ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' พัชร์ นิยมศิลป ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== ความเป็นมา == | == ความเป็นมา == | ||
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 นั้น | วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 นั้น เกิดจากคำประกาศของผู้นำรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของ[[ประเทศสมาชิกอาเซียน]] เมื่อคราวการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่สอง ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของอาเซียน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1997 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ของอาเซียน ในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมองว่า ณ ขณะนั้นอาเซียนมีความพร้อมแล้ว ทั้งด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ ความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศและความเติบโตก้าวหน้าทางสังคม ด้วยความมั่นใจในความแข็งแกร่งและศักยภาพของตนเช่นนั้น ผู้นำชาติอาเซียนจึงได้วางหลักการไว้ สามหลักการ เพื่อทำให้อาเซียนบรรลุในวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 กล่าวคือ | ||
1. วงสมานฉันท์แห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( A concert of Southeast Asian Nation ) | 1. วงสมานฉันท์แห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( A concert of Southeast Asian Nation ) | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 19: | ||
4.การมีชุมชนที่สังคมเอื้ออาทรต่อกัน ( A community of caring societies ) | 4.การมีชุมชนที่สังคมเอื้ออาทรต่อกัน ( A community of caring societies ) | ||
ต่อมา | ต่อมา ใน[[การประชุมสุดยอดอาเซียน]]ครั้งที่เก้า ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนิเซีย ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงใน[[ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2|ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่สอง]] (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง[[ประชาคมอาเซียน]] (ASEAN Community) ภายใน ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ประกอบด้วยสามด้านหลัก ได้แก่[[ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน]] ( ASEAN Political-Security Community :APSC) [[ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน]] (ASEAN Economic Community : AEC) และ[[ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน]] (ASEAN Socio-Cultural Community :ASCC) | ||
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่12ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2015 (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015) เพื่อให้อาเซียนสามารถปรับตัวและจัดการกับประเด็นท้าทายของทุกมิติ ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นอาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน | อย่างไรก็ดี ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่12ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2015 (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015) เพื่อให้อาเซียนสามารถปรับตัวและจัดการกับประเด็นท้าทายของทุกมิติ ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นอาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสา (Pillars) ได้แก่ | ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสา (Pillars) ได้แก่ | ||
ก. | ก. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political –Security Community : APSC)มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาในภูมิภาคอย่างสันติวิธี เละยึดมั่นในความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจะดำเนินการดังนี้ | ||
1) ใช้กลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้ว เพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในภูมิภาค รวมทั้งต่อต้านการก่อร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และขจัดอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง | 1) ใช้กลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้ว เพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในภูมิภาค รวมทั้งต่อต้านการก่อร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และขจัดอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง | ||
บรรทัดที่ 36: | บรรทัดที่ 36: | ||
3) ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล | 3) ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล | ||
ข. | ข. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) วัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่ว่า “อาเซียน” ปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัต (ASEAN 2020 :Partnership in Dynamic Development) โดยจะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่งคั่ง แข่งกับภูมิภาคอื่นๆได้ ทั้งนี้ ได้มีการวางแผนงาน ในการผลักดันการก้าวเข้าไปสู่ภูมิภาคที่เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรกรการผลิตระหว่างกันได้อย่างเสรี เช่นในด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า อาเซียนจะดำเนินการลดภาษีศุลกากร และยกเลิกมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษีให้หมดสิ้นไป มุ่งเน้นให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่า สามารถรับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน จาการวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน นอกจากนี้อาเซียนยังดำเนินการเจรจาขยายรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค โดยจัดทำ [[ข้อตกลงเสรีทางการค้า]] หรือ FTA กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป อีกด้วย | ||
ค. | ค. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน มีสาระสำคัญของแผนงานทั้งหมดหกประการด้วยกัน คือการพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและการลดช่องว่างการพัฒนา | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:22, 23 ธันวาคม 2557
ผู้เรียบเรียง พัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
ความเป็นมา
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 นั้น เกิดจากคำประกาศของผู้นำรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อคราวการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่สอง ในโอกาสครบรอบ 30 ปี ของอาเซียน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1997 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ของอาเซียน ในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมองว่า ณ ขณะนั้นอาเซียนมีความพร้อมแล้ว ทั้งด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ ความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศและความเติบโตก้าวหน้าทางสังคม ด้วยความมั่นใจในความแข็งแกร่งและศักยภาพของตนเช่นนั้น ผู้นำชาติอาเซียนจึงได้วางหลักการไว้ สามหลักการ เพื่อทำให้อาเซียนบรรลุในวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 กล่าวคือ
1. วงสมานฉันท์แห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( A concert of Southeast Asian Nation )
2.การมีหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต ( A partnership in dynamic Development)
3.มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ( An outward-looking ASEAN)
4.การมีชุมชนที่สังคมเอื้ออาทรต่อกัน ( A community of caring societies )
ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่เก้า ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนิเซีย ผู้นำอาเซียนได้ตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนเพิ่มเติม โดยได้ลงในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่สอง (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายใน ค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ประกอบด้วยสามด้านหลัก ได้แก่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Political-Security Community :APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community :ASCC)
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่12ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2015 (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015) เพื่อให้อาเซียนสามารถปรับตัวและจัดการกับประเด็นท้าทายของทุกมิติ ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นอาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Roadmap for ASEAN Community 2015) ขึ้น ซึ่งได้รับรองโดยผู้นำอาเซียนเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทย
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสา (Pillars) ได้แก่
ก. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political –Security Community : APSC)มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาในภูมิภาคอย่างสันติวิธี เละยึดมั่นในความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจะดำเนินการดังนี้
1) ใช้กลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้ว เพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในภูมิภาค รวมทั้งต่อต้านการก่อร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และขจัดอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง
2) แก้ไขข้อพิพาทและส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท
3) ส่งเสริมความมั่นคงทางทะเล
ข. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) วัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่ว่า “อาเซียน” ปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัต (ASEAN 2020 :Partnership in Dynamic Development) โดยจะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่งคั่ง แข่งกับภูมิภาคอื่นๆได้ ทั้งนี้ ได้มีการวางแผนงาน ในการผลักดันการก้าวเข้าไปสู่ภูมิภาคที่เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรกรการผลิตระหว่างกันได้อย่างเสรี เช่นในด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า อาเซียนจะดำเนินการลดภาษีศุลกากร และยกเลิกมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษีให้หมดสิ้นไป มุ่งเน้นให้ประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มีการพัฒนาที่ล้าหลังกว่า สามารถรับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน จาการวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน นอกจากนี้อาเซียนยังดำเนินการเจรจาขยายรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค โดยจัดทำ ข้อตกลงเสรีทางการค้า หรือ FTA กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป อีกด้วย
ค. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน มีสาระสำคัญของแผนงานทั้งหมดหกประการด้วยกัน คือการพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและการลดช่องว่างการพัฒนา
ความท้าทายต่อวิสัยทัศน์อาเซียน 2020
