ่งดำเนินต่อสืบต่อมา และยังคงดำเนินต่อไปในช่วงที่กลุ่มประชาชนคนไทยว่างเว้นการเคลื่อนไหว โดยพิชิตได้วิจารณ์และพาดพิงบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ เช่น พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและแกนนำ[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]] ซึ่งแม้ในช่วงที่กลุ่มฯ มุ่งเคลื่อนไหวโดยมุ่งโจมตีรัฐบาลตั้งแต่กลาง ปี 2564 เป็นต้นมา เขายังวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มผู้ชุมนุมและกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องต่อไป[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]] อย่างไรก็ตาม พิชิตยังได้แสดงความเห็นต่อรัฐบาลในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 โดยระบุถึงความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศตามข้อเสนอของ กปปส. ซึ่งพิชิตระบุว่า ภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล คือ การปฏิรูปประเทศ มิเช่นนั้นจะเผชิญแรงต่อต้านจากหลายฝ่าย '''“แม่น้ำร้อยสาย สามัคคีโดยประเด็น”'''[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]] | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของกลุ่มประชาชนคนไทย</span>''' = | |||
การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในช่วงหลังของ ปี 2564 มีทั้งการแถลงข่าว ประกาศข้อเรียกร้อง และการชุมนุมของมวลชนบนท้องถนนเกิดขึ้นภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน จนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งนำมาสู่มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและมีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในวงกว้าง โดยในวันที่ 14 พฤษภาคม พิชิต ได้ประกาศว่า กลุ่มประชาชนคนไทยจะมีการแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืน บนหลักการเพื่อหาทางออกโดยรวม ไม่ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]] โดยในวันต่อมา กลุ่มประชาชนคนไทยได้จัดการแถลงข่าว ณ อาคารพญาไทพลาซ่า โดยโจมตีนำเสนอความล้มเหลวของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความแตกแยกแบ่งฝ่ายของผู้คน การทุจริตคอรัปชัน การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาจริยธรรมทางการเมือง[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]] นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์ซึ่งถูกก้าวล่วง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ปกป้องหากแต่ปล่อยให้เกิดการแอบอ้างสถาบันฯ เพื่อแบ่งแยกประชาชน และเพื่อเป็นเกราะกำบังการกระทำของรัฐบาลและกลบเกลื่อนความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหาร[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]] กลุ่มประชาชนคนไทยได้ยื่นข้อเสนอให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลทำการ '''“เสียสละ”''' โดยการลาออก เพื่อให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาล '''“สร้างชาติ”''' โดยอ้างถึง มาตรา 272 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งระบุถึงกระบวนการการเลือกนายกรัฐมนตรีจากนอกบัญชีพรรคการเมือง หรือ '''“[[นายกคนนอก]]”'''[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]] | |||
| ในวันที่ 18 พฤษภาคม กลุ่มประชาชนคนไทย นำโดยพิชิต ไชยมงคล ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยพิชิตได้กล่าวว่าทางกลุ่มเห็นว่า นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยใหญ่การองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นยังกล่าวว่าได้มีการรวมกลุ่มอดีตแกนนำพันธมิตรฯ และ กปปส. ซึ่งมีความเห็นไปในทางเดียวกัน[[#_ftn27|<sup><sup>[27]</sup></sup>]] ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม กลุ่มประชาชนคนไทยได้แถลงข่าวอีกครั้ง โดยเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยให้ปลดรัฐมนตรีที่มีข้อกังขาถึงการทุจริต ประพฤติมิชอบ ได้แก่ ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีสาธารณสุข สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรียุติธรรม และธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ หากทำไม่ได้ก็ให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลสร้างชาติ เพื่อทำหน้าที่แทน[[#_ftn28|<sup><sup>[28]</sup></sup>]] | ||
| กลุ่มประชาชนคนไทยกล่าวว่าจะดำเนินการส่งคำร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณายุบ[[พรรคพลังประชารัฐ|พรรคพลังประชารัฐ]] สืบเนื่องจากพรรคฯ ได้เลือกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งมีประวัติความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นเลขาธิการพรรค โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพกฎหมาย ละเมิดศีลธรรมอันดี[[#_ftn29|<sup><sup>[29]</sup></sup>]] พร้อมได้ประกาศว่าจะดำเนินการให้[[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] (ปปช.) ตรวจสอบจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ และธรรมนัส พรหมเผ่า[[#_ftn30|<sup><sup>[30]</sup></sup>]] | ||
