ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานผ่านฟ้าลีลาศ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานที่เชื่อมถนนราชดำเนินกลางที่ตรงป้อมมหากาฬกับถนนราชดำเนินนอก โดยข้ามคลองบางลำพูหรือคลองรอบกรุง ถ้าเดินมาจาก[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]จะเห็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ทางด้านขวามือ ที่พระบรมราชาอนุสาวรีย์[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประดิษฐานอยู่ เมื่อเดินข้ามสะพานจากถนนราชดำเนินกลางไปยังถนนราชดำเนินนอกก็จะเห็นตึกของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ที่หัวมุมทางขวามือ ที่บริเวณถนนตรงนี้จะมีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางพอสมควรเพียงแต่ในเวลาปกติก็จะมีรถยนต์วิ่งกันขวักไขว่ไปมา และที่บริเวณลานที่ว่านี้พวกที่ชุมนุมประท้วงทางการเมืองมักจะยึดและปิดการเดินรถ ใช้เป็นที่ชุมนุม[[ประท้วง]] อันเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดการประท้วงของประชาชน และการใช้กำลังปราบปรามจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ขยายตัวเป็นการจลาจล เผาอาคารสถานที่ทำการราชการทั้งสถานีตำรวจนางเลิ้ง ทั้งสถานีดับเพลิงภูเขาทอง ตลอดจนวกกลับไปอีกปลายด้านหนึ่งของถนนราชดำเนินกลางก็คือการเผากรมประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ “[[พฤษภาทมิฬ]]”
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานที่เชื่อมถนนราชดำเนินกลางที่ตรงป้อมมหากาฬกับถนนราชดำเนินนอก โดยข้ามคลองบางลำพูหรือคลองรอบกรุง ถ้าเดินมาจาก[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]จะเห็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ทางด้านขวามือ ที่พระบรมราชาอนุสาวรีย์[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประดิษฐานอยู่ เมื่อเดินข้ามสะพานจากถนนราชดำเนินกลางไปยังถนนราชดำเนินนอกก็จะเห็นตึกของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ที่หัวมุมทางขวามือ ที่บริเวณถนนตรงนี้จะมีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางพอสมควรเพียงแต่ในเวลาปกติก็จะมีรถยนต์วิ่งกันขวักไขว่ไปมา และที่บริเวณลานที่ว่านี้พวกที่ชุมนุมประท้วงทางการเมืองมักจะยึดและปิดการเดินรถ ใช้เป็นที่ชุมนุม[[ประท้วง]] อันเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดการประท้วงของประชาชน และการใช้กำลังปราบปรามจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ขยายตัวเป็นการจลาจล เผาอาคารสถานที่ทำการราชการทั้งสถานีตำรวจนางเลิ้ง ทั้งสถานีดับเพลิงภูเขาทอง ตลอดจนวกกลับไปอีกปลายด้านหนึ่งของถนนราชดำเนินกลางก็คือการเผากรมประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ “[[พฤษภาทมิฬ]]”


การจะเข้าใจเรื่อง “พฤษภาทมิฬ” นั้นก็จำเป็นที่จะต้องย้อนไปดูตั้งแต่การยึดอำนาจล้ม[[รัฐบาล]]ของ[[นายกรัฐมนตรี]] [[พล.อ. ชาติชาย  ชุณหะวัณ]] ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ของ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] หรือ [[รสช.]] ที่มี[[พลเอก สุนทร  คงสมพงษ์]] เป็นหัวหน้าและมี [[พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้นำสำคัญ ล้มรัฐบาลเดิมโดยหาว่านักการเมืองพัวพันกับ “[[การคอร์รัปชั่น]]” และจัดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็มีเสียงของประชาชนแสดงความไม่พอใจเกรงว่าคณะผู้ยึดอำนาจจะสืบทอดตำแหน่งและอำนาจโดยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางผู้นำทหารอย่าง พล.อ.สุจินดา คราประยูร  ก็ได้ยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การจะเข้าใจเรื่อง “พฤษภาทมิฬ” นั้นก็จำเป็นที่จะต้องย้อนไปดูตั้งแต่การยึดอำนาจล้ม[[รัฐบาล]]ของ[[นายกรัฐมนตรี]] [[ชาติชาย  ชุณหะวัณ|พล.อ. ชาติชาย  ชุณหะวัณ]] ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ของ[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] หรือ [[รสช.]] ที่มี[[พลเอก สุนทร  คงสมพงษ์]] เป็นหัวหน้าและมี [[พล.อ.สุจินดา คราประยูร]] ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้นำสำคัญ ล้มรัฐบาลเดิมโดยหาว่านักการเมืองพัวพันกับ “[[การคอร์รัปชั่น]]” และจัดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็มีเสียงของประชาชนแสดงความไม่พอใจเกรงว่าคณะผู้ยึดอำนาจจะสืบทอดตำแหน่งและอำนาจโดยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางผู้นำทหารอย่าง พล.อ.สุจินดา คราประยูร  ก็ได้ยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ครั้น[[เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เสร็จ [[พรรคการเมือง]]ที่ลงเลือกตั้งและได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับหนึ่งก็ได้เสนอชื่อ[[หัวหน้าพรรค]]ของตนเพื่อจะให้สภาผู้แทนเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แต่มีแรงบีบจากฝ่ายคุมกำลังของทหาร ทำให้[[พรรคการเมือง]]ที่รวมเสียงได้มากกว่าครึ่งต้องมาเสนอผู้นำทหารในกองทัพให้ลาออกจากกองทัพมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล เผชิญกับนักการเมือง[[ฝ่ายค้าน]]ในสภาและขบวนการประชาธิปไตยที่ไม่เห็นด้วยกับวิถีทางการเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้ และนี้ก็คือการเริ่มต้นของปัญหา เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ยอมรับการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535
ครั้น[[เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เสร็จ [[พรรคการเมือง]]ที่ลงเลือกตั้งและได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับหนึ่งก็ได้เสนอชื่อ[[หัวหน้าพรรค]]ของตนเพื่อจะให้สภาผู้แทนเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แต่มีแรงบีบจากฝ่ายคุมกำลังของทหาร ทำให้[[พรรคการเมือง]]ที่รวมเสียงได้มากกว่าครึ่งต้องมาเสนอผู้นำทหารในกองทัพให้ลาออกจากกองทัพมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล เผชิญกับนักการเมือง[[ฝ่ายค้าน]]ในสภาและขบวนการประชาธิปไตยที่ไม่เห็นด้วยกับวิถีทางการเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้ และนี้ก็คือการเริ่มต้นของปัญหา เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ยอมรับการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535
บรรทัดที่ 13: บรรทัดที่ 13:
พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเสียง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]สนับสนุนเกินครึ่งสภาได้เพียงวันเดียว ยังไม่ทันจะตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]]ก็มีผู้ประท้วงโดยการอดข้าวทันทีในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ได้ประกาศอดข้าวไปจนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเสียง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]สนับสนุนเกินครึ่งสภาได้เพียงวันเดียว ยังไม่ทันจะตั้ง[[คณะรัฐมนตรี]]ก็มีผู้ประท้วงโดยการอดข้าวทันทีในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ได้ประกาศอดข้าวไปจนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง


ต่อจากนั้นมาอีกวันหนึ่ง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 [[พลตรีจำลอง ศรีเมือง]] นายทหารนอกราชการที่ออกไปเล่นการเมืองเป็นหัวหน้า[[พรรคพลังธรรม]]และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร [[กรุงเทพมหานคร]] ได้เปิดปราศรัยต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีพรรคฝ่ายค้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมหนุน พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีมาร่วมประท้วง ทั้งยังมีกลุ่มนักวิชาการ [[คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย]] และ[[สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]]เข้าร่วมเป็นแนวร่วมคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร อย่างเต็มที่ การต่อต้านได้เว้นช่วงเวลาสงกรานต์ในเมืองไทยไปเพียงระยะเวลาไม่กี่วัน
ต่อจากนั้นมาอีกวันหนึ่ง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 [[จำลอง ศรีเมือง|พลตรีจำลอง ศรีเมือง]] นายทหารนอกราชการที่ออกไปเล่นการเมืองเป็นหัวหน้า[[พรรคพลังธรรม]]และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร [[กรุงเทพมหานคร]] ได้เปิดปราศรัยต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีพรรคฝ่ายค้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมหนุน พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีมาร่วมประท้วง ทั้งยังมีกลุ่มนักวิชาการ [[คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย]] และ[[สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]]เข้าร่วมเป็นแนวร่วมคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร อย่างเต็มที่ การต่อต้านได้เว้นช่วงเวลาสงกรานต์ในเมืองไทยไปเพียงระยะเวลาไม่กี่วัน


หลังวันหยุดสงกรานต์ ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันนัดประชุมวันแรกของสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัด[[พรรคฝ่ายค้าน]] 4 พรรคก็พร้อมใจกันแต่งชุดดำไว้ทุกข์เข้าสภา อ้างกันว่าแสดงถึงการไว้ทุกข์ให้กับความไม่เป็นประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนของพรรคพลังธรรมถึงกับถือตะเกียงเข้าสภา เพื่อแสดงว่ามีความมืดเกิดขึ้น
หลังวันหยุดสงกรานต์ ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันนัดประชุมวันแรกของสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัด[[พรรคฝ่ายค้าน]] 4 พรรคก็พร้อมใจกันแต่งชุดดำไว้ทุกข์เข้าสภา อ้างกันว่าแสดงถึงการไว้ทุกข์ให้กับความไม่เป็นประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนของพรรคพลังธรรมถึงกับถือตะเกียงเข้าสภา เพื่อแสดงว่ามีความมืดเกิดขึ้น
บรรทัดที่ 21: บรรทัดที่ 21:
รัฐบาลตั้งได้เพียง 3 วัน กลุ่มผู้ประท้วงก็สามารถจูงใจคนจำนวนมากได้ร่วมแสนคนมาชุมนุมประท้วงที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] ผู้นำการประท้วงได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกสภาและการสืบทอดอำนาจของ รสช. อย่างรุนแรง แต่รัฐบาลก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยกำหนดวันที่จะเข้าแถลงนโยบายการบริหาราชการแผ่นดินต่อสภาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
รัฐบาลตั้งได้เพียง 3 วัน กลุ่มผู้ประท้วงก็สามารถจูงใจคนจำนวนมากได้ร่วมแสนคนมาชุมนุมประท้วงที่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] ผู้นำการประท้วงได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกสภาและการสืบทอดอำนาจของ รสช. อย่างรุนแรง แต่รัฐบาลก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยกำหนดวันที่จะเข้าแถลงนโยบายการบริหาราชการแผ่นดินต่อสภาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535


