ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอปพลิเคชันคลับเฮาส์กับการเมืองไทย"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในช่วงที่คลับเฮาส์เริ่มเป็นที่รู้จัก ก็ได้มีการเปิดห้องสนทนาจัดโดย WorkpointToday โดยให้บุคคลทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ตอบคำถามหรือสนทนาแลกเปลี่ยน[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]]คลับเฮาส์ยังได้รับความสนใจจากบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, จาตุรนต์ ฉายแสง, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, กรณ์ จาติกวณิช, สมบัติ บุญงามอนงค์ ฯลฯ&nbsp;รวมไปถึงบุคคลฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐ เช่น สมาชิกของพรรคพลังประชารัฐหรือภูมิใจไทย[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในช่วงที่คลับเฮาส์เริ่มเป็นที่รู้จัก ก็ได้มีการเปิดห้องสนทนาจัดโดย WorkpointToday โดยให้บุคคลทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ตอบคำถามหรือสนทนาแลกเปลี่ยน[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]]คลับเฮาส์ยังได้รับความสนใจจากบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, จาตุรนต์ ฉายแสง, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, กรณ์ จาติกวณิช, สมบัติ บุญงามอนงค์ ฯลฯ&nbsp;รวมไปถึงบุคคลฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐ เช่น สมาชิกของพรรคพลังประชารัฐหรือภูมิใจไทย[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากคลับเฮาส์จะได้รับความสนใจจากบุคคลทางการเมืองในไทยแล้ว [[ทักษิณ_ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้ใช้งานคลับเฮาส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการร่วมสนทนาแสดงความเห็นของเขาเป็นที่กล่าวถึงและมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก โดยทักษิณเข้าร่วมสนทนาโดยใช้ชื่อ '''“Tony Woodsome”''' และร่วมสนทนาในห้องที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม CARE ของพรรคเพื่อไทยในหัวข้อว่าด้วย พรรคไทยรักไทยในอดีต ซึ่งเป็นการเข้าร่วมที่ไม่ได้จัดเตรียมมาก่อน[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]]มีผู้ให้ความสนใจเข้าห้องสนทนานี้จำนวนหลักหมื่น ซึ่งต้องเปิดห้องสนทนาเพิ่มเพื่อถ่ายทอดเสียงและรองรับจำนวนคนเข้าร่วมที่มากเกินห้องจะรองรับได้[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากคลับเฮาส์จะได้รับความสนใจจากบุคคลทางการเมืองในไทยแล้ว [[ทักษิณ_ชินวัตร|ทักษิณ_ชินวัตร]] อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้ใช้งานคลับเฮาส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการร่วมสนทนาแสดงความเห็นของเขาเป็นที่กล่าวถึงและมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก โดยทักษิณเข้าร่วมสนทนาโดยใช้ชื่อ '''“Tony Woodsome”''' และร่วมสนทนาในห้องที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม CARE ของพรรคเพื่อไทยในหัวข้อว่าด้วย พรรคไทยรักไทยในอดีต ซึ่งเป็นการเข้าร่วมที่ไม่ได้จัดเตรียมมาก่อน[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]]มีผู้ให้ความสนใจเข้าห้องสนทนานี้จำนวนหลักหมื่น ซึ่งต้องเปิดห้องสนทนาเพิ่มเพื่อถ่ายทอดเสียงและรองรับจำนวนคนเข้าร่วมที่มากเกินห้องจะรองรับได้[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภายหลัง ทักษิณใช้ชื่อว่า โทนี่ วู๊ดซั่ม (Tony Woodsome) ได้นำเสนอความคิดเห็นทางการเมือง นโยบาย รวมถึงการกล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต ผ่านห้องสนทนาคลับเฮาส์ที่จัดขึ้นโดยพรรคเพื่อไทยในครั้งต่อ ๆ มา ซึ่งยังทำให้ทักษิณได้รับการจดจำในชื่อของ '''“โทนี่”''' หรือ '''“ลุงโทนี่”''' ทั้งนี้ การร่วมสนทนาของทักษิณก็ยังถูกท้าทายจากผู้ใช้งานคลับเฮาส์ทั่วไปที่ได้ตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ในอดีต เช่น “[[กรณีตากใบ]]” หรือถามถึงท่าทีต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ท่าทีหรือจุดยืนทางการเมืองของทักษิณถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจำนวนหนึ่ง[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภายหลัง ทักษิณใช้ชื่อว่า โทนี่ วู๊ดซั่ม (Tony Woodsome) ได้นำเสนอความคิดเห็นทางการเมือง นโยบาย รวมถึงการกล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต ผ่านห้องสนทนาคลับเฮาส์ที่จัดขึ้นโดยพรรคเพื่อไทยในครั้งต่อ ๆ มา ซึ่งยังทำให้ทักษิณได้รับการจดจำในชื่อของ '''“โทนี่”''' หรือ '''“ลุงโทนี่”''' ทั้งนี้ การร่วมสนทนาของทักษิณก็ยังถูกท้าทายจากผู้ใช้งานคลับเฮาส์ทั่วไปที่ได้ตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ในอดีต เช่น “[[กรณีตากใบ|กรณีตากใบ]]” หรือถามถึงท่าทีต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ท่าทีหรือจุดยืนทางการเมืองของทักษิณถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจำนวนหนึ่ง[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คลับเฮาส์ยังมีส่วนทำให้เกิดการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือหน่วยงานฝ่ายรัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรณีของ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมสนทนาและตอบคำถามในประเด็นเรื่องการจัดหา-นำเข้าวัคซีน หรือการดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19[[#_ftn19|<sup><sup>[19]</sup></sup>]]หรือ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนอาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์&nbsp;ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ได้เข้าชี้แจงตอบคำถามในประเด็นการจัดสรรวัคซีน แก่ บุคลากรแพทย์และสาธารณสุข[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; คลับเฮาส์ยังมีส่วนทำให้เกิดการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือหน่วยงานฝ่ายรัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรณีของ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมสนทนาและตอบคำถามในประเด็นเรื่องการจัดหา-นำเข้าวัคซีน หรือการดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19[[#_ftn19|<sup><sup>[19]</sup></sup>]]หรือ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนอาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์&nbsp;ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ได้เข้าชี้แจงตอบคำถามในประเด็นการจัดสรรวัคซีน แก่ บุคลากรแพทย์และสาธารณสุข[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]]
บรรทัดที่ 50: บรรทัดที่ 50:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังได้ใช้คลับเฮาส์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ต่างเปิดห้องสนทนาคลับเฮาส์ในโอกาสและหัวข้อต่าง ๆ เช่น พรรคก้าวไกลเปิดห้องสนทนาในหัวข้อการศึกษาไทย[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]]เพื่อนำเสนอถึงเบื้องหลังของการเตรียมข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]]หรือใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงสาเหตุของการลงมติไม่รับรองการจัดสรรงบประมาณงบกลาง ปี 2565[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]]โดยมีสมาชิกพรรคหรือ ส.ส. สังกัดพรรคเข้าร่วมสนทนาในห้อง ในขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ได้ใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงหรือแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น การแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยในเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]]หรือชี้แจงสาเหตุที่พรรคเพื่อไทยรับรองการจัดสรรงบประมาณ ปี 2565[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]]นอกจากนั้น กลุ่ม Care ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย ยังได้จัดห้องสนทนาคลับเฮาส์โดยใช้ชื่อรายการว่า '''“CareTalk X CareClubhouse”''' ซึ่งเชิญ ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมสนทนาแสดงความเห็นในด้านนโยบาย การบริหารจัดการต่าง ๆ หรือพูดคุยถึงการดำเนินงานของรัฐบาลในอดีตอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่ม Care ได้เริ่มจัดรายการในคลับเฮาส์ต่อเนื่องทุกวันอังคารเว้นสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังได้ใช้คลับเฮาส์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ต่างเปิดห้องสนทนาคลับเฮาส์ในโอกาสและหัวข้อต่าง ๆ เช่น พรรคก้าวไกลเปิดห้องสนทนาในหัวข้อการศึกษาไทย[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]]เพื่อนำเสนอถึงเบื้องหลังของการเตรียมข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]]หรือใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงสาเหตุของการลงมติไม่รับรองการจัดสรรงบประมาณงบกลาง ปี 2565[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]]โดยมีสมาชิกพรรคหรือ ส.ส. สังกัดพรรคเข้าร่วมสนทนาในห้อง ในขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ได้ใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงหรือแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น การแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยในเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]]หรือชี้แจงสาเหตุที่พรรคเพื่อไทยรับรองการจัดสรรงบประมาณ ปี 2565[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]]นอกจากนั้น กลุ่ม Care ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย ยังได้จัดห้องสนทนาคลับเฮาส์โดยใช้ชื่อรายการว่า '''“CareTalk X CareClubhouse”''' ซึ่งเชิญ ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมสนทนาแสดงความเห็นในด้านนโยบาย การบริหารจัดการต่าง ๆ หรือพูดคุยถึงการดำเนินงานของรัฐบาลในอดีตอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่ม Care ได้เริ่มจัดรายการในคลับเฮาส์ต่อเนื่องทุกวันอังคารเว้นสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น เช่น [[พรรคกล้า]] ก็ได้เปิดห้องสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและเสนอมาตรการการบริหารจัดการภายใต้ช่วงการระบาดของโรค เช่น มาตรการด้านสาธารณสุข หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย[[#_ftn27|<sup><sup>[27]</sup></sup>]]นอกจากนั้น ยังได้เปิดห้องสนทนาเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารได้นำเสนอถึงปัญหาและนำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งพรรคกล้าได้กล่าวว่าจะสรุปและนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และติดตามเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือต่อไป[[#_ftn28|<sup><sup>[28]</sup></sup>]]ส่วน[[พรรคประชาธิปัตย์]] แม้ไม่ได้มีการใช้คลับเฮาส์ในระดับพรรค แต่ก็ได้มีสมาชิกพรรคได้เข้าเป็นผู้ร่วมเสวนา เช่น ปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ร่วมสนทนาในหัวข้อทางเศรษฐกิจ เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ&nbsp;การลงทุน หรือสกุลเงินคริปโต[[#_ftn29|<sup><sup>[29]</sup></sup>]]หรือ แทนคุณ จิตต์อิสระ ได้ร่วมสนทนาในประเด็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)[[#_ftn30|<sup><sup>[30]</sup></sup>]]นอกจากนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ให้ความสนใจโดยจัดงานเสวนาว่าด้วยโซเชียลมีเดียและคลับเฮาส์ (แต่ไม่ได้สร้างห้องสนทนาบนแอปฯ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่แอปฯ กำลังเป็นที่สนใจจากสังคม[[#_ftn31|<sup><sup>[31]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น เช่น [[พรรคกล้า|พรรคกล้า]] ก็ได้เปิดห้องสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและเสนอมาตรการการบริหารจัดการภายใต้ช่วงการระบาดของโรค เช่น มาตรการด้านสาธารณสุข หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย[[#_ftn27|<sup><sup>[27]</sup></sup>]]นอกจากนั้น ยังได้เปิดห้องสนทนาเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารได้นำเสนอถึงปัญหาและนำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งพรรคกล้าได้กล่าวว่าจะสรุปและนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และติดตามเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือต่อไป[[#_ftn28|<sup><sup>[28]</sup></sup>]]ส่วน[[พรรคประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]] แม้ไม่ได้มีการใช้คลับเฮาส์ในระดับพรรค แต่ก็ได้มีสมาชิกพรรคได้เข้าเป็นผู้ร่วมเสวนา เช่น ปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ร่วมสนทนาในหัวข้อทางเศรษฐกิจ เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ&nbsp;การลงทุน หรือสกุลเงินคริปโต[[#_ftn29|<sup><sup>[29]</sup></sup>]]หรือ แทนคุณ จิตต์อิสระ ได้ร่วมสนทนาในประเด็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)[[#_ftn30|<sup><sup>[30]</sup></sup>]]นอกจากนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ให้ความสนใจโดยจัดงานเสวนาว่าด้วยโซเชียลมีเดียและคลับเฮาส์ (แต่ไม่ได้สร้างห้องสนทนาบนแอปฯ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่แอปฯ กำลังเป็นที่สนใจจากสังคม[[#_ftn31|<sup><sup>[31]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากพรรคการเมืองแล้ว ยังมี กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใช้คลับเฮาส์เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็น เช่น กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้จัดห้องสนทนาเพื่อรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นเดียวกับสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่ได้จัดห้องสนทนาเพื่อพูดคุยถึงข้อเสนอแนะหรือ แนวทางการเคลื่อนไหว[[#_ftn32|<sup><sup>[32]</sup></sup>]]หรือกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] และกลุ่มพลเมืองตื่นรู้ ที่ได้ใช้คลับเฮาส์ เพื่อติดตามหรือถ่ายทอดเสียงการปราศรัยในการชุมนุม[[#_ftn33|<sup><sup>[33]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากพรรคการเมืองแล้ว ยังมี กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใช้คลับเฮาส์เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็น เช่น กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้จัดห้องสนทนาเพื่อรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นเดียวกับสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่ได้จัดห้องสนทนาเพื่อพูดคุยถึงข้อเสนอแนะหรือ แนวทางการเคลื่อนไหว[[#_ftn32|<sup><sup>[32]</sup></sup>]]หรือกลุ่ม[[แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม|แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม]] และกลุ่มพลเมืองตื่นรู้ ที่ได้ใช้คลับเฮาส์ เพื่อติดตามหรือถ่ายทอดเสียงการปราศรัยในการชุมนุม[[#_ftn33|<sup><sup>[33]</sup></sup>]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนั้จะใช้เป็นเวทีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นแล้ว ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีบทบาททั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์ในนาม '''“กลุ่มพลังคลับ”''' หรือ '''“กลุ่มคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย”''' ในช่วงแรก[[#_ftn34|<sup><sup>[34]</sup></sup>]]นำโดย รักชนก ศรีนอก '''“ดาวคลับเฮ้าส์”''' ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักจากบทบาทเด่นในการร่วมแสดงความเห็นในหลายห้องสนทนาและการตั้งคำถามต่อบุคคลสำคัญ[[#_ftn35|<sup><sup>[35]</sup></sup>]]กลุ่มพลังคลับได้ร่วมเคลื่อนไหวกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในการระดมทุน สนับสนุนค่าใช้จ่าย&nbsp;จัดงานกิจกรรม[[#_ftn36|<sup><sup>[36]</sup></sup>]]หรือการเปิดห้องสนทนาพูดคุยในประเด็นทางสังคมและการเมืองต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ในเข้าการยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการตรวจสอบปัญหาการคุมขังแกนนำ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในเรือนจำ เมื่อเดือนมีนาคม 2564[[#_ftn37|<sup><sup>[37]</sup></sup>]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนั้จะใช้เป็นเวทีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นแล้ว ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีบทบาททั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์ในนาม '''“กลุ่มพลังคลับ”''' หรือ '''“กลุ่มคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย”''' ในช่วงแรก[[#_ftn34|<sup><sup>[34]</sup></sup>]]นำโดย รักชนก ศรีนอก '''“ดาวคลับเฮ้าส์”''' ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักจากบทบาทเด่นในการร่วมแสดงความเห็นในหลายห้องสนทนาและการตั้งคำถามต่อบุคคลสำคัญ[[#_ftn35|<sup><sup>[35]</sup></sup>]]กลุ่มพลังคลับได้ร่วมเคลื่อนไหวกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในการระดมทุน สนับสนุนค่าใช้จ่าย&nbsp;จัดงานกิจกรรม[[#_ftn36|<sup><sup>[36]</sup></sup>]]หรือการเปิดห้องสนทนาพูดคุยในประเด็นทางสังคมและการเมืองต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ในเข้าการยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการตรวจสอบปัญหาการคุมขังแกนนำ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในเรือนจำ เมื่อเดือนมีนาคม 2564[[#_ftn37|<sup><sup>[37]</sup></sup>]]
บรรทัดที่ 126: บรรทัดที่ 126:
[[#_ftnref30|[30]]] “[ห้องเสียง] Nitihub Clubhouse: Amnesty เป็นวายร้ายของคนไทยจริงหรือ? และทำไมรัฐไทยต้องใช้กฎหมายปิดปาก NGO,” ''ประชาไท'', (6 ธันวาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://prachatai.com/journal/2021/12/96266 https://prachatai.com/journal/2021/12/96266]. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.
[[#_ftnref30|[30]]] “[ห้องเสียง] Nitihub Clubhouse: Amnesty เป็นวายร้ายของคนไทยจริงหรือ? และทำไมรัฐไทยต้องใช้กฎหมายปิดปาก NGO,” ''ประชาไท'', (6 ธันวาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://prachatai.com/journal/2021/12/96266 https://prachatai.com/journal/2021/12/96266]. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.
</div> <div id="ftn31">
</div> <div id="ftn31">
[[#_ftnref31|[31]]] “ปชป. ดึงกูรู ‘โซเชียลมีเดีย’ ถกประเด็น ‘คลับเฮาส์’ แอพใหม่ยอดฮิต,” ''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'''','' (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/politics/924335 https://www.bangkokbiznews.com/politics/924335]. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.
[[#_ftnref31|[31]]] “ปชป. ดึงกูรู ‘โซเชียลมีเดีย’ ถกประเด็น ‘คลับเฮาส์’ แอพใหม่ยอดฮิต,” ''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์','' (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/politics/924335 https://www.bangkokbiznews.com/politics/924335]. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.
</div> <div id="ftn32">
</div> <div id="ftn32">
[[#_ftnref32|[32]]] เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH, ''Facebook'', (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/462323225216740 https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/462323225216740]. เมื่อวันที่&nbsp; 20 มกราคม 2565; “‘เต้น-บก.ลายจุด’ นัด 5 ก.ย. ชุมนุมแยกอโศก-จัด Clubhouse ออกแบบการต่อสู้,” ''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'', (4 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/news/958350 https://www.bangkokbiznews.com/news/958350]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.
[[#_ftnref32|[32]]] เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH, ''Facebook'', (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/462323225216740 https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/462323225216740]. เมื่อวันที่&nbsp; 20 มกราคม 2565; “‘เต้น-บก.ลายจุด’ นัด 5 ก.ย. ชุมนุมแยกอโศก-จัด Clubhouse ออกแบบการต่อสู้,” ''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์'', (4 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.bangkokbiznews.com/news/958350 https://www.bangkokbiznews.com/news/958350]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.
บรรทัดที่ 146: บรรทัดที่ 146:
[[#_ftnref40|[40]]] “‘คลับเฮาส์’ ดาบสองคม ขนาด ‘ทักษิณ’ ยังเลิ่กลั่ก ภัยร้าย ‘รัฐฯ 0.4’ แก้ไม่ตก,” ''ผู้จัดการออนไลน์''.
[[#_ftnref40|[40]]] “‘คลับเฮาส์’ ดาบสองคม ขนาด ‘ทักษิณ’ ยังเลิ่กลั่ก ภัยร้าย ‘รัฐฯ 0.4’ แก้ไม่ตก,” ''ผู้จัดการออนไลน์''.
</div> <div id="ftn41">
</div> <div id="ftn41">
[[#_ftnref41|[41]]] ตัวอย่าง เช่น &nbsp;Aramsak Bootchoo, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, ''Facebook'', (10 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/949835142419573/ https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/949835142419573/]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “‘โทนี่’ โผล่คลับเห่าอีกแล้ว ! ยุยงคนทำผิดกฎหมาย | ขอชัดชัด | TOP NEWS,” ''YouTube'', (2 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.youtube.com/watch?v=Mc-a9NUxYY8 https://www.youtube.com/watch?v=Mc-a9NUxYY8]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “ฮึ่ม! ล่าตัวคนปากเสีย - ‘แอมมี่’ นัดคลับเห่าป่วน112 | ข่าวมีคม | ช่วง1 | TOP NEWS,” ''YouTube'', (8 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.youtube.com/watch?v=u887_8T3Cos&t=1s https://www.youtube.com/watch?v=u887_8T3Cos&t=1s] เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.
[[#_ftnref41|[41]]] ตัวอย่าง เช่น &nbsp;Aramsak Bootchoo, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, ''Facebook'', (10 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/949835142419573/ https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/949835142419573/]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “‘โทนี่’ โผล่คลับเห่าอีกแล้ว&nbsp;! ยุยงคนทำผิดกฎหมาย | ขอชัดชัด | TOP NEWS,” ''YouTube'', (2 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.youtube.com/watch?v=Mc-a9NUxYY8 https://www.youtube.com/watch?v=Mc-a9NUxYY8]. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “ฮึ่ม! ล่าตัวคนปากเสีย - ‘แอมมี่’ นัดคลับเห่าป่วน112 | ข่าวมีคม | ช่วง1 | TOP NEWS,” ''YouTube'', (8 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก [https://www.youtube.com/watch?v=u887_8T3Cos&t=1s https://www.youtube.com/watch?v=u887_8T3Cos&t=1s] เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.


