ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผิน ชุณหะวัณ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
'''ผิน ชุณหะวัณ''' | '''ผิน ชุณหะวัณ''' | ||
''' '''จอมพลผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะ[[รัฐประหาร]] 8 พฤศจิกายน 2490 เคยดำรงตำแหน่งรอง[[นายกรัฐมนตรี]] [[คณะรัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่าการก'''ร'''ะทรวงเกษตร และผู้บัญชาการทหารบก | ''' '''จอมพลผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะ[[รัฐประหาร|รัฐประหาร]] 8 พฤศจิกายน 2490 เคยดำรงตำแหน่งรอง[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]] [[คณะรัฐมนตรี|รัฐมนตรี]]ว่าการก'''ร'''ะทรวงเกษตร และผู้บัญชาการทหารบก | ||
'''ประวัติ''' | '''ประวัติ''' | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
พ.ศ.2469 เมื่อพลตรีพระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 เลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพที่ 1โปรดให้ร้อยเอกผินมาเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพที่ 1 แต่อยู่ได้เพียงหนึ่งปี ปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องมาอยู่ในพระนครทำให้ร้อยเอกผินขอย้ายกลับไปทำหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 เหมือนเดิม[[#_ftn4|[4]]] | พ.ศ.2469 เมื่อพลตรีพระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 เลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพที่ 1โปรดให้ร้อยเอกผินมาเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพที่ 1 แต่อยู่ได้เพียงหนึ่งปี ปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องมาอยู่ในพระนครทำให้ร้อยเอกผินขอย้ายกลับไปทำหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 เหมือนเดิม[[#_ftn4|[4]]] | ||
พ.ศ.2470 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 | พ.ศ.2470 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 ซึ่งขณะนั้น[[พลตรีพระยาพิไชยสงคราม]]เป็นผู้บัญชาการกองพล เมื่อกองทัพบกสั่งยุบกองพลที่ 4 ในพ.ศ.2471โดยเปลี่ยนแปลงให้เป็นกรมทหารบกประจำจังหวัดราชบุรีและมีคำสั่งให้ผู้บัญชาการกองพลกับฝ่ายเสนาธิการทั้งหมดย้ายไปประจำกองพลที่ 2 ที่มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ในปีถัดมาพันตรีผินได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 2 และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงชำนาญยุทธศาสตร์[[#_ftn5|[5]]] | ||
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 | ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อันเป็นวันที่[[คณะราษฎร]]เปลี่ยนแปลงการปกครอง พันตรีผินได้รับคำสั่งจาก[[พลตรีหม่อมเจ้าทองทีฆายุ]] ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 ให้เข้าไปสังเกตการณ์ในพระนคร โดยเดินทางโดยรถโยกของกรมรถไฟใส่ชุดตรวจการของเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ แต่การเข้ามาสืบข่าวในครั้งนี้ได้รับการรายงานจากนายทหารฝ่ายสมุห์บัญชี กองพลที่ 2 ที่เป็นพี่เขยของพันโทหลวงพิบูลสงครามไปถึงแกนนำคณะราษฎรทำให้อีกเจ็ดวันต่อมามีคำสั่งจากกองทัพบกให้ผู้บัญชาการกองพลที่ 2และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองพลซึ่งมีพันตรีผินรวมอยู่ด้วยให้ไปรายงานตัวที่วังปารุสกวันอันเป็นที่ตั้งของคณะราษฎร[[#_ftn6|[6]]] แต่ผลการสอบสวนพันตรีผินพ้นผิดเพราะเป็นการทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่ก็มีรายชื่ออยู่ในนายทหารที่ฝักใฝ่ในระบบเก่า ทำให้มีคำสั่งให้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ กรมยุทธศึกษาทหารบก และคณะราษฎรได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาประวัติและพฤติกรรมของนายทหารแต่ละคน เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าผู้ใดสมควรไว้วางใจก็มีคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วยทหารที่ยังว่าง แต่พันตรีผินไม่อยู่ในข่ายนั้นเพราะเคยมีผู้บังคับบัญชาเป็นเจ้าถึง 2 คน[[#_ftn7|[7]]] | ||
จุดเปลี่ยนของชีวิตพันตรีผินเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2476 | จุดเปลี่ยนของชีวิตพันตรีผินเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2476 เมื่อเกิด[[กบฎบวรเดช]] [[จอมพล_แปลก_พิบูลสงคราม|พันโทหลวงพิบูลสงคราม]]ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพปราบกบฎ ความต้องการนายทหารทำให้มีคำสั่งให้นายทหารที่อยู่ในโรงเรียนนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมปราบกบฎ พันตรีผินได้อาสาเข้าร่วมปราบกบฎ โดยเป็นผู้นำกำลังเข้ายึดที่ทำการอำเภอบางเขน[[#_ftn8|[8]]] และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองผสมปราบปรามกบฎ โดยเข้ายึดจังหวัดนครราชสีมาจนถึงอุบลราชธานีคืนจากฝ่ายกบฎ เมื่อการปราบปรามกบฎสำเร็จลง พันตรีผินได้เลื่อนยศเป็นพันโทในตำแหน่งเสนาธิการมณฑล ทหารบกที่ 3 และรักษาการรองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3 | ||
