ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำ 5 สาย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
ในวันที่ [[23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557]] คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] หัวหน้าฝ่าย[[กฎหมาย]]และ[[กระบวนการยุติธรรม]] คสช. ศาสตราจารย์พิเศษ [[พรเพชร วิชิตชลชัย]] ที่ปรึกษา คสช. ศ.ดร.[[วิษณุ เครืองาม]] ที่ปรึกษา คสช. และ พล.ต.[[วีระ โรจนะวาศ]] ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าวชี้แจงการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 การแถลงข่าวนี้ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวใจความสำคัญว่า | ในวันที่ [[23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557]] คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] หัวหน้าฝ่าย[[กฎหมาย]]และ[[กระบวนการยุติธรรม]] คสช. ศาสตราจารย์พิเศษ [[พรเพชร วิชิตชลชัย]] ที่ปรึกษา คสช. ศ.ดร.[[วิษณุ เครืองาม]] ที่ปรึกษา คสช. และ พล.ต.[[วีระ โรจนะวาศ]] ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าวชี้แจงการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 การแถลงข่าวนี้ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวใจความสำคัญว่า | ||
''“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็น[[รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19]] ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะมีอายุประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีเศษก่อนที่จะมี[[การเลือกตั้ง]] ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาอยู่ และแก้ไขชนวน[[ความขัดแย้ง]]เป็นผลสำเร็จ โดยรัฐธรรมนูญนี้เสมือนเป็นต้นธารของสิ่งสำคัญต่าง ๆ 5 สิ่งหรือแม่น้ำ 5 สายที่จะแยกออกไป ประกอบไปด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, และคณะรัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี...”'' | ''“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็น[[รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19]] ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะมีอายุประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีเศษก่อนที่จะมี[[การเลือกตั้ง]] ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาอยู่ และแก้ไขชนวน[[ความขัดแย้ง]]เป็นผลสำเร็จ โดยรัฐธรรมนูญนี้เสมือนเป็นต้นธารของสิ่งสำคัญต่าง ๆ 5 สิ่งหรือแม่น้ำ 5 สายที่จะแยกออกไป ประกอบไปด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, และคณะรัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี...”'' <ref> “รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.</ref> | ||
อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและ[[ความสมานฉันท์]]ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว” ยังเปรียบเสมือนการติดดาบศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย | อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและ[[ความสมานฉันท์]]ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”<ref>มาตรา 44 ดู “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก (22 กรกฎาคม 2557), 15. </ref> ยังเปรียบเสมือนการติดดาบศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย<ref>กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม, “แม่น้ำ 5 สาย,” แนวหน้า, (25 กรกฎาคม 2557), 5. </ref> | ||
==บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”== | ==บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”== | ||
'''แม่น้ำสายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)''' | '''แม่น้ำสายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)'''<ref>ดูรายละเอียดใน “รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3. “รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับแม่น้ำ 5 สาย,” เดลินิวส์, (24 กรกฎาคม 2557), 3, “วิษณุ: รธน.ต้นธารแม่น้ำ 5 สาย ขับเคลื่อนประเทศ-กรอบเวลา 1 ปี,” กรุงเทพธุรกิจ, (24 กรกฎาคม 2557), 2. </ref> | ||
สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล | สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากการสรรหาแบ่งมาจากจังหวัดต่าง ๆ 77 จังหวัด โดยมีคณะกรรมการสรรหาคณะละ 1 ชุดใน 1 จังหวัด เพื่อสรรหาคนที่มีความเหมาะสมเข้ามาเป็นผู้แทนจังหวัด จังหวัดละ 5 คน และให้ คสช. เลือก 1 ใน 5 โดยจะเลือกบุคคลอื่นนอกจาก 5 คนที่ส่งมาไม่ได้ | สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากการสรรหาแบ่งมาจากจังหวัดต่าง ๆ 77 จังหวัด โดยมีคณะกรรมการสรรหาคณะละ 1 ชุดใน 1 จังหวัด เพื่อสรรหาคนที่มีความเหมาะสมเข้ามาเป็นผู้แทนจังหวัด จังหวัดละ 5 คน และให้ คสช. เลือก 1 ใน 5 โดยจะเลือกบุคคลอื่นนอกจาก 5 คนที่ส่งมาไม่ได้ | ||