เมื่อทางผู้ประท้วงทราบวันแถลงนโยบายที่สภาของรัฐบาลอย่างแน่ชัดแล้ว ผู้นำการประท้วงที่สำคัญ คือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีประชาชนนิยมมากในกรุงเทพมหานคร ก็ดำเนินการรุกที่สำคัญโดยตัวเองเริ่มนั่งอดข้าวประท้วงที่หน้ารัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนวันประชุมสภาเพื่อ[[แถลงนโยบายของรัฐบาล]]หนึ่งวัน เดิมนั้นมีเพียงการอดข้าวของ[[เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร]] ซึ่งยังเรียกคนสนับสนุนได้ไม่มากพอเมื่อพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาอดอาหารและไม่ยอมพูดหากแต่ใช้วิธีเขียนหนังสือแทน ปรากฏว่าได้มีประชาชนจำนวนมากมาร่วมให้กำลังใจในการอดข้าวประท้วงของพลตรี จำลอง ศรีเมือง การอดข้าวประท้วงของทั้งพลตรีจำลอง ศรีเมือง และเรือตรีฉลาด วรฉัตร ได้มีอยู่ตลอดไประหว่างที่รัฐบาลแถลงนโยบายในสภา ดังที่บทนำหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เสนอเรื่องไว้ในบทนำมีความส่วนหนึ่งว่า
เมื่อทางผู้ประท้วงทราบวันแถลงนโยบายที่สภาของรัฐบาลอย่างแน่ชัดแล้ว ผู้นำการประท้วงที่สำคัญ คือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีประชาชนนิยมมากในกรุงเทพมหานคร ก็ดำเนินการรุกที่สำคัญโดยตัวเองเริ่มนั่งอดข้าวประท้วงที่หน้ารัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนวันประชุมสภาเพื่อ[[แถลงนโยบายของรัฐบาล]]หนึ่งวัน เดิมนั้นมีเพียงการอดข้าวของ[[ฉลาด วรฉัตร|เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร]] ซึ่งยังเรียกคนสนับสนุนได้ไม่มากพอเมื่อพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาอดอาหารและไม่ยอมพูดหากแต่ใช้วิธีเขียนหนังสือแทน ปรากฏว่าได้มีประชาชนจำนวนมากมาร่วมให้กำลังใจในการอดข้าวประท้วงของพลตรี จำลอง ศรีเมือง การอดข้าวประท้วงของทั้งพลตรีจำลอง ศรีเมือง และเรือตรีฉลาด วรฉัตร ได้มีอยู่ตลอดไประหว่างที่รัฐบาลแถลงนโยบายในสภา ดังที่บทนำหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เสนอเรื่องไว้ในบทนำมีความส่วนหนึ่งว่า


“นับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันนี้ และเวลาที่ตัวนายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายอยู่ในรัฐสภานั้น ที่หน้ารัฐสภาก็มีฝูงชนจำนวนมากคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ และทั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับหัวหน้าพรรคและบุคคลอื่น ๆ พากันนั่งและยอมอดข้าวเป็นการประท้วงอยู่หน้าสภา ซึ่งเชื่อกันว่าการประท้วงและการคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร จะคงมีต่อเนื่องไป”
“นับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันนี้ และเวลาที่ตัวนายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายอยู่ในรัฐสภานั้น ที่หน้ารัฐสภาก็มีฝูงชนจำนวนมากคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ และทั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับหัวหน้าพรรคและบุคคลอื่น ๆ พากันนั่งและยอมอดข้าวเป็นการประท้วงอยู่หน้าสภา ซึ่งเชื่อกันว่าการประท้วงและการคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร จะคงมีต่อเนื่องไป”
บรรทัดที่ 43: บรรทัดที่ 43:
ขณะที่ทางถนนราชดำเนินกลางพอจะเบาบางลงไป แต่ก็มีซากปรักหักพังของอาคาร ซากรถยนต์ที่ถูกไฟเผา รอยเลือดและรอยกระสุน ทหารอาจควบคุมสถานการณ์ที่ถนนราชดำเนินได้ แต่การรวมตัวของผู้ประท้วงที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เริ่มมาจากวันที่ 19 พฤษภาคมกลับมีคนมาร่วมมากขึ้น จำนวนคนจากหมื่นเป็นแสนและกว่านั้น และสนามหลวงเองก็ยังเป็นจุดหมายที่ผู้ประท้วงจะเรียกคนมาชุมนุมกันอีก ข้ามมาถึงเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แม้รัฐบาลจะใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายไปมาก มีคนประเมินว่าไม่น่าน้อยกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทางรัฐบาลจึงประกาศ “[[เคอร์ฟิว]]” ในตอนค่ำ กำหนดห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาล ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. การประกาศห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาลที่เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ยิ่งทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองยังอยู่ในห่วงอันตราย ไม่ทราบว่าทางรัฐบาลจะจัดการอย่างไรกับผู้ชุมนุมประท้วงที่ยังพร้อมที่ประท้วงต่อไป
ขณะที่ทางถนนราชดำเนินกลางพอจะเบาบางลงไป แต่ก็มีซากปรักหักพังของอาคาร ซากรถยนต์ที่ถูกไฟเผา รอยเลือดและรอยกระสุน ทหารอาจควบคุมสถานการณ์ที่ถนนราชดำเนินได้ แต่การรวมตัวของผู้ประท้วงที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เริ่มมาจากวันที่ 19 พฤษภาคมกลับมีคนมาร่วมมากขึ้น จำนวนคนจากหมื่นเป็นแสนและกว่านั้น และสนามหลวงเองก็ยังเป็นจุดหมายที่ผู้ประท้วงจะเรียกคนมาชุมนุมกันอีก ข้ามมาถึงเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แม้รัฐบาลจะใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายไปมาก มีคนประเมินว่าไม่น่าน้อยกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทางรัฐบาลจึงประกาศ “[[เคอร์ฟิว]]” ในตอนค่ำ กำหนดห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาล ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. การประกาศห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาลที่เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ยิ่งทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองยังอยู่ในห่วงอันตราย ไม่ทราบว่าทางรัฐบาลจะจัดการอย่างไรกับผู้ชุมนุมประท้วงที่ยังพร้อมที่ประท้วงต่อไป


