ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังปารุสกวัน"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' : มานิดา สารพัฒน์ '''ผู้ทรงคุณวุฒิ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 4: | บรรทัดที่ 4: | ||
---- | ---- | ||
วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง | วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ครั้งดำรง[[พระราชอิสริยยศ]]เป็น[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ]] และเป็นที่ประทับของ[[จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] ซึ่งดำรงพระยศเป็นองค์[[รัชทายาท]][[ผู้สืบสันตติวงศ์]]จาก[[สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช]] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||
==ประวัติ== | ==ประวัติ== | ||
เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน | เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และ[[จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร | ||
โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | ||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน | ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน | ||
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจ[[ตามกฎหมายระงับพินัยกรรม]]ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมี[[พระบรมราชโองการ]]ให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | ||
==ลักษณะพระตำหนัก== | ==ลักษณะพระตำหนัก== | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 | วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 | ||
หลังจากที่[[คณะราษฎร]]ได้ทำ[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น | |||
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร | วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธาน[[คณะกรรมการราษฎร]] กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร | ||
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 | วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธาน[[คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] ได้ประกาศใน[[พระปรมาภิไธย]]สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้[[นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับ[[รัฐบุรุษ]]ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอ[[พระราชทานรัฐธรรมนูญ]] และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 | ||
พ.ศ. 2490 – 2501 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล | พ.ศ. 2490 – 2501 [[กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]] ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของ[[รัฐบาล]]เป็นครั้งคราว | ||
ต่อมานายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) | ต่อมานายกรัฐมนตรี [[จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของ[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ที่เข้ามา[[ประชุมรัฐสภา]] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | ||
พ.ศ. 2492 คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย | พ.ศ. 2492 [[คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล]] (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย | ||
พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน | พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่[[คณะรัฐมนตรี]]โดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 | ||
ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน | ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:19, 14 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง : มานิดา สารพัฒน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
วังปารุสกวัน ตั้งอยู่หัวมุมถนนพิษณุโลกตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าศึกษาอย่างมากแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และเป็นที่ประทับของจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งดำรงพระยศเป็นองค์รัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์จากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร
โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิต ทรงพระราชทานตำหนักสวนจิตรลดาแลกเปลี่ยนกับที่บริเวณท่าวาสุกรีของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และโปรดฯ ให้รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกันและรื้อกำแพงที่คั่นกลางออก ส่วนกำแพงที่สร้างใหม่ ทรงให้ประทับรูปจักรและรูปกระบอกซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถไว้ที่ประตูกำแพง
ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน
เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ลักษณะพระตำหนัก
พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก นายเปโรเลวี (BEYROLEYVI) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง
พระตำหนักสวนจิตรลดา (พระตำหนักหลังเหนือ) เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกมีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างวิจิตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ห้องโถงใหญ่ซึ่งคงใช้เป็นท้องพระโรงในสมัยก่อน มีการตกแต่งฝา ประดับด้วยไม้จำหลักลายงดงาม ส่วนชั้นบนปีกด้านใต้เป็นห้องชุดประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร หรือห้องรับรองแขกส่วนพระองค์ ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องชุดดังกล่าวมีการตกแต่งลวดลายบัวที่ฝา ฝ้าเพดาน บานประตูและกรอบประตูอย่างงดงาม
พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้วย
พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน
ความสำคัญ
วังปารุสกวันหลังการเสด็จทิวงคต
ปี พ.ศ. 2463 – 2464 หลังจากที่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ณ ประเทศสิงคโปร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นที่รับรองแขกเมืองที่สำคัญ ๆ หลายครั้ง รวมทั้งได้ซ่อมแซมวังปารุสกวัน เพื่อประกอบพิธีพระราชทานพระสุพรรณบัตรสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2464 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์)
ระหว่างปี พ.ศ. 2470 – 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระตำหนักปรับปรุงสวนบริเวณวังปารุสกวัน และซื้อเครื่องเรือน รวมทั้งพรมที่ใช้ปูพระตำหนักทุกห้องจากต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่ประทับของดุ๊กเดอบรามังค์มกุฎราชกุมารเบลเยี่ยมและพระชายา และเป็นที่รับรอง ฯพณฯ ปอล เรโนด์ เสนาบดีว่าการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการราษฎร กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับรัฐบุรุษผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
พ.ศ. 2490 – 2501 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของรัฐบาลเป็นครั้งคราว
ต่อมานายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2492 คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย
พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่คณะรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495
ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
1. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัย ประชาธิปไตย. ริเวอร์ บุ๊คส์: กรุงเทพ, 2554.
2. ทัศนา ทัศนมิตร. “วัง” มรดกกรุงรัตนโกสินทร์. ดอกหญ้ากรุ๊ป: กรุงเทพฯ, 2549.
บรรณานุกรม
1. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า.เกิดวังปารุสก์ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์, 2554.
2. บุญชัย ใจเย็น. 15 พระราชวังสำคัญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2554.
3. บุญรักษ์ นาครัตน์ และปัทมาวดี ทัศนาญชลี. วังปารุสกวัน. กรุงเทพฯ : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, 2539.
4. ทัศนา ทัศนมิตร. “วัง” มรดกกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป, 2549