&nbsp;
&nbsp;
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:07, 19 กรกฎาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ นน ศุภสาร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          การเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ดำเนินสืบเนื่องต่อมานับจากกลาง ปี 2563 มาถึงในช่วงต้น ปี 2564 เป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดของโรคจากไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องปิดสถานที่ราชการ ห้างร้าน ตลอดจนสถานศึกษา มีการระงับการติดต่อเพื่อลดการสัมผัสเสี่ยงติดเชื้อไวรัส ในช่วงเวลาดังกล่าวมีแอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือใหม่คือแอปพลิเคชัน “คลับเฮาส์” (Clubhouse หรือในบางครั้งสะกดว่า “คลับเฮ้าส์”) เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564

          แอปพลิเคชันคลับเฮาส์เป็นโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือที่ใช้สื่อสารกันพร้อม ๆ กันหลายคนได้ โดยเป็นการสื่อสารด้วยเสียงภายในห้องสนทนาที่จัดตั้งขึ้น นอกจากจะได้รับความนิยมในฐานะช่องทางการสนทนาแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อต่าง ๆ ตามความสนใจ คลับเฮาส์ยังเป็นพื้นที่ในการสนทนาใน ประเด็นทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช่น นักการเมืองที่มีชื่อเสียง พรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง ที่ได้พูดคุย แสดงความเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ซึ่งหลายครั้งที่ห้องสนทนาจะได้รับความสนใจในวงกว้างรวมถึงสร้างกระแสที่ส่งผลสะเทือนต่อฝ่ายรัฐบาลได้ด้วยเช่นกัน