แต่ในดึกของคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนจะถึงเวลาเที่ยงคืนเพียง 30 นาที รายการโทรทัศน์ก็เปลี่ยนมาเป็นรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ที่ทุกช่องประกาศออกรายการเดียวกัน ท่ามกลางความวิตกกังวลของมวลประชาชน ภาพที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็คือ [[นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] [[ประธานองคมนตรี]] และ[[พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์]] องคมนตรี ได้นำ พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง  ศรีเมือง เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายที่เผชิญหน้ากัน ให้หันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยบ้านเมืองให้เกิดสันติสุข
แต่ในดึกของคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนจะถึงเวลาเที่ยงคืนเพียง 30 นาที รายการโทรทัศน์ก็เปลี่ยนมาเป็นรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ที่ทุกช่องประกาศออกรายการเดียวกัน ท่ามกลางความวิตกกังวลของมวลประชาชน ภาพที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็คือ [[สัญญา ธรรมศักดิ์|นายสัญญา ธรรมศักดิ์]] [[ประธานองคมนตรี]] และ[[เปรม  ติณสูลานนท์|พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์]] องคมนตรี ได้นำ พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง  ศรีเมือง เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายที่เผชิญหน้ากัน ให้หันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยบ้านเมืองให้เกิดสันติสุข


การที่ตัวแทนของผู้ขัดแย้งเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และรับที่จะมาแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีตามมา ปรากฏว่าเข้าตรู่วันรุ่งขึ้น วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนก็ได้รับการปล่อยตัวทันที โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ทางด้านพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 5 พรรค ซึ่งแต่เดิมก็ไม่เห็นด้วยในข้อเสนอแก้ไข[[รัฐธรรมนูญ]] 4 ประเด็น ที่ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ ก็มีท่าทีเปลี่ยนไปยอมรับที่จะให้มีการแก้ไขได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด โดยเฉพาะประเด็นที่นายกรัฐมนตรีที่จะต้องมาจาก[[การเลือกตั้ง]]นั้นก็จะขอให้มีบทเฉพาะกาลให้มีเวลาอยู่ต่อไปอีก 2 ปี แต่วันถัดมาพรรคร่วมรัฐบาลเองก็ปรับท่าทีใหม่ที่จะยอมให้มีการแก้  รัฐธรรมนูญทั้ง 4 ประเด็น โดยไม่ต้องมีเวลาตามบทเฉพาะกาลแต่อย่างใด และยังได้ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้นำเข้าระเบียบวาระที่จะประชุมพิจารณาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พอถึงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทางรัฐบาลก็[[ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรม]]ใน[[เหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535]]  
การที่ตัวแทนของผู้ขัดแย้งเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และรับที่จะมาแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีตามมา ปรากฏว่าเข้าตรู่วันรุ่งขึ้น วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนก็ได้รับการปล่อยตัวทันที โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ทางด้านพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 5 พรรค ซึ่งแต่เดิมก็ไม่เห็นด้วยในข้อเสนอแก้ไข[[รัฐธรรมนูญ]] 4 ประเด็น ที่ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ ก็มีท่าทีเปลี่ยนไปยอมรับที่จะให้มีการแก้ไขได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด โดยเฉพาะประเด็นที่นายกรัฐมนตรีที่จะต้องมาจาก[[การเลือกตั้ง]]นั้นก็จะขอให้มีบทเฉพาะกาลให้มีเวลาอยู่ต่อไปอีก 2 ปี แต่วันถัดมาพรรคร่วมรัฐบาลเองก็ปรับท่าทีใหม่ที่จะยอมให้มีการแก้  รัฐธรรมนูญทั้ง 4 ประเด็น โดยไม่ต้องมีเวลาตามบทเฉพาะกาลแต่อย่างใด และยังได้ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้นำเข้าระเบียบวาระที่จะประชุมพิจารณาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พอถึงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทางรัฐบาลก็[[ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรม]]ใน[[เหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535]]  


จากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่ลาออกจากตำแหน่งทางทหารมารับตำแหน่งการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลายเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนตลอดมาถึง 48 วัน และการประท้วงของผู้คนทั้งหลายก็ยุติลง รัฐบาลที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาขณะนั้นจึงเป็นรัฐบาลที่มีรองนายกรัฐมนตรี [[นายมีชัย ฤชุพันธ์]] ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล
จากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่ลาออกจากตำแหน่งทางทหารมารับตำแหน่งการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลายเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนตลอดมาถึง 48 วัน และการประท้วงของผู้คนทั้งหลายก็ยุติลง รัฐบาลที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาขณะนั้นจึงเป็นรัฐบาลที่มีรองนายกรัฐมนตรี [[มีชัย ฤชุพันธ์|นายมีชัย ฤชุพันธ์]] ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล


[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 17:03, 6 ตุลาคม 2557

ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นสะพานที่เชื่อมถนนราชดำเนินกลางที่ตรงป้อมมหากาฬกับถนนราชดำเนินนอก โดยข้ามคลองบางลำพูหรือคลองรอบกรุง ถ้าเดินมาจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะเห็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ทางด้านขวามือ ที่พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ เมื่อเดินข้ามสะพานจากถนนราชดำเนินกลางไปยังถนนราชดำเนินนอกก็จะเห็นตึกของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ที่หัวมุมทางขวามือ ที่บริเวณถนนตรงนี้จะมีพื้นที่เป็นลานกว้างขวางพอสมควรเพียงแต่ในเวลาปกติก็จะมีรถยนต์วิ่งกันขวักไขว่ไปมา และที่บริเวณลานที่ว่านี้พวกที่ชุมนุมประท้วงทางการเมืองมักจะยึดและปิดการเดินรถ ใช้เป็นที่ชุมนุมประท้วง อันเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดการประท้วงของประชาชน และการใช้กำลังปราบปรามจนเกิดการบาดเจ็บล้มตาย ขยายตัวเป็นการจลาจล เผาอาคารสถานที่ทำการราชการทั้งสถานีตำรวจนางเลิ้ง ทั้งสถานีดับเพลิงภูเขาทอง ตลอดจนวกกลับไปอีกปลายด้านหนึ่งของถนนราชดำเนินกลางก็คือการเผากรมประชาสัมพันธ์ กรมสรรพากร และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่เรียกกันว่าเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ

การจะเข้าใจเรื่อง “พฤษภาทมิฬ” นั้นก็จำเป็นที่จะต้องย้อนไปดูตั้งแต่การยึดอำนาจล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ที่มีพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้าและมี พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้นำสำคัญ ล้มรัฐบาลเดิมโดยหาว่านักการเมืองพัวพันกับ “การคอร์รัปชั่น” และจัดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็มีเสียงของประชาชนแสดงความไม่พอใจเกรงว่าคณะผู้ยึดอำนาจจะสืบทอดตำแหน่งและอำนาจโดยเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางผู้นำทหารอย่าง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ก็ได้ยืนยันว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ครั้นเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เสร็จ พรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งและได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับหนึ่งก็ได้เสนอชื่อหัวหน้าพรรคของตนเพื่อจะให้สภาผู้แทนเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แต่มีแรงบีบจากฝ่ายคุมกำลังของทหาร ทำให้พรรคการเมืองที่รวมเสียงได้มากกว่าครึ่งต้องมาเสนอผู้นำทหารในกองทัพให้ลาออกจากกองทัพมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล เผชิญกับนักการเมืองฝ่ายค้านในสภาและขบวนการประชาธิปไตยที่ไม่เห็นด้วยกับวิถีทางการเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้ และนี้ก็คือการเริ่มต้นของปัญหา เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ยอมรับการเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535

พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุนเกินครึ่งสภาได้เพียงวันเดียว ยังไม่ทันจะตั้งคณะรัฐมนตรีก็มีผู้ประท้วงโดยการอดข้าวทันทีในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ได้ประกาศอดข้าวไปจนกว่าจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง

ต่อจากนั้นมาอีกวันหนึ่ง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 พลตรีจำลอง ศรีเมือง นายทหารนอกราชการที่ออกไปเล่นการเมืองเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ได้เปิดปราศรัยต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีพรรคฝ่ายค้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมหนุน พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีมาร่วมประท้วง ทั้งยังมีกลุ่มนักวิชาการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นแนวร่วมคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร อย่างเต็มที่ การต่อต้านได้เว้นช่วงเวลาสงกรานต์ในเมืองไทยไปเพียงระยะเวลาไม่กี่วัน