แม้ว่าผู้นำประเทศอาเซียนได้ยอมรับวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ซึ่งได้วาดภาพอาเซียนที่เป็นประชาคมสมานฉันท์อันมีพลวัตรต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกขึ้น ในความเป็นจริงนั้นอาเซียนยังต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมากกว่าที่จะสร้างสิ่งที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ได้
ก. ความท้าทายด้านสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันพลเมืองอาเซียนยังขาดความรู้สึกความเจ้าของและยังไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการอาเซียนมากนัก โดยปรกติผู้ที่มีส่วนร่วมส่วนใหญ่คือผู้นำประเทศ รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่หน่วยราชการเท่านั้น
ข. ความท้าทายด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน
1.การสร้างค่านิยมร่วมกัน เนื่องจากความหลากหลายของวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียน และการที่แต่ละประเทศยังไม่มุ่งไปสู่การสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมอาเซียน อย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดจากการที่ระบบสถาบันของอาเซียน ที่จะช่วยส่งเสริมค่านิยมอาเซียนยังอ่อนแอ โดยเฉพาะสำนักเลขาธิการอาเซียน
2.การที่ยังไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากประเทศต่างๆยังอยู่ในสภาพที่ต้องแก่งแย่ง ชิงผลประโยชน์กัน เช่น ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับพรมแดน การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทะเล ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความตึงเครียดในทะเลจีนใต้
3. มีประเด็นความอ่อนไหวสูงในแต่ละประเทศสมาชิกหรือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสร้างข้อจำกัดทำให้กลไกทีกำหนดไว้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เช่น สิทธิมนุษยชนในประเทศเมียนมาร์ การพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองในไทย เป็นต้น
ค. ความท้าทายด้านเศรษฐกิจ
1.วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ปี1997 ได้ส่งผลกระทบต่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก ซึ่งจุดนี้ได้บั่นทอน เป้าหมายของวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 จะเห็นได้ว่า กลไกใหม่ๆ เช่น ความร่วมมือทางการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียน นอกจากเชื่องช้า ไม่ทันการ ยังไม่มีผลในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ยิ่งทำให้อาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทรกันน้อยลงด้วย เพราะวิกฤตการเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนยากจน และคนที่ด้อยโอกาส โจทย์ที่ท้าทายสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ คือ จะทำอย่างไรให้อาเซียนมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ยั่งยืนและเป็นธรรมต่อประชาชนทุกภาคส่วน
2.ประเทศสมาชิกยังคงปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเป็นหลัก และการหารายได้เข้าของประเทศสมาชิกมีลักษณะเหมือนกัน คือ รายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าการเข้า-ออก ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกันหรือเก็บภาษีให้น้อยลง แต่ประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ส่วนนี้ได้ เนื่องจากเป็นเงินที่ต้องนำมาพัฒนาประเทศ การรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศในภาคีจึงทำได้ยาก นอกจากนั้นประเทศสมาชิกยังผลิตสินค้าเหมือนๆ กัน ทำให้ต้องแข่งขันกันเองในตลาดโลก อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดการซื้อขายระหว่างกันเองในหมู่สมาชิก
3. ประเทศในอาเซียนพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ละประเทศพยายามส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศตน โดยการใช้กำแพงภาษีหรือโควต้า ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มและตลาดการค้าเสรี ดังนั้นข้อตกลงใน AFTA ของอาเซียนหลายข้อ จึงยังไม่ได้รับการปฏิบัติ
เอกสารอ้างอิง
กรมประชาสัมพันธ์.2554. “บนย่างก้าวสู่ประชาคมอาเซียน2015:ปัญหาอุปสรรคและโอกาส.” http://202.29.93.22/asean/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=7 ( accessed 26 June 2557)
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. ASEAN Mini book . กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ,2556.
กองอาเซียน3.2554. “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC ).” http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121204-123208-703246.pdf (accessed 27 June 2014).
กองอาเซียน 4 กรมอาเซียน .2555. “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน.” http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/customize-20130130-140633-542756.pdf (accessed 27 June 2557)
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2557. “โครงการเตรียมการรับรองการเคลื่อนย้ายของการเป็นแรงงานสู่ประชาคมอาเซียน รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์.” http://www.mol.go.th/sites/default/files/downloads/pdf/7._bththii_3_prachaakhmaaechiiyn.pdf (accessed 27 June 2014)
สมใจ กงเติม.2555.”การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์” http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5501056.pdf (accessed 27 June 2557).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.,2555.
สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา.ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 .กรุงเทพมหานคร :ห้างหุ้นส่วนจำกัดบล็อก,2553.
อุกฤษ ปัทมานันท์. รายงานวิจัย เรื่อง ไทยในระบบอาเซียนใหม่ ปีค.ศ.2020 : ศึกษาการรวมกลุ่มอาเซียน 10 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเมือง., 2545