ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่ม 40 ส.ว."

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว
ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''ความนำ'''
'''ความนำ'''


          กลุ่ม 40 ส.ว. เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่ง ทั้งที่มาจากการสรรหาและมาจากการเลือกตั้งจำนวนราว 40 คน โดย ส.ว. กลุ่มนี้เริ่มแสดงบทบาททางการเมืองในการต่อต้านคัดค้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี  ตลอดถึงเครือข่ายพรรคการเมืองอันสืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิมที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกับกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51  ซึ่งประกอบด้วย ส.ว. จำนวน 64 คน นำโดยนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาขณะนั้น ที่ร่วมกันเข้าชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยที่กลุ่ม 40 ส.ว. ได้มีบทบาทสำคัญในการคัดค้านต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังถือเป็นกลุ่มการเมืองที่มีบทบาทโดดเด่นและคงอยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนมาโดยตลอด
          กลุ่ม 40 ส.ว. เป็นการรวมตัวกันของ[[สมาชิกวุฒิสภา]]กลุ่มหนึ่ง ทั้งที่มาจากการสรรหาและมาจากการเลือกตั้งจำนวนราว 40 คน โดย ส.ว. กลุ่มนี้เริ่มแสดงบทบาททางการเมืองในการต่อต้านคัดค้าน[[รัฐบาล]][[พรรคพลังประชาชน]]ที่มี[[สมัคร_สุนทรเวช|นายสมัคร สุนทรเวช]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]]  ตลอดถึงเครือข่ายพรรคการเมืองอันสืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิมที่มี [[ทักษิณ_ชินวัตร|ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] เป็นผู้นำ ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกับกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51  ซึ่งประกอบด้วย ส.ว. จำนวน 64 คน นำโดย[[นิคม_ไวยรัชพานิช|นายนิคม ไวยรัชพานิช]] รองประธานวุฒิสภาขณะนั้น ที่ร่วมกันเข้าชื่อสนับสนุนการแก้ไข[[รัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช_2550]] โดยที่กลุ่ม 40 ส.ว. ได้มีบทบาทสำคัญในการคัดค้านต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังถือเป็นกลุ่มการเมืองที่มีบทบาทโดดเด่นและคงอยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนมาโดยตลอด


 
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
'''บทบาททางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว.'''
'''บทบาททางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว.'''


การแสดงบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้งที่กระทำและออกแถลงการณ์ทางการเมืองในนามของกลุ่มคณะ และอีกหลายกรณีที่เป็นการแสดงบทบาททางการเมืองในนามส่วนตัว แต่เนื่องจากกลุ่ม 40 ส.ว. มิได้เป็นกลุ่มองค์กรที่มีการจดแจ้งรายชื่อสมาชิกที่แน่ชัดตายตัวแต่อย่างใด จึงทำให้มีเพียงสมาชิกที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ หรือถูกนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนที่ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้รับทราบถึงสถานะของการเป็นสมาชิกในกลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการสรรหา อาทิเช่น พันโทกมล ประจวบเหมาะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายตวง อันทะไชย นายสมชาย แสวงการ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ นางตรึงใจ บูรณะสมภพ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์[[#_ftn1|[1]]] เป็นต้น ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการเลือกตั้ง อาทิเช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพมหานคร นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว. เพชรบุรี นายสาย กังกเวคิน ส.ว. ระยอง รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว. สงขลา นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว. สมุทรสงคราม[[#_ftn2|[2]]] เป็นต้น สำหรับบทบาทการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นและส่งผลกระเทือนทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญนั้น เนื่องจาก กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่อยู่ฟากฝ่ายตรงข้ามกับพรรคพลังประชาชนอันมีฐานเสียงสนับสนุนมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิม โดยทางกลุ่ม 40 ส.ว. เรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลาออกหรือยุบสภาหลังจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณถนนราชดำเนิน
          การแสดงบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้งที่กระทำและออกแถลงการณ์ทางการเมืองในนามของกลุ่มคณะ และอีกหลายกรณีที่เป็นการแสดงบทบาททางการเมืองในนามส่วนตัว แต่เนื่องจากกลุ่ม 40 ส.ว. มิได้เป็นกลุ่มองค์กรที่มีการจดแจ้งรายชื่อสมาชิกที่แน่ชัดตายตัวแต่อย่างใด จึงทำให้มีเพียงสมาชิกที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ หรือถูกนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนที่ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้รับทราบถึงสถานะของการเป็นสมาชิกในกลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการสรรหา อาทิเช่น พันโทกมล ประจวบเหมาะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายตวง อันทะไชย นายสมชาย แสวงการ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ นางตรึงใจ บูรณะสมภพ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์[[#_ftn1|[1]]] เป็นต้น ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการเลือกตั้ง อาทิเช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพมหานคร นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว. เพชรบุรี นายสาย กังกเวคิน ส.ว. ระยอง รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว. สงขลา นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว. สมุทรสงคราม[[#_ftn2|[2]]] เป็นต้น สำหรับบทบาทการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นและส่งผลกระเทือนทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญนั้น เนื่องจาก กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่อยู่ฟากฝ่ายตรงข้ามกับพรรคพลังประชาชนอันมีฐานเสียงสนับสนุนมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิม โดยทางกลุ่ม 40 ส.ว. เรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลาออกหรือยุบสภาหลังจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณถนนราชดำเนิน


ภายหลังจากนั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 40 ส.ว. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป” ส่งผลให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด[[#_ftn3|[3]]] เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังได้แสดงบทบาทท่าทีอันเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายรัฐบาลอย่างเปิดเผย นับตั้งแต่การไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาล เรื่อยมาจนกระทั่งการเรียกร้องให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยุบสภาหรือลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551[[#_ftn4|[4]]]
          ภายหลังจากนั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 40 ส.ว. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป” ส่งผลให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด[[#_ftn3|[3]]] เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังได้แสดงบทบาทท่าทีอันเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายรัฐบาลอย่างเปิดเผย นับตั้งแต่การไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาล เรื่อยมาจนกระทั่งการเรียกร้องให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยุบสภาหรือลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551[[#_ftn4|[4]]]


นอกจากบทบาทซึ่งเกี่ยวโยงกับสถานการณ์ความรุนแรงและเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในวาระต่างๆ แล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องในทางนิติบัญญัติ นับตั้งแต่การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่ม 64 ส.ว. หรือกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51 ซึ่งสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกทั้งกลุ่ม 40 ส.ว. ยังเป็นแกนหลักร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 ประเด็นที่มาของ ส.ว. ซึ่งระหว่างการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2556 กลุ่ม 40 ส.ว. รวมถึงพรรคฝ่ายค้านได้ร่วมกันวอล์คเอาท์ออกจากห้องประชุม[[#_ftn5|[5]]] นอกจากนั้นแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 309 คน ที่ร่วมกันเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวว่าเข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองประเทศ
นอกจากบทบาทซึ่งเกี่ยวโยงกับสถานการณ์ความรุนแรงและเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในวาระต่างๆ แล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องในทางนิติบัญญัติ นับตั้งแต่การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่ม 64 ส.ว. หรือกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51 ซึ่งสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกทั้งกลุ่ม 40 ส.ว. ยังเป็นแกนหลักร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 ประเด็นที่มาของ ส.ว. ซึ่งระหว่างการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2556 กลุ่ม 40 ส.ว. รวมถึงพรรคฝ่ายค้านได้ร่วมกันวอล์คเอาท์ออกจากห้องประชุม[[#_ftn5|[5]]] นอกจากนั้นแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 309 คน ที่ร่วมกันเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวว่าเข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองประเทศ
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''


“40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย.” '''เดลินิวส์'''. (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
“40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย.” '''เดลินิวส์'''. (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <[http://www http://www].<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.


“40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา.” '''คมชัดลึก'''. (30 พฤศจิกายน 2556), 15.
“40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา.” '''คมชัดลึก'''. (30 พฤศจิกายน 2556), 15.


“40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน.” '''ผู้จัดการ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ออนไลน์.''' (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; aspx?NewsID=9560000122980>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
“40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน.” '''ผู้จัดการ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ออนไลน์.''' (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews].<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; aspx?NewsID=9560000122980>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.


“40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน.” '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'''. (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
“40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน.” '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'''. (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250]>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.


“จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา.” '''มติชนออนไลน์'''.<br/> (1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=<br/> 1406849960>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2557.
“จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา.” '''มติชนออนไลน์'''.<br/> (1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid= http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=]<br/> 1406849960>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2557.


บุษราคัม ศิลปลาวัลย์. “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว..” '''กรุงเทพธุรกิจ'''. (27 พฤษภาคม 2556), 14.
บุษราคัม ศิลปลาวัลย์. “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว..” '''กรุงเทพธุรกิจ'''. (27 พฤษภาคม 2556), 14.
บรรทัดที่ 62: บรรทัดที่ 62:
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
&nbsp;[1] “40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย,” '''เดลินิวส์''', (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.<br/> dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
&nbsp;[1] “40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย,” '''เดลินิวส์''', (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <[http://www http://www].<br/> dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
&nbsp;[2] “40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน,” '''ผู้จัดการออนไลน์''', (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122980>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
&nbsp;[2] “40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน,” '''ผู้จัดการออนไลน์''', (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122980 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122980]>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] บุษราคัม ศิลปลาวัลย์, “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว.,” '''กรุงเทพธุรกิจ''', (27 พฤษภาคม 2556), 14.
[[#_ftnref3|[3]]] บุษราคัม ศิลปลาวัลย์, “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว.,” '''กรุงเทพธุรกิจ''', (27 พฤษภาคม 2556), 14.
บรรทัดที่ 76: บรรทัดที่ 76:
[[#_ftnref7|[7]]] “40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา,” '''คมชัดลึก''', (30 พฤศจิกายน 2556), 15.
[[#_ftnref7|[7]]] “40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา,” '''คมชัดลึก''', (30 พฤศจิกายน 2556), 15.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] “จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา,” '''มติชนออนไลน์''', (1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406849960>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
[[#_ftnref8|[8]]] “จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา,” '''มติชนออนไลน์''', (1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406849960 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406849960]>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] “40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน,” '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''', (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
[[#_ftnref9|[9]]] “40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน,” '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''', (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <[http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250]>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] “รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40 สว.,” '''ข่าวสด''', (5 เมษายน 2556), 3.
[[#_ftnref10|[10]]] “รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40 สว.,” '''ข่าวสด''', (5 เมษายน 2556), 3.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 27 พฤศจิกายน 2562

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :  ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


กลุ่ม 40 ส.ว.

ความนำ

          กลุ่ม 40 ส.ว. เป็นการรวมตัวกันของสมาชิกวุฒิสภากลุ่มหนึ่ง ทั้งที่มาจากการสรรหาและมาจากการเลือกตั้งจำนวนราว 40 คน โดย ส.ว. กลุ่มนี้เริ่มแสดงบทบาททางการเมืองในการต่อต้านคัดค้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี  ตลอดถึงเครือข่ายพรรคการเมืองอันสืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิมที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำ ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกับกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51  ซึ่งประกอบด้วย ส.ว. จำนวน 64 คน นำโดยนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาขณะนั้น ที่ร่วมกันเข้าชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช_2550 โดยที่กลุ่ม 40 ส.ว. ได้มีบทบาทสำคัญในการคัดค้านต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังถือเป็นกลุ่มการเมืองที่มีบทบาทโดดเด่นและคงอยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนมาโดยตลอด

 

บทบาททางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว.

          การแสดงบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้งที่กระทำและออกแถลงการณ์ทางการเมืองในนามของกลุ่มคณะ และอีกหลายกรณีที่เป็นการแสดงบทบาททางการเมืองในนามส่วนตัว แต่เนื่องจากกลุ่ม 40 ส.ว. มิได้เป็นกลุ่มองค์กรที่มีการจดแจ้งรายชื่อสมาชิกที่แน่ชัดตายตัวแต่อย่างใด จึงทำให้มีเพียงสมาชิกที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ หรือถูกนำเสนอผ่านทางสื่อสารมวลชนที่ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้รับทราบถึงสถานะของการเป็นสมาชิกในกลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการสรรหา อาทิเช่น พันโทกมล ประจวบเหมาะ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายตวง อันทะไชย นายสมชาย แสวงการ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ นางตรึงใจ บูรณะสมภพ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์[1] เป็นต้น ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. สายที่มาจากการเลือกตั้ง อาทิเช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพมหานคร นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว. เพชรบุรี นายสาย กังกเวคิน ส.ว. ระยอง รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว. สงขลา นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว. สมุทรสงคราม[2] เป็นต้น สำหรับบทบาทการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นและส่งผลกระเทือนทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญนั้น เนื่องจาก กลุ่ม 40 ส.ว. ถูกมองว่าเป็นกลุ่มการเมืองที่อยู่ฟากฝ่ายตรงข้ามกับพรรคพลังประชาชนอันมีฐานเสียงสนับสนุนมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิม โดยทางกลุ่ม 40 ส.ว. เรียกร้องให้นายสมัคร สุนทรเวช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลาออกหรือยุบสภาหลังจากเหตุการณ์กลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บริเวณถนนราชดำเนิน