และอีก 173 คน จะกระจายกันมาจากทั่วประเทศ โดยไม่ผูกพันกับจังหวัดหรือว่าพื้นที่ใด แต่ผูกพันอยู่กับด้านต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน มีคณะกรรมการสรรหาประจำด้านต่างๆ ด้านละ 1 ชุด ทั้งนี้ การสรรหาสมาชิก 173 คนจากทั่วประเทศให้ใช้วิธีการเสนอชื่อโดยองค์กร นิติบุคคล สมาคม มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งวัดเสนอชื่อองค์กรละไม่เกิน 2 คน และกรรมการสรรหาจะเลือกเฟ้นให้ได้แต่ละด้านด้านละไม่เกิน 50 คน รวมทั้งหมด 11 ด้าน จะได้รายชื่อ 550 คน เสนอต่อ คสช. เพื่อให้ คสช. เลือกจากแต่ละด้านให้เหลือ 173 คน เมื่อรวมกับ 77 คน จาก 77 จังหวัด จึงได้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมด 250 คน | และอีก 173 คน จะกระจายกันมาจากทั่วประเทศ โดยไม่ผูกพันกับจังหวัดหรือว่าพื้นที่ใด แต่ผูกพันอยู่กับด้านต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน<ref>การปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4) ด้านการปกครองท้องถิ่น 5) ด้านการศึกษา 6) ด้านเศรษฐกิจ 7) ด้านพลังงาน 8) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 9) ด้านสื่อสารมวลชน 10) ด้านสังคม 11) ด้านอื่นๆ</ref> มีคณะกรรมการสรรหาประจำด้านต่างๆ ด้านละ 1 ชุด ทั้งนี้ การสรรหาสมาชิก 173 คนจากทั่วประเทศให้ใช้วิธีการเสนอชื่อโดยองค์กร นิติบุคคล สมาคม มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งวัดเสนอชื่อองค์กรละไม่เกิน 2 คน และกรรมการสรรหาจะเลือกเฟ้นให้ได้แต่ละด้านด้านละไม่เกิน 50 คน รวมทั้งหมด 11 ด้าน จะได้รายชื่อ 550 คน เสนอต่อ คสช. เพื่อให้ คสช. เลือกจากแต่ละด้านให้เหลือ 173 คน เมื่อรวมกับ 77 คน จาก 77 จังหวัด จึงได้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมด 250 คน | ||
อำนาจหน้าที่ของ สปช.การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ คสช. ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะรับไปดำเนินการ และหากข้อเสนอใดต้องมีกฎหมายรองรับให้สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ยกร่างกฎหมายและนำเสนอต่อ สนช. อำนาจหน้าที่อีกประการ คือ การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำขึ้น | อำนาจหน้าที่ของ สปช.การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ คสช. ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะรับไปดำเนินการ และหากข้อเสนอใดต้องมีกฎหมายรองรับให้สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ยกร่างกฎหมายและนำเสนอต่อ สนช. อำนาจหน้าที่อีกประการ คือ การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำขึ้น | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
'''แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)''' | '''แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)''' | ||
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พลเอก[[ประยุทธ์ จันทรโอชา]] เป็นหัวหน้า คสช. และรองหัวหน้า คสช. อีก 4 คน ได้แก่ พลเอก[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] พลเรือเอก[[ณรงค์ พิพัฒนาศัย]] พลอากาศเอก[[ประจิน จั่นตอง]] และพลตำรวจเอก[[อดุลย์ แสงสิงแก้ว]] โดยพลเอก[[อุดมเดช สีตบุตร]] เป็นเลขาธิการ คสช. เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม 2557]] ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ต่อไป และแต่งตั้งเพิ่มเติมได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พลเอก[[ประยุทธ์ จันทรโอชา]] เป็นหัวหน้า คสช. และรองหัวหน้า คสช. อีก 4 คน ได้แก่ พลเอก[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] พลเรือเอก[[ณรงค์ พิพัฒนาศัย]] พลอากาศเอก[[ประจิน จั่นตอง]] และพลตำรวจเอก[[อดุลย์ แสงสิงแก้ว]] โดยพลเอก[[อุดมเดช สีตบุตร]] เป็นเลขาธิการ คสช.<ref>"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 84 ง, 26 พฤษภาคม 2557. </ref> เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม 2557]] ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ต่อไป และแต่งตั้งเพิ่มเติมได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน | ||
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ พลเอก[[ศิริชัย ดิษฐกุล]] พลเอก[[วรพงษ์ สง่าเนตร]] พลเอก[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] พลเรือเอก[[ไกรสร จันทร์สุวานิชย์]] พลอากาศเอก[[ตรีทศ สนแจ้ง]] พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] นาย[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] และนาย[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]] | พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ พลเอก[[ศิริชัย ดิษฐกุล]] พลเอก[[วรพงษ์ สง่าเนตร]] พลเอก[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] พลเรือเอก[[ไกรสร จันทร์สุวานิชย์]] พลอากาศเอก[[ตรีทศ สนแจ้ง]] พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] นาย[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] และนาย[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]]<ref>"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 181 ง, 15 กันยายน 2557. </ref> | ||