 

ที่มาและการใช้งานแอปพลิเคชันคลับเฮาส์

          คลับเฮาส์ (Clubhouse) เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เน้นการสื่อสารผ่านเสียง เปิดให้ใช้งานในช่วงเดือนมีนาคม 2563 แอปพลิเคชันถูกพัฒนาขึ้นโดย โรฮาน เซธ (Rohan Seth) และ พอล เดวิดสัน (Paul Davidson)[1]ซึ่งผู้ใช้งานแอปฯ จะสามารถสร้างห้องสนทนาหรือเข้ารับฟังหรือพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นได้ในห้องสนทนาที่มีผู้สร้างขึ้นได้อย่างอิสระตามความสนใจ โดยได้รับฟังได้เพียงแค่เสียงการสนทนาและไม่เห็นหน้าของผู้พูดหรือผู้เข้าร่วมในห้องรายอื่น ซึ่งถูกมองว่าเป็นข้อดีว่าผู้สนทนาไม่ต้องกังวลกับการสื่อสารแบบสบตากัน (Eye Contact) หรือกังวลกับภาพลักษณ์ที่จะปรากฏ ทำให้ผู้ร่วมสนทนาได้ให้ความสนใจไปที่เนื้อหาเป็นหลัก รวมถึงช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าร่วม[2]การพูดหรือแสดงความเห็นโดยผู้เข้าร่วมจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าภาพ (Host) หรือผู้ดำเนินรายการ (Moderator) หรือผู้ควบคุมดูแลห้องสนทนานั้น ๆ โดยในห้องสนทนาจะแสดงให้เห็นรายชื่อผู้ใช้งานที่กำลังอยู่ในห้อง

          ทั้งนี้ หลักการสำคัญของคลับเฮาส์อีกประการหนึ่ง คือ การสื่อสารในคลับเฮาส์เป็นรูปแบบถ่ายทอดสดและการสนทนาจะไม่ถูกบันทึกไว้ ซึ่งการบันทึกเสียงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เข้าร่วมในห้องสนทนาถือเป็นการละเมิดหลักการให้บริการ[3]โดยผู้ที่จะเข้าใช้งานแอปฯ จะต้องได้รับการเชิญชวน (invite) จากเพื่อนผู้ใช้งานที่เข้าใช้งานก่อนหน้า ซึ่งต้องใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือในการยืนยัน[4]