          ภายหลังจากนั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม 40 ส.ว. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช จัดรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป” ส่งผลให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด[3] เมื่อเข้าสู่ช่วงสมัยของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กลุ่ม 40 ส.ว. ยังได้แสดงบทบาทท่าทีอันเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายรัฐบาลอย่างเปิดเผย นับตั้งแต่การไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาล เรื่อยมาจนกระทั่งการเรียกร้องให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ยุบสภาหรือลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551[4]

นอกจากบทบาทซึ่งเกี่ยวโยงกับสถานการณ์ความรุนแรงและเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในวาระต่างๆ แล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องในทางนิติบัญญัติ นับตั้งแต่การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 โดยอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่ม 64 ส.ว. หรือกลุ่ม 21 ตุลาฯ 51 ซึ่งสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกทั้งกลุ่ม 40 ส.ว. ยังเป็นแกนหลักร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ในการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 ประเด็นที่มาของ ส.ว. ซึ่งระหว่างการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2556 กลุ่ม 40 ส.ว. รวมถึงพรรคฝ่ายค้านได้ร่วมกันวอล์คเอาท์ออกจากห้องประชุม[5] นอกจากนั้นแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 309 คน ที่ร่วมกันเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวว่าเข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองประเทศ

ในช่วงรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลุ่ม 40 ส.ว. ยังถือได้ว่าเป็นกลุ่มแกนหลักทางการเมืองที่คอยตรวจสอบและคัดคานรัฐบาล ซึ่งนอกจากกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังรวมไปถึงการต่อต้านคัดค้านนโยบายต่างๆ ของฝ่ายรัฐบาล ที่สำคัญเช่น กรณีโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ[6] และการร่วมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[7] ที่ผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งก่อให้เกิดแรงต่อต้านมหาศาลจากมวลมหาประชาชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและเดินหน้าสู่การปฏิรูปประเทศ อันเป็นผลให้เกิดวิกฤตการเมืองไทยช่วงปลายปี 2556 ถึงกลางปี 2557 และจบลงด้วยเหตุการณ์รัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ภายหลังจากที่ คสช. จัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ยังคงมีบทบาททางการเมืองแสดงให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการที่สมาชิกหลายคนในกลุ่ม 40 ส.ว. ได้เข้าดำรงตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)[8] รวมถึงการผลักดันการแก้ไขกฎหมายต่างๆ เช่น ข้อเสนอให้มีการแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการสรรหาทั้งหมด 200 เป็นต้น[9]

 

มุมมองสังคมและข้อวิพากษ์ต่อบทบาทการทำหน้าที่ของกลุ่ม 40 ส.ว.