พ.ศ.2478 พันโทผินได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนในพ.ศ.2483 พันเอกผินเลื่อนเป็นรองแม่ทัพอีสาน | พ.ศ.2478 พันโทผินได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนในพ.ศ.2483 พันเอกผินเลื่อนเป็นรองแม่ทัพอีสาน | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง มีคำสั่งให้พลโทผินไปประจำกรมเสนาธิการทหารบกในวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2487 และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 กองทัพบกมีคำสั่งให้พลโทผินออกจากราชการโดยได้รับเบี้ยหวัด | ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง มีคำสั่งให้พลโทผินไปประจำกรมเสนาธิการทหารบกในวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2487 และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 กองทัพบกมีคำสั่งให้พลโทผินออกจากราชการโดยได้รับเบี้ยหวัด | ||
สภาพการณ์ทางการเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานะของนายปรีดี พนมยงค์และขบวนการเสรีไทยได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก สามารถกำจัดบทบาทของจอมพล ป.พิบูลสงครามออกจากศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองได้ แต่สภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ประชาชนเดือดร้อนจากการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ทหารบกมีความไม่พอใจรัฐบาลตั้งแต่สงครามโลกสิ้นสุดลง เพราะอำนาจของกองทัพบกลดลง | สภาพการณ์ทางการเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานะของนายปรีดี พนมยงค์และขบวนการเสรีไทยได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก สามารถกำจัดบทบาทของจอมพล ป.พิบูลสงครามออกจากศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองได้ แต่สภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ประชาชนเดือดร้อนจากการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ทหารบกมีความไม่พอใจรัฐบาลตั้งแต่สงครามโลกสิ้นสุดลง เพราะอำนาจของกองทัพบกลดลง ทหารไม่สามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมืองเพราะข้อห้ามใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ._2489|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489]] เช่น [[สมาชิกพฤตสภา]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]และ[[รัฐมนตรี]]ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ[[#_ftn10|[10]]] | ||
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 | เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 [[พรรคประชาธิปัตย์]]ได้เปิด[[อภิปรายทั่วไปลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล]]ชุดพลเรือตรี[[ถวัลย์_ธำรงนาวาสวัสดิ์]] นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ญัตติในการอภิปราย ได้แก่ รัฐบาลไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในตามนโยบายที่แถลงไว้ ดำเนินการทางเศรษฐกิจผิดพลาด ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนานาประเทศ ใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำทำให้ข้าราชการขาดกำลังใจในการทำงาน และไม่สามารถหาข้อเท็จจริงในการสวรรคตของในหลวง[[กรณีสวรรคตรัชกาลที่_8|รัชกาลที่ 8]] มาแถลงต่อประชาชนได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะชนะในการ[[การลงมติ|ลงมติ]] นายกรัฐมนตรีก็ได้ลาออกเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งพลเรือตรีถวัลย์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง[[#_ftn11|[11]]] | ||
8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการได้ร่วมกับพันเอก[[กาจ_กาจสงคราม]] พันเอก[[เผ่า_ศรียานนท์]] พันเอก[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์]] ทำการ[[รัฐประหาร]]รัฐบาลของ[[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์|พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] [[#_ftn12|[12]]] หลังจากนั้นพลโทผินได้กลับเข้ารับราชการโดยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบกและ พ.ศ.2491 ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 15 โดยอยู่ในตำแหน่งถึง พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานยศจอมพลใน พ.ศ.2496 [[#_ftn13|[13]]] | ||