หลังวันหยุดสงกรานต์ ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันนัดประชุมวันแรกของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคฝ่ายค้าน 4 พรรคก็พร้อมใจกันแต่งชุดดำไว้ทุกข์เข้าสภา อ้างกันว่าแสดงถึงการไว้ทุกข์ให้กับความไม่เป็นประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนของพรรคพลังธรรมถึงกับถือตะเกียงเข้าสภา เพื่อแสดงว่ามีความมืดเกิดขึ้น

แม้จะมีการประท้วง นายกรัฐมนตรี พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็จัดตั้งคณะรัฐมนตรีได้เรียบร้อยมีประกาศออกมาในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 มีรัฐมนตรีที่เป็นนักวิชาการ และผู้ที่มิใช่นักการเมืองและมีผู้ที่คนชอบเข้าร่วมด้วย แต่ก็รวมทั้งนักการเมืองที่ประชาชนไม่ชอบอยู่ในรัฐบาลด้วยเหมือนกัน

รัฐบาลตั้งได้เพียง 3 วัน กลุ่มผู้ประท้วงก็สามารถจูงใจคนจำนวนมากได้ร่วมแสนคนมาชุมนุมประท้วงที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ผู้นำการประท้วงได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนนอกสภาและการสืบทอดอำนาจของ รสช. อย่างรุนแรง แต่รัฐบาลก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยกำหนดวันที่จะเข้าแถลงนโยบายการบริหาราชการแผ่นดินต่อสภาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

เมื่อทางผู้ประท้วงทราบวันแถลงนโยบายที่สภาของรัฐบาลอย่างแน่ชัดแล้ว ผู้นำการประท้วงที่สำคัญ คือ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีประชาชนนิยมมากในกรุงเทพมหานคร ก็ดำเนินการรุกที่สำคัญโดยตัวเองเริ่มนั่งอดข้าวประท้วงที่หน้ารัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนวันประชุมสภาเพื่อแถลงนโยบายของรัฐบาลหนึ่งวัน เดิมนั้นมีเพียงการอดข้าวของเรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร ซึ่งยังเรียกคนสนับสนุนได้ไม่มากพอเมื่อพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาอดอาหารและไม่ยอมพูดหากแต่ใช้วิธีเขียนหนังสือแทน ปรากฏว่าได้มีประชาชนจำนวนมากมาร่วมให้กำลังใจในการอดข้าวประท้วงของพลตรี จำลอง ศรีเมือง การอดข้าวประท้วงของทั้งพลตรีจำลอง ศรีเมือง และเรือตรีฉลาด วรฉัตร ได้มีอยู่ตลอดไประหว่างที่รัฐบาลแถลงนโยบายในสภา ดังที่บทนำหนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ได้เสนอเรื่องไว้ในบทนำมีความส่วนหนึ่งว่า

“นับแต่วันแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งถึงวันนี้ และเวลาที่ตัวนายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายอยู่ในรัฐสภานั้น ที่หน้ารัฐสภาก็มีฝูงชนจำนวนมากคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ และทั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับหัวหน้าพรรคและบุคคลอื่น ๆ พากันนั่งและยอมอดข้าวเป็นการประท้วงอยู่หน้าสภา ซึ่งเชื่อกันว่าการประท้วงและการคัดค้านการเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอก สุจินดา คราประยูร จะคงมีต่อเนื่องไป”

การคาดคะเนของสื่อสารมวลชนที่ยกมานี้ไม่ได้ผิดคาดแต่อย่างใด เพราะการประท้วงรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือนายกรัฐมนตรีที่มาจากผู้นำคณะยึดอำนาจ รสช. ได้ขยายวงออกไปมากขึ้น โดยย้ายจากหน้ารัฐสภามาสู่สนามหลวง มาสู่ถนนราชดำเนินกลาง ผู้ร่วมประท้วงนั้นมาจากหลายกลุ่มทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านที่ผู้นำสำคัญคือ พลตรี จำลอง ศรีเมือง และจากกลุ่มนิสิต นักศึกษา สมาพันธ์ประชาธิปไตย และกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นต้น

ตั้งแต่เที่ยงวันของวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แกนนำกลุ่มผู้ประท้วงได้เตรียมการ กันที่บริเวณท้องสนามหลวง เพราะนัดหมายชุมนุมผู้ประท้วงในตอนเย็น ปรากฏว่านิสิต นักศึกษา ประชาชน ได้มาร่วมชุมนุมด้วยเป็นจำนวนมากเป็นเรือนแสน ประมาณว่าน่าจะใกล้เคียงกับ 5 แสนคน และได้ประกาศเรียกร้องให้พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งภายในเวลา 3 ทุ่ม ของคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ผู้ประท้วงได้เตรียมเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารตรึงกำลังอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าฯ ที่จะไม่ยอมให้ผู้ประท้วงเดินทางผ่านไปได้

การเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงที่มีธงชาติไทยโบกสะพัดมาในแนวหน้าได้มาถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และขอให้ทางเจ้าหน้าที่ของรัฐเปิดทางให้ แต่การเจรจาไม่สำเร็จ ผู้ประท้วงจึงพากันเดินฝ่าแนวกั้นของตำรวจและทหาร จนตำรวจใช้รถฉีดน้ำเน่าที่สูบจากคลองใส่ประชาชน เพื่อสกัดกั้นทำให้มีการปะทะตีกัน โดยประชาชนได้ขว้างปาวัตถุที่หาได้ทั้งหินและไม้ปากลับไปที่ตำรวจ ทั้งได้รุมกันเข้ายึดรถดับเพลิงเอามาฉีดน้ำเน่าใส่ตำรวจบ้าง จนถึงประมาณ 5 ทุ่ม ความชุลมุนที่กลุ่มผู้ประท้วงจึงเงียบสงบลง แต่ก็มีเหตุการณ์แทรกซ้อน คือ มีผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งทางหน้ากรมโยธาธิการเดิม (ซึ่งปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ที่ประกอบด้วยคนวัยหนุ่มที่มีจำนวนไม่มากนัก แต่ปฏิบัติการคล่องแคล่วว่องไวได้ก่อความรุนแรงยั่วยุตำรวจ และพากันบุกเข้าไปในสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จนมีการเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทางกลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดย พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมในการเผาโรงพักตำรวจด้วยแต่อย่างใด

ในช่วงเวลาที่วุ่นวายและสับสนนี้ ทางรัฐบาลก็ประกาศภาวะฉุกเฉิน เมื่อเวลา 03.00 น. รุ่งเช้าวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ประชาชนในกรุงเทพฯที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณผ่านฟ้าลีลาศและราชดำเนิน จึงเพิ่งจะได้รับรู้ถึงการจลาจลในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม และการประกาศภาวะฉุกเฉินของรัฐบาล อันเป็นการแสดงว่ารัฐบาลคิดใช้กำลังทหารและตำรวจเข้าปราบปรามและสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทำให้มีคนบาดเจ็บและล้มตายลงบ้างแล้ว

การประกาศภาวะฉุกเฉินและมีการใช้กำลังทหารและตำรวจเข้าสะกัดการชุมนุมและบังคับให้ผู้ชุมนุมสลายตัวได้สงบเงียบไปในตอนสายของวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทางรัฐบาลรวมทั้งนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกมาชี้แจงถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องสลายการชุมนุม เพราะมีผู้ชุมนุมทำร้ายเจ้าหน้าที่และเผาสถานที่ราชการ แต่การชุมนุมของประชาชนก็ยังไม่สลายไป จริงอยู่จำนวนผู้คนอาจลดลงในตอนเช้าบ้างและการที่พลตรี จำลอง ศรีเมือง กับผู้นำการชุมนุมอีกหลายคนยังยืนหยัดที่จะชุมนุมเรียกร้องต่อไปพร้อมกับปฏิเสธการกระทำของผู้ใช้ความรุนแรงว่าไม่ได้มาจากกลุ่มผู้ชุมนุมของตน จึงอาจเป็นกลุ่มอื่นที่มา “สร้างสถานการณ์” ขึ้นในขณะเดียวกันก็มีเสียงเรียกร้องจากสถาบันอุดมศึกษาของประเทศโดยผู้บริหารได้ร่วมใจกันออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลอย่าใช้กำลังเข้าปราบปราบประชาชนอย่างรุนแรง ให้หาทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี

ทางรัฐบาลเห็นว่าหลังการประกาศภาวะฉุกเฉินและแม้จะมีการใช้กำลังขั้นแรกในการป้องปรามแล้วแต่ยังสลายการชุมนุมไม่ได้ จึงได้สั่งใช้กำลังทหารเพื่อสลายการชุมนุมในถนนราชดำเนินกลางทั้งหมด การปฏิบัติการครั้งนี้ตั้งใจที่จะดำเนินการในตอนกลางวัน ก่อนที่ผู้ร่วมชุมนุมจะกลับเพิ่มขึ้นในตอนเย็น เพราะเชื่อว่าผู้ชุมนุมครั้งนี้มีผู้ที่มาร่วมในตอนเย็นและกลับออกไปในตอนดึกหรือตอนเช้าอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อถึงเวลาประมาณบ่าย 3 โมงของวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 หลังจากที่ปิดล้อมถนนราชดำเนินกลางจากวงล้อมด้านนอกแล้ว กองกำลังทหารซึ่งมีรถหุ้มเกราะด้วยก็เคลื่อนตัวเข้ากวาดจับผู้ชุมนุมทันที มีการใช้อาวุธปืนยิงด้วยโดยเป็นเวลาที่ผู้ชุมนุมคาดไม่ถึงว่ากองกำลังของรัฐบาลจะปฏิบัติการในเวลาดังกล่าว และการปฏิบัติการของทหารช่วงนี้เองที่จับกุมตัว พลตรี จำลอง ศรีเมือง ได้โดย พลตรี จำลอง ศรีเมือง เห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ จึงชูมือตะโกนบอกให้ทหารมาจับตนไปคนเดียว ขณะที่นอนราบปนอยู่กับฝูงชน มีผู้เล่าว่าพลตรีจำลอง ร้องว่า “อย่าทำร้ายประชาชน จับผมไปคนเดียว”

