ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 33: บรรทัดที่ 33:
==การประชุมในอดีต และผลของการประชุม==
==การประชุมในอดีต และผลของการประชุม==


ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการประชุมกันทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่  การประชุมกันภายในระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก  การประชุมร่วมกันระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน  การประชุมอาเซียนบวกสาม  และการประชุมระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ <ref> ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 46. </ref> ซึ่งในส่วนนี้จะขอพูดถึงเพียงผลของการประชุมกันภายในระหว่างรัฐสมาชิกเท่านั้น
ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการประชุมกันทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่  การประชุมกันภายในระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก  การประชุมร่วมกันระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน  [[การประชุมอาเซียนบวกสาม]] และการประชุมระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ <ref> ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 46. </ref> ซึ่งในส่วนนี้จะขอพูดถึงเพียงผลของการประชุมกันภายในระหว่างรัฐสมาชิกเท่านั้น


4.1 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ณ วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976  ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
4.1 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ณ วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976  ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย
เป็นการประชุมกันระหว่างผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ โดยเป็นการประชุมกันเพื่อหวังจะให้เกิดการร่วมมือและการพัฒนาอาเซียนต่อไป ในการประชุมครั้งนี้มีการลงนามในเอกสาร 3 ฉบับ คือ ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 1 (ASEAN Concord I) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC)  และ ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน <ref> The ASEAN Secretariat. 2014. “The First ASEAN Summit.” < http://www.asean.org/news/item/the-first-asean-summit > (accessed March 18, 2015) </ref>
เป็นการประชุมกันระหว่างผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ โดยเป็นการประชุมกันเพื่อหวังจะให้เกิดการร่วมมือและการพัฒนาอาเซียนต่อไป ในการประชุมครั้งนี้มีการลงนามในเอกสาร 3 ฉบับ คือ [[ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 1]] ([[ASEAN Concord]] I) [[สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC)  และ [[ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน]] <ref> The ASEAN Secretariat. 2014. “The First ASEAN Summit.” < http://www.asean.org/news/item/the-first-asean-summit > (accessed March 18, 2015) </ref>


4.2 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 ณ วันที่ 4-5 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เป็นการประชุมกันเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีอาเซียน  โดยในการประชุมได้เน้นย้ำถึงการร่วมมือกันโดยใช้นโยบายตามปฏิญญาอาเซียน และ ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557. “เขตร้อนต้อนรับอาเซียน.” ตอนที่ 3 การประชุมสุดยอดอาเซียน. (ASEAN SUMMIT). <http://www.tm.mahidol.ac.th/th/asean/ASEAN3.pdf> (accessed March 18, 2015) </ref>
4.2 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 ณ วันที่ 4-5 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เป็นการประชุมกันเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีอาเซียน  โดยในการประชุมได้เน้นย้ำถึงการร่วมมือกันโดยใช้นโยบายตาม[[ปฏิญญาอาเซียน]] และ [[ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน]] <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557. “เขตร้อนต้อนรับอาเซียน.” ตอนที่ 3 การประชุมสุดยอดอาเซียน. (ASEAN SUMMIT). <http://www.tm.mahidol.ac.th/th/asean/ASEAN3.pdf> (accessed March 18, 2015) </ref>


4.3 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 3 ณ วันที่ 14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1987  ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นการประชุมเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งอาเซียน มีการลงนามในปฏิญญามะนิลาเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น ปฏิญญามะนิลาได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ความสัมพันธ์กับประเทศคู่สัญญา (dialogue partners) ความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) และการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน  นอกจากนั้นปฏิญญาฉบับนี้ยังได้แสดงให้เห็นความพยายามสร้างสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองในกัมพูชาโดยคำนึงถึงท่าทีตอบรับในเชิงบวกจากเวียดนาม อีกทั้งการแสดงเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพจากอินโดจีนซึ่งเป็นปัญหาระดับภูมิภาคอีกด้วย <ref>  Manila Declaration Philippines, 15 December 1987 (1987)</ref>
4.3 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 3 ณ วันที่ 14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1987  ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นการประชุมเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งอาเซียน มีการลงนามใน[[ปฏิญญามะนิลา]]เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น ปฏิญญามะนิลาได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ความสัมพันธ์กับประเทศคู่สัญญา (dialogue partners) ความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) และการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน  นอกจากนั้นปฏิญญาฉบับนี้ยังได้แสดงให้เห็นความพยายามสร้างสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองในกัมพูชาโดยคำนึงถึงท่าทีตอบรับในเชิงบวกจากเวียดนาม อีกทั้งการแสดงเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพจากอินโดจีนซึ่งเป็นปัญหาระดับภูมิภาคอีกด้วย <ref>  Manila Declaration Philippines, 15 December 1987 (1987)</ref>


4.4 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ณ วันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ. 1992 ที่สิงคโปร์ มีการลงนามในปฏิญญาอาเซียนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพตามแนวทางของสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเรื่องของการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน และ ร่างกรอบความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน <ref>Singapore Declaration Of 1992 (1992) </ref>
4.4 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ณ วันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ. 1992 ที่สิงคโปร์ มีการลงนามในปฏิญญาอาเซียนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพตามแนวทางของ[[สหประชาชาติ]] นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเรื่องของการก่อตั้ง[[เขตการค้าเสรีอาเซียน]] และ ร่างกรอบความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน <ref>Singapore Declaration Of 1992 (1992) </ref>


4.5 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ณ วันที่  14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ที่กรุงเทพฯ ไทย เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือการที่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับอาเซียน และเป็นครั้งแรกที่พม่า ลาว และกัมพูชาได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์  ซึ่งทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้นำของประเทศในแทบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมประชุมกันครบสิบประเทศ <ref>Closing Statement His Excellency Mr.Vo Van Kiet Prime Minister of the Socialist Republic of Vietnam (1995) </ref> การประชุมครั้งนี้ได้ตั้งความมุ่งหมายที่จะรวมชาติที่เหลือในภูมิภาคให้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน  เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนจึงได้มีการทำปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพ (Bangkok Summit Declaration)  และมีการลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone) และ ในความตกลงเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ASEAN Agreement on Intellectual Property Cooperation)  <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,</ref>
4.5 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ณ วันที่  14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ที่กรุงเทพฯ ไทย เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือการที่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับอาเซียน และเป็นครั้งแรกที่พม่า ลาว และกัมพูชาได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์  ซึ่งทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้นำของประเทศในแทบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมประชุมกันครบสิบประเทศ <ref>Closing Statement His Excellency Mr.Vo Van Kiet Prime Minister of the Socialist Republic of Vietnam (1995) </ref> การประชุมครั้งนี้ได้ตั้งความมุ่งหมายที่จะรวมชาติที่เหลือในภูมิภาคให้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน  เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนจึงได้มีการทำ[[ปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพ]] (Bangkok Summit Declaration)  และมีการลงนามใน[[สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone) และ ในความตกลงเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ASEAN Agreement on Intellectual Property Cooperation)  <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,</ref>