หลังรัฐประหาร 2490 จอมพลผิน ชุณหะวัณมีบทบาทในการผูกขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแกนนำสำคัญในคณะรัฐประหารที่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว ได้แก่ ชุณหะวัณ อดิเรกสาร และสิริโยธิน ที่เรียกกันว่า | หลังรัฐประหาร 2490 จอมพลผิน ชุณหะวัณมีบทบาทในการผูกขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแกนนำสำคัญในคณะรัฐประหารที่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว ได้แก่ ชุณหะวัณ อดิเรกสาร และสิริโยธิน ที่เรียกกันว่า “[[กลุ่มราชครู]]” ได้แต่งตั้งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทข้าวไทย ไทยนิยมพาณิชย์ และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ นอกจากนั้นกลุ่มราชครูยังได้ตั้งบริษัทการค้าใหม่ๆอีกหลายแห่งเช่นธุรกิจส่งออกเข้าว ซึ่งในอดีตบริษัทข้าวไทยผูกขาดการค้าอยู่ ก่อตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าขึ้นอีกหลายแห่งเพื่อมาแทนที่บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ เข้าดำเนินงานในธนาคารสองแห่ง คือ ธนาคารเอเชียเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างความสัมพันธ์กับนายชิน โสภณพานิชและกลุ่มธนาคารกรุงเทพด้วยการทำธุรกิจหลายประเภท เช่นทองคำ เนื้อหมู อัญมณี การค้าไม้ ก่อตั้งบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตสินค้าป้อนให้รํฐบาล เช่นเครื่องแบบตำรวจ อาวุธและวัสดุก่อสร้าง[[#_ftn14|[14]]] | ||
ในช่วงปี พ.ศ.2494-พ.ศ.2499 | ในช่วงปี พ.ศ.2494-พ.ศ.2499 จอมพลผินได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_ประเภทที่_2]] เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่าง พ.ศ.2496-พ.ศ.2500 และระหว่าง พ.ศ.2497-พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง | ||
พ.ศ.2497 จอมพลผินพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและไปไปดำรงตำแหน่งรองจเรทหารทั่วไป[[#_ftn15|[15]]] | พ.ศ.2497 จอมพลผินพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและไปไปดำรงตำแหน่งรองจเรทหารทั่วไป[[#_ftn15|[15]]] | ||
พ.ศ.2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 283 คน โดยประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งจำนวน 160 คน และประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งจำนวน 123 คน จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จอมพลผินได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร | พ.ศ.2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 283 คน โดยประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งจำนวน 160 คน และประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งจำนวน 123 คน จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จอมพลผินได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลชุดนี้พ้นสภาพเมื่อจอมพล[[สฤษดิ์_ธนะรัชต์]]ทำการยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | ||
หลังการยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495) ยังคงใช้บังคับต่อไป | หลังการยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495) ยังคงใช้บังคับต่อไป มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป]] พ.ศ. 2500 เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 โดยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | ||
| เมื่อมีการประกาศใช้[[ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร_พ.ศ._2502]] ที่กำหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวนสมาชิก 240 คน มาจากการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 จอมพลผิน ชุณหะวัณได้รับการแต่งตั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น[[สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ]] โดยสภาชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ.2511]] | ||
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511 กำหนดให้มีสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาโดยวุฒิสภามีสมาชิกจำนวน 164 คนมาจากการแต่งตั้ง จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2511 โดยสภาชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจรทำรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511 กำหนดให้มีสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาโดยวุฒิสภามีสมาชิกจำนวน 164 คนมาจากการแต่งตั้ง จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2511 โดยสภาชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจรทำรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:01, 25 กรกฎาคม 2561
ผู้เรียบเรียง : ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผิน ชุณหะวัณ
จอมพลผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และผู้บัญชาการทหารบก
ประวัติ
