ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำ 5 สาย"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' : ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว '''ผู้ทรงคุ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
==ความหมาย== | ==ความหมาย== | ||
“แม่น้ำ 5 สาย” หมายถึง | “แม่น้ำ 5 สาย” หมายถึง องค์กรทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญใน[[การปฏิรูปประเทศ]] ภายหลังการ[[รัฐประหาร]]วันที่ [[22 พฤษภาคม 2557]] อันประกอบด้วย สายที่ 1 [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] ([[สนช.]]) สายที่ 2 [[คณะรัฐมนตรี]] ([[ครม.]]) สายที่ 3 [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] ([[สปช.]]) สายที่ 4 [[คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ]] และสายที่ 5 [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ([[คสช.]]) โดยทั้ง 5 องค์กรมีที่มาจาก[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557]] ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทาง หรือ ต้นกำเนิดของแม่น้ำทั้ง 5 สาย | ||
==ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง== | ==ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง== | ||
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา | ในวันที่ [[23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557]] คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] หัวหน้าฝ่าย[[กฎหมาย]]และ[[กระบวนการยุติธรรม]] คสช. ศาสตราจารย์พิเศษ [[พรเพชร วิชิตชลชัย]] ที่ปรึกษา คสช. ศ.ดร.[[วิษณุ เครืองาม]] ที่ปรึกษา คสช. และ พล.ต.[[วีระ โรจนะวาศ]] ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าวชี้แจงการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 การแถลงข่าวนี้ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวใจความสำคัญว่า | ||
''“... | ''“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็น[[รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19]] ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะมีอายุประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีเศษก่อนที่จะมี[[การเลือกตั้ง]] ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาอยู่ และแก้ไขชนวน[[ความขัดแย้ง]]เป็นผลสำเร็จ โดยรัฐธรรมนูญนี้เสมือนเป็นต้นธารของสิ่งสำคัญต่าง ๆ 5 สิ่งหรือแม่น้ำ 5 สายที่จะแยกออกไป ประกอบไปด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, และคณะรัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี...”'' | ||
อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ | อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและ[[ความสมานฉันท์]]ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว” ยังเปรียบเสมือนการติดดาบศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย | ||
==บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”== | ==บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”== | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล | สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล | ||
คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 40 ปี มีสัญชาติไทย | คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 40 ปี มีสัญชาติไทย ไม่เคยดำรงตำแหน่งใน'''พรรคการเมือง'''เป็นเวลา 3 ปี คำว่า “ตำแหน่งในพรรคการเมือง” หมายความถึงตำแหน่งหัวหน้า รองหัวหน้าพรรค กรรมการบริหาร ผู้บริหารพรรค แต่ไม่รวมถึงสมาชิกพรรค | ||
มีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ | มีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็น[[การตรากฎหมาย]] พิจารณาสนธิสัญญาที่เกี่ยวพันกับต่างประเทศ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง[[นายกรัฐมนตรี]] รวมทั้งให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งของบุคคลบางตำแหน่ง และ[[ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]]ของ[[รัฐบาล]]โดย[[การตั้งกระทู้ถาม]]รัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ | ||
'''แม่น้ำสายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.)''' | '''แม่น้ำสายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.)''' | ||
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน รวมไม่เกิน 36 คน | คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน รวมไม่เกิน 36 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลผู้ไม่เคยเป็น[[สมาชิกพรรคการเมือง]]ภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่จะได้รับการแต่งตั้ง ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ [[สมาชิกสภาท้องถิ่น]]และ[[ผู้บริหารท้องถิ่น]] รวมถึง[[ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ]] ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ และ[[องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ]]ทุกประเภท | ||
มีอำนาจหน้าที่ใน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]เป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังรวมถึงการดำเนินการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีจะดำริเองหรือมีข้อเสนอมาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือมาจากวงการใดก็ตาม และการสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย | |||
'''แม่น้ำสายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)''' | '''แม่น้ำสายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)''' | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
'''แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)''' | '''แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)''' | ||
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พลเอก[[ประยุทธ์ จันทรโอชา]] เป็นหัวหน้า คสช. และรองหัวหน้า คสช. อีก 4 คน ได้แก่ พลเอก[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]] พลเรือเอก[[ณรงค์ พิพัฒนาศัย]] พลอากาศเอก[[ประจิน จั่นตอง]] และพลตำรวจเอก[[อดุลย์ แสงสิงแก้ว]] โดยพลเอก[[อุดมเดช สีตบุตร]] เป็นเลขาธิการ คสช. เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ [[22 พฤษภาคม 2557]] ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ต่อไป และแต่งตั้งเพิ่มเติมได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน | ||
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ | พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ พลเอก[[ศิริชัย ดิษฐกุล]] พลเอก[[วรพงษ์ สง่าเนตร]] พลเอก[[ไพบูลย์ คุ้มฉายา]] พลเรือเอก[[ไกรสร จันทร์สุวานิชย์]] พลอากาศเอก[[ตรีทศ สนแจ้ง]] พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] นาย[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] และนาย[[สมคิด จาตุศรีพิทักษ์]] | ||
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:14, 23 มิถุนายน 2558
ผู้เรียบเรียง : ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร
ความหมาย
“แม่น้ำ 5 สาย” หมายถึง องค์กรทางการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 อันประกอบด้วย สายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.) สายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สายที่ 4 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสายที่ 5 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยทั้ง 5 องค์กรมีที่มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งเปรียบเสมือนต้นทาง หรือ ต้นกำเนิดของแม่น้ำทั้ง 5 สาย
ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษา คสช. ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช. และ พล.ต.วีระ โรจนะวาศ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าวชี้แจงการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 การแถลงข่าวนี้ ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวใจความสำคัญว่า
“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะมีอายุประมาณหนึ่งปีถึงหนึ่งปีเศษก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถจัดการปัญหาที่ค้างคาอยู่ และแก้ไขชนวนความขัดแย้งเป็นผลสำเร็จ โดยรัฐธรรมนูญนี้เสมือนเป็นต้นธารของสิ่งสำคัญต่าง ๆ 5 สิ่งหรือแม่น้ำ 5 สายที่จะแยกออกไป ประกอบไปด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, และคณะรัฐมนตรี-นายกรัฐมนตรี...”
อย่างไรก็ตาม มีการให้ข้อสังเกตว่าแม่น้ำสายที่ 5 หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือเป็น “แม่น้ำสายสำคัญ” อันเนื่องมาจากแม่น้ำสายที่ 1 จนถึงแม่น้ำสายที่ 4 นั้น โดยหลักการแล้วต้องมาจากความเห็นชอบหรือการพลักดันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งสิ้น อีกทั้งในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหารหรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว” ยังเปรียบเสมือนการติดดาบศักดิ์สิทธิ์ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “แม่น้ำ 5 สาย”
แม่น้ำสายที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ประกอบด้วยมีสมาชิกไม่เกิน 220 คน พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เป็นผู้เลือกสรรแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล
คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 40 ปี มีสัญชาติไทย ไม่เคยดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองเป็นเวลา 3 ปี คำว่า “ตำแหน่งในพรรคการเมือง” หมายความถึงตำแหน่งหัวหน้า รองหัวหน้าพรรค กรรมการบริหาร ผู้บริหารพรรค แต่ไม่รวมถึงสมาชิกพรรค
มีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นการตรากฎหมาย พิจารณาสนธิสัญญาที่เกี่ยวพันกับต่างประเทศ ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบในการดำรงตำแหน่งของบุคคลบางตำแหน่ง และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ
แม่น้ำสายที่ 2 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน รวมไม่เกิน 36 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลผู้ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่จะได้รับการแต่งตั้ง ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาหรือตุลาการ อัยการ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทุกประเภท
มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังรวมถึงการดำเนินการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าคณะรัฐมนตรีจะดำริเองหรือมีข้อเสนอมาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือมาจากวงการใดก็ตาม และการสร้างความสามัคคีปรองดองและสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
แม่น้ำสายที่ 3 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากการสรรหาแบ่งมาจากจังหวัดต่าง ๆ 77 จังหวัด โดยมีคณะกรรมการสรรหาคณะละ 1 ชุดใน 1 จังหวัด เพื่อสรรหาคนที่มีความเหมาะสมเข้ามาเป็นผู้แทนจังหวัด จังหวัดละ 5 คน และให้ คสช. เลือก 1 ใน 5 โดยจะเลือกบุคคลอื่นนอกจาก 5 คนที่ส่งมาไม่ได้
และอีก 173 คน จะกระจายกันมาจากทั่วประเทศ โดยไม่ผูกพันกับจังหวัดหรือว่าพื้นที่ใด แต่ผูกพันอยู่กับด้านต่าง ๆ ทั้ง 11 ด้าน มีคณะกรรมการสรรหาประจำด้านต่างๆ ด้านละ 1 ชุด ทั้งนี้ การสรรหาสมาชิก 173 คนจากทั่วประเทศให้ใช้วิธีการเสนอชื่อโดยองค์กร นิติบุคคล สมาคม มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่งวัดเสนอชื่อองค์กรละไม่เกิน 2 คน และกรรมการสรรหาจะเลือกเฟ้นให้ได้แต่ละด้านด้านละไม่เกิน 50 คน รวมทั้งหมด 11 ด้าน จะได้รายชื่อ 550 คน เสนอต่อ คสช. เพื่อให้ คสช. เลือกจากแต่ละด้านให้เหลือ 173 คน เมื่อรวมกับ 77 คน จาก 77 จังหวัด จึงได้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมด 250 คน
อำนาจหน้าที่ของ สปช.การเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ คสช. ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะรับไปดำเนินการ และหากข้อเสนอใดต้องมีกฎหมายรองรับให้สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ยกร่างกฎหมายและนำเสนอต่อ สนช. อำนาจหน้าที่อีกประการ คือ การให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างจัดทำขึ้น
แม่น้ำสายที่ 4 คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 36 คน มาจากการเสนอชื่อโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน 20 คน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอจำนวน 5 คน คณะรัฐมนตรีเสนอจำนวน 5 คน และคณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอจำนวน 5 คน ทั้งนี้ให้ คสช. เสนอผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยอีก 1 คน
คุณสมบัติสำคัญคือ นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในระยะเวลา 3 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่ดำรงตำแหน่งใน คสช. สนช. และ สปช. ทั้งห้ามมิให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในระยะเวลา 2 ปี หลังพ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างแล้ว
มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยนำความเห็นและข้อเสนอแนะจาก สปช. สนช. ครม. และ คสช. รวมทั้งความเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา ก่อนเสนอให้ สปช. พิจารณาให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนประกาศใช้บังคับต่อไป
แม่น้ำสายที่ 5 คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา เป็นหัวหน้า คสช. และรองหัวหน้า คสช. อีก 4 คน ได้แก่ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง และพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว โดยพลเอกอุดมเดช สีตบุตร เป็นเลขาธิการ คสช. เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งกำหนดให้ คสช. ยังคงอยู่ต่อไป และแต่งตั้งเพิ่มเติมได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15 คน
พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยอาศัยตามความในมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญใน คสช ขึ้นแทน ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยบุคคลทั้ง 6 ข้างต้นแล้ว ยังแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 9 คน ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองหัวหน้า คสช. และสมาชิก คสช. อีก 8 คน คือ พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล พลเอกวรพงษ์ สง่าเนตร พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา พลเรือเอกไกรสร จันทร์สุวานิชย์ พลอากาศเอกตรีทศ สนแจ้ง พลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะให้รัฐมนตรีพิจารณาปฏิบัติในเรื่องใด ซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วจะไม่ทำก็ได้ หัวหน้า คสช. หรือนายกรัฐมนตรีอาจขอให้มีการเชิญประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมพิจารณาหรือแก้ไขปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ คสช. มีอำนาจที่จะจัดการในเรื่องต่างๆ ได้ในกรณีจำเป็น โดยไม่ให้เป็นไปตามวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ จึงได้กำหนดไว้ในมาตรา 44 ให้หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. สามารถใช้อำนาจพิเศษสั่งการ ป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และปราบปรามการกระทำอันบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจ หรือราชการแผ่นดิน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายในและนอกราชอาณาจักร หรือหากเกิดกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปและส่งเสริมความสามัคคีของคนในชาติ และเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
บรรณานุกรม
กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม, “แม่น้ำ 5 สาย,” แนวหน้า, (25 กรกฎาคม 2557), 5.
"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 84 ง, 26 พฤษภาคม 2557.
"ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ," ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 181 ง, 15 กันยายน 2557.
“รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.
“รธน.ชั่วคราว 2557 แม่น้ำ 5 สาย-กู้วิกฤตชาติขัดแย้ง,” บ้านเมือง, (24 กรกฎาคม 2557), 3.
“รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับแม่น้ำ 5 สาย,” เดลินิวส์, (24 กรกฎาคม 2557), หน้า 3.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก (22 กรกฎาคม 2557).
“วิษณุ: รธน.ต้นธารแม่น้ำ 5 สาย ขับเคลื่อนประเทศ-กรอบเวลา 1 ปี,” กรุงเทพธุรกิจ, (24 กรกฎาคม 2557), 2.