          วงสนทนาในคลับเฮาส์สามารถเป็นได้ทั้งกลุ่มขนาดเล็กและใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากถึง 3,000 คน โดยมีหัวข้อการสนทนามีหลากหลาย ตั้งแต่ ธุรกิจ การศึกษา ความรัก เพศสภาพและสุขภาวะทางเพศ สุขภาพ ความรัก รวมถึงประเด็นทางการเมือง ซึ่งมีผู้เห็นว่าคลับเฮาส์ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการพูดคุยที่ทำให้ผู้ที่มีความเห็นตรงข้ามกันมองเห็น “ความเป็นมนุษย์” ของอีกฝ่ายในการสื่อสารผ่านเสียง ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีกว่าการแสดงความเห็นด้วยตัวอักษรเพียงอย่างเดียวในพื้นที่ออนไลน์[5]อีกทั้งยังลดความเป็นเสียงของพวกเดียวกัน (echo chamber) เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารในห้องสนทนาได้โดยตรง[6]

          การที่คลับเฮาส์ถูกใช้สื่อสารทางการเมืองนี้เอง ทำให้รัฐบาลจีนได้ห้ามการใช้งานแอปฯ เนื่องจากมีการสนทนาโดยผู้ใช้งานชาวจีน ฮ่องกง และไต้หวันในประเด็นสิทธิเสรีภาพทางการเมือง ปัญหาสิทธิมนุษยชน หรือสถานะของไต้หวัน[7]

          ความนิยมในคลับเฮาส์ยังสัมพันธ์กับการที่บุคคลมีชื่อเสียงในวงการต่าง ๆ ที่ได้ใช้งานและร่วมสนทนากับคนทั่วไป เช่น อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้บริหารบริษัทเทสลา (Tesla) และผู้ก่อตั้ง SpaceX หรือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้งเฟซบุก ไปจนถึงบุคคลในวงการบันเทิงและทางการเมืองจำนวนหนึ่ง ทำให้แอปฯ เป็นที่รู้จักและมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น[8]

          นอกจากนี้ มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ความนิยมของคลับเฮาส์ยังเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเกรงกลัวที่จะตกข่าวหรือความกลัวการตกกระแส (Fear of Missing Out: FOMO) หรือพลาดการรับรู้สิ่งที่เป็นที่ ถึงกันหรือเป็นที่นิยมในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ[9] 

          ทั้งนี้ รูปแบบการสื่อสารของคลับเฮาส์ ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้คนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การทำงานที่บ้าน หรือการรักษาระยะห่าง และการใช้งานสื่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความนิยมในคลับเฮาส์เพิ่มขึ้นอีกด้วย[10]

          ในประเทศไทย คลับเฮาส์เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงเดียวกันกับกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นของคลับเฮาส์ทั่วโลก[11]โดยมีการใช้คลับเฮาส์เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การทำธุรกิจ การลงทุน วิชาการ เล่าประสบการณ์การศึกษาหรือทำงาน หรือสร้างห้องสนทนาที่มีเนื้อหาตลกคลายเครียดรวมไปถึงการพูดคุยในประเด็นทางการเมือง ซึ่งบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ศิลปิน ดารา หรือบุคคลทางการเมืองหลายราย ก็ได้ใช้งานและเข้าร่วมการสนทนาบนแอปฯ

          ในช่วงที่คลับเฮาส์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในช่วงแรกนี้ ได้มีการกล่าวถึงในเชิงขบขันว่าการใช้งานคลับเฮาส์เป็นสิ่งแสดงถึงความ “ทันกระแส” พร้อมกับกระแสนิยมขนมครัวซองต์ การเล่นเซิร์ฟสเก็ต (Surf Skate) และกระแสความสนใจลงทุนในสกุลเงินคริปโต (Cryptocurrency)[12]ที่เป็นกระแสอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

 

คลับเฮาส์กับการเมืองไทย

          การใช้งานแอปพลิเคชันคลับเฮาส์เพื่อพูดคุยในหัวข้อทางการเมืองในไทย เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ โดยเริ่มจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ทั้งบุคคลทางการเมืองและพรรคการเมืองหรือผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ได้ใช้คลับเฮาส์ในการพูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความเห็นต่อรัฐบาล สถาบันกษัตริย์ ไปจนถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ รวมถึงการใช้คลับเฮาส์เพื่อเสวนาวิชาการในประเด็นที่สืบเนื่องกับข้อเรียกร้อง ทางการเมือง ซึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงหรือเป็นหัวข้อในคลับเฮาส์นั้นมีความหลากหลาย เช่น การศึกษา การสาธารณสุข เศรษฐกิจ นโยบาย หรือข้อเรียกร้องปลีกย่อยที่อยู่ในความสนใจของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล บางส่วน รวมไปถึงการเปิดห้องสนทนาทางการเมืองในเชิงขบขัน เช่น การเล่นเป็น “สภาโจ๊ก” ที่ผู้เข้าร่วมได้แสดงบทบาทเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือการวิจารณ์ปัญหาภายในประเทศด้วยการชมแต่มีน้ำเสียงประชดประชัน

          ห้องสนทนาที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงแรก เช่น ห้องสนทนาโดย ปวิน ชัชวาลพงษ์พันธุ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองและผู้ก่อตั้งกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส ที่มีการบรรยายในหัวข้อพระมหากษัตริย์กับสงครามเย็น[13]หรือห้องสนทนาที่พูดคุยกันเรื่อง “ตั๋วช้าง” ภายหลังการอภิปรายโดย รังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล

          ในช่วงที่คลับเฮาส์เริ่มเป็นที่รู้จัก ก็ได้มีการเปิดห้องสนทนาจัดโดย WorkpointToday โดยให้บุคคลทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ตอบคำถามหรือสนทนาแลกเปลี่ยน[14]คลับเฮาส์ยังได้รับความสนใจจากบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, จาตุรนต์ ฉายแสง, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, กรณ์ จาติกวณิช, สมบัติ บุญงามอนงค์ ฯลฯ รวมไปถึงบุคคลฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐ เช่น สมาชิกของพรรคพลังประชารัฐหรือภูมิใจไทย[15]