วันนี้จึงเป็นวันที่ทหารจับ พลตรี จำลอง ศรีเมือง นิสิต นักศึกษา และประชาชน จำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารและรถเมล์ ส่งตัวไปกักขังที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ผู้ที่ถูกจับกุมในวันนี้มีจำนวนเป็นพันคนเลยทีเดียว

แม้จะจับ พลตรี จำลอง ศรีเมือง และผู้คนจำนวนพันไปได้แล้ว การกวาดล้างและจับกุมก็ยังไม่ยุติ ประชาชนเองก็ถอยไปตามถนนราชดำเนินกลาง จากสะพานผ่านฟ้าฯ ผ่านลานมหาเจษฎาบดินทร์ ร่นไปถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปที่สี่แยกคอกวัว ไปที่กองสลากและกรมประชาสัมพันธ์ และโรงแรมรัตนโกสินทร์ กำลังทหารก็ตามไป การกวาดล้างและการปะทะกันในวันนี้ได้นำไปสู่การเผากรมประชาสัมพันธ์หลังใหม่และอาคารใกล้เคียง ที่น่าจะทำให้รัฐบาลเองต้องคิดหนักคือประชาชนยังไม่สลายตัวหนีหายไป แม้จะเห็นผู้ถูกยิงบาดเจ็บและล้มตายไปต่อหน้าก็ตาม ที่น่าสังเกตก็คือมีกลุ่มจักรยานยนต์ ประมาณได้ไม่ต่ำกว่าร้อยคันเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วก่อความวุ่นวายให้เกิดความลำบากแก่ทางฝ่ายรัฐบาลและช่วยเป็นกำลังหนุนทางฝ่ายผู้ประท้วง ความวุ่นวายและการใช้กำลังเข้าปราบปรามในบริเวณถนนราชดำเนินกลางยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

ขณะที่ทางถนนราชดำเนินกลางพอจะเบาบางลงไป แต่ก็มีซากปรักหักพังของอาคาร ซากรถยนต์ที่ถูกไฟเผา รอยเลือดและรอยกระสุน ทหารอาจควบคุมสถานการณ์ที่ถนนราชดำเนินได้ แต่การรวมตัวของผู้ประท้วงที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เริ่มมาจากวันที่ 19 พฤษภาคมกลับมีคนมาร่วมมากขึ้น จำนวนคนจากหมื่นเป็นแสนและกว่านั้น และสนามหลวงเองก็ยังเป็นจุดหมายที่ผู้ประท้วงจะเรียกคนมาชุมนุมกันอีก ข้ามมาถึงเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แม้รัฐบาลจะใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายไปมาก มีคนประเมินว่าไม่น่าน้อยกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทางรัฐบาลจึงประกาศ “เคอร์ฟิว” ในตอนค่ำ กำหนดห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาล ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. การประกาศห้ามประชาชนออกจากบ้านในยามวิกาลที่เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ยิ่งทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองยังอยู่ในห่วงอันตราย ไม่ทราบว่าทางรัฐบาลจะจัดการอย่างไรกับผู้ชุมนุมประท้วงที่ยังพร้อมที่ประท้วงต่อไป

แต่ในดึกของคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อนจะถึงเวลาเที่ยงคืนเพียง 30 นาที รายการโทรทัศน์ก็เปลี่ยนมาเป็นรายการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ที่ทุกช่องประกาศออกรายการเดียวกัน ท่ามกลางความวิตกกังวลของมวลประชาชน ภาพที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็คือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ได้นำ พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายที่เผชิญหน้ากัน ให้หันหน้าเข้าหากันเพื่อช่วยบ้านเมืองให้เกิดสันติสุข

การที่ตัวแทนของผู้ขัดแย้งเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และรับที่จะมาแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีตามมา ปรากฏว่าเข้าตรู่วันรุ่งขึ้น วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ผู้ชุมนุมที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนก็ได้รับการปล่อยตัวทันที โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ทางด้านพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 5 พรรค ซึ่งแต่เดิมก็ไม่เห็นด้วยในข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ประเด็น ที่ทางพรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ ก็มีท่าทีเปลี่ยนไปยอมรับที่จะให้มีการแก้ไขได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด โดยเฉพาะประเด็นที่นายกรัฐมนตรีที่จะต้องมาจากการเลือกตั้งนั้นก็จะขอให้มีบทเฉพาะกาลให้มีเวลาอยู่ต่อไปอีก 2 ปี แต่วันถัดมาพรรคร่วมรัฐบาลเองก็ปรับท่าทีใหม่ที่จะยอมให้มีการแก้ รัฐธรรมนูญทั้ง 4 ประเด็น โดยไม่ต้องมีเวลาตามบทเฉพาะกาลแต่อย่างใด และยังได้ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้นำเข้าระเบียบวาระที่จะประชุมพิจารณาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พอถึงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ทางรัฐบาลก็ออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535

จากนั้นในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ที่ลาออกจากตำแหน่งทางทหารมารับตำแหน่งการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกลายเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนตลอดมาถึง 48 วัน และการประท้วงของผู้คนทั้งหลายก็ยุติลง รัฐบาลที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาขณะนั้นจึงเป็นรัฐบาลที่มีรองนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธ์ ทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล