ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสร้างดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' บุญเลิศ คชายุทธเดช (ช้างใหญ่)
'''ผู้เรียบเรียง''' บุญเลิศ คชายุทธเดช (ช้างใหญ่)


บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 15:
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญทุกฉบับยังบัญญัติไว้ด้วยว่า สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามี อำนาจควบคุม[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนี้
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญทุกฉบับยังบัญญัติไว้ด้วยว่า สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามี อำนาจควบคุม[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนี้


ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ยกเว้นบางฉบับ ใช้คำว่า เป็นของ แล้วตามด้วยข้อความว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ประกอบกับในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้ ให้ความหมาย ประชาธิปไตยหมายถึงประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ]] และจะมีความเป็นอยู่ที่ดีจากการดูแลของผู้ปกครองประเทศที่มาจาก[[การเลือกตั้ง]] รวมทั้งให้ความหมาย ของอำนาจอธิปไตย หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ [[อำนาจนิติบัญญัติ]](รัฐสภา) [[อำนาจบริหาร]](รัฐบาล) [[อำนาจตุลากา]](ศาล) โดยทั้ง 3อำนาจนั้นมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งจะเป็นอิสระและจะถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทั้ง 3อำนาจนี้จะนำมาซี่ง ความจำเริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนคนไทย  
ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ยกเว้นบางฉบับ ใช้คำว่า เป็นของ แล้วตามด้วยข้อความว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ประกอบกับในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้ ให้ความหมาย ประชาธิปไตยหมายถึงประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนจะได้รับการคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ]] และจะมีความเป็นอยู่ที่ดีจากการดูแลของผู้ปกครองประเทศที่มาจาก[[การเลือกตั้ง]] รวมทั้งให้ความหมาย ของอำนาจอธิปไตย หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ [[อำนาจนิติบัญญัติ]](รัฐสภา) [[อำนาจบริหาร]](รัฐบาล) [[อำนาจตุลาการ]](ศาล) โดยทั้ง 3อำนาจนั้นมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งจะเป็นอิสระและจะถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทั้ง 3อำนาจนี้จะนำมาซี่ง ความจำเริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนคนไทย  


แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มีเพียงอำนาจตุลาการซึ่งใช้อำนาจในพระปรมาภิไธยเ ท่านั้นที่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาถรรถคดี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภากลับ ตกเป็นเบี้ยล่างของอำนาจบริหารหรือรัฐบาลมาโดยตลอด  
แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มีเพียงอำนาจตุลาการซึ่งใช้อำนาจในพระปรมาภิไธยเ ท่านั้นที่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาถรรถคดี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภากลับ ตกเป็นเบี้ยล่างของอำนาจบริหารหรือรัฐบาลมาโดยตลอด  
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 39:




สมาชิกวุฒิสภาในอดีตที่มาจากการแต่งตั้งของ[[นายกรัฐมนตรี]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ แม้รัฐธรรมนูญจะถือเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและ การกลั่นกรองกฏหมาย ในการทำหน้าที่จึงยึดโยงอยู่กับรัฐบาล คอยปกป้องและสนับสนุนรัฐบาลไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ครั้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงและให้เป็นอิสระในการทำหน้าที่ แต่เมื่อการเลือกตั้งยังต้องใช้เงิน และต้องมีสมัครพรรคพวกจาก[[นักการเมือง]] แล[[ะหัวคะแนน]] การควบคุมการเลือกตั้งของ[[คณะกรรมการการ เลือกตั้ง]]ไม่มีประสิทธิภาพทำให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองและสุดท้ายก็เปลี่ยน จากสภาสูงไปเป็นสภาตกต่ำที่ประชาชนเสื่อมศรัทธา  
สมาชิกวุฒิสภาในอดีตที่มาจากการแต่งตั้งของ[[นายกรัฐมนตรี]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ แม้รัฐธรรมนูญจะถือเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและ การกลั่นกรองกฏหมาย ในการทำหน้าที่จึงยึดโยงอยู่กับรัฐบาล คอยปกป้องและสนับสนุนรัฐบาลไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ครั้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงและให้เป็นอิสระในการทำหน้าที่ แต่เมื่อการเลือกตั้งยังต้องใช้เงิน และต้องมีสมัครพรรคพวกจาก[[นักการเมือง]] และ[[หัวคะแนน]] การควบคุมการเลือกตั้งของ[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ไม่มีประสิทธิภาพทำให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองและสุดท้ายก็เปลี่ยน จากสภาสูงไปเป็นสภาตกต่ำที่ประชาชนเสื่อมศรัทธา  


เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ จึงต้องพิจารณาทบทวนว่า การให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการ เลือกตั้งโดยไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง หรือการเมืองท้องถิ่น ในทางปฏิบัติจะทำได้อย่างไร นอกจากนี้ในการเลือกตั้งที่จะให้ได้รับชัยชนะ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ลงสมัครจะต้องมีญาต พวกพ้อง เครือข่าย เงิน และอื่นๆ ทั้งจะต้องสมบุกสมบันในการที่จะทำให้ชาวบ้านรู้จัก ยอมรับและพร้อมจะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ซึ่งคนๆเดียวที่จะลงสมัคร จะทำได้อย่างไร จะหาเงินมาใช้จ่ายจากไหน และจะนำเสนออะไรให้ประชาชน รับรู้ นี่คือความเป็นจริงที่ใครไม่มีประสบการณ์ตรงอาจไม่รู้พิษสงของการเลือกตั้ง  
เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ จึงต้องพิจารณาทบทวนว่า การให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการ เลือกตั้งโดยไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง หรือการเมืองท้องถิ่น ในทางปฏิบัติจะทำได้อย่างไร นอกจากนี้ในการเลือกตั้งที่จะให้ได้รับชัยชนะ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ลงสมัครจะต้องมีญาต พวกพ้อง เครือข่าย เงิน และอื่นๆ ทั้งจะต้องสมบุกสมบันในการที่จะทำให้ชาวบ้านรู้จัก ยอมรับและพร้อมจะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ซึ่งคนๆเดียวที่จะลงสมัคร จะทำได้อย่างไร จะหาเงินมาใช้จ่ายจากไหน และจะนำเสนออะไรให้ประชาชน รับรู้ นี่คือความเป็นจริงที่ใครไม่มีประสบการณ์ตรงอาจไม่รู้พิษสงของการเลือกตั้ง  

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:35, 19 เมษายน 2554

ผู้เรียบเรียง บุญเลิศ คชายุทธเดช (ช้างใหญ่)


การสร้างดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร

การก่อกำเนิดรัฐสภา การยึดอำนาจรัฐเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นประชาธิปไตย โดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ประกาศใช้ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน สยามชั่วคราว วันที่ 27 มิถุนายน 2475 ตั้งสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด หรืออำนาจอธิปไตย แทนราษฎรร่วมกับ กษัตริย์ คณะกรรมการราษฎร และศาล (มาตรา2) มีอำนาจหน้าที่ออกพระราช บัญญัติทั้งหลาย ดูแล ควบคุมกิจการของประเทศและมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎรหรือ พนักงานรัฐบาลผู้ใดผู้หนึ่ง (มาตรา8-9) และที่สำคัญ สภาผู้แทน สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะกรรมการราษฎร หรือนายกรัฐมนตรี และให้ความเห็นชอบต่อการแต่งตั้งกรรมการหรือรัฐมนตรี ทำให้รัฐบาลระบบรัฐสภา การดำรงอยู่ การดำเนินงานและการสิ้นสุดของรัฐบาลขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎรเป็นสำคัญ กล่าวเฉพาะ รัฐสภาที่คณะราษฎรตั้งขึ้นเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร แต่มี สมาชิก 2 ประเภท คือมาจากการเลือกตั้งของราษฎรและการแต่งตั้ง กระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ได้เริ่มนำระบบ 2 สภามาใช้อย่างจริงจัง โดยสภาสูง เรียกว่า “พฤฒิสภา” และสภาล่าง คือ สภาผู้แทนราษฎร จากนั้นมา รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับพ.ศ.2489,2492,2511,2521และ2534 ส่วนใหญ่จะสนับสนุนระบบ 2 สภา โดยวัตถุประสงค์ ของการให้มีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี นอกจากกลั่นกรองกฎหมายที่ส่งจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ยังใช้เป็น “พี่เลี้ยง” ที่คอยสนับสนุนค้ำจุนรัฐบาลให้มีความมั่นคงอีกด้วย มีเพียงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพียงฉบับเดียวในระบอบ 65 ปีนับแต่เปลี่ยน แปลงการปกครองที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยถือเอาจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง


ปัญหารัฐสภาไทย

ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เคยใช้กันมาซึ่ง สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและวุฒิสภามา จากการแต่งตั้ง รวมทั้งให้มาจากการเลือกตั้ง ดังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะบัญญัติไว้ชัดเจนว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและต้องปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งก่อนเข้ารับหน้าที่ จะต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกด้วยถ้อยคำว่า “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฎิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของ ปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยทุกประการ”

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญทุกฉบับยังบัญญัติไว้ด้วยว่า สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามี อำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนี้

ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย ยกเว้นบางฉบับ ใช้คำว่า เป็นของ แล้วตามด้วยข้อความว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ประกอบกับในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ได้ ให้ความหมาย ประชาธิปไตยหมายถึงประชาชนเป็นใหญ่ ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และจะมีความเป็นอยู่ที่ดีจากการดูแลของผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งให้ความหมาย ของอำนาจอธิปไตย หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ(รัฐสภา) อำนาจบริหาร(รัฐบาล) อำนาจตุลาการ(ศาล) โดยทั้ง 3อำนาจนั้นมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งจะเป็นอิสระและจะถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทั้ง 3อำนาจนี้จะนำมาซี่ง ความจำเริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนคนไทย

แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มีเพียงอำนาจตุลาการซึ่งใช้อำนาจในพระปรมาภิไธยเ ท่านั้นที่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิพากษาถรรถคดี ในขณะที่อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภากลับ ตกเป็นเบี้ยล่างของอำนาจบริหารหรือรัฐบาลมาโดยตลอด

การเสียดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารได้สร้างปัญหาทางการเมืองการ ปกครองจนเกิดวิกฤตขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า หากปล่อยให้ปัญหานี้ดำรงคงอยู่โดยไม่มีการแก้ไข การเมืองไทยก็จะล้มลุกคลุกคลานไม่มีที่สิ้นสุดและฉุดรั้งไม่ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า


ปัญหาการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร

ตามทฤษฎีและอุดมการณ์ประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรเป็นสถาบันตัวแทนประชาชน เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชน เป็นสภาที่มีอำนาจสูงสุดในการออกฎหมายและควบคุมฝ่ายรัฐบาล เพราะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ในทางการเมือง สภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ทำหน้าที่ให้ สมกับการเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง สาเหตุสำคัญ

ประการแรก ในการเลือกตั้งนั้น ผู้ลงสมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง หากเป็นพรรคใหญ่ที่มี นโยบายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ผู้นำพรรคมีบารมี มีชื่อเสียง มีเงินมาก และผู้บริหารสนับสนุน ผู้สมัครอย่างเต็มที่ ลงไปช่วยปราศรัยหาเสียง เมื่อชนะการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนนั้นย่อม สำนึกในหนี้บุญคุณของผู้บริหารพรรคที่ทุ่มเทจนตนได้รับเลือกตั้งมากกว่าจะสำนึกในหนี้บุญคุณของ ประชาชนที่ไปลงคะแนนเลือก ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครกันบ้างที่ไปหย่อนบัตรลงคะแนน

ยิ่งในช่วงเลือกตั้งมีการใช้เงินหรือระหว่างที่ยังไม่เลือกตั้ง นักการเมืองได้ใช้เงินของพรรคหรือ แม้แต่ใช้เงินของหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้ามุ้ง เมื่อเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมจะตกอยู่ภายใต้ อาณัติของเจ้าของเงิน เจ้าของพรรคตัวจริง ครั้นจะไม่ให้นักการเมืองต้องสังกัดพรรคก็จะเกิดปัญหาอีก อย่างหนึ่ง นั่นคือการไม่ต้องมีข้อผูกมัดกับประชาชนว่า ตัวเองมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างไร เมื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติอย่างไรก็เป็นไปตามใจชอบ และง่ายต่อการขายตัวเพื่อไป สนับสนุนฝ่ายบริหารซึ่งเคยเกิดขึ้นมาในอดีต

ประการที่สอง การแบ่งสภาผู้แทนราษฎรออกเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน โดยสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก(เกินครึ่งหนึ่ง) จะสังกัดพรรคเดียว หรือมากกว่าหนึ่งพรรคย่อมจะแสดง บทบาทในการสนับสนุนฝ่ายบริหารซึ่งผู้บริหารพรรคของตนไปเป็นนายกรัฐมนตรี รองนายกฯและรัฐมนตรี ปล่อยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างน้อยซึ่งเป็นฝ่ายค้านทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ การยื่นญัตติ การตั้งกระทู้ถาม แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเพราะนอกจาก รัฐบาลจะหลบเลี่ยงด้วยชั้นเชิงทางการเมืองแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรครัฐบาลก็จะคอย ทักท้วง ปิดกั้น ขัดขวางการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน เช่นการรีบเสนอให้ปิดอภิปราย การประท้วงไม่ให้ฝ่าย ค้านอภิปราย การตอบโต้แทนรัฐมนตรีทั้งๆที่ไม่มีใช่หน้าที่ที่จะต้องไปทำเช่นนั้น

ประการที่สาม การทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่ใช้การอภิปรายและถือเอามติเสียงข้างมาก ด้วยเหตุที่มีขั้นตอนและกระบวนการมากมายและไม่มีกลไกมารองรับ ส่งผลให้การออกกฎหมายเป็น ไปด้วยความล่าช้า ไม่ทันการณ์ ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การควบคุมรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพในการ แก้ไขปัญหาและเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตล้มเหลว เวทีรัฐสภาแทนที่จะเป็นสภาแห่งชาติมีเกียรติ กลับกลายเป็นเวทีการแสดงละครการเมืองที่มีแต่บททะเลาะกันอยู่ตลอดเวลา


ปัญหาการทำหน้าที่ของวุฒิสภา

สมาชิกวุฒิสภาในอดีตที่มาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ แม้รัฐธรรมนูญจะถือเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยมีอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและ การกลั่นกรองกฏหมาย ในการทำหน้าที่จึงยึดโยงอยู่กับรัฐบาล คอยปกป้องและสนับสนุนรัฐบาลไม่คำนึง ถึงความถูกต้อง ครั้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงและให้เป็นอิสระในการทำหน้าที่ แต่เมื่อการเลือกตั้งยังต้องใช้เงิน และต้องมีสมัครพรรคพวกจากนักการเมือง และหัวคะแนน การควบคุมการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีประสิทธิภาพทำให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองและสุดท้ายก็เปลี่ยน จากสภาสูงไปเป็นสภาตกต่ำที่ประชาชนเสื่อมศรัทธา

เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ จึงต้องพิจารณาทบทวนว่า การให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการ เลือกตั้งโดยไม่ให้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง หรือการเมืองท้องถิ่น ในทางปฏิบัติจะทำได้อย่างไร นอกจากนี้ในการเลือกตั้งที่จะให้ได้รับชัยชนะ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ลงสมัครจะต้องมีญาต พวกพ้อง เครือข่าย เงิน และอื่นๆ ทั้งจะต้องสมบุกสมบันในการที่จะทำให้ชาวบ้านรู้จัก ยอมรับและพร้อมจะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ซึ่งคนๆเดียวที่จะลงสมัคร จะทำได้อย่างไร จะหาเงินมาใช้จ่ายจากไหน และจะนำเสนออะไรให้ประชาชน รับรู้ นี่คือความเป็นจริงที่ใครไม่มีประสบการณ์ตรงอาจไม่รู้พิษสงของการเลือกตั้ง

ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างดุลยภาพ

เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาวางโครงสร้างให้สภาผู้แทนราษฎรมาจาก การเลือกตั้งและไปจัดตั้งรัฐบาลโดยใช้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงส่วนมากเป็นเกณฑ์ ทำให้สภาผู้แทน ราษฎรมีความเกี่ยวพันกับคณะรัฐมนตรีซึ่งทำหน้าที่ในฝ่ายบริหารอย่างชนิดเป็นเนื้อเดียวกัน แยกอย่างไร ก็แยกไม่ออก ตัดเท่าไรก็ตัดไม่ขาด ตลอดทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จะทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายและควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน จะให้สมาชิกสภามาจากไหน หากไม่มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหานี้อย่างถูกวิธี ย่อมไม่มีวันที่จะทำให้อำ นาจนิติบัญญัติสร้างดุลถ่วงอำนาจบริหารได้

ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะ ดังนี้

1. ต้องขจัดการใช้เงินในการเลือกตั้งให้ได้ผลอย่างแท้จริง ไม่เพียงแต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะควบคุมการใช้เงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครในห้วงที่เปิดสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น หากแต่ควรจะ ทอดเวลาล่วงหน้าก่อนเปิดรับสมัครด้วย อาจะ 4 เดือน หรือ 6 เดือนเพื่อมิให้คนมีเงินและอำนาจรัฐใช้เงิน และอำนาจไปเอาเปรียบผู้สมัครที่ไม่ได้มีเงินและไม่มีอำนาจรัฐ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้สมัครแล้วยังสร้าง นิสัยที่ไม่ดีให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ประการสำคัญ การควบคุมการใช้เงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครย่อมทำให้อิทธิพลของผู้ บริหารพรรคที่จะอ้างหนี้บุญคุณแล้วเข้าไปบงการการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด พรรคของตนลดลง

2. ผู้จะเป็นนักการเมืองควรผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันที่จัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อพัฒนา ความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็นนักการเมืองที่ดี ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาลหรือ นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่ใครอยากจะเป็นก็วิ่งไปหาพรรค การเมืองสังกัด พอได้รับเลือกตั้งก็อ้างเป็นความชอบธรรมว่าประชาชนเลือกมา ทั้งๆที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าใจการทำหน้าที่ พรรคการเมืองก็ไม่แนะนำหรือแนะนำก็แนะนำ อย่างผิดๆเอาแต่ประโยชน์เข้าพรรค มิหนำซ้ำยังแสดงบทบาทในการทำลายระบบรัฐสภาให้เป็นที่ เสื่อมศรัทธาของประชาชน ประการสำคัญ การควบคุมคุณธรรม จริยธรรมของนักการเมืองจะต้องทำให้ได้ผล พฤติกรรมที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี แสดงออกทั้งการพูด การอภิปราย กิริยามารยาทที่ขัดทั้งข้อบังคับการประชุมและขัดต่อคุณธรรม จริยธรรม ดังจะปรากฏให้เห็นจากการ ประท้วงเวลามีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีของพรรคฝ่ายค้าน พฤติกรรมนอกรีตนอกรอย ไม่อยู่ในเกณฑ์ของความเป็น “ผู้ดี”เหล่านี้จะต้องถูกลงโทษ

3. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและการควบคุมการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาหรือ คณะรัฐมนตรี

ในทางทฤษฎี ระบอบประชาธิปไตยตั้งอยู่บนหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน รัฐสภาเป็นสถาบันตัวแทนของประชาชน สมาชิกรัฐสภา(สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา)ที่ได้รับ เลือกตั้งเป็นผู้เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยทางด้านนิติบัญญัติ แต่ในความเป็นจริง ประชาชนผู้เป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานหรือทำหน้าที่ของรัฐสภา และไม่อาจควบคุมพฤติกรรมและการทำหน้าที่เท่าที่ควร หลายครั้งได้เกิดปัญหาขัดแย้งขึ้นในบ้านเมือง และบางครั้งปัญหานั้นขยายตัวจนวิกฤตการณ์ก็หาได้ทำให้นักการ เมืองที่ดำรงตำแหน่งต่างๆปรับเปลี่ยน พฤติกรรมหรือรู้สึกแล้วกลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่

3.1 ให้ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายโดยการเข้าชื่อกันเสนอด้วยจำนวนที่ไม่มากเกินไป จนเป็นภาระในการเข้ามีส่วนร่วม เช่น ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 5,000 คนเสนอ ร่างกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่ 50,000 คน ตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และการเข้าชื่อก็ทำได้ง่าย นอกจากนี้ ควรจะให้ประชาชนที่เสนอร่างกฎหมายส่งตัวแทนไม่เกิน 5คน เข้าไปชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างกฎหายในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและเข้าไปเป็น กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการ ที่แล้วมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ปล่อยให้ตัวแทนทำหน้าที่โดย ตัดขาดจากประชาชน ตัวแทนมักจะไม่ใส่ใจต่อประชาชน

3.2 รัฐสภาควรจะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนโดยตรงเพื่อจะได้รับทราบปัญหาและ ข้อเสนอแนะจากเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องรายงานต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง ถึงการบริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอภิปรายแสดงความเห็น แต่รัฐสภากลับไม่ต้องมีหน้าที่รายงาน ถึงการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันรัฐสภาต่อประ ชาชนซึ่งเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้งมา

ข้อเสนอนี้หากสามารถบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้จะเป็นสิ่งที่ดีและจะเป็นการสร้างมิติใหม่ ให้รัฐสภาเชื่อมโยงกับประชาชนอย่างแท้จริง ข้อเสนอแนะของประชาชนที่สะท้อนถึงภาพรวมของการ ใช้อำนาจนิติบัญญัติที่ไม่ได้ดุลกับอำนาจบริหารย่อมจะเกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงแก้ไข และหากเป็นไปได้ องค์กรอิสระต่างๆก็ควรจะให้ประชาชนได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ เป็นรายงานเช่นกัน มิใช่ให้องค์กรอิสระรายงานแต่เฉพาะรัฐสภาเท่านั้น ส่วนจะคัดเลือกประชาชนจากไหน อย่างไรเป็นรายละเอียดที่จะไปพิจารณากันภายหลังซึ่ง มิได้เป็นเรื่องยากอะไร

3.3 ประชาชนควรมีส่วนในการควบคุมพฤติกรรมของนักการเมืองที่ไม่ทำตามอำนาจหน้าที่ ประพฤติตัวเหลวไหล ไร้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรม ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองพิจาณากันเอง ตัดสินกันเองซึ่งจะไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุม

สรุป

การสร้างดุลถ่วงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารเป็นความจำเป็นที่จะต้อง ทำให้มีขึ้น หากปล่อยให้รัฐสภาตกอยู่ในภายใต้การครอบงำและแทรกแซงของรัฐบาลไป เรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาก็จะหมดความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะขัดต้อเจตจำนงของการมีรัฐสภา แล้ว ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกด้วย เพราะโดยหลักแล้ว รัฐสภาต้องควบคุม รัฐบาลให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ประชาชนก็จะเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อขับไล่เอง และในที่สุด รัฐสภาก็จะอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีแกล้งยุบสภาหรือไม่ก็ถูกทหารเข้าปฏิวัติ ยึดอำนาจ