4.6 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 ณ วันที่ 15-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ออกแผนปฏิบัติการฮานอยเพื่อเป็นนโยบายในการก้าวต่อไปของอาเซียน มีการกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020  ตกลงให้มีเขตการลงทุนอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในภูมิภาค  ปรึกษาหารือกันถึงการก่อตั้งมูลนิธิอาเซียน และที่สำคัญคือในการประชุมครั้งนี้ได้มีการรับกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย <ref>  Hanoi  Declaration (1998). </ref>
4.6 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 ณ วันที่ 15-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ออก[[แผนปฏิบัติการฮานอย]]เพื่อเป็นนโยบายในการก้าวต่อไปของอาเซียน มีการกำหนด[[วิสัยทัศน์อาเซียน 2020]] ตกลงให้มีเขตการลงทุนอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในภูมิภาค  ปรึกษาหารือกันถึงการก่อตั้ง[[มูลนิธิอาเซียน]] และที่สำคัญคือในการประชุมครั้งนี้ได้มีการรับกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย <ref>  Hanoi  Declaration (1998). </ref>


4.7 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 ณ วันที่ 5-6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม จากการก่อการร้ายที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ที่ประชุมจึงได้ออกปฏิญญาว่าด้วยการร่วมกันต่อต้านการก่อการร้าย  นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาและเป้าหมายในการดำเนินการรวมตัวกันของอาเซียน หรือที่รู้จักกันในนาม ASEAN Roadmap  และส่งเสริมให้นักธุรกิจเข้าร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยมีมติให้มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนภาคธุรกิจขึ้น <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>
4.7 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 ณ วันที่ 5-6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม จากการก่อการร้ายที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ที่ประชุมจึงได้ออกปฏิญญาว่าด้วยการร่วมกันต่อต้านการก่อการร้าย  นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาและเป้าหมายในการดำเนินการรวมตัวกันของอาเซียน หรือที่รู้จักกันในนาม [[ASEAN Roadmap]] และส่งเสริมให้นักธุรกิจเข้าร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยมีมติให้มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนภาคธุรกิจขึ้น <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>


4.8 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ณ วันที่ 4-5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา กำหนดให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการรวมตัวกันของอาเซียน  มีการทำความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียนเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว  หารือกันในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติตามพิธีสารโตเกียวซึ่งอาเซียนเป็นภาคีนั้น และได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือกันในการต่อต้านการก่อการร้าย  <ref>มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>
4.8 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ณ วันที่ 4-5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา กำหนดให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการรวมตัวกันของอาเซียน  มีการทำความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียนเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว  หารือกันในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติตาม[[พิธีสารโตเกียว]]ซึ่งอาเซียนเป็นภาคีนั้น และได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือกันในการต่อต้านการก่อการร้าย  <ref>มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>


4.9 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ณ วันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย จากที่การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ได้มีการกำหนดความร่วมมือใน 4 ด้านหลัก  ในการประชุมครั้งนี้ได้เปลี่ยนเป็นความร่วมมือในสามเสาหลักของอาเซียนอันได้แก่ การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมการเมืองความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะรวมตัวกันเป็นประชาคมภายในปีค.ศ. 2020  และยังมีการรับรองแผนปฏิบัติประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อใช้เป็นนโยบายในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป <ref>  ณรงค์ โพธิ์ พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 50. </ref>
4.9 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ณ วันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย จากที่การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ได้มีการกำหนดความร่วมมือใน 4 ด้านหลัก  ในการประชุมครั้งนี้ได้เปลี่ยนเป็นความร่วมมือในสามเสาหลักของอาเซียนอันได้แก่ การก่อตั้ง[[ประชาคมเศรษฐกิจ]] [[ประชาคมการเมืองความมั่นคง]] และ[[ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม]] ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะรวมตัวกันเป็นประชาคมภายในปี ค.ศ. 2020  และยังมีการรับรอง[[แผนปฏิบัติการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน]] เพื่อใช้เป็นนโยบายในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป <ref>  ณรงค์ โพธิ์ พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 50. </ref>


4.10 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ณ วันที่ 29-30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ที่เวียงจันทน์ ลาว มีการรับรองแผนปฏิบัติการ 3 ฉบับ ได้แก่ แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน  และแผนปฏิบัติการประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาของอาเซียนอีกด้วย <ref> The ASEAN Secretariat. 2014. “Tenth ASEAN Summit , Vientiane, 29-30 November 2004.” List of Document to be Adopted. <http://www.asean.org/news/item/list-of-document-to-be-adopted> (accessed March 18, 2015)</ref>
4.10 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ณ วันที่ 29-30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ที่เวียงจันทน์ ลาว มีการรับรองแผนปฏิบัติการ 3 ฉบับ ได้แก่ [[แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์]] [[ แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน]] และ[[แผนปฏิบัติการประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียน]] นอกจากนี้ยังมีการลงนามใน[[กรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาของอาเซียน]]อีกด้วย <ref> The ASEAN Secretariat. 2014. “Tenth ASEAN Summit , Vientiane, 29-30 November 2004.” List of Document to be Adopted. <http://www.asean.org/news/item/list-of-document-to-be-adopted> (accessed March 18, 2015)</ref>


4.11 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 ณ วันที่ 12-14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ด้วยการร่วมลงนามกันในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ทำให้มีข้อตกลงกันในการออกกฎบัตรอาเซียนมาเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียน มีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนเพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำในการจัดทำกฎบัตรอาเซียน  และ คณะทำงานระดับสูงเพื่อร่างกฎบัตรอาเซียนตามคำแนะนำของของผู้ทรงคุณวุฒิในข้างต้น <ref>  Statement of the 11th ASEAN Summit “One Vision, One Identity, One Community (2005). </ref>
4.11 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 ณ วันที่ 12-14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ด้วยการร่วมลงนามกันในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ทำให้มีข้อตกลงกันในการออกกฎบัตรอาเซียนมาเป็นเหมือน[[รัฐธรรมนูญ]]ของอาเซียน มีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนเพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำในการจัดทำกฎบัตรอาเซียน  และ คณะทำงานระดับสูงเพื่อร่างกฎบัตรอาเซียนตามคำแนะนำของของผู้ทรงคุณวุฒิในข้างต้น <ref>  Statement of the 11th ASEAN Summit “One Vision, One Identity, One Community (2005). </ref>


4.12 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ วันที่ 9-15 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ รับรองร่างกฎบัตรอาเซียนที่ผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนได้รายงานมาและสั่งการให้คณะทำงานระดับสูงทำการร่างกฎบัตรให้เสร็จเพื่อที่จะประกาศใช้ในการประชุมครั้งต่อไป    มีมติให้เร่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากเดิมคือ ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015  และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นประชาคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน  สามารถแบ่งปันกันในด้านสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ <ref>Statement of the 12th ASEAN Summit H.E. the President Gloria Macapagal-Arroyo. "ONE CARING AND SHARING  COMMUNITY"  (2007) </ref>
4.12 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ วันที่ 9-15 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ รับรองร่างกฎบัตรอาเซียนที่ผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนได้รายงานมาและสั่งการให้คณะทำงานระดับสูงทำการร่างกฎบัตรให้เสร็จเพื่อที่จะประกาศใช้ในการประชุมครั้งต่อไป    มีมติให้เร่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากเดิมคือ ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015  และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นประชาคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน  สามารถแบ่งปันกันในด้านสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ <ref>Statement of the 12th ASEAN Summit H.E. the President Gloria Macapagal-Arroyo. "ONE CARING AND SHARING  COMMUNITY"  (2007) </ref>


4.13 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ณ วันที่ 18-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ที่สิงคโปร์ ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดคือการประการใช้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายและนโยบายในการทำงานของอาเซียน  และยังมีการออกปฏิญญาแผนงานจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันอันเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระดับโลก <ref> Chairman’s Statement of the 13th ASEAN Summit, “One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia” Singapore, 20 November 2007 (2007).</ref>
4.13 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ณ วันที่ 18-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ที่สิงคโปร์ ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดคือการประการใช้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายและนโยบายในการทำงานของอาเซียน  และยังมีการออกปฏิญญาแผนงานจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อให้อาเซียนเป็น[[ตลาดฐานการผลิต]]เดียวกันอันเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระดับโลก <ref> Chairman’s Statement of the 13th ASEAN Summit, “One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia” Singapore, 20 November 2007 (2007).</ref>


4.14 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม ค.ศ. 2009 ที่ชะอำ-หัวหิน ไทย ออกแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ปี ค.ศ. 2009-2015  ซึ่งเป็นแผนงานที่ครอบคลุมการทำงานของทั้งสามเสาหลักของอาเซียน มีแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมขึ้น จากเดิมที่มีเพียงแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ และมีการรับรองข้อตกลงอีกหลายอย่างเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน <ref>  Statement by Abhisit Vejjajiva, Prime Minister of the Kingdom of Thailand at the Opening Ceremony of the 14th ASEAN Summit, Cha-am, Thailand, 28 February 2009  (2009).</ref>
4.14 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม ค.ศ. 2009 ที่ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย ออกแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ปี ค.ศ. 2009-2015  ซึ่งเป็นแผนงานที่ครอบคลุมการทำงานของทั้งสาม[[เสาหลักของอาเซียน]] มีแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมขึ้น จากเดิมที่มีเพียงแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ และมีการรับรองข้อตกลงอีกหลายอย่างเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน <ref>  Statement by Abhisit Vejjajiva, Prime Minister of the Kingdom of Thailand at the Opening Ceremony of the 14th ASEAN Summit, Cha-am, Thailand, 28 February 2009  (2009).</ref>


4.15 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ณ วันที่ 23-25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ที่จังหวัดเพชรบุรี  และที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไทย มีการลงนามรับรองเอกสาร 43 ฉบับ  เป้าหมายหลักคือเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตัวกันเป็นประชาคม โดยพุ่งเป้าไปที่การให้การศึกษา การพัฒนาประชากร  เพื่อให้การรวมตัวกันเป็นไปได้ด้วยดี  มีการวางแผนงานสำหรับการเชื่อต่อเครือข่ายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน และให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยธรรมชาติและการฟื้นฟูหลังเกิดภัยธรรมชาติขึ้น <ref>  กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2552.”สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 23-25 ตุลาคม 2552 ที่ อ.ชะอำ และ อ. หัวหิน.”. <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt15.pdf >( accessed March 19, 2015) </ref>
4.15 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ณ วันที่ 23-25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ที่จังหวัดเพชรบุรี  และที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย มีการลงนามรับรองเอกสาร 43 ฉบับ  เป้าหมายหลักคือเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตัวกันเป็นประชาคม โดยพุ่งเป้าไปที่การให้การศึกษา การพัฒนาประชากร  เพื่อให้การรวมตัวกันเป็นไปได้ด้วยดี  มีการวางแผนงานสำหรับการเชื่อต่อเครือข่ายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน และให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยธรรมชาติและการฟื้นฟูหลังเกิดภัยธรรมชาติขึ้น <ref>  กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2552.”สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 23-25 ตุลาคม 2552 ที่ อ.ชะอำ และ อ. หัวหิน.”. <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt15.pdf >( accessed March 19, 2015) </ref>


4.16 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ณ วันที่ 8-9 เมษายน ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม เตรียมความพร้อมในการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนด้วยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆทั้งในภูมิภาคเองและในระดับโลก  มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีอีกด้วย <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>
4.16 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ณ วันที่ 8-9 เมษายน ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม เตรียมความพร้อมในการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนด้วยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆทั้งในภูมิภาคเองและในระดับโลก  มีการจัดตั้ง[[คณะกรรมาธิการ]]เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีอีกด้วย <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>


4.17 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 ณ วันที่ 28-30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าประชาคมจะมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีจุดเกาะเกี่ยวและความร่วมมือกัน  โดยมีการออกแผนแม่บทในการเชื่อมโยงอาเซียนขึ้น ซึ่งพูดถึงความเกี่ยวพันกันทางกายภาพ  ทางสถาบัน  และในระดับประชาชน <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>
4.17 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 ณ วันที่ 28-30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าประชาคมจะมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีจุดเกาะเกี่ยวและความร่วมมือกัน  โดยมีการออกแผนแม่บทในการเชื่อมโยงอาเซียนขึ้น ซึ่งพูดถึงความเกี่ยวพันกันทางกายภาพ  ทางสถาบัน  และในระดับประชาชน <ref>  มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว., </ref>