          นอกจากคลับเฮาส์จะได้รับความสนใจจากบุคคลทางการเมืองในไทยแล้ว ทักษิณ_ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้ใช้งานคลับเฮาส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการร่วมสนทนาแสดงความเห็นของเขาเป็นที่กล่าวถึงและมีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก โดยทักษิณเข้าร่วมสนทนาโดยใช้ชื่อ “Tony Woodsome” และร่วมสนทนาในห้องที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม CARE ของพรรคเพื่อไทยในหัวข้อว่าด้วย พรรคไทยรักไทยในอดีต ซึ่งเป็นการเข้าร่วมที่ไม่ได้จัดเตรียมมาก่อน[16]มีผู้ให้ความสนใจเข้าห้องสนทนานี้จำนวนหลักหมื่น ซึ่งต้องเปิดห้องสนทนาเพิ่มเพื่อถ่ายทอดเสียงและรองรับจำนวนคนเข้าร่วมที่มากเกินห้องจะรองรับได้[17]

          ภายหลัง ทักษิณใช้ชื่อว่า โทนี่ วู๊ดซั่ม (Tony Woodsome) ได้นำเสนอความคิดเห็นทางการเมือง นโยบาย รวมถึงการกล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีต ผ่านห้องสนทนาคลับเฮาส์ที่จัดขึ้นโดยพรรคเพื่อไทยในครั้งต่อ ๆ มา ซึ่งยังทำให้ทักษิณได้รับการจดจำในชื่อของ “โทนี่” หรือ “ลุงโทนี่” ทั้งนี้ การร่วมสนทนาของทักษิณก็ยังถูกท้าทายจากผู้ใช้งานคลับเฮาส์ทั่วไปที่ได้ตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ในอดีต เช่น “กรณีตากใบ” หรือถามถึงท่าทีต่อข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งทำให้ท่าทีหรือจุดยืนทางการเมืองของทักษิณถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจำนวนหนึ่ง[18]

          คลับเฮาส์ยังมีส่วนทำให้เกิดการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือหน่วยงานฝ่ายรัฐ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น กรณีของ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมสนทนาและตอบคำถามในประเด็นเรื่องการจัดหา-นำเข้าวัคซีน หรือการดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19[19]หรือ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนอาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) ที่ได้เข้าชี้แจงตอบคำถามในประเด็นการจัดสรรวัคซีน แก่ บุคลากรแพทย์และสาธารณสุข[20]

          พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังได้ใช้คลับเฮาส์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ต่างเปิดห้องสนทนาคลับเฮาส์ในโอกาสและหัวข้อต่าง ๆ เช่น พรรคก้าวไกลเปิดห้องสนทนาในหัวข้อการศึกษาไทย[21]เพื่อนำเสนอถึงเบื้องหลังของการเตรียมข้อมูลอภิปรายไม่ไว้วางใจ[22]หรือใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงสาเหตุของการลงมติไม่รับรองการจัดสรรงบประมาณงบกลาง ปี 2565[23]โดยมีสมาชิกพรรคหรือ ส.ส. สังกัดพรรคเข้าร่วมสนทนาในห้อง ในขณะที่พรรคเพื่อไทยก็ได้ใช้คลับเฮาส์เพื่อชี้แจงหรือแลกเปลี่ยนความเห็น เช่น การแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยในเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ[24]หรือชี้แจงสาเหตุที่พรรคเพื่อไทยรับรองการจัดสรรงบประมาณ ปี 2565[25]นอกจากนั้น กลุ่ม Care ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย ยังได้จัดห้องสนทนาคลับเฮาส์โดยใช้ชื่อรายการว่า “CareTalk X CareClubhouse” ซึ่งเชิญ ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมสนทนาแสดงความเห็นในด้านนโยบาย การบริหารจัดการต่าง ๆ หรือพูดคุยถึงการดำเนินงานของรัฐบาลในอดีตอย่างเป็นทางการ ซึ่งกลุ่ม Care ได้เริ่มจัดรายการในคลับเฮาส์ต่อเนื่องทุกวันอังคารเว้นสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา[26]

          ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคกล้า ก็ได้เปิดห้องสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและเสนอมาตรการการบริหารจัดการภายใต้ช่วงการระบาดของโรค เช่น มาตรการด้านสาธารณสุข หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย[27]นอกจากนั้น ยังได้เปิดห้องสนทนาเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารได้นำเสนอถึงปัญหาและนำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งพรรคกล้าได้กล่าวว่าจะสรุปและนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และติดตามเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือต่อไป[28]ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ แม้ไม่ได้มีการใช้คลับเฮาส์ในระดับพรรค แต่ก็ได้มีสมาชิกพรรคได้เข้าเป็นผู้ร่วมเสวนา เช่น ปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ร่วมสนทนาในหัวข้อทางเศรษฐกิจ เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การลงทุน หรือสกุลเงินคริปโต[29]หรือ แทนคุณ จิตต์อิสระ ได้ร่วมสนทนาในประเด็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)[30]นอกจากนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ให้ความสนใจโดยจัดงานเสวนาว่าด้วยโซเชียลมีเดียและคลับเฮาส์ (แต่ไม่ได้สร้างห้องสนทนาบนแอปฯ) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่แอปฯ กำลังเป็นที่สนใจจากสังคม[31]

          นอกจากพรรคการเมืองแล้ว ยังมี กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ใช้คลับเฮาส์เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็น เช่น กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้จัดห้องสนทนาเพื่อรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นเดียวกับสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่ได้จัดห้องสนทนาเพื่อพูดคุยถึงข้อเสนอแนะหรือ แนวทางการเคลื่อนไหว[32]หรือกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มพลเมืองตื่นรู้ ที่ได้ใช้คลับเฮาส์ เพื่อติดตามหรือถ่ายทอดเสียงการปราศรัยในการชุมนุม[33]