          คงมิอาจปฏิเสธว่าบทบาทการทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและการตรวจสอบรัฐบาลของกลุ่ม 40 ส.ว. นั้น มุ่งเน้นไปที่การคัดคานตรวจสอบรัฐบาลในฟากฝั่งของพรรคพลังประชาชน หรือพรรคไทยรักไทยแต่เดิมมาจนกระทั่งถึงพรรคเพื่อไทย ซึ่งย่อมก่อให้เกิดทั้งกระแสความนิยมและกระแสต่อต้านอันสอดคล้องไปกับสถานการณ์ทางการเมือง แน่นอนว่าหากมองทางฝั่งของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารประเทศของพรรคพลังประชาชน ตลอดมาจนถึงพรรคเพื่อไทยแล้ว โดยส่วนใหญ่ย่อมเห็นพ้องกับบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ดังเห็นได้ผ่านการแสดงออกของมวลชนในช่วงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกระทั่งการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ขณะเดียวกัน สำหรับผู้ที่นิยมหรือเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารประเทศของพรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทย ย่อมที่จะเห็นต่างกับแนวทางการดำเนินการทางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ที่แสดงตนอยู่คนละฟากทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม มีมุมมองความคิดเห็นหรือข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงหลักการจำนวนมากที่สะท้อนการทำหน้าที่และบทบาททางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ดังเช่นในมุมมองของนักกฎหมายอิสระอย่างวีรพัฒน์
ปริยวงศ์ ที่มองว่าแม้การทำหน้าที่ของกลุ่ม 40 ส.ว. จะมีคุณูปการในฐานะการเป็นฝ่ายตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลที่แข็งขัน และยังคอยเป็นพลังเหนี่ยวรั้งให้การเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางสังคมการเมืองมีลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป หากแต่ก็มีข้อกังวลถึงการที่ทางกลุ่ม 40 ส.ว. มักเลือกที่จะอาศัยศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นช่องทางถ่วงดุลหรือคัดคานกับฝ่ายนิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรีอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีความเห็นว่าการแสดงบทบาทเคลื่อนไหวของกลุ่ม 40 ส.ว. ควรที่จะยึดถือหลักคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองเป็นที่ตั้ง มากกว่าที่จะยึดโยงอยู่กับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น[10]

ขณะที่ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของกลุ่ม 40 ส.ว. โดยมองในภาพรวมว่าภายหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. มีมากเกินความจำเป็น อีกทั้ง ส.ว. ในส่วนที่มาจากการสรรหาก็ขาดความยึดโยงกับประชาชน ดังนั้นแล้วจึงเสนอให้ควรมีการแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน[11] สอดคล้องกับมุมมองของสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่เห็นว่าบทบาทของกลุ่ม 40 ส.ว. ดูมีการตั้งเป้าโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างชัดเจนอันส่งผลสะเทือนต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในภาพรวม ซึ่งสมบัติได้ให้ข้อเสนอไว้ถึงการแก้ไขเรื่องที่มาของ ส.ว. ว่าควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดความยึดโยงกับประชาชน[12]

 

ข้อสังเกตเบื้องต้น

          คงไม่อาจกล่าวหรือชี้ชัดได้ว่าการเกิดขึ้นและการแสดงบทบาททางการเมืองของกลุ่ม 40 ส.ว. ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น เกิดมาจากการแบ่งแยกแตกขั้วกันอันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของที่มา ส.ว. ทั้งในส่วนของ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาและในส่วน ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะแม้ว่าสมาชิกในกลุ่ม 40 ส.ว. ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในสายของ ส.ว. ที่มาจากการสรรหาก็ตาม แต่ก็มีสมาชิกในกลุ่มหลายคนเช่นเดียวกันที่เป็น ส.ว. ซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในระดับแกนนำกลุ่ม อย่างเช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ที่มักมีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามของกลุ่ม 40 ส.ว. อยู่เสมอ ดังนั้น หากมองหาจุดร่วมที่ทำให้ ส.ว. เหล่านี้มารวมตัวกันและมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนประเด็นวาระทางการเมือง ก็คงสะท้อนผ่านเรื่องของอุดมการณ์หรือความคิดทางการเมือง และแนวทางในการทำงานที่สมาชิกในกลุ่มเห็นผสานสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีบทบาทที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเป็นกลุ่มการเมืองอันอยู่คนฟากฝ่ายกับพรรคเพื่อไทยหรือเครือข่ายทางการเมืองที่สืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทยแต่เดิม ทำให้กลุ่ม 40 ส.ว. ได้กลายเป็นตัวแสดงในเวทีการเมืองไทยที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางการเมืองของประเทศ เพราะฉะนั้นแล้ว การศึกษาหรือทำความเข้าใจการเมืองไทยในช่วงเวลาราวหนึ่งทศวรรษมานี้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติ จึงมิอาจปฏิเสธบทบาทความสำคัญของกลุ่ม 40 ส.ว. ไปได้ โดยที่จะเห็นได้จากการที่สมาชิกในกลุ่ม 40 ส.ว. มักจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในทางนิติบัญญัติมาโดยตลอด แม้กระทั่งภายหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 สมาชิกจำนวนมากในกลุ่ม 40 ส.ว. ก็ได้เข้าไปดำรงตำแหน่งอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตลอดจนการที่ทางกลุ่มหรือกระทั่งสมาชิกในนามบุคคล ยังคงมีข้อเสนอหรือการดำเนินการทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอดังปรากฏให้เห็นผ่านสื่อต่างๆ

 

บรรณานุกรม

“40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย.” เดลินิวส์. (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.
          dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

“40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา.” คมชัดลึก. (30 พฤศจิกายน 2556), 15.