จอมพลผิน ชุณหะวัณเกิดที่บางนกแขวก อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม เริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุ 9 ปีกับอาจารย์ไล้ วัดโพธิ์งาม จังหวัดสมุทรสงคราม และพระสุย วัดใหม่สี่หมื่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่ออายุ 11 ปีได้อุปสมบทเป็นสามเณรอยู่ 3 พรรษา แล้วลาอุปสมบทเข้ามาเรียนหนังสือที่วัดมหรรณพารามและวัดบวรนิเวศ[1] อายุ 16 ปีสมัครเข้าเป็นพลทหาร ปีต่อมาคือ พ.ศ.2452 สามารถสอบเข้าโรงเรียนนายสิบ จังหวัดราชบุรี หลักสูตร 2 ปี โดยผลการเรียนสอบได้คะแนนยอดเยี่ยมจึงได้สิทธิเข้าศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยทหารบกเมื่อพ.ศ.2453 ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกเมื่อ พ.ศ.2464[2]
เหตุการณ์สำคัญ
เมื่อสำเร็จการศึกษาในพ.ศ.2459 ผิน ชุณหะวัณได้รับแต่งตั้งเป็นนักเรียนทำการนายร้อยเข้ารับราชการเบื้องต้นเป็นนักเรียนทำการประจำกองร้อยที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 ราชบุรี ทำหน้าที่ฝึกทหารใหม่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ของกรมทหารราบที่ 4 ถึง 5 ปีติดต่อกัน[3] พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนชำนาญยุทธศาสตร์ ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองพลที่ 4
พ.ศ.2469 เมื่อพลตรีพระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 4 เลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพที่ 1โปรดให้ร้อยเอกผินมาเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพที่ 1 แต่อยู่ได้เพียงหนึ่งปี ปัญหาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องมาอยู่ในพระนครทำให้ร้อยเอกผินขอย้ายกลับไปทำหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 เหมือนเดิม[4]
พ.ศ.2470 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นพลตรีพระยาพิไชยสงครามเป็นผู้บัญชาการกองพล เมื่อกองทัพบกสั่งยุบกองพลที่ 4 ในพ.ศ.2471โดยเปลี่ยนแปลงให้เป็นกรมทหารบกประจำจังหวัดราชบุรีและมีคำสั่งให้ผู้บัญชาการกองพลกับฝ่ายเสนาธิการทั้งหมดย้ายไปประจำกองพลที่ 2 ที่มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ในปีถัดมาพันตรีผินได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 2 และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงชำนาญยุทธศาสตร์[5]
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 อันเป็นวันที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง พันตรีผินได้รับคำสั่งจากพลตรีหม่อมเจ้าทองทีฆายุ ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 ให้เข้าไปสังเกตการณ์ในพระนคร โดยเดินทางโดยรถโยกของกรมรถไฟใส่ชุดตรวจการของเจ้าหน้าที่กรมรถไฟ แต่การเข้ามาสืบข่าวในครั้งนี้ได้รับการรายงานจากนายทหารฝ่ายสมุห์บัญชี กองพลที่ 2 ที่เป็นพี่เขยของพันโทหลวงพิบูลสงครามไปถึงแกนนำคณะราษฎรทำให้อีกเจ็ดวันต่อมามีคำสั่งจากกองทัพบกให้ผู้บัญชาการกองพลที่ 2และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองพลซึ่งมีพันตรีผินรวมอยู่ด้วยให้ไปรายงานตัวที่วังปารุสกวันอันเป็นที่ตั้งของคณะราษฎร[6] แต่ผลการสอบสวนพันตรีผินพ้นผิดเพราะเป็นการทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาแต่ก็มีรายชื่ออยู่ในนายทหารที่ฝักใฝ่ในระบบเก่า ทำให้มีคำสั่งให้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ กรมยุทธศึกษาทหารบก และคณะราษฎรได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาประวัติและพฤติกรรมของนายทหารแต่ละคน เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าผู้ใดสมควรไว้วางใจก็มีคำสั่งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วยทหารที่ยังว่าง แต่พันตรีผินไม่อยู่ในข่ายนั้นเพราะเคยมีผู้บังคับบัญชาเป็นเจ้าถึง 2 คน[7]
จุดเปลี่ยนของชีวิตพันตรีผินเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2476 เมื่อเกิดกบฎบวรเดช พันโทหลวงพิบูลสงครามได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพปราบกบฎ ความต้องการนายทหารทำให้มีคำสั่งให้นายทหารที่อยู่ในโรงเรียนนายทหารชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมปราบกบฎ พันตรีผินได้อาสาเข้าร่วมปราบกบฎ โดยเป็นผู้นำกำลังเข้ายึดที่ทำการอำเภอบางเขน[8] และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองผสมปราบปรามกบฎ โดยเข้ายึดจังหวัดนครราชสีมาจนถึงอุบลราชธานีคืนจากฝ่ายกบฎ เมื่อการปราบปรามกบฎสำเร็จลง พันตรีผินได้เลื่อนยศเป็นพันโทในตำแหน่งเสนาธิการมณฑล ทหารบกที่ 3 และรักษาการรองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 3
พ.ศ.2478 พันโทผินได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนในพ.ศ.2483 พันเอกผินเลื่อนเป็นรองแม่ทัพอีสาน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และพ.ศ.2485 พลตรีผินได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยใหญ่ (สหรัฐไทยเดิม) และในปีถัดมาเลื่อนยศเป็นพลโท ผู้ช่วยแม่ทัพกองทัพพายัพ และข้าหลวงทหารประจำสหรัฐไทยเดิม[9]