          นอกจากนั้จะใช้เป็นเวทีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นแล้ว ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีบทบาททั้งในและนอกพื้นที่ออนไลน์ในนาม “กลุ่มพลังคลับ” หรือ “กลุ่มคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย” ในช่วงแรก[34]นำโดย รักชนก ศรีนอก “ดาวคลับเฮ้าส์” ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นที่รู้จักจากบทบาทเด่นในการร่วมแสดงความเห็นในหลายห้องสนทนาและการตั้งคำถามต่อบุคคลสำคัญ[35]กลุ่มพลังคลับได้ร่วมเคลื่อนไหวกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในการระดมทุน สนับสนุนค่าใช้จ่าย จัดงานกิจกรรม[36]หรือการเปิดห้องสนทนาพูดคุยในประเด็นทางสังคมและการเมืองต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวนอกพื้นที่ออนไลน์ในเข้าการยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการตรวจสอบปัญหาการคุมขังแกนนำ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในเรือนจำ เมื่อเดือนมีนาคม 2564[37]

 

ปฏิกิริยาจากฝ่ายรัฐและฝ่ายสนับสนุนรัฐ

          การที่แอปพลิเคชันคลับเฮาส์ถูกใช้สื่อสารโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ ภาพลักษณ์ของคลับเฮาส์ถูกผูกติดเข้ากับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลหรือฝ่ายอนุรักษนิยมได้แสดงความเห็นในทางลบต่อแอปพลิเคชันนี้และการใช้งานแอปฯ เพื่อวิจารณ์การเมือง เช่น การนำเสนอข่าวว่าแอปฯ เป็นตัวการบ่อนทำลายความมั่นคง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ[38]มีความอันตราย[39]หรือแสดงความกังวลว่าจะเป็นพื้นที่ของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล หรือ “ล้มเจ้า”[40]ทั้งยังมีการเรียกแอปพลิเคชันนี้ว่า “คลับเห่า” โดยทั้งจากสื่อและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโดยทั่วไป[41]

 

อ้างอิง

[1] Jomphol Daosukho, “‘Clubhouse’ โซเชียลมีเดียผ่านเสียง มาแรงแค่ไหน,” WorkpointTODAY, (13 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก  https://workpointtoday.com/clubhouse-trending/. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565.

[2] ปณชัย อารีเพิ่มพร, “Clubhouse คืออะไร ทำไมมีแอปฯ ‘ไม่ได้แปลว่าเล่นได้’ แถมร้อนจน Facebook อยากทำตาม,” The Standard, (12 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก  https://thestandard.co/what-is-clubhouse/. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565.

[3] “ผู้ใช้งาน Clubhouse ถูกแบน หลังพบว่านำเสียงออกไปสตรีมนอกแอปพลิเคชัน,” WorkpointTODAY, (23 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/clubhouse-data-spill/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[4] “How To แนะวิธีสมัคร Clubhouse และส่งคำเชิญของ Clubhouse Social Network ผ่านเสียงที่กำลังฮิตในเวลานี้,”สนุกดอทคอม, (15 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.sanook.com/hitech/1522493/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[5]  ปณชัย อารีเพิ่มพร, “Clubhouse คืออะไร ทำไมมีแอปฯ ‘ไม่ได้แปลว่าเล่นได้’ แถมร้อนจน Facebook อยากทำตาม,” The Standard, “รัฐบาลต้องนั่งไม่ติดเพราะ Clubhouse,” โพสต์ทูเดย์, (23 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.posttoday.com/world/646162. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[6] “รัฐบาลต้องนั่งไม่ติดเพราะ Clubhouse,” โพสต์ทูเดย์.

[7] Sopon Supamangmee, “ที่อื่นคุยอะไรกัน? เมื่อ Clubhouse กลายเป็นเวทีใหม่ของการแสดงจุดยืนทางการเมือง,” The MATTER, (26 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://thematter.co/thinkers/have-a-geek-time-thinkers/clubhose-as-a-town-square-test/136657. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[8] Jomphol Daosukho, “‘Clubhouse’ โซเชียลมีเดียผ่านเสียง มาแรงแค่ไหน,” WorkpointTODAY.

[9] “Clubhouse ช่องทางใหม่ของนักการตลาด,” ForeToday, (18 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://foretoday.asia/articles/clubhouse-fomo/. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.

[10] Jomphol Daosukho, “‘Clubhouse’ โซเชียลมีเดียผ่านเสียง มาแรงแค่ไหน,” WorkpointTODAY.

[11] อ้างแล้ว.

[12] ฟอร์มหมาแก่, Facebook, (23 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/formdogold/posts/4236486746375195. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564.

[13] Sopon Supamangmee, “ที่อื่นคุยอะไรกัน? เมื่อ Clubhouse กลายเป็นเวทีใหม่ของการแสดงจุดยืนทางการเมือง,” The MATTER.

[14] อ้างแล้ว.

[15] “workpointTODAY เปิด Clubhouse จัดคิวให้ประชาชน คุยกับนักการเมืองโดยตรง,” WorkpointTODAY,
(17 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/workpointtoday-clubhouse-politicians-meet-people/. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.

[16] “เปิดเบื้องหลังจากใจ ทำไมกลุ่ม CARE ต้องดึง ‘ทักษิณ’ เข้า Clubhouse (มีคลิป),” ไทยรัฐออนไลน์, (29 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/politic/2056360. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[17] อิสสริยา ทองพรามแย้ม, “Clubhouse: ทักษิณ และอดีตรัฐมนตรีหลายคน เปิดเวทีคุยผลงานไม่ถึงชั่วโมง ผู้ฟังนับหมื่น,” บีบีซีไทย, (22 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-56153490. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.

[18] “‘คลับเฮาส์’ ดาบสองคม ขนาด ‘ทักษิณ’ ยังเลิ่กลั่ก ภัยร้าย ‘รัฐฯ 0.4’ แก้ไม่ตก,” ผู้จัดการออนไลน์, (27 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://mgronline.com/daily/detail/9640000019316. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.

[19] “‘อนุทิน’ ร่วมคลับเฮ้าส์ เผย ความรู้สึกรับวัคซีนเข็มแรก - ผู้ว่าฯ สมุทรสาครใกล้หายดีแล้ว, ” สยามรัฐออนไลน์,
(2 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/224075. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565.

[20] “ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีศิริราชฯ แจงผ่านคลับเฮ้าส์ ที่มาฉีกวัคซีนสลับยี่ห้อ,” workpointTODAY, (17 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/prasit-in-clubhouse/. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565.