4.18 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 ณ วันที่ 7-8 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีการรับรองแถลงการณ์ร่วมในเรื่องบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก  การก่อตั้งสถาบันเพื่อสันติภาพและความปรองดอง และแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์  นอกจากนี้ยังมีการยกประเด็นในเรื่องข้อพิพาทระหว่างกัมพูชาและไทย โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าอยากให้ระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยสันติวิธี <ref> Chair’s Statement of the 18th ASEAN Summit Jakarta, 7 - 8 May 2011 (2011).</ref>
4.18 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 ณ วันที่ 7-8 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีการรับรองแถลงการณ์ร่วมในเรื่องบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก  การก่อตั้งสถาบันเพื่อสันติภาพและ[[ความปรองดอง]] และแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์  นอกจากนี้ยังมีการยกประเด็นในเรื่องข้อพิพาทระหว่างกัมพูชาและไทย โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าอยากให้ระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยสันติวิธี <ref> Chair’s Statement of the 18th ASEAN Summit Jakarta, 7 - 8 May 2011 (2011).</ref>


4.19 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 ณ วันที่ 14-19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย มีการเน้นย้ำความสำคัญของเสาหลักทั้งสามอันได้แก่เศรษฐกิจ การเมืองความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจให้ไวขึ้นเพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจอาเซียนในขณะที่เศรษฐกิจโลกนั้นไม่มีความแน่นอน มีการร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีซึ่งเกี่ยวกับการสร้างบทบาทของประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก มีการลงนามให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียน สำหรับให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ <ref>  กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจแห่งชาติ. 2554. “ตอนที่ ๑๕๕ ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19.”  <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt19.pdf > (accessed March 21, 2015) </ref>
4.19 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 ณ วันที่ 14-19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย มีการเน้นย้ำความสำคัญของเสาหลักทั้งสาม อันได้แก่ เศรษฐกิจ การเมืองความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม  นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจให้ไวขึ้นเพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจอาเซียนในขณะที่เศรษฐกิจโลกนั้นไม่มีความแน่นอน มีการร่วมลงนามใน[[ปฏิญญาบาหลี]]ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างบทบาทของประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก มีการลงนามให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียน สำหรับให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ <ref>  กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจแห่งชาติ. 2554. “ตอนที่ ๑๕๕ ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19.”  <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt19.pdf > (accessed March 21, 2015) </ref>


4.20 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20 ณ วันที่ 3-4 เมษายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างประชาคมอาเซียน มุ่งเน้นไปที่การให้ประชาชนเชื่อมโยงกัน  ผลักดันเรื่องของการเดินทางภายในภูมิภาคโดยใช้วีซ่าของประเทศใดก็ได้ในอาเซียน  ส่งเสริมเศรษฐกิจ<ref>  ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556. อ้างแล้ว.,หน้า 53.</ref>  นอกจากนี้ยังมีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยอาเซียนปลอดยาเสพติดซึ่งสามารถช่วยเสริมความมั่นคงให้แก่สังคมอาเซียนได้ <ref>  Chairman’s Statement of the 20th ASEAN Summit (2012). </ref>
4.20 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20 ณ วันที่ 3-4 เมษายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างประชาคมอาเซียน มุ่งเน้นไปที่การให้ประชาชนเชื่อมโยงกัน  ผลักดันเรื่องของการเดินทางภายในภูมิภาคโดยใช้วีซ่าของประเทศใดก็ได้ในอาเซียน  ส่งเสริมเศรษฐกิจ<ref>  ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556. อ้างแล้ว.,หน้า 53.</ref>  นอกจากนี้ยังมีการลงนามใน[[ปฏิญญาว่าด้วยอาเซียนปลอดยาเสพติด]]ซึ่งสามารถช่วยเสริมความมั่นคงให้แก่สังคมอาเซียนได้ <ref>  Chairman’s Statement of the 20th ASEAN Summit (2012). </ref>


4.21 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ณ วันที่ 15-20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา มีการเปลี่ยนกำหนดการเปิดประชาคมอาเซียน จากเดิมคือวันที่ 1 มกราคม 2015 ไปเป็น 31 ธันวาคม 2015 เพราะมีข้อตกลงในหลายๆประเด็นที่ยังไม่อาจหาข้อตกลงกันได้  มีการประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ และมีการหารือกันเรื่องประเด็นความขัดแย้งที่ทะเลจีนใต้อีกด้วย <ref> ASEAN Watch. 2012. “สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง.” <http://aseanwatch.org/2012/11/24/สรุปผลการประชุมสุดยอดอ/> (accessed 21, 2015) </ref>
4.21 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ณ วันที่ 15-20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา มีการเปลี่ยนกำหนดการเปิดประชาคมอาเซียน จากเดิมคือวันที่ 1 มกราคม 2015 ไปเป็น 31 ธันวาคม 2015 เพราะมีข้อตกลงในหลายๆประเด็นที่ยังไม่อาจหาข้อตกลงกันได้  มีการประกาศ[[ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน]] นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ และมีการหารือกันเรื่องประเด็นความขัดแย้งที่ทะเลจีนใต้อีกด้วย <ref> ASEAN Watch. 2012. “สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง.” <http://aseanwatch.org/2012/11/24/สรุปผลการประชุมสุดยอดอ/> (accessed 21, 2015) </ref>


4.22 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ณ วันที่ 24-25 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ยังคงให้ความสำคัญกับการให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนโดยมุ่งให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาคเช่น เรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ หรือภัยพิบัติต่างๆ  พร้อมทั้งให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  ในส่วนของเศรษฐกิจมีการผลักดันให้ตั้งเขตเสรีการค้าอาเซียน-ฮ่องกง  และเป็นครั้งแรกที่มีการหารือกันถึงวิสัยทัศน์ของอาเซียนหลังจากที่รวมตัวกันได้ในปีค.ศ.2015 <ref>  กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 2556. “ข่าวสาร : ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22.” <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/36751-ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่-22.html > (accessed March 21, 2015)</ref>
4.22 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ณ วันที่ 24-25 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ยังคงให้ความสำคัญกับการให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนโดยมุ่งให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาค เช่น เรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ หรือภัยพิบัติต่างๆ  พร้อมทั้งให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  ในส่วนของเศรษฐกิจมีการผลักดันให้ตั้งเขตเสรีการค้าอาเซียน-ฮ่องกง  และเป็นครั้งแรกที่มีการหารือกันถึงวิสัยทัศน์ของอาเซียนหลังจากที่รวมตัวกันได้ในปีค.ศ.2015 <ref>  กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 2556. “ข่าวสาร : ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22.” <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/36751-ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่-22.html > (accessed March 21, 2015)</ref>


4.23 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ณ วันที่ 9-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ติดตามการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2015  มีการหารือกันถึงการจัดการภัยพิบัติ  มีความตั้งใจที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค และยังมีการส่งเสริมสิทธิของเด็กและสตรีด้วยปฏิญญาที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก และการขจัดความรุนแรงในเด็กและสตรี <ref> Chairman’s Statement of the 23rd ASEAN Summit (2013). </ref>
4.23 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ณ วันที่ 9-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ติดตามการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2015  มีการหารือกันถึงการจัดการภัยพิบัติ  มีความตั้งใจที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค และยังมีการส่งเสริมสิทธิของเด็กและสตรีด้วยปฏิญญาที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก และการขจัดความรุนแรงในเด็กและสตรี <ref> Chairman’s Statement of the 23rd ASEAN Summit (2013). </ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:15, 16 มีนาคม 2559

บทนำ

การประชุมสุดยอดอาเซียน หรือ ASEAN Summit หมายถึง การประชุมที่จัดขึ้นโดยกลุ่มรัฐสมาชิกอาเซียน ในที่ประชุมจะมีผู้นำของแต่ละรัฐสมาชิกเข้ามาร่วมประชุมกัน ซึ่งเป้าหมายในการจัดประชุมนั้นก็เพื่อปรึกษาหารือกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคม ภายในกลุ่มรัฐสมาชิก[1] พร้อมทั้งกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการดำเนินงานของประชาคมอาเซียน รวมถึงเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาค[2] เป็นต้นว่าในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 18 ในปี ค.ศ. 2011 ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในที่ประชุมก็ได้มีการยกประเด็นเกี่ยวข้อพิพาทระหว่างกัมพูชาและไทยเพื่อหาทางยุติข้อพิพาทดังกล่าวด้วยสันติวิธี [3] และวางบทบาทของอาเซียนกรณีปราสาทเขาพระวิหาร

ความเป็นมาของ ASEAN SUMMIT

หลังจากที่ได้มีการลงนามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ก่อตั้งอาเซียนเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก็ได้มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ บาหลี อินโดนีเซีย ซึ่ง ณ เวลานั้น อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศเท่านั้น โดยในช่วงแรกที่ได้มีการจัดประชุมกันนั้น ยังไม่มีการกำหนดว่าการประชุมจะมีบ่อยครั้งเพียงใด จวบจนการประชุมครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1987 จึงได้มีการตกลงกันว่าจะประชุมกันทุกๆ 5 ปี ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงในการประชุมครั้งที่ 4 เมื่อปี ค.ศ. 1992 ให้จัดประชุมกันทุกๆ 3 ปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 7 ได้มีการเสนอให้จัดประชุมกันทุกๆปี เพื่อจะได้ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดในภูมิภาคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสุดท้ายในการประชุมครั้งที่ 12 ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีข้อกำหนดให้มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนขึ้นทุกปี ปีละสองครั้ง [4]

ในการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนั้น รัฐสมาชิกจะสลับผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพตามลำดับตัวอักษรของชื่อประเทศ สำหรับไทยนั้น จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2015) ไทยมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมทั้งหมด 3 ครั้ง คือ การประชุมครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1995 และ การประชุมครั้งที่ 14 และ 15 ในปี ค.ศ. 2009 [5]

บทบาทของ ASEAN SUMMIT ภายใต้กฎบัตรอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนนั้นถือเป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารงานของอาเซียน โดยองค์ประกอบของที่ประชุมนั้นก็คือประมุขของรัฐ หรือ หัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก โดยภายใต้กฎบัตรอาเซียนนั้น การตัดสินใจของที่ประชุมจะต้องมีการลงคะแนนเสียงแบบฉันทามติ[6] ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

3.1 เป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน [7]

3.2 พิจารณาหารือ ให้แนวนโยบาย และตัดสินใจในประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของอาเซียนในเรื่องสำคัญที่เป็นผลประโยชน์ต่อรัฐสมาชิก และในทุกประเด็นที่ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนโดยคณะมนตรีประสานงานอาเซียน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขา [8]

3.3 สั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในแต่ละคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องให้จัดการประชุมเฉพาะกิจระหว่างรัฐมนตรี และหารือประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ ทั้งนี้ โดยให้คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) เป็นผู้กำหนดกระบวนวิธีดำเนินการประชุมข้างต้น [9]

3.4 สนองตอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลกระทบต่ออาเซียน โดยดำเนินมาตรการที่เหมาะสม [10]

3.5 ในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอาเซียนอย่างร้ายแรง [11] หรือกรณีที่มีข้อพิพาทกันระหว่างรัฐสมาชิก และได้มีการนำเรื่องดังกล่าวให้แก่ที่ประชุม ที่ประชุมมีหน้าที่ให้คำตัดสินหรือคำแนะนำ พร้อมทั้งดูแลให้มีการปฏิบัติตามคำตัดสินหรือคำแนะนำดังกล่าว [12]

3.6 อนุมัติให้จัดตั้งหรือยุบองค์กรระดับรัฐมนตรีเฉพาะสาขาและสถาบันอื่นๆของอาเซียน [13]

3.7 แต่งตั้งเลขาธิการอาเซียน ที่มีชั้นและสถานะเทียบเท่ารัฐมนตรีซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่โดยได้รับความไว้วางใจและตามความพอใจของประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล ตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน [14]

3.8 หน้าที่ในการจัดประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยให้รัฐสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพ [15]

3.9 จัดการประชุมพิเศษหรือการประชุมเฉพาะกิจเมื่อมีความจำเป็นในสถานที่ตามแต่รัฐสมาชิกจะตกลงกัน โดยให้รัฐสมาชิกที่เป็นประธานอาเซียนเป็นประธานการประชุม [16]

การประชุมในอดีต และผลของการประชุม

ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีการประชุมกันทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ การประชุมกันภายในระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก การประชุมร่วมกันระหว่างประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน การประชุมอาเซียนบวกสาม และการประชุมระหว่างอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ [17] ซึ่งในส่วนนี้จะขอพูดถึงเพียงผลของการประชุมกันภายในระหว่างรัฐสมาชิกเท่านั้น

4.1 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ณ วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย เป็นการประชุมกันระหว่างผู้ก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ โดยเป็นการประชุมกันเพื่อหวังจะให้เกิดการร่วมมือและการพัฒนาอาเซียนต่อไป ในการประชุมครั้งนี้มีการลงนามในเอกสาร 3 ฉบับ คือ ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 1 (ASEAN Concord I) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) และ ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน [18]

4.2 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 ณ วันที่ 4-5 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เป็นการประชุมกันเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีอาเซียน โดยในการประชุมได้เน้นย้ำถึงการร่วมมือกันโดยใช้นโยบายตามปฏิญญาอาเซียน และ ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน [19]

4.3 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 3 ณ วันที่ 14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ เป็นการประชุมเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งอาเซียน มีการลงนามในปฏิญญามะนิลาเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้แน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น ปฏิญญามะนิลาได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาด้านการเมืองและความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค ความสัมพันธ์กับประเทศคู่สัญญา (dialogue partners) ความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) และการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนั้นปฏิญญาฉบับนี้ยังได้แสดงให้เห็นความพยายามสร้างสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองในกัมพูชาโดยคำนึงถึงท่าทีตอบรับในเชิงบวกจากเวียดนาม อีกทั้งการแสดงเจตจำนงในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพจากอินโดจีนซึ่งเป็นปัญหาระดับภูมิภาคอีกด้วย [20]

4.4 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ณ วันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ. 1992 ที่สิงคโปร์ มีการลงนามในปฏิญญาอาเซียนซึ่งมุ่งเน้นไปที่การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพตามแนวทางของสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเรื่องของการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน และ ร่างกรอบความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน [21]

4.5 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ณ วันที่ 14-15 ธันวาคม ค.ศ. 1995 ที่กรุงเทพฯ ไทย เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือการที่เวียดนามซึ่งเป็นประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับอาเซียน และเป็นครั้งแรกที่พม่า ลาว และกัมพูชาได้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผู้นำของประเทศในแทบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมประชุมกันครบสิบประเทศ [22] การประชุมครั้งนี้ได้ตั้งความมุ่งหมายที่จะรวมชาติที่เหลือในภูมิภาคให้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมอาเซียนจึงได้มีการทำปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพ (Bangkok Summit Declaration) และมีการลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone) และ ในความตกลงเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ASEAN Agreement on Intellectual Property Cooperation) [23]

4.6 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 ณ วันที่ 15-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ออกแผนปฏิบัติการฮานอยเพื่อเป็นนโยบายในการก้าวต่อไปของอาเซียน มีการกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ตกลงให้มีเขตการลงทุนอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ปรึกษาหารือกันถึงการก่อตั้งมูลนิธิอาเซียน และที่สำคัญคือในการประชุมครั้งนี้ได้มีการรับกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนด้วย [24]

4.7 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 ณ วันที่ 5-6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม จากการก่อการร้ายที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ที่ประชุมจึงได้ออกปฏิญญาว่าด้วยการร่วมกันต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ยังได้กำหนดระยะเวลาและเป้าหมายในการดำเนินการรวมตัวกันของอาเซียน หรือที่รู้จักกันในนาม ASEAN Roadmap และส่งเสริมให้นักธุรกิจเข้าร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยมีมติให้มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนภาคธุรกิจขึ้น [25]

4.8 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ณ วันที่ 4-5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา กำหนดให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดในการรวมตัวกันของอาเซียน มีการทำความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียนเพื่อส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว หารือกันในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติตามพิธีสารโตเกียวซึ่งอาเซียนเป็นภาคีนั้น และได้เน้นย้ำถึงความร่วมมือกันในการต่อต้านการก่อการร้าย [26]

4.9 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ณ วันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย จากที่การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 ได้มีการกำหนดความร่วมมือใน 4 ด้านหลัก ในการประชุมครั้งนี้ได้เปลี่ยนเป็นความร่วมมือในสามเสาหลักของอาเซียนอันได้แก่ การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมการเมืองความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเนื้อหาในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2 โดยมีการตั้งเป้าหมายว่าจะรวมตัวกันเป็นประชาคมภายในปี ค.ศ. 2020 และยังมีการรับรองแผนปฏิบัติการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อใช้เป็นนโยบายในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนต่อไป [27]

4.10 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 ณ วันที่ 29-30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 ที่เวียงจันทน์ ลาว มีการรับรองแผนปฏิบัติการ 3 ฉบับ ได้แก่ แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน และแผนปฏิบัติการประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาของอาเซียนอีกด้วย [28]

4.11 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 11 ณ วันที่ 12-14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ด้วยการร่วมลงนามกันในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ทำให้มีข้อตกลงกันในการออกกฎบัตรอาเซียนมาเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียน มีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนเพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำในการจัดทำกฎบัตรอาเซียน และ คณะทำงานระดับสูงเพื่อร่างกฎบัตรอาเซียนตามคำแนะนำของของผู้ทรงคุณวุฒิในข้างต้น [29]

4.12 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ วันที่ 9-15 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ รับรองร่างกฎบัตรอาเซียนที่ผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียนได้รายงานมาและสั่งการให้คณะทำงานระดับสูงทำการร่างกฎบัตรให้เสร็จเพื่อที่จะประกาศใช้ในการประชุมครั้งต่อไป มีมติให้เร่งการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากเดิมคือ ค.ศ. 2020 เป็น ค.ศ. 2015 และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นประชาคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน สามารถแบ่งปันกันในด้านสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ [30]

4.13 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ณ วันที่ 18-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ที่สิงคโปร์ ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดคือการประการใช้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายและนโยบายในการทำงานของอาเซียน และยังมีการออกปฏิญญาแผนงานจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อให้อาเซียนเป็นตลาดฐานการผลิตเดียวกันอันเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระดับโลก [31]

4.14 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม ค.ศ. 2009 ที่ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย ออกแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ปี ค.ศ. 2009-2015 ซึ่งเป็นแผนงานที่ครอบคลุมการทำงานของทั้งสามเสาหลักของอาเซียน มีแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมขึ้น จากเดิมที่มีเพียงแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ และมีการรับรองข้อตกลงอีกหลายอย่างเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน [32]