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง มีคำสั่งให้พลโทผินไปประจำกรมเสนาธิการทหารบกในวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2487 และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 กองทัพบกมีคำสั่งให้พลโทผินออกจากราชการโดยได้รับเบี้ยหวัด
สภาพการณ์ทางการเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานะของนายปรีดี พนมยงค์และขบวนการเสรีไทยได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก สามารถกำจัดบทบาทของจอมพล ป.พิบูลสงครามออกจากศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองได้ แต่สภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ประชาชนเดือดร้อนจากการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ทหารบกมีความไม่พอใจรัฐบาลตั้งแต่สงครามโลกสิ้นสุดลง เพราะอำนาจของกองทัพบกลดลง ทหารไม่สามารถเข้าไปมีบทบาททางการเมืองเพราะข้อห้ามในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 เช่น สมาชิกพฤตสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ[10]
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 พรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดอภิปรายทั่วไปลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดพลเรือตรีถวัลย์_ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ญัตติในการอภิปราย ได้แก่ รัฐบาลไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในตามนโยบายที่แถลงไว้ ดำเนินการทางเศรษฐกิจผิดพลาด ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนานาประเทศ ใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำทำให้ข้าราชการขาดกำลังใจในการทำงาน และไม่สามารถหาข้อเท็จจริงในการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 มาแถลงต่อประชาชนได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะชนะในการลงมติ นายกรัฐมนตรีก็ได้ลาออกเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งพลเรือตรีถวัลย์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง[11]
8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 พลโทผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการได้ร่วมกับพันเอกกาจ_กาจสงคราม พันเอกเผ่า_ศรียานนท์ พันเอกสฤษดิ์_ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารรัฐบาลของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ [12] หลังจากนั้นพลโทผินได้กลับเข้ารับราชการโดยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบกและ พ.ศ.2491 ได้ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก ลำดับที่ 15 โดยอยู่ในตำแหน่งถึง พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานยศจอมพลใน พ.ศ.2496 [13]
หลังรัฐประหาร 2490 จอมพลผิน ชุณหะวัณมีบทบาทในการผูกขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยแกนนำสำคัญในคณะรัฐประหารที่มีความสัมพันธ์ทางครอบครัว ได้แก่ ชุณหะวัณ อดิเรกสาร และสิริโยธิน ที่เรียกกันว่า “กลุ่มราชครู” ได้แต่งตั้งคนของตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทข้าวไทย ไทยนิยมพาณิชย์ และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ นอกจากนั้นกลุ่มราชครูยังได้ตั้งบริษัทการค้าใหม่ๆอีกหลายแห่งเช่นธุรกิจส่งออกเข้าว ซึ่งในอดีตบริษัทข้าวไทยผูกขาดการค้าอยู่ ก่อตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าขึ้นอีกหลายแห่งเพื่อมาแทนที่บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ เข้าดำเนินงานในธนาคารสองแห่ง คือ ธนาคารเอเชียเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างความสัมพันธ์กับนายชิน โสภณพานิชและกลุ่มธนาคารกรุงเทพด้วยการทำธุรกิจหลายประเภท เช่นทองคำ เนื้อหมู อัญมณี การค้าไม้ ก่อตั้งบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตสินค้าป้อนให้รํฐบาล เช่นเครื่องแบบตำรวจ อาวุธและวัสดุก่อสร้าง[14]
ในช่วงปี พ.ศ.2494-พ.ศ.2499 จอมพลผินได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_ประเภทที่_2 เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรระหว่าง พ.ศ.2496-พ.ศ.2500 และระหว่าง พ.ศ.2497-พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง
พ.ศ.2497 จอมพลผินพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและไปไปดำรงตำแหน่งรองจเรทหารทั่วไป[15]
พ.ศ.2500 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 283 คน โดยประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งจำนวน 160 คน และประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งจำนวน 123 คน จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 จอมพลผินได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลชุดนี้พ้นสภาพเมื่อจอมพลสฤษดิ์_ธนะรัชต์ทำการยึดอำนาจการปกครองในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
หลังการยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495) ยังคงใช้บังคับต่อไป มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 โดยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
เมื่อมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร_พ.ศ._2502 ที่กำหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ มีจำนวนสมาชิก 240 คน มาจากการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 จอมพลผิน ชุณหะวัณได้รับการแต่งตั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยสภาชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พ.ศ.2511
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511 กำหนดให้มีสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาโดยวุฒิสภามีสมาชิกจำนวน 164 คนมาจากการแต่งตั้ง จอมพลผินได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2511 โดยสภาชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจรทำรัฐประหารตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ผลงานอื่นๆ
จอมพลผินเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 วาระ คือ ระหว่างวันที่ 12 ธันวาคม 2496 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500 และระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 16 กันยายน 2500[16]
จอมพลผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2516 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
บรรณานุกรม
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสนาม พ.ศ.2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559).
ปองพล อดิเรกสาร,ทหารชื่อผิน จากพลทหาร...สู่จอมพล, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธสาส์น, 2552).
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, คริส เบเกอร์, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, (เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, พิมพ์ครั้งที่สาม, 2546), หน้า 153 - 154.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, เข้าถึงจาก http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/ p064. html เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.
กองทัพบก, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, เข้าถึงจาก http://www.rta.mi.th/command/command15.htm เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.
หนังสือแนะนำ
ปองพล อดิเรกสาร.(2552).ทหารชื่อผิน จากพลทหาร...สู่จอมพล.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธสาส์น.
[1] กองทัพบก, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, เข้าถึงจาก http://www.rta.mi.th/command/command15.htm เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.
[2] ปองพล อดิเรกสาร,ทหารชื่อผิน จากพลทหาร...สู่จอมพล, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธสาส์น, 2552), หน้า 17.
[3] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 39
[4]ปองพล อดิเรกสาร, หน้า 45
[5] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 46
[6] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 53
[7] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 56
[8] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 65
[9] ปองพล อดิเรกสาร,หน้า 240
[10] สุชิน ตันติกุล, รัฐประหาร พ.ศ.2490, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2557), หน้า 72.
[11] สุชิน ตันติกุล, หน้า 75.
[12] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทยสนาม พ.ศ.2475-2500, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559), หน้า 455.
[13] กองทัพบก, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, , เข้าถึงจาก http://www.rta.mi.th/command/command15.htm เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.
[14] ผาสุก พงษ์ไพจิตร, คริส เบเกอร์, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, (เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, พิมพ์ครั้งที่สาม, 2546), หน้า 153-154.
[15] กองทัพบก, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, เข้าถึงจาก http://www.rta.mi.th/command/command15.htm เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.
[16] มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จอมพลผิน ชุณหะวัณ, เข้าถึงจาก http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/ p064. html เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559.