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:24, 23 มิถุนายน 2558
ผู้เรียบเรียง : ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
“แม่น้ำ 5 สาย” หมายถึง องค์กรทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อันประกอบด้วย สายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.) สายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สายที่ 4 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสายที่ 5 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยทั้ง 5 องค์กรมีที่มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทาง หรือ ต้นกำเนิดของแม่น้ำทั้ง 5 สาย
ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษา คสช. ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช. และ พล.ต.วีระ โรจนะวาศ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าวชี้แจงการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 การแถลงข่าวนี้ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวใจความสำคัญว่า
“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะมีอายุประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีเศษก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาอยู่ และแก้ไขชนวนความขัดแย้งเป็นผลสำเร็จ โดยรัฐธรรมนูญนี้เสมือนเป็นต้นธารของสิ่งสำคัญต่าง ๆ 5 สิ่งหรือแม่น้ำ 5 สายที่จะแยกออกไป ประกอบไปด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, และคณะรัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี...” [1]
อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”[2] ยังเปรียบเสมือนการติดดาบศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย[3]
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”
แม่น้ำสายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)[4]
สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล
คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 40 ปี มีสัญชาติไทย ไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองเป็นเวลา 3 ปี คำว่า “ตำแหน่งในพรรคการเมือง” หมายความถึงตำแหน่งหัวหน้า รองหัวหน้าพรรค กรรมการบริหาร ผู้บริหารพรรค แต่ไม่รวมถึงสมาชิกพรรค
มีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นการตรากฎหมาย พิจารณาสนธิสัญญาที่เกี่ยวพันกับต่างประเทศ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งของบุคคลบางตำแหน่ง และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ
แม่น้ำสายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน รวมไม่เกิน 36 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลผู้ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่จะได้รับการแต่งตั้ง ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทุกประเภท
มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังรวมถึงการดำเนินการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีจะดำริเองหรือมีข้อเสนอมาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือมาจากวงการใดก็ตาม และการสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
แม่น้ำสายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากการสรรหาแบ่งมาจากจังหวัดต่าง ๆ 77 จังหวัด โดยมีคณะกรรมการสรรหาคณะละ 1 ชุดใน 1 จังหวัด เพื่อสรรหาคนที่มีความเหมาะสมเข้ามาเป็นผู้แทนจังหวัด จังหวัดละ 5 คน และให้ คสช. เลือก 1 ใน 5 โดยจะเลือกบุคคลอื่นนอกจาก 5 คนที่ส่งมาไม่ได้
และอีก 173 คน จะกระจายกันมาจากทั่วประเทศ โดยไม่ผูกพันกับจังหวัดหรือว่าพื้นที่ใด แต่ผูกพันอยู่กับด้านต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน[5] มีคณะกรรมการสรรหาประจำด้านต่างๆ ด้านละ 1 ชุด ทั้งนี้ การสรรหาสมาชิก 173 คนจากทั่วประเทศให้ใช้วิธีการเสนอชื่อโดยองค์กร นิติบุคคล สมาคม มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งวัดเสนอชื่อองค์กรละไม่เกิน 2 คน และกรรมการสรรหาจะเลือกเฟ้นให้ได้แต่ละด้านด้านละไม่เกิน 50 คน รวมทั้งหมด 11 ด้าน จะได้รายชื่อ 550 คน เสนอต่อ คสช. เพื่อให้ คสช. เลือกจากแต่ละด้านให้เหลือ 173 คน เมื่อรวมกับ 77 คน จาก 77 จังหวัด จึงได้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมด 250 คน