| ต่อมาในเดือนมิถุนายน กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโดยมีการชุมนุมเดินขบวนโดยยึดมั่นในข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และยังคงวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาลในประเด็นที่เคยได้แถลงไปก่อนหน้า มีการจัดการชุมนุมและกิจกรรมทางการเมือง หลายครั้งในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม เช่น ในวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นการเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ซึ่งแต่เดิมได้ประกาศว่าจะมีการค้างคืนปักหลักชุมนุม แต่ได้ประกาศยุติการชุมนุมในภายหลัง[[#_ftn31|<sup><sup>[31]</sup></sup>]] ในขณะที่ วันที่ 26 มิถุนายน กลุ่มประชาชนคนไทยได้จัดการชุมนุมอีกครั้ง โดยมีการปราศรัยบนถนนราชดำเนินนอกและบริเวณสี่แยกนางเลิ้ง | ||
ในวันเดียวกับการชุมนุมเดินขบวนของกลุ่มไทยไม่ทน ที่นำโดย จตุพร พรหมพันธุ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเช่นเดียวกัน[[#_ftn32|<sup><sup>[32]</sup></sup>]] จากนั้นยังมีกิจกรรมโดยกลุ่มฯ ต่อเนื่องใน วันที่ 3 และ 10 กรกฎาคม | |||
ในวันเดียวกับการชุมนุมเดินขบวนของกลุ่มไทยไม่ทน ที่นำโดย จตุพร พรหมพันธุ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเช่นเดียวกัน[[#_ftn32|<sup><sup>[32]</sup></sup>]]จากนั้นยังมีกิจกรรมโดยกลุ่มฯ ต่อเนื่องใน วันที่ 3 และ 10 กรกฎาคม | |||
นอกจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกแล้ว กลุ่มประชาชนคนไทยยังได้เคลื่อนไหวเพิ่มเติมในข้อเรียกร้องปลีกย่อย เช่น การขอให้รัฐบาลยกเลิกหรือแก้ไขมาตรการใน[[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548|พระราชกำหนดฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548]] ที่เกี่ยวกับควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์โควิด-19[[#_ftn33|<sup><sup>[33]</sup></sup>]] | นอกจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกแล้ว กลุ่มประชาชนคนไทยยังได้เคลื่อนไหวเพิ่มเติมในข้อเรียกร้องปลีกย่อย เช่น การขอให้รัฐบาลยกเลิกหรือแก้ไขมาตรการใน[[พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน_พ.ศ._2548|พระราชกำหนดฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548]] ที่เกี่ยวกับควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์โควิด-19[[#_ftn33|<sup><sup>[33]</sup></sup>]] | ||
ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยใน ปี 2564 ที่เป็นการต่อต้านรัฐบาลนั้น ได้รับการสนับสนุนจาก พิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการวีรชนพฤษภา 2535[[#_ftn34|<sup><sup>[34]</sup></sup>]]รวมถึงสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) ที่ออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทย โดยอ้างถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการแสดงออกและการเมืองตามรัฐธรรมนูญ[[#_ftn35|<sup><sup>[35]</sup></sup>]]โดยอ้างถึงความสัมพันธ์กับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน นอกจากนั้นยังมีผู้วิเคราะห์แนวคิดและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในประเด็นนายกฯ คนนอก และรัฐบาลแห่งชาติว่ามีที่มาจากกลุ่ม '''“คนรุ่นพฤษภา 35”''' '''“เพื่อนอานันท์”''' หรือ แนวคิดประชาธิปไตยของ '''“คนชั้นกลาง”'''[[#_ftn36|<sup><sup>[36]</sup></sup>]] | ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยใน ปี 2564 ที่เป็นการต่อต้านรัฐบาลนั้น ได้รับการสนับสนุนจาก พิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการวีรชนพฤษภา 2535[[#_ftn34|<sup><sup>[34]</sup></sup>]] รวมถึงสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) ที่ออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทย โดยอ้างถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการแสดงออกและการเมืองตามรัฐธรรมนูญ[[#_ftn35|<sup><sup>[35]</sup></sup>]] โดยอ้างถึงความสัมพันธ์กับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน นอกจากนั้นยังมีผู้วิเคราะห์แนวคิดและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในประเด็นนายกฯ คนนอก และรัฐบาลแห่งชาติว่ามีที่มาจากกลุ่ม '''“คนรุ่นพฤษภา 35”''' '''“เพื่อนอานันท์”''' หรือ แนวคิดประชาธิปไตยของ '''“คนชั้นกลาง”'''[[#_ftn36|<sup><sup>[36]</sup></sup>]] | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | |||
'''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' | |||
<div><div id="ftn1"> | <div><div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] ประชาชนคนไทย ปท, ''Facebook'', [https://www.facebook.com/ประชาชนคนไทย-ปท-111068367821967/ https://www.facebook.com/ประชาชนคนไทย-ปท-111068367821967/]. | [[#_ftnref1|[1]]] ประชาชนคนไทย ปท, ''Facebook'', [https://www.facebook.com/ประชาชนคนไทย-ปท-111068367821967/ https://www.facebook.com/ประชาชนคนไทย-ปท-111068367821967/]. | ||
บรรทัดที่ 137: | บรรทัดที่ 129: | ||
</div> <div id="ftn36"> | </div> <div id="ftn36"> | ||
[[#_ftnref36|[36]]] สุรวิชช์ วีรวรรณ, “เสียงจากประชาชนคนไทย แนวคิดรัฐบาลสร้างชาติ,” ''ผู้จัดการออนไลน์', ''“ประชา บูรพาวิถี,” “‘เพื่อนอานันท์’ ผนึก ‘นกเขา’ ธง ‘นายกคนนอก’,” ''กรุงเทพธุรกิจ'', (15 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/news/938189 https://www.bangkokbiznews.com/news/938189]. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564. | [[#_ftnref36|[36]]] สุรวิชช์ วีรวรรณ, “เสียงจากประชาชนคนไทย แนวคิดรัฐบาลสร้างชาติ,” ''ผู้จัดการออนไลน์', ''“ประชา บูรพาวิถี,” “‘เพื่อนอานันท์’ ผนึก ‘นกเขา’ ธง ‘นายกคนนอก’,” ''กรุงเทพธุรกิจ'', (15 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/news/938189 https://www.bangkokbiznews.com/news/938189]. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] | [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 08:57, 16 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
กลุ่มประชาชนคนไทย (อักษรย่อ ปท.) เป็นขบวนการทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม ชาตินิยม ที่เกิดขึ้นและมีบทบาทการเคลื่อนไหวในช่วงการชุมนุมขับไล่รัฐบาล ประยุทธ์_จันทร์โอชา ในระหว่างปี 2563-2564 โดยการเคลื่อนไหวในช่วงแรกเป็นไปเพื่อการตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประยุทธ์ แต่เมื่อมีกระแสต่อต้านรัฐบาลจากปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรงและกว้างขวางในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2564 กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกพร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในหลายด้าน ทำให้เกิดความกังขาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาลบางส่วน และมีการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล
แกนนำของกลุ่มประชาชนคนไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญและเป็นที่รู้จัก ได้แก่ พิชิต ไชยมงคล และนิติธร ล้ำเหลือ (หรือ ทนายนกเขา) มีแฟนเพจเฟสบุ๊คของกลุ่ม โดยใช้ชื่อว่า ประชาชนคนไทย ปท.[1] และช่องบนเว็บไซต์ YouTube ในชื่อเดียวกัน
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 พิชิต ไชยมงคล อดีตผู้ร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ กปปส. ได้ประกาศการจัดตั้งกลุ่มประชาชนคนไทยในเฟซบุ๊คส่วนตัว โดยระบุว่าเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อติดตามสถานการณ์การเมืองโดยทั่วไป และเป็นกลุ่มที่จะแสวงหาทางเลือกและสร้างการมีส่วนร่วมในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ ทั้งยังกล่าวถึงความต้องการให้การแสดงออกและแสดงความคิดเห็นอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ “โดยไม่หวังให้เกิดการใช้ความรุนแรง หรือการยั่วยุเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรงอันใดทั้งสิ้น จากทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมหรือรัฐบาล หรือแม้แต่การพยายามแทรกแซงจากต่างประเทศ”[2]ทั้งนี้ การสื่อสารของกลุ่มจะเน้นที่การเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยก่อนที่แฟนเพจของกลุ่มจะเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 2564 การสื่อสารจะทำผ่านหน้าเฟซบุกส่วนบุคคลของแกนนำโดยเฉพาะ พิชิต ไชยมงคล[3]
ภูมิหลังของแกนนำที่มีบทบาทในกลุ่ม พบว่ากลุ่มประชาชนคนไทยจัดตั้งขึ้นจากเครือข่ายนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยเข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่ม กปปส. ซึ่งมีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านกลุ่มการเมือง-พรรคการเมืองที่พวกเขาเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” เช่น นิติธร ล้ำเหลือ อดีตทนายความที่ดำเนินการช่วยเหลือด้านกฎหมายในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งใน ปี 2549 และ 2551 ต่อมาใน ปี 2556 ได้ร่วมชุมนุมกับกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ (กปท.) และได้เป็นแกนนำของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่แยกตัวออกมาจาก กปท. และเคลื่อนไหวชุมนุมคู่ขนานกับ กปปส.[4]
พิชิต ไชยมงคล เป็นแนวร่วมพันธมิตรฯ อดีตรองเลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ และแกนนำ คปท.[5] รวมถึงบุคคลอื่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มในภายหลัง เช่น ปรีดา เตียสุวรรณ์ (นักธุรกิจ) และรวมถึงบุคคลอื่นที่ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวหรือเห็นด้วยกับแนวทาง-แนวคิด เช่น อานันท์_ปันยารชุน พิภพ ธงไชย ประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นต้น[6]
การเคลื่อนไหวทางการเมือง
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทย แบ่งเป็น 2 ช่วง ตามเนื้อหาข้อเรียกร้องหรือกิจกรรมของทางกลุ่ม โดยช่วงแรกนับในระหว่างเดือนกันยายน 2563 จนถึงเดือนเมษายน 2564 จะเป็นช่วงที่กลุ่มฯ เคลื่อนไหวตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและแสดงออกต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่กลุ่มฯ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับกระแสการเมือง-ฝ่ายตรงกันข้าม ขณะที่การเคลื่อนไหวในช่วงหลัง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการของรัฐบาลในหลายด้าน
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในช่วงหลังไม่ได้ร่วมเคลื่อนไหวหรือมีแนวคิดทางการเมืองสอดคล้องไปในทางเดียวกับกลุ่มราษฎร ซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลมาตั้งแต่กลาง-ปลายปี 2563 ที่มีข้อเรียกร้องที่รวมถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด การเคลื่อนไหวช่วงแรก-การเคลื่อนไหวในลักษณะตรงข้ามกับขบวนการต่อต้านรัฐบาล
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยที่สำคัญในช่วงของการตอบโต้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเป็นการเข้ายื่นจดหมายและประกาศแถลงการณ์ของกลุ่มต่อสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในประเทศไทย ได้แก่ สถานทูตสหรัฐ 2 ครั้ง และสถานทูตเยอรมนี 1 ครั้ง ในระหว่างเดือนกันยายน 2563 และเมษายน 2564
การเคลื่อนไหวครั้งแรกในนามกลุ่มประชาชนคนไทยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยพิชิต ไชยมงคล และธวัชชัย จรูญชาติ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในฐานะตัวแทนของกลุ่มประชาชนคนไทย ได้เดินทางไปยื่นจดหมายถึง ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเอกอัครราชทูสหรัฐฯ ณ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เพื่อให้สหรัฐฯ ยึดมั่นและยืนยันที่จะไม่แทรกแซงกิจการการเมืองภายในประเทศไทย[7] ซึ่งพิชิตได้นัดหมายกิจกรรมนี้ในโพสต์ประกาศเปิดตัวกลุ่มฯ[8]
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 พิชิต ไชยมงคล และทนายนกเขา ได้นำกลุ่มประชาชนคนไทยพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งยื่นจดหมายต่อสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ในวันเดียวกันกับที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกนัดหมายชุมนุมในประเด็นการประทับในเยอรมนีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สถานทูตเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มประชาชนคนไทยเข้ายื่นหนังสือในเวลาบ่ายก่อนการชุมนุมใหญ่ของเยาวชนปลดแอกในช่วงเย็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองภายใน[9] เนื้อหาในจดหมายของกลุ่มฯ ระบุถึงความต้องการให้รัฐบาลเยอรมนีรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์บานปลาย จากการบิดเบือนข้อมูลโดยเจตนา โดยกล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนสื่อออนไลน์เพื่อปลุกเร้าความรู้สึกของมวลชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทั้งยังกล่าวถึงความกังวลที่ผู้ชุมนุมบางกลุ่มได้ชักนำเยอรมนีเข้าสู่ความขัดแย้งทางการเมืองไทย รวมถึงการนำเอาสถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง “เพื่อทำลายล้างระบบสังคมแบบเดิม”[10] กลุ่มประชาชนคนไทยแต่งกายในชุดสีเหลือง พร้อมทั้งชูพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติไทย มีแผ่นป้ายปรากฏข้อความ เช่น “การแย่งอำนาจทางการเมือง อย่านำสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมาเกี่ยวข้อง” “สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยคือศูนย์รวมใจของ ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ”[11] สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของผู้ชุมนุมรายหนึ่งว่า “จะเรียกร้องอะไรก็ทำไป แต่อย่ามาจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ของเรา....เรารักสถาบัน เราปกป้องสถาบัน ถ้ายังมาจาบจ้วงแบบนี้พวกเราจะไม่ทน”[12]
ทั้งนี้ ก่อนการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ทนายนกเขาได้เข้าขัดขวางการเดินขบวนของกลุ่มราษฎรไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยชูป้ายที่มีข้อความ “ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ห้ามผ่าน” โดยมีการปะทะกันทางคำพูดและร่างกายเล็กน้อยระหว่างทนายนกเขาและฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งได้ผลักดันให้ทนายนกเขาออกจากเส้นทางและเดินขบวนต่อไป[13] ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการรายงานข่าวหลายชิ้นจะนำเสนอว่าเป็นการกระทำของทนายนกเขาเพียงผู้เดียว ซึ่งสอดคล้องกับคำตอบของทนายนกเขาต่อสื่อมวลชนว่า “ผมมาคนเดียว”[14] อย่างไรก็ตามภาพที่ปรากฏจากการรายงานข่าวแสดงให้เห็นว่ามีบุคคลอีกจำนวนหนึ่งร่วมกับทนายนกเขาเข้าขัดขวางขบวนผู้ชุมนุมด้วยเช่นกัน[15]