“40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน.” ผู้จัดการ          ออนไลน์. (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.
          aspx?NewsID=9560000122980>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

“40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน.” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

“จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา.” มติชนออนไลน์.
(1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=
1406849960>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2557.

บุษราคัม ศิลปลาวัลย์. “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว..” กรุงเทพธุรกิจ. (27 พฤษภาคม 2556), 14.

“พท.จัดทัพเลือกตั้งโอ๊คลงแจ๊ดเสียบปทุมแถมมีชื่อติดโผรองนายก 40 ส.ว.เล็งยื่นร้องศาล รธน.ตีความ 2ล้านล้านขัด ม.169.” ไทยรัฐ. (7 ตุลาคม 2556), 17.

“มติสภาทาสฉลุยวาระ 3 ขยี้รัฐธรรมนูญ 40 สว.- ปชป. วอล์กเอาท์ วางหรีดหน้าบัลลังก์ ขุนค้อน.” แนวหน้า. (29 กันยายน 2556), 11.

“รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40สว..” ข่าวสด. (5 เมษายน 2556), 3.

อ้างอิง

 [1] “40 ส.ว.เชื่อมี อดึต ส.ว. ร่วมนั่ง สนช.ด้วย,” เดลินิวส์, (26 กรกฎาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.
dailynews.co.th/politics/255100>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

 [2] “40 ส.ว.แบ่งทีมค้านทูลเกล้าฯ ที่มา ส.ว. ชี้มีปัญหาความชอบธรรม อย่าผลักภาระสถาบัน,” ผู้จัดการออนไลน์, (30 กันยายน 2556). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122980>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

[3] บุษราคัม ศิลปลาวัลย์, “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว.,” กรุงเทพธุรกิจ, (27 พฤษภาคม 2556), 14.

[4] บุษราคัม ศิลปลาวัลย์, “แก้ที่มา ส.ว.’ปิดจ็อบ’กลุ่ม 40 ส.ว.,” กรุงเทพธุรกิจ, (27 พฤษภาคม 2556), 14.

[5] “มติสภาทาสฉลุยวาระ 3 ขยี้รัฐธรรมนูญ 40 สว.- ปชป. วอล์กเอาท์ วางหรีดหน้าบัลลังก์ ขุนค้อน,” แนวหน้า, (29 กันยายน 2556), 11.

[6] “พท.จัดทัพเลือกตั้งโอ๊คลงแจ๊ดเสียบปทุมแถมมีชื่อติดโผรองนายก 40 ส.ว.เล็งยื่นร้องศาล รธน.ตีความ 2 ล้านล้านขัดม.169,” ไทยรัฐ, (7 ตุลาคม 2556), 17.

[7] “40 ส.ว. แนะให้ ปธ. 3 ศาลเป็นคนกลางเจรจา,” คมชัดลึก, (30 พฤศจิกายน 2556), 15.

[8] “จัดกลุ่ม “สนช.” ทหารตบเท้าพรึ่บ-40 ส.ว.เข้าสภาฯเพียบ อธิการบดีก็มี นักธุรกิจก็มา,” มติชนออนไลน์, (1 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406849960>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

[9] “40 ส.ว.ประสานเสียงให้ ส.ว.มาจากสรรหา 200 คน,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (15 พฤษภาคม 2558). เข้าถึงจาก <http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/647250>. เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559.

[10] “รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40 สว.,” ข่าวสด, (5 เมษายน 2556), 3.

[11] “รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40 สว.,” ข่าวสด, (5 เมษายน 2556), 3.

[12] “รายงานพิเศษ วิเคราะห์บทบาทกลุ่ม 40 สว.,” ข่าวสด, (5 เมษายน 2556), 3.