4.15 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ณ วันที่ 23-25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ที่จังหวัดเพชรบุรี และที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย มีการลงนามรับรองเอกสาร 43 ฉบับ เป้าหมายหลักคือเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตัวกันเป็นประชาคม โดยพุ่งเป้าไปที่การให้การศึกษา การพัฒนาประชากร เพื่อให้การรวมตัวกันเป็นไปได้ด้วยดี มีการวางแผนงานสำหรับการเชื่อต่อเครือข่ายคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน และให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยธรรมชาติและการฟื้นฟูหลังเกิดภัยธรรมชาติขึ้น [33]

4.16 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 ณ วันที่ 8-9 เมษายน ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม เตรียมความพร้อมในการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนด้วยการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆทั้งในภูมิภาคเองและในระดับโลก มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีอีกด้วย [34]

4.17 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 ณ วันที่ 28-30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ที่กรุงฮานอย เวียดนาม ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าประชาคมจะมีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีจุดเกาะเกี่ยวและความร่วมมือกัน โดยมีการออกแผนแม่บทในการเชื่อมโยงอาเซียนขึ้น ซึ่งพูดถึงความเกี่ยวพันกันทางกายภาพ ทางสถาบัน และในระดับประชาชน [35]

4.18 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 ณ วันที่ 7-8 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย มีการรับรองแถลงการณ์ร่วมในเรื่องบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก การก่อตั้งสถาบันเพื่อสันติภาพและความปรองดอง และแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการยกประเด็นในเรื่องข้อพิพาทระหว่างกัมพูชาและไทย โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าอยากให้ระงับข้อพิพาทดังกล่าวด้วยสันติวิธี [36]

4.19 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 ณ วันที่ 14-19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย มีการเน้นย้ำความสำคัญของเสาหลักทั้งสาม อันได้แก่ เศรษฐกิจ การเมืองความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจให้ไวขึ้นเพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เศรษฐกิจอาเซียนในขณะที่เศรษฐกิจโลกนั้นไม่มีความแน่นอน มีการร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีซึ่งเกี่ยวกับการสร้างบทบาทของประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก มีการลงนามให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียน สำหรับให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ [37]

4.20 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20 ณ วันที่ 3-4 เมษายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างประชาคมอาเซียน มุ่งเน้นไปที่การให้ประชาชนเชื่อมโยงกัน ผลักดันเรื่องของการเดินทางภายในภูมิภาคโดยใช้วีซ่าของประเทศใดก็ได้ในอาเซียน ส่งเสริมเศรษฐกิจ[38] นอกจากนี้ยังมีการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยอาเซียนปลอดยาเสพติดซึ่งสามารถช่วยเสริมความมั่นคงให้แก่สังคมอาเซียนได้ [39]

4.21 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ณ วันที่ 15-20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา มีการเปลี่ยนกำหนดการเปิดประชาคมอาเซียน จากเดิมคือวันที่ 1 มกราคม 2015 ไปเป็น 31 ธันวาคม 2015 เพราะมีข้อตกลงในหลายๆประเด็นที่ยังไม่อาจหาข้อตกลงกันได้ มีการประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นๆ และมีการหารือกันเรื่องประเด็นความขัดแย้งที่ทะเลจีนใต้อีกด้วย [40]

4.22 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 ณ วันที่ 24-25 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ยังคงให้ความสำคัญกับการให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนโดยมุ่งให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาค เช่น เรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ หรือภัยพิบัติต่างๆ พร้อมทั้งให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ในส่วนของเศรษฐกิจมีการผลักดันให้ตั้งเขตเสรีการค้าอาเซียน-ฮ่องกง และเป็นครั้งแรกที่มีการหารือกันถึงวิสัยทัศน์ของอาเซียนหลังจากที่รวมตัวกันได้ในปีค.ศ.2015 [41]

4.23 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ณ วันที่ 9-10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน บรูไน ดารุสซาสาม ติดตามการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2015 มีการหารือกันถึงการจัดการภัยพิบัติ มีความตั้งใจที่จะยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค และยังมีการส่งเสริมสิทธิของเด็กและสตรีด้วยปฏิญญาที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก และการขจัดความรุนแรงในเด็กและสตรี [42]

4.24 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 24 ณ วันที่ 10-11 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ที่กรุงเนปิดอว์ เมียนมาร์ เนื้อหาหลักในที่ประชุมคือการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เป็นประชาคมอาเซียนใน ค.ศ.2015 ออกปฏิญญากรุงเนปิดอว์เพื่อเน้นย้ำถึงความตั้งใจที่จะให้การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนนั้นสำเร็จให้ได้ มีการพูดคุยถึงอนาคตของอาเซียนทั้งในเรื่องของความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาค และเรื่องของการแก้ปัญหาในภูมิภาค ทั้งเรื่องความขัดแย้ง การเมือง หรือปัญหาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปและภัยพิบัติทางธรรมชาติ [43]

4.25 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 25 ณ วันที่ 11-13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ที่กรุงเนปิดอว์ เมียนมาร์ มีการหารือถึงแผนการเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องโครงสร้าง ลักษณะ และวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียนให้ประชาชนและสื่อนานาชาติได้ทราบ นอกจากนั้นยังได้มีปฏิญญาว่าด้วยวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2015 เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานหลังจากที่ได้รวมตัวกันแล้ว อีกทั้งยังมีการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานต่างๆในอาเซียนเพื่อให้มีการประสานงานกันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีการลงนามในแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศประจำปี 2014 ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่อาเซียน [44]

บทสรุป

การประชุมสุดยอดอาเซียนนั้น เป็นการประชุมที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นการประชุมระดับผู้นำประเทศและเป็นกลไกหลักในการตัดสินใจกิจการต่างๆ ในอาเซียน ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และรวมถึงเป็นที่ประชุมที่ยุติข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกด้วย จากการประชุมที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นว่าอาเซียนได้วางกลยุทธ์และหารือถึงปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัญหาระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง การประชุมสุดยอดอาเซียนจึงเป็นเวทีที่ทำให้อาเซียนสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับสภาพสังคมและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นเวทีที่กำหนดทิศทางในการพัฒนาและเป็นเวทีสำหรับยุติข้อพิพาทหรือหาออกสำหรับปัญหาต่างๆ ทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค

รายการอ้างอิง

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 2556. ข่าวสาร : ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22. <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/36751-ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่-22.html > (accessed March 21, 2015)

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2557. ข่าวสาร : สรุปประเด็นสำคัญการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 24. <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/45826-สรุปประเด็นการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่ -24.html >(accessed March 21,2015)

กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจแห่งชาติ. 2554. ตอนที่ ๑๕๕ ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19. <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt19.pdf > (accessed March 21, 2015)

กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2552. สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 23-25 ตุลาคม 2552 ที่ อ.ชะอำ และ อ. หัวหิน. <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt15.pdf >( accessed March 19, 2015)

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. อาเซียนศึกษา ASEAN Studies. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล, 2556.