ภายหลังจากการชุมนุม ณ สถานทูตเยอรมนี ในปลายเดือนตุลาคม 2563 กลุ่มประชาชนคนไทยก็ไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในที่สาธารณะอีก จนกระทั่งมีการระดมมวลชนเข้ายื่นจดหมายและแถลงการณ์ต่อสถานทูตอเมริกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยมีใจความให้สหรัฐอเมริกาหยุดแทรกแซงความมั่นคงภายในของไทย กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนกลุ่มการเมืองที่พยายามทำลายความมั่นคงของชาติและพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ไทยเข้าสู่ภาวะล่มสลาย ในแถลงการณ์ยังระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ทางการทูตสหรัฐฯ ซึ่ง “ปฏิบัติการทางทหารโดยร่วมมือกับองค์กรลับของสหรัฐฯ” เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกลุ่มประชาชนคนไทยได้ประณามกระบวนการแทรกแซงซึ่งเป็นการละเมิดอธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เป็นอาชญากรสงคราม กลุ่มประชาชนคนไทยได้เรียกร้องให้หยุด พฤติกรรมดังกล่าวและรักษาความเป็นกลาง ขอให้ร่วมมือทางการทูตอย่างสร้างสรรค์ โดยอ้างถึงสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา[16]
ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เป็นการเคลื่อนไหวอันสืบเนื่องการเผยแพร่บทสนทนาออนไลน์ ที่อ้างว่าเป็นการพูดคุยกันระหว่างนักกิจกรรมทางการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของไทยกับเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ รวมถึงกระแสการต่อต้านอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวอเมริกันที่แสดงความเห็นสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล[17]
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มประชาชนคนไทยต่อสถานทูตสหรัฐฯ นั้น สัมพันธ์กับความคิด ความเชื่อในหมู่กลุ่มการเมืองอนุรักษนิยมที่มีความเห็นว่าสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์และให้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านรัฐบาลและการเคลื่อนไหวที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ[18] ในขณะที่การเคลื่อนไหวต่อสถานทูตเยอรมนีนั้นเป็นการตอบโต้กับกลุ่มประชาชนปลดแอกที่นัดหมายชุมนุม ณ สถานทูตในวันเดียวกัน และเป็นการชี้แจงถึงสถานการณ์ภายในและขอความร่วมมือจากรัฐบาลเยอรมนี อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มฯ ยังเป็นการตอบโต้การตั้งคำถามของ ฟริตยอฟ ชมิดต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมัน ต่อรัฐมนตรีต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งทนายนกเขาได้กล่าวบนเวทีปราศรัยว่าเป็นการเข้าใจผิดต่อสถาบันกษัตริย์ “เราเลยมาเพื่อยื่นหนังสือชี้แจงความเป็นจริงที่เขาไม่รู้”[19]
พิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล มาตั้งแต่ก่อนกระแสการชุมนุมใหญ่ต่อต้านรัฐบาลใน ปี 2563 ซึ่งดำเนินต่อสืบต่อมา และยังคงดำเนินต่อไปในช่วงที่กลุ่มประชาชนคนไทยว่างเว้นการเคลื่อนไหว โดยพิชิตได้วิจารณ์และพาดพิงบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ เช่น พรรคฝ่ายค้าน กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล รวมถึงกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลและแกนนำ[20] ซึ่งแม้ในช่วงที่กลุ่มฯ มุ่งเคลื่อนไหวโดยมุ่งโจมตีรัฐบาลตั้งแต่กลาง ปี 2564 เป็นต้นมา เขายังวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มผู้ชุมนุมและกลุ่มการเมืองที่เกี่ยวข้องต่อไป[21] อย่างไรก็ตาม พิชิตยังได้แสดงความเห็นต่อรัฐบาลในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 โดยระบุถึงความล้มเหลวในการปฏิรูปประเทศตามข้อเสนอของ กปปส. ซึ่งพิชิตระบุว่า ภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล คือ การปฏิรูปประเทศ มิเช่นนั้นจะเผชิญแรงต่อต้านจากหลายฝ่าย “แม่น้ำร้อยสาย สามัคคีโดยประเด็น”[22]
การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของกลุ่มประชาชนคนไทย
การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในช่วงหลังของ ปี 2564 มีทั้งการแถลงข่าว ประกาศข้อเรียกร้อง และการชุมนุมของมวลชนบนท้องถนนเกิดขึ้นภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน จนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งนำมาสู่มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและมีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในวงกว้าง โดยในวันที่ 14 พฤษภาคม พิชิต ได้ประกาศว่า กลุ่มประชาชนคนไทยจะมีการแถลงข่าวเพื่อแสดงจุดยืน บนหลักการเพื่อหาทางออกโดยรวม ไม่ฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[23] โดยในวันต่อมา กลุ่มประชาชนคนไทยได้จัดการแถลงข่าว ณ อาคารพญาไทพลาซ่า โดยโจมตีนำเสนอความล้มเหลวของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความแตกแยกแบ่งฝ่ายของผู้คน การทุจริตคอรัปชัน การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาจริยธรรมทางการเมือง[24] นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงประเด็นสถาบันกษัตริย์ซึ่งถูกก้าวล่วง แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ปกป้องหากแต่ปล่อยให้เกิดการแอบอ้างสถาบันฯ เพื่อแบ่งแยกประชาชน และเพื่อเป็นเกราะกำบังการกระทำของรัฐบาลและกลบเกลื่อนความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหาร[25] กลุ่มประชาชนคนไทยได้ยื่นข้อเสนอให้ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลทำการ “เสียสละ” โดยการลาออก เพื่อให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาล “สร้างชาติ” โดยอ้างถึง มาตรา 272 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งระบุถึงกระบวนการการเลือกนายกรัฐมนตรีจากนอกบัญชีพรรคการเมือง หรือ “นายกคนนอก”[26]