[21] พรรคก้าวไกล - Move Forward Party, Facebook, (15 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=396154445349915&id=100106918288004. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[22] “สรุปปม ‘งบกลาง’ 16,300 ล้าน ช่วยโควิด ก้าวไกล-เพื่อไทย ดีเบตกลาง Clubhouse,” WorkpointTODAY, (4 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/6-pheuthai-moveforward/. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[23] “สรุปปม ‘งบกลาง’ 16,300 ล้าน ช่วยโควิด ก้าวไกล-เพื่อไทย ดีเบตกลาง Clubhouse,” WorkpointTODAY.

[24] “พรรคเพื่อไทยประเดิม clubhouse วันแรกรับศึกซักฟอก,” MCOT, (17 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก  https://www.mcot.net/view/xAYEBY7i. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[25] “พท. เปิดคลับเฮาส์ยันงบกลาง 1.6 หมื่นล้านแก้โควิด เตือนฝ่าย ปชต. ทะเลาะกันเอง ‘ประยุทธ์’ นั่งยิ้ม,” Voice Online, (4 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/son6bMrfU. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[26] CARE คิด เคลื่อน ไทย, Facebook, (8 ธันวาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/careorth/posts/461330542285308. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[27] “‘พรรคกล้า’ ระดมสมองร่วมกับปชช. ในคลับเฮาส์ แนะรัฐสื่อสารชัดเจน ย้ำ โยกงบช่วยภาคธุรกิจต้องเร่งทำ,” สยามรัฐออนไลน์, (14 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/235626. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[28] “‘พรรคกล้า’ เปิดคลับเฮ้าส์ระดมสมอง ‘กลุ่มร้านอาหาร’ รับมือโควิด ชง 7 ทางออกก่อนตายทั้งระบบ,” สยามรัฐออนไลน์, (5 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/241418. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[29] Prinn Panitchpakdi - ปริญญ์ พานิชภักดิ์, Twitter, (26 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://twitter.com/democratth/status/1419663914724253698. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565; ปริญญ์ พานิชภักดิ์ - Prinn Panitchpakdi, Facebook, (5 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก  https://www.facebook.com/PrinnP/posts/437450214405587. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565.

[30] “[ห้องเสียง] Nitihub Clubhouse: Amnesty เป็นวายร้ายของคนไทยจริงหรือ? และทำไมรัฐไทยต้องใช้กฎหมายปิดปาก NGO,” ประชาไท, (6 ธันวาคม 2564). เข้าถึงจาก https://prachatai.com/journal/2021/12/96266. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.

[31] “ปชป. ดึงกูรู ‘โซเชียลมีเดีย’ ถกประเด็น ‘คลับเฮาส์’ แอพใหม่ยอดฮิต,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์', (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/924335. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565.

[32] เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH, Facebook, (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/462323225216740. เมื่อวันที่  20 มกราคม 2565; “‘เต้น-บก.ลายจุด’ นัด 5 ก.ย. ชุมนุมแยกอโศก-จัด Clubhouse ออกแบบการต่อสู้,” กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, (4 กันยายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/958350. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.

[33] เยาวชนปลดแอก – Free YOUTH, Facebook, (18 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/551177659664629. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565; แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration, Facebook, (1 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/posts/345687300572730. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565.

[34] กลุ่มคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย บุกสภาฯ ยื่น เสรีพิสุทธิ์ สอบข้อเท็จจริงด่วน กรณีความปลอดภัยของผู้ต้องหาในคดีการเมือง,” The Standard, (17 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/clubhouse-group-for-democracy-sereepisuth-political-case-accused-safety/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[35] นภพัฒน์จักษ์ อัตนนท์, “สัมภาษณ์ ‘ไอซ์-รักชนก ศรีนอก’ กับ Clubhouse พื้นที่ปลดปล่อยจริตของการตั้งคำถาม,” WorkpointTODAY, (15 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/rukchanok-srinork-interview/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[36] “กลุ่มพลังคลับจัด Free Concert บน Clubhouse ระดมทุนสมทบองค์กรกฎหมายช่วยเหลือนักกิจกรรม,” The Standard, (3 เมษายน 2564). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/thai-unity-club-free-concert-clubhouse/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565; “กลุ่มพลังคลับ เตรียมจัดงาน ‘ClubFest 2021: ราษฎร Strike Back’ 27-29 ส.ค. นี้,” WorkpointTODAY, (23 สิงหาคม 2564). เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/clubfest2021/. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565.

[37] “กลุ่มคลับเฮ้าส์เพื่อประชาธิปไตย บุกสภาฯ ยื่น เสรีพิสุทธิ์ สอบข้อเท็จจริงด่วน กรณีความปลอดภัยของผู้ต้องหาในคดีการเมือง,” The Standard.

[38] “อัษฎางค์ ชี้ จีนบล็อก Club house แต่ไทยยังปล่อย แก๊งชังเจ้า ทำลายชาติ ขณะ ดร.เสรี แฉเป็นแหล่งปั่น Fake News!?!,” The Truth, (24 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://truthforyou.co/37089/. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565.

[39] “คณะก้าวหน้า ชวน แก๊งสามกีบ ใช้คลับเฮาส์ แอพพลิเคชันสุดอันตราย,” The Truth, (17 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://truthforyou.co/35932/. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565.

[40] “‘คลับเฮาส์’ ดาบสองคม ขนาด ‘ทักษิณ’ ยังเลิ่กลั่ก ภัยร้าย ‘รัฐฯ 0.4’ แก้ไม่ตก,” ผู้จัดการออนไลน์.

[41] ตัวอย่าง เช่น  Aramsak Bootchoo, ใน เครือข่ายสถาบันทิศทางไทย, Facebook, (10 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/groups/545424559527302/posts/949835142419573/. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “‘โทนี่’ โผล่คลับเห่าอีกแล้ว ! ยุยงคนทำผิดกฎหมาย | ขอชัดชัด | TOP NEWS,” YouTube, (2 กรกฎาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=Mc-a9NUxYY8. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565; TOP NEWS, “ฮึ่ม! ล่าตัวคนปากเสีย - ‘แอมมี่’ นัดคลับเห่าป่วน112 | ข่าวมีคม | ช่วง1 | TOP NEWS,” YouTube, (8 พฤศจิกายน 2564). เข้าถึงจาก https://www.youtube.com/watch?v=u887_8T3Cos&t=1s เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565.