อำนาจหน้าที่ของ สปช.การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ คสช. ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะรับไปดำเนินการ และหากข้อเสนอใดต้องมีกฎหมายรองรับให้สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ยกร่างกฎหมายและนำเสนอต่อ สนช. อำนาจหน้าที่อีกประการ คือ การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำขึ้น
แม่น้ำสายที่ 4 คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 36 คน มาจากการเสนอชื่อโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 20 คน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอจำนวน 5 คน คณะรัฐมนตรีเสนอจำนวน 5 คน และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอจำนวน 5 คน ทั้งนี้ให้ คสช. เสนอผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยอีก 1 คน
คุณสมบัติสำคัญคือ นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่ดำรงตำแหน่งใน คสช. สนช. และ สปช. ทั้งห้ามมิให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในระยะเวลา 2 ปี หลังพ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างแล้ว
มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยนำความเห็นและข้อเสนอแนะจาก สปช. สนช. ครม. และ คสช. รวมทั้งความเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา ก่อนเสนอให้ สปช. พิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนประกาศใช้บังคับต่อไป
แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา เป็นหัวหน้า คสช. และรองหัวหน้า คสช. อีก 4 คน ได้แก่ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง และพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว โดยพลเอกอุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการ คสช.[6] เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ต่อไป และแต่งตั้งเพิ่มเติมได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา พลเรือเอกไกรสร จันทร์สุวานิชย์ พลอากาศเอกตรีทศ สนแจ้ง พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์[7]
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ คสช. มีอำนาจที่จะจัดการในเรื่องต่างๆ ได้ในกรณีจำเป็น โดยไม่ให้เป็นไปตามวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ จึงได้กำหนดไว้ในมาตรา 44 ให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. สามารถใช้อำนาจพิเศษสั่งการ ป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และปราบปรามการกระทำอันบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจ หรือราชการแผ่นดิน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร หรือหากเกิดกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปและส่งเสริมความสามัคคีของคนในชาติ และเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
บรรณานุกรม
กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม, “แม่น้ำ 5 สาย,” แนวหน้า, (25 กรกฎาคม 2557), 5.
"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 84 ง, 26 พฤษภาคม 2557.
"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 181 ง, 15 กันยายน 2557.
“รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.
“รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.
“รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับแม่น้ำ 5 สาย,” เดลินิวส์, (24 กรกฎาคม 2557), หน้า 3.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก (22 กรกฎาคม 2557).
“วิษณุ: รธน.ต้นธารแม่น้ำ 5 สาย ขับเคลื่อนประเทศ-กรอบเวลา 1 ปี,” กรุงเทพธุรกิจ, (24 กรกฎาคม 2557), 2.
- ↑ “รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.
- ↑ มาตรา 44 ดู “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก (22 กรกฎาคม 2557), 15.
- ↑ กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม, “แม่น้ำ 5 สาย,” แนวหน้า, (25 กรกฎาคม 2557), 5.
- ↑ ดูรายละเอียดใน “รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3. “รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับแม่น้ำ 5 สาย,” เดลินิวส์, (24 กรกฎาคม 2557), 3, “วิษณุ: รธน.ต้นธารแม่น้ำ 5 สาย ขับเคลื่อนประเทศ-กรอบเวลา 1 ปี,” กรุงเทพธุรกิจ, (24 กรกฎาคม 2557), 2.
- ↑ การปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการเมือง 2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4) ด้านการปกครองท้องถิ่น 5) ด้านการศึกษา 6) ด้านเศรษฐกิจ 7) ด้านพลังงาน 8) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 9) ด้านสื่อสารมวลชน 10) ด้านสังคม 11) ด้านอื่นๆ
- ↑ "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 84 ง, 26 พฤษภาคม 2557.
- ↑ "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 181 ง, 15 กันยายน 2557.