ในวันที่ 18 พฤษภาคม กลุ่มประชาชนคนไทย นำโดยพิชิต ไชยมงคล ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยพิชิตได้กล่าวว่าทางกลุ่มเห็นว่า นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยใหญ่การองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นยังกล่าวว่าได้มีการรวมกลุ่มอดีตแกนนำพันธมิตรฯ และ กปปส. ซึ่งมีความเห็นไปในทางเดียวกัน[27] ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม กลุ่มประชาชนคนไทยได้แถลงข่าวอีกครั้ง โดยเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยให้ปลดรัฐมนตรีที่มีข้อกังขาถึงการทุจริต ประพฤติมิชอบ ได้แก่ ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีสาธารณสุข สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรียุติธรรม และธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ หากทำไม่ได้ก็ให้นายกรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลสร้างชาติ เพื่อทำหน้าที่แทน[28]
กลุ่มประชาชนคนไทยกล่าวว่าจะดำเนินการส่งคำร้องให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณายุบพรรคพลังประชารัฐ สืบเนื่องจากพรรคฯ ได้เลือกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งมีประวัติความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นเลขาธิการพรรค โดยให้เหตุผลว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพกฎหมาย ละเมิดศีลธรรมอันดี[29] พร้อมได้ประกาศว่าจะดำเนินการให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ตรวจสอบจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ และธรรมนัส พรหมเผ่า[30]
ต่อมาในเดือนมิถุนายน กลุ่มประชาชนคนไทยได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลโดยมีการชุมนุมเดินขบวนโดยยึดมั่นในข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และยังคงวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาลในประเด็นที่เคยได้แถลงไปก่อนหน้า มีการจัดการชุมนุมและกิจกรรมทางการเมือง หลายครั้งในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม เช่น ในวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเป็นการเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ซึ่งแต่เดิมได้ประกาศว่าจะมีการค้างคืนปักหลักชุมนุม แต่ได้ประกาศยุติการชุมนุมในภายหลัง[31] ในขณะที่ วันที่ 26 มิถุนายน กลุ่มประชาชนคนไทยได้จัดการชุมนุมอีกครั้ง โดยมีการปราศรัยบนถนนราชดำเนินนอกและบริเวณสี่แยกนางเลิ้ง
ในวันเดียวกับการชุมนุมเดินขบวนของกลุ่มไทยไม่ทน ที่นำโดย จตุพร พรหมพันธุ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเช่นเดียวกัน[32] จากนั้นยังมีกิจกรรมโดยกลุ่มฯ ต่อเนื่องใน วันที่ 3 และ 10 กรกฎาคม
นอกจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกแล้ว กลุ่มประชาชนคนไทยยังได้เคลื่อนไหวเพิ่มเติมในข้อเรียกร้องปลีกย่อย เช่น การขอให้รัฐบาลยกเลิกหรือแก้ไขมาตรการในพระราชกำหนดฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 ที่เกี่ยวกับควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในสถานการณ์โควิด-19[33]
ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยใน ปี 2564 ที่เป็นการต่อต้านรัฐบาลนั้น ได้รับการสนับสนุนจาก พิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการวีรชนพฤษภา 2535[34] รวมถึงสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.) ที่ออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเรียกร้องและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทย โดยอ้างถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการแสดงออกและการเมืองตามรัฐธรรมนูญ[35] โดยอ้างถึงความสัมพันธ์กับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน นอกจากนั้นยังมีผู้วิเคราะห์แนวคิดและการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนคนไทยในประเด็นนายกฯ คนนอก และรัฐบาลแห่งชาติว่ามีที่มาจากกลุ่ม “คนรุ่นพฤษภา 35” “เพื่อนอานันท์” หรือ แนวคิดประชาธิปไตยของ “คนชั้นกลาง”[36]
อ้างอิง
[1] ประชาชนคนไทย ปท, Facebook, https://www.facebook.com/ประชาชนคนไทย-ปท-111068367821967/.
[2] Pichit Chaimongkol, Facebook, (14 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/pichit.chaimongkol/posts/3318316604918739 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
[3] อย่างไรก็ตาม ปรากฏข้อมูลว่ากลุ่มประชาชนคนไทยมีกลุ่มเฟซบุ๊ค หรือ Facebook Group ในชื่อเดียวกัน จากการรายงานข่าว ใน The Momentum, “กลุ่มประชาชนคนไทยยื่นหนังสือสถานทูตสหรัฐฯ ให้เลิกแทรกแซงการเมืองไทย,”Facebook, (20 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/themomentumco/posts/2680638745561146. เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564; ในช่วงเวลาที่จัดทำบทความในเดือนตุลาคม 2564 ไม่พบกลุ่มดังกล่าว.