ทีมวิชาการอาเซียน. สุดยอดคัมภีร์อาเซียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2555.

มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557. เขตร้อนต้อนรับอาเซียน: ตอนที่ 3 การประชุมสุดยอดอาเซียน. (ASEAN SUMMIT). <http://www.tm.mahidol.ac.th/th/asean/ASEAN3.pdf> (accessed March 18, 2015)

ว. อำพรรณ. การศึกษา กลไกการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2555.

ASEAN Watch. 2012. สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง. <http://aseanwatch.org/2012/11/24/สรุปผลการประชุมสุดยอดอ/> (accessed 21, 2015)

ASEAN Watch.2014. สรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 25 ที่ประเทศเมียนมาร์. <http://aseanwatch.org/2014/11/25/สรุปการประชุมสุดยอดอาเ-6/> (accessed March 21,2015)

The ASEAN Secretariat. 2014. The First ASEAN Summit. < http://www.asean.org/news/item/the-first-asean-summit > (accessed March 18, 2015)

The ASEAN Secretariat. 2014. Tenth ASEAN Summit , Vientiane, 29-30 November 2004. : List of Document to be Adopted. <http://www.asean.org/news/item/list-of-document-to-be-adopted> (accessed March 18, 2015)

อ้างอิง

  1. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. อาเซียนศึกษา ASEAN Studies. (กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล, 2556.),หน้า 46.
  2. ว. อำพรรณ. การศึกษา กลไกการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน. (กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2555.),หน้า 31
  3. Chair’s Statement of the 18th ASEAN Summit Jakarta, 7 - 8 May 2011 (2011).
  4. ว. อำพรรณ. 2555, อ้างแล้ว., 32.
  5. ทีมวิชาการอาเซียน. สุดยอดคัมภีร์อาเซียน. (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2555.), หน้า 49-52.
  6. ASEAN Charter (2007): Article 20.
  7. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(a)
  8. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(b)
  9. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(c)
  10. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(d)
  11. ASEAN Charter (2007): Article 20.
  12. ASEAN Charter (2007): Article 26-27.
  13. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(f)
  14. ASEAN Charter (2007): Article 7 2(g)
  15. ASEAN Charter (2007): Article 7 3(a)
  16. ASEAN Charter (2007): Article 7. 3(b)
  17. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 46.
  18. The ASEAN Secretariat. 2014. “The First ASEAN Summit.” < http://www.asean.org/news/item/the-first-asean-summit > (accessed March 18, 2015)
  19. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557. “เขตร้อนต้อนรับอาเซียน.” ตอนที่ 3 การประชุมสุดยอดอาเซียน. (ASEAN SUMMIT). <http://www.tm.mahidol.ac.th/th/asean/ASEAN3.pdf> (accessed March 18, 2015)
  20. Manila Declaration Philippines, 15 December 1987 (1987)
  21. Singapore Declaration Of 1992 (1992)
  22. Closing Statement His Excellency Mr.Vo Van Kiet Prime Minister of the Socialist Republic of Vietnam (1995)
  23. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,
  24. Hanoi Declaration (1998).
  25. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,
  26. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,
  27. ณรงค์ โพธิ์ พฤกษานันท์. 2556, อ้างแล้ว., หน้า 50.
  28. The ASEAN Secretariat. 2014. “Tenth ASEAN Summit , Vientiane, 29-30 November 2004.” List of Document to be Adopted. <http://www.asean.org/news/item/list-of-document-to-be-adopted> (accessed March 18, 2015)
  29. Statement of the 11th ASEAN Summit “One Vision, One Identity, One Community (2005).
  30. Statement of the 12th ASEAN Summit H.E. the President Gloria Macapagal-Arroyo. "ONE CARING AND SHARING COMMUNITY" (2007)
  31. Chairman’s Statement of the 13th ASEAN Summit, “One ASEAN at the Heart of Dynamic Asia” Singapore, 20 November 2007 (2007).
  32. Statement by Abhisit Vejjajiva, Prime Minister of the Kingdom of Thailand at the Opening Ceremony of the 14th ASEAN Summit, Cha-am, Thailand, 28 February 2009 (2009).
  33. กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2552.”สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 23-25 ตุลาคม 2552 ที่ อ.ชะอำ และ อ. หัวหิน.”. <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt15.pdf >( accessed March 19, 2015)
  34. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,
  35. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557, อ้างแล้ว.,
  36. Chair’s Statement of the 18th ASEAN Summit Jakarta, 7 - 8 May 2011 (2011).
  37. กองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจแห่งชาติ. 2554. “ตอนที่ ๑๕๕ ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19.” <http://aseanroom.edupol.org/adoc/resualt19.pdf > (accessed March 21, 2015)
  38. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. 2556. อ้างแล้ว.,หน้า 53.
  39. Chairman’s Statement of the 20th ASEAN Summit (2012).
  40. ASEAN Watch. 2012. “สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง.” <http://aseanwatch.org/2012/11/24/สรุปผลการประชุมสุดยอดอ/> (accessed 21, 2015)
  41. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 2556. “ข่าวสาร : ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 22.” <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/36751-ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่-22.html > (accessed March 21, 2015)
  42. Chairman’s Statement of the 23rd ASEAN Summit (2013).
  43. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.2557. “ข่าวสาร : สรุปประเด็นสำคัญการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 24.” <http://www.mfa.go.th/asean/th/news/2352/45826-สรุปประเด็นการประชุมสุดยอดอาเซียน-ครั้งที่ -24.html >(accessed March 21,2015)
  44. ASEAN Watch.2557. “สรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 25 ที่ประเทศเมียนมาร์.” <http://aseanwatch.org/2014/11/25/สรุปการประชุมสุดยอดอาเ-6/> (accessed March 21,2015)