[4] “นิติธร ล้ำเหลือ,” วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/นิติธร_ล้ำเหลือ. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
[5] “‘อดีตเพื่อนทอน มาแล้ว! นัดรวมพลบุกสถานทูต ยื่น ‘ทรัมป์’ อย่าจุ้นกิจการภายในไทย,” แนวหน้า, (15 กันยายน 2563), เข้าถึงจาก https://www.naewna.com/politic/518502. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564, “พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย,” วิกิพีเดีย สารานุกรมไทย, https://th.wikipedia.org/wiki/พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
[6] สุรวิชช์ วีรวรรณ, “เสียงจากประชาชนคนไทย แนวคิดรัฐบาลสร้างชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์, (21 พฤษภาคม 2564, ปรับปรุง 24 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/daily/detail/9640000048823. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
[7] “‘กลุ่มประชาชนคนไทย’ บุกสถานทูตสหรัฐ จี้ยืนยันเจตนารมณ์ไม่แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย,” ไทยโพสต์, (16 กันยายน 2563). เข้าถึงจากhttps://www.thaipost.net/main/detail/77604 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564.
[8] Pichit Chaimongkol, 14 กันยายน 2563.
[9] “‘กลุ่มประชาชนคนไทย’ นัดรวมตัวสถานทูตเยอรมันพรุ่งนี้ ชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทย,” ผู้จัดการออนไลน์, (25 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000109077. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[10] “เปิดเนื้อหาหนังสือกลุ่ม ‘ประชาชนคนไทย’ ยื่นต่อทูตเยอรมัน,” โพสต์ทูเดย์, (26 ตุลาคม 2563,) เข้าถึงจาก https://www.posttoday.com/politic/news/636490. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[11] อ้างแล้ว.
[12] “ร.10: เยอรมนีระบุจับตาการประทับของกษัตริย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะกลุ่มปกป้อง-ปฏิรูปสถาบันฯ ชุมนุมหน้าสถานทูตฯ,” บีบีซีไทย, (26 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-54688448. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[13] “‘ทนายนกเขา’ ฉายเดี่ยวขวางม็อบ 3 นิ้วที่แยกพญาไท,” ไทยโพสต์, (21 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/81378. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564.
[14] AMARINTV: อมรินทร์ทีวี, “ทนายนกเขาบุกขวางขบวนคณะราษฎร โวยสื่อถามปมเคยชุมนุมพันธมิตร | ทุบโต๊ะข่าว | 21/10/63,” YouTube, (22 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=P8IXGR6QVHY. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564, เวลา 0.20.
[15] “‘ทนายนกเขา’ ฉายเดี่ยวขวางม็อบ 3 นิ้วที่แยกพญาไท,” ไทยโพสต์.
[16] “‘ทนายนกเขา’ นำมวลชนบุกสถานทูตสหรัฐฯ จี้หยุดแทรกแซงทำลายความมั่นคงของไทย,” ไทยโพสต์, (20 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/100094. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[17] อ้างแล้ว, “ไม่ทน! กลุ่ม ปชช.ไทย รุกหนัก ยื่นหนังสือสหรัฐฯ ปล่อย ‘ทูต’ หนุน 3 นิ้ว ‘เพจดัง’ แฉอีก ‘อ.จิมมี่’ ล้มเจ้ามหิดล,” ผู้จัดการออนไลน์, (19 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก. https://mgronline.com/politics/detail/9640000037156. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564; อาจารย์ชาวอเมริกันสองราย ได้แก่ David Streckfuss จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นที่ปรึกษาของสำนักข่าวเดอะอีสานเรคอร์ด และ James Buchanan จากมหาวิทยาลัยมหิดล.
[18] ตัวอย่าง เช่น ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์, “คนไทยตาสว่าง,” โพสต์ทูเดย์, (10 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.posttoday.com/politic/columnist/632657. เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564, “ตีแผ่ สหรัฐ แทรกแซง การเมืองไทย อ้างเว็บไซต์บิดเบือน,” สถาบันทิศทางไทย, (11 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.thaimoveinstitute.com/35431/. เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564.
[19] “ร.10: เยอรมนีระบุจับตาการประทับของกษัตริย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะกลุ่มปกป้อง-ปฏิรูปสถาบันฯ ชุมนุมหน้าสถานทูตฯ,” บีบีซีไทย, “ร.10: ส.ส.พรรคกรีนส์เผยทำไมต้องถามเรื่องกษัตริย์ไทยในสภาเยอรมนี,” บีบีซีไทย, (10 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/54483049. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[20] ตัวอย่าง เช่น “อดีตพันธมิตรชี้เปรี้ยง ‘ทอน’ DNA แม้ว แอบหลังมวลชน หวังเก็บเกี่ยวชัยชนะสุดท้ายก็ถีบหัวเรือส่ง,” ไทยโพสต์, (12 กันยายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/77183. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564, “อดีตเพื่อนธนาธรถาม 3 พรรคฝ่ายค้านกล้าประกาศเรื่องนโยบายสถาบันหรือไม่?,” สยามรัฐออนไลน์, (11 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/188605. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564
[21] ตัวอย่าง เช่น “‘พิชิต ไชยมงคล’ เผยชนวนเหตุ ‘ม็อบ 18 กรกฎา’ ลุกฮือ จุดไฟเผากลางพื้นที่ชุมนุม,” สยามรัฐออนไลน์, (20 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/263457. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564, “‘พิชิต’ อ้าง ‘ปิยบุตร’ กำลังละเมอเห็นโจ๋ดินแดงเป็นกลุ่มปฏิวัติมวลชน,” ผู้จัดการออนไลน์, (29 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9640000096416. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564, “‘พิชิต’ ชี้เปรี้ยง ม็อบหมดความชอบธรรมแล้ว จับตาปรากฏการณ์ ปชช. ทนไม่ไหว,” แนวหน้า, (20 พฤศจิกายน 2563). https://www.naewna.com/politic/533196. เข้าถึงจาก เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[22] “พร้อมม็อบ! ‘อดีตแกนนำคปท.’ เตือนรัฐบาลบิ๊กตู่ ระวังเจอแม่น้ำร้อยสาย สามัคคีโดยประเด็น,” ไทยโพสต์, (3 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/98166. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[23] “‘กลุ่มประชาชนคนไทย’ นัดแถลงจุดยืนพรุ่งนี้ ขอให้รัฐบาลเสียสละลาออก,” ไทยโพสต์, (14 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/102947. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[24] “‘ประชาชนคนไทย’ แถลงจวก ‘ประยุทธ์’ ล้มเหลวปฏิรูป-ปล่อยล่วงละเมิด-แก้โควิดพลาด จี้ลาออกเปิดทางตั้งรัฐบาลสร้างชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์, (15 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/politics/detail/9640000046847. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[25] อ้างแล้ว.
[26] “‘ประชาชนคนไทย’ แถลงจวก ‘ประยุทธ์’ ล้มเหลวปฏิรูป-ปล่อยล่วงละเมิด-แก้โควิดพลาด จี้ลาออกเปิดทางตั้งรัฐบาลสร้างชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์.
[27] “กลุ่มประชาชนคนไทยบุกทำเนียบฯ เสนอ ‘ดร.ศุภชัย’ เป็นนายกฯ อ้างอดีตแกนนำกปปส. -พธม. เอาด้วย,” ไทยโพสต์ (18 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/103292. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[28] “‘นิติธร’ ให้เวลา ‘ประยุทธ์’ 1 เดือน ปรับ ครม. หรือลาออก ไม่งั้นเจอกันแน่,” ไทยรัฐออนไลน์ (19 พฤษภาคม 2564). https://www.thairath.co.th/news/politic/2096232. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[29] “ทนายนกเขายื่น กกต. ยุบพรรค พปชร. ชี้เลือก ‘ธรรมนัส’ นั่งเลขาฯ ส่อขัด รธน.-ข้อบังคับพรรค,” มติชนออนไลน์ (29 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2801085. เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564.
[30] อ้างแล้ว.
[31] “‘ทนายนกเขา’ นำกลุ่มประชาชนคนไทย เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าทำเนียบ,” ไทยโพสต์, (24 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/107502. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564, “อัพเดททุกความเคลื่อนไหว การชุมนุม #ม็อบ 24 มิถุนา ไล่ประยุทธ์,” ประชาชาติธุรกิจ, (24 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.prachachat.net/politics/news-697280. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[32] “ไทม์ไลน์ ‘ม็อบ 26 มิถุนา’ 2 กลุ่มเคลื่อนชุมนุมทำเนียบ,” ข่าวไทยพีบีเอส, (26 มิถุนายน 2564) เข้าถึงจาก https://news.thaipbs.or.th/content/305547. เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564.
[33] “กลุ่มประชาชนคนไทย ร้องนายกฯยกเลิกข้อ 11 พรก. ฉุกเฉิน ชี้ขัดหลักเสรีภาพตามรธน.,” ไทยโพสต์, (13 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/109545. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[34] “‘อดุลย์’ ชมข้อเสนอ ‘ทนายนกเขา’ เข้าเป้า ทวงถามกำนันสุเทพ รับผิดชอบเปิดทางรัฐประหาร,” ไทยโพสต์, (16 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thaipost.net/main/detail/103062. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564, “‘พิภพ ธงไชย’ หนุนรัฐบาลสร้างชาติทำงาน 4 เรื่องหลักภารกิจ 2 ปี,” สยามรัฐออนไลน์, (18 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/245211. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[35] “เปิดคำแถลง ‘สรส.’ ไฟเขียวสมาชิกร่วมม็อบ ‘ประชาชนคนไทย’,” กรุงเทพธุรกิจ (23 มิถุนายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/945047. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.
[36] สุรวิชช์ วีรวรรณ, “เสียงจากประชาชนคนไทย แนวคิดรัฐบาลสร้างชาติ,” ผู้จัดการออนไลน์', “ประชา บูรพาวิถี,” “‘เพื่อนอานันท์’ ผนึก ‘นกเขา’ ธง ‘นายกคนนอก’,” กรุงเทพธุรกิจ, (15 